เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เซนทรอยด์

ดัชนี เซนทรอยด์

ซนทรอยด์ของรูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง ในทางเรขาคณิต เซนทรอยด์ (centroid) หรือชื่ออื่นเช่น ศูนย์กลางเรขาคณิต (geometric center), แบรีเซนเตอร์ (barycenter) ของรูปร่าง X บนระนาบ คือจุดตัดของเส้นตรงทั้งหมดที่แบ่งรูปร่าง X ออกเป็นสองส่วนตามโมเมนต์เท่าๆ กัน หรือเรียกได้ว่าเป็นแนวโน้มสู่ส่วนกลางของจุดทั้งหมดที่อยู่ภายในรูปร่าง X นิยามนี้ขยายออกไปยังวัตถุใดๆ ที่อยู่ในปริภูมิ n มิติด้วย นั่นคือเซนทรอยด์คือจุดตัดของระนาบเกิน (hyperplane) ทั้งหมดที่แบ่งรูปร่าง X ออกเป็นสองส่วนตามโมเมนต์เท่าๆ กัน ในทางฟิสิกส์ เซนทรอยด์อาจหมายถึงศูนย์กลางเรขาคณิตของวัตถุดังที่กล่าวไปแล้ว หรืออาจหมายถึงศูนย์กลางมวลหรือศูนย์ถ่วงของวัตถุ ขึ้นอยู่กับบริบท หรือเรียกได้ว่าเป็นแนวโน้มสู่ส่วนกลางของจุดทั้งหมด ซึ่งชั่งน้ำหนักตามความหนาแน่นหรือน้ำหนักจำเพาะตามลำดับ ในทางภูมิศาสตร์ เซนทรอยด์ของบริเวณหนึ่งบนพื้นผิวโลก ซึ่งเป็นภาพฉายตามแนวรัศมีไปบนพื้นผิว คือจุดกึ่งกลางโดยสมมติของพื้นที่บริเวณนั้น เรียกว่าศูนย์กลางภูมิศาสตร์ (geographical centre).

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: กลุ่มท้องถิ่นรูปสามเหลี่ยมรูปหลายเหลี่ยมวงโคจรแบรีเซนเตอร์เส้นมัธยฐาน

กลุ่มท้องถิ่น

ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.

ดู เซนทรอยด์และกลุ่มท้องถิ่น

รูปสามเหลี่ยม

รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี หรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย ในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ).

ดู เซนทรอยด์และรูปสามเหลี่ยม

รูปหลายเหลี่ยม

ในทางเรขาคณิต รูปหลายเหลี่ยม (อังกฤษ: polygon) ตามความหมายดั้งเดิม หมายถึงรูปร่างอย่างหนึ่งที่เป็นรูปปิดหรือรูปครบวงจรบนระนาบ ซึ่งประกอบขึ้นจากลำดับของส่วนของเส้นตรงที่มีจำนวนจำกัด ส่วนของเส้นตรงเหล่านั้นเรียกว่า ขอบ หรือ ด้าน และจุดที่ขอบสองข้างบรรจบกันเรียกว่า จุดยอด หรือ เหลี่ยม (corner) ภายในรูปหลายเหลี่ยมบางครั้งก็เรียกว่า เนื้อที่ (body) รูปหลายเหลี่ยมเป็นวัตถุในสองมิติ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของพอลิโทป (polytope) ที่อยู่ใน n มิติ ด้านสองด้านที่บรรจบกันเป็นเหลี่ยม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกิดมุมที่ไม่เป็นมุมตรง (180°) ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนของเส้นตรงทั้งสองจะถูกพิจารณาว่าเป็นด้านเดียวกัน ความคิดทางเรขาคณิตพื้นฐานได้ถูกดัดแปลงไปในหลากหลายทาง เพื่อที่จะทำให้เข้ากับจุดประสงค์เฉพาะ ตัวอย่างเช่นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คำว่า รูปหลายเหลี่ยม ถูกนำไปใช้และมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปโดยเล็กน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกและจัดการรูปร่างภายในคอมพิวเตอร์มากขึ้น รูปหลายเหลี่ยม หลายชน.

ดู เซนทรอยด์และรูปหลายเหลี่ยม

วงโคจร

นีอวกาศนานาชาติ (The International Space Station) กำลังโคจรอยู่เหนือโลก ดาวเทียมโคจรรอบโลกจะมีความเร็วแนวเส้นสัมผัสและความเร่งสู่ภายใน เทหวัตถุสองอย่างที่มีความแตกต่างกันของมวลโคจร แบบ barycenter ที่พบได้บ่อย ๆ ขนาดสัมพัทธ์และประเภทของวงโคจรมีลักษณะที่คล้ายกับระบบดาวพลูโต-แครัน (Pluto–Charon system) ในฟิสิกส์, วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร.

ดู เซนทรอยด์และวงโคจร

แบรีเซนเตอร์

แครอน แบรีเซนเตอร์ (Barycenter) เป็นจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุสองวัตถุหรือมากกว่าที่ซึ่งโคจรรอบซึ่งกันและกันหรือจุดรอบๆที่ซึ่งมันโคจร แบรีเซนเตอร์เป็นประเด็นสำคัญในดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ระยะทางจากจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุถึงแบรีเซนเตอร์สามารถใช้คำนวณปัญหาสองวัตถุอย่างง่าย คำว่าแบรีเซนเตอร์มาจากคำในภาษากรีกว่า βαρύ-ς หนัก และ κέντρ-ον ศูนย์กลาง ในเรขาคณิต คำว่า "แบรีเซนเตอร์" มีความหมายเหมือนกับคำว่า เซนทรอยด์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของรูปเรขาคณิตสองมิต.

ดู เซนทรอยด์และแบรีเซนเตอร์

เส้นมัธยฐาน

้นมัธยฐานตัดกันที่เซนทรอยด์ ในทางเรขาคณิต เส้นมัธยฐาน คือเส้นตรงที่ลากผ่านจุดกึ่งกลางบนด้านของรูปสามเหลี่ยมไปยังจุดยอดที่อยู่ตรงข้าม ทำให้พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่ากัน เส้นมัธยฐานสามเส้นของรูปสามเหลี่ยมจะตัดกันที่เซนทรอยด์ (centroid) หรือศูนย์กลางมวล และเส้นมัธยฐานทุกเส้นจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนที่จุดตัด โดยมีความยาวเป็น 2/3 ระหว่างจุดยอดกับเซนทรอยด์ และ 1/3 ระหว่างจุดกึ่งกลางด้านกับเซนทรอยด์ ไม่มีเส้นตรงอื่นใดที่แบ่งพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมออกเป็นสองส่วนเท่ากันแล้วผ่านเซนทรอยด์ นอกจากเส้นมัธยฐาน.

ดู เซนทรอยด์และเส้นมัธยฐาน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ BarycenterCentroidศูนย์กลางทางเรขาคณิตศูนย์กลางเรขาคณิตจุดศูนย์กลางทางเรขาคณิตเซ็นทรอยด์