โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธ

ดัชนี เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธ

มส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1 หรือ เจมส์ ครอฟต์ (ภาษาอังกฤษ: James Scott, 1st Duke of Monmouth หรือ James Crofts) (9 เมษายน ค.ศ. 1649 - (15 กรกฎาคม ค.ศ. 1685) เจมส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1649 ที่ร็อตเตอร์ดัมในประเทศเนเธอร์แลนด์และเสียชีวิตโดยการถูกประหารชีวิตที่หอคอยแห่งลอนดอน, อังกฤษ เจมส์ สกอตต์เป็นโอรสนอกกฎหมายของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและพระสนมลูซิ วอลเตอร์ (Lucy Walter) ผู้ที่ติดตามพระองค์ไปลี้ภัยในยุโรปหลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์--พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1--ทรงถูกปลงพระชนม์ ต่อมาตัวดยุคแห่งมอนม็อธเองก็ถูกประหารชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1685 หลังจากการพยายามโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ที่เรียกกันว่ากบฏมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) โดยการประกาศตนว่าเป็นพระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อสร้างความนิยมต่อประชาชนในอังกฤษในการเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าเจมส์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก.

5 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษการลอบวางแผนไรย์เฮาส์รายชื่อสงครามกลางเมืองของอังกฤษร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์แคเธอรินแห่งบราแกนซา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การลอบวางแผนไรย์เฮาส์

รายเฮาส์ ค.ศ. 1823 การคบคิดรายเฮาส์ (Rye House Plot) การคบคิดรายเฮาส์ของปี..

ใหม่!!: เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธและการลอบวางแผนไรย์เฮาส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสงครามกลางเมืองของอังกฤษ

“ยุทธการวูสเตอร์” (3 กันยายน ค.ศ. 1651) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 3 สงครามกลางเมืองของอังกฤษ รวมทั้ง.

ใหม่!!: เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธและรายชื่อสงครามกลางเมืองของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์

แห่งยอร์คในตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการราชนาวีสูงสุด เมื่อทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1673 พระองค์ทรงลาออกจากตำแหน่งแทนที่จะทรงยอมปฏิญาณต่อต้านโรมันคาทอลิกตามที่ระบุในพระราชบัญญัติทดสอบ ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ หรือ ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้น (Exclusion Bill) เสนอระหว่าง ค.ศ. 1678 ถึงปี ค.ศ. 1681 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 จุดประสงค์ของร่างพระราชบัญญัติยกเว้นก็เพื่อห้ามไม่ให้พระอนุชาของพระเจ้าชาร์ลส์ดยุคแห่งยอร์คผู้เป็นรัชทายาทโดยพฤตินัยจากการขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเพราะทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก พรรคทอรีต่อต้านร่างพระราชบัญญัติแต่พรรควิกสนับสนุน ในปี ค.ศ. 1673 เมื่อดยุคแห่งยอร์คไม่ทรงยอมปฏิญาณต่อต้านโรมันคาทอลิกตามที่ระบุในพระราชบัญญัติทดสอบ (Test Act) ที่เพิ่งออกใหม่ก็ทำให้เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าทรงหันไปนับถือโรมันคาทอลิก เอ็ดเวิร์ด โคลแมน (Edward Colman) เลขานุการของพระองค์ถูกกล่าวชื่อโดยไททัส โอตส์ (Titus Oates) ระหว่างการคบคิดพ็อพพิช (ค.ศ. 1678) ว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ทางฝ่ายชนชั้นปกครองที่เป็นโปรเตสแตนต์ก็เริ่มรวมตัวกันต่อต้าน เพื่อเลี่ยงไม่ให้ระบบการปกครองในอังกฤษกลายเป็นสภาวะการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสถ้าดยุคแห่งยอร์คมีโอกาสขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาผู้ไม่มีรัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย เซอร์เฮนรี คาเพล (Henry Capel) สรุปความรู้สึกทั่วไปของฝ่ายต่อต้านสิทธิของดยุคแห่งยอร์คเมื่อกล่าวปาฐกถาในรัฐสภาเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1679: การปาฐกถาของคาเพลครั้งนี้ทำให้รัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับสถานะการณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีข่าวลือที่ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงพยายามเข้ามามีส่วนพยายามทำให้รัฐบาลของพระเจ้าชาร์ลส์เป็นกลางโดยใช้การติดสินบนโดยตรง ทอมัส ออสบอร์น ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 ก็ถูกปลดในฐานะแพะรับบาป พระเจ้าชาร์ลส์จึงทรงยุบรัฐสภา แต่รัฐสภาใหม่ก็กลับมาประชุมอีกในเดือนมีนาคมปี..

ใหม่!!: เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธและร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรินแห่งบราแกนซา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

แคทเธอรีนแห่งบราแกนซา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: Catherine of Braganza) (25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638 - 31 ธันวาคม ค.ศ. 1705) ทรงเป็น"เจ้าหญิงแห่งโปรตุเกส"และ"สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ,สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์".

ใหม่!!: เจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1 แห่งมอนมัธและแคเธอรินแห่งบราแกนซา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

James Scott, 1st Duke of Monmouthเจมส์ สกอตต์ ดยุกที่ 1แห่งมอนมัธเจมส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »