โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)

ดัชนี เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)

้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) มีนามเดิมว่า ลออ ไกรฤกษ์ (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2499) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 อดีตเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตประธานศาลฎีก.

14 ความสัมพันธ์: กรมราชเลขานุการในพระองค์กลีบ มหิธรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทยรายชื่อสกุลนักการเมืองไทยรายพระนามและรายนามอธิบดีศาลฎีกาและประธานศาลฎีการายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน ร.ว.รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้ารายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาหม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุลดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยาคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 7นามสกุลพระราชทานเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

กรมราชเลขานุการในพระองค์

กรมราชเลขานุการในพระองค์ (เดิมคือ สำนักราชเลขาธิการ) เป็นหน่วยงานราชการในสังกัด สำนักพระราชวัง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในองค์ พระมหากษัตริย์ เกี่ยวกับงานหนังสือที่หน่วยราชการ เอกชนและบุคคลทั่วไปส่งเข้ามา เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต พระบรมราชวินิจฉัยและพระมหากรุณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งทำหน้าที่รับพระราชทานพระราชดำริและพระราชดำรัส เพื่อเชิญไปยังหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทเป็นผู้ประสานงานระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐหรือเอกชนและบุคคลทั่วไป ทั้งที่เป็นราชการแผ่นดินและการส่วนพระองค์ ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนนั้นเรียกว่าออฟฟิศไปรเวตสิเกรตารีหลวง หรือกรมราชเลขาธิการ.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และกรมราชเลขานุการในพระองค์ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบ มหิธร

ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม: บางยี่ขัน; เกิด: พ.ศ. 2419 — ถึงแก่อนิจกรรม: พ.ศ. 2504) ภรรยาของเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) และเป็นมารดาของท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา เธอเป็นผู้รจนาตำราอาหารชื่อ หนังสือกับข้าวสอนลูกหลานของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร ซึ่งถือเป็นตำราอาหารตำรับชาววังหนึ่งในสี่ตำรับ แต่ตำรับของท่านผู้หญิงกลีบมีลักษณะอันพิเศษ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในอาหารชาววังตำรับนี้.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และกลีบ มหิธร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย

รายพระนาม รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสกุลนักการเมืองไทย

้านล่างนี้คือสกุลนักการเมืองไทย ที่บุคคลในตระกูลมีนักการเมืองระดับชาติและท้องถิ่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หมายเหตุ: ตัวหนาหมายถึงบุคคลที่กำลังหรือเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการ หรือเทียบเท.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และรายชื่อสกุลนักการเมืองไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามอธิบดีศาลฎีกาและประธานศาลฎีกา

ต่อไปนี้เป็น รายพระนามและรายนามของผู้ทรงดำรงตำแหน่งและดำรงตำแหน่งอธิบดีและประธานศาลฎีก.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และรายพระนามและรายนามอธิบดีศาลฎีกาและประธานศาลฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน ร.ว.

รื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (The Ratana Varabhorn order of Merit) เรียกอย่างย่อว่า ตรารัตนาวราภรณ์ และมีอักษรย่อว่า ร.ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 เพื่อเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเชิดชูเกียรติคุณแก่ข้าราชการผู้ที่ตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดีและมีความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา โดยเมื่อแรกสถาปนานั้นจะพระราชทานสำหรับฝ่ายหน้าเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 พระองค์จึงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรย์รัตนวราภรณ์สำหรับพระราชทานฝ่ายในด้วยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ก, ๒๐ สิงหาคม..

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน ร.ว. · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า

ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานของเครื่องอิสริยาภรณ์ รวมทั้งทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า แบ่งออกสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้าจำนวน 30 สำรับ และฝ่ายในจำนวน 20 สำรับ นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่เจ้านายหรือผู้มีเกียรติจากต่างประเทศซึ่งไม่นับรวมกับจำนวนดังกล่าว รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า (ไม่รวมพระนามของผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าในชั้นที่สูงขึ้น ได้แก่ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ) ตั้งแต่สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา

นื้อหาในหน้านี้เป็นบัญชีรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาประเภทต่างๆ ตามที่ปรากฎหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงแต่รัชกาลปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่พระราชทานตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสสริยาภรณ์สำหรับความดีความชอบเหรียญดุษฎีมาลา ปีมะเมีย จัตวาศก ศักราช 1244 และระยะที่พระราชทานตามพระราชบัญญัติเหรียญดุษฎีมาลา พุทธศักราช 2484; หมายเหต.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล

หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล (16 มกราคม พ.ศ. 2440 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2519) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกับหม่อมพุก เทวกุล ณ อยุธยา และเป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และหม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล · ดูเพิ่มเติม »

ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา

ท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์, เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2447 — ถึงแก่อนิจกรรม 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) เป็นธิดาของเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) กับท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร (สกุลเดิม บางยี่ขัน) ท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลา ได้บันทึกในหนังสือเรื่องของคนห้าแผ่นดินถึงชื่อของท่านว่า "เมื่อคุณพ่อกลับจากสิงคโปร์แล้วจึงตั้งชื่อให้ฉันว่า ดุษฎีมาลา ตามชื่อเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา ซึ่งท่านได้รับพระราชทานเป็นบำเหน็จ เมื่อสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตชั้นที่ ๑ คนแรกของประเทศไทย" ชื่อของท่านผู้หญิงที่ถูกต้องจึงเป็น ดุษฎีมาลา แต่ในประกาศหลายฉบับหรือบันทึกต่างๆ ได้เรียกชื่อท่านผู้หญิงอย่างลำลองว่า ท่านผู้หญิงดุษฎี ต่อมาได้สมรสกับหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน นอกจากนี้ท่านผู้หญิงยังเคยเป็นผู้ถวายงานรับใช้ในตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลาเป็นผู้ประพันธ์คำไหว้ครูที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ว่า ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน ข้าขอเคารพอภิวันทน์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทยเทอญ ท่านผู้หญิง ดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สิริรวมอายุได้ 92 ปี 10 เดือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส สิริอายุได้ 93 ปี.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6

ระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 (22 กันยายน พ.ศ. 2477 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480) นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้ลงนาม และนายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 7

ระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 7 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 ของไทย (9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480) นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และนายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่น อินทรโยธิน) เป็นผู้ลงนามในประกาศ พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

นามสกุลพระราชทาน

ป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 อย่างไรก็ตาม ได้มีการเลื่อนเวลาการบังคับใช้กฎหมาย 2 ครั้ง เพื่ออำนวยความการสะดวกแก่เจ้าพนักงานซึ่งจะทำทะเบียนและสะดวกแก่ผู้ที่จะเลือกตั้งนามสกุล โดยพระราชบัญญัติได้บังคับใช้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลครั้งแรกเป็นจำนวน 102 นามสกุล เช่น นามสกุล "สุขุม" พระราชทานแก่ เจ้าพระยายมราช (ปั้น), นามสกุล "มาลากุล" พระราชทานแก่ พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เปีย) และ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม) และนามสกุล "พึ่งบุญ" พระราชทานแก่ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ) นามสกุลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้มีทั้งสิ้น 6464 นามสกุล แยกเป็น.

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และนามสกุลพระราชทาน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) (30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 - 25 กันยายน พ.ศ. 2519) ป.., ม.ป.., ม.ว.ม., ร..ม. (ศ.) ขุนนาง 5 แผ่นดิน อดีตประธานศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ประธานองคมนตรี และเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีบทบาทในคณะรัฐมนตรีหลายคณะ โดยดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงการคลัง ภายหลังพ้นภารกิจทางการเมืองแล้ว ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และเคยดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 นอกจากได้รับราชการและทำงานด้านการเมือง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศยังมีความสำคัญกับวงการประกันชีวิตของไทย โดยเมื่อ ปี..

ใหม่!!: เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)และเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เจ้าพระยามหิธร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »