โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เติ้ง เสี่ยวผิง

ดัชนี เติ้ง เสี่ยวผิง

ติ้ง เสี่ยวผิง (22 สิงหาคม พ.ศ. 2447 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ถึง..

45 ความสัมพันธ์: บรรหาร ศิลปอาชาชวลิต ยงใจยุทธชาวฮั่นบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์พ.ศ. 2447พ.ศ. 2520พ.ศ. 2540พรรคคอมมิวนิสต์มลายากรณีเทียนอันเหมินการท่องเที่ยวในประเทศจีนการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนการปฏิวัติทางวัฒนธรรมการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532การโยนออกนอกหน้าต่างมาร์ชทหารอาสาม่านไผ่รูฮุลลอฮ์ โคมัยนีลัทธิคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมาสงครามจีน–เวียดนามสงครามประชาชนหยาง ซั่งคุนหนึ่งประเทศ สองระบบอันวัร อัสซาดาตฮ่องกงจีนโพ้นทะเลความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตคิม จ็อง-อิลซีจีทีเอ็น (ช่องโทรทัศน์)ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีนประเทศจีนปริศนาสมบัติอัจฉริยะปรีดี พนมยงค์แคะไท่ช่างหฺวังเยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซินเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเหลก๊าเส่งเจียง เจ๋อหมินเขมรแดงเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนาเติ้ง ลี่จวิน19 กุมภาพันธ์22 กรกฎาคม22 สิงหาคม

บรรหาร ศิลปอาชา

รรหาร ศิลปอาชา (19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 23 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งเป็นพี่ชายของชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและบรรหาร ศิลปอาชา · ดูเพิ่มเติม »

ชวลิต ยงใจยุทธ

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 —) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีดรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต..หลายสมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนม สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "จิ๋วหวานเจี๊ยบ" จากการมีบุคลิกพูดจาอ่อนนิ่ม นุ่มนวล.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและชวลิต ยงใจยุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์

ลแห่งปี (Person of the Year หรือเดิม Man of the Year) เป็นฉบับประจำปีของนิตยสารข่าวไทม์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอและพรรณนาถึงบุคคล กลุ่ม แนวคิดหรือวัตถุซึ่ง "ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม...ได้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อเหตุการณ์ในปีนั้น".

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและพ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์มลายา

รรคคอมมิวนิสต์มลายา (Malayan Communist Party, Communist Party of Malaya) เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตัวขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและพรรคคอมมิวนิสต์มลายา · ดูเพิ่มเติม »

กรณีเทียนอันเหมิน

กรณีเทียนอันเหมิน (Tiananmen Incident.) เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2519 ณ จัตุรัสเทียนอันเหมินในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดตรงกับเทศกาลเช็งเม้ง หลังเหตุการณ์นานจิง และมีชนวนเหตุจากการถึงแก่อสัญกรรมของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหลในปีเดียวกันก่อนหน้านี้ บางคนคัดค้านการแสดงความไว้อาลัย และเริ่มชุมนุมกันในจัตุรัสเพื่อประท้วงต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของแก๊งออฟโฟร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสั่งการให้เก็บกวาดจัตุรัส เหตุการณ์นี้ถูกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ตีตราว่าเป็นปฏิกิริยาปฏิวัติทันที และใช้เป็นทางผ่านสู่การปลดและการจับกุมในบ้านของรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งถูกกล่าวหาว่าวางแผนเหตุการณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกลางในเหตุการณ์นี้ถูกย้อนหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมยุติ และภายหลังได้รับการสรรเสริญว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความรักประเทศชาติ หมวดหมู่:จัตุรัสเทียนอันเหมิน หมวดหมู่:ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2519 หมวดหมู่:การปฏิวัติทางวัฒนธรรม หมวดหมู่:ปักกิ่ง หมวดหมู่:การประท้วงในประเทศจีน หมวดหมู่:การปราบปรามทางการเมืองในประเทศจีน.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและกรณีเทียนอันเหมิน · ดูเพิ่มเติม »

การท่องเที่ยวในประเทศจีน

้นขอบฟ้าของเซี่ยงไฮ้ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และจุดชมวิวจากเดอะบันด์ การท่องเที่ยวในประเทศจีน มีการขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาตั้งแต่การเริ่มต้นของการปฏิรูปและการเปิดประเทศ การเกิดขึ้นของชนชั้นกลางเศรษฐีใหม่และการผ่อนคลายข้อจำกัดการเคลื่อนไหวโดยทางการจีนต่างก็เป็นการเพิ่มการบูมต่อการท่องเที่ยวนี้ ประเทศจีนได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ชมมากที่สุดของโลก และเป็นการตลาดการท่องเที่ยวขาเข้าและขาออกที่ร้อนแรงที่สุด นับว่าการท่องเที่ยวของประเทศจีนมีความเฟื่องฟูอย่างยั่งยืนในอันดับต้น ๆ ของโลก ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 55.98 ล้านคนในปี..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและการท่องเที่ยวในประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน

ทความนี้กล่าวถึงการปฏิรูปเศรษฐกิจในสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการควบคุมสังคมและนโยบายของสหภาพโซเวียต ดูที่ กลัสนอสต์ และ เปเรสตรอยคา ป้ายโฆษณาอันโด่งดังของเติ้ง เสี่ยวผิง ในนครเซินเจิ้น ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากการปฏิรูปของเขา ราคาตลาด) ของจีน (เส้นสีน้ำเงิน) ตั้งแต่ ค.ศ. 1952 ถึง ค.ศ. 2005 ในอัตราสูง เป็นผลมาจากการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน (ตรงตัว: ปฏิรูปและเปิดออก) หมายถึงนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็น สังคมนิยมในแบบจีน ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติทางวัฒนธรรม

การปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่ของกรรมาชีพ (Great Proletarian Cultural Revolution) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า การปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution) เป็นขบวนการทางสังคม-การเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี 2509 เหมาเจ๋อตงซึ่งขณะนั้นเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน เป้าหมายที่แถลงไว้ คือ เพื่อบังคับใช้ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศโดยการขจัดองค์ประกอบที่เป็นทุนนิยม ประเพณีและวัฒนธรรมจีน ออกจากวัฒนธรรมคอมมิวนิสต์และเพื่อกำหนดแนวทางแบบเหมาภายในพรรค การปฏิวัติดังกล่าวส่งผลให้เหมาเจ๋อตงกลับมามีอำนาจหลังการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าที่ล้มเหลว ขบวนการดังกล่าวทำให้การเมืองจีนหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสำคัญ การปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2509 เหมาอ้างว่ากระฎุมพีกำลังแทรกซึมรัฐบาลและสังคมอย่างไม่มีขอบเขต โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูทุนนิยม เขายืนกรานให้ขจัด "ลัทธิแก้" (revisionist) เหล่านี้ผ่านการต่อสู้ของชนชั้นอย่างรุนแรง เยาวชนจีนสนองตอบการเรียกร้องของเหมาโดยตั้งกลุ่มเรดการ์ดขึ้นทั่วประเทศ ขบวนการดังกล่าวแพร่ไปสู่ทหาร กรรมกรในเมือง และผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เอง การปฏิวัติส่งผลให้เกิดการต่อสู้ระหว่างกลุ่มแยกอย่างกว้างขวางในทุกย่างก้าวของชีวิต ในหมู่ผู้นำระดับสูง การปฏิวัตินำไปสู่การกวาดล้างข้าราชการอาวุโสที่ถูกกล่าวหาว่าเดิน "ถนนทุนนิยม" คือ ประธานาธิบดีหลิวส้าวฉีและเติ้งเสี่ยวผิง พร้อมด้วยจอมพล หลิวป๋อเฉิง จอมพล เฉินอี้ จอมพล เย่เจี้ยนอิงและจอมพล เผิงเต๋อฮว้าย ในเวลาเดียวกัน ลัทธิมากซ์ ของประธานเหมา เติบโตขึ้นเป็นอันมาก กลุ่มกรรมกรใช้สัญลักษณ์ค้อนกดขี่ข่มเหงชาวนาและกลุ่มเกษตรกรรมอื่นๆ ประชากรจีนจำนวนหลายล้านคนถูกเบียดเบียน ในการต่อสู้อย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มลัทธิแก้ และกลุ่มปลดปล่อยประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ อันทำให้เกิดการละเมิดหลายรูปแบบ รวมถึงการประจานในที่สาธารณะ การกักขังตามอำเภอใจ การทรมาน การก่อกวนอยู่เนือง ๆ และการยึดทรัพย์สินของชาวบ้าน หลายภาคส่วนถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน ส่วนวัตถุมงคลและสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์จีนถูกทำลาย สถานที่ทางวัฒนธรรมและศาสนาถูกปล้นพร้อมกับทำให้เสียหาย ประธานเหมาประกาศให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี 2512 แต่ยังมีผลดำเนินไปกระทั่ง หลินเปียว ตายในปี 2514 หลังเหมาถึงแก่อสัญกรรมและการจับกุมแก๊งออฟโฟร์ในปี 2519 ทำให้คณะปฏิรูปการปกครอง นำโดย เติ้งเสี่ยวผิง ยุติการปฏิวัติของเหมาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างเด็ดขาด ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2524 คณะกรรมาธิการกลางประกาศคำตัดสินอย่างเป็นทางการ ดังนี้ " 'การปฏิวัติทางวัฒนธรรม' ซึ่งดำเนินตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2509 ถึงเดือนตุลาคม 2519 เป็นสาเหตุของการเสื่อมอย่างรุนแรงที่สุดและเป็นการสูญเสียอย่างหนักที่สุดที่พรรค รัฐและประชาชนเคยประสบมาแล้ว ตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน" จอมพล เผิงเต๋อไหว นักรบผู้กล้าหาญและขวัญกำลังใจของกองทัพชาวนา ครอบครองแผ่นดินประมาณได้ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งหมดในสงครามกลางเมือง แต่ถูกลงโทษทางการเมือง ทำให้ถึงแก่อสัญกรรม เพราะเรียงความหมื่นอักษรในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและการปฏิวัติทางวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532

การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ระหว่างวันที่ 15 เมษายน - 4 มิถุนายน..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

การโยนออกนอกหน้าต่าง

มพ์จากบัญชรฆาตแห่งปรากในปี ค.ศ. 1618 “ความตายของนายพลกาสปาร์ด เดอ โคลิญญี” จาก “''Foxe's Book of Martyrs''” ฉบับ ค.ศ. 1887 โดยโครนไฮม์ การโยนออกนอกหน้าต่าง (Defenestration) คือการโยนคนหรือสิ่งของออกจากหน้าต่าง เป็นคำที่เริ่มใช้หลังจากเหตุการณ์การโยนออกนอกหน้าต่างที่ปรากจากหน้าต่างปราสาทปรากในปี..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและการโยนออกนอกหน้าต่าง · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ชทหารอาสา

ลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีชื่อว่า มาร์ชทหารอาสา (อ่านว่า "อี่หย่งจินจิ้นสิงชวี"; March of the Volunteers) เดิมเป็นบทเพลงปลุกใจซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดยเถียน ฮั่น ทำนองโดยเนี้ย เอ่อร์ เมื่อ พ.ศ. 2479 แต่ครั้งสมัยที่จีนแผ่นดินยังปกครองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง ขณะนั้นการเมืองภายในจีนกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก จากการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าต่างๆ และเผชิญหน้ากับการรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถปฏิวัติและสถาปนารัฐจีนใหม่สำเร็จใน พ.ศ. 2492 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ใช้เพลงมาร์ชทหารอาสาเป็นเพลงชาติตลอดมา แม้ว่าในสมัยหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อร้องเพลงนี้ก็ตาม แต่เนื้อร้องเดิมก็ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า ภายหลังรัฐบาลจีนจึงนำเนื้อร้องเดิมที่เถึยนฮั่นประพันธ์ไว้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติจีนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งตราบจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและมาร์ชทหารอาสา · ดูเพิ่มเติม »

ม่านไผ่

ม่านไม้ไผ่ ปี ค.ศ. 1959 แสดงเป็นเส้นสีดำ ประเทศที่มีรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่อยู่ทางตอนเหนือของม่านไม้ไผ่เป็นสีแดง สมาชิกซีโต้ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน ประเทศที่เป็นกลางเป็นสีเทา ม่านไผ่ (Bamboo Curtain) เป็นเส้นแบ่งเขตทางอุดมการณ์ในทวีปเอเชีย นับแต่ชัยชนะของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสงครามกลางเมืองจีนบนแผ่นดินใหญ่ในปี..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและม่านไผ่ · ดูเพิ่มเติม »

รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี (เปอร์เซีย:; อังกฤษ: Ruhollah Khomeini) (24 กันยายน ค.ศ. 1902 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989) อดีตผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ผู้ทำการล้มล้างอำนาจของพระเจ้าชาร์มูฮัมหมัด เรซา ปาฮ์เลวี ของอิหร่านซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523 ประกาศการปฏิวัติอิสลาม และประกาศสงครามอิหร่าน-อิรัก.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเหมา

ลัทธิเหมา คือ ทฤษฎีทางการเมืองที่พัฒนามาจากคำสอน และนโยบายของ เหมา เจ๋อตง (1893–1976) ผู้นำทางการเมืองและการปฏิวัติของประเทศจีน โดยในระยะแรกเริ่มถูกเรียกว่า "ทฤษฎีความคิดของเหมา เจ๋อตง" ลัทธิเหมาถูกพัฒนาขึ้นมาระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 จนกระทั่งได้รับการปฏิรูปจากเติ้ง เสี่ยวผิง ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างลัทธิเหมากับลัทธิมากซ์รูปแบบอื่นคือ เหมากล่าวว่าชาวนาควรเป็นปราการป้องกันพลังการปฏิวัติ นำโดยชนชั้นใช้แรงงานในประเทศจีน หมวดหมู่:เหมา เจ๋อตง หมวดหมู่:อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน หมวดหมู่:สำนักคิดลัทธิมากซ์ หมวดหมู่:วัฒนธรรมจีน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์การเมืองจีน หมวดหมู่:ปรัชญาจีน หมวดหมู่:ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิแก้ หมวดหมู่:การเมืองซ้ายจัด.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและลัทธิเหมา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–เวียดนาม

งครามจีน–เวียดนาม (Chiến tranh biên giới Việt-Trung) หรือรู้จักกันในชื่อ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม เป็นสงครามชายแดนสั้น ๆ สู้รบกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในต้นปี 2522 ประเทศจีนเปิดฉากการรุกเพื่อตอบโต้การบุกครองและยึดครองกัมพูชาของเวียดนามในต้นปี 2521 (ซึ่งยุติการปกครองของเขมรแดงที่จีนหนุนหลัง) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เฮนรี คิสซินเจอร์ เขียนว่า ผู้นำจีน เติ้ง เสี่ยวผิง มองเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นความพยายามของโซเวียตที่จะ "เหยียดหนวดชั่วร้ายของมันมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล...

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและสงครามจีน–เวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามประชาชน

งครามประชาชน หรือเรียก สงครามประชาชนยืดเยื้อ เป็นยุทธศาสตร์การทหาร-การเมืองที่ผู้นำปฏิวัติคอมมิวนิสต์และการเมืองชาวจีน เหมา เจ๋อตง (ค.ศ. 1893–1976) พัฒนาขึ้นครั้งแรก มโนทัศน์เบื้องต้นคือการรักษาการสนับสนุนของประชาชนและล่อข้าศึกให้อยู่ลึกเข้ามาในชนบท (เป็นการยืดเส้นทางกำลังบำรุง) ที่ซึ่งประชาชนจะทำให้ข้าศึกหมดกำลังโดยการสงครามเคลื่อนที่และกองโจรผสมกัน คอมมิวนิสต์ใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวต่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบาลคอมมิวนิสต์ใช้ในสงครามกลางเมืองจีน นักลัทธิเหมาใช้คำนี้เป็นยุทธศาสตร์การต่อสู้ปฏิวัติด้วยอาวุธระยะยาว หลังสงครามจีน–เวียดนาม..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและสงครามประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

หยาง ซั่งคุน

หยาง ซั่งคุน เป็นประธานาธิบดีจีนตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2536 และเป็นรองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการทหารกลางทรงอำนาจภายใต้เติ้ง เสี่ยวผิง เขาเข้าศึกษามหาวิทยาลัยในเซี่ยงไฮ้ก่อนศึกษาทฤษฎีลัทธิมากซ์ในกรุงมอสโก ทำให้เขาเป็นผู้นำที่ได้รับการศึกษาดีที่สุดคนหนึ่งในพรรคคอมมิวนิสต์จีนช่วงต้น หยางกลับประเทศจีนเป็นหนึ่งใน 28 บอลเชวิค และเดิมสนับสนุนผู้นำคอมมิวนิสต์ช่วงต้น จาง กั๋วเทา แต่เปลี่ยนมาสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มแยกของเหมาระหว่างการเดินทางไกล (Long March) เขาเป็นคอมมิสซาร์การเมืองระหว่างสงครามกลางเมืองจีนและสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนในปี 2492 หยางดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง สุดท้ายกลายเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ทรงอำนาจ เขาถูกกวาดล้างเมื่อเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปี 2509 และไม่ถูกเรียกตัวกลับจนปี 2521 หลังเติ้ง เสี่ยวผิงเถลิงอำนาจ หลังเขาคืนสู่อำนาจ หยางเป็นหนึ่งในแปดผู้อาวุโส (Eight Elders) ของจีน หยางสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจแต่คัดค้านการเปิดเสรีทางการเมือง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สุดท้ายเติ้งตัดสินใจ หยางถึงจุดสูงสุดแห่งอาชีพการเมืองของเขาหลังการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินปี 2532 แต่การคัดค้านอย่างมีระเบียบของเขาต่อการเป็นผู้นำของเจียง เจ๋อหมินทำให้เติ้งบังคับให้หยางเกษียณ หมวดหมู่:นักการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากฉงชิ่ง หมวดหมู่:ประธานาธิบดีจีน หมวดหมู่:เหยื่อของการปฏิวัติวัฒนธรรม.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและหยาง ซั่งคุน · ดูเพิ่มเติม »

หนึ่งประเทศ สองระบบ

หนึ่งประเทศ สองระบบ (One country, two systems) เป็นแนวคิดซึ่งริเริ่มเสนอโดย เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีนขณะนั้น เพื่อการรวมประเทศจีนระหว่างต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เขาเสนอว่าจะมีเพียงจีนเดียว แต่เขตจีนอิสระ เช่น ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน สามารถมีระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบทุนนิยมได้ ขณะที่ส่วนที่เหลือของจีนใช้ระบบสังคมนิยม ภายใต้ข้อเสนอนี้ แต่ละเขตสามารถคงมีระบบการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจและการเงินของตนได้ รวมทั้งความตกลงด้านพาณิชย์และวัฒนธรรมกับต่างประเทศ และจะมี "สิทธิบางอย่าง" ในการระหว่างประเทศ ไต้หวันสามารถคงมีกำลังทหารของตนได้ และเป็นการหลีกเลี่ยงการรับรองไต้หวันว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐจีน.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและหนึ่งประเทศ สองระบบ · ดูเพิ่มเติม »

อันวัร อัสซาดาต

มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต (محمد أنور السادات; Muhammad Anwar al-Sadat; 25 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524) นักการทหาร นักการเมืองและประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2513 - 6 ตุลาคม..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและอันวัร อัสซาดาต · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

จีนโพ้นทะเล

วจีนโพ้นทะเล (อังกฤษ: Overseas Chinese; จีน: 華僑 huáqiáo หัวเฉียว, 華胞 huábāo หัวเปา, 僑胞 qiáobāo เฉียวเปา, 華裔 huáyì หัวอี้) คือ กลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศจีน คำว่าประเทศจีนในที่นี้ หมายความได้ถึง จีนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งดินแดนภายใต้การปกครองของรัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และ ไต้หวัน (สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือว่า ไต้หวัน เป็นเพียงมณฑลหนึ่งของตน และปัจจุบัน สหประชาชาติ มิได้รับรองฐานะไต้หวันให้เป็นสาธารณรัฐจีนแต่อย่างใ.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและจีนโพ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

เหมา เจ๋อ ตุงและนิกิตา ครุสชอฟในจีน 1958 ความแตกแยกระหว่างจีน-โซเวียต (Sino-Soviet split, Советско-китайский раскол) (1960-1989) เป็นความเสื่อมของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน (P.R.C.) และสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (U.S.S.R.) ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากความแตกต่างจากการตีความแตกต่างกันของลัทธิมากซ์-เลนินซึ่งเป็นอิทธิพลในการปกครองของจีนและโซเวียตChambers Dictionary of World History, B.P. Lenman, T. Anderson editors, Chambers: Edinburgh:2000.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

คิม จ็อง-อิล

ม จ็อง-อิล มีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า ยูริ อีร์เซโนวิช คิม/Юрий Ирсенович Ким (ตามบันทึกโซเวียต) (16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941/2 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 2011) อดีตผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) เขาเป็นเลขาธิการพรรคกรรมกรเกาหลี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลตั้งแต..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและคิม จ็อง-อิล · ดูเพิ่มเติม »

ซีจีทีเอ็น (ช่องโทรทัศน์)

ซีจีทีเอ็น (CGTN; 中国环球电视网主频道) เดิมคือ ซีซีทีวี 9 และ ซีซีทีวี นิวส์ ตามลำดับ เป็นช่องรายการข่าวโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน ภายใต้เครือข่ายโทรทัศน์ภาคบริการโลกแห่งประเทศจีน หรือ China Global Television Network ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 ซึ่งนำเสนอรายการข่าว รายงานเจาะลึก วิเคราะห์ข่าว รวมถึงรายการที่นำเสนอศิลปวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของประเทศจีน แพร่ภาพสู่ผู้ชมทั่วโลกผ่านดาวเทียมกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ผ่านโทรทัศน์ดาวเทียมและโทรทัศน์ภาคพื้นดินในบางประเท.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและซีจีทีเอ็น (ช่องโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน

ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองจีน เหมา เจ๋อตุง ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) ที่กรุงปักกิ่งบน จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อปกครองจีนแผ่นดินใหญ.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ

ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ (The 39 Clues) เป็นวรรณกรรมแนวผจญภัยที่ผสมผสานกับเกมออนไลน์และการสะสมการ์ด ในสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สกอลาสทิก ส่วนฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เนมแอนด์โนเบิล ในเครือบันลือกรุ๊ป ซึ่งเป็นเครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นวรรณกรรมชุดที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน โดยมีริก ไรออร์แดน (ผู้เขียน เพอร์ซีย์ แจ็กสัน) เป็นผู้เขียนเล่มแรก หนังสือฉบับภาษาไทยตีพิมพ์มาแล้วทั้งหมด 10 เล่ม ประกอบด้วย ผจญค่ายกลกระดูก, หนึ่งโน้ตมรณะ, จอมโจรจอมดาบ, ความลับสุสานฟาโรห์, วงล้อมทมิฬ, ปฏิบัติการทะเลใต้, บุกรังอสรพิษ, รหัสลับจักรพรรดิโลกไม่ลืม, ฝ่าพายุแคริบเบียน และมหันตภัยปลายทาง.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและปริศนาสมบัติอัจฉริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

แคะ

แคะ หรือ ฮากกา (客家 คำว่า แคะ ในภาษาไทยถูกเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า แขะแก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ส่วนในภาษาจีนแคะเอง เรียกว่า ขักก๊า หรือ ฮากกา) คือ ชนกลุ่มจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกล่าวกันว่ามีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนานและซานซี ทางตอนเหนือของจีนเมื่อราว 2,700 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของชาวจีนแคะอพยพลงใต้ เนื่องจากความไม่สงบทางสังคม การลุกฮือ และการรุกรานจากผู้ยึดครองต่างชาติตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265-420) กระแสการอพยพครั้งต่อ ๆ มาเกิดขึ้นเมื่อยุคสิ้นราชวงศ์ถัง เมื่อประเทศจีนแตกออกเป็นส่วน ๆ และช่วงราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรทางภาคเหนือลดลง.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและแคะ · ดูเพิ่มเติม »

ไท่ช่างหฺวัง

ท่ช่างหฺวัง (แปลตรงตัวว่า พระเจ้าหลวง) เป็นสมัญญาของจักรพรรดิจีนที่สละราชสมบัต.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและไท่ช่างหฺวัง · ดูเพิ่มเติม »

เยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน

ว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน (The Moon Represents My Heart, พระจันทร์แทนใจฉัน) เป็นเพลงจีนที่มีชื่อเสียงของเติ้ง ลี่จวินในช่วงทศวรรษ 1970 Chan, Dawn.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและเยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน · ดูเพิ่มเติม »

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

ลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน คือตำแหน่งสูงสุดในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เป็นหัวหน้าของคณะกรมการเมืองถาวรแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (Politburo Standing Committee of the Communist Party of China) และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมนิวนิสต์จีน (Secretariat of the Communist Party of China Central Committee) โดยทั่วไปแล้วตำแหน่งนี้จะเป็นผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เหลก๊าเส่ง

หลก๊าเส่ง (ภาษากวางตุ้ง) หรือ ลี่เกียเซ้ง (ภาษาแต้จิ๋ว) หรือ ลี่จ๊าเฉิง (ภาษาจีนกลาง) (เกิดวันที่ 29 กรกฎาคม 2471 ณ เมืองแต้จิ๋ว, ประเทศจีน) เป็นนักธุรกิจใหญ่ชาวฮ่องกง นักลงทุน และนักการกุศล ตามนิตยสารฟอบส์ โดยเดือนพฤศจิกายน 2558 เขาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในเอเชีย โดยมีประเมินทรัพย์สินสุทธิที่ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,190,167 ล้านบาท) เขาเป็นประธานกรรมการของบริษัท CK Hutchison Holdings โดยปี 2558 ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารจัดการสถานีคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และร้านขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางที่ใหญ่ที่สุดในโลก นิตยสาร เอเชียวีก จัดเขาว่าเป็น "คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชีย" ในปี 2544 กลุ่มบริษัทของเขาประเมินว่ามีค่าถึง 15% ของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง นิตยสาร ฟอบส์ และตระกูลฟอบส์ให้รางวัล Malcolm S. Forbes Lifetime Achievement Award แก่เขาเป็นคนแรกในปี 2549 ในประเทศสิงคโปร์ แม้ว่าจะร่ำรวยมาก แต่เขากลับมีชื่อเสียงในการใช้ชีวิตอย่างสมถะ โดยมักจะใส่รองเท้าสีดำธรรมดาและนาฬิกาไซโก้ที่มีราคาไม่แพงมาก แต่เขาก็มีบ้านอยู่ในเขตที่แพงที่สุดที่หนึ่งในเกาะฮ่องกง และเป็นนักการกุศลที่ใจกว้างที่สุดคนหนึ่งในเอเชีย คือได้บริจาคทรัพย์เกินกว่า 2,180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 77,843 ล้านบาท) เนื่องจากว่าบิดาของเขาเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย ๆ ทำให้เขาต้องออกจากโรงเรียนก่อนอายุ 15 ปี แล้วทำงานในบริษัทขายพลาสติกซึ่งเขาต้องทำงานกว่า 16 ชม.ต่อวัน ต่อมาในปี 2493 (อายุ 22 ปี) เขาจึงตั้งบริษัทของตนเองชื่อว่า Cheung Kong Industries เริ่มต้นจากการผลิตพลาสติกโดยเฉพาะดอกไม้ประดิษฐ์ ต่อมาเขาได้ทำธุรกิจหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ท่าเรือ โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ประกันชีวิต โทรศัพท์มือถือ และเหลได้สร้างบริษัทของเขาให้เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในฮ่องกงแล้วเริ่มขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2515.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและเหลก๊าเส่ง · ดูเพิ่มเติม »

เจียง เจ๋อหมิน

เจียง เจ๋อหมิน (ภาษากวางตุ้ง, อักษรโรมัน: gong1 zaak6 man4) เกิดวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) เป็นบุคคลหลักของ "ผู้นำรุ่นที่สาม" ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระหว่าง พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ถึง พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) และประธานาธิบดีระหว่าง พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) ถึง พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) เขายังเป็นผู้คิดทฤษฎีสามตัวแทนซึ่งนำมาใช้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ และของพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย เจียง เจ๋อหมิน เป็นชาวเมืองหยางโจว มณฑลเจียงซู หลังจากเติ้งเสี่ยวผิงได้แตกหักกับเจ้าจื่อหยาง เนื่องจากเหตุชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เติ้งเสี่ยวผิงจึงเลือกเจียง เจ๋อหมินเป็นทายาททางการเมืองของเขาแทน หมวดหมู่:ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หมวดหมู่:เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน หมวดหมู่:ผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หมวดหมู่:บุคคลจากหยางโจว.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและเจียง เจ๋อหมิน · ดูเพิ่มเติม »

เขมรแดง

ธงแดงรูปค้อนเคียวของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย) เขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម; แขฺมรกฺรหม; อ่านว่า คแมร์กรอฮอม /ฝรั่งเศสและอังกฤษ: Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” (Communist Party of Kampuchea; Parti communiste du Kampuchéa – PCK) และ “พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย” (Parti du Kampuchéa démocratique) รูปแบบการปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง "สังคมใหม่" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน..

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา

ตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (อักษรธรรม: ᩈᩥ᩠ᨷᩈ᩠ᩋᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ ไทลื้อใหม่: ᦈᦹᧈᦈᦹᧈᦋᦵᦲᧁᦘᦱᦉᦱᦑᦺ᧑᧒ᦗᧃᦓᦱ) หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองเอก คือ เมืองเชียงรุ่ง.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา · ดูเพิ่มเติม »

เติ้ง ลี่จวิน

ติ้ง ลี่จวิน หรือ เทเรซา เติ้ง (テレサ・テン, 29 มกราคม พ.ศ. 2496 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) นักร้องเพลงจีนสากลชาวไต้หวันชื่อดังและมีอิทธิพลอย่างสูง เธอเกิดที่ เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน โดยบรรพบุรุษของเธอมาจากมณฑลเหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เสียงและเพลงของเธอเป็นที่จดจำทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและในหมู่ชาวจีนทั้งในประเทศจีน ไต้หวัน และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก จนมีคำกล่าวว่า "มีชาวจีนอยู่ที่ไหน ก็จะได้ยินเพลงของเติ้ง ลี่จวินที่นั่น" นอกจากนี้ เพลงของเธอยังเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวไทย ชาวเวียดนาม ชาวมาเลเซีย และชาวอินโดนีเซียจำนวนมากเช่นกัน เติ้ง ลี่จวิน มีชื่อเสียงจากบทเพลงรัก และเพลงพื้นเมืองภาษาหมิ่นหนาน (ภาษาฮกเกี้ยน) เพลงที่โด่งดังจนรู้จักกันทั่วไปทั่วเอเชีย ได้แก่เพลง เถียนมี่มี่ (甜蜜蜜, tián mì mì แปลว่า หวานปานน้ำผึ้ง) และเพลง เยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน (月亮代表我的心, yuè liàng dài biǎo wǒ de xīn แปลว่า พระจันทร์แทนใจฉัน) เป็นต้น ไม่เพียงเพลงภาษาจีนกลางเท่านั้น เธอยังเคยมีผลงานเพลงภาษาไต้หวัน ภาษากวางตุ้ง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษด้วย เติ้ง ลี่จวิน เสียชีวิตอย่างกะทันหันเนื่องจากโรคหอบหืด ขณะเดินทางมาพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ขณะอายุได้เพียง 42 ปี.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและเติ้ง ลี่จวิน · ดูเพิ่มเติม »

19 กุมภาพันธ์

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 50 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 315 วันในปีนั้น (316 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและ19 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

22 กรกฎาคม

วันที่ 22 กรกฎาคม เป็นวันที่ 203 ของปี (วันที่ 204 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 162 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและ22 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 สิงหาคม

วันที่ 22 สิงหาคม เป็นวันที่ 234 ของปี (วันที่ 235 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 131 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เติ้ง เสี่ยวผิงและ22 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เติ้งเสี่ยวผิง邓小平

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »