โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทวีในศาสนาฮินดู

ดัชนี เทวีในศาสนาฮินดู

ในศาสนาฮินดู เทวี (देवी) หมายถึง เทวดาผู้หญิง.

13 ความสัมพันธ์: พระยามีพระวิษณุพระสตีพระปารวตีพระแม่มารีอัมมันพระแม่มาเหศวรีพระแม่วาราหีพระแม่ศีตลาเทวีพระแม่จามุณฑาพระแม่นวทุรคาพระแม่ไวษณวีมาตฤกาเทศกาลคฒิมาอี

พระยามี

พระยามี (यामी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เป็นเทพีแห่งแม่น้ำยมุนา เป็นพระบุตรีของพระอาทิตย์กับพระแม่ศรัณยาและเป็นพระฝาแฝดของพระยม เทวรูปของพระแม่ยมนาในฐานะ เทวีผู้รักษาแม่น้ำ เทวสถานอมเรศวร ประเทศอินเดีย หมวดหมู่:เทวีในศาสนาฮินดู หมวดหมู่:เทพแห่งความตาย.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระยามี · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระสตี

ระสตี (सती) หรือ พระทักษายณี (दाक्षायणी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการมีอายุยืน เป็นพระชายาองค์แรกของพระศิวะ เมื่อจุติแล้วได้มาเกิดใหม่เป็นพระปารวตี พระสตี เป็นธิดาของพระทักษะประชาบดีได้เป็นชายาของพระศิวะ ที่ทรงอวตารลงมาในภาคของมุนีภพ ไว้ผมหนวดเครารุงรัง นำกระดูกมาร้อยเป็นสังวาลสวมคอ นอนตามป่าช้า มีกลิ่นตัวเหม็นสาบ เป็นที่รังเกียจของพระทักษะ แต่ด้วยบารมีของพระสตี จึงมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีองค์นี้ ว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระศิวะ ด้วยความรังเกียจ พระทักษะประชาบดีจึงได้ลบหลู่เกียรติของพระศิวะในงานพิธี พระสตีจึงทรงเข้าตบะเพื่อขับเพลิงออกมาจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง (บางตำรากล่าวว่าพระนางกระโดดเข้ากองไฟ) ด้วยความพิโรธ พระศิวะทรงส่งอสูรชื่อวีรภัทร ไปทำลายงานพิธี และตัดศีรษะพระทักษะประชาบดี ต่อคืนด้วยหัวแพะที่ใช้บูชายัญในพิธีนั้น พระศิวะทรงเศร้าโศกเสียใจด้วยความรักที่มีต่อพระสตี จึงทรงทรงพาร่างของพระสตีออกไปจนสุดจักรวาล และบำเพ็ญพรตบารมีอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาพระนางได้กลับมาเกิดเป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา และเป็นชายาของพระศิวะอีกครั้งในร่างของพระอุมาเทวี (พระปารวตี) พิธีสตี ชาวอินเดียที่นับถือพระศิวะและพระอุมา มีพิธีกรรมที่เรียกว่าพิธีสตี เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะฆ่าตัวตายตามโดยกระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบูชาความรักและการเสียสละของพระสตี ที่มีต่อพระศิวะ ในบางครั้งภรรยาของผู้ตายไม่ยินยอมเข้าพิธีสตี ก็ยังถูกญาติพี่น้องของสามี บังคับให้เผาตัวตายตาม พิธีบูชายัญนี้ถูกระงับไปเมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระสตี · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่มารีอัมมัน

วัดพระศรีมหาอุมาเทวีเทวสถานสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระแม่มารีอัมมมัน ที่ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร พระแม่มารีอัมมันปางสามายาปุรัม พระแม่มารีอัมมัน (மாரியம்மா.mariamman馬里安曼) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ปรากฏเฉพาะในอินเดียใต้เป็นส่วนใหญ่ และทรงเป็นที่รู้จักและนับถือภาคใต้ของอินเดียและในพื้นที่ชนบทของรัฐทมิฬนาดู, รัฐกรณาฏกะ รัฐมหาราษฏระ และรัฐอานธรประเทศ ชาวฮินดูและคัมภีร์ในศาสนาฮินดูนั้นถือพระองค์เป็นภาคหนึ่งของพระแม่ปารวตีและพระแม่ทุรคา และทรงมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นเดียวกับเทวีของอินเดียภาคเหนือคือพระแม่ศีลตาเทวีและพระแม่กาลี ราชรถแห่เทวรูปพระแม่มาริอัมมันในงานเทศกาลอาทิตรีรูวิยา (Aadi Thiruvizha) วัดพระศรีสามายาปูรัม มาริอัมมัน รัฐทมิฬนาดูประเทศอินเดีย ในอินเดียใต้นั้น มีพิธีเฉลิมฉลองถวายแด่พระองค์ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูร้อนทั่วภูมิภาคของอินเดียใต้ ซึ่งเป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ เรียกว่า " อทิตรีรูวิยา(Aadi Thiruvizha)" เป็นเทศกาลที่สำหรับ สักการบูชาประจำปีของพระนางเป็นส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่ การขอพรและการรักษาโรค เช่นโรค อหิวาตกโรค ฝีดาษ และ โรคต่างๆ ทรงเป็นที่เคารพบูชา ตามท้องถิ่นของอินเดียใต้เป็นส่วนใหญ่ โดยถือเป็นเทวีผู้ดูแลหมู่บ้านต่างๆ และมักจะมีเทวสถานเพื่อประดิษฐานเทวรูปประจำหมู่บ้าน และในเทวสถานนั้นมักขนาบข้างด้วยเทวรูปพระพิฆเนศและพระขันทกุมาร ในความเชื่อของชาวฮินดูนั้น มีสัญญาลักษณ์แทนพระองค์คือสะเดา ซึ่งถือว่ามีอำนาจและพลังของพระองค์สถิตอยู่พืชชนิดนี้และเครื่องเครื่องสักการบูชาหลักของพระองค์ เทวสถานพระแม่มาริอัมมันในกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซี.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระแม่มารีอัมมัน · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่มาเหศวรี

ระแม่มเหศวรี(माहेस्वरीMaheshvari)เป็นเทวีในศาสนาฮินดูองค์หนึ่งในคณะของพระแม่สัปตมาตฤกา โดยถือว่าเป็นพลังของพระอิศวรและพระอุมาเทวี ในศาสนาฮินดูและยังปรากฏเทวรูปในประเทศไทยที่ประเทศไทยเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานครโดยประดิษฐานในบุษบกขนาบข้างร่วมกับเทวรูปพระนารายณ์และเทวรูปพระลักษมี ในหอพระนารายณ.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระแม่มาเหศวรี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่วาราหี

ระแม่วาราหิณี (वाराही) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู องค์หนึ่งในคณะมาตฤกา เป็นพลังศักติของพระวราหะ ซึ่งเป็นอวตารปางที่ 3 ของพระวิษณุ พระแม่วาราหิณีมีพระวรกายเป็นมนุษย์ แต่มีศีรษะเป็นหมูป่า เช่นเดียวกับพระวราห.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระแม่วาราหี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่ศีตลาเทวี

ระแม่ศีตลาเทวี(शीतला देवी; Shitala; ஷீதலா தேவி) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เป็นที่นิยมบูชาในอินเดียภาคเหนือ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศเนปาล ประเทศบังกลาเทศ และประเทศปากีสถาน ชาวฮินดูและคัมภีร์ในศาสนาฮินดูนั้นถือพระนางทรงเป็นภาคหนึ่งของพระแม่ปารวตี และทรงมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระแม่มารีอัมมันในอินเดียใต้.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระแม่ศีตลาเทวี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่จามุณฑา

ระแม่จามุณฑา (चामुण्डा: Cāṃuṇḍā) หรือ จามุณฑี เป็นเทวีในศาสนาฮินดู หนึ่งในคณะมาตฤกาทั้ง 7 พระแม่จามุณฑาทรงถือกำเนิดจากพลังของพระแม่ศักติ จามุณฑา หมายความว่า "ผู้สังหารอสูรนามว่า จัณและมุน" นอกจากนี้พระแม่จามุณฑายังมีความเกี่ยวพันธ์กับพระแม่กาลีอีกด้ว.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระแม่จามุณฑา · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่นวทุรคา

ระแม่นวทุรคา (नवदुर्गा) เป็นการอวตารทั้งหมดทั้ง 9 ปางของพระแม่ทุรคา หรือ พระแม่อุมาในศาสนาฮินดู และเป็นที่มาของเทศกาลนวราตรีอีกด้ว.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระแม่นวทุรคา · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่ไวษณวี

ระแม่ไวษณวี(vaishnavi)' (वैष्णवी) หรือศักติของวิษณุ เป็นเทวีในศาสนาฮินดู องค์หนึ่งในคณะมาตฤกา เป็นพลังศักติของพระวิษณุ ------พระแม่ไวษณวี ไม่ใช่พระองค์เดียวกับ พระแม่นารายาณี ไวษณวี.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและพระแม่ไวษณวี · ดูเพิ่มเติม »

มาตฤกา

วาดจากคัมภีร์โบราณของอินเดียของพระแม่สัปตริมาติกาและพระแม่กาลีขณะทรงรบกับอสูรรักชตะ มาตฤกา (मातृका; சப்தகன்னியர்) เป็นกลุ่มเทวีในศาสนาฮินดู มีทั้งหมดเจ็ดหรือแปดองค์ เป็นที่บูชาทั้งในประเทศอินเดีย ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา และกลุ่มชาวฮินดูทั่วไป ในประเทศไทย มีการประดิษฐานเทวรูปคณะเทวีทั้งเจ็ดองค์นี้ในวัดพระศรีมหาอุมาเทวี และเรียกเป็นภาษาทมิฬว่า พระซับทระกรรณี ภาพสลักหินองค์ศิวนาฏราชและพระแม่สัปตมาตฤกาในผนังเอลโลล่า ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและมาตฤกา · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลคฒิมาอี

ทศกาลคฒิมาอี (गढ़िमाई पर्व; Gadhimai festival) เป็นพิธีบูชายัญที่จัดขึ้นทุก 5 ปีที่วัดคฒิมาอี แห่งเมืองพริยารปุระ อำเภอพารา ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางใต้ประมาณ ของเมืองหลวงกาฐมาณฑุ ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล ใกล้ชายแดนอินโด-เนปาล และแดนติดกับรัฐพิหาร (ประเทศอินเดีย) มีการเฉลิมฉลองเป็นหลักโดยชาวมะเทสี และชาวรัฐพิหาร โดยเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์บูชายัญครั้งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ควาย, หมู, แพะ, ไก่, หนู และนกพิราบ – โดยมีเป้าหมายเพื่อการเซ่นสังเวยให้แก่เจ้าแม่คฒิมาอี ซึ่งเป็นเทพีแห่งอำน.

ใหม่!!: เทวีในศาสนาฮินดูและเทศกาลคฒิมาอี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »