โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เต่าบึง

ดัชนี เต่าบึง

ต่าบึง หรือ เต่าป่า (Forest turtles, Terrapins.) เป็นสกุลของเต่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Heosemys จัดอยู่ในวงศ์ Geoemydidae (บางข้อมูลหรือข้อมูลเก่าจัดอยู่ในวงศ์ Bataguridae) โดยแยกออกจากสกุล Geoemyda ซึ่งเป็นสกุลส่วนใหญ่ในวงศ์นี้่ เต่าในสกุลนี้เป็นเต่าที่พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย มีทั้งชนิดที่เป็นเต่าอาศัยอยู่บนพื้นดินที่แห้งแล้งหรือเป็นป่าดิบทึบ และที่เป็นเต่าอาศัยอยู่ได้บนบกและในน้ำTurtle taxonomy Working Group (Rhodin, A.G.J., van Dijk, P.P, Iverson, J.B., and Shaffer, H.B.).2010.

5 ความสัมพันธ์: วงศ์เต่านาเต่าบึงดำเต่าจักรเต่าป่าอาระกันเต่าใบไม้

วงศ์เต่านา

วงศ์เต่านา (Terrapin, Pond turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoemydidae หรือ ในอดีตใช้ Bataguridae) เป็นวงศ์ของเต่า ที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หรือบางส่วนอาศัยบนพื้นที่มีความชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ หรืออยู่บนบกแห้ง ๆ เลยก็มี เป็นเต่าที่มีกระดองทรงกลมหรือโค้งนูนเล็กน้อย กระดองท้องใหญ่ กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกเบสิคออคซิพิทัลเป็นชิ้นกว้าง การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เต่าในวงศ์นี้ถือเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 23 สกุล พบราว 65 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปตอนใต้, เอเชียอาคเนย์, อเมริกากลาง และบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยมีเต่าในวงศ์นี้มากถึง 16 ชนิด อาทิ เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis), เต่ากระอาน (Batagur baska), เต่านา (Malayemys macrocephala และM. subtrijuga), เต่าหับ (Cuora amboinensis), เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis) เป็นต้น โดยเต่าชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) ที่มีความยาวของกระดองได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในบึงน้ำและแม่น้ำของมาเลเซียและเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: เต่าบึงและวงศ์เต่านา · ดูเพิ่มเติม »

เต่าบึงดำ

ระวังสับสนกับ: เต่าบึงดำลายจุด เต่าบึงดำ (Black marsh turtle.) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Siebenrockiella ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เต่าในสกุลนี้ เดิมเคยถูกให้มีเพียงชนิดเดียว แต่ปัจจุบันได้จัดให้มี 2 ชนิด โดยมีเต่าป่าฟิลิปปิน ย้ายมาจากสกุล Heosemys โดยสกุลนี้ตั้งขึ้นมาครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เต่าบึงและเต่าบึงดำ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าจักร

ต่าจักร (Spiny turtle, Spiny terrapin) สัตว์เลืิ้อยคลานประเภทเต่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เต่าจักร มีสันหนาเป็นเส็นกลางแผ่นเกล็ดสันหลังทุกแผ่น และมีตุ่มหลายตุ่มบนแผ่นเกล็ดชายโครงแต่ละแผ่น เมื่อยังเป็นเต่าวัยอ่อนจะมีแผ่นเกล็ดขอบกระดองแต่ละชิ้นคล้ายหนามแหลม 1 หนามคล้ายจักร อันเป็นที่มาของชื่อ ยกเว้นแผ่นเกล็ดขอบกระดอง ที่ 4 ที่ 5 จะมี 2 หนามซึ่งหนามที่ปรากฎในลูกเต่าจะค่อย ๆ หายไปเมื่อโตเต็มที่ ขาหน้าไม่มีผังพืด กระดองหลังสีน้ำตาลแดง กระดองท้องและด้านข้างแผ่นเกล็ดขอบกระดองออกสีเหลืองหรือสีส้ม และมีเส้นลายสีน้ำตาลดำ ขาสีน้ำตาลดำเกล็ดลำตัวออกสีชมพูอ่อน ผิวสีน้ำตาลเทา ส่วนหัวสีน้ำตาล พบกระจายพันธุ์ในที่ชุ่มชื้นของป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย เช่น ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง ไปจนถึงพม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน จนถึงฟิลิปปินส์ เต่าจักร เป็นเต่าที่อาศัยอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ โดยมักจะอยู่ในสภาพพื้นที่ ๆ มีความชุ่มชื้นและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นมากกว่า และพบได้ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร กินผักและผลไม้เป็นอาหาร จัดเป็นเต่าอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 6.5 กิโลกรัม นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันสามารถขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว โดยพฤติกรรมการผสมพันธุ์และวางไข่จะเลียนแบบตามพฤติกรรมในธรรมชาติ คือ เต่าตัวผู้จะไล่กัดตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนหรือเวลาที่ฝนตก เต่าตัวเมียวางไข่ในช่วงเวลากลางคืน สามารถวางไข่ได้ 3 ครั้่งต่อปี มีระยะเวลาฟักเป็นตัวนานประมาณ 106, 110, และ 145 วัน เต่าจักรเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ตามกฎหมายในประเทศไท.

ใหม่!!: เต่าบึงและเต่าจักร · ดูเพิ่มเติม »

เต่าป่าอาระกัน

ต่าป่าอาระกัน หรือ เต่าดงยะไข่ (Arakan forest turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Heosemys depressa) เป็นเต่าบกที่พบในป่าลึกบริเวณเขตรัฐอาระกัน ประเทศพม่า ซึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เมื่อ 7 กันยายน ค.ศ. 2009 สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Society: WCS)ได้ประกาศการค้นพบอีกครั้งจำนวน 5 ตัว.

ใหม่!!: เต่าบึงและเต่าป่าอาระกัน · ดูเพิ่มเติม »

เต่าใบไม้

ต่าใบไม้ หรือ เต่าแดง (Asian leaf turtle, Brown stream terrapin) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่า ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) มีลักษณะเด่น คือ กระดองส่วนล่างมีลักษณะคล้ายบานพับคล้ายกับเต่าหับ แต่ปิดได้เฉพาะตอนล่าง หัวมีสีน้ำตาล, น้ำตาลแดง หรือเขียวมะกอกด้านบนสุดของหัวอาจมีจุดสีดำ และด้านข้างของหน้าอาจจะมีแถบสีเหลืองหรือชมพู กระดองส่วนล่างสีจาง มีเส้นเป็นแนวรัศมี บางครั้งพบว่ากระดองส่วนล่างอาจเป็นสีดำ หรือน้ำตาลเข้มทั้งหมดลักษณะรอยต่อระหว่างแผ่นเกล็ดต้นขาและแผ่นเกล็ดทวารโค้งและกระดองส่วนล่างที่มีลักษณะเป็นบานพับเป็นลักษณะที่ทำให้แยกออกจากเต่าหวาย ที่มีลักษณะกระดองคล้ายคลึงกัน มีกระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือลำธารในป่า หรือเนินเขา ในทุกประเทศของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นเต่าที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ ในน้ำ, ผัก และผลไม้ เป็นต้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: เต่าบึงและเต่าใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HeosemysHieremysเต่าป่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »