โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เบาจืด

ดัชนี เบาจืด

ืด (diabetes insipidus, DI) เป็นภาวะที่มีลักษณะปริมาณปัสสาวะเจือจางมากและความกระหายน้ำเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจมีปริมาณปัสสาวะได้มากถึง 20 ลิตรต่อวัน แม้ผู้ป่วยจะลดการกินของเหลวแล้วร่างกายก็จะยังไม่สามารถทำปัสสาวะให้เข้มข้นขึ้นได้ ต่างจากคนปกติที่เมื่อลดการกินของเหลว (เช่น หิวน้ำ) ปัสสาวะจะเข้มข้น ภาวะแทรกซ้อนอาจได้แก่ ภาวะขาดน้ำหรือชัก มีเบาจืด 4 ชนิดแบ่งตามสาเหตุ เบาจืดกลาง (central DI) เนื่องจากขาดฮอร์โมนเวโซเพรสซิน (ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ) อาจเกิดจากความเสียหายต่อไฮโปทาลามัสหรือต่อมใต้สมอง หรือกรรมพันธุ์ เบาจืดไต (nephrogenic DI) เกิดเมื่อไตไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อเวโซเพรสซิน เบาจืดดื่มน้ำ (Dipsogenic DI) เกิดจากกลไกความกระหายผิดปกติในไฮโปทาลามัส และเบาจืดแห่งครรภ์ (gestational DI) เกิดเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ การวินิจฉัยมักอาศัยการทดสอบปัสสาวะ การทดสอบเลือดและการทดสอบการขาดน้ำ เบาหวานเป็นอีกภาวะหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ทำให้เกิดปัสสาวะปริมาณมากเหมือนกัน การรักษาได้แก่การดื่มของเหลวให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การรักษาอย่างอื่นขึ้นอยู่กับชนิดของเบาจืด ในเบาจืดกลางและเบาจืดแห่งครรภ์การรักษาใช้เดสโมเพรสซิน เบาจืดไตสามารถรักษาเหตุพื้นเดิมหรือใช้ไทอะไซด์ แอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน จำนวนผู้ป่วยเบาจืดใหม่มี 3 ใน 100,000 คนต่อปี เบาจืดกลางปกติเริ่มเมื่ออายุ 10 ถึง 20 ปี และพบในชายหญิงเท่า ๆ กัน เบาจืดไตเริ่มเกิดเมื่อใดก็ได้.

3 ความสัมพันธ์: ความกระหายเดเมโคลไซคลีนICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม

ความกระหาย

วามกระหาย (thirst) คือ ความอยากของไหล ส่งผลให้เกิดสัญชาตญาณพื้นฐานของสัตว์ให้ดื่ม เป็นกลไกสำคัญเกี่ยวข้องกับดุลของไหล ความกระหายเกิดขึ้นจากการขาดของไหลหรือมีความเข้มข้นของออสโมไลต์ (osmolite) บางชนิดเพิ่มขึ้น เช่น เกลือ หากปริมาตรน้ำของร่างกายลดต่ำกว่าขีดกั้นจำเพาะหรือความเข้มข้นของออสโมไลต์สูงเกินไป สมองจะส่งสัญญาณความกระหาย ภาวะขาดน้ำต่อเนื่องสามารถก่อปัญหาได้หลายอย่าง แต่มักสัมพันธ์กับปัญหาไตและปัญหาทางประสาทวิทยา เช่น ชัก มากที่สุด อาการกระหายน้ำมากเรื้อรัง ร่วมกับภาวะปัสสาวะมาก อาจเป็นสิ่งบ่งชี้เบาหวานหรือเบาจืด มีตัวรับและระบบอื่นในร่างกายซึ่งตรวจหาปริมาตรที่ลดลงหรือความเข้มข้นของออสโมไลต์ที่เพิ่มขึ้น พวกมันส่งสัญญาณไประบบประสาทส่วนกลางแล้วจะมีการประมวลผลกลางตามมา ฉะนั้น บางแหล่งจึงแยก "ความกระหายนอกเซลล์" จาก "ความกระหายในเซลล์"Carlson, N. R. (2005).

ใหม่!!: เบาจืดและความกระหาย · ดูเพิ่มเติม »

เดเมโคลไซคลีน

มโคลไซคลีน (Demeclocycline) เป็นยาปฏิชีวนะกึ่งสังเคราะห์ชนิดหนึ่งในกลุ่มเตตราไซคลีน คัดแยกได้จากแบคทีเรีย Streptomyces aureofaciens ที่ได้รับการรับรองให้ใช้เพื่อการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด อาทิ โรคไลม์ สิวที่เกิดจากแบคทีเรีย หลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรตที่ 1980 ได้มีการนำยานี้มาใช้ในการรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (SIADH) แต่มีการคิดค้นพัฒนายาชนิดใหม่สำเร็จ จึงไม่ค่อยมีการใช้เดเมโคลไซคลีนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวมากนักในปัจจุบัน เดเมโคลไซคลีนออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียขาดโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของเอนไซม์วาโซเพรสซิน (vasopressin) บริเวณหน่วยไตได้ด้วย ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ ข้อห้ามใช้ และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาของเดเมโคลไซคลีนนั้นมีความคล้ายคลึงกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มเตตราซัยคลีน แต่เดเมโคลไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวในกลุ่มนี้ที่ก่อให้เกิดภาวะเบาจืดได้ จึงมีการนำเดเมโคลไซคลีนมาใช้ในการรักษากลุ่มอาการ SIADH.

ใหม่!!: เบาจืดและเดเมโคลไซคลีน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: เบาจืดและICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Diabetes insipidus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »