โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร

ดัชนี เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร

ัลลังก์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร (Crown Jewels of the United Kingdom) หมายถึงกกุธภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและพิธีที่เป็นทางการใหญ่ๆ อื่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรหมายถึงสิ่งต่อไปนี้: มงกุฎ, คทาที่มีกางเขนหรือนกพิราบ, ลูกโลกประดับกางเขน (Orb หรือ globus cruciger), ดาบ, แหวน, เดือย, ฉลองพระองค์โคโลเบียมซินโดนิสทูนิค (Colobium sindonis), ฉลองพระองค์ดาลเมติคทูนิค (dalmatic), กำไลอาร์มิลล์ (armill) และเสื้อคลุม และกกุธภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ในพิธี.

27 ความสัมพันธ์: พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรมงกุฎ (แก้ความกำกวม)มงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรามงกุฎพระราชินีแมรีมงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนามงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธมงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4มงกุฎอิมพีเรียลสเตตมงกุฎทิวดอร์มงกุฎแห่งสกอตแลนด์มงกุฎแห่งอินเดียมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรียมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรจุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์ธงชาติโซมาลีแลนด์ทับทิมเจ้าชายดำคทากางเขนคทานกพิราบแซฟไฟร์สจวตแซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ดเพชรคูลลิแนนเพชรโคอินัวร์เครื่องราชกกุธภัณฑ์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์สถานที่ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีราชาภิเษกพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร เป็นพระราชพิธีซึ่งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดจนรัฐในเครือจักรภพ รวมทั้งคู่อภิเษกสมรสของพระองค์ จะทรงประกอบเพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดเหนือประเทศเหล่านั้น พระราชพิธีราชาภิเษกนี้มีจัดขึ้นในทุกประเทศที่ปกครองโดยมีระบบกษัตริย์เป็นประมุข แม้แต่พระสันตะปาปาแห่งนครรัฐวาติกันก็ทรงประกอบพิธีนี้เช่นกัน พระราชพิธีนี้โดยมากมักจะจัดขึ้นหลังจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคตไปแล้วพอสมควร เพื่อที่จะได้มีเวลาพอสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพสำหรับกษัตริย์พระองค์ก่อน และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับกษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วย ดังเช่นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 แต่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496, พระราชพิธีนี้มีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประธาน ในฐานะศาสนาจารย์อาวุโสสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ พระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีของทุกประเทศจะเข้าร่วมในพระราชพิธีนี้ รวมทั้งอาจมีแขกของรัฐบาลอีกเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎ (แก้ความกำกวม)

มงกุฎ อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา

มงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา (Crown of Queen Alexandra) คือมงกุฎพระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ผลิตเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชสวามีในปีค.ศ. 1902.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีแมรี

มงกุฎพระราชินีแมรี (Crown of Queen Mary) เป็นมงกุฎพระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชินีแมรีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 มงกุฎองค์นี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปีค.ศ. 1911.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎพระราชินีแมรี · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา

มงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา (Crown of Mary of Modena) เป็นมงกุฎพระอัครมเหสี (Consort Crown) ที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์อังกฤษ สั่งทำขึ้นเพื่อสำหรับสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ตามประเพณีแห่งราชสำนักอังกฤษ เมื่อมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ พระอัครมเหสีจะต้องเสด็จเข้าในพระราชพิธีฯด้วย โดยหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 เข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปีค.ศ. 1661 โดยปราศจากพระอัครมเหสี จนกระทั่งผลัดแผ่นดินมาในรัชสมัยของพระอนุชาของพระองค์ ซึ่งเป็นดยุกแห่งยอร์ก ได้เสด็จเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (หรืออีกพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์") ซึ่งมีพระอัครมเหสีคือ สมเด็จพระราชินีแมรี จึงมีพระดำริให้จัดสร้างมงกุฎพระอัครมเหสีขึ้นสำหรับพระองค์ ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการจัดสร้างทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ "มงกุฎราชาภิเษก" (Coronation Crown) "มงกุฎแห่งพระราชวงศ์" (State Crown) และ "มงกุฎองค์เล็ก" (เดียเด็ม - คาดพระเกษา) ซึ่งในปัจจุบันหลงเหลือแต่เพียงสองอย่างสุดท้ายเท่านั้น.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ

มงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ (Crown of the Queen Elizabeth) เป็นมงกุฎตัวเรือนทำจากแพลตินัมของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มงกุฎองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชสวามีที่เวสต์มินสเตอร์แอบบี.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1 (State Crown of George I) เป็นมงกุฎแห่งรัฐ (state crown) ที่จัดทำสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 1 เมื่อคราที่พระเจ้าจอร์จที่ 1 เสวยราชย์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และ พระมหากษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ในปีค.ศ. 1714 ได้มีความคิดที่จะจัดถวายมงกุฎองค์ใหม่สำหรับใช้ในรัฐพิธีต่างๆ (เช่น รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา) เพื่อใช้แทนมงกุฎองค์เก่าที่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ในปีค.ศ. 1661 ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมและเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมคืนสภาพเดิมได้ โดยรัตนชาติและแก้วต่างๆที่ประดับนั้นได้ถูกย้ายมาอยู่บนมงกุฎองค์ใหม่แทน มงกุฎองค์นี้ในปัจจุบันเหลือแต่โครงเปล่าที่ทำจากทองคำ และลูกโลกประดับบนยอดที่ทำจากอะความารีน ทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร '''สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่''' และมงกุฎองค์นี้อยู่บริเวณเบื้องขวาของพระอง.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4 (George IV State Diadem) เป็นมงกุฎเพชรที่ไม่มีส่วนโค้งด้านบน เรียกว่า "เดียเด็ม" (Diadem) ซึ่งจัดเป็นประเภทหนึ่งของมงกุฎ สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ในปีค.ศ. 1820 เพื่อใช้เป็นหนึ่งในมงกุฎสำคัญของพระองค์ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั้งในธนบัตร เหรียญกษาปน์ และแสตมป์ต่างๆ ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งนอกจากความสวยงามของมันแล้ว ยังมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลน์อีกด้วย ดังนั้นมงกุฎองค์นี้จะเป็นองค์ที่สมเด็จพระราชินีนาถฯ จะทรงค่อนข้างบ่อย และพบเห็นได้บ่อยที่สุดองค์หนึ่ง.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4

มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4 (The Coronation Crown of George IV) เป็นมงกุฎองค์ที่ใช้สวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 4 ในปี..

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎอิมพีเรียลสเตต

มงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสหราชอาณาจักร มงกุฎอิมพิเรียลสเตตนี้มีการสร้างทดแทนขึ้นหลายยุคสมัยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ซึ่งรุ่นล่าสุดนี้มีลักษณะคล้ายมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดอยู่ไม่น้อย ตัวมงกุฎนั้นมีฐานประกอบด้วยกางเขนแพตตี (cross pattée) จำนวนสี่กางเขน สลับกับเฟลอ-เดอ-ลีส์ (fleur-de-lis) หรือดอกลิลลี่จำนวนสี่ดอก ส่วนเหนือจากฐานขึ้นไปเป็นโค้งจำนวนสี่โค้งตัดกันที่มียอดเป็นด้านบนจุดตัดเป็นกางเขนอีกหนึ่ง ภายในตรงกลางมงกุฎเป็นหมวกกำมะหยี่ที่มีขอบเป็นขนเออร์มิน มงกุฎฝังด้วยอัญมณีหลายชนิดที่รวมทั้ง: เพชร 2,868 เม็ด, ไข่มุก 273 เม็ด, แซฟไฟร์ 17 เม็ด, มรกต 11 เม็ด, และทับทิม 5 เม็ด มงกุฎอิมพิเรียลสเตตประกอบด้วยอัญมณีที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น กางเขนบนมงกุฎฝังอัญมณีที่เรียกว่าแซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ดที่นำมาจากแหวน (หรือ จุลมงกุฎ) ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ, ทับทิมเจ้าชายดำ (Black Prince's Ruby) (ความจริงแล้วคือสปิเนล ที่ฝังอยู่บริเวณกางเขนด้านหน้าของมงกุฎ และเพชรคัลลินันที่ฝังด้านหน้ามงกุฎบริเวณฐาน ด้านหลังฝังด้วยแซฟไฟร์สจวตหนัก 104 กะรัต (20.8 กรัม) บนขอบ นอกจากนี้ยังมีไข่มุกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธประดับอีกด้ว.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎอิมพีเรียลสเตต · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎทิวดอร์

มงกุฎทิวดอร์ (Tudor Crown) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มงกุฎพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (Henri VIII's Crown) เป็นมงกุฎองค์หลักซึ่งใช้ทรงโดยพระมหากษัตริย์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักรช่วงรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จนถึงช่วงสงครามกลางเมืองในปี..

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎแห่งสกอตแลนด์

มงกุฎแห่งสกอตแลนด์ (The Crown of Scotland) เป็นมงกุฎที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ โดยได้ทำการจัดสร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิมที่ทรงโดยพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์เมื่อปี..

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎแห่งสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎแห่งอินเดีย

มงกุฎแห่งอินเดีย หรือ อิมพิเรียลคราวน์แห่งอินเดีย (The Imperial Crown of India) เป็นมงกุฎประจำสำหรับประมุขแห่งราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย ซึ่งใช้ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของจักรวรรดิอินเดีย มงกุฎองค์นี้เก็บรักษารวมกันกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร แต่มิถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎแห่งอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย

มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Small diamond crown of Queen Victoria) เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร เป็นมงกุฎองค์เล็ก (แต่ไม่ถือว่าเป็นจุลมงกุฎเพราะเป็นมงกุฏของกษัตรีย์) “มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย” เป็นมงกุฏที่สร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในปีค.ศ. 1870 และเป็นมงกุฎที่มีความสำคัญต่อพระองค์มากที่สุด เมื่อเสด็จสวรรคตก็มิใช่มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดหรือมงกุฎอิมพีเรียลสเตท ที่เป็นมงกุฏที่ได้วางบนหีบพระบรมศพแต่เป็น “มงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิคตอเรีย” ของพระองค์เอง.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎเพชรพระราชินีนาถวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง และเป็นมงกุฎที่ใช้เป็นมงกุฎราชาภิเษก (Coronation crown) อย่างเป็นทางการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของสหราชอาณาจักร มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎองค์เดิม ซึ่งสร้างในปี..

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์

ลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์ (Coronet of Charles, Prince of Wales) เป็นจุลมงกุฎที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเวลส์ และเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งจุลมงกุฎองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศของเจ้าชายชาลส์ เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ในปีค.ศ. 1969 แม้ว่าเป็นทางการแล้วจะถือเป็น “จุลมงกุฎ” แต่ก็มักจะใช้คำว่า มงกุฎ ในการกล่าวถึง “จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์”.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและจุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์

ลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์ หรือเรียกอย่างเต็มว่า จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ (Coronet of Frederick, Prince of Wales) คือจุลมงกุฎที่จัดสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1728 สำหรับเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารซึ่งในขณะนั้นทรงเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ ทำจากทองคำทั้งเรือน ประกอบด้วยโค้งจำนวน 1 โค้งตามประเพณี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างโดยช่างทองแห่งราชสำนัก ซามูเอล ชาเลส ในราคา £140 5/- (หนึ่งร้อยสี่สิบปอนด์กับห้าชิลลิง) หรือในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ £12,000 จุลมงกุฎองค์นี้ ในเอกสารบางครั้งก็เรียกว่าเป็น "มงกุฎ" (Crown).

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและจุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโซมาลีแลนด์

งชาติสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ ธงชาติสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ (พ.ศ. 2534 - 2539) ธงชาติโซมาลีแลนด์ ที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยการรับรองจากการลงประชามติในประเทศ หลังจากที่มีการตั้งรัฐบาลปกครองตนเองในดินแดนของประเทศโซมาเลียตั้งแต่ พ.ศ. 2534 โดยที่นานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มิได้ให้การรับรองฐานะความเป็นประเทศของโซมาลิแลนด์ ลักษณะของธงดังกล่าวเป็นธงแถบแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-เชียว โดยได้รับอิทธิพลจากสีกลุ่มพันธมิตรอาหรับ ที่แถบสีเขียวมีรูปอักษรที่เรียกว่า "ชาฮาดาห์" อย่างเดียวกับในธงชาติซาอุดิอาระเบีย รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโซมาลิแลนด์ ฉบับที่มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ระบุข้อความเกี่ยวกับธงชาติไว้ดังนี้.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและธงชาติโซมาลีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ทับทิมเจ้าชายดำ

ทับทิมเจ้าชายดำ (Black Price Ruby) หรือ ทับทิมแบล็กพรินซ์ คือ สปิเนลซึ่งเป็นรัตนชาติอันมีลักษณะคล้ายทับทิม หนักประมาณ 170 กะรัต (34 กรัม) ขนาดประมาณไข่ไก่ ทับทิมเจ้าชายดำในปัจจุบันประดับอยู่ตรงกลางกางเขนแพตตี เหนือเพชรคูลลิแนน 2 ที่มีขนาดถึง 317.40 กะรัต (63.48 กรัม) ซึ่งทั้งสองนี้ประดับอยู่บนตัวเรือน "มงกุฎอิมพีเรียลสเตต" ทับทิมเจ้าชายดำ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของสหราชอาณาจักรชิ้นหนึ่งที่มีความเก่าแก่ที่สุดทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 และยังอยู่ในความครอบครองของพระมหากษัตริย์อังกฤษตั้งแต่ได้ขึ้นทูลเกล้าถวายในปีค.ศ. 1367 แด่เอ็ดเวิร์ดแห่งวูดสตอก ("เจ้าชายดำ").

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและทับทิมเจ้าชายดำ · ดูเพิ่มเติม »

คทากางเขน

ทากางเขน (Sceptre with the Cross) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า คทาเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.), คทากษัตริย์ (Sovereign's Sceptre) หรือ คทาหลวง (Royal Sceptre) คือพระคทาประจำพระองค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ทำขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าชาลส์ที่ 2ในปีค.ศ. 1661 ต่อมาในปีค.ศ. 1905 คทานี้ได้ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ภายหลังจากการค้นพบเพชรคูลลิแนน ในปัจจุบัน คทากางเขนนี้เป็นที่ประดับของเพชรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก คือ คูลลิแนน 1 หรือ ดาวใหญ่แห่งแอฟริกา ซึ่มีน้ำหนักกว่า 530 กะรัต ซึ่งตัวเพชรคูลลิแนนนั้นสามารถถอดออกมาจากคทาเพื่อเป็นเข็มกลัดประดับได้ ซึ่งเพชรคูลลิแนนนี้เป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบบนโลก น้ำหนักรวม 3106.75 กะรัต ซึ่งถูกตัดแบ่งเจียระไนออกเป็น 9 ชิ้น และคูลลิแนน 1 นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดในทั้งหมด คทานั้นถือเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจปกครองของพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ภายใต้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ ส่วนคทาแห่งพิราบ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในหมู่เครื่องราชกกุธภัณฑ์ถือเป็นสัญลักษณ์ถึงอำนาจทางจิตวิญญาณ ในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น พระมหากษัตริย์จะทรงคทากางเขนด้วยพระหัตถ์ขวา และคทานกพิราบด้วยพระหัตถ์ซ้าย ในขณะที่อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีทำการสวมมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดลงบนพระเศียร คทากางเขน พร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นๆนั้น สามารถเข้าชมได้ที่หอคอยแห่งลอนดอน.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและคทากางเขน · ดูเพิ่มเติม »

คทานกพิราบ

thumb คทานกพิราบ (Sceptre with the Dove) หรือเรียกอีกชื่อว่า คทาแห่งความเสมอภาคและกรุณา (Dove of Equity and Mercy) คือพระคทาประจำพระองค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ทำขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าชาลส์ที่ 2ในปีค.ศ. 1661 โดยทำจากแท่งโลหะปิดทองฝังอัญมณีต่างๆ ได้แก่ เพชร ทับทิม มรกต แซฟไฟร์ และสปิเนล ปิดยอดด้วยลูกโลกทองคำประดับเพชร และนกพิราบปั้นจากวัสดุเคลือบดินเผาสีขาว ซึ่งหมายถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ คทานกพิราบนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจทางจิตวิญญาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้พระมหากางเขน ส่วนคทากางเขนนั้นเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจทางการปกครอง โดยปกติแล้ว ในพระราชพิธีบรมราชภิเษกนั้น พระมหากษัตริย์จะทรงพระคทาพิราบทางพระหัตถ์ซ้าย และพระคทากางเขนทางพระหัตถ์ขวา ในขณะที่อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีทำการสวมมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดลงบนพระเศียร คทานกพิราบพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์อื่นๆนั้น สามารถเข้าชมได้ที่หอคอยแห่งลอนดอน.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและคทานกพิราบ · ดูเพิ่มเติม »

แซฟไฟร์สจวต

แซฟไฟร์สจวต (Stewart Sapphire, Stuart Sapphire) คือแซฟไฟร์ที่เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ได้ชื่อมาจากราชวงศ์สจวตแห่งสก็อตแลนด์ ตามเจ้าของพระองค์แรก ซึ่งคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎราชาภิเษกของพระองค์ในปีค.ศ. 1214 และต่อมาในปีค.ศ. 1296 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงอ้างสิทธิ์ครอบครองอัญมณีชิ้นนี้พร้อมกับหินแห่งสโคนในคราวที่ทรงยกทัพบุกสก็อตแลนด์ ในภายหลังจากได้ทรงครอบครองแล้ว ได้พระราชทานให้กับพระเทวัน(น้องเขย)ของพระองค์ คือ พระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ ซึ่งเพื่อเป็นการตอบแทน พระองค์จึงได้พระราชทานต่อให้กับพระขนิษฐาของพระองค์ คือ มาร์โจรี บรูซ และต่อมา มาร์โจรี ได้สมรสกับวอลเตอร์ สจวตซึ่งมีบุตรซึ่งในภายหลังได้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์สจวต คือ พระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ จึงเป็นที่มาของชื่ออัญมณีนี้ว่า "แซฟไฟร์สจวต" ในช่วงสมัยสาธารณรัฐของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ในฐานะของ "เจ้าผู้พิทักษ์" ได้ให้ขายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด และต่อมาภายหลังการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษขึ้นใหม่ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้กลับมาสู่ความครอบครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งแซฟไฟร์นี้ได้ถูกบันทึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรลิกของราชวงศ์สจวตที่ทรงนำไปที่ฝรั่งเศสเพื่อลี้ภัยด้วย ภายหลังจากเสด็จสวรรคตแล้ว ได้ตกทอดถึงพระโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ เจมส์ สจวต หรือเรียกกันว่า ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ซึ่งต่อมาได้ตกทอดให้กับบุตรคนโต คือ เฮนรี เบเนดิกท์ สจวต พระคาร์ดินัล ดยุคแห่งยอร์ค หลังจากมรณภาพแล้วได้มอบให้กับพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในปีค.ศ. 1838 พระราชินีวิกตอเรีย ทรงให้ปรับปรุงมงกุฎอิมพีเรียลสเตตของเดิม โดยให้ประดับแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้บริเวณฐานของมงกุฎตรงกลาง ข้างใต้ทับทิบเจ้าชายดำ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงให้สร้างมงกุฎอิมพีเรียลสเตตขึ้นใหม่ทั้งองค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายของเดิมที่สุด โดยทรงให้ย้ายแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้ประดับบนมงกุฎองค์ใหม่ บริเวณฐานด้านหน้าของมงกุฎ และต่อมาเมื่อมีการค้นพบเพชรคูลลิแนน แซฟไฟร์สจวตได้ถูกย้ายไปอยู่ด้านหลังแทน เพื่อให้เพชรคูลลิแนน 2 ทรงเหลี่ยมขอบมนที่มีขนาดถึง 315 กะรัต แม้กระทั่งแซฟไฟร์นี้จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ แต่ความสำคัญของอัญมณีนี้มิได้อยู่ที่มูลค่า แต่มีความหมายอย่างยิ่งทางประวัติศาสตร์อันยาวนานในตัวของมันเอง.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและแซฟไฟร์สจวต · ดูเพิ่มเติม »

แซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ด

แซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.) คือแซฟไฟร์ที่เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร โดยได้ชื่อมาจากผู้สวม ซึ่งคือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ซึ่งเคยประดับอยู่บนพระธำมรงค์ของพระองค์ กล่าวกันว่าแซฟไฟร์ชิ้นนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและแซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เพชรคูลลิแนน

รคูลลิแนน (Cullinan diamond) เป็นเพชรคุณภาพอัญมณีดิบ (rough gem-quality) ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ หนัก 3,106.75 กะรัต (621.35 กรัม) มีความยาวประมาณ 10.5 ซม.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเพชรคูลลิแนน · ดูเพิ่มเติม »

เพชรโคอินัวร์

ห์อินัวร์ (Koh-i-Noor, کوہ نور อ่านออกเสียง: koh iː nuːɾ|pron, "ภูเขาแห่งแสง"; บางครั้งสะกดเป็น Kuh-e Nur หรือ Koh-i-Nur) คือเพชรที่มีขนาด 105.6 กะรัต มีน้ำหนัก 21.6 กรัม ในสภาพที่เจียระไนครั้งล่าสุด (ก่อนหน้านี้มีขนาด 186.6 กะรัต หนัก 37.21 กรัม) และยังเคยเป็นเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตามหลักฐานนั้นค้นพบในรัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย พร้อมกันกับเพชรคู่แฝดที่มีชื่อว่า ดารยา-เย-นัวร์ (แปลว่า​ "ทะเลแห่งแสง") โคห์อินัวร์นั้นมีประวัติอันยาวนาน โดยตกเป็นเพชรของหลายราชวงศ์ในอดีต รวมถึง ราชปุตแห่งอินเดีย, ราชวงศ์โมกุล, ราชวงศ์อัฟชาริด, ราชวงศ์ดูร์รานี, ราชวงศ์ซิกข์ และล่าสุดนั้นตกเป็นของจักรวรรดิอังกฤษ โคห์อินัวร์ได้ถูกริบจากผู้ครอบครองคือ ดูลิป สิงห์ ในปีค.ศ. 1850 โดยบริษัทอินเดียตะวันออก และต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งอินเดียในปีค.ศ. 1877 โคห์อินัวร์เคยถูกเรียกว่า "ศิยมันทกามณี" และต่อมา "มณยัก" หรือ "ราชาแห่งอัญมณี" ก่อนจะถูกเรียกเป็น "โคห์อินัวร์" ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยชาห์นาเดอร์ ภายหลังจากการยึดครองอินเดียของพระองค์ ในปัจจุบันโคห์อินัวร์ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงที่หอคอยแห่งลอนดอน.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเพชรโคอินัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

รื่องราชกกุธภัณฑ์ 5 อย่าง) แห่งราชอาณาจักรไทย กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ (Crown jewels) ตามรูปศัพท์แปลว่าเครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลี มาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงหมายถึง อุปกรณ์, เครื่องทรง และ/หรือ สิ่งอื่นๆ ที่เป็นของพระมหากษัตริย์ของประเทศต่างๆ ที่มอบให้แก่พระมหากษัตริย์องค์ต่อไปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการมอบสิทธิในการครองราชบัลลังก์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จะประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ, พระแสงขรรค์ชัยศรี, ธารพระกร, วาลวิชนี(พัดวาลวิชนี,พระแส้จามรี), ฉลองพระบาทเชิงงอน และสิ่งอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นสิ่งประกอบเกียรติยศของประมุขของประเทศตามแต่ประเทศไป.

ใหม่!!: เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Crown Jewels of EnglandCrown Jewels of the United Kingdomเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »