สารบัญ
13 ความสัมพันธ์: ร็อกออโตบาห์น (อัลบั้ม)ดนตรีอินดัสเทรียลดนตรีแอมเบียนต์ครัฟท์แวร์คซินท์ป็อปนอยส์ร็อกนิวเอจโพรเกรสซิฟร็อกโพสต์พังก์โพสต์ร็อกโลนซัมโครวไซเคเดลิกร็อก
ร็อก
ร็อก (Rock) แนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาW.
ออโตบาห์น (อัลบั้ม)
ออโตบาห์น (Autobahn) เป็นอัลบั้มที่ 4 ของครัฟท์แวร์ค วางจำหน่ายเดือนพฤศจิกายน..
ดู เคราต์ร็อกและออโตบาห์น (อัลบั้ม)
ดนตรีอินดัสเทรียล
นตรีอินดัสเตรียล (Industrial music) เป็นแนวเพลงประเภทดนตรีทดลอง โดยมากมักหมายถึงดนตรีอิเล็กทรอนิก ที่มีลักษณะกวนโทสะและหมิ่นเหม่ คำนี้เกิดขึ้นมาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่ออธิบายถึงศิลปินจากค่ายอินดัสเตรียลเรเคิดส์ เว็บไซต์ออลมิวสิก อธิบายไว้ว่า "โดยมากเป็นความโมโหและก้าวร้าวในการรวมกันของร็อกและดนตรีอีเลกโทรนิก" โดย "ในช่วงแรกจะเป็นการผสมผสานของการทดลองดนตรีอีเลกโทรนิกอาวองการ์ด (เพลงจากเทป musique concrète ไวต์นอยส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง ซับซีเควนเซอร์) และการยั่วยุแบบพังก์" ศิลปินอินดัสเตรียลในช่วงแรกได้ทดลองใช้เสียงกับเรื่องที่หมิ่นเหม่ การทำงานไม่ได้จำกัดเฉพาะในด้านดนตรีเท่านั้น แต่อาจรวมถึงศิลปะ การแสดง การจัดวาง และรูปแบบของศิลปะในรูปแบบอื่น V.Vale.
ดู เคราต์ร็อกและดนตรีอินดัสเทรียล
ดนตรีแอมเบียนต์
นตรีแอมเบียนต์ เป็นแนวเพลงที่เน้นเรื่องของเสียงมากกว่าตัวโน้ต เน้นบรรยากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม ในธรรมชาติ แอมเบียนต์เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นการนำสไตล์เพลงหลาย ๆ อย่างมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นแนวแจ๊ซ, อิเล็กทรอนิกส์, นิวเอจ, ร็อค แอนด์ โรล,ดนตรีคลาสสิก, เร็กเก้, เวิลด์มิวสิก หรือแม้กระทั่งเสียงทั่ว ๆ ไป (Noise) ไบรอัน อีโน่ (สมาชิกวง Roxy Music และโปรดิวเซอร์ของ U2 กับ เดวิด โบวี่) ให้คำนิยามดนตรีแอมเบียนต์ โดยเขียนนิยามดนตรีในอัลบั้มของเขาอัลบั้มชื่อ Ambient 1: Music for Airports ในปี 1978 ดนตรีแอมเบียนต์ เป็นดนตรีที่ไม่ได้เรียกร้องความสนใจ มันเหมือนเสียงบรรยากาศในสกอร์ประกอบหนังที่ไม่มีใครสังเกต เหมือนเสียงเพลงเบาๆ ในลิฟต์ที่ไม่มีใครใส่ใจ หรือเสียงซาวด์เอ็ฟเฟกต์ตามคลื่นวิทยุ ได้ซ่อนตัวเป็นเหมือนชั้นบรรยาก.
ดู เคราต์ร็อกและดนตรีแอมเบียนต์
ครัฟท์แวร์ค
รัฟท์แวร์ค (Kraftwerk) เป็นวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์วงแรก ๆ จากเมืองดึสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งในปี 1970 โดยรัลฟ์ ฮึทเทอร์ และฟลอเรียน ชไนเดอร์ ครัฟท์แวร์คถือเป็นวงสำคัญวงหนึ่งที่สร้างสรรค์เพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่พัฒนาขึ้นในเยอรมนี วงอยู่สังกัดอีเอ็มไอ คราฟต์แวร์คถือเป็นวงอิเล็กทรอนิกส์วงแรกที่ได้ทำสัญญากับค่ายใหญ่ ถึงแม้ว่าวงจะไม่ประสบความสำเร็จด้านการตลาด จนกระทั่งวงดนตรี วงรุ่นอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ สร้างกระแสแนวอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับการสืบทอดมาจากแนวดนตรีของครัฟท์แวร์ค ต่อมา มีการพัฒนาไปสู่แนวดนตรีใหม่ ๆ อย่างเทคโน, อิเล็กโทร, อิเล็กโทรป็อป โดยเพลงดังของเขาได้ถูกนำมาทำใหม่บ่อยที่สุด และหลายเวอร์ชันคือเพลง das Model เช่นโดย Rammstein เป็นต้น.
ซินท์ป็อป
ซินท์ป็อป หรือบางครั้งเรียกว่า เทคโนป็อป (techno-pop).
นอยส์ร็อก
นอยส์ร็อก (noise rock) เป็นแนวเพลงย่อยของเอ็กซ์เพอร์ริเมนทัลร็อก ที่ใช้องค์ประกอบเสียงนอยส์ ซึ่งเกิดจากพังก์ร็อกในช่วงยุค 1980 ได้รับอิทธิพลจาก โนเวฟ มินิมอล อินดัสเทรียล และ นิวยอร์กฮาร์ดคอร์ ศิลปินมักจะเน้นใช้เสียงแตกในระดับสุดขีดผ่านการใช้กีตาร์ไฟฟ้าและใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์น้อยชิ้น เพื่อสร้างเสียงรบกวนหรือเป็นส่วนหนึ่งในการทำเพลง ศิลปินเชื่อมโยงกับนอยส์ร็อก เช่น โซนิกยูท ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ตัวแทนของนอยส์ร็อก แต่พวกเขาช่วยทำให้นอยส์ร็อกเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ฟังเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก โดยผสมผสานท่วงทำนองเข้ากับเนื้อเสียง ซึ่งเป็นรากฐานให้วงอื่นในเวลาต่อม.
นิวเอจ
นตรีนิวเอจ หากแปลตามตัวก็หมายถึง ดนตรียุคใหม่ เป็นแนวดนตรีชนิดหนึ่งมีจุดเริ่มต้นจากงานความหลากหลายของนักดนตรียุโรปและอเมริกันในทศวรรษที่ 60 ที่ทำเพลงอีเลกโทรนิกและอคูสติก โดยทั่วไปมีลักษณะการใช้เครื่องดนตรีพื้นฐานและความซ้ำของเมโลดี้ในธรรมชาติ การบันทึกเสียงจากธรรมชาติก็มีการนำมาใช้ในเพลง ดนตรีนิวเอจมีดนตรีที่ให้ความผ่อนคลาย แรงบันดาลใจ และมักใช้กับกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น โยคะ การนวด การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ และการบริหารความเครียด ที่จะสร้างบรรยากาศไม่ว่าจะที่บ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ลักษณะของดนตรีนิวเอจมักผสมระหว่างเสียงเอฟเฟกหรือเสียงจากธรรมชาติ รวมกับเพลงอีเลกโทรนิกและเครื่องดนตรี อาศัยโครงของดนตรีหนุนไว้ อย่างเช่น ฟลุต เปียโน อคูสติกกีตาร์ และอาจรวมถึงเครื่องดนตรีตะวันออก ซึ่งในบางเพลงอาจมีการร้องลำนำในภาษาสันสกฤต ทิเบต หรือการสวดของคนพื้นถิ่นในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นต้น หรือในบางคร้งก็มีการเขียนเนื้อร้องที่อิงมาจากเทพนิยายอย่างตำนานเคลติก เป็นต้น สำหรับเพลงที่มีความยาวมากกว่า 20 นาทีในเพลงประเภทนี้ไม่ใช่สิ่งที่แปลกอะไร และในบางครั้งลักษณะของเพลงแบบนี้ก็มีการเปรียบได้ว่าดนตรีแอมเบียนต์ (ambient music) ในช่วงทศวรรษที่ 80 ดนตรีนิวเอจได้รับความนิยมทางสถานีวิทยุทั่วไป.
โพรเกรสซิฟร็อก
รเกรสซิฟร็อก (Progressive rock หรือเขียนสั้น ๆ ว่า prog หรือ prog rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 เป็นส่วนหนึ่งของ "ความพยายามในการยกฐานะเพลงร็อกอังกฤษสู่ระดับใหม่ ด้านความเชื่อถือด้านศิลปะดนตรี" คำว่า "อาร์ตร็อก" มักจะใช้ในความหมายเช่นเดียวกับ "โพรเกรสซิฟร็อก" แต่ขณะที่ทั้งสองแนวเพลงก็ข้ามกันไปข้ามกันมา แต่ทั้งสองแนวเพลงก็ไม่ใช่อย่างเดียวกัน วงดนตรีโพรเกรสซิฟร็อก ได้ผลักดัน ด้านเทคนิกและขอบเขตการจัดวาง โดยทำให้เหนือมาตรฐานร็อกทั่วไป หรือเพลงนิยมที่มีท่อนร้อง-คอรัส เป็นหลักโครงสร้าง นอกจากนี้ การเรียบเรียงมักจะรวมองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิก แจ๊ส และเวิลด์มิวสิก เข้าไป ใช้เครื่องดนตรีทั่วไป แต่เพลงและเนื้อเพลง ในบางครั้งจะเป็นนามธรรม แนวความคิด หรือแฟนตาซี ในบางครั้งวงโพรเกรสซิฟร็อกจะใช้คำว่า "คอนเซปต์อัลบั้ม เพื่ออธิบายถ้อยแถลง มักใช้การอธิบายเรื่องราวแบบมหากาพย์ หรือความยิ่งใหญ่" ดนตรีโพรเกรสซิฟร็อกพัฒนามาตั้งแต่ปลายยุคไซเคเดลิกร็อก ทศวรรษ 1960 ที่เพลงร็อกได้รับความนิยม วงดนตรีแนวนี้ที่เป็นที่นิยมอย่างเช่น เดอะไนซ์, มูดี้บลูส์, คิงคริมสัน, เยส, เจเนซิส, เจโทรทัล และอีเมอร์สัน, เลค แอนด์ พาร์เมอร์ เพลงโพรเกรสซิฟร็อกได้รับความนิยมกว้างขวางราวกลางทศวรรษ 1970 ขณะที่ได้รับความนิยมสุงสุดในทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980.
ดู เคราต์ร็อกและโพรเกรสซิฟร็อก
โพสต์พังก์
ต์พังก์ (post-punk) เป็นแนวพังก์ร็อกที่เกิดขึ้นปลายทศวรรษที่ 70 เกิดขึ้นหลังพังค์ร็อกได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 70 มีการหยิบซาวนด์มาทดลองมากกว่า อย่างเช่น ซาวนด์ของอิเล็กทรอนิกส์ เร้กเก้ แอฟริกันบีต แจ๊ส โฟล์ค เข้าไปใช้ โพสต์พังก์ได้รับความนิยมมากเมื่อประมาณปี 1977-1984 อย่าง ทอล์คกิ้ง เฮด เป็นต้น วงโพสต์พังก์รุ่นใหม่ เช่น เดอะ ฟิวเจอร์เฮดส์, ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์, เดอะ สโตรคส์ เป็นต้น.
โพสต์ร็อก
ต์ร็อก (post-rock) เป็นแนวเพลงของเอ็กซ์เพอร์ริเมนทัลร็อก ซึ่งมีลักษณะในการใช้เครื่องดนตรีร็อกเป็นหลักในการสร้างสีสันของเสียงและเนื้อเสียงมากกว่าที่เน้นเล่นกีตาร์คอร์ดและริฟฟ์ วงโพสต์ร็อกมักจะใช้เครื่องดนตรีร็อกร่วมกับอิเล็กทรอนิกส์ และมักจะทำเพลงบรรเลง แม้ว่ารากฐานจะมาจากยุคเพลงอินดี้หรือใต้ดินในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษ ที่ 1990 โพสต์ร็อกมีลักษณะคล้ายกับอินดี้ร็อกร่วมสมัย ซึ่งได้ห่างจากดนตรีร็อกทั่วไป องค์ประกอบที่ยืมมาจากแนวดนตรีอื่น เช่น ดนตรีแอมเบียนต์ เคราต์ร็อก ไอดีเอ็ม แจ๊ส มัลลิสม์คลาสสิกและดั๊บเร็กเก.
โลนซัมโครว
ลนซัมโครว (Lone somecrow) เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดแรก ของวงเฮฟวีเมทัลเยอรมัน ที่ชื่อ สกอร์เปียนส์ ออกวางขายในปี..
ไซเคเดลิกร็อก
ซเคเดลิกร็อก (Psychedelic rock) เป็นแนวเพลงร็อกชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมไซเคเดลิก หรือพยายามที่จะปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเห็นภาพหลอนใหม่ โดยแนวเพลงนี้เกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1960 ท่ามกลางกระแสเพลงการาจร็อก และวงโฟล์กร็อก ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ไซเคเดลิกร็อกได้เชื่อมการเปลี่ยนแปลงจากแนวบลูส์-ร็อกเป็นฐานหลัก ไปเป็นโพรเกรสซีฟร็อก, อาร์ตร็อก, เอ็กซ์เพอร์ริเมนทอลร็อก และเฮฟวีเมทัล.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Krautrockเคร้าร็อก