สารบัญ
52 ความสัมพันธ์: ฟืนพลังงานความร้อนพุทธเศรษฐศาสตร์พีตกระสุนส่องวิถีกระถินพิมานการกลั่นทำลายการหมักเชิงอุตสาหกรรมการเผาไหม้ภาษีคาร์บอนมลพิษทางอากาศมีเทนยานพาหนะแก๊สธรรมชาติยีสต์รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ลิกไนต์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐสแตนดาร์ดออยล์หญ้ามิสแคนทัสหญ้ามิสแคนทัสช้างอาร์เอ็มเอส ไททานิกอุตสาหกรรมพลังงานอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตรายจรวดจักรพรรดิโชวะธรณีวิทยาถ่านหินทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยดาวฤกษ์งานคอปกเขียวซูเปอร์ชาร์จเจอร์ประเทศปาปัวนิวกินีปิโตรเลียมน้ำมันดีเซลแบตเตอรี่แกลบแก๊สเชี้อเพลิงแก๊สเรือนกระจกไบโอดีเซลไม้ไนโตรเจนออกไซด์เชื้อเพลิงชีวภาพเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เศรษฐกิจจีนเอลเซท 129 ฮินเดนบูร์กเอ็กซอนโมบิลเครื่องยนต์สันดาปภายในเครื่องยนต์จรวด... ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »
ฟืน
กองฟืน ฟืน (firewood) คือท่อนไม้หรือเศษไม้ที่นำมาใช้เผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงโดยไม่ผ่านการแปรรูป (ต่างจากเชื้อเพลิงไม้ประเภทอื่นๆ เช่นถ่านไม้) ส่วนใหญ่จะตัดมาจากต้นไม้โดยตรง, ตากให้แห้ง, หรือเก็บรวบรวมจากเศษไม้แห้ง โดยฟืนไม้แห้งจะเผาไหม้ได้ดีกว่าไม้สดชนิดเดียวกัน ฟืนเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ และถือเป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียนชนิดหนึ่ง ซึ่งจะทดแทนได้เองเมื่อต้นไม้เติบโตขึ้นอีกครั้ง แต่มักจะมีปัญหาจากความต้องการที่มีมากกว่าอัตราการทดแทน.
พลังงานความร้อน
พลังงานความร้อน หรือ พลังงานอุณหภาพ (Thermal energy) เป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงาน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์ พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ พลังงานเปลวไฟ ฯลฯ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อนยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ "แคลอรี" โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "แคลอรีมิเตอร์" หมวดหมู่:พลังงาน หมวดหมู่:พลังงานความร้อน.
ดู เชื้อเพลิงและพลังงานความร้อน
พุทธเศรษฐศาสตร์
ทธเศรษฐศาสตร์ คือ การประยุกต์แนวความคิดทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์มาใช้อธิบายหลักการและแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เป็นแนวทางใหม่ในการทำความเข้าใจเศรษฐศาตร์ ไม่ได้มีข้อโต้แย้งมากมายอะไรนักเกี่ยวกับกระบวนการวิเคราะห์ที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้อยู่ การนำเอาวิธีการอนุมาณเชิงตรรกะเข้ามาใช้ในวิชาเศรษฐศาสตร์ เช่นเดียวกับการนำไปใช้ในวิชาอื่น ๆ แต่ข้อสมมุติขั้นพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักใช้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเพียงพอ นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักส่วนมากไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรในประเด็นนี้ ส่วนใหญ่จะยอมรับไปโดยปริยาย และนักเศรษฐศาสตร์ก็ได้สร้างเครื่องมือการวิเคราะห์ขึ้นบนรากฐานที่เปราะบาง ผลที่ตามมาคือข้อสรุปส่วนใหญ่ที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเผชิญกับการท้าทายจากภาวะวิกฤตได้ ข้อสมมุติพื้นฐานบางส่วนที่สร้างขึ้นมาจากเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นจริงและบางครั้งก็ขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ ซึ่งทำให้พลังในการอรรถาธิบายของเศรษฐศาสตร์แบบเดิมอ่อนลงไปมาก เมื่อนำเอาแนวความคิดในเชิงพุทธเข้ามาทดแทนข้อสมมุติฐานที่เป็นปัญหาดังกล่าว ทำให้การมองปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และกฎเกณฑ์ธรรมชาติใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น และเพิ่มพลังในการอรรถาธิบายของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักให้หนักแน่นมากขึ้น อย่างน้อยก็ในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของบทความนี้ที่เรียกว่า “ พุทธเศรษฐศาสตร์” แนวคิดนี้ค่อนข้างแตกต่างไปจาก “เศรษฐศาสตร์สำหรับชาวพุทธ” โดยคำหลังไม่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเพียงพอ และมักจะเป็นเพียงการตรวจสอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จากมุมมองของชาวพุทธที่มีค่านิยมและความเชื่อเป็นของตนเอง ไม่ได้เป็นการพยายามที่จะค้นหาและตรวจสอบแนวความคิดเชิงพุทธและเชิงเศรษฐศาสตร์ในทางลึกอย่างเพียงพอ ถ้าปราศจากการท้าทายโดยตรงต่อตัวแบบการคิดของเศรษฐศาสตร์ปัจจุบัน จุดอ่อนในการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะไม่ปรากฏขึ้น พุทธเศรษฐศาสตร์ได้เตรียมรับมือกับการท้าทายนี้โดยมุ่งไปยังจุดอ่อนพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและนำเอาแนวคิดเชิงพุทธที่สอดคล้องกับความป็นจริงมากกว่าเข้ามาทดแทนจุดอ่อนนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งคือความพยายามที่จะเยียวยาวิกฤตการณ์ของการวิเคราะห์ที่ซ้ำเติมภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของเอเซียอยู่ในปัจจุบัน.
ดู เชื้อเพลิงและพุทธเศรษฐศาสตร์
พีต
กองพีตที่ขุดขึ้นมาในสกอตแลนด์ พีต (Peat) พีตเป็นแหล่งสะสมของพืชตกค้างที่แปรสภาพไปสู่การเน่าสลายตัว พีตเกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นพรุชุ่มน้ำ, ทุ่งมัวร์, พรุมัสเคก, หนองน้ำในที่ดอน และ ป่ามาบพีต พีตเป็นแหล่งสำคัญที่ขุดขึ้นมาใช้ในการทำเชื้อเพลิงในบางภูมิภาคของโลก เนื้อที่ของพีตที่ครอบคลุมโลกมีประมาณ 3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของเนื้อที่ของโลกทั้งหมด ที่แปลเป็นพลังงานได้เท่ากับราว 8 พันล้านเทราจูล (terajoule).
กระสุนส่องวิถี
ปืนกลบราวนิง เอ็ม 2 ที่บรรจุกระสุนแล้ว ปลายหัวกระสุนส่องวิธีถูกทาสีแดงเพื่อแยกประเภทออกจากกระสุนธรรมดา กระสุนส่องวิถีคือกระสุนชนิดพิเศษที่ฐานใต้หัวกระสุนถูกดัดแปลงให้รองรับสารเคมีที่ก่อให้เกิดประกายไฟ สารเคมีจะลุกไหม้ทำให้เกิดแสงจ้าเมื่อกระสุนถูกยิงออกไป ทำให้ผู้ยิงรู้ถึงวิถีกระสุน ว่ากระทบกับเป้าหมายหรือไม่ เพื่อปรับการเล็งให้เที่ยงตรง โดยทั่วไปแล้วกระสุนส่องวิถีจะถูกบรรจุแทรกกับกับกระสุนทั่วไปทุกๆ สี่ถึงหกนัด เพื่อทำการส่องวิถีในการรบเวลากลางคืน แต่บางครั้งหัวหน้าชุดยิงอาจจะบรรจุกระสุนส่องวิถีทั้งซองเพื่อชี้เป้าให้สมาชิกชุดยิงคนอื่นๆ ทำการระดมยิงใส่เป้าหมาย คนที่ถูกกระสุนส่องวิถียิงใส่จะเห็นว่ากระสุนแล่นมาด้วยความเร็วต่ำจากระยะไกล แต่เมื่อกระสุนแล่นเข้ามาใกล้ขึ้น ก็ดูเหมือนว่าความเร็วของกระสุนจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม มุมมองของผู้ถูกยิงนั้นเป็นภาพลวงต.
ดู เชื้อเพลิงและกระสุนส่องวิถี
กระถินพิมาน
กระถินพิมาน เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) พบได้ในป่าเบญจพรรณ.
การกลั่นทำลาย
การกลั่นทำลาย (destructive distillation) เป็นกรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นๆ การกลั่นทำลายถ่านหินให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก หมวดหมู่:เคมี.
การหมักเชิงอุตสาหกรรม
การหมักเชิงอุตสาหกรรม (Industrial fermentation) เป็นการหมักจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียและเห็ดรา ที่ทำโดยตั้งใจเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถใช้เป็นอาหารหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในอุตสาหกรรม สารเคมีที่มีขายทั่วไปบางอย่าง เช่น กรดน้ำส้ม กรดซิตริก และเอทานอล ล้วนผลิตโดยวิธีการหมัก ความช้าเร็วของกระบวนการหมักขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ เซลล์ องค์ประกอบของเซลล์ เอนไซม์ รวมทั้งอุณหภูมิและค่ากรด และสำหรับการหมักบางชนิด ออกซิเจน กระบวนการสกัดผลิตภัณฑ์ออกมา บ่อยครั้งต้องเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางนั้น เอนไซม์ที่ผลิตขายทั้งหมด เช่น lipase, invertase, และ rennet จะทำโดยการหมักที่ใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ในบางกรณี มวลชีวภาพของจุลินทรีย์นั่นแหละเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยีสต์ขนมอบ (Saccharomyces cerevisiae) และแบคทีเรียที่เปลี่ยนแล็กโทสเป็นกรดแล็กติกที่ใช้ในการผลิตชีส โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งการหมักได้ออกเป็น 4 จำพวก คือ.
ดู เชื้อเพลิงและการหมักเชิงอุตสาหกรรม
การเผาไหม้
การเผาไหม้ เกิดจากปฏิกิริยาการรวมตัวกันของเชื้อเพลิงกับออกซิเจนอย่างรวดเร็ว พร้อมเกิดการลุกไหม้ และคายความร้อน ในการเผาไหม้ส่วนใหญ่จะไม่ใช้ออกซิเจนล้วนๆ แต่จะใช้อากาศแทนเนื่องจากอากาศมีออกซิเจนอยู่ 21% โดยปริมาตร หรือ 23% โดยน้ำหนัก.
ภาษีคาร์บอน
ษีคาร์บอน (carbon tax) เป็นภาษีสิ่งแวดล้อมที่จัดเก็บเนื่องจากคาร์บอนที่เป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิง อะตอมของคาร์บอนจะประกอบอยู่ในเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ) และเมื่อถูกเผาไหม้จะปล่อยออกมาในรูปแบบของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เปรียบต่างกับพลังงานในรูปแบบอื่นเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และ พลังงานนิวเคลียร์ ที่ไม่ได้เปลี่ยนไฮโดรคาร์บอนกลายมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ในทางเศรษฐกิจและนโยบาย ภาษีคาร์บอนได้เพิ่มการแข่งขันเพื่อช่วยพลังงานทางเลือกประเภทอื่น.
มลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษโลก 2 ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places) ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี..
มีเทน
มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.
ยานพาหนะแก๊สธรรมชาติ
รถยนต์ฮอนด้าซิวิครุ่นปี 2009 ใช้เชื้อเพลิงทางเลือก ยานพาหนะแก๊สธรรมชาติ หรือ เอ็นจีวี (Natural gas Vehicle, NGV) เป็นยานพาหนะใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น แก๊สธรรมชาติอัด หรือ CNG แก๊สธรรมชาติเหลว ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเพื่อลดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ในปี พ.ศ.
ดู เชื้อเพลิงและยานพาหนะแก๊สธรรมชาติ
ยีสต์
ีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (eukaryotic micro-organisms) จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร มีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทำให้ยีสต์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมี.
รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.
ดู เชื้อเพลิงและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
ลิกไนต์
ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินชนิดหนึ่งที่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นคุณภาพต่ำสุดของถ่านหิน มีการทำเหมืองมากในหลายประเทศ เช่น เยอรมนี รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย กรีซ จีน อินเดีย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่พบว่าลิกไนต์จะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำ เนื่องจากมีปริมาณสำรองมาก และมีราคาถูก อย่างไรก็ตามเนื่องจากลิกไนต์มักมีปริมาณความชื้นสูงและมีแนวโน้มที่จะลุกไหม้เองได้ง่าย ทำให้มักมีปัญหาในเรื่องของการขนส่งและเก็บรักษา พบมากที่ลำปาง หมวดหมู่:ถ่านหิน.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.
ดู เชื้อเพลิงและสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ
ำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ "อีพีเอ" เป็นหน่วยงานระดับประเทศ หรือระดับรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์และปกป้องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งได้แก่อากาศ น้ำและแผ่นดิน EPA เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.
ดู เชื้อเพลิงและสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ
สแตนดาร์ดออยล์
ริษัท สแตนดาร์ดออยล์ จำกัด (Standard Oil Co.) เป็นอดีตบริษัทในสหรัฐอเมริกาที่ผลิต ขนส่ง กลั่น และทำการตลาดผลิตปิโตรเลียม บริษัทเริ่มก่อตั้งที่รัฐโอไฮโอเมื่อ..
ดู เชื้อเพลิงและสแตนดาร์ดออยล์
หญ้ามิสแคนทัส
หญ้ามิสแคนทัส (ชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ Miscanthus) เป็น สกุล (genus) ของหญ้าพืชหลายปี ประมาณ 15 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในถิ่นกึ่งโซนร้อนของแอฟริกาและเอเซียใต้ โดยมีหญ้ามิสแคนทัสชนิดไซเนนซิส หรือ "หญ้าซูซูกิ" (M.
หญ้ามิสแคนทัสช้าง
หญ้ามิสแคนทัสช้าง (Miscanthus giganteus) เป็นหญ้ามิสแคนทัสชนิดพืชหลายฤดูชนิดหนึ่ง (perennial grass) ขนาดใหญ่ (ที่สามารถสูงได้ถึง 4 เมตร) ที่นำมาใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ปัจจุบันมีการผลิตเชิงการค้าในสหราชอาณาจักรซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดที่เพิ่มกำลังเพิ่มอย่างรวดเร็ว นอกจากการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าและความร้อนที่มีราคาประหยัดแล้ว หญ้ามิสแคนทัสช้างยังเป็นพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ด้วยระบบรากที่มีขนาดใหญ่มันจึงสามารถหาอาหารได้ดีกว่า นอกจากนี้ลำต้นส่วนล่างที่สูงยังใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่างๆ ตามธรรมชาติได้ดีด้วย การให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงและไม่ต้องการการดูแลมาก หญ้ามิสแคนทัสช้างจึงมีความเหมาะสมมากในการเก็บกักคาร์บอนและใช้ในการสร้างดิน.
ดู เชื้อเพลิงและหญ้ามิสแคนทัสช้าง
อาร์เอ็มเอส ไททานิก
อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) เป็นเรือโดยสารซึ่งจมลงสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติกเมื่อวันที่ 15 เมษายน..
ดู เชื้อเพลิงและอาร์เอ็มเอส ไททานิก
อุตสาหกรรมพลังงาน
การใช้พลังงานเป็นกิโลกรัมเทียบเท่าน้ำมันดิบ (kgoe) ต่อคนต่อปีต่อประเทศ (ข้อมูลปี ค.ศ. 2001) โทนเข้มกว่าหมายถึงการใช้ที่มากกว่า (พื้นที่สีเทาเข้มขาดหายไปจากชุดข้อมูล) สีแดงหมายถึงการใช้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนสีเขียวหมายถึงการใช้ที่ลดลง ในช่วงระหว่าง ค.ศ.
ดู เชื้อเพลิงและอุตสาหกรรมพลังงาน
อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย
ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า พื้นที่อันตรายหมายถึง พื้นที่ที่อาจจะเต็มไปด้วยก๊าซไวไฟ ไอน้ำ ฝุ่นละออง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องถูกออกแบบและทดลองมาอย่างพิเศษ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดการระเบิด ประกายไฟ หรือมีพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูง ตัวอย่างเช่น สวิตช์ไฟในบ้าน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดประกายไฟเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในสภาวะบรรยากาศปกติ จะไม่ได้รับความสนใจ แต่ในสภาวะที่มีไอระเหยที่ติดไฟได้อยู่ ประกายไฟอาจจะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะถูกนำไปติดตั้งใช้ในโรงงานเคมีหรือโรงงานถลุงแร่จะต้องถูกออกแบบมาให้ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรืออะไรก็ตามที่อาจจะก่อให้เกิดประกายไฟอันจะทำให้ไอระเหยติดไฟได้ที่อาจจะปรากฏในบริเวณนั้นเกิดการระเบิดขึ้นได้ มีแนวทางแก้ปัญหาในการติดตั้งทางไฟฟ้าเหล่านี้มากมาย แต่วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการลดจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะด้วยการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าออกนอกบริเวณอันตราย หรือการลดความอันตรายของพื้นที่ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการใช้ระบบระบายอากาศ Intrinsic safety คือเทคนิกในทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดระดับกำลังของไฟฟ้าและมีพลังงานสะสมต่ำ อันจะทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิดต่ำลง การปิดคลุมอุปกรณ์สามารถอัดอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในระบบแล้วปิดตาย ซึ่งอุปกรณ์จะถูกตัดออกจากระบบเมื่อระบบจ่ายอากาศไม่ทำงาน เป็นเรื่องธรรมดาในสายงานเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานที่แต่งต่างกันออกไปและมีวิธีการทดสอบที่อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานในพื้นที่อันตรายที่ไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยการค้าโลกทวีความสำคัญในการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นมาตรฐานนานาชาติจค่อย ๆ จึงค่อย ๆ ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนมีเทคนิกที่ได้รับการยอมรับโดนตัวแทนของแต่ละชาติมากขึ้น.
ดู เชื้อเพลิงและอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย
จรวด
รวดโซยุซ-ยู (Soyuz-U) ณ ฐานปล่อยที่ 1/5 ไบโคนูร์ ไซต์1/5 (Baikonur's Site 1/5) ในคาซัคสถาน (Kazakhstan) การปล่อยจรวดแซทเทิร์น 5 อะพอลโล 15: เวลาเริ่มปล่อย T - 30 วินาที เวลาเสร็จสิ้น T + 40 วินาที จรวด หมายถึงขีปนาวุธ, ยานอวกาศ, เครื่องบิน หรือพาหนะอื่นใดที่อาศัยแรงผลักดันของไอเสียที่มีต่อตัวจรวดในการพุ่งไปข้างหน้า โดยใช้การเผาผลาญเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์จรวด ในจรวดทุกชนิดไอเสียจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากเชื้อเพลิงขับดันที่บรรทุกไปด้วยภายในจรวดก่อนที่จะถูกใช้งาน chapter 1 จรวดเคมีสร้างพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจรวด ผลจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงและตัวอ๊อกซิไดซ์ภายในห้องเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมากและขยายตัวออกไปทางหัวฉีดทำให้ก๊าซเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในระดับไฮเปอร์โซนิก ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักมหาศาลต่อตัวจรวดตามกฎข้อที่สามของนิวตัน (แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา)โดยในทางทหารและสันทนาการมีประวัติของการใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือในช่วงเวลานั้น จรวดได้ถูกใช้สำหรับงานทางทหารและสันทนาการ ย้อนกลับไปอย่างน้อยศตวรรษที่ 13 ในประเทศจีน (China) "Rockets in Ancient Times (100 B.C.
จักรพรรดิโชวะ
มเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.
ธรณีวิทยา
The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.
ถ่านหิน
นหิน ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี.
ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาต.
ดู เชื้อเพลิงและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย
ดาวฤกษ์
นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.
งานคอปกเขียว
งานสีเขียว (Green Jobs) หรืองานคอปกเขียว (ตั้งให้ล้อกับคอปกขาวและคอปกน้ำเงิน) เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (โปรดดู เศรษฐกิจสีเขียว) งานสีเขียวคืองานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวข้องทางอ้อมด้วยการไม่สร้างมลพิษให้เกิดการปนเปื้อนหรือเป็นงานที่ใช้พลังงานสะอาด เป็นต้น.
ซูเปอร์ชาร์จเจอร์
ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ในเครื่องยนต์ AMC V8 engine สำหรับการแข่ง dragstrip racing ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (Supercharger, Blower, Compressor) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ดูดอากาศเข้าจากนั้นทำการอัดอากาศและส่งเข้าสู่ห้องด้วยแรงดันสูงให้มวลไหลของออกซิเจนสูงกว่าอัตราการปกติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้มากกว่าเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศ ซึ่งจะช่วยให้เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้และทำงานมากขึ้นเพื่อจะทำการเพิ่มการหมุนต่อรอบและเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ ขณะที่พลังมาจากกังหันก๊าซไอเสียเป็นที่รู้จักกันคือ เทอร์โบชาร์จเจอร์โดยทั่วไปคำว่า supercharger มักจะเกี่ยวกับหน่วยขับเคลื่อนทางกล.
ดู เชื้อเพลิงและซูเปอร์ชาร์จเจอร์
ประเทศปาปัวนิวกินี
ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea; Papua Niugini) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (Independent State of Papua New Guinea; Independen Stet bilong Papua Niugini) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน ปัจจุบันปาปัวนิวกินีเป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน).
ดู เชื้อเพลิงและประเทศปาปัวนิวกินี
ปิโตรเลียม
แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.
น้ำมันดีเซล
น้ำมันดีเซล (Diesel fuel) คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เป็นส่วนหนึ่งของน้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน (เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน) ซึ่งเป็นน้ำมันที่เรียกว่า น้ำมันใส มีจุดเดือดอยู่ที่ประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องยนต์ที่มีแรงอัดสูง (High Compression) และ สามารถจุดระเบิดได้เอง การจุดระเบิดของเชื้อเพลิงชนิดนี้เกิดขึ้นมาจากความร้อนของแรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบ โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้หัวเทียน ผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลที่ใช้งานอาจแบ่งตามคุณสมบัติที่ใช้ คือ.
แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ (Battery) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่มี ขั้วบวก (cathode) และ ขั้วลบ (anode) ขั้วที่มีเครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้าที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า "แบตเตอรี่" หมายถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว แบตเตอรี่ปฐมภูมิจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวหรือ "ใช้แล้วทิ้ง"; วัสดุที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในช่วงปล่อยประจุออก (discharge) ตัวอย่างที่พบบ่อยก็คือ แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ที่ใช้สำหรับ ไฟฉาย และอีกหลายอุปกรณ์พกพา แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (แบตเตอรี่ประจุใหม่ได้) สามารถดิสชาร์จและชาร์จใหม่ได้หลายครั้ง ในการนี้องค์ประกอบเดิมของขั้วไฟฟ้าสามารถเรียกคืนสภาพเดิมได้โดยกระแสย้อนกลับ ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ตะกั่วกรด ที่ใช้ในยานพาหนะและแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนย้ายได้ แบตเตอรี่มาในหลายรูปทรงและหลายขนาด จากเซลล์ขนาดเล็กที่ให้พลังงานกับ เครื่องช่วยฟัง และนาฬิกาข้อมือ จนถึงแบตเตอรี่แบงค์ที่มีขนาดเท่าห้องที่ให้พลังงานเตรียมพร้อมสำหรับ ชุมสายโทรศัพท์ และ ศูนย์ข้อมูล คอมพิวเตอร์ ตามการคาดการณ์ในปี 2005 อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสร้างมูลค่า 48 พันล้านดอลาร์สหรัฐในการขายในแต่ละปี ด้วยการเจริญเติบโตประจำปี 6% แบตเตอรี่มีค่า พลังงานเฉพาะ (พลังงานต่อหน่วยมวล) ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับ เชื้อเพลิง ทั้งหลาย เช่นน้ำมัน แต่ก็สามารถชดเชยได้บ้างโดยประสิทธิภาพที่สูงของมอเตอร์ไฟฟ้าในการผลิตงานด้านกลไกเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์สันดาป.
แกลบ
แกลบ แกลบ (Rice Husk) คือ เปลือกแข็งของเมล็ดข้าวที่ได้จากการสีข้าว เป็นส่วนที่เหลือใช้จากการผลิตข้าวสาร เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงรี เม็ดยาวสีเหลืองอมน้ำตาล หรือเหลืองนวลแล้วแต่ภูมิประเทศที่มีการปลูกข้าว แกลบประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน และเถ้า และมีซิลิกาในเถ้ามาก แกลบไม่ละลายในน้ำ มีความคงตัวทางเคมี ทนทานต่อแรงกระทำ จึงเป็นตัวดูดซับที่ดีในการบำบัดน้ำเสียที่มีโลหะหนัก การกำจัดโลหะหนักด้วยแกลบมีรายงานว่าสามารถใช้ได้กับ แคดเมียม ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง โคบอลต์ นิกเกิลและเงิน โดยใช้ได้ทั้งในรูปที่ทำและไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้ทำปฏิกิริยากับแกลบเพื่อให้ดูดซับโลหะมากขึ้นคือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนตและอีพิคลอโรไฮดริน.
แก๊สเชี้อเพลิง
แก๊สเชื้อเพลิง เป็นเชื้อเพลิงแบบหนึ่งที่ในสภาวะปกติอยู่ในรูปของแก๊ส ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอน (เช่น มีเทน หรือ โพรเพน) บวกกับไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือสารประกอบอื่นๆ เป็นสารทีใช้สร้างพลังงานความร้อนหรือพลังงานแสงสว่างและสามารถส่งตามท่อออกจากแหล่งผลิตได้ แก๊สเชื้อเพลิงจะต้องถูกเติมกลิ่นเข้าไป เพื่อเตือนผู้ใช้หากเกิดการรั่วไหลเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แก๊สที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แก๊สธรรมชาต.
ดู เชื้อเพลิงและแก๊สเชี้อเพลิง
แก๊สเรือนกระจก
ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.
ดู เชื้อเพลิงและแก๊สเรือนกระจก
ไบโอดีเซล
อดีเซล บรรจุขวด ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้ทดแทนกันได้ คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม.
ไม้
ตอไม้ ภาพของประดับที่ทำจากไม้ ภาพพื้นไม้ปาเก้ ภาพไม้แปรรูป Medium-density fibreboard (MDF) ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย ไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ประโยชน์อย่างหนึ่งคือ ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหรือฟืน บางครั้งก็ใช้ในงานศิลปะ ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำอาวุธ หรือเป็นวัสดุก่อสร้าง ไม้ยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้าง ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสามารถสร้างบ้านที่อยู่อาศัย หรือเรือ โดยเรือแทบทุกลำในช่วงปี 80 ทำมาจากไม้แทบทั้งสิ้น ซึ่งในปัจจุบันบ้านหรือเรือที่ทำจากไม้ เริ่มมีจำนวนลดลง โดยปัจจุบันมีการนำวัสดุอื่นมาใช้ในการสร้างแทน แต่ว่าไม้ยังคงมีส่วนสำคัญในด้านการเสริมโครงสร้าง หรือเป็นวัสดุเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างหลังคา และของประดับนอกบ้าน ไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้างรู้จักกันในชื่อ ไม้แปรรูป ไม้โดยสภาพแล้ว ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยตรง เนื่องจากอาจจะมีการแตกหักในโครงสร้าง จึงต้องนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นก่อน เช่น ไม้อัด,chipboard, engineered wood, hardboard, medium-density fibreboard (MDF), oriented strand board (OSB) เป็นต้น ไม้ดังกล่าวนี้ใช้ประโยชน์กันในวงกว้าง อีกทั้งเยื่อไม้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตกระดาษอีกด้วย เซลลูโลสที่อยู่ในไม้ยังใช้การทำวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งไม้ยังใช้ประโยชน์ในการทำอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำตะเกียบ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ.
ไนโตรเจนออกไซด์
นโตรเจนออกไซด์ (NOx) หรือ กลุ่มก๊าซที่มี (Highly reactive gases) เป็นก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ยกเว้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับอนุภาคอื่น ๆ ในอากาศ จะเห็นคล้ายตดเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง.
ดู เชื้อเพลิงและไนโตรเจนออกไซด์
เชื้อเพลิงชีวภาพ
ื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลสัตว์ ซึ่งเป็น พลังงานทดแทน (Alternative energy) และเป็นพลังงานสะอาด (clean energy)ไม่เหมือนพลังงานจาก แหล่งธรรมชาติ อื่น เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ เชื้อเพลิง นิวเคลียร.
ดู เชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงชีวภาพ
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
ื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel; เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นศัพท์ทางธรณีวิทยา ส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล) หรือแร่เชื้อเพลิง (อังกฤษ: mineral fuel) เป็นเชื้อเพลิงอันเกิดแต่ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งได้แก่ไฮโดรคาร์บอนที่พบจากช่วงชั้นดิน (layer) ด้านบนสุดของเปลือกโลก เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มีตั้งแต่แร่สารระเหยสูง (volatile material) ซึ่งมีอัตราคาร์บอนต่อไฮโดรเจนต่ำ เป็นต้นว่า แก๊สมีเทน ไปจนถึงปิโตรเลียมเหลว (liquid petroleum) และแร่ไร้สารระเหย (nonvolatile material) ซึ่งแร่ไร้สารระเหยนี้มักประกอบด้วยคาร์บอนบริสุทธิ์ เป็นต้นว่า ถ่านแอนทราไซต์ (anthracite coal) ทั้งนี้ แก๊สมีเทนอันมีในแร่สารระเหยสูงเช่นว่าสามารถพบได้ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนเพียงจำพวกเดียวก็ได้ ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนประสมกับน้ำมันก็ได้ และในรูปมีเทนผังหนา (methane clathrate) ก็ได้ ใน พ.ศ.
ดู เชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
ื้อเพลิงนิวเคลียร์ เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เลือกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากของคนไทย โดยเชื้อเพลิงนิวเคลียร์นี้ผลิตจากแร่ยูเรเนียม ที่ผ่านกระบวนการสกัด แปลงสภาพ และทำให้เข้มข้น (Enriched) ก่อนที่จะทำเป็นเม็ดแล้วนำไปบรรจุในท่อ ซึ่งจะนำไปรวมเป็นมัดเชื้อเพลิงบรรจุในแกนปฏิกรณ์เพื่อใช้งาน เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ให้ความร้อนโดยอาศัยปฏิกิริยาแตกตัว (Nuclear fission) แตกต่างจากเชื้อเพลิงทั่วไป ซึ่งให้ความร้อนโดยกระบวนการสันดาป นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่น ดังนี้.
ดู เชื้อเพลิงและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
เศรษฐกิจจีน
รษฐกิจจีนเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม เป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับสองของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจใหญ่เติบโตเร็วสุดของโลกก่อนปี 2558 โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ในช่วงกว่า 30 ปี เนื่องจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และการเมืองของเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของจีน ภาครัฐของจีนจึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าภาคเอกชนที่กำลังเฟื่องฟู สำหรับรายได้ต่อหัวนั้น ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 71 ตามจีดีพี (ราคาตลาด) และที่ 78 ตามจีดีพี (PPP) ในปี 2559 จากข้อมูลของ IMF ประเทศจีนมีทรัพยากรธรรมชาติประเมินมูลค่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนนี้กว่า 90% เป็นถ่านหินและโลหะหายาก ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจการผลิตและผู้ส่งสินค้าออกรายใหญ่สุดของโลก มักได้รับขนานนามเป็น "โรงงานของโลก" ประเทศจีนยังเป็นตลาดผู้บริโภคเติบโตเร็วสุดของโลก และผู้นำสินค้าเข้ารายใหญ่สุดอันดับสองของโลก ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าสุทธิซึ่งผลิตภัณฑ์บริการ ในปี 2559 ประเทศจีนเป็นประเทศการค้าใหญ่สุดอันดับสองของโลกและมีบทบาทเด่นในการค้าระหว่างประเทศ และเข้าร่วมองค์การและสนธิสัญญาการค้าเพิ่มขึ้นในปีหลัง ๆ ประเทศจีนเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปี 2544 ประเทศจีนยังมีความตกลงการค้าเสรีกับหลายชาติ รวมทั้งอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน เกาหลีใต้และสวิสเซอร์แลนด์ มณฑลในแถบชายฝั่งของจีนมีแนวโน้มกลายเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนบริเวณในแผ่นดินยังด้อยพัฒนากว่า เพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจระยะยาวของมลภาวะสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน นิโคลัส สเทิร์นและเฟอร์กัส กรีนแห่งสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment) แนะนำว่า เศรษฐกิจจีนควรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำไฮเท็คที่มีการจัดสรรทรัพยากรของชาติไปยังนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้ดีขึ้นเพื่อผลกระทบของอุตสาหกรรมหนักของจีน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการวางแผนของรัฐบาลกลาง ฝันจีนของสี จิ้นผิงอธิบายว่าบรรลุ "สองร้อย" คือ เป้าหมายของจีนทางวัตถุให้กลายเป็น "สังคมกินดีอยู่ดีปานกลาง" ภายในปี 2564 ซึ่งปีครบรอบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเป้าหมายการทำให้จีนทันสมัยเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ในปี 2592 ซึ่งเป็นปีที่ 100 ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน สากลวิวัฒน์ของเศรษฐกิจจีนยังมีผลกระทบต่อการพยากรณ์เศรษฐกิจปรับเป็นมาตรฐานซึ่งดัชนีผู้จัดการซื้อออกในประเทศจีนอย่างเป็นทางการในปี 2543 ต่อมาในปี 2549 ประเทศจีนเป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศเดียวที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร่วมกับสหรัฐและสหภาพยุโรป) ในปี 2558 ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโต เงินตราเหรินหมินปี้ของจีนก็เติบโตด้วย ซึ่งผ่านกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสากลวิวัฒน์ ประเทศจีนริเริ่มการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียในปี 2558 การพัฒนาเศรษฐกิจของเซินเจิ้นถูกเรียกว่าเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งถัดไปของโลก.
เอลเซท 129 ฮินเดนบูร์ก
รือเหาะฮินเดนบูร์กขณะจอดเทียบฐานจอดที่เลคเฮิร์ทส์ นิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2479 เอลเซท 129 ฮินเดนบูร์ก (LZ 129 Hindenburg) เป็นเรือเหาะของเยอรมนีที่สร้างคู่กับเรือเหาะลำน้องที่ชื่อ กราฟ เซปเปลิน 2 นับเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ใช้ช่วงบินให้บริการปีที่ 2 ได้เกิดไฟใหม้ระหว่างแล่นลอยตัวลงจอดที่ฐานทัพเรือเลคเฮิร์สท์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.
ดู เชื้อเพลิงและเอลเซท 129 ฮินเดนบูร์ก
เอ็กซอนโมบิล
อ็กซอนโมบิล คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทด้านพลังงานสัญชาติอเมริกัน ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียม เดิมคือบริษัทเอ็กซอน ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนามาจากบริษัทสแตนดาร์ดออย ซึ่งก่อตั้งโดยจอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ และรวมเข้ากับบริษัทโมบิล ในปี..
เครื่องยนต์สันดาปภายใน
ลื่อนไหวแสดงการทำงานของเครื่องยนต์สี่จังหวะ เครื่องยนต์สันดาปภายใน (internal combustion engine) เป็นเครื่องยนต์ซึ่งการสันดาปของเชื้อเพลิง (มักเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์) เกิดขึ้นกับตัวออกซิไดซ์ (มักเป็นอากาศ) ในห้องเผาไหม้ ในเครื่องยนต์สันดาปภายใน การขยายตัวของแก๊สอุณหภูมิและความดันสูงเกิดขึ้นจากการสันดาปทำให้เกิดแรงโดยตรงแก่บางส่วนประกอบของเครื่องยนต์ แรงนี้ตามแบบนำไปใช้กับลูกสูบ ใบพัดเทอร์ไบน์ หรือหัวฉีด แรงนี้เคลื่อนส่วนประกอบไประยะหนึ่ง โดยการเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานกลที่มีประโยชน์ คำว่า เครื่องยนต์สันดาปภายใน มักหมายถึง เครื่องยนต์ที่การสันดาปนั้นเกิดขึ้นไม่ต่อเนื่อง เช่น ที่คุ้นเคยกันมากคือ เครื่องยนต์ลูกสูบสี่จังหวะและสองจังหวะ เช่นเดียวกับรุ่นดัดแปลง เช่น เครื่องยนต์ลูกสูบหกจังหวะ และเครื่องยนต์โรตารีวันเคิล เครื่องยนต์สันดาปภายในชั้นสองใช้การสันดาปต่อเนื่อง: กังหันแก๊ส เครื่องยนต์เจ็ต และเครื่องยนต์จรวดส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสามเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในบนหลักการเดียวกับที่ได้อธิบายไปข้างต้น เครื่องยนต์สันดาปภายในค่อนข้างแตกต่างจากเครื่องยนต์สันดาปภายนอก เช่น เครื่องยนต์ไอน้ำหรือสเตอร์ลิง ซึ่งพลังงานถูกส่งไปยังของไหลทำงาน ซึ่งไม่ประกอบด้วย หรือผสมกับ หรือเจือปนกับ ผลิตภัณฑ์การสันดาป ของไหลทำงานสามารถเป็นได้ทั้งอากาศ น้ำร้อน น้ำความดันสูง หรือกระทั่งโซเดียมในสถานะของเหลว ให้ความร้อนในหม้อน้ำบางชน.
ดู เชื้อเพลิงและเครื่องยนต์สันดาปภายใน
เครื่องยนต์จรวด
รื่องยนต์ RS - 68 ถูกทดสอบที่ศูนย์อวกาศสเตนนิสของนาซา ไอเสียมองเห็นได้เกือบโปร่งใสนี้เกิดจากไอเสียของเครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงเหลว คือ ไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว ไอเสียส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนเป็นไอน้ำร้อนยวดยิ่ง (ไอน้ำจากเชื้อเพลิงขับดันไฮโดรเจนและออกซิเจน) เครื่องยนต์จรวด ไวกิ้ง 5c (Viking 5C) เครื่องยนต์จรวด คือ เครื่องยนต์ไอพ่นชนิดหนึ่ง Rocket Propulsion Elements; 7th edition- chapter 1 ที่ใช้มวลเชื้อเพลิงจรวดที่ถูกเก็บไว้โดยเฉพาะสำหรับการสร้างแรงขับดันไอพ่น (Jet Propulsion) อัตราเร็วสูง เครื่องยนต์จรวดคือ เครื่องยนต์แห่งแรงปฏิกิริยา (reaction engine) และได้รับแรงผลักดันที่สอดคล้องกับกฎข้อที่สามของนิวตัน เนื่องจากพวกมันไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุภายนอกในรูปแบบเครื่องยนต์ไอพ่น (เช่น อากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ แต่มีก๊าซอ๊อกซิเจนที่เป็นของเหลวบรรทุกติดตัวจรวดไปด้วย) เครื่องยนต์จรวดสามารถนำไปใช้ได้กับการขับเคลื่อนยานอวกาศและใช้เกี่ยวกับภาคพื้นโลก เช่น ขีปนาวุธ เครื่องยนต์จรวดส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน แม้ว่าจะไม่ใช่รูปแบบของการสันดาปหลัก ๆ อย่างที่มีอยู่ก็ตาม เครื่องยนต์จรวดเป็นกลุ่มของเครื่องยนต์ที่มีไอเสียที่มีอัตราเร็วสูง โดยที่มีน้ำหนักเบามาก, และมีประสิทธิภาพของพลังงานสูงสุด (สูญเสียพลังงานน้อยที่อัตราความเร็วที่สูงมาก) ของชนิดของเครื่องยนต์ไอพ่นทุกชนิด อย่างไรก็ดี แรงผลักดันที่ให้ออกมาทำให้เกิดไอเสียที่มีความเร็วสูง และมีอัตราสัมพัทธ์ของพลังงานจำเพาะของเชื้อเพลิงที่ใช้ขับเคลื่อนจรวดต่ำ มันเผาผลาญเชื้อเพลิงให้หมดไปภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว.
ดู เชื้อเพลิงและเครื่องยนต์จรวด
2เอส3
ปืนใหญ่อัตตาจร 2เอส3 (2S3 Akatsiya) เป็นปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 152 มม.ที่ถูกสร้างขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก ดี-20 ขนาด 152 มม./ 5.98 นิ้ว และใช้เครื่องยนต์แบบผสม ซึ่งในเวลาปรกติจะใช้น้ำมันดีเซลและในช่วงเวลาฉุกเฉินสามารถใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น ป้อมปืนหมุนได้ 360 องศา และปรับใช้ปืนต่อต้านอากาศยานได้ กระบอกปืนขนาด 152 มม.
2เอส5
ปืนใหญ่อัตตาจร 2เอส5 (2S5 Giatsint-S) เป็นปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 152 มม./ 5.98 นิ้ว ซึ่งเป็นรถยิงปืนใหญ่รุ่นแรกๆของสหภาพโซเวียต โดยตัวรถมีเกราะหนาเพียง 15 มม./ 0.59 นิ้ว แต่ใช้เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการได้ถึง 5 นาย เครื่องยนตเป็นแบบผสมใช้เชื้อเพลิงดีเซลในเวลาปกติและเชื้อเพลิงชนิดอื่นในเวลาฉุกเฉิน ปืนใหญ่อัตตาจร 2เอส5 ใช้งานในปี ค.ศ.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fuels