โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซเลรอน

ดัชนี เซเลรอน

ซเลรอน (Celeron) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู x86 ของทางอินเทล โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาย่อมเยา โพรเซสเซอร์เซเลรอนสามารถทำงานได้เหมือนตัวอื่นทั่วไป แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าโดยมักจะมี หน่วยความจำแคชที่น้อยกว่า หรือมีคุณสมบัติที่น้อยกว่า เซเลรอนเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2541 ซีพียูภายใต้ชื่อเซเลรอนตัวแรกพัฒนาจาก เพนเทียม II และต่อมาได้พัฒนาบนฐานของ เพนเทียม III, เพนเทียม 4, เพนเทียม M และ คอร์ 2 ดูโอ ตามลำดับ โดยการออกแบบเซเลรอนรุ่นล่าสุด (2552) พัฒนาบนฐานของ คอร์ 2 ดูโอ วูล์ฟเดลสำหรับเดสก์ทอป และ เพนรินสำหรับแล็ปท็อป โดยทำงานลักษณะของคอร์แยกจากกันอิสระ แต่มีแคชเพียง 25% เมื่อเทียบกับซีพียูคอร์ 2 ดูโอทั่วไป และถัดไปจะพัฒนาบนแซนดีบร.

6 ความสัมพันธ์: อินเทลอินเทล คอร์แซนดีบริดจ์ไมโครโพรเซสเซอร์เพนเทียมเพนเทียมดูอัล-คอร์

อินเทล

ำนักงานใหญ่อินเทล ที่ซานตาคลารา อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร อินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน แต่เดิมนั้น ชื่อของอินเทลจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่วิศวกรและนักเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หลังจากที่โฆษณา อินเทล อินไซด์ ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 ชื่อของอินเทลก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในทันที โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักคือ หน่วยประมวลผลกลางตระกูลเพนเทียม (Pentium).

ใหม่!!: เซเลรอนและอินเทล · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล คอร์

อินเทล คอร์ (Intel Core) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู สถาปัตยกรรมประมวลผล แบบ x86 ของบริษัทอินเทล.

ใหม่!!: เซเลรอนและอินเทล คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แซนดีบริดจ์

แซนดีบริดจ์ (Sandy Bridge) เป็นชื่อรหัสของซีพียูหรือหน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์ ของบริษัทอินเทล เป็นซีพียูที่พัฒนาต่อจากซีพียูรหัสเนเฮเลม เริ่มพัฒนาเมื่อ..

ใหม่!!: เซเลรอนและแซนดีบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครโพรเซสเซอร์

อินเทล 4004 ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วไปตัวแรกที่มีการจำหน่าย ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: เซเลรอนและไมโครโพรเซสเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียม

นเทียม (Pentium) เป็นเครื่องหมายการค้าและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 หลายตัวจากบริษัทอินเทล เพนเทียมเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยใช้สถาปัตยกรรม P5 และมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยชิปตัวใหม่ที่ออกมาจะใช้ชื่อรหัสตามหลังคำว่าเพนเทียมเช่น เพนเทียมโปร หรือ เพนเทียมดูอัล-คอร์ จนกระทั่งในปี 2553 ทางอินเทลได้เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อชิปในตระกูลเพนเทียมทั้งใหม่หมดให้ใช้เพียงแค่คำว่า "เพนเทียม" โดยไม่มีคำใดต่อท้าย แม้ว่าเพนเทียมถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ใช้สถาปัตยกรรม P5 ชิปที่พัฒนาต่อมาได้มีการนำสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่นำมาพัฒนามาใช้ภายใต้ชื่อตระกูลเพนเทียม เช่น P6, เน็ตเบิรสต์, คอร์, เนเฮเลม และล่าสุดคือสถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์ ในปี 2541 เพนเทียมได้ถูกจัดให้เป็นซีพียูสำหรับตลาดบนของทางอินเทลเมื่อบริษัทได้เปิดตัวแบรนด์เซเลรอน เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ที่ประสิทธิภาพลดลงมา จนกระทั่งในปี 2549 อินเทลได้เปิดตัวตระกูลคอร์ โดยออกมาในชื่อ อินเทล คอร์ 2 ทำให้สถานะทางการตลาดของเพนเทียมอยู่ในระดับกลาง รองจากตระกูลคอร์แต่อยู่สูงกว่าตระกูลเซเลรอน โดยในปัจจุบันชื่อเพนเทียมเป็นชิปที่อยู่ในราคากลางโดยอยู่ระหว่างอินเทลคอร์และอินเทลเซเลรอน.

ใหม่!!: เซเลรอนและเพนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียมดูอัล-คอร์

นเทียมดูอัล-คอร์ (Pentium Dual-Core) เป็นแบรนด์ซีพียู x86 ของอินเทลในตระกูลเพนเทียม ในช่วงปี..

ใหม่!!: เซเลรอนและเพนเทียมดูอัล-คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CeleronIntel Celeronอินเทล เซเลรอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »