โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตร้อน

ดัชนี เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

150 ความสัมพันธ์: พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีพายุหมุนเขตร้อนกกขนากกกคมบางกลมการรับรู้รสการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนกึ่งเขตร้อนกุ้งมดแดงฝางฝ้ายภูมิอากาศแบบร้อนชื้นภูมิอากาศไทยมังคุดมดม้าน้ำหนามขอยุงลายยุงลายบ้านระบบนิเวศป่าไม้ฤดูกาลฤดูแล้งลมลมฟ้าอากาศลมค้าลิงเสนวาฬบรูด้าวงศ์ยางพาราวงศ์ย่อยหอยมือเสือวงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแกวงศ์หอยจุกพราหมณ์วงศ์ตะพาบวงศ์ปรงเม็กซิโกวงศ์ปลาบู่วงศ์ปลากระทุงเหววงศ์ปลากะพงขาววงศ์ปลากะพงดำวงศ์ปลากะพงแสมวงศ์ปลากะพงแดงวงศ์ปลามังกรน้อยวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้ายวงศ์ปลาลิ้นเสือวงศ์ปลาวัววงศ์ปลาวัวจมูกสั้นวงศ์ปลาสลิดหินวงศ์ปลาสากวงศ์ปลาสินสมุทรวงศ์ปลาหูช้างวงศ์ปลาอมไข่วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ดวงศ์ปลาดอกหมาก...วงศ์ปลาตาเหลือกยาววงศ์ปลาฉลามกบวงศ์ปลาฉลามครีบดำวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่วงศ์ปลานกกระจอกวงศ์ปลานกแก้ววงศ์ปลาแพะ (ปลาทะเล)วงศ์ปลาไหลมอเรย์วงศ์ปลาเข็มวงศ์ปูบกวงศ์นกกระติ๊ดวงศ์นกจาบวงศ์เหี้ยสกุลซีสโทมัสสกุลโพสาหร่ายวุ้นหมึกสายวงน้ำเงินหมึกหอมหมึกไดมอนด์หอยงวงช้างกระดาษหูกวางอันดับพะยูนอันดับกบอันดับจระเข้อันดับปลาลิ้นกระดูกอันดับปลาหัวตะกั่วอันดับปลาเข็มอิมพาลาอุทยานแห่งชาติคาคาดูผักบุ้งผักบุ้งจีนผักบุ้งไทยจระเข้ธรรมชาติธรรมชาติวิทยาทวีปเอเชียทะเลแคริบเบียนทาลัสซีเมียแบบแอลฟาที่สูงแคเมอรอนดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลตคูโบซัวงูเห่าตุ๊กแกซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพประเทศมาเลเซียประเทศตองงาปลาบู่เหลืองปลาช่อนทะเลปลาพีค็อกแบสปลากระเบนทองปลากระเบนไฟฟ้าปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กปลามอลลี่ปลามงปลาสากเหลืองปลาสินสมุทรบั้งเหลืองปลาสีขนปลาหางแข็งปลาหูช้างครีบยาวปลาอินทรีปลาอีโต้มอญปลาผีเสื้อกลางคืนปลาจิ้มฟันจระเข้เขียวปลาทูน่าครีบเหลืองปลาตะกรับเจ็ดแถบปลาตีนปลาฉลามครีบเงินปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาวปลาน้ำเค็มปลาแบล็คสวอลโลปลาแสงอาทิตย์ปลาโอแถบปลาโนรีปลาไวท์คลาวด์ปลาไหลช่อปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้าปีสากลแห่งป่าไม้ป่าชายเลนป่าไม้เขตร้อนนกกะรางหัวขวานนกกางเขนนกกาเหว่านกโจรสลัดนากยักษ์น้ำตกอีกวาซูแมลงทับแอ่งพายุหมุนเขตร้อนโรคเขตร้อนโลก (ดาวเคราะห์)โลมามหาสมุทรไผ่ตงไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ไข้เหลืองไข้เด็งกีเกาะแคโรไลน์เหยี่ยวรุ้งเอปตาเซียเขียดงูเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสMalo kingi ขยายดัชนี (100 มากกว่า) »

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: เขตร้อนและพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: เขตร้อนและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

กกขนาก

กกขนาก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กก เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก มีอายุไม่เกินหนึ่งปี ขึ้นเป็นกอสูง 10-70 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยมมีผิวเกลี้ยง มีสันชัดเจน กาบใบเรียงซ้อนกันที่โคนกอ ใบของกกขนากมีรูปขอบขนานแคบ ปลายแหลมยาว 10-20 เซนติเมตร กว้าง 2-6 เซนติเมตร ไม่แยกเป็นก้านใบและแผ่นใบ ดอกออกเป็นช่อแน่นกลมคล้ายร่มที่ซ้อนกัน ออกดอกตลอดปี ช่อดอกย่อยจำนวนมากรวมกันเป็นกระจุก ก้านชูดอกสูง 30-40 เซนติเมตร บริเวณปลายก้านกาบช่อย่อยเป็นแผ่นเยื่อบางสีน้ำตาล รูปรี มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ผลของกกขนาดมีสีเหลืองแกมเขียว มีลักษณะเป็นผลแห้ง เมื่อแก่แล้วจะไม่แตก มีขนาดเล็กและเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ใช้เมล็ดในการแพร่พันธุ์ จากระบบสืบค้นฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 องค์ความรู้เรื่องข้าว จากเว็บไซต์สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 กกขนากพบได้ในเขตร้อนและเขตเส้นศูนย์สูตรของทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งมักขึ้นในนาข้าวและตามแหล่งน้ำทั่วไป โดยเฉพาะในดินชื้นแฉะในนาหว่านน้ำตม นาดำและนาหว่านข้าวแห้ง ชอบขึ้นในที่ชื้นแต่ไม่งอกใต้น้ำ องค์ความรู้เรื่องข้าว จากเว็บไซต์กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 กกขนากที่งอกออกมาใหม่ จะมีลักษณะเหมือนปลายมีดแหลมโผล่ขึ้นจากผิวดินและมีสีเขียวอ่อน งอกขึ้นแข่งต้นข้าวได้อย่างรุนแรง เพราะต้นจะสูงกว่าและมีอายุสั้น อาจทำให้ต้นข้าวล้มและผลผลิตลดลงได้ จากการทดลองพบว่า กกขนาก 100 ต้นต่อตารางเมตร จะทำให้ผลผลิตข้าวลดลง 49-84 % แต่ถ้ามีถึง 300 ต้นต่อตารางเมตร จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 57-90% นอกจากนี้ความเสียหายจะเพิ่มมากขึ้น หากดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง จากเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553.

ใหม่!!: เขตร้อนและกกขนาก · ดูเพิ่มเติม »

กกคมบางกลม

กกคมบางกลม หรือ หญ้าก้ามกุ้ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กก มีอายุขัยหลายปี ลักษณะลำต้นเป็นกอ ตั้งตรง สูง 15-50 เซนติเมตร ปลายลำมีขนคายมือ กาบใบโอบปิดลำรูปทรงกระบอกยาว 3-7 เซนติเมตร มีเหลี่ยมและสันชัดเจน ใบรูปหอกหรือรูปแถบ กว้าง 3-8 มิลลิเมตร ยาว 10-100 เซนติเมตร เนื้อหยาบ ผิวใบและขอบใบมีขนคายมือ ดอกของกกคมบางกลมออกเป็นช่อกระจุก มีช่อดอกย่อย 1-5 ช่อ กระจุกดอกย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาว 5-12 มิลลิเมตร มีสีเขียวเข้ม กาบช่อย่อยแผ่นเนื้อหยาบ รูปรี เรียงสลับบนแกนช่อย่อย ปลายเป็นหนามแหลมยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ส่วนผล มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี มีผิวเกลี้ยงเป็นคลื่น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จากระบบสืบค้นฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สืบค้นวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 กกคมบางกลมพบได้ในที่โล่งน้ำขังตื้นๆ ริมบึง หรือตามชายฝั่ง รวมถึงพบได้ในทุ่งนา พืชชนิดนี้กระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อนในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้ของประเทศจีนและญี่ปุ่น ไปจนถึงประเทศออสเตรเลี.

ใหม่!!: เขตร้อนและกกคมบางกลม · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: เขตร้อนและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดิเมียร์ เคิปเปนเป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิปเปนเองตามมาในปี พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมนีนามว่ารูดอล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิปเปนเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงสามารถเรียกได้ว่าการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system).

ใหม่!!: เขตร้อนและการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งเขตร้อน

กึ่งเขตร้อน (subtropics) คือ เขตทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศซึ่งบอกได้คร่าว ๆ ว่าตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดเขตร้อน (ทรอปิกออฟแคนเซอร์และทรอปิกออฟแคปริคอร์น) และเส้นขนานที่ 38 ในซีกโลกเหนือและใต้ ภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนสามารถพบได้ในที่สูงในเขตร้อน เช่น ตลอดที่ราบสูงเม็กซิโกและในประเทศเวียดนามและไต้หวัน การจัดประเภทภูมิอากาศออกเป็นหกประเภทใช้คำดังกล่าวเพื่อช่วยนิยามหมวดอุณหภูมิและหยาดน้ำฟ้าต่าง ๆ ของโลก ในเขตอบอุ่น แปดเดือนแต่ละปีมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 10 °C (50.0 °F) โดยเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดมีอุณหภูมิระหว่าง 2 ถึง 13 °C (35.6 ถึง 55.4 °F) หมวดหมู่:ภูมิอากาศ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์กายภาพ.

ใหม่!!: เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งมดแดง

กุ้งมดแดง (Dancing shrimp, Hinge-beak shrimp, Camel shrimp) เป็นกุ้งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์กุ้งมดแดง (Rhynchocinetidae) เป็นกุ้งขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม โดยมีสีแดงสลับสีขาวเป็นตารางทั้งลำตัว หลังมีสันนูนไม่โค้งมน ส่วนหัวและอกรวมมีปล้องหนึ่งคู่ สันกรีสูงและปลายคม ส่วนของกรีมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีสีแดงอยู่ด้านล่าง ด้านบนเป็นสีขาวมีหนวดสองคู่ หนวดคู่แรกมีขนาดเล็กอยู่บนสันกรี หนวดคู่ที่สองมีความยาวประมาณสองเท่าของลำตัว ส่วนระยางค์อก แม็กซิลลิเพด เปลี่ยนเป็นลักษณะแหลมยาวเรียว ขาเดินมีสีขาวสลับแดงห้าคู่ ขาเดินคู่แรกเปลี่ยนไปเป็นก้ามเพื่อใช้สำหรับหยิบจับอาหาร ลำตัวมีขาสำหับว่ายน้ำห้าคู่ มีทั้งหมดหกปล้อง หางมีหนึ่งปล้อง ปลายหางเรียว แพนหางมีสี่ใบ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1.4 นิ้ว เป็นกุ้งที่พบได้ง่ายในแนวปะการังของเขตร้อนทั่วโลก พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หลบซ่อนอยู่ตามโพรงหินหรือปะการัง หากินในเวลากลางคืน โดยกินแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ สัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึงตัวอ่อนของปะการังบางชนิดเป็นอาหาร และซากพืชซากสัตว์ต่าง ๆ ด้วย กุ้งมดแดงหากตกใจ สีจะซีดลง ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีลักษณะลำตัวที่ผอมเพรียวกว่าตัวเมีย หัวเชิดขึ้นเล็กน้อย โคนหางและระยางค์ที่หางเล็กกว่า ขณะที่ตัวเมียจะมีลำตัวที่อวบกว่าเพื่อใช้ในการเก็บไข่บริเวณท้อง จัดเป็นกุ้งชนิดหนึ่งที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณน้ำเป็นอย่างมาก เพื่อแหล่งน้ำที่อยู่อาศัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง กุ้งจะย้ายที่อยู่หรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนไป ซึ่งหากปรับตัวไม่สำเร็จก็จะตาย กุ้งมดแดง ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยหน่วยงานของกรมประมง และด้วยความที่เป็นกุ้งที่มีสีสันสวยงาม มีขนาดเล็ก เลี้ยงง่าย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันในตู้ปลา โดยเฉพาะตู้ที่มีการเลี้ยงปะการัง.

ใหม่!!: เขตร้อนและกุ้งมดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ฝาง

ฝาง (Caesalpinia sappan, suō, 苏木 (植物)) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn ฝางจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบได้ตลอดเขตร้อนในอินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบบริเวณป่าดงดิบอีกด้วย ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ทวีปอเมริกาใต้ ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือ แก่นไม้ของฝาง สรรพคุณทางสมุนไพรของฝางมีมากมาย เช่น บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น และเมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของฝางไปสกัดแล้วพบว่าให้สารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายชนิดอีกด้วย สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: เขตร้อนและฝาง · ดูเพิ่มเติม »

ฝ้าย

การเก็บเกี่ยวฝ้ายในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา เมื่อราว พ.ศ. 2433 ฝ้าย เป็นพันธุ์ไม้สกุลกอสไซเพียมในวงศ์ชบา เป็นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีการนำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เอเชีย และที่ที่อยู่ในโซนร้อนทั่ว ๆ ไป ฝ้ายเป็นพืชที่ให้เส้นใยโดยเส้นใยของฝ้ายเกือบทั้งหมดเป็นเซลลูโลส คำว่า Cotton ซึ่งหมายถึงฝ้ายในภาษาอังกฤษมาจากคำภาษาอาหรับว่า (al) qutn قُطْن เปลือกหุ้มเมล็ดฝ้ายมีเพกทินซึ่งประกอบด้วยกรดกาแลกทูโรนิกและเมทิลเอสเทอร์เป็นองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นตัวดูดซับตะกั่วในน้ำเสียได้ โดยถ้าล้างด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อนใช้จะดูดซับได้มากขึ้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและฝ้าย · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น

ูมิอากาศแบบร้อนชื้น เป็นลักษณะภูมิอากาศที่พบในเขตร้อน และมีเพียงบางแห่งที่อยู่นอกเขตร้อน แต่มีลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนนั้น ภูมิอากาศแบบนี้เป็นภูมิอากาศซึ่งไม่แห้งแล้ง มีความชื้นสูง โดยตลอดสิบสองเดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยอย่างต่ำ อุณหภูมิในแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับปริมาณหยาดน้ำฟ้า และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไรนัก ต่างกับพื้นที่ซึ่งอยู่นอกเขตร้อนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากในแต่ละฤดู.

ใหม่!!: เขตร้อนและภูมิอากาศแบบร้อนชื้น · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศไทย

ประเทศไทยจากทางอากาศ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน:(Aw) ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา(Am) ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน(Af) ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ ภูมิอากาศ ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้น ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามลำดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง.

ใหม่!!: เขตร้อนและภูมิอากาศไทย · ดูเพิ่มเติม »

มังคุด

มังคุด Linn.

ใหม่!!: เขตร้อนและมังคุด · ดูเพิ่มเติม »

มด

มด เป็นมดในมด Formicidae อันดับ Hymenoptera มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่น ๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: เขตร้อนและมด · ดูเพิ่มเติม »

ม้าน้ำหนามขอ

ม้าน้ำหนามขอ หรือ ม้าน้ำหนามยาว (Thorny seahorse, Spiny seahorse) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกม้าน้ำ มีปากที่ยาวกว่าม้าน้ำชนิดอื่น ๆ มีส่วนของหนามยาว ปลายแหลมและคมกว่าม้าน้ำชนิดอื่น ๆ ปลายหนามโค้งเล็กน้อยและมักจะมีสีเข้มหรือดำ มีสีผิวลำตัวแตกต่างกันไป เช่น สีเหลือง, สีเขียว, สีส้ม, สีชมพู มีความยาวเต็มที่ประมาณ 7.9-13.5 เซนติเมตร มีรายงานความยาวสูงสุด 17 เซนติเมตร พบในเขตร้อน แถบทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลางและตะวันตก สำหรับในน่านน้ำไทยพบทั้งในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในแนวปะการัง หรือซากเรือจม.

ใหม่!!: เขตร้อนและม้าน้ำหนามขอ · ดูเพิ่มเติม »

ยุงลาย

Aedes หรือยุงลาย เป็นสกุลของยุงที่เดิมพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ปัจจุบันพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้ยุงลายบางสปีชีส์แพร่กระจาย Meigen อธิบายและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและยุงลาย · ดูเพิ่มเติม »

ยุงลายบ้าน

งลายบ้าน หรือยุงไข้เหลือง เป็นยุงที่สามารถแพร่ไวรัสไข้เด็งกี ชิคุนกุนยาและไข้เหลือง ตลอดจนโรคอื่น ๆ ได้ ยุงลายบ้านสามารถสังเกตได้จากรอยสีขาวที่ขาและเครื่องหมายรูปพิณโบราณ (lyre) บนอก ยุงลายบ้านมีกำเนิดในทวีปแอฟริกา แต่ปัจจุบันพบได้ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก.

ใหม่!!: เขตร้อนและยุงลายบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า ทั้งยังช่วยควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: เขตร้อนและระบบนิเวศป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ฤดูกาล (Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้.

ใหม่!!: เขตร้อนและฤดูกาล · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูแล้ง

ฤดูแล้ง (อังกฤษ: dry season) เป็นฤดูในเขตร้อน เป็นช่วงที่มีอากาศแห้งและมีฝนตกน้อย ฤดูแล้งประกอบด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว ลแล้ง หมวดหมู่:ภูมิอากาศ.

ใหม่!!: เขตร้อนและฤดูแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

ลม

ต้นไม้ที่กำลังถูกลมพัด ลม เป็นการไหลเวียนของแก๊สในขนาดใหญ่ บนโลก ลมประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของอากาศขนาดใหญ่ ส่วนในอวกาศ ลมสุริยะเป็นการเคลื่อนที่ของแก๊สหรืออนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ผ่านอวกาศ ขณะที่ลมดาวเคราะห์เป็นการปล่อยแก๊ส (outgassing) ของธาตุเคมีเบาจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สู่อวกาศ โดยทั่วไป การจำแนกประเภทของลมใช้ขนาดเชิงพื้นที่, ความเร็ว, ประเภทของแรงที่เป็นสาเหตุ, ภูมิภาคที่เกิด และผลกระทบ ลมที่แรงที่สุดเท่าที่สังเกตพบบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเกิดขึ้นบนดาวเนปจูนและดาวเสาร์ ในทางอุตุนิยมวิทยา ลมมักถูกเรียกชื่อตามพลัง และทิศทางซึ่งลมพัดมาจาก ลมความเร็วสูงที่พัดมาสั้น ๆ เรียก ลมกระโชก (gust) ลมแรงที่มีระยะการเกิดปานกลาง (ประมาณหนึ่งนาที) เรียก ลมพายุฝน (squall) ส่วนลมที่มีระยะการเกิดนานนั้นมีหลายชื่อตามความแรงเฉลี่ย เช่น ลม (breeze), เกล, พายุ, เฮอร์ริเคนและไต้ฝุ่น ลมเกิดขึ้นได้หลายขนาด ตั้งแต่พายุฝนฟ้าคะนองที่ไหลเวียนนานหลายสิบนาที ไปถึงลมท้องถิ่นที่เกิดจากการให้ความร้อนจากผิวดิน และเกิดนานไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึงลมทั่วโลกที่เกิดจากความแตกต่างในการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ระหว่างเขตภูมิอากาศบนโลก สองสาเหตุหลักของวงรอบอากาศขนาดใหญ่เกิดจากการให้ความร้อนที่ต่างกันระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับขั้วโลก และการหมุนของดาวเคราะห์ (ปรากฏการณ์คอริออลิส) ในเขตร้อน วงรอบความร้อนต่ำเหนือภูมิประเทศและที่ราบสูงสามารถก่อให้เกิดวงรอบมรสุมได้ ในพื้นที่ชายฝั่ง วัฏจักรลมบก/ลมทะเลสามารถกำหนดลมท้องถิ่นได้ ในพื้นที่ซึ่งมีภูมิประเทศขึ้น ๆ ลง ๆ ลมภูเขาและหุบเขาสามารถมีอิทธิพลเหนือลมท้องถิ่นได้ ในอารยธรรมมนุษย์ ลมจุดประกายเทพปกรณัม ส่งอิทธิพลต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ขยายพิสัยการขนส่งและการสงคราม และเป็นแหล่งพลังงานแก่งานเชิงกล ไฟฟ้าและสันทนาการ ลมเป็นพลังงานแก่การเดินทางโดยแล่นเรือข้ามมหาสมุทรของโลก บอลลูนลมร้อนใช้ลมเพื่อเดินทางระยะสั้น ๆ และการบินที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใช้ลมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดการบริโภคเชื้อเพลิง พื้นที่ลมเฉือนเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์สภาพบรรยากาศหลายปรากฏการณ์ ซึ่งสามารถนำไปสู่สถานการณ์อันตรายแก่อากาศยานได้ เมื่อลมพัดแรง ต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายได้ Yed vav.

ใหม่!!: เขตร้อนและลม · ดูเพิ่มเติม »

ลมฟ้าอากาศ

ลมฟ้าอากาศ (weather) เป็นสถานะของบรรยากาศ ถึงระดับที่ว่าบรรยากาศร้อนหรือเย็น เปียกหรือแห้ง สงบหรือมีพายุ เปิดหรือมีเมฆ ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศส่วนมากเกิดขึ้นในชั้นโทรโพสเฟียร์Glossary of Meteorology.

ใหม่!!: เขตร้อนและลมฟ้าอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ลมค้า

ลมค้า (ลูกศรสีเหลืองและน้ำตาล) และลมตะวันตก (ลูกศรสีน้ำเงิน) ลมค้า (trade wind) เป็นลมประจำปีทางทิศตะวันออก เป็นลมที่มีความเร็วลมปานกลางถึงแรงจัด ทำให้อากาศแจ่มใสและใช้ประโยชน์ได้ในด้านการเดินเรือและการบิน.

ใหม่!!: เขตร้อนและลมค้า · ดูเพิ่มเติม »

ลิงเสน

ลิงเสน หรือ ลิงหมี (Stump-tailed macaque, Bear macaque) เป็นลิงชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macaca arctoides จัดอยู่ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae).

ใหม่!!: เขตร้อนและลิงเสน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬบรูด้า

วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ (Bryde's whale, Eden's whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera edeni) เป็นวาฬขนาดใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้.

ใหม่!!: เขตร้อนและวาฬบรูด้า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ยางพารา

วงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) เป็นวงศ์ของพืชดอกที่มี 300 สกุลและประมาณ 7,500 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม พบมากในเขตร้อน โดยเฉพาะในแถบอินโด-มลายา และเขตร้อนในทวีปอเมริกา มีความหลากหลายมากในเขตร้อนของแอฟริกา แต่ยังน้อยกว่าสองเขตข้างต้น สกุล Euphorbia เป็นสกุลที่พบนอกเขตร้อนมากที่สุด เช่นในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ และทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:พืชมีพิษ.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ยางพารา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยหอยมือเสือ

วงศ์ย่อยหอยมือเสือ (Giant clam; วงศ์ย่อย: Tridacninae) เป็นวงศ์ย่อยของหอยสองฝา ในวงศ์ใหญ่ Cardiidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tridacninae เป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 9 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ย่อยหอยมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก

วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gekkoninae; House gecko, Tokay) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Gekkonidae นับเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลายและประสบความสำเร็จสูงสุดในการดำรงชีวิตมากที่สุดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า (Lacertilia) มีลักษณะโดยทั่วไป คือ มีกระดูกพรีแมคซิลลาและกระดูกพาไรทัลเป็นชิ้นเดี่ยว มีแว่นตาคลุมตา ลำตัวสั้น ขาทั้ง 4 ข้างมีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยผิวหนังที่อ่อนนุ่มและมีเกล็ดปกคลุมลำตัวเรียงตัวต่อเนื่องกัน มีขนาดแตกต่างกันหลากหลายทั้งเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงขนาดหนึ่งฟุต ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้และใต้ฝ่าเท้ามีเซต้าหรือขนที่แตกแขนงและมีความเล็กละเอียดมากใช้สำหรับยึดเกาะผนังในแนวตั้งฉากได้เป็นอย่างดีที่สุดในบรรดาวงศ์ย่อยทั้งหมดของวงศ์ Gekkonidae ซึ่งการเรียงตัวและลักษณะของเส้นขนนี้ใช้เป็นตัวในการอนุกรมวิธานแยกประเภท ในหลายสกุลได้ลดรูปแผ่นหนังใต้นิ้วและใช้เป็นโครงสร้างอื่นทดแทนในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ เช่น Cnemaspis และ Cyrtodactylus ที่อาศัยบนต้นไม้หรือผนังหินปูนในถ้ำ โดยใช้เล็บในการเกาะเกี่ยวแทน ในบางสกุล เช่น Dixonius และ Gehyra อาศัยอยู่พื้นดินแทน หากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ตามปกติแล้วจะวางไข่เพียงครั้งละ 2 ฟอง โดยเปลือกไข่มีลักษณะแข็งและไม่เปลี่ยนรูป แต่สำหรับบางสกุลที่มีขนาดเล็ก เช่น Coleodactylus วางไข่เพียงฟองเดียว โดยการวางไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของลำตัว แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถเกิดได้โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้วทั้งสิ้น 80 สกุล ประมาณ 800 ชนิด โดยมีสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิ Gekko, Hemidactylus และPtychozoon เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของยูเรเชีย ในประเทศไทยพบประมาณ 46-50 ชนิด อาทิ ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko), ตุ๊กแกตาเขียว (G. siamensis), ตุ๊กแกบินหางเฟิน (Ptychozoon lionotum) เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หอยจุกพราหมณ์

วงศ์หอยจุกพราหมณ์ หรือ วงศ์หอยสังข์ทะนาน (Volute, วงศ์: Volutidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสคา ชั้นหอยฝาเดี่ยว (Gastopoda) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Volutidae เป็นหอยที่พบในทะเลเท่านั้น มีจุดเด่น คือ ที่ปลายของเปลือกหรือก้นหอย ขมวดเป็นเกลียวกลมคล้ายมวยผมของพราหมณ์ นักบวชในศาสนาฮินดู หอยจุกพราหมณ์ เป็นหอยที่กินหอยจำพวกอื่นเป็นอาหาร มีขนาดของเปลือกยาวตั้งแต่ 9-500 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ไม่มีท่อน้ำออก พบในเขตร้อนและเขตขั้วโลก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์หอยจุกพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ตะพาบ

วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ..

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปรงเม็กซิโก

วงศ์ปรงเม็กซิโก (Zamiaceae) เป็นวงศ์ของปรงวงศ์หนึ่งซึ่งแบ่งเป็นวงศ์ย่อย 2 วงศ์ย่อย 8 สกุล และมีสมาชิกราว 150 สปีชีส์ พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ เป็นพืชอายุหลายปี ไม่ผลัดใบ และแยกเพศ มักจะไม่แตกกิ่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงเป็นเกลียว มีใบที่เรียกคะตะฟิลล์ (cataphyll) ไม่มีเส้นกลางใบ ปากใบพบทั้งสองด้าน หรือด้านล่างเท่านั้น ต้นสปอโรไฟต์ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะสร้างโคน โคนตัวเมียมีลักษณะเรียบง่าย โอวุลไม่มีก้านชู เมล็ดมักมีใบเลี้ยง 2 ใบ วงศ์ย่อย Encephalartoideae จะมีฐานใบติดทน พบในออสเตรเลีย มี 2 สกุล และ 40 สปีชีส์ พืชทั้งหมดในวงศ์นี้มีพิษ สร้างสารพิษที่เป็นไกลโคไซด์ เรียกว่าไซคาซิน.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปรงเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่

วงศ์ปลาบู่ (Goby) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae (/โก-บิ-ดี้/) มีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาบู่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากระทุงเหว

วงศ์ปลากระทุงเหว หรือ วงศ์ปลาเข็มแม่น้ำ (Needlefish) เป็นวงศ์ปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Belonidae (/เบ-ลอน-นิ-ดี/) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) แต่มีขนาดลำตัวใหญ่กว่ามาก ปากแหลมยาวทั้งบนและล่าง และภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคม เกล็ดมีขนาดเล็ก เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 130-350 แถว ครีบหลังมีก้านครีบแขนงประมาณ 14-23 ก้าน ครีบอกใหญ่แข็งแรง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยไล่ล่าปลาขนาดเล็กกว่ารวมทั้งแมลงและสัตว์น้ำต่าง ๆ กิน นิยมอยู่รวมเป็นฝูง หากินตามผิวน้ำ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ส่วนมากจะพบตามบริเวณชายฝั่งทะเลที่ติดกับปากแม่น้ำ จึงจัดเป็นปลาน้ำกร่อยอีกจำพวกหนึ่ง แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ติดกับวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ ไข่มักจะมีเส้นใยพันอยู่รอบ ๆ และใช้เวลาประมาณ 6-9 วันถึงจะฟักเป็นตัว นับว่านานกว่าปลาในวงศ์อื่นมาก ลูกปลาในวัยอ่อนส่วนปากจะยังไม่แหลมคมเหมือนปลาวัยโต เป็นปลาที่สามารถกระโดดจากผิวน้ำได้สูงมาก ขนาดใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 120 เซนติเมตร นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการตกปลาว่า "ปลาเต็กเล้ง" บางชนิดมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น ปลากระทุงเหวเมือง (Xenentodon canciloides).

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลากระทุงเหว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงขาว

วงศ์ปลากะพงขาว (Perch) วงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง เป็นปลากินเนื้อในอันดับ Perciformes พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายในภูมิภาคเขตร้อนตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงทวีปเอเชีย ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Latidae (/เลท-ที-เด-อา/) มีทั้งหมด 11 ชนิด ใน 3 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลากะพงขาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงดำ

วงศ์ปลากะพงดำ (Tripletail) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง ใช้ชื่อว่า Lobotidae ซึ่งคำว่า Lobotidae มาจากภาษากรีกคำว่า "Lobo" หมายถึง ก้านครีบ ลักษณะของปลาในวงศ์นี้ ลักษณะลำตัวแบนค่อนข้างลึก ความยาวหัวจะสั้นกว่าความลึกลำตัว ปากกว้างเฉียงขึ้น มุมปากจะอยู่แนวเดียวกับปุ่มกลางนัยน์ตา ครีบหลังจะเป็นก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่ปลายแหลมประมาณ 11-13 ก้าน และก้านครีบแขนง 13-16 ก้าน ส่วนครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางขนาดใกล้เคียงกันดูเหมือนจะมีครีบหาง 3 ครีบ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ มีลักษณะเด่นอีกประการ คือ มีสีลำตัวที่ดูเลอะเปรอะเปื้อนเพื่อใช้ในการอำพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยปลาในวงศ์นี้มักจะอยู่ลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ โดยใช้ส่วนหัวทิ่มลงกับพื้น และมักแอบอยู่ตามวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำ เช่น ซากเรือจม, กองหิน หรือ ขอนไม้ และขณะเป็นลูกปลาวัยอ่อนมักจะลอยตัวนิ่ง ๆ ดูเหมือนใบไม้อีกด้วย โดยมักพบตามปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด และมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลากะพงดำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงแสม

ำหรับปลาข้างตะเภาอีกวงศ์หนึ่ง ดูที่: วงศ์ปลาข้างตะเภา วงศ์ปลากะพงแสม หรือ วงศ์ปลาครืดคราด หรือ วงศ์ปลาข้างตะเภา (Grunt, Sweetlips) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Haemulidae มีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง มีเกล็ดแบบสาก ส่วนหัวและพรีออร์บิตอลมีเกล็ด ปากค่อนข้างเล็กเป็นแบบเทอร์มินัลเฉียง ริมฝีปากหนา ไม่มีซับออร์คิวลาร์เชลฟ์ กระดูกพรีโอเพอร์เคิลเป็นหยัก ครีบหลังติดกันเป็นครีบเดียว และมีก้านครีบแข็ง 9-15 ก้าน ก้านครีบแข็งของครีบหลังและครีบก้นใหญ่และแข็งแรง ก้านครีบแข็งก้านที่สองของครีบก้นยาวที่สุด ครีบหางกลม ตัดตรงหรือเว้าเล็กน้อยแบบอีมาร์จิเน็ท เป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 19 สกุล.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลากะพงแสม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะพงแดง

วงศ์ปลากะพงแดง หรือ วงศ์ปลากะพงข้างปาน (วงศ์: Lutjanidae, Snapper) เป็นวงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะคือ มีครีบหลังยาวต่อเนื่องไปจนถึงโคนหาง แบ่งเป็นครีบแข็ง 10-12 ซี่ ครีบอ่อน 10-17 ซี่ ครีบก้นที่เป็นครีบอ่อน 7-11 ซี่ ส่วนหัวใหญ่ ปากมีลักษณะกว้างยาว ยืดหดได้ ฟันมีลักษณะเล็กแหลมคมและมีหลายแถวในขากรรไกร ซึ่งบางชนิดอาจมีฟันเขี้ยวได้เมื่อโตเต็มที่ ริมฝีปากหนา พบทั้งหมด 17 สกุล มีมากกว่า 160 ชนิด โดยมีสกุลใหญ่คือ Lutjanus โดยพบในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อาศัยและหากินในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ เช่น ปลากะพงแดง (Lutjanus argentimaculatus) หรือ ปลากะพงข้างปาน (L. russellii) เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เนื่องด้วยเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญจำพวกหนึ่ง และนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ในน่านน้ำไทยพบประมาณ 25 ชนิด สำหรับชื่อสามัญในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "อังเกย" (紅鱷龜).

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลากะพงแดง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลามังกรน้อย

วงศ์ปลามังกรน้อย (Dragonet, Scotter blenny, ชื่อวิทยาศาสตร์: Callionymidae) เป็นวงศ์ปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกัน แต่วงศ์ปลามังกรน้อยไม่จัดอยู่ในวงศ์ปลาบู่ แต่กลับมีความใกล้เคียงกับปลาในวงศ์ปลามังกรน้อยลาด (Draconettidae) มากกว่า โดยคำว่า "Callionymidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "Kallis" ซึ่งแปลว่า "สวย" และ "onyma" แปลว่า "ชื่อ" เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดยใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยจะหากินในเวลากลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวขนาดโต ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ มีครีบต่าง ๆ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง ซึ่งแข็งแรงมาก มีพฤติกรรมใช้ครีบท้องนี้คืบคลานหาอาหารตามพื้นทรายมากกว่าจะว่ายน้ำ โดยมีครีบหางเป็นเครื่องบังคับทิศทาง มีเงี่ยงครีบหลัง 4 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 6-11 ก้าน ก้านครีบก้น 4-10 ก้าน มีเส้นข้างลำตัว มีกระดูกเรเดียส 3 ชิ้น ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีกระโดงครีบหลังชี้ยาวออกมาเห็นเป็นจุดเด่น ขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยมากแล้วมีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามมาก มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปรอบ ๆ ตัวเมีย พร้อมเบ่งสีและครีบต่าง ๆ เพื่อเกี้ยวพา เมื่อตัวเมียปล่อยไข่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำ ตัวอ่อนใช้ชีวิตเบื้องต้นเป็นเหมือนแพลงก์ตอน ในบางชนิดมีรายงานว่ามีพิษด้วย ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้ว 18 สกุล (ดูในตาราง) ราว 130 ชนิด และเนื่องจากเป็นปลาสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้ปะการัง ซึ่งบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แล้ว อาทิ ปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus), ปลาแมนดารินจุด (S. picturatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลามังกรน้อย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้าย

วงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้าย (Lefteye flounder, Turbot) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาซีกเดียว (Pleuronectiformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Bothidae (/โบ-ทิ-ดี/) ปลาลิ้นหมาในวงศ์นี้ มีรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมาในวงศ์ปลาลิ้นหมา (Soleidae) และวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างขวา (Pleuronectidae) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้ เมื่อโตขึ้นมา ตาทั้งคู่จะอยู่ทางซีกซ้ายของหัว เหมือนปลาในวงศ์ปลาลิ้นเสือ (Paralichthyidae) และวงศ์ปลายอดม่วง (Cynoglossidae) มีแกนครีบ ครีบหลังเริ่มที่เหนือบริเวณตา ครีบหลังและครีบทวาร แยกจากครีบหาง ขณะที่พื้นลำตัวส่วนมากเป็นสีน้ำตาลและส่วนมากมีจุดประสีเข้ม เป็นวงกลมคล้ายวงแหวนดูเด่น ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแบ่งไว้ทั้งหมด 20 สกุล (ดูในตาราง) พบประมาณ 158 ชนิด และพบได้เฉพาะในทะเลและมหาสมุทรเท่านั้น พบได้ทั้งในเขตร้อน, เขตอบอุ่น และเขตหนาว จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้าย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาลิ้นเสือ

วงศ์ปลาลิ้นเสือ หรือ วงศ์ปลาลิ้นหมาฟันใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paralichthyidae) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาซีกเดียว (Pleuronectiformes) พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, อินเดีย และแปซิฟิก ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล ชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหาได้ยากมาก ลำตัวด้านขวาจะราบไปกับพื้นน้ำ ตาทั้งสองข้างอยู่ด้านซ้ายของลำตัวบริเวณส่วนหัวเหมือนกับวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างซ้าย (Bothidae) ลักษณะเด่น คือ ไม่มีก้านครีบบริเวณครีบอกและครีบเชิงกราน ฐานครีบเชิงกรานจะสั้นและเกือบจะสมมาตร โดยมากจะพบได้ในเขตอบอุ่นหรือเขตร้อน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและตกปลาในเชิงการกีฬา อาทิ ปลาแฮลิบัตญี่ปุ่น (Paralichthys olivaceus) ขณะที่ในน่านน้ำไทย มีหลายชนิด ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ปลาลิ้นเสือ (Pseudorhombus arsius) ปัจจุบัน มีการจำแนกไว้ทั้งหมด 14 สกุล (ดูในตาราง) 115 ชนิด โดยที่คำว่า Paralichthyidae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีก paralia หมายถึง "ด้านข้างทะเล", coast บวกกับภาษากรีกคำว่า ichthys หมายถึง "ปลา".

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาลิ้นเสือ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัว

วงศ์ปลาวัว หรือ วงศ์ปลางัว หรือ วงศ์ปลากวาง (วงศ์: Balistidae, Triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวกว้างแบนเป็นทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ ข้างตำแหน่งตาอยู่สูงบริเวณด้านบนของหัว ที่ครีบหลังอันแรกจะมีหนามแข็ง 3 อัน สามารถพับเก็บได้ และจะตั้งขึ้นได้เพื่อใช้ในการข่มขู่ศัตรู มีก้านครีบหางจำนวน 12 ก้าน และ 18 ก้านครีบที่ครีบหลัง มีเกล็ดที่ใหญ่แข็งและหนังหนา ส่วนของใบหน้ายาวและยื่นแหลมออกมา ปากมีขนาดเล็ก ภายในมีฟัน 4 ซี่ที่ด้านนอก และด้านในอีก 3 ซี่ ที่แหลมคมมาก ใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ กินเป็นอาหาร รวมถึงฟองน้ำ, ปะการัง, สาหร่าย หรือเม่นทะเลด้วย เช่นเดียวกับปลาปักเป้า อันเป็นปลาในอันดับเดียวกัน แต่อยู่ต่างวงศ์กัน พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะฮาวาย, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน และมหาสมุทรแอตแลนติก ตาของปลาวัวสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้ อันเป็นลักษณะเฉพาะ โดยปกติแล้ว เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าวก้าวร้าวมาก มักไล่กัดปลาอื่นหรือแม้แต่พวกเดียวกันเองที่รุกล้ำเข้ามาในถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่จะหากินและอาศัยอยู่ในแนวปะการัง มีพฤติกรรมหากินโดยซอกซอนหากินเอาในแนวปะการังในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมากโดยใช้ครีบหลัก ๆ ทั้ง 2 ครีบในด้านบนและด้านล่างของลำตัว ขณะที่ครีบหางใช้เป็นตัวควบคุมทิศทาง เป็นปลาที่มีพฤติกรรมผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางไข่ตามพื้นในรังซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง ซึ่งบางชนิดจะมีนิสัยดุร้ายมากในช่วงนี้ โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามสดใสมาก จึงเป็นที่นิยมมากของนักดำน้ำและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่ว่าเป็นปลาที่ดุร้ายมาก สามารถพุ่งเข้ากัดจนเป็นแผลเหวอะหรือไล่มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่ามากได้อย่างไม่เกรงกลัว มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 25-50 เซนติเมตร โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาวัวไททัน (Balistoides viridescens) ที่ใหญ่ได้ถึง 75 เซนติเมตร หรือราว 1 เมตร และนับเป็นชนิดที่อันตรายมาก เพราะมีรายงานการกัดและไล่นักดำน้ำมาแล้วในหลายที.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาวัว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัวจมูกสั้น

วงศ์ปลาวัวจมูกสั้น (วงศ์: Triacanthidae, Tripodfish, Hornfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างและลักษณะโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) หรือวงศ์ปลาวัวจมูกยาว (Monacanthidae) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ต่างวงศ์กัน แต่อยู่ในอันดับเดียวกัน คือ มีผิวที่หยาบเหนียว หรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน มีฟันแหลมคมต่อกันเป็นแผ่น ใช้สำหรับแทะเล็มหาอาหารจำพวกครัสตาเชียนหรือหอยหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ ตามแนวปะการังและพื้นทะเล มีก้านครีบหลังก้านแรกเป็นแท่งกระดูกใหญ่ ซึ่งแหลมและแข็งแรงคล้ายเขาสัตว์ ซึ่งสำหรับปลาในวงศ์ปลาวัวจมูกสั้นแล้ว จะมีเงี่ยง 2 เงี่ยงที่แหลมคมและแข็งแรงบริเวณส่วนหน้าอกยื่นออกมาแหลมยาวอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสามารถใช้จับตั้งวางกับพื้นได้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ครีบหลังมีก้านครีบ 20-26 ก้าน ขณะที่ครีบก้นมีก้านครีบ 13-22 ก้าน มีส่วนหน้าและจะงอยปากที่สั้นทู่กว่าเมื่อเทียบกับปลาใน 2 วงศ์ข้างต้นอย่างเห็นได้ชัด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15-30 เซนติเมตร เป็นปลาที่มักพบในแนวปะการังและบริเวณใกล้ชายฝั่งหรือตามปากแม่น้ำ ในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นของอินโดแปซิฟิก ซึ่งในบางชนิดอาจปรับตัวให้เข้ากับน้ำกร่อยได้ด้วย ซึ่งคำว่า Triacanthidae ซึ่งใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์มาจากภาษากรีก คำว่า "Tri" หมายถึง "สาม" ผสมกับคำว่า "Akantha" ซึ่งหมายถึง "หนาม".

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาวัวจมูกสั้น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดหิน

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลาสลิดหิน (Damsel, Demoiselle) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacentridae เป็นปลาทะเลหรือน้ำกร่อยขนาดเล็ก โดยรวมแล้วมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีความโดดเด่นตรงที่มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการัง นับเป็นปลาที่พบได้บ่อยและชุกชุมที่สุดในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักกัดทะเลาะวิวาทกันเองภายในฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอน, สาหร่าย และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ จัดเป็นปลาที่วงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในวงศ์ประมาณ 360 ชนิด ใน 29 สกุลหรือวงศ์ย่อย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ชนิด โดยที่คำว่า Pomacentridae ที่เป็นภาษาละตินที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า "poma" แปลว่า "ปก" หมายถึง "แผ่นปิดเหงือก" และ "kentron" แปลว่า "หนาม" ซึ่งหมายถึง "หนามที่บริเวณแผ่นปิดเหงือกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในวงศ์นี้" ลักษณะทางชีววิทยา คือ ลำตัวสั้นปอมรูปไขรีแบนขาง เกล็ดเป็นแบบสาก เสนขางตัวขาดตอน ครีบหลังติดกันเปนครีบเดียว มี รูจมูกเพียงคูเดียว ครีบทองอยูในตำแหนงอก ไมมีฟนที่พาลาทีน ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน โดยมากแล้ว เป็นปลาที่ดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว โดยทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล แต่ก็มีบางจำพวกอย่าง ปลาการ์ตูน ที่สามารถเปลี่ยนเพศได้ตามสถานการณ์ โดยปกติแล้วเป็นปลาทะเลและปลาน้ำกร่อย แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดด้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาสลิดหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสาก

วงศ์ปลาสาก หรือ วงศ์ปลาน้ำดอกไม้ (Barracuda, Seapike) วงศ์ปลากระดูกแข็งน้ำเค็มวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphyraenidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม ปากกว้าง กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน มีฟันแหลมคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบางขอบเรียบ มีครีบหลัง 2 ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ทั้งสีน้ำตาลอมเหลือง หรือลายบั้งขวางลำตัวเป็นท่อน ๆ หรือแต้มจุด แต่โดยมากมักเป็นสีฟ้าเทา ครีบหางเป็นแฉกรูปตัววี (V) มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30-180 เซนติเมตร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่บางครั้งอาจถึง 1,000 ตัว เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียว ไล่ล่าฝูงปลาชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร นับเป็นผู้ล่าอันดับต้น ๆ ของห่วงโซ่ชีวิตในทะเลจำพวกหนึ่ง เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็ก จะอาศัยอยู่รวมกับฝูงปลาอย่างอื่น อาทิ ปลากะตัก ตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำ หรือตามปากแม่น้่ำ ที่เป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ปลาสาก สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ เช่นเดียวกับปลาฉลาม ด้วยการกัดจากกรามและฟันที่แข็งแรง สามารถงับปลาอื่นที่เป็นอาหารให้ขาดสองท่อนได้จากการงับเพียงครั้งเดียว ที่สหรัฐอเมริกามีกรณีที่ปลากระโดดขึ้นมาจากน้ำงับแขนของเด็กผู้หญิงวัย 14 ปีที่นั่งอยู่บนเรือ เป็นแผลฉกรรจ์ต้องเย็บไปทั้งสิ้น 51 เข็ม แต่ไม่เคยมีรายงานว่าทำอันตรายได้ถึงแก่ชีวิต ปลาสาก เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ด้วยนิยมบริโภคและซื้อขายกันในตลาดสด และนิยมตกเป็นเกมกีฬา สามารถแบ่งออกเป็นชนิดได้ทั้งหมด 26 ชนิด ในสกุลเดียว กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก ในทวีปอเมริกาพบได้ตั้งแต่บราซิลไปจนถึงฟลอร.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาสาก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสินสมุทร

วงศ์ปลาสินสมุทร (Angelfish, Marine angelfish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthidae (/โป-มา-แคน-ทิ-ดี้/) ปลาสินสมุทรนั้นมีรูปร่างและสีสันโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) บางสกุล เช่น Chaetodon กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้างเป็นทรงรีหรือรูปไข่ในแนวนอน ปากมีขนาดเล็กมีริมฝีปากหนา เกล็ดเล็กละเอียดกลม ไม่มีหนามที่ขอบตาด้านหน้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ เส้นข้างลำตัวโค้งและสมบูรณ์ ครีบท้องและครีบทวารมนกลม ก้านครีบแข็งค่อนข้างจะยาวกว่าก้านครีบอ่อน โดยก้านครีบอันแรกของครีบเอวจะยาวมาก ครีบหางมีลักษณะเป็นหางตัดหรือมนกลม ปลาสินสมุทรจัดเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังวงศ์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ คือ มีขนาดตั้งแต่ 10-40 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามช่วงวัย มีอาณาบริเวณหากินค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งเป็นปลาที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมักว่ายน้ำเข้าหามาเมื่อมีผู้ดำน้ำลงไปในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย โดยอาศัยและหากินในแนวปะการังเป็นหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่หากินลึกลงไปกว่านั้นเป็นร้อยเมตร ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่นเดียวกับปลาการ์ตูนหรือปลาผีเสื้อ อันเนื่องจากสีสันที่สวยงาม พบทั้งหมด 9 สกุล (ดูในตาราง) มีประมาณ 74 ชนิด ในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ (Pomacanthus imperator), ปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) และปลาสินสมุทรลายบั้ง (P. sexstriatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาสินสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหูช้าง

วงศ์ปลาหูช้าง หรือ วงศ์ปลาค้างคาว หรือ วงศ์ปลาคลุด (Batfish, Spadefish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ephippidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะทั่วไป ลำตัวแบนทรงกลมหรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านข้างลำตัวแบนข้างมาก เกล็ดมีขนาดเล็กหรือปานกลางเป็นแบบสาก หัวมีขนาดเล็ก ปากมีขนาดเล็ก ยืดหดไม่ได้ อาจมีครีบสันหลังหรือไม่มีก็ได้ ครีบหูสั้นและกลม กระดูกซับออคิวลาร์ เชลฟ์ กว้างหรือแคบ ครีบหางมีทั้งแบบกลมและแยกเป็นแฉก เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น พบทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 70 เซนติเมตร โดยจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงหรือเป็นคู่ ลูกปลาวัยอ่อนจะเลี้ยงตัวในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืด เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน โดยมีสีสันแตกต่างจากปลาวัยโต และมีครีบต่าง ๆ ยาวกว่าด้วย เพื่อตบตาสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาในแถบแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบ 2 ชนิด คือ ปลาหูช้างยาว (Platax teira) และปลาหูช้างกลม (P. orbicularis) โดยปกติแล้วจะไม่ถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ก็ใช้รับประทานกันได้ และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้ทั้งหมด 8 สกุล (ดูในตาราง) ราว 18 ชน.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาหูช้าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอมไข่

ปลาอมไข่ หรือ ปลาคาร์ดินัล (Cardinalfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apogonidae อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง เกล็ดมีขนาดใหญ่ หลุดง่าย มีทั้งแบบขอบบางเรียบและเกล็ดสาก ปากค่อนข้างกว้าง เฉียงลง ส่วนมากมีฟันแบบวิลลีฟอร์มบนขากรรไกร มีบางชนิดที่มีฟันเขี้ยวคู่หนึ่งที่รอยต่อของขากรรไกร ครีบหลังทั้งสองครีบแยกจากกันอย่างเห็นได้ชัด ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งอก ไม่มีเกล็ดอซิลลารี ครีบหางเว้า ตัดตรง หรือกลม เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในชายทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในบางครั้งอาจพบได้ตามปากแม่น้ำ, ชะวากทะเล ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ เป็นปลาขนาดเล็กที่มีความสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม บางชนิดสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ที่ได้ชื่อว่าปลาอมไข่ เนื่องจากเป็นปลาที่เมื่อผสมพันธุ์วางไข่แล้ว ปลาตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก จนกระทั่งลูกปลาฟักออกมาเป็นตัว และอาจจะเลี้ยงลูกปลาและอมไว้ต่อไปจนกว่าลูกปลาจะโตแข็งแรงพอที่จะดูแลตัวเองได้.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาอมไข่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ

วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ หรือ วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปลอม (False pipefish, Ghost pipefish, Tubemouth fish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenostomidae (มาจากภาษากรีกคำว่า solen หมายถึง ท่อ, หลอด หรือช่องทาง กับ στομα (stoma) หมายถึง ปาก) มีรูปร่างโดยรวม คือ เหมือนกับปลาจิ้มฟันจระเข้ขนาดเล็ก คือมีลำตัวยาวเหมือนกิ่งไม้ ปากยาวเป็นท่อ แต่มีความแตกต่างกัน คือ มีครีบที่พัฒนาให้มีขนาดกว้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว เป็นครีบที่โดดเด่นทั้งครีบข้างลำตัว, ครีบหลัง, ครีบหาง และยังมีครีบพิเศษ คือ ครีบใต้ท้องที่ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ทั่วไปไม่มี ซึ่งครีบขนาดใหญ่นี้สามารถจะหุบเก็บแนบกับลำตัว หรือคลี่กางให้กว้างใหญ่ได้คล้ายกับพัด ที่เมื่อคลี่กางครีบสุดตัวแล้วจะแลดูสวยงาม นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น คือ ตลอดทั่วทั้งตัวมีติ่งเนื้อหรือสีสันที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สำหรับการพรางตัวได้เป็นอย่างดี Orr, J.W. & Pietsch, T.W. (1998).

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Surgeonfish, Tang, Lancetfish, Unicornfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Acanthuridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นหรือค่อนข้างยาวรูปไข่ ด้านข้างแบน ส่วนหลังและส่วนท้องโค้งเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กมากเป็นแบบบางเรียบ มีก้านครีบที่โคนหางสามารถขยับได้ ปากมีขนาดเล็ก มีฟันแบบฟันตัดเพียงแถวเดียว ไม่มีฟันที่เพดานปาก จะงอยปากไม่มีลักษณะเป็นท่อสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 4-9 ก้าน ไม่แยกจากครีบอ่อน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2-3 ก้าน เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ครีบหางตัดตรงหรือเว้าแบบพระจันทร์เสี้ยว เกล็ดบนลำตัวบางครั้งพบว่าค่อนข้างหยาบ ในขณะที่อายุยังน้อยไม่มีเกล็ด ลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ คือ มีเกล็ดที่พัฒนาบริเวณส่วนโคนหางและครีบหางที่มีขนาดเล็กแต่แหลมคมมาก ใช้สำหรับป้องกันตัวและเป็นที่มาของชื่อเรียก และเป็นส่วนสำคัญในการอนุกรมวิธาน กินสาหร่าย และหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่บนหิน และปะการังเป็นอาหาร หรือบางชนิดกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร ส่วนใหญ่มีสีสันที่สวยสดงดงาม มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 83 ชนิด มีขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป 15-40 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม กระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาดอกหมาก

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้น วงศ์ปลาดอกหมาก (Mojarra, Silver biddy) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gerreidae เป็นปลาที่มีลำตัวแบนข้าง ดูผิวเผินคล้ายปลาในวงศ์ปลาแป้น (Leiognathidae) มีขนาดปานกลาง เกล็ดบนหัวเป็นแบบบางขอบเรียบ หรือเกล็ดสาก มีเหงือกเทียม ขอบของกระดูกพรีโอเพอร์เคิลเป็นหยักเล็กน้อย มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีฟันเขี้ยว ปากยืดหดได้ มีสเกรีชีทที่ฐานครีบหลังและครีบก้น ครีบหลังมีตอนเดียว ครีบหางเว้าแบบส้อม ปกติอยู่เป็นฝูงในทะเลเขตร้อน ตั้งแต่ทะเลแคริเบียน, อเมริกาใต้ จนถึงเอเชีย แต่ก็อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แบ่งออกได้ทั้งหมด 6 สกุล.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาดอกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตาเหลือกยาว

วงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Ladyfish, Tenpounder, Bigeyed herring, Tarpon, วงศ์: Elopidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลาตาเหลือก (Elopiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elopidae เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในอันดับเดียวกัน กล่าวคือ มีรูปร่างเพรียวยาว ปลายหางแฉกเป็นสองแฉกเว้าลึก แบนข้าง เกล็ดมีสีเงินแวววาว ตามีความกลมโต ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น เหมือนกัน แต่มีลำยาวยาวกว่า และที่ก้านครีบหลังก้านสุดท้ายไม่มีเส้นครีบยื่นยาวออกมา เป็นปลาขนาดใหญ่ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 10 กิโลกรัม มีความปราดเปรียวว่องไว หากินโดยกินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเขตร้อนและเขตอบอุ่น และสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ มีทั้งหมด 1 สกุล 7 ชน.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาตาเหลือกยาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามกบ

วงศ์ปลาฉลามกบ หรือ วงศ์ปลาฉลามหิน (Bamboo sharks, Cat sharks, Longtail carpet sharks, Epaulette sharks, Speckled cat sharks) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiscylliidae ในอันดับปลาฉลามกบ (Orectolobiformes).

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาฉลามกบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Requim shark, Whaler shark) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carcharhinidae อยู่ในอันดับปลาฉลามครีบดำ (Carcharhiniformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ เพรียวยาวเป็นทรงกระสวย ครีบหลังมีสองตอน โดยเฉพาะครีบหลังตอนแรกมีลักษณะแหลมสูง ดูเด่น ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา ตามีทรงกลม ปากเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้ง ภายในมีฟันแหลมคมอยู่จำนวนมาก เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียวมาก เป็นปลาที่ล่าเหยื่อและหากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำในบางครั้ง โดยปกติแล้ว จะกินปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร โดยอาศัยโครงสร้างฟันที่แหลมคม ประกอบกับการว่ายน้ำที่คล่องแคล่วและรวดเร็วขณะโจม แต่บางชนิดอาจมีพฤติกรรมโจมตีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือสิงโตทะเล เป็นอาหารได้ด้วย จมูกมีความไวมากสำหรับการได้กลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นคาวเลือดและได้ยินเสียงได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร ในบางสกุลจะมีพฤติกรรมอย่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกเป็นตัว จะอาศัยหากินในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในบางครั้งอาจเข้าหากินได้ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เช่น ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus), ปลาฉลามหัวบาตร (C. leucas) และปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ซึ่งเป็นปลาฉลามเพียงจำพวกเดียวแท้ ๆ ในกลุ่มปลาฉลามที่อาศัยและเติบโตในน้ำจืดสนิท มีทั้งหมด 12 สกุล ประมาณ 57 ชนิด โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier) ที่ยาวได้ถึง 7 เมตร.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ (Porcupinefish, Blowfish, Globefish, Balloonfish, Burrfish, วงศ์: Diodontidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Diodontidae ซึ่งมีความหมายว่า "ฟันสองซี่" มีรูปร่างคล้ายกับปลาปักเป้าในวงศ์ Tetraodontidae แต่ว่าปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่นี้ มีฟันแหลมคมที่ใช้สำหรับกัดกินสัตว์มีเปลือกรวมถึงปะการังชนิดต่าง ๆ สองซี่ใหญ่ ๆ ในปาก เชื่อมติดต่อกันบนขากรรไกร โดยที่ไม่มีร่องผ่าตรงกลาง มีเส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ครีบอกมีขนาดใหญ่คล้ายพัด ครีบหลัง และครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ไม่มีครีบท้อง ครีบหางกลมมน มีรูปร่างอ้วน กลม แบนข้างเล็กน้อย สามารถขยายร่างกายให้กลมเหมือนลูกบอลได้ ด้วยการสูดอากาศหรือน้ำเข้าไปในช่องท้อง และผิวหนังจะมีหนามแหลมคมทั่วทั้งตัว ซึ่งจะตั้งตรงทั้งตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูด้วย พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปในทะเลทั้งเขตร้อน, เขตอบอุ่น และเขตหนาว โดยเป็นปลาน้ำเค็มทั้งหมด จัดเป็นปลาที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยสามารถยาวได้ถึง 2 ฟุต เป็นปลาที่มีสารเตโตรโดท็อกซิน อย่างร้ายแรง จึงไม่ใช้ในการบริโภค แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ทั้งในตู้ปลาส่วนบุคคลหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมทำเป็นเครื่องประดับ โดยเฉพาะการสตัฟฟ์เวลาที่พองตัวออก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลานกกระจอก

ปลานกกระจอก หรือ ปลาบิน (Flying fish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Exocoetidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวยาวมาก ค่อนข้างกลม จะงอยปากสั้นทู่สั้นกว่าตา ปากเล็ก ไม่มีฟัน ไม่มีก้านครีบแข็งที่ทุกครีบ ครีบหูขยายใหญ่ยาวถึงครีบหลัง ครีบท้องขยายอยู่ในตำแหน่งท้อง ครีบหางมีแพนล่างยาวกว่าแพนบน ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม เส้นข้างลำตัวอยู่ค่อนลงทางด้านล่างของลำตัว เกล็ดเป็นแบบขอบบางไม่มีขอบหยักหรือสาก หลุดร่วงง่าย จัดเป็นปลาทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยพบในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งพอสมควร ส่วนใหญ่มีลำตัวสีเขียว หรือสีน้ำเงินหม่น ข้างท้องสีขาวเงิน เป็นปลาที่มีลักษณะเด่น คือ นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงและหากินบริเวณผิวน้ำ มีความคล่องแคล่วว่องไว มีจุดเด่น คือ เมื่อตกใจหรือหนีภัยจะกระโดดได้ไกลเหมือนกับร่อนหรือเหินไปในอากาศเหมือนนกบิน ซึ่งอาจไกลได้ถึง 30 เมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของตัวปลาและจังหวะ อันเป็นที่มาของชื่อ โดยใช้ครีบอกหรือครีบหูที่มีขนาดใหญ่มากเป็นตัวพยุงช่วย ในขณะที่บางชนิดมีครีบก้นที่มีขนาดใหญ่ร่วมด้วย ปลานกกระจอกเมื่อกระโดดอาจกระโดดได้สูงถึง 7-10 เมตร ด้วยความเร็วประมาณ 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถอยู่บนกลางอากาศได้นานอย่างน้อย 10 วินาที วางไข่ไว้ใต้กอวัชพืชหรือขยะที่ลอยตามกระแสน้ำ เพื่อให้เป็นที่พำนักของลูกปลาเมื่อฟักแล้ว เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พบมากกว่า 50 ชนิดทั่วโลก แบ่งออกเป็น 8 สกุล (ดูในตาราง) เป็นปลาที่ขี้ตื่นตกใจ และตายง่ายมากเมื่อพ้นน้ำ.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลานกกระจอก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลานกแก้ว

ปลานกแก้ว (parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งในวงศ์ Scaridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่มีประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) อาศัยอยู่ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบมากกว่า 20 ชนิด เป็นปลาที่มีฟันแหลมคมคล้าย ๆ จะงอยของนกแก้วอันเป็นที่มาของชื่อเรียก จะงอยปากยืดหดได้ เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหางกลมมนหรือตัดตรง เป็นปลาที่กินฟองน้ำ, ปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้าย ๆ จะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง และมีฟันอีกชุดในคอหอยด้วย ซึ่งเมื่อกัดแทะนั้นจะเกิดเป็นเสียง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ ออกหากินในเวลากลางวัน นอนหลับในเวลากลางคืน เมื่อนอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่าง ๆ เช่น พวกหนอนพยาธิหรือปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน เป็นปลาที่สวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลานกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแพะ (ปลาทะเล)

วงศ์ปลาแพะ หรือ วงศ์ปลาหนวดฤๅษี (Mullidae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mullidae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีเกล็ดขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสากเล็กน้อย ส่วนหัวมีเกล็ด ครีบหลังมีสองตอน ตอนแรกมีก้านครีบแข็ง 6-8 ก้าน ครีบ มีครีบหางแบบเว้าลึก ใต้คางมีหนวด 1 คู่ ที่ไวต่อความรู้สึก ใช้สำหรับคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามหน้าดิน เช่น พื้นทราย ซึ่งดูแล้วเหมือนหนวดเคราของแพะ อันเป็นที่มาของชื่อ พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งและแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย โดยอยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งออกได้เป็น 6 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 55 ชนิด ในน่านน้ำไทยพบได้หลายชนิด อาทิ ปลาแพะเหลืองทอง (Parupeneus heptacanthus), ปลาแพะลาย (Upeneus tragula), ปลาแพะเหลือง (U. sulphureus), ปลาแพะขนุน (Mulloidichthys flavolineatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาแพะ (ปลาทะเล) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาไหลมอเรย์

ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร ปลาไหลมอเรย์มีกรามที่แข็งแรงและฟันที่แหลมคม แม้จะมีหน้าตาน่ากลัว แต่ไม่ใช่เป็นปลาที่ดุร้าย กลับกันกลับเป็นปลาที่รักสงบ แต่จะจู่โจมใส่ผู้ที่บุกรุก โดยหลายครั้งที่นักประดาน้ำไปเผลอรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ เพราะฟันที่แหลมคมและการกัดที่ไม่ปล่อย และอีกช่วงที่ปลาไหลมอเรย์จะดุร้าย คือ ในฤดูผสมพันธุ์ ปลาไหลมอเรย์ มีทั้งหมดราว 70 ชนิด พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันออกไปตามแตค่ละชนิดหรือสกุล แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย ในบางชนิดที่มีขนาดเล็ก จะไม่ความยาวไม่เกิน 2 ฟุตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus) ยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 36 กิโลกรัม.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาไหลมอเรย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเข็ม

วงศ์ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak, Halfbeak) เป็นวงศ์ของปลาจำพวกหนึ่ง ที่พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiramphidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลานกกระจอก (Exocoetidae) ซึ่งเป็นปลาทะเล มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวเรียวยาว ท่อนหัวค่อนข้างกลม ท่อนหางแบนข้าง ปากล่างยื่นยาวเป็นจะงอยแหลมคล้ายปากนก ปากบนสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่ปากบนและมีฟันที่ปากล่างมีเฉพาะบริเวณที่อยู่ใต้ปากบน แต่ในบางชนิดมีฟันที่ปากล่างเรียงเป็นแถวตลอดทั้งปาก ส่วนโคนของปากล่างเชื่อมติดต่อกันกับกะโหลกหัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ปากบนเท่านั้น มีเกล็ดแบบสาก ครีบทั้งหมดบางใส ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง ตำแหน่งของครีบหางและขนาดของครีบก้นเป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกสกุล ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกค่อนข้างใหญ่อยู่ใกล้แนวสันหลัง ครีบหางของสกุลที่อาศัยอยู่ในทะเลมักมีลักษณะเว้าลึก ปลายแยกออกจากกันเป็นแฉก แฉกบนเล็กกว่าแฉกล่าง ส่วนสกุลที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดมักมีครีบหางที่มนกลม เป็นปลาที่มีทั้งออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัว โดยพวกที่ออกลูกเป็นตัว มักจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และที่ออกลูกเป็นไข่มักเป็นปลาทีอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มักว่ายหากินเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แมลงและลูกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เป็นปลาที่สามารถพบเห็นได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคและแทบทุกประเภทของแหล่งน้ำ มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น "ตับเต่า", "ปลาเข็ม" หรือ "สบโทง" มีความสำคัญในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และในบางชนิดก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้ต่อสู้เป็นการพนันเช่นเดียวกับปลากัดด้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปูบก

ปูบก (Land crab) เป็นวงศ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกปูวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gecarcinidae ปูในวงศ์ปูบก มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับปูทั่วไป เพียงแต่จะไม่มีหนามรอบกระดอง และรอบดวงตา มีขาเดินที่แข็งแรง และมีกรงเล็บขนาดใหญ่ เนื่องจากดำรงชีวิตอยู่บนบก จึงมีอวัยวะช่วยหายใจแตกต่างไปจากปูวงศ์อื่น โดยจะหายใจจากอากาศโดยตรง จึงมีเหงือกเป็นขุย มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมากคล้ายกับถุงลมในสัตว์บก และมีระบบขับถ่ายที่แตกต่างไปจากปูวงศ์อื่น คือ มีกระบวนการเปลี่ยนของเสียจากแอมโมเนีย ให้กลายเป็นกรดยูริก เก็บไว้ในเนื้อเยื่อ แตกต่างไปจากปูทั่วไปที่จะถ่ายลงน้ำ แต่การขยายพันธุ์ ปูตัวเมียก็จะไปวางไข่ทิ้งไว้ในน้ำ และลูกปูจะเลี้ยงตัวเองและพัฒนาตัวในน้ำในระยะต้น ก่อนที่จะขึ้นมาใช้ชีวิตอยู่บนบก ปูบก ดำรงชีวิตอยู่ในป่า หรือป่าชายหาดใกล้ชายหาด กินเศษซากอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ รวมถึง ใบไม้และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหารได้ด้วย ปูบก สามารถแบ่งได้เป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 6 สกุล ดังนี้ (บางข้อมูลแบ่งเพียง 3).

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์ปูบก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระติ๊ด

วงศ์นกกระติ๊ด (Estrildid finch, Waxbill) นกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Estrildidae อยู่ในอันดับนกเกาะคอน (Passeriformes) เป็นนกขนาดเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ จะงอยปากหนา สั้นและแหลม ลำตัวอ้วนป้อม หากินเมล็ดพืชและดอกหญ้าเป็นอาหาร ชอบตระเวนย้ายถิ่นหากินไปตามแหล่งที่มีอาหารสมบูรณ์ มักพบบินตามกันไปเป็นฝูง มีการผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ทำรังโดยนำหญ้ามาสานกันเป็นก้อนอยู่ตามกิ่งไม้และต้นไม้ โดยปากรังอยู่ด้านล่าง กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนของซีกโลกเก่า และประเทศออสเตรเลีย พบทั้งหมด 141 ชนิด ใน 29 สกุล (ดูในตาราง) พบในประเทศไทย 8 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์นกกระติ๊ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกจาบ

นกจาบ หรือ นกกระจาบ (Weaver) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ploceidae มีลักษณะคล้ายกับนกในวงศ์นกกระจอก (Passeridae) (บางข้อมูลจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์นกกระจอก ใช้ชื่อว่า Ploceinae) มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากหนาเปนปากกรวย รูจมูกมน มุมปากมีขนแข็ง ขนปลายปก 3 เสนนอกสุดยาวที่สุด ปกยาวกวาแขง นกจาบ ยังมีลักษณะเด่นอีกประการที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ การทำรังตามตนไม เปนรังแขวน วัสดุสวนใหญไดแก หญาฉีกเปนฝอย มีการสานวัสดุอยางสวยงามมีศิลปะ ซึ่งลักษณะและขนาดของรังจะแตกต่างกันตามแต่ละชนิด มีปากรังทางเข้า-ออก เป็นนกสังคม อาศัยและทำรังรวมกันเปนฝูงใหญ ตัวผูและตัวเมียมีสีสันแตกตางกันโดยเฉพาะในชวงฤดูผสมพันธุ พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และซับสะฮะราในทวีปแอฟริกา รังของนกจาบในทวีปแอฟริกา พบทั่วโลก 116 ชนิด พบ 3 ชนิดในประเทศไทย ซึ่งล้วนแต่อยู่ในสกุล Ploceus ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์นกจาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหี้ย

วงศ์เหี้ย (Monitor lizard, Goanna) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata ใช้ชื่อวงศ์ว่า Varanidae (/วา-รา-นิ-ดี้/).

ใหม่!!: เขตร้อนและวงศ์เหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

สกุลซีสโทมัส

กุลซีสโทมัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Systomus (/ซีส-โท-มัส/) เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีขอบท้ายก้านครีบแข็งของครีบหลังมีซี่จักรแข็งแรง ริมฝีปากเรียบบาง มีหนวดที่ริมฝีปากบนสองคู่ เกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัวพัฒนาเป็นท่อสมบูรณ์จำนวนระหว่าง 27-34 เกล็ด เกล็ดบนลำตัวแต่ละเกล็ดมีฐานเกล็ดสีดำ แลดูเหมือนลายตามยาวจาง ๆ มีแต้มกลมรี ตามแนวยาวที่ฐานครีบหาง หลายชนิดมีจุดกลมสีดำบริเวณจุดเริ่มต้นของครีบหลัง มักพบแถบสีดำบริเวณขอบบนและล่างของครีบหาง หน้า 68, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ใหม่!!: เขตร้อนและสกุลซีสโทมัส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลโพ

กุลโพ-ไทร-มะเดื่อ เป็นสกุลของไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ficus บางชนิดอาจขึ้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย โดยมีรากเกาะอาศัยต้นไม้อื่นแล้วเจริญโอบรัดต้นไม้ที่เกาะลักษณะคล้ายกาฝาก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยาง หูใบหุ้มตาใบชัดเจน กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบเดี่ยว ส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับในระนาบเดียวกัน เแผ่นใบด้านล่างส่วนมากมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้ฐานใบ บางครั้งมีซิสโทลิท ดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกทั้งหมดไว้ภายใน หรือ ซิทโอเนียม หรือฟิก โดยมีช่องเปิด ส่วนใหญ่มีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวมส่วนมากมี 2-6 กลีบ แยกกันหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวมส่วนมากมี 3-5 กลีบ แยกกันหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน แยกกันหรือติดกัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของแมลงขนาดเล็ก บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศ คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ลักษณะเฉพาะนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงในลักษณะพึ่งพากัน ชนิดของแมลงมีความเฉพาะกับไทรแต่ละชนิด ผลขนาดเล็ก คล้ายผลมีผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม ผลของมะเดื่อ (''F. carica'') ผ่าครึ่ง ไม้ที่อยู่ในสกุลนี้มีมากกว่า 800 ชนิดทั่วโลก (แบ่งออกได้เป็น 6 สกุลย่อย) ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน พบในประเทศไทยประมาณ 115 ชนิด มีประมาณ 7-8 ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งคนไทยมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าไม้เหล่านี้เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตย์ของเทพารักษ์หรือนางไม้ เป็นไม้มงคล นำมาสู่คึวามร่มเย็นหรือโชคลาภแก่ผู้ปลูก เช่น โพ (F. religiosa), ไทร (F. benjamina) ส่วนที่นำมาปลูกเพื่อใช้รับประทานผล ได้แก่ มะเดื่อ (F. carica) ที่มีคุณค่าทางสารโภชนาการสูงมาก, มะเดื่อชุมพร (F. racemosa) เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นอาหารหลักของสัตว์และนกหลายชนิด เช่น นกเงือก, นกโพระดก ด้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและสกุลโพ · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่ายวุ้น

หร่ายวุ้น อยู่ในกลุ่ม Red algae มีตั้งแต่สีดำแดง,สีแดง,สีน้ำตาล,สีน้ำตาลแดง,สีชมพู,สีม่วงเข้ม,สีม่วงแดง,สีเทา,สีเขียว,สีเหลือง หรือใส เกือบทุกชนิดสามารถรับประทานได้ หรือนำมาสกัดวุ้น จึงรวมเรียกว่า สาหร่ายวุ้น มีชื่อพื้นเมืองว่า สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) และชื่อสามัญว่า สาหร่ายวุ้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและสาหร่ายวุ้น · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายวงน้ำเงิน

หมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena ในอันดับหมึกยักษ์ จัดเป็นหมึกขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ตัดพื้นลำตัวสีขาวหรือเขียว แลดูสวยงามมาก แต่ทว่า หมึกสายวงน้ำเงินนั้นมีพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายที่มีความร้ายแรงมาก ซึ่งร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ผู้ที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที ทั้งสามารถฆ่าคนได้ 26 คนในคราวเดียว นับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: เขตร้อนและหมึกสายวงน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

หมึกหอม

หมึกหอม หรือ หมึกตะเภา (Bigfin reef squid, Soft cuttlefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepioteuthis lessoniana) หมึกหอมหรือหมึกตะเภา แม้จะได้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Cuttlefish ซึ่งหมายถึง หมึกกระดอง แต่แท้ที่จริงแล้ว หมึกหอมเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย มีลำตัวทรงกระบอก มีขนาดความยาวประมาณ 26 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดเรียวยาวกว่าตัวเมีย ครีบหรือแพนข้างตัวทั้ง 2 ด้าน มีลักษณะกว้างและแบนยาวเกือบตลอดลำตัวคล้ายหมึกในอันดับหมึกกระดอง กระดองของหมึกหอมจะเป็นแผ่นใส เห็นเส้นกลางกระดอง หนวดรอบปากมี 10 เส้น เป็นแขน 8 เส้น มีหนวดคู่ยาว 2 เส้น ที่ลำตัวมีจุดสีน้ำตาลอมแดงกระจายอยู่ทั่วไป นัยน์ตามีสีเขียว ชอบรวมกลุ่มอยู่เป็นฝูง กินสิ่งมีชีวิตและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยสามารถกินอาหารได้มากถึง 30 เปอร์เซนต์ของน้ำหนักตัว พบได้ทั่วไปในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาศัยอยู่ตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงหน้าดิน นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยการปรุงสด เนื่องจากหากินในเวลากลางคืน ชาวประมงจึงมักจับในเวลากลางคืน โดยใช้แสงไฟจากนีออนล่อ หมึกหอมสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ ระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ พฤษภาคมถึงต้นเดือนกรกฎาคม และปลายเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม โดยสามารถสืบพันธุ์วางไข่ได้เมื่อมีอายุ 3-4 เดือน หลังจากการผสมพันธุ์ 1 สัปดาห์ ตัวเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ โดยที่เพศผู้คอยว่ายน้ำ ดูแลอยู่ใกล้ ๆ ไข่ของหมึกหอมมีลักษณะคล้ายฝักมะขาม ติดกันเป็นพวง มีความดกของไข่เฉลี่ย 486-2,186 ฟอง ใช้ระยะเวลา ในการฟัก 2-3 สัปดาห์ มีความยาวลำตัวแรกฟัก 0.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 0.1-0.3 กรัม รูปร่างคล้ายกับหมึกตัวเต็มวั.

ใหม่!!: เขตร้อนและหมึกหอม · ดูเพิ่มเติม »

หมึกไดมอนด์

หมึกไดมอนด์ (Diamond squid, Diamondback squid) เป็นหมึกประเภทหมึกกล้วยชนิดหนึ่ง หมึกไดมอนด์ เป็นหมึกกล้วยที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง สามารถโตเต็มที่ยาวได้ถึง 100 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้มากถึง 30 กิโลกรัม แต่น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 20 กิโลกรัม หมึกไดมอนด์เป็นหมึกน้ำลึกอาศัยอยู่ในระดับน้ำที่มีความลึกกว่า 200 เมตร นับเป็นหมึกที่ไม่ค่อยจะพบเห็นได้บ่อยนัก มีจุดเด่น คือ มีหนวดสองเส้นมีลักษณะแผ่ออกคล้ายกับครีบหรือระบาย เมื่ออยู่ในน้ำลึกหรือกลางน้ำจะมีสีลำตัวสีน้ำเงิน แต่เมื่อขึ้นมาใกล้กับผิวน้ำหรือถูกจับขึ้นมาพ้นน้ำจะเปลี่ยนสีตัวเองเป็นสีแดงเข้ม หมึกไดมอนด์ เป็นหมึกที่พบได้ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นหมึกที่มีความสำคัญทางประมงโดยเฉพาะอย่างที่ทะเลญี่ปุ่น และโอกินาวา ในขณะที่บริเวณเกาะดอนซอล ในฟิลิปปินส์ ชาวพื้นเมืองที่นั่นจะเรียกหมึกไดมอนด์ว่า "คูสิท" เป็นหมึกที่สามารถขายได้ดีมีราคาสูง โดยเคยมีผู้จับได้ขนาดตัวที่มีน้ำหนักสูงสุดถึง 25 กิโลกรัม สามารถนำไปประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย ใช้วิธีการตกแบบพื้นเมือง คือ การออกเรือไปตั้งแต่เช้ามืด โดยใช้เบ็ดที่ไม่มีตะขอเกี่ยวกับเหยื่อล่อ คือ ปลา หย่อนลงไปในทะเลพร้อมกับไฟใต้น้ำที่เปิดกระพริบเพื่อเรียกความสนใจ เนื่องจากเมื่อหมึกไดมอนด์ฮุบเหยื่อแล้วจะไม่ลากเหยื่อไปในทิศทางต่าง ๆ เหมือนปลา แต่จะดึงขึ้นอย่างเดียว โดยสภาพที่ดีที่สุดในการจับหมึกไดมอนด์ คือ ทะเลที่มีคลื่นลม เพราะจะทำให้เหยื่อในน้ำนั้นมีการเคลื่อนไหวที่ดูเป็นธรรมชาติมากกว่าผู้ตกเคลื่อนไหว และหากจับได้แล้วตัวหนึ่ง ก็จะรีบสาวขึ้นมา เพื่อที่จะได้ตกอีกตัว เนื่องจากเป็นหมึกที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่กันเป็นคู่การพัฒนา, "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก".

ใหม่!!: เขตร้อนและหมึกไดมอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้างกระดาษ

หอยงวงช้างกระดาษ (Paper nautilus, Argonaut) เป็นมอลลัสคาประเภทหมึก จำพวกหมึกสายสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Argonauta แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหอยงวงช้าง แต่ก็มิได้ถูกจัดให้อยู่ในจำพวกหอยงวงช้าง แต่ถูกจัดให้เป็นหมึก.

ใหม่!!: เขตร้อนและหอยงวงช้างกระดาษ · ดูเพิ่มเติม »

หูกวาง

''Terminalia catappa'' หูกวาง เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดแอลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงภูมิภาคโอเชียเนียและหมู่เกาะฮาวาย โดยมักจะพบประจำที่บริเวณชายหาดหรือป่าชายหาดริมทะเล เพราะเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแบบดินร่วนปนทราย มีประโยชน์โดยเปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้อาการท้องเสีย ย้อมหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ และให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์ นอกจากนี้แล้วใบของหูกวางโดยเฉพาะใบแห้ง เป็นที่รู้จักดีของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลากัด เนื่องจากใช้ใบแห้งหมักน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาได้ เพราะสารแทนนินในใบหูกวาง จะทำให้สภาพน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สูงขึ้น เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง ทั้งนี้ยังช่วยลดการสะท้อนแสงของน้ำ เพื่อให้ปลาสบายตา ไม่เสียสายตา รู้สึกปลอดภัย ไม่ใช้ปากคีดกระจก และใช้รักษาอาการบาดเจ็บของปลากัดได้เป็นอย่างดี เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี หูกวางเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยสยาม หูกวางยังมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละจังหวัดหรือภูมิภาคด้วย เช่น โคน (นราธิวาส), ดัดมือ หรือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและหูกวาง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับพะยูน

อันดับพะยูน เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sirenia เดิมที สัตว์ในอันดับนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับเดียวกับอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ด้วยเห็นว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล และมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 อ็องรี มารี ดูว์ครอแต เดอ แบล็งวีล นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน คือ Paenungulata รวมถึงการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพะยูนสกุล Eotheroides ที่พบในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (ประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว) Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน อีกทั้ง แอนสท์ แฮคเคิล นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้วิจัยเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยพบว่าตัวอ่อนของสัตว์ทั้งสองนี้มีโครงสร้างทางสรีระที่คล้ายกันมากจนในอดีตเมื่อ 40 ล้านปีก่อน ช้างและพะยูนมีต้นตระกูลร่วมกัน ถึงวันนี้มันก็ยังมีงวงและจมูกที่ใช้หายใจเหมือนกัน มีพฤติกรรมสืบพันธุ์ที่คล้ายคลึงกัน และเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน ปัจจุบัน พะยูนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ Dugongidae และTrichechidae แบ่งได้เป็น 2 สกุล 4 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในทะเลและแม่น้ำสายใหญ่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก กินอาหารจำพวก หญ้าทะเล, สาหร่ายและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร โดยพะยูนชนิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ วัวทะเลชเตลเลอร์ (Hydrodamalis gigas) ที่อยู่ในวงศ์ Dugongidae ที่มีความยาวถึง 7 เมตร แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อราว 300 ปีก่อน โดยคำว่า "Sirenia" นั้นมาจากคำว่า "ไซเรน" ซึ่งเป็นอสูรกายที่อาศัยอยู่ในทะเลในเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เขตร้อนและอันดับพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและอันดับกบ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ใหม่!!: เขตร้อนและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาลิ้นกระดูก

อันดับปลาลิ้นกระดูก (อังกฤษ: Bony tongues fish) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการไม่ต่างจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osteoglossiformes (/ออส-ที-โอ-ฟอร์-เมส/) จากฟอสซิลอายุกว่า 60 ล้านปี ที่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ บรรพบุรุษของปลาในอันดับนี้มีขนาดใหญ่ ยาวกว่า 14 ฟุต มีลักษณะพิเศษคือ บริเวณส่วนหัวและลิ้นเป็นกระดูกแข็ง อันเป็นที่มาของชื่อ ทั้งหมดเป็นปลาน้ำจืด ไม่พบในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น พบทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลี.

ใหม่!!: เขตร้อนและอันดับปลาลิ้นกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหัวตะกั่ว

อันดับปลาหัวตะกั่ว หรือ อันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Toothcarp) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งขนาดเล็กอันดับหนึ่ง พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยของเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ใช้ชื่ออันดับว่า Cyprinodontiformes โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีขนาดเล็กมีความยาวโดยเฉลี่ยไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินและอาศัยบริเวณผิวน้ำ โดยเฉพาะริมฝั่งที่มีไม้น้ำหรือร่มไม้ขึ้นครึ้ม ส่วนมากมีสีสันสวยงาม มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียค่อนข้างชัดเจน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้, แอฟริกา และบางส่วนในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ ปลาในอันดับนี้ส่วนมากออกลูกเป็นไข่ แต่มีบางชนิดออกลูกเป็นตัว ชนิดที่ออกลูกเป็นตัวจะมีลักษณะเฉพาะ คือ ตัวผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งมีการพัฒนาลักษณะโครงสร้างมาจากก้านครีบก้นคือ จะมีลักษณะแหลมยาวเรียกว่า โกโนโพเดียม ซึ่งจะใช้เป็นอวัยวะนี้ผสมพันธุ์กับตัวเมียส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของตัวเมียจะมีช่องเพศอยู่บริเวณหน้าครีบก้น ซึ่งตัวผู้จะใช้อวัยวะที่เรียกว่าโกโนโพเดียม สอดเข้าไปในช่องเพศของตัวเมีย และส่งน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียหรืออาจจะถูกเก็บไว้ในท่อนำไข่ ปลาในอันดับนี้สามารถออกลูกเป็นตัว โดยไข่ที่อยู่ในท้องของตัวเมียจะถูกผสมโดยน้ำเชื้อของตัวผู้ และไข่ก็จะพัฒนาอยู่ในท้องของตัวเมียจนกระทั่งฟักออกเป็นตัว ซึ่งปลาตัวเมียที่ได้ผสมกับปลาตัวผู้เพียงครั้งเดียว จะสามารถให้ลูกได้ต่อไปอีกหลายครั้ง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกเลย โดยไข่จะผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อที่ถูกกักเก็บไว้ในท่อนำไข่ ซึ่งการที่ปลาออกลูกเป็นตัวตัวเมียสามารถกักเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ได้ยาวนานนั้นขึ้นอยู่ชนิดและความสมบูรณ์ของตัวแม่ปลา ปลาในอันดับนี้โดยรวม เป็นที่รู้จักกันดีของมนุษย์ โดยมิได้นำมารับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่มีการนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันมาอย่างยาวนานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย มีความสวยงาม เนื่องจากเป็นปลาขนาดเล็ก และมักว่ายอยู่บรเวณผิวน้ำ ซึ่งในปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์กันอย่างกว้างขวางนเกิดเป็นสายพันธุ์แปลก ๆ และสวยงามกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติจริง ๆ มากมาย อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการกำจัดลูกน้ำซึ่งเป็นตัวอ่อนของยุงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยปลาในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilidae) และ วงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) ซึ่งรวมถึงปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata) ด้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและอันดับปลาหัวตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาเข็ม

อันดับปลาเข็ม เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beloniformes มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาขนาดเล็ก มักว่ายรวมฝูงหรือหากินกันบริเวณผิวน้ำ เมื่อตกใจสามารถกระโดดหรือเหินขึ้นเหนือผิวน้ำได้สูงและไกลเหมือนการบินของนกหรือแมลงได้ในบางวงศ์ มีลำตัวยาวมาก ยกเว้นในบางวงศ์ ลำตัวค่อนข้างยาว ลำตัวรูปเหลี่ยม ครีบท้องอยู่ตรงข้ามครีบก้นค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหูอยู่ระดับสูงของลำตัว ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งท้องริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างอาจยื่นยาว ถ้าไม่ยื่นยาวครีบหูหลังท้อง และครีบหางอาจขยายออกไป มีเกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ แบ่งออกเป็น 5 วงศ์ พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและอันดับปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

อิมพาลา

อิมพาลา (Impala) เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาใหญ่เป็นเกลียว ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Aepycerotinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวัวหรือแพะ, แกะ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้และสกุลนี้ คำว่า "อิมพาลา" มาจากภาษาซูลู ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและอิมพาลา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติคาคาดู

อุทยานแห่งชาติคาคาดู (Kakadu National Park) เป็นหนึ่งในอุทยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองดาร์วิน ในดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ประเทศออสเตรเลีย มีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง มีหน้าผา ครอบคลุมเนื้อที่กว่า 12,950 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งนี้ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและอุทยานแห่งชาติคาคาดู · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) พบทั่วไปในเขตร้อน และเป็นผักที่คนท้องถิ่น เช่น ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และกานา นิยมรับประทานเป็นอาหาร ผักบุ้งที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมี 3 สายพันธุ์ คือ ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนาและผักบุ้งจีน โดยผักบุ้งไทยมักปลูกในน้ำเพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าบนบก ส่วนผักบุ้งจีนจะปลูกในดินเพราะต้องการธาตุอาหารจากในดินมากกว.

ใหม่!!: เขตร้อนและผักบุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้งจีน

ผักบุ้งจีน เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica Forsk.

ใหม่!!: เขตร้อนและผักบุ้งจีน · ดูเพิ่มเติม »

ผักบุ้งไทย

ผักบุ้งไทย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica พบได้บริเวณแม่น้ำลำคลองเพราะเจริญเติบโตในน้ำได้ดีกว่าบนดิน มักสานตัวเป็นกลุ่มและลอยตัวบนผิวน้ำ ชูส่วนยอดหรือบริเวณสีเขียวเพื่อสังเคราะห์แสง โดยทั่วไปแล้วผักบุ้งไทยได้รับความนิยมในการนำมาประกอบอาหารน้อยกว่าผักบุ้งจีน เพราะลำต้นมีความแข็งมากกว่าและนิยมนำมาประกอบอาหารบางประเภทเท่านั้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและผักบุ้งไทย · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้

ระเข้ (Crocodile, อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: เขตร้อนและจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติ

ฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟกาลองกังปะทุ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2525 ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักรวาล คำว่า nature มาจากคำภาษาละติน natura หรือ "คุณสมบัติสำคัญ, พื้นนิสัยสืบทอด" และในสมัยโบราณ ตามตัวอักษรหมายถึง "กำเนิด" natura เป็นคำแปลภาษาละตินของคำภาษากรีก physis (φύσις) ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในซึ่งพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ (feature) อื่นของโลกพัฒนาแนว (accord) ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างของคำว่า φύσις โดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนืองนับแต่นั้น การใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลัง ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห.

ใหม่!!: เขตร้อนและธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติวิทยา

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยา หรือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึงคำรวมที่ใช้เรียกสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปัจจุบันมองว่าเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะชัดเจน นิยามเกือบทั้งหมดรวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิต (เช่น ชีววิทยา รวมทั้งพฤกษศาสตร์และสัตววิทยา) นิยามอื่นได้ขยายเนื้อหารวมไปถึง บรรพชีวินวิทยา นิเวศวิทยา ดาราศาสตร์ หรือชีวเคมี รวมทั้งธรณีวิทยาและฟิสิกส์ หรือแม้แต่อุตุนิยมวิทยา บุคคลผู้สนใจในธรรมชาติวิทยาเรียกว่า "นักธรรมชาติวิทยา".

ใหม่!!: เขตร้อนและธรรมชาติวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: เขตร้อนและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคริบเบียน

แผนทีภูมิภาคอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนมองจากอวกาศ (ด้านบนซ้าย) ทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea, หรือ; Mar Caribe) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนเป็นหนึ่งในทะเลที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตารางไมล์) จุดที่ลึกที่สุดของทะเลนี้คือ Cayman Trough อยู่ระหว่างคิวบากับจาเมกา ที่ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริบเบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวเนซุเอลา อ่าวดาริเอน อ่าวโมสกิโตส และอ่าวฮอนดูรั.

ใหม่!!: เขตร้อนและทะเลแคริบเบียน · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา (Alpha-thalassemia, α-thalassemia, α-thalassaemi) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์และเกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน โดยเฉพาะแล้ว แบบแอลฟาเกิดจากความผิดปกติของยีน HBA1 และ/หรือ HBA2 บนโครโมโซม 16 ทำให้ผลิตห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาจากยีน globin 1,2,3, หรือทั้ง 4 ยีนอย่างผิดปกติ มีผลให้ห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาลดลงหรือไม่มี และเกิดห่วงลูกโซ่แบบบีตามากเกินสัดส่วน ระดับความพิการที่เกิดจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม (phenotype) ที่มี คือ มียีนกี่ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบพาหะเงียบ (silent carrier) และแบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ คนที่เป็นระดับปานกลาง (intermedia) จะมีภาวะเลือดจางเพราะการสลายเลือด และทารกที่มีระดับหนัก (major) มักจะไม่รอดชีวิต บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน และบุคคลที่เป็น trait ควรตรวจบุตรที่อยู่ในครรภ์ (chorionic villus sampling).

ใหม่!!: เขตร้อนและทาลัสซีเมียแบบแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

ที่สูงแคเมอรอน

ที่สูงแคเมอรอน (Tanah Tinggi Cameron, ตานะฮ์ติงกีกาเมรน) เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บนเขาที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศมาเลเซีย โดยมีขนาดพื้นที่เท่ากับประเทศสิงคโปร์ ครอบคลุมพื้นที่ว่า 712 ตารางกิโลเมตร(275 ตารางไมล์) มีพื้นที่ทางตอนเหนือติดกับรัฐกลันตัน และทางตะวันตกมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเมืองปีรัก ที่สูงแคเมอรอน อยู่บริเวณทางปลายสุดฝังตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐปาหัง "คาเมรอน" มีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร(56 ไมล์) ถ้ามาจากทางเมืองอิโป หรือประมาณ 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) ถ้ามาจากทางกัวลาลัมเปอร์ ถือว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่เล็กที่สุดในปาหัง ผู้ค้นพบที่สูงแคเมอรอน คือ เซอร์ วิลเลียม คาเมรอนในปี 1885 ที่สูงแคเมอรอน ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ริงเลต (5,165 เฮคเตอร์), ทานะ ราตะ(2,081เฮคเตอร์) และอุรู เทลอม (63,981 เฮคเตอร์) ซึ่งแบ่งเป็นตำบลย่อย ๆ อีก 8 ตำบล คือ ริงเลต, ทานะ ราตะ (ศูนย์กลางบริหารของเมือง), บรินชาง, หุบเขาเบอแทม, ฟาร์มเกีย, ทริงแกป, กัวลา เทอรา และ กัมปุง ราจา พื้นที่เหล่านี้มีความต่างของสูงของแต่ละพื้นที่โดยจัดความสูงอยู่ในช่วงจาก 1100 เมตร ถึง 1600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีที่เหมาะแก่การพักผ่อนประมาณ 18 องศาเซลเซียส (64 องศาฟาเรนไฮต์) ในระหว่างวันอุณหภูมิจะไม่สูงเกินกว่า 25 องศาเซลเซียส(77 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนในช่วงกลางคืนอุณหภูมิไม่ต่ำไปกว่า 9 องศาเซลเซียส (48 องศาฟาเรนไฮต์) วัดที่พื้นที่ระดับสูง มีสถานพักตากอากาศไว้สำหรับประชาชนที่หลากหลายเชื้อชาติ สามารถรองรับได้มากกว่า 38,000 คน ซึ่งประกอบด้วยชาวมลายูที่เป็นมุสลิมและมีถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตของประเทศมาเลเซียปัจจุบัน (ชาวมลายู(7,321), อื่นๆ(5,668)), ชาวจีน(13,099), ชาวอินเดีย (6,988), กลุ่มที่ไม่ใช่พลเมืองมลายู และชนชาติอื่นๆ(202) ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกิจการ, พนักงานอุตสาหกรรมบริการ, คนงานฟาร์ม, คนเกษียณ หรือข้าราชการ ภาษาที่ใช้พูด มีภาษามลายู, ภาษาจีนกลาง, ภาษาทามิล และภาษาอังกฤษ ศาสนาอิสลาม, ศาสนาพุทธ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาฮินดู, ศาสนาคริสต์ และศาสนาซิกห์ เป็นศานาหลักที่นับถือ ที่สูงแคเมอรอน ได้ถูกพัฒนาในปี 1930 เทเบิ้ลแลนด์ เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกจากอุตสาหกรรมชาแล้วที่ราบสูงแห่งนี้ถูกบันทึกว่าเป็นสถานที่ที่มีอากาศเย็นด้วยสถานที่นี้เอง มีทั้งสวนผลไม้, สถานที่เพาะชำพันธุ์ไม้, แหล่งเพาะปลูก, น้ำตก, แม่น้ำ, ทะเลสาบ, สัตว์ป่า, ป่าที่ปกคลุมด้วยหญ้ามอส, สนามกอล์ฟ, โรงแรม, สถานที่ศักดิ์สิทธิ์, บังกะโล, แลนด์ โรเวอร์, พิพิธภัณฑ์ และชนพื้นเมืองเดิม(โอแรง แอสลี่) ทางถนนที่เดินทางมาที่สูงแคเมอรอน คือ ทาพาธ, ซิมปัง พูราย, กัว มูแซง และ ซันกาย โคยาน ทาพาธ และ ซิมปัง พูราย เป็นสองทางจากเมืองปีรัก กัว มูแซง และ ซันกาย โคยาน เป็นทางเข้าที่มาจากรัฐกลันตัน และรัฐปาหัง ตามลำดั.

ใหม่!!: เขตร้อนและที่สูงแคเมอรอน · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต

ัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet index) หรือ ดัชนียูวี (UV Index) เป็นการวัดมาตรฐานระดับสากลในเรื่องของการเผาของแดดโดยการแผ่รังสี ของรังสีอัลตราไวโอเลต ในพื้นที่หรือเวลานั้น ๆ หน่วยวัดได้รับการพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

คูโบซัว

ูโบซัว (ชั้น: Cubozoa; Box jellyfish, Sea wasp) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นหนึ่งของไฟลัมไนดาเรีย มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษเรียกโดยรวมว่า "แมงกะพรุนกล่อง" (Box jellyfish) หรือ "แมงกะพรุนสาหร่าย" หรือ "สาโหร่ง" (Sea wasp) เพราะมีพิษที่ร้ายแรงและมีรูปร่างคล้ายลูกบาศก์อันเป็นที่มาของชื่อ คูโบซัว จัดเป็นแมงกะพรุนที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ โดยดูที่ลักษณะของหนวดที่มีพิษเป็นสำคัญ ได้แก่ พวกที่มีหนวดพิษเส้นเดี่ยวที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม เช่น แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) กับพวกที่มีหนวดเป็นกลุ่มที่ขอบเมดูซ่า 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งจะเป็นหนวดที่ยาวมาก อาจยาวได้ถึง 3 เมตร ได้แก่ Chironex fleckeri มีเข็มพิษประมาณ 5,000,0000,000 เล่มที่หนวดแต่ละเส้น ซึ่งมีพิษร้ายแรงซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกต่อยได้ โดยมากจะพบตามชายฝั่งของทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะฟิลิปปิน, หมู่เกาะฮาวาย ช่วงที่พบได้มากคือ เดือนตุลาคม-เมษายน และหลังช่วงพายุฝนที่จะถูกน้ำทะเลพัดพาเข้ามาจนใกล้ฝั่ง.

ใหม่!!: เขตร้อนและคูโบซัว · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่า

งูเห่า (Cobras) เป็นงูพิษขนาดกลางที่อยู่ในสกุล Naja ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) วงศ์ย่อย Elapinae ซึ่งเป็นสกุลของงูพิษที่อาจเรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: เขตร้อนและงูเห่า · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กแก

ตุ๊กแก (Geckos, Calling geckos, Tropical asian geckos, True geckos) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานสกุลหนึ่ง ในวงศ์ย่อย Gekkoninae ในวงศ์ใหญ่ Gekkonidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gekko (/เก็ก-โค/) โดยสัตว์ที่อยู่ในสกุลนี้ จะอาศัยอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายบนลำตัว วางไข่ครั้งละ 2 - 7 ฟอง พบได้ทั้งในบ้านเรือนของมนุษย์และในป่าดิบ โดยปกติแล้วจะมีขนาดความยาวมากกว่า 10 เซนติเมตร มีรูปร่างที่แตกต่างกันหลากหลาย ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้และใต้นิ้วเท้ามีแผ่นหนังเรียงต่อกัน ที่มีเส้นขนจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเส้นยาวประมาณ 60-90 ไมครอน ส่วนปลายของเส้นขนแตกแขนงและขยายออกเป็นตุ่ม เรียกว่า "เซต้า" ใช้สำหรับยึดเกาะติดกับผนังได้โดยแรงวานเดอร์วาลส์ โดยชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ตุ๊กแกบ้าน (G. gekko).

ใหม่!!: เขตร้อนและตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตองงา

ตองงา (อังกฤษและTonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (Kingdom of Tonga; Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและประเทศตองงา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบู่เหลือง

ปลาบู่เหลือง (Yellow prawn-goby, Watchman goby) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) เป็นปลาบู่ที่มีพฤติกรรมอยู่ตามโพรงตามพื้นทรายใต้ทะเล โดยอาศัยอยู่ร่วมกับกุ้งดีดขันลายเสือ (Alpheus bellulus) ซึ่งเป็นกุ้งที่มีสายตาที่ไม่ดีนักจึงอาศัยปลาบู่เหลืองทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยให้ โดยทั้งคู่จะหากินอยู่เฉพาะบริเวณปากโพรง เมื่อไหร่ที่ถูกคุกคาม ปลาบู่เหลืองจะใช้หางโบกสะบัดเพื่อเป็นการเตือนกุ้งให้รู้ และทั้งคู่จะมุดลงโพรงพร้อม ๆ กัน และปลาก็ได้รับประโยชน์จากกุ้ง โดยกุ้งจะทำหน้าที่ขุดโพรงและดูแลโพรงให้เป็นที่อยู่อาศัยและหลบภัย เป็นปลาที่มีสีเหลืองสดใส มีจุดเล็ก ๆ สีฟ้ากระจายทั่วไปบริเวณครีบหลัง ลำตัวส่วนแรกและส่วนหัว เป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดความยาวไม่เกิน 7-8 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการกินอาหารด้วยการอมทรายและพ่นออกมา พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่มีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยพฤติกรรมการกินอาหารเสมือนทำความสะอาดตู้เลี้ยงให้สะอาดตลอดเวลาด้วย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยไม่สามารถสังเกตเพศได้จากลักษณะภายนอก แต่พฤติกรรมปลาตัวผู้เมื่ออยู่รวมกันหลายตัว จะเป็นฝ่ายไล่ตัวอื่น โดยปลาจะผสมพันธุ์กันในเวลาเย็น แม่ปลาจะวางไข่ที่มีลักษณะเป็นพวงติดกับผนังด้านบนของโพรงที่อยู่อาศัย แล้วปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม จากนั้นปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่เป็นหลัก ลูกปลาใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 4 วัน หลังจากที่ไข่ได้รับการผสม อัตราในการฟักอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 ตัว.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาบู่เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนทะเล

ปลาช่อนทะเล (Cobia, Black kingfish, Black salmon, Ling, Lemon fish, Crabeater, Aruan tasek) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rachycentron canadum อยู่ในวงศ์ Rachycentridae อันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุลนี้ มีความยาวได้เต็มที่ถึง 2 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 68 กิโลกรัม ลำตัวมีรูปร่างยาวและกว้างในช่วงตอนกลางและแคบลงในตอนปลายหาง ส่วนหัวแบน ตามีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย มีฟันแบบเล็กละเอียดและเรียวขึ้นบนอยู่บนขากรรไกร, ลิ้น และเพดานปาก ลำตัวเรียบ มีเกล็ดเล็กละเอียด มีสีน้ำตาลเข้มแล้วจางเป็นสีขาวบริเวณ ส่วนท้อง ด้านข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มเป็นแนวยาว 2 แถบ ซึ่งจะเห็นแถบได้ชัดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ครีบหลังอันแรกเป็นหนามแหลมสั้น เรียงแยกกันเป็นอิสระ 6-9 อัน ซึ่งทำให้จัดอยู่ในวงศ์ต่างหาก ในวัยเจริญพันธุ์มีหางแบบเว้าลึก หรือแบบเสี้ยวพระจันทร์ ส่วนของครีบมีสีน้ำตาลเข้ม เป็นปลาที่ไม่มีถุงลมมีลักษณะคล้ายปลาเหาฉลาม (Echeneidae) แต่ไม่มีแผ่นเกาะด้านหลัง มีลำตัวที่แข็งแรง และมีส่วนหางที่พัฒนาดีกว่า โดยส่วนหางพัฒนาจากกลมมนเป็นเว้าลึกในตัวเต็มวัย ในปลาช่วงวัยรุ่นมีแถบสีขาวและดำชัดเจน เป็นมีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ ชอบอยู่เดี่ยว ๆ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์จะมารวมกันตามแนวหิน ซากปรักหักพัง ท่าเรือ แนวก่อสร้าง บางครั้งยังอพยพไปปากแม่น้ำและป่าชายเลนเพื่อหาสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ กินเป็นอาหาร วางไข่บริเวณผิวน้ำ โดยเป็นไข่ลอยขนาดเล็ก 0.12 มิลลิเมตร ล่องลอยเป็นอิสระตามกระแสน้ำจนกว่าจะฟักเป็นตัว ลูกปลาวัยอ่อนมีสภาพเหมือนแพลงก์ตอน ซึ่งในช่วงสัปดาห์แรกจะยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องรอจนกว่าตาและปากได้พัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น ในตัวผู้จะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ 2 ปี ส่วนในตัวเมียจะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ 3 ปี มีอายุขัยประมาณ 15 ปี หรือมากกว่านั้น การผสมพันธุ์วางไข่จะรวมกลุ่มบริเวณชายฝั่ง ในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา และเป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันด้วยมีเนื้อรสชาติอร่อย สามารถปรุงได้ทั้งสดและแปรรูปเป็นปลาแห้ง โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นปลาที่ทางการโดย กรมประมงสนับสนุนให้ชาวประมงเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในต่างประเทศมีการเพาะเลี้ยงกันมาอย่างยาวนานแล้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาช่อนทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพีค็อกแบส

ปลาพีค็อกแบส (Peacock bass, Eyetail cichlids) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) โดยชื่อสามัญที่ว่า "Peacock bass" ที่หมายถึง "ปลากะพงนกยูง" นั้นมาจากลักษณะของลวดลายตามลำตัวและโคนครีบหางที่เป็นจุดสีทึบขนาดใหญ่คล้ายกับรำแพนหางของนกยูง โดยเฉพาะโคนครีบหางทั้ง 2 ข้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Cichla (/ซิค-คลา/) ซึ่งมาจากภาษากรีก (Kichle) หมายถึง "ปลาทะเลที่มีฟันแหลมและสีสวยแถบทะเลเขตร้อน" มีลักษณะลำตัวทั่วไป มีส่วนหัวขนาดใหญ่ ริมฝีปากหนา ลำตัวยาว พื้นลำตัวเป็นสีเขียวอมส้ม เป็นปลาที่ดวงตาขนาดใหญ่ และสายตาดี มีพละกำลังมากมาย เป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด อาจยาวได้ถึง 30 นิ้ว จัดเป็นปลากินเนื้อน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจำพวกหนึ่งที่พบได้ในทวีปอเมริกาใต้ ขณะที่ยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนอยู่ จะมีสีอ่อนกว่าปลาที่เต็มวัย และมีแถบสีดำขนานกับลำตัวของตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมื่อโต แถบดังกล่าวจะหายไป กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก และแม่น้ำอเมซอน เป็นต้น เดิมได้มีการจำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากลวดลายและโครงสร้างของร่างกาย ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาพีค็อกแบส · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนทอง

ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนจุดฟ้า ปลากระเบนทอง หรือ ปลากระเบนหิน (Blue-spotted fantail ray, Bluespotted ribbontail ray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Taeniura lymma อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีลำตัวแบนค่อนข้างกลม ตาโปนโต มีช่องจมูกทางด้านข้างของตาขนาดใหญ่ ด้านล่างมีปากเว้าโค้ง ลำตัวกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร หรือ 1 ฟุต มีหางยาวเท่า ๆ กับความยาวลำตัว มีเงี่ยงที่โคนหาง 2 อัน ลักษณะแหลมยาว ปลายหางมีแผ่นหนังบาง ๆ คล้ายปลากระเบนชายธง และมีแถบสีฟ้าเป็นคู่ขนานกันตั้งแต่โคนจรดปลายหาง ตามลำตัวเป็นเมือกลื่นสีเหลืองทอง และมีจุดสีฟ้าแต้มอยู่ทั่วทางด้านบน พื้นลำตัวมีหลากหลายสี ทั้ง สีเขียว, สีน้ำตาล หรือสีเทา ส่วนใต้ท้องมีสีขาว อาศัยอยู่ตามพื้นทรายในบริเวณแนวปะการังเขตร้อนทั่วไป พบได้ตั้งแต่ความลึกไม่เกิน 30 เมตร จนถึงชายฝั่ง กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจนสัตว์มีกระดองชนิดต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึง ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, อ่าวเบงกอล, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลจีนใต้, ทะเลฟิลิปปิน ไปจนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือ จัดเป็นปลากระเบนอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่นักและมีความสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลากระเบนทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนไฟฟ้า

ปลากระเบนไฟฟ้า (Electric rays, Numbfishes, Coffin rays, Sleeper rays, Crampfishes) เป็นปลากระเบนที่มีรูปร่างกลม จัดอยู่ในอันดับ Torpediniformes และมีอวัยวะคู่หนึ่งที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์รูปหกเหลี่ยมเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม ตั้งอยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยความแรงมีตั้งแต่ระดับต่ำเพียง 8 โวลต์ไปจนถึง 220 โวลต์ ขึ้นอยู่กับชนิด กระแสไฟฟ้านี้ใช้เพื่อทำให้เหยื่อสลบหรือฆ่าเหยื่อ ปลากระเบนไฟฟ้าทั้งหมดมีรูปร่างแบนกลม ตามีขนาดเล็กมาก (มีอยู่ 4 ชนิดที่ตาบอด) ส่วนหางพัฒนาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีเงี่ยงหางแหลมคมเหมือนปลากระเบนในอันดับอื่น มีลำตัวหนาและอ่อนนุ่ม มีครีบหลัง 2 ตอน หรือไม่มีเลย ปลากระเบนไฟฟ้ามีทั้งหมด 4 วงศ์ (ดูในตาราง) ประกอบด้วย 69 ชนิด 11 สกุล โดยทั้งหมดพบในทะเล พบในบริเวณอบอุ่นในเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ปลากระเบนไฟฟ้ามักหมกตัวอยู่ใต้พื้นทราย สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้หากเหยียบไปถูกเข้า ซึ่งอาจทำให้เกิดเกิดอาการชาและจมน้ำเสียชีวิตได้ อวัยวะสร้างกระแสไฟฟ้าคู่ ปลากระเบนไฟฟ้าในภาษาไทยมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเสียว" โดยชนิดที่พบได้ในน่านน้ำไทย เช่น ปลากระเบนไฟฟ้าหลังเรียบ (Temera hardwickii), ปลากระเบนไฟฟ้าสีน้ำตาล (Narcine brunnea), N. indica และ Narke dipterygia ส่วนชนิดที่พบได้ในต่างประเทศและเป็นที่รู้จักดีได้แก่ ปลากระเบนไฟฟ้าแปซิฟิก (Torpedo californica), ปลากระเบนไฟฟ้าตาบอด (Typhlonarke aysoni) เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลากระเบนไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก

ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก (leopard grouper) เป็นปลากระดูกแข็งในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) วงศ์ย่อย Epinephelinae มีชื่อสามัญอื่น ๆ ว่า "ปลากุดสลาด", "ปลาเก๋าจุดฟ้า" หรือ "ปลาย่ำสวาท" เป็นต้น ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กมีลำตัวแบนยาว มีความยาวลำตัวได้จนถึง 120 เซนติเมตร บริเวณรอบดวงตาแบน ไม่มีเกล็ด ก้านซี่เหงือกจำนวน 6–10 อัน หลังมีก้านครีบแข็ง 7–8 ก้าน ครีบที่ 3 หรือ 4 ยาวที่สุด ก้านครีบอ่อน 10–12 อัน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 15–17 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และก้านครีบอ่อน 8 อัน หางเป็นแบบตรงเว้ากลางเล็กน้อย สีลำตัวมีหลากหลายตั้งแต่สีเขียวมะกอกถึงแดงน้ำตาล สีส้มแดงถึงแดงเข้ม จะมีจุดสีฟ้าเล็ก ๆ บนหัวและแก้มมากกว่า 10 จุด และที่ลำตัว ยกเว้นใต้ท้อง พบในทะเลความลึกตั้งแต่ 3–100 เมตร พบชุกชุมแถบทะเลเขตร้อน ได้แก่ ประเทศไทย, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ทะเลแดง, ทะเลอาหรับ และทวีปแอฟริกาตอนใต้ ในเขตอบอุ่นพบบ้างแต่ไม่มากเท่า ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กสืบพันธุ์วางไข่ในทะเล ลูกปลาจะเข้ามาเจริญเติบโตอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ สามารถเปลี่ยนเพศได้ ขนาดสมบูรณ์เพศอายุประมาณ 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด เมื่อปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศผู้ ดังนั้นการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กับปลาเพศเมียที่มีขนาดเล็กกว่า ฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเมษายน แต่ละตัวสามารถวางไข่ได้ 208,000–269,500 ฟอง โดยปริมาณและคุณภาพของไข่ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของตัวปลา ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีเนื้อรสชาติอร่อย มีราคาขายที่สูงกว่าปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตกถึงตัวละ 750–800 บาท จึงมีการเพาะเลี้ยงกันในกระชัง.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ปลามอลลี่

ปลามอลลี่ หรือ ปลาสอด (Livebearer, Molly) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในอันดับปลาออกลูกเป็นตัว (Cyprinodontiformes) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Poecilia ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae) เป็นสกุลของปลาในวงศ์นี้ ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะเด่น คือ เป็นปลาที่ว่ายหากินเป็นฝูง บริเวณผิวน้ำ กินแมลงขนาดเล็ก, ไรแดง, ลูกน้ำ รวมทั้งตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายเป็นอาหาร มีความแตกต่างระหว่างเพศสูง กล่าวคือ ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ามาก แต่มีสีสันรวมทั้งครีบต่าง ๆ สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า แต่ครีบต่าง ๆ สั้นและสีไม่สวยเท่า เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา พบได้ตั้งแต่ตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา, อเมริกากลาง, แคริบเบียน จนถึงอเมริกาใต้ เป็นปลาที่พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย รวมถึงในทะเล หลายชนิดมีครีบหลังที่สูงเหมือนใบเรือ มีขนาดที่หลากหลายตั้งแต่ 4-5 เซนติเมตร จนถึงใหญ่เต็มที่ได้ถึง 20 เซนติเมตร และมีสีสันต่าง ๆ หลากหลายมาก ทั้งสีขาว, สีเหลือง, สีส้ม, สีดำ หรือลายจุด อาศัยอยู่ในอุณหภูมิของน้ำประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส (77-82 องศาฟาเรนไฮต์) โดยที่ชื่อสกุลนั้นมาจากภาษากรีกคำว่า ποικίλος หมายถึง "สีสันที่หลากหลาย".

ใหม่!!: เขตร้อนและปลามอลลี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลามง

ปลามง หรือ ปลากะมง หรือ ปลาม่ง (Jacks, Trevallies, Kingfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลกระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Caranx (/คา-แรงก์/) จัดเป็นปลาที่มีขนาดกลางและใหญ่ในวงศ์นี้ มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง 2 อันพับได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวมีขนาดใหญ่ เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ส่วนหัวสั้นทู่ มีสีลำตัวเป็นสีขาวและสีเงิน อยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่กินเนื้อ ได้แก่ ปลาชนิดอื่น ๆ และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร มีทั้งหมด 18 ชนิด (ดูในตาราง) โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากะมงพร้าว (C. ignobilis) ที่มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.4 เมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น บางครั้งอาจเข้าหามากินในแหล่งน้ำกร่อย นิยมตกเป็นเกมกีฬา และใช้เนื้อในการบริโภคเป็นอาหาร ซึ่งปลาในสกุลนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลากะม่ง", "ปลาสีกุน" หรือ "ปลาหางกิ่ว" ซึ่งเป็นการเรียกทับซ้อนกับปลาสกุลอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ด้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลามง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสากเหลือง

ระวังสับสนกับ ปลาสากหางเหลือง ปลาสากเหลือง หรือ ปลาน้ำดอกไม้เหลือง (Obtuse barracuda) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสาก (Sphyraenidae) มีรูปร่างเรียวยาว ปากกว้าง จะงอยปากแหลม ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนมีฟันเขี้ยว ช่องปากสีเหลือง กระดูกแก้มอันแรกมีเหลี่ยมรูปมุมฉาก ครีบหลังอันแรกมีเทาปนกับสีเหลือง ครีบอก, ครีบก้น, ครีบหลังอันที่ 2 และครีบหางมีสีเหลืองแต่ครีบท้องมีสีขาว ลำตัวสีเหลืองอ่อน ท้องสีขาวเงิน ตามลำตัวไม่มีแถบสีหรือลวดลายใด ๆ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 20-30 เซนติเมตร พบยาวที่สุด 55 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนต่าง ๆ ทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบชุกชุมทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน มักจะสับสนกับปลาสากหางเหลือง (S. flavicauda) เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็กทั่วไป บางครั้งอาจพบรวมฝูงกันเล็กตามชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมนำเนื้อไปทำข้าวต้มหรือปลาเค็ม.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาสากเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสินสมุทรบั้งเหลือง

ปลาสินสมุทรบั้งเหลือง หรือ ปลาสินสมุทรบั้ง หรือ ปลาพีค็อก (Royal angelfish, Regal angelfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pygoplites ตอนบนของหัวจะมีสีฟ้าอมเทา จมูก คางและอกเป็นสีเหลืองอ่อน ลำตัวมีสีส้มสดเป็นสีพื้นและมีแนวสีฟ้าอ่อน ขอบเข้มอีก 5-9 เส้นแนวพาดตรงจากหลังจรดบริเวณท้อง ครีบหางสีเหลืองสด ขณะที่ยังเป็นลูกปลาอยู่จะมีแถบสีอ่อนซึ่งมีขอบสีเข้ม 4 แถบพาดผ่านสีข้างช่วงตอนท้ายของครีบหลังจะมีปื้นสีเข้มขนาดใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร มักพบเป็นคู่หรืออยู่ลำพังเพียงตัวเดียว กินฟองน้ำและเพรียงหัวหอมเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อน แถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทย พบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามมาก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาสินสมุทรบั้งเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีขน

ปลาสีขน หรือ ปลาหางกิ่วหม้อ หรือ ปลากะมงตาแดง หรือ ปลากะมงตาโต (Bigeye trevally, Dusky jack, Great trevally) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีลำตัวค่อนข้างอ้วน ยาวเรียว หัวมีขนาดใหญ่และป้อม ปากกว้าง เกล็ดมีขนาดปานกลางบริเวณเส้นข้างลำตัวมีเกล็ดขนาดใหญ่แข็งคม โดยเฉพาะบริเวณโคนหาง ตามีขนาดใหญ่อยู่เกือบสุดปลายจะงอยปาก ครีบอกยาวเรียวแหลม ครีบหลังยาวแยกเป็นสองอัน อันที่เป็นก้านครีบแข็งสั้น อันอ่อนส่วนหน้ายกสูงขึ้นและมีขนาดใกล้เคียงกับครีบก้น ครีบท้องมีขนาดเล็กอยู่ใต้ครีบอก ครีบหางปลายเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินปนเขียว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งของวงศ์นี้ มีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 120 เซนติเมตร หนัก 18 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยเฉลี่ยราว 40-60 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อน ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แคลิฟอร์เนีย, เอกวาดอร์, แอฟริกาใต้, ญี่ปุ่นทางตอนเหนือ จนถึงออสเตรเลียด้วย สำหรับในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมบริเวณช่องเกาะคราม, แสมสาร, เกาะเต่า ในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน โดยมักจะอยู่รวมกันบางครั้งอาจพบได้ใต้โป๊ะ เป็นต้น และพบได้ถึงแหล่งน้ำจืด เป็นปลาที่มีรสชาติดี จึงนิยมบริโภคเป็นอาหาร และตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในน้ำจืด หรือน้ำกร่อย โดยเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เหมือนเช่นปลากะมงพร้าว (C. ignobilis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หน้า 123-128, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาสีขน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางแข็ง

ปลาหางแข็ง หรือ ปลาแข้งไก่ (Torpedo scad, Hardtail scad, Finny scad, Finletted mackerel scad, Cordyla scad) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Megalaspis มีลำตัวเรียวยาวคล้ายกระสวย หัวค่อนข้างแหลมตากลมโต ปากกว้าง หางยาวเรียวและคอด บริเวณโคนหางมีเกล็ดแข็งที่มีลักษณะคล้ายขาไก่ หรือแข้งไก่ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ครีบหูเรียวโค้งคล้ายเคียว ลำตัวสีน้ำเงินปนเขียว ด้านหลังมีสีเขียวเข้ม มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 80 เซนติเมตร และหนักได้ถึง 40.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาหางแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหูช้างครีบยาว

ปลาหูช้างครีบยาว หรือ ปลาหูช้างยาว หรือ ปลาค้างคาว (Longfin batfish, Batfish, Roundface batfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหูช้าง (Ephippidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาหูช้างกลม (P. orvicularis) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ ปลาหูช้างยาวจะมีครีบหลังและครีบท้องยาวมาก ลำตัวมีสีดำ ลักษณะแลดูคล้ายค้างคาว โดยเฉพาะเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน อันเป็นที่มาของชื่อ แต่จะครีบทั้งหมดจะหดสั้นลง รวมทั้งสีก็จะค่อย ๆ ซีดจางลงเมื่อปลาโตขึ้น และบริเวณส่วนหน้าก็จะหดสั้นลงด้วย จนทำให้แลดูกลมป้าน มีความยาวเต็มที่ราว 70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก ลูกปลาปล่อยตัวเองลอยไปกับกระแสน้ำ ในแถบที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เพื่อหลอกลวงสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า เป็นปลาในวงศ์นี้ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในน่านน้ำไทย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในขณะนี้ ซึ่งแตกต่างจากปลาหูช้างกลม.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาหูช้างครีบยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรี

วามหมายอื่น อินทรี ปลาอินทรี (Indo-Pacific king mackerels, Spotted mackerels, Seerfishes) เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Scomberomorus (/สะ-คอม-บี-โร-โม-รัส/) ในวงศ์ Scombridae ปลาอินทรีมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเว้าเป็นแฉกลึก ส่วนหัวและปลายปากแหลม ภายในปากในบางชนิดและปลาขนาดใหญ่จะเห็นฟันแหลมคมอย่างชัดเจน อาศัยอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ มีลวดลายเป็นจุดหรือบั้งตามแต่ชนิด จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งในวงศ์ คือ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หาอาหารโดยไล่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยในประเทศไทยนิยมนำมาทอดหรือทำเป็นปลาเค็ม ซึ่งในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "เบกาฮื้อ" (馬鮫魚; พินอิน: Mǎ jiāo yú) และนิยมตกเป็นเกมกีฬาด้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอีโต้มอญ

ปลาอีโต้มอญ (Common dolphinfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Percifoemes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coryphaena hippurus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอีโต้ (Coryphaenidae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ปลาอีโต้มอญ มีลำตัวยาวเรียว แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะกว้างขึ้นและแบนข้างเล็กน้อย หัวงุ้มลง ทำให้มีรูปร่างคล้ายมีดโต้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีเกล็ดเล็กละเอียด ปากกว้างและเฉียงขึ้น ฟันเล็กละเอียด ครีบหลังยาวเริ่มตั้งแต่บริเวณโหนกหัวไปจนถึงโคนหาง ครีบหางใหญ่เว้าลึกรูปส้อม ตัวผู้มีโหนกหัวนูนออกไปข้างหน้าเป็นแนวตั้งฉากกับปากคล้ายกับโลมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเมียจะมีโหนกหัวลาดลง ปลาขนาดโตเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียว ข้างตัวมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว มีความยาวตั้งแต่ 40-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดไม่ใหญ่ อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก และมักขึ้นมาหากินและหาอาหารบริเวณผิวน้ำ มักพบอยู่บริเวณข้างเกาะแก่ง ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้หรือซากอวนที่ลอยมาตามน้ำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว ว่ายน้ำได้เร็วมาก กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการตกปลาเป็นเกมกีฬา เช่นเดียวกับปลากระโทง (Istiophoridae) หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื่องจากเป็นปลาที่สู้เบ็ดและมีความสวยงามเมื่อเวลาตก และนิยมจับเพื่อการประมงเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งประเทศในแถบแคริบเบียนเป็นกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากปลาอีโต้มอญกลุ่มใหญ่ของโลก ส่วนหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปมีปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกปี และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่บริโภคปลาชนิดนี้เป็นปริมาณมากเช่นกัน ปลาอีโต้มอญ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ในภาษาไทย เช่น "หน้ามอม", "อีโต้", "มงเจ้าเลือด", "โต้มอญ" หรือ "สีเสียดอินเดีย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาฮาวายจะเรียกว่า "Mahi-mahi" ซึ่งเป็นชื่อที่เพิ่งใช้ไม่นานมานี้ โดยจะปรากฏบนเฉพาะบนเมนูอาหาร ในขณะที่ภาษาสเปนจะเรียกว่า "Dorado" ที่หมายถึง ทองคำ สถานะของปลาอีโต้มอญ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) ได้จัดให้อยู่สถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC).

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาอีโต้มอญ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อกลางคืน

ปลาผีเสื้อกลางคืน (Little dragonfish, Common dragonfish, Short dragonfish, Pegasus sea moth) เป็นปลาทะเลปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน (Pegasidae) เป็นปลาขนาดเล็กขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีผิวลำตัวด้านบนมีลายรูปคล้ายตาข่ายสีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีปากยาวและหางสั้น มีข้อหาง 8-9 ข้อ หรืออาจมากกว่าแต่พบได้น้อยมาก มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่บริเวณพื้นทะเลที่เป็นกรวดหิน หรือทรายปนโคลน โดยเฉพาะบริเวณแนวหญ้าทะเลและสาหร่ายทะเล หาอาหารกินได้แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเลขนาดเล็ก เช่น หนอนทะเล เคลื่อนที่ช้า ๆ โดยใช้ก้านครีบท้องที่พัฒนาไปคล้ายขา พบกระจายพันธุ์กว้างขวางในทะเลและน้ำกร่อยเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตั้งแต่ แอฟริกาใต้, มาดากัสการ์, ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย และน่านน้ำไท.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาผีเสื้อกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว

ปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ท้องคม (Alligator pipefish, Horned pipefish, Twobarbel pipefish, Spiraltail pipefish) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง จำพวกปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathinae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syngnathoides ลำตัวเป็นปล้อง 15-18 ปล้อง มีปล้องส่วนหาง 40-45 ปล้อง ทั้งสันส่วนบนและส่วนล่างต่อเนื่องกับสันของส่วนหางที่อยู่ในแนวเดียวกัน ส่วนท้ายของสันด้านข้างลำตัวโค้งขึ้นสู่ด้านหลังและสิ้นสุดใกล้กับฐานครีบหลัง ลำตัวแบนจากบนลงล่าง ส่วนกลางของลำตัวกว้างที่สุด ปลายหัวตามแนวกลางมีสันแข็งไม่สูงและขอบเรียบ สันแข็งบริเวณท้ายทอยมักมีหนามแหลม ๆ เล็ก ๆ บนขอบ จุดกำเนิดของครีบหลังอยู่ตรงปล้องลำตัว ไม่มีครีบหาง ปลายหางสามารถม้วนงอได้ มีสีลำตัวสีเขียวจนถึงสีน้ำตาลหรือสีเทา และมีแต้มสีเข้มที่ไม่แน่นอนตางกันไปตามแต่ละตัว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามกอสาหร่ายและหญ้าทะเล โดยมักจะเอาส่วนหางเกาะเกี่ยวกับใบของพืชเหล่านี้ไม่ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ แล้วตั้งตัวเป็นมุมฉากเพื่อหลีกเลี่ยงศัตรูผู้ล่าและดักจับแพลงก์ตอนสัตว์กินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปัจจุบัน เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามตามตู้ปลาหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาจิ้มฟันจระเข้เขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าครีบเหลือง

ปลาทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin tuna, Allison's tuna, Pacific long-tailed tuna, Yellowfinned albacore) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาทูน่าหรือปลาโอที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง แต่เล็กกว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (T. thynnus) และปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิค (T. orientalis) พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ มักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึกประมาณ 300 เมตร ในระดับอุณหภูมิ 18-31 องศาเซลเซียส มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สองในปลาทูน่าขนาดใหญ่ ครีบหลังอันที่สองและครีบก้นมีขนาดยาวมาก (ยาวกว่าความยาวของครีบหลังร้อยละ 20) เมื่อผ่าท้องออกดูจะพบว่าด้านล่างของตับจะไม่ลาย ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำเงินด้านล่างของลำตัว ปลาทูน่าครีบเหลืองขนาดใหญ่ขนาดใหญ่จะพบจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่งประมาณ 20 แถว ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองสด มีครีบเล็กสีเหลืองจำนวน 7-10 คู่ และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นสีดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวมากกว่า 2 เมตร (วัดจากปากถึงเว้าครีบหาง) และมีหน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.5-1.5 เมตร เริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 50-60 เซนติเมตร และร้อยละของปลาที่โตเต็มวัยจะสูงขึ้นเมื่อมีความยาวมากกว่า 70 เซนติเมตร ปลาทูน่าครีบเหลืองทุกตัวจะอยู่ในภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว มากกว่า 120 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 9 ปี ไข่เป็นลักษณะไข่ลอยไปตามกระแสบนผิวน้ำ เมื่อฟักเป็นตัวใช้เวลา 2 ปี จึงจะมีสภาพโตเต็มที่ ลูกปลาแรกฟักมีความยาว 3 มิลลิเมตร ถึงแม้จะว่ายน้ำได้ แต่ก็ไม่คล่องแคล่ว จนกระทั่งอีกหลายปสัดาห์ต่อมาจึงสามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ลูกปลาวัยอ่อนไม่สามารถที่จะปกป้องตัวเองได้ จึงตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าต่าง ๆ เสมอ ปลาทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาที่นิยมรับประทานสด และเป็นวัตถุดิบในการทำปลากระป๋อง จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง อุปกรณ์ในการประมงที่ใช้ในการจับ คือ อ้วนล้อม, เบ็ดตวัด, อวนลอย และเบ็ดราว มีราคาซื้อขายสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท เป็นปลาที่มีส่วนที่เป็นเนื้อแดงเยอะ ที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า "ชูโทะโระ" (中とろ).

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาทูน่าครีบเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะกรับเจ็ดแถบ

ปลาตะกรับเจ็ดแถบ (Bengal sergent fish, Narrow-banded sergeant major) เป็นปลาทะเลขนาดเล็ก ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) มีรูปร่างและลักษณะคล้ายกับปลาตะกรับห้าแถบ (A. vaigiensis) เพียงแต่มีลายแถบสีคล้ำในแนวตั้งทั้งหมด 7 แถบ และมีสีสันที่คล้ำกว่า มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังและชายฝั่งในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง และรวมฝูงกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน เป็นปลาที่ไม่ตื่นกลัวมนุษย์ และมักจะเป็นปลาชนิดที่ว่ายเข้ามากินขนมปังที่มนุษย์โปรยให้เป็นอาหารตามทะเลหรือแหล่งท่องเที่ยวทั่วไป ร่วมกับปลาสลิดหินห้าแถบ ปัจจุบัน เป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว เช่นเดียวกับปลาสลิดหินห้าแถบ แต่ทว่าไม่สวยงามเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาตะกรับเจ็ดแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตีน

ปลาตีน คือปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อย Oxudercinae ในวงศ์ปลาบู่ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามชายทะเลโคลนและป่าชายเลนในเขตร้อนตั้งแต่เขตมหาสมุทรแอตแลนติก ชายฝั่งแอฟริกาจนถึงเอเชียแปซิฟิก มีความยาวลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร ในชนิด Zappa confluentus จนถึงเกือบหนึ่งฟุต ในชนิด Periophthalmodon schlosseri.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาตีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบเงิน

ปลาฉลามครีบเงิน (Silvertip shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 เมตร มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เพียงแต่มีปลายครีบต่าง ๆ เป็นสีขาวหรือสีเงิน อันเป็นที่มาของชื่อ ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 5-6 ตัว ลูกปลาจะหากินในเขตน้ำตื้น เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจะลงไปหากินบริเวณที่ลึก ประมาณ 40 เมตร หรือมากกว่า เคยมีรายงานว่าสามารถลงไปได้ลึกถึง 400 เมตร อาหารส่วนที่กิน ได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลานกกระจอก, ปลาลิ้นหมา, ปลากระเบนนก, ปลาทูน่า, ปลาปักเป้า, ปลานกแก้ว และหมึกสาย เป็นต้น มีถิ่นหากินในระยะไม่เกิน 2-5 กิโลเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและชายฝั่งของเขตร้อนและเขตอบอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยจะหาได้ยาก พบได้ที่บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน, เกาะตาชัย หรือบริเวณกองหินที่ห่างไกลจากชายฝั่ง จัดเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวมากนัก จึงเป็นที่ชื่นชอบของบรรดานักดำน้ำอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาฉลามครีบเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว หรือ ปลาปักเป้าสามแถบ (long-spine porcupinefish, spiny balloonfish, freckled ballonfish) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) มีตัวค่อนข้างกลมและแบนทางด้านบนเล็กน้อย หัวขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปทางหาง ตากลมโตกลอกไปมาได้และมีหนังตายื่นลงมาเป็นติ่ง ปากหนามีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบหูมีขนาดใหญ่คลี่ออกคล้ายพัด ครีบหลังมีอันเดียวอยู่เยื้องไปทางหาง ไม่มีครีบท้อง ครีบทวารอยู่ตรงกับครีบหลัง ครีบหางโค้งกลม ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง ซึ่งเมื่ออยู่ในยามปกติก็เห็นได้ชัดเจน แต่จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว มีลายจุดสีดำเป็นปื้นตามลำตัวและบนหลัง ซึ่งเมื่อปลาโตขึ้นจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ จางไป จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตั้งแต่ฟลอริดา, บาฮามาส, บราซิล, หมู่เกาะกาลาปากอส, เกาะอีสเตอร์ รอบ ๆ แอฟริกาใต้, เรอูนียง, ทะเลแดง, มาดากัสการ์, มอริเชียส, หมู่เกาะฮาวาย, อ่าวเบงกอล, อินโด-แปซิฟิก, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, อ่าวตังเกี๋ย, ทะเลเหลือง, ทะเลจีนใต้, ทะเลจีนตะวันออก พบไปจนถึงทะเลญี่ปุ่น, ทะเลฟิลิปปิน และเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นปลาที่ไม่ใช้เนื้อในการบริโภค แต่นิยมทำมาเป็นเครื่องประดับ โดยนำมาสตัฟฟ์เมื่อเวลาที่พองตัวออก และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแบล็คสวอลโล

ปลาแบล็คสวอลโล (Black swallower)เป็นสายพันธุ์ปลาทะเลลึกในตระกูล Chiasmodontidae เป็นที่รู้จักด้วยความสามารถของมันทีสามารถกลืนปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้ มันมีการแพร่กระจายไปทั่วโลกในเขตร้อนและเขตหุบเขาใต้ทะเลลึกภูเขาใต้ทะเลที่มีความลึก 700-2,745 เมตร (2,297-9,006 ฟุต) เป็นปลาทะเลลึกที่แพร่พันธุ์ได้แพร่หลายมากCarpenter, K.E., et al.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาแบล็คสวอลโล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแสงอาทิตย์

ำหรับปลาแสงอาทิตย์ที่เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซันฟิช ปลาแสงอาทิตย์ หรือ ปลาโมลา โมลา (Ocean sunfish, Pacific sunfish, Sunfish, Mola mola) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae) ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes).

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโอแถบ

ปลาโอแถบ หรือ ปลาทูน่าท้องแถบ (Skipjack tuna, Arctic bonito, Striped tuna, Victor fish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Katsuwonus มีรูปร่างกลมและยาวเพรียวแบบรูปกระสวย ปากกว้าง นัยน์ตาขนาดปานกลาง ครีบหลังอันที่สองมีขนาดเล็กและไม่สูงครีบหูมีขนาดเล็ก ปลายแหลมเรียว ครีบท้องเล็ก ครีบก้นมีจุดเริ่มต้นอยู่ประมาณกลางครีบหลังอันที่สอง มีเกล็ดเฉพาะบริเวณใต้ครีบหลังอันแรกและบริเวณเส้นข้างลำตัวมีแถบสีดำ ประมาณ 4-6 แถบ อยู่ใต้เส้นข้างตัว แลดูเด่นเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นปลาที่มีพฤติกรรมรวมฝูงขนาดใหญ่เป็นพันหรือหมื่นตัวกันหากินตามผิวน้ำ และชอบกระโดดพร้อมกันทีเดียว มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-80 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 110 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมที่ทะเลอันดามันแถบจังหวัดระนอง, พังงา, ภูเก็ตถึงสตูล.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาโอแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโนรี

ำหรับโนรีที่หมายถึงนก ดูที่: นกโนรี สำหรับโนรีที่หมายถึงนักมวย ดูที่: โนรี จ๊อกกี้ยิม ปลาโนรี (Bannerfishes, Pennanfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Heniochus อยู่ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุดจะงอยปาก ครีบหลังที่มีก้านแข็งราว 11-12 อัน ก้านครีบหลังอันที่ 4 ตอนแรกยื่นยาวเป็นเส้นยาวมากดูโดดเด่น ตัวมีสีสันสดสวยหัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางราว 3 แถบ มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาโนรี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไวท์คลาวด์

ปลาไวท์คลาวด์ (White cloud mountain minnow; 唐魚; พินอิน: táng yu) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง มีลักษณะของลำตัวสีขาวออกเงิน ๆ แวววาว เวลามองจากด้านบนจะเป็นสีเงินอมเขียว กลางลำตัวมีแถบสีทองออกเงินพาดขวางลำตัว ครีบหางมีสีแดงสด ขณะที่ครีบอื่น ๆ จะมีสีเหลืองตรงขอบของครีบ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 เซนติเมตร ตัวผู้จะมีสีสดกว่าตัวเมียและลำตัวจะเพรียวกว่า เป็นปลาที่อยู่อาศัยเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ทางแถบเทือกเขาสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ ทางตอนใต้ของจีนติดต่อกับเวียดนาม ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 โดยลูกเสือชาวจีน บนเขาไป๋หยุน ใกล้กับเมืองกวางเจา ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งคำว่า "ไป๋หยุน" (白雲) นั้นหมายถึง "เมฆขาว" อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว ปลาจะวางไข่ติดกับใบของพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาราว 36 ชั่วโมงในการฟักเป็นตัว ซึ่งปัจจุบัน จากการเพาะขยายพันธุ์สามารถทำให้เลี้ยงได้ในเขตโซนร้อน อีกทั้งยังสามารถให้มีสายพันธุ์ที่แปลกไปจากธรรมชาติ อาทิ สีเผือกทอง หรือที่มีครีบและหางยาวกว่าปกต.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาไวท์คลาวด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลช่อ

ปลาไหลช่อ (Freshwater moray, Freshwater snowflake eel, Indian mud moray) เป็นปลากระดูกแข็งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) เป็นปลาไหลมอเรย์ขนาดเล็ก มีลำตัวสีน้ำตาลเข้ม บางตัวอาจมีจุดสีขาวหรือเหลืองเล็ก ๆ กระจายไปทั่วลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 ฟุต อายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนเช่น อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาที่อาศัยในทะเลที่ใกล้กับชายฝั่ง ในบางตัวอาจเข้าไปอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดเช่น ป่าชายเลนหรือตามปากแม่น้ำได้ เป็นปลาที่กินอาหารจำพวก ลูกปลาหรือปลาขนาดเล็กรวมทั้งเคยหรือกุ้งฝอยเป็นอาหาร โดยมักจะซ่อนตัวในท่อหรือโพรงต่าง ๆ ใต้น้ำ แล้วโผล่ออกมาเฉพาะแต่ส่วนหัว เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่ไม่พบบ่อยมากนัก แต่ก็มีราคาซื้อขายที่ไม่แพง แต่ปลาที่นำมาเลี้ยงนั้นจะต้องผ่านการปรับน้ำให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นปลาจะไม่สามารถปรับตัวได้และอ่อนแอลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งตายในที.

ใหม่!!: เขตร้อนและปลาไหลช่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า - ชะตากรรมของสังคมมนุษย์ (Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies) เป็นหนังสือสารคดีหลายสาขาวิชาของ.ดร.

ใหม่!!: เขตร้อนและปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า · ดูเพิ่มเติม »

ปีสากลแห่งป่าไม้

..

ใหม่!!: เขตร้อนและปีสากลแห่งป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน ป่าชายเลน คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง" บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: เขตร้อนและป่าชายเลน · ดูเพิ่มเติม »

ป่าไม้เขตร้อน

ป่าไม้เขตร้อนคือ ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมในบริเวณเขตร้อนของโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1.

ใหม่!!: เขตร้อนและป่าไม้เขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: เขตร้อนและนกกะรางหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

นกกางเขน

นกกางเขน หรือ นกกางเขนบ้าน (Oriental magpie robin) เป็นนกชนิดหนึ่งที่กินแมลง มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำเงา ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปจะเป็นสีขาวหม่น ใต้หางและข้างหางมีสีขาว ปีกมีลายพาดสีขาวทั้งปีก ตัวผู้สีจะชัดกว่าตัวเมีย ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ ในตัวเมียจะเป็นสีเทาแก่ ปากและขาสีดำ มักจะพบเป็นตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หางของมันมักกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก มันจะวางไข่ครั้งละ 4-5 ฟองและตัวเมียเท่านั้นจะกกไข่ และจะฟักไข่นานประมาณ 8-14 วัน อายุ 15 วัน แล้วจะเริ่มหัดบิน ในประเทศไทยพบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 นกกางเขนเป็นนกเกาะคอน (อันดับ Passeriformes) ที่เคยจัดเป็นวงศ์นกเดินดง (Turdidae) แต่ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์นกจับแมลงและนกเขน (Muscicapidae) เป็นนกสีดำขาวที่เด่น มองเห็นได้ง่าย มีหางยาวที่จะกระดกขึ้นลงเมื่อหาอาหารที่พื้นหรือจับบนต้นไม้ เป็นนกที่มีอยู่กระจายไปทั่วเอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ เป็นนกที่สามัญทั้งตามสวนในเมืองและในป่า เป็นนกที่รู้จักกันดีเพราะร้องเสียงเพราะ และเคยเป็นนกเลี้ยงที่นิยม นกกางเขนเป็นนกประจำชาติของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเรียกนกว่า "Doyel" ชื่ออังกฤษของนกคือ Oriental Magpie Robin อาจจะเป็นเพราะนกดูคล้ายนกสาลิกาปากดำ (Common Magpie).

ใหม่!!: เขตร้อนและนกกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า (Asian koel) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดี.

ใหม่!!: เขตร้อนและนกกาเหว่า · ดูเพิ่มเติม »

นกโจรสลัด

นกโจรสลัด หรือ นกฟรีเกต เป็นนกทะเลขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Fregatidae มีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Fregata ในอันดับ Pelecaniformes อันดับเดียวกันกับนกกระทุง มีรูปร่างโดยรวม คือ มีปากยาวกวางหัวและเป็นรูปทรงกระบอก ปลายจะงอยปากทั้งสองเป็นขอบแนวสบเรียบ รูจมูกเล็กลักษณะเป็นรองยาว ถุงใต้คางเล็กแต่พองออกได้ ปากยาวมาก ปลายปากแหลม ขนปลายปากเส้นสุดท้ายหรือเส้นนอกสุดยาวที่สุด หางเป็นหางแบบเว้าลึก มีขนหาง 12 เส้น แข็งเล็กและสั้น ประมาณ 1 ใน 5 ของความยาวปาก นิ้วยาว โดยมีนิ้วที่ 3 ยาวที่สุด ปลายนิ้วเป็นเล็บยาว เล็บหยัก มีพังผืดนิ้วเป็นแบบตีนพัดเต็ม แต่มักมีขนาดเล็กและเชื่อมเฉพาะโคนนิ้ว ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะและสีสันแตกต่างกัน ทำรังเป็นกลุ่มตามพุ่มไม้เตี้ย หรือตามโขดหิน หรือพื้นทราย วางไข่เพียงครอกละ 1 ฟอง เปลือกไข่สีขาว จะช่วยกันกกไข่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน ลูกนกที่จะเริ่มออกมาจากรังเกาะกิ่งไม้ แต่ก็ยังต้องอยู่ในความดูแลของพ่อแม่อีกนานนับปี พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก นกโจรสลัดจัดเป็นนกที่บินได้ ที่เมื่อกางปีกออกแล้วถือว่าเป็นนกจำพวกหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะกางปีกออกแล้วจะมีความยาวจากปีกข้างหนึ่งไปจรดอีกข้างหนึ่งประมาณ 70-100 เซนติเมตร และสามารถบินอยู่บนอากาศได้เป็นเวลาหลายวัน โดยไม่ต้องลงพื้นดิน เป็นนกที่ทรงตัวได้ดี เนื่อวงจากปีกมีขนาดใหญ่และหางในการรับน้ำหนัก และทรงตัว นกโจรสลัดเป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร มีพฤติกรรมชอบโฉบขโมยปลาจากนกอื่น เช่น นกนางนวลเป็นประจำ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก แต่บางครั้งก็จะโฉบจับเหยื่อจากน้ำด้วยตัวเอง แต่ไม่สามารถที่จะดำน้ำได้ เป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังกินอาหารอย่างอื่นได้ด้วย เช่น ลูกเต่าทะเลแรกฟัก เป็นต้น เป็นนกที่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมียอย่างชัดเจน เพศผู้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงใต้คางสีแดงสดเห็นชัดเจน จนเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถุงนี้มีไว้เพื่ออวดเพศเมียในฤดูผสมพันธุ์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากเพศเมีย โดยจะป่องหรือเป่าถุงนี้ให้พองขึ้น นกโจรสลัดได้ถูกจำแนกออกเป็น 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: เขตร้อนและนกโจรสลัด · ดูเพิ่มเติม »

นากยักษ์

นากยักษ์ (Giant otter;; ชื่อพื้นเมือง: lobo de río แปลว่า "หมาป่าแม่น้ำ") เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pteronura แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง).

ใหม่!!: เขตร้อนและนากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกอีกวาซู

น้ำตกอีกวาซู (Iguazu Falls; แปลว่า "สายน้ำอันยิ่งใหญ่") เป็นคำมาจากภาษากวารานี (Guarani) ชาวอินเดียนแดงเผ่าดั้งเดิม น้ำตกอีกวาซูตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลกับประเทศอาร์เจนตินา เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นหนึ่งในน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยใหญ่กว่าน้ำตกไนแอการาประมาณ 30 เท่า และขนาดของน้ำตกใกล้เคียงกับน้ำตกวิกตอเรียในทวีปแอฟริกา น้ำตกอีกวาซูเกิดจากแม่น้ำอีกวาซูซึ่งไหลมาจากที่ราบสูงปารานา ตกจากขอบที่ราบสูงขนาดใหญ่ลงสู่พื้นที่ราบต่ำกว่า จึงกลายเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เป็นแนวยาวกว่า 4 กิโลเมตร สูงกว่า 269 ฟุต ประกอบด้วยน้ำตกน้อยใหญ่อีก 275 แห่ง ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคมปริมาณน้ำมีมากถึงกว่า 13.6 ล้านลิตรต่อวินาที แต่ในช่วงฤดูร้อน คือระหว่างเมษายนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำจะลดลงเหลือ 2.3 ล้านลิตรต่อวินาที บริเวณรอบ ๆ น้ำตกจะเกิดละอองน้ำอยู่ตลอดเวลาและมีเสียงดังไปไกลกว่า 24 กิโลเมตร บนฝั่งประเทศบราซิลจะมองเห็นน้ำตกได้ทั่วถึงและงดงาม แต่ทางฝั่งประเทศอาร์เจนตินาสามารถเข้าชมน้ำตกได้ใกล้กว.

ใหม่!!: เขตร้อนและน้ำตกอีกวาซู · ดูเพิ่มเติม »

แมลงทับ

แมลงทับ (Jewel beetle, Metallic wood-boring beetle, Buprestid) เป็นแมลงในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera) โดยจัดอยู่ในวงศ์ Buprestidae แมลงทับมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมาก หัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ มีลักษณะเด่น คือ มีสีสันที่สวยงามมาก หลายชนิด หลายสกุลมีสีเงางามแวววาวราวกับอัญมณี หลายชนิดเป็นสีที่หลากหลาย ทั้ง น้ำเงิน, แดง, ดำ และเหลือง จึงทำให้แมลงทับถูกมนุษย์จับนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มานานแล้วในหลายชนชาติ แมลงทับพบในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 15,000 ชนิด ใน 450 สกุล และที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นซากดึกดำบรรพ์กว่า 100 ชนิด บางชนิดมีความยาวถึง 77 มิลลิเมตร แมลงทับเมื่อขยายพันธุ์ จะเจาะเข้าไปวางไข่ในต้นไม้หรือวางไข่ไว้ในดินใกล้รากของไม้ที่ตัวหนอนจะกินเป็นอาหาร จึงนับเป็นแมลงศัตรูพืชอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งแมลงทับใช้เวลาในการเป็นไข่-ตัวหนอน-ดักแด้ราว 1 ปี เหมือนเช่นแมงคีมหรือด้วงกว่าง อันเป็นแมลงปีกแข็งแต่ต่างวงศ์กัน แมลงทับนับเป็นแมลงปีกแข็งที่บินได้เร็วและสูงมาก และเมื่อถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมแกล้งตาย โดยจะอยู่เฉย ๆ หรือหล่นจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงศัตรูให้เข้าใจผิดว่าตายแล้ว สำหรับแมลงทับชนิดที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ แมลงทับกลมขาเขียว (Sternocera aequisignata) พบมากในภาคกลาง และแมลงทับกลมขาแดง (S. ruficornis) พบมากในภาคอีสาน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้กินใบอ่อนของมะขามเทศเป็นอาหาร และมีสีเขียวเหลือบทองเป็นมันแวววาวทั้งคู่ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีความพยายามของทางการที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์ของแมลงทับมิให้สูญพันธุ์ และมีการนำเอาปีกแมลงทับทั้ง 2 ชนิดนี้ทำเป็นงานหัตถกรรมชนิดต่าง ๆ ในโครงการพระราชดำริ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีน.

ใหม่!!: เขตร้อนและแมลงทับ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งพายุหมุนเขตร้อน

thumb ตามธรรมเนียม พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวขึ้นแยกกันภายในทั้งหมดเจ็ดแอ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ด้านตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก, ด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอาหรับ และ อ่าวเบงกอล) ซึ่งในเจ็ดแอ่งนี้ มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีการกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนบ่อยที่สุด และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดียมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีความรุนแรงในระดับมากกว่าพายุโซนร้อน ทั่วโลกอยู่ที่ 86 ลูก ในจำนวนนี้ 47 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคน/พายุไต้ฝุ่น และอีก 20 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง (อย่างน้อยมีความรุนแรงอยู่ในระดับ 3).

ใหม่!!: เขตร้อนและแอ่งพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

โรคเขตร้อน

รคเขตร้อน คือ โรคที่พบดาษดื่นหรือเฉพาะในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่พบน้อยกว่าในเขตอบอุ่น เพราะการมีฤดูหนาวทำให้ประชากรแมลงลดลงเพราะต้องจำศีล ปัจจุบัน แมลงอย่างยุงและแมลงวันเป็นพาหะหรือตัวนำโรคที่พบมากที่สุด แมลงเหล่านี้อาจนำปรสิต แบคทีเรียหรือไวรัสซึ่งติดเชื้อมายังมนุษย์และสัตว์ โรคเหล่านี้ติดต่อได้มากที่สุดโดย "การกัด" ของแมลง ซึ่งทำให้แพร่เชื้อโรคผ่านการแลกเปลี่ยนเลือดใต้หนัง สำหรับโรคเขตร้อนยังไม่มีวัคซีน และหลายโรคไม่มีหนทางรักษา การสำรวจป่าดิบเขตร้อน การทำลายป่า การเข้าเมืองและการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการท่องเที่ยวในเขตร้อนอื่น เป็นสาเหตุให้อุบัติการณ์ของโรคเขตร้อนเพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและโรคเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: เขตร้อนและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โลมามหาสมุทร

รีบหลังของโลมามหาสมุทร โลมามหาสมุทร หรือ โลมาทะเล (Oceanic dolphins, Marine dolphins) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Delphinidae โลมามหาสมุทร จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) เป็นโลมาวงศ์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีที่สุดวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับโลมาทั่วไป คือ มีขนาดลำตัวใหญ่แต่เพรียวยาวคล้ายตอร์ปิโดหรือทรงกระสวย มีครีบและหางใช้สำหรับว่ายน้ำ ครีบหางเป็นแผ่นแบนในแนวนอน ใช้สำหรับว่ายในแนวขึ้นลง ลักษณะเด่นของโลมามหาสมุทร คือ ครีบหลังมีลักษณะยาวและโค้งไปทางด้านหลังเหมือนคลื่น ส่วนจมูกโดยมากจะแหลมยาวเหมือนปากขวด แต่ก็มีบางสกุล บางชนิดที่กลมมนเหมือนบาตรพระหรือแตงโม ทุกชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อที่ไล่ล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ๆ เช่น ปลาซาร์ดีน, ปลากะตัก หรือปลาแฮร์ริ่ง แต่ก็มีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ สามารถล่าสัตว์อย่างอื่น เช่น นกเพนกวิน, นกทะเล, แมวน้ำ, สิงโตทะเล เป็นอาหารได้ มีฟันแหลมคมเรียงตามยาวในปาก ระหว่าง 100-200 ซี่ มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง บางฝูงอาจอยู่รวมกันได้หลายร้อยตัวและอาจถึงพันตัว กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเปิด, มหาสมุทรต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ก็มีบางชนิดเช่นกันที่ปรับตัวให้อาศัยในน้ำกร่อยและน้ำจืดสนิทได้ เช่น ปากแม่น้ำ, ป่าชายเลน หรือแม้แต่ในทะเลสาบน้ำจืด หรือแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสัตว์ที่ชาญฉลาด มีอุปนิสัยขี้เล่น ร่าเริง ชอบเล่นสนุก ด้วยการว่ายน้ำแข่งกัน กระโดดขึ้นเหนือน้ำ หรือว่ายแข่งกับไปเรือของมนุษย์ มีการติดต่อสื่อสารกันด้วยส่งคลื่นเสียงใต้น้ำด้วยระบบเอคโคโลเคชั่นหรือโซนาร์ ในความถี่ระหว่าง 80-200 เฮิรตซ์ โลมามหาสมุทร ขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาฮาวี่ไซด์ มีความยาวเพียง 1.2 เมตร น้ำหนักเพียง 40 กิโลกรัม และขนาดที่ใหญ่ที่สุด คือ วาฬเพชฌฆาต ที่มีความยาวเกือบ 10 เมตร น้ำหนักกว่า 10 ตัน.

ใหม่!!: เขตร้อนและโลมามหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ไผ่ตง

ผ่ตง เป็นไผ่สกุลหนึ่งในวงศ์หญ้า (Poaceae) ชื่อสกุลมีที่มาจากภาษากรีกว่า "δένδρον" (déndron) แปลว่า "ต้นไม้" และ "κάλαμος" แปลว่า "พืชจำพวกกกหรืออ้อย" รวมหมายถึง "อ้อยที่เป็นกอคล้ายต้นไม้" จึงสื่อถึงลักษณะของไผ่สกุลนี้ที่มีขนาดใหญ่และนิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ ไผ่สกุลนี้มีประมาณ 50 ชนิด ในจำนวนนี้พบในไทย 4 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเขตอินเดีย จีน อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปิน.

ใหม่!!: เขตร้อนและไผ่ตง · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: เขตร้อนและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เหลือง

ไข้เหลืองเป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสไข้เหลืองมีขนาด 40-50 นาโนเมตร เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสเซนส์บวก มีปลอกหุ้ม อยู่ในแฟมิลีฟลาวิไวริดี ติดต่อผ่านทางการถูกยุงตัวเมียที่มีเชื้อกัด อาจเป็นยุงไข้เหลือง ยุงลาย หรือยุงอื่นๆ บางชนิด พบในพื้นที่เขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาและพื้นที่ข้างเคียง แต่ไม่พบในทวีปเอเชีย โฮสต์ของไวรัสไข้เหลืองคือลิงไพรเมทรวมถึงมนุษย์และยุงบางชนิด เชื่อว่าโรคนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา ระบาดมายังอเมริกาใต้พร้อมกับการค้าทาสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีบันทึกการระบาดครั้งใหญ่หลายครั้งในอเมริกา แอฟริกา และยุโรป จนในศตวรรษที่ 19 ไข้เหลืองก็ถูกยกระดับเป็นโรคติดต่อที่อันตรายที่สุดโรคหนึ่ง ผู้ป่วยไข้เหลืองส่วนใหญ่มีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ (โดยเฉพาะหลัง) และปวดศีรษะ ส่วนใหญ่หายได้เองในเวลาหลายวัน ผู้ป่วยบางคนจะมีระยะพิษตามหลังจากระยะไข้ เซลล์ตับเสียหายจนมีดีซ่าน (เป็นที่มาของชื่อโรค) และอาจเป็นมากจนเสียชีวิตได้ ไข้เหลืองอาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่าย จึงจัดอยูในกลุ่มโรคไข้เลือดออก องค์การอนามัยโลกประมาณไว้ว่ามีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนไข้เหลืองป่วยเป็นไข้เหลือง 200,000 รายต่อปี และเสียชีวิต 30,000 รายต่อปี ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไข้เหลืองกว่า 90% อยู่ในแอฟริกา วัคซีนไข้เหลืองที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลนั้นผลิตสำเร็จตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 บางประเทศยังกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องได้รับวัคซีนนี้ก่อนเข้าประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมๆ กับลดจำนวนยุงและลดโอกาสถูกยุงกัด ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยไข้เหลืองเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคอุบัติซ้ำ (re-emerging disease) เชื่อว่าเป็นผลจากสภาพสังคมและสงครามในหลายๆ ประเทศในแอฟริกา หมวดหมู่:ไข้จากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะและไข้เลือดออกที่เกิดจากไวรัส หมวดหมู่:ฟลาวิไวรัส หมวดหมู่:โรคเขตร้อน หมวดหมู่:วิทยาตับ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อจากแมลง หมวดหมู่:โรคที่ไม่ได้รับการรักษา หมวดหมู่:อาวุธชีวภาพ.

ใหม่!!: เขตร้อนและไข้เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เด็งกี

้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยังไม่มีวัคซีนในทางพาณิชย์ ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต..

ใหม่!!: เขตร้อนและไข้เด็งกี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะแคโรไลน์

กาะแคโรไลน์ (Caroline Island) หรือ แคโรไลน์อะทอลล์ (Caroline Atoll) บ้างเรียก เกาะมิลเลนเนียม (Millennium Island) และ เกาะเบสซีซา (Beccisa Island) เป็นเกาะปะการังวงแหวนไร้คนอาศัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไลน์ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ชาวยุโรปพบเกาะนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: เขตร้อนและเกาะแคโรไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวรุ้ง

หยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง (Crested serpent-eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Serpent-eagle" (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู).

ใหม่!!: เขตร้อนและเหยี่ยวรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เอปตาเซีย

อปตาเซีย หรือ ดอกไม้ทะเลแก้ว หรือ แอนนีโมนแก้ว (Glass anemones, Glassrose anemones, Rock anemones) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกดอกไม้ทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aiptasia จากการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 1831 พบว่าเอปตาเซียมีจำนวนทั้งหมด 17 ชนิด โดยสามารถพบได้ทั่วไปในทะเลเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนทั่วไป จำนวนชนิดของเอปตาเซียส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ขณะที่ด้านมหาสมุทรแปซิฟิกมี 2 ชนิด คือ Aiptasia californica และA. pulchella ที่พบได้เฉพาะมหาสมุทรแห่งนี้ เอปตาเซียมีลักษณะทางกายวิภาค คือ มีรูปร่างคล้ายต้นปาล์ม เจริญเป็นตัวเดี่ยว ๆ หรืออาจพบเจริญเป็นกลุ่ม แต่จะไม่มีเนื้อเยื่อเชื่่อมถึงกันเหมือนกับปะการัง เนื้อเยื่อทั้งตัวของเอปตาเซียเรียกว่า โพลิป ซึ่งในโพลิปจะประกอบด้ว.

ใหม่!!: เขตร้อนและเอปตาเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เขียดงู

ียดงู (Caecilians) เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apoda (ในบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Gymnophiona) มีลักษณะโดยรวมของรูปร่าง คือ ลำตัวเรียวยาวคล้ายงูหรือปลาไหล มีทั้งอาศัยอยู่บนบก ในโพรงดิน และในน้ำ โดยลดรูปโครงสร้างหลายประการซึ่งเป็นลักษณะที่พบกับสัตว์ที่มีลำตัวเรียวยาวหรืออาศัยอยู่ในโพรง กล่าว คือ หางมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีเลย ไม่มีรยางค์ขาหรือฐานรยางค์ แต่ในสกุล Eocaecilia ที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีรยางค์ขา ตามีขนาดเล็กและบางชนิดอยู่ในร่องของกระดูกกะโหลกและถูกชั้นหนังปกคลุมไว้ ปอดข้างซ้ายมีขนาดเล็กหรือไม่มี ขณะที่บางวงศ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะไม่มีปอด บางชนิดมีเกล็ดฝังตัวอยู่ในร่องที่แบ่งลำตัวเป็นปล้อง การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายใน โดยตัวผู้จะมีอวัยวะถ่ายอสุจิเจริญจากผนังของห้องทวารร่วม บางชนิดวางไข่ในน้ำ และมีระยะเวลาของวัยอ่อนและบางชนิดวางไข่บนบกโดยไม่มีระยะวัยอ่อน ตัวเมียมีพฤติกรรมเฝ้าไข่ แต่เขียดงูส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 ออกลูกเป็นตัว วัยอ่อนภายในท่อนำไข่ได้รับสารอาหารจากสิ่งผลิตภายในท่อนำไข่ มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวเป็นปล้อง ปล้องของลำตัวโดยทั่วไปมีจำนานเท่ากับจำนวนปล้องของกระดูกสันหลัง แต่บางชนิดอาจมีปล้องลำตัวจำนวนสองปล้องหรืออาจจะถึงสามปล้องต่อกระดูกสันหลังหนึ่งปล้อง โดยปล้องลำตัวปฐมภูมิเจริญขึ้นมาก่อนต่อจากนั้นจึงมีปล้องลำตัวทุติยภูมิหรือปล้องลำตัวตติยภูมิเจริญขึ้นมาเป็นลำดับต่อมา เกล็ดของเขียดงูประกอบด้วยคอลลาเจนหลายชั้นเรียงซ้อนกันและฝังตัวอยู่ในร่องตรงส่วนลึกที่สุดของปล้องลำตัวปฐมภูมิ โดยเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องกันในแนวเฉียง กะโหลกของเขียดงูมีชิ้นของกระดูกยึดติดกันแข็งแรงและส่วนใหญ่ไม่มีช่องเปิดที่กะโหลก นอกจากช่องเปิดของอวัยวะรับความรู้สึก ได้แก่ ตา, จมูก, หนวด ในบางวงศ์มีช่องเปิดบริเวณขมับ กระดูกกะโหลกจึงขยับได้บ้าง ฟันที่ขากรรไกรบนอยู่บนกระดูกพรีแมคซิลลา กระดูกแมคซิลโลพาลาทีนและกระดูกโวเมอร์ มีอวัยวะรับรู้จำเพาะ คือ อวัยวะที่แลดูคล้ายหนวด ที่เจริญขึ้นมาจากช่องเปิดที่อยู่ระหว่างตากับช่องเปิดจมูก ตำแหน่งของช่องเปิดหนวดแตกต่างกันในแต่ละชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการอนุกรมวิธาน สัดส่วนความยาวของหนวดที่โผล่พ้นช่องเปิดออกมาก็แตกต่างกันในแต่ละวงศ์ โดยหนวดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนประกอบด้วยกล้ามเนื้อ, ต่อม และท่อ การเจริญของหนวดสัมพันธ์กับตาและอวัยวะจาคอบสัน ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สารเคมี เขียดงูแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 9 วงศ์ ประมาณ 200 ชนิด (ในขณะที่บางข้อมูลแบ่งเพียง 6 วงศ์ หรือ 3 วงศ์) กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน ยกเว้นบนเกาะมาดากัสการ์และทางตะวันออกของเส้นสมมติวอลเลซ ในประเทศไทยพบได้ 1 วงศ์ เช่น เขียดงูเกาะเต่า (Ichthyophis kohtaoensis) เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตร้อนและเขียดงู · ดูเพิ่มเติม »

เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส

นเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (Nederlandse Antillen; Netherlands Antilles) เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (Lesser Antilles) และประกอบด้วยเกาะในทะเลแคริบเบียนสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือ กือราเซาและโบแนเรอ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งประเทศเวเนซุเอลา อีกกลุ่มคือ ซินต์เอิสตาซียึส ซาบา และซินต์มาร์เติน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะต่าง ๆ เหล่านี้มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองภายใต้ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เศรษฐกิจหลักของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวและปิโตรเลียม ในปี..

ใหม่!!: เขตร้อนและเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

Malo kingi

Malo kingi (/มา-โล-คิง-กี/) เป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากชนิดหนึ่งของโลก เป็นแมงกะพรุนกล่องจำพวกแมงกะพรุนอิรุคัน.

ใหม่!!: เขตร้อนและMalo kingi · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TropicalTropicsโซนร้อน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »