เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

ดัชนี เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

อร์ทรันด์ อาร์เทอร์ วิลเลียม รัสเซลล์ (Bertrand Arthur William Russell; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2415 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513) เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักตรรกวิทยา ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นนักปรัชญาการศึกษาหัวรุนแรงที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งของอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้สร้างผลงานด้านการศึกษาในแนวปฏิรูปไว้มากมายหลายแขนง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการศึกษาในปัจจุบันอย่างมาก บรรดานักปรัชญารู้จักเขาในฐานะของผู้ให้กำเนิดทฤษฎีความรู้ (Epistemology หรือ Theory of Knowledge) นักคณิตศาสตร์รู้จักรัสเซลในฐานะบิดาแห่งตรรกวิทยา ผู้เขียนตำราคลาสสิกทางคณิตศาสตร์ คือหนังสือชื่อ Principia Mathematica นักฟิสิกส์รู้จักเขาในฐานะของผู้แต่งตำรา ABC of Relativity สำหรับคนทั่วไปรู้จักรัสเซลล์ในฐานะของนักจิตวิทยา นักการศึกษา นักการเมือง และนักเขียนผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี..

สารบัญ

  1. 29 ความสัมพันธ์: ชาวเวลส์พ.ศ. 2415พ.ศ. 2493พ.ศ. 2513การทดลองฟิลาเดลเฟียมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาลรายชื่อนักปรัชญารางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมลัทธิสโตอิกลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์อีวาน ปัฟลอฟอนิยามทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดลความรักความสุขความเป็นจริงคำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์คณิตตรรกศาสตร์ฆราวาสนิยมปฏิทรรศน์ของรัสเซิลล์นักคณิตศาสตร์แอลัน ทัวริงเธลีส18 พฤษภาคม2 กุมภาพันธ์9 กรกฎาคม

ชาวเวลส์

วเวลส์ (Cymry, Welsh people) เวลส์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์และในชาติที่เกี่ยวข้องกับเวลส์และภาษาเวลส์ จอห์น เดวีส์ให้ความเห็นว่าที่มาของ "ชาติเวลส์" (Welsh nation) สืบได้ว่ามีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากที่โรมันถอนตัวจากบริเตนJohn Davies (1994) A History of Wales.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และชาวเวลส์

พ.ศ. 2415

ทธศักราช 2415 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1872 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และพ.ศ. 2415

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และพ.ศ. 2493

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และพ.ศ. 2513

การทดลองฟิลาเดลเฟีย

รือยูเอสเอส เอลดริดจ์ (USS ''Eldridge'') (DE-173) ca. 1944 การทดลองฟิลาเดลเฟีย หรือเรียกอีกชื่อว่า โครงการเรนโบว์ เป็นการทดลองกองทัพเรือที่ถูกกล่าวหาว่าได้รับการดำเนินการที่อู่ต่อเรือของกองทัพเรือในฟิลาเดลเฟีย, รัฐเพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณราว 28 ตุลาคม 1943 โดยอ้างว่าเรือพิฆาตคุ้มกันยูเอสเอส แอลดริดจ์ ของกองทัพเรือสหรัฐ จะทำการแสดงผลที่ทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวเรือได้ (หรือ "การใส่เสื้อคลุม") ไปยังอุปกรณ์ของฝ่ายศัตรู เป็นเรื่องที่คิดว่าจะเป็นเพียงการหลอกลวง กองทัพเรือสหรัฐยืนยันว่าไม่มีการทดลองดังกล่าวว่าได้เคยดำเนินการและรายละเอียดของการขัดแย้งในเรื่องนี้ก็ดีขึ้นในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรือแอลดริดจ์ เช่นเดียวกับการยอมรับกันโดยทั่วไปในวงการฟิสิกส์ อย่างไรก็ดี ก็เป็นเรื่องที่มีการจับจินตนาการของผู้คนในวงการทฤษฎีสมคบคิด, และองค์ประกอบของการหลอกลวงของการทดลองฟิลาเดลเฟียก็เกิดขึ้นอีกในทฤษฎีสมคบคิดในรัฐบาลอื่น.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และการทดลองฟิลาเดลเฟีย

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล

ในหลายสังคมได้มีการห้ามหนังสือบางเล่ม รายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาลที่ปรากฏข้างล่างนี้เป็นเพียงบางส่วนของรายชื่อหนังสือทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามโดยรัฐบาลด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การห้ามอาจจะเป็นการห้ามระดับชาติหรือระดับรองและบางครั้งอาจจะมีโทษทางกฎหมายถ้าละเมิด นอกจากการห้ามทางกฎหมายแล้วก็อาจจะเป็นการห้ามโดยสถาบันศาสนาโดยการห้ามไม่ให้ผู้นับถือศาสนาอ่านหนังสือที่ห้าม แต่โดยปราศจากโทษทางอาญา แต่บางครั้งการห้ามก็อาจจะได้รับการยกเลิกเมื่อมีการท้าทายกันในศาล และศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการห้ามเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหม.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และรายชื่อหนังสือต้องห้ามโดยรัฐบาล

รายชื่อนักปรัชญา

# กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ (Gottfreid W. Leibniz).

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และรายชื่อนักปรัชญา

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (Nobelpriset i litteratur, Nobel Prize in Literature) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งในห้าสาขา ที่ริเริ่มโดยอัลเฟร็ด โนเบล ตั้งแต..

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

ลัทธิสโตอิก

ฉลียงมีภาพเขียน หรือสโตอาที่บูรณะขึ้นใหม่ในเอเธนส์ ที่ซึ่งกลายเป็นชื่อของลัทธิสโตอิก ลัทธิสโตอิก (อังกฤษ: Stoicism) คือแนวคิดทางปรัชญาแห่งเฮลเลนิสติก ก่อตั้งโดยนักปรัชญาชาวกรีกชื่อ เซโน แห่ง ซิติอุม (Zeno of Citium พ.ศ.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และลัทธิสโตอิก

ลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์

ลุดวิจ โยเซฟ โยฮันน์ วิทท์เกนชไตน์ (Ludwig Josef Johann Wittgenstein) (26 เมษายน 1889 - 29 เมษายน 1951) เป็นนักปรัชญาชาวออสเตรีย - อังกฤษ เขาทำงานเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ ปรัชญาของคณิตศาสตร์ ปรัชญาของจิตใจ และปรัชญาของภาษา ตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปี 1947 วิทเกินชไตน์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์Dennett, Daniel.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และลุดวิจ วิทท์เกนชไตน์

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skepticism, Scientific scepticism) เป็นหลักปฏิบัติในการที่จะสืบหาว่า เรื่องที่อ้างว่าเป็นจริงนั้นมีหลักฐานโดยงานวิจัยเชิงประสบการณ์ (เชิงประจักษ์) หรือไม่ สามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นปกติในการ "เพิ่มขยายความรู้ที่ยืนยันได้พิสูจน์ได้" ยกตัวอย่างเช่น.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

มีการเสนอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ศาสนาพุทธนั้นเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ มีการอ้างว่า คำสอนทั้งทางปรัชญาทั้งทางจิตวิทยาในศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนกันกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธสนับสนุนให้ทำการตรวจสอบธรรมชาติอย่างเป็นกลาง ๆ แนวคิดที่นิยมบางอย่าง เชื่อมคำสอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีจักรวาลวิทยา แต่ว่า นักวิทยาศาตร์โดยมาก เห็นความแตกต่างระหว่างคำสอนทางศาสนาและเกี่ยวกับอภิปรัชญาของศาสนาพุทธ กับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ในปี..

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

อีวาน ปัฟลอฟ

อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ (Иван Петрович Павлов, 14 กันยายน ค.ศ. 1849 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936) เป็นนักจิตวิทยาและสรีรวิทยาชาวรัสเซีย-โซเวียต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และอีวาน ปัฟลอฟ

อนิยาม

ำหรับวิชาคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ และระบบรูปนัย อนิยามคือแนวคิดที่ไม่ได้นิยาม ที่สำคัญอนิยามไม่ได้นิยามโดยแนวคิดที่นิยามไว้ก่อนหน้า แต่เกิดจากแรงบันดาลใจโดยวิสาสะ โดยมากเกิดจากสหัชญาณ และประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน บทบาทของอนิยามในทฤษฎีบทสัจพจน์หรือระบบรูปนัยอื่นๆ เหมือนกันกับบทบาทของอนิยาม อนิยามในวิชาทฤษฎีสัจพจน์ บางครั้งจะกล่าวว่า"ได้นิยาม"โดยอนิยามอย่างน้อยหนึ่งอนิยาม แต่อาจทำให้เข้าใจผิดได้ ระบบรูปนัยไม่สามารถกำจัดอนิยามทั้งหลายได้เพราะการนิยามถอยหลังอนันต์ครั้ง อัลเฟรด ตาร์สกีอธิบายบทบาทของอนิยามไว้ดังนี้: ความคิดรวบยอดพื้นฐานของเซตในทฤษฎีเซตเชิงสัจพจน์เป็นตัวอย่างของอนิยาม มารี ไทล์ เขียน: มีหลักฐานแสดงว่าเธอยกคำพูดของเฟลิก เฮาส์ดอร์ฟฟ์ว่า: "เซตสร้างขึ้นโดยจัดวัตถุเดี่ยวๆ รวมกันเป็นเซตทั้งเซต เซตเป็นความคิดแบบพหูพจน์เป็นหน่วยเดียว" เมื่อระบบสัจพจน์ระบบหนึ่งเริ่มกล่าวถึงสัจพจน์ อนิยามอาจไม่ได้กล่าวถึงอย่างแจ่มแจ้ง ซูซาน ฮาก(1978) เขียนว่า "เซตของอนิยามบางครั้งกล่าวว่าให้นิยามโดยอ้อมของอนิยาม" ตัวอย่าง พบใน.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และอนิยาม

ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล

ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล (Gödel's incompleteness theorems) เป็นทฤษฎีตรรกะทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1931 โดย เคิร์ท เกอเดล (Kurt Gödel) เคิร์ท เกอเดล ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักคณิตศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ได้ตีพิมพ์เปเปอร์ชื่อ Über formal unentscheidbare Sätze der Principia Mathematica und verwandter Systeme (ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน หรือมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า On Formally Undecidable Propositions in Principia Mathematica and Related Systems หรือ ว่าด้วยประพจน์ที่ตัดสินไม่ได้อย่างเป็นรูปนัยใน พรินซิเพีย แมเทเมทิกา และระบบอื่นที่เกี่ยวข้อง) ในเปเปอร์นี้ เกอเดลทำการพิสูจน์จนที่สุดแล้วได้ผลลัพธ์เป็นสองทฤษฎีบทที่น่าตื่นตะลึง ซึ่งในภายหลังทฤษฎีบททั้งสองถูกเรียกรวมกันว่าทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล ทฤษฎีบทนี้นับว่าเป็นเป็นทฤษฎีบทสำคัญที่เข้าขั้นปฏิวัติวงการ ทั้งในด้านตรรกศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านปรัชญา และด้านการแสวงหาความรู้ของมนุษยชาติ รวมทั้งทำให้เกิดบทวิเคราะห์ การตีความ และคำถามต่างๆ ตามมาขึ้นอีกมากม.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล

ความรัก

วาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต ความรัก (Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้าOxford Illustrated American Dictionary (1998) + Merriam-Webster Collegiate Dictionary (2000) ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา (J.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และความรัก

ความสุข

วามสุขมักแสดงออกผ่านรอยยิ้ม ความสุข หรือ สุข พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "น.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และความสุข

ความเป็นจริง

วามเป็นจริง เป็นสภาพของสิ่งตามที่มีอยู่จริง หาใช่สภาพของสิ่งที่อาจปรากฏหรืออาจจินตนาการขึ้น ในคำนิยามอย่างกว้าง ความเป็นจริงรวมไปถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะสังเกตได้หรือเข้าใจได้หรือไม่ก็ตาม นิยามกว้างกว่านั้นรวมถึงทุกสิ่งที่เคยมีอยู่ในอดีต มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีอยู่ในอนาคต นักปรัชญา นักคณิตศาสตร์ และนักคิดอื่นทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ เช่น อริสโตเติล เพลโต เฟรเกอ วิทท์เกนชไตน์ และรัสเซลล์ ต่างแยกความแตกต่างระหว่างความคิดที่สัมพันธ์กับความเป็นจริง ภาวะนามธรรมสัมพันธ์ และความคิดที่ไม่สามารถเป็นความคิดที่สมเหตุผล ในทางตรงข้าม การดำรงอยู่นั้นมักจำกัดอยู่เฉพาะการดำรงอยู่ทางกายภาพหรือมีพื้นฐานโดยตรงในสิ่งนั้นอย่างเดียวกับความคิดในสมอง.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และความเป็นจริง

คำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์

แถลงการณ์รัสเซลล์–ไอน์สไตน์ เป็นแถลงการณ์ของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม..

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และคำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์

คณิตตรรกศาสตร์

ณิตตรรกศาสตร์ (Mathematical logic) คือสาขาหนึ่งในคณิตศาสตร์ที่ศึกษาระบบรูปนัย และคุณลักษณะที่ระบบดังกล่าวจะสามารถใช้เพื่อแสดงมโนทัศน์ของบทพิสูจน์ และการคำนวณในส่วนที่เป็นรากฐานของคณิตศาสตร์ แม้ว่าคนทั่วไปมักมีความเข้าใจว่า คณิตตรรกศาสตร์คือ ตรรกศาสตร์ของคณิตศาสตร์ แต่ความจริงแล้วสาขานี้ใกล้เคียงกับ คณิตศาสตร์ของตรรกศาสตร์ มากกว่า เนื้อหาวิชาในสาขานี้ครอบคลุมส่วนของตรรกศาสตร์ที่สามารถโมเดลในรูปของคณิตศาสตร์ได้ เมื่อก่อนสาขานี้ถูกเรียกว่า ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ (ในลักษณะที่ตรงข้ามกับตรรกศาสตร์เชิงปรัชญา) และอภิคณิตศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นเพียงคำที่ใช้ในบางสาขาของทฤษฎีบทพิสูจน.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และคณิตตรรกศาสตร์

ฆราวาสนิยม

ราวาสนิยม (secularism) คือ แนวปรัชญาที่ว่าสถาบันการปกครองหรือสถาบันการเมือง หรือ สถาบันในรูปอื่นควรจะดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากการอำนาจการควบคุมของสถาบันศาสนา และหรือความเชื่อทางศาสนา ในแง่หนึ่งสถาบันที่ดำเนินนโยบาย “ฆราวาสนิยม” จะเป็นสถาบันที่ยึดนโยบายดำรงความเป็นกลางในทางด้านความเชื่อทางศาสนาของประชาชนและ/หรือผู้อยู่ใต้การปกครอง, ดำเนินการปกครองที่เป็นอิสระจากกฎและคำสอน หรือ ความเชื่อทางศาสนา, ไม่ใช้อำนาจตามหลักความเชื่อทางศาสนาในการบังคับประชาชน และ ไม่มีการมอบอภิสิทธิพิเศษหรือให้การช่วยเหลือแก่สถาบันศาสนา ส่วนในอีกแง่หนึ่ง “ฆราวาสนิยม” หมายถึงมุมมองที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยเฉพาะกิจกรรมและการตัดสินใจทางการเมือง ว่าควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงโดยปราศจากอคติอันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนา ฆราวาสนิยมในรูปแบบที่แท้จริงแล้วจะติเตียนความเป็นอนุรักษนิยมของศาสนา และมีความเห็นว่าศาสนาเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของมนุษย์เพราะเป็นสิ่งที่เน้นความเชื่องมงาย และ สิทธันต์ (dogma) เหนือเหตุผลและกระบวนการในสิ่งที่พิสูจน์ได้ (scientific method) พื้นฐานของปรัชญาฆราวาสนิยมมาจากหลักการคิดของนักปรัชญากรีกและโรมันเช่นมาร์คัส ออเรลิอัส และ เอพิคารัส, จากผู้รู้รอบด้านของปรัชญามุสลิมของยุคกลาง เช่น อิบุน รัชด์, จากนักคิดของยุคเรืองปัญญา เช่น เดอนีส์ ดิเดอโรต์, วอลแตร์, จอห์น ล็อก, เจมส์ แมดิสัน, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน และ ทอมัส เพน และ จากนักคิดเสรี (freethinkers), นักอไญยนิยม (Agnosticism) หรือ นักอเทวนิยม เช่น เบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์ และ โรเบิร์ต อิลเกอร์โซลล.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และฆราวาสนิยม

ปฏิทรรศน์ของรัสเซิลล์

ปฏิทรรศน์ของรัสเซิลล์ (Russell's paradox) คือ ปฏิทรรศน์ที่ถูกค้นพบโดยเบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์ ใน ค.ศ. 1901 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีเซตสามัญของคันทอร์และเฟรเกอ มีความขัดแย้ง พิจารณาเซต M ซึ่งเป็น "เซตของเซตทุกเซตที่ไม่บรรจุตัวเองเป็นสมาชิก".

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และปฏิทรรศน์ของรัสเซิลล์

นักคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และนักคณิตศาสตร์

แอลัน ทัวริง

แอลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุก ๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอินิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ หลังจากสงครามเขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริง ๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้ นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งในขณะมีถกเถียงที่สำคัญว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักรนั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และแอลัน ทัวริง

เธลีส

ลีส แห่ง มิเลทัส (Thales of Miletus) 640-546 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นนักปรัชญาของชาวกรีกโบราณ ได้รับการยกย่องจากอริสโตเติล ว่า เธลีสเป็นนักปรัชญาคนแรกที่บันทึกความคิดไว้เป็นหลักฐาน และได้รับเกียรติให้เป็นบิดาของวิชาปรัชญาตะวันตก เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์กล่าวว่า "วิชาปรัชญาเริ่มต้นจากเธลิส".

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และเธลีส

18 พฤษภาคม

วันที่ 18 พฤษภาคม เป็นวันที่ 138 ของปี (วันที่ 139 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 227 วันในปีนั้น.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และ18 พฤษภาคม

2 กุมภาพันธ์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 33 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 332 วันในปีนั้น (333 วันในปีอธิกสุรทิน).

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และ2 กุมภาพันธ์

9 กรกฎาคม

วันที่ 9 กรกฎาคม เป็นวันที่ 190 ของปี (วันที่ 191 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 175 วันในปีนั้น.

ดู เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์และ9 กรกฎาคม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Bertrand Russellเบอร์ทรานด์ รัสเซิลล์