เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เกียวโตแอนิเมชัน

ดัชนี เกียวโตแอนิเมชัน

ริษัทเกียวโตแอนิเมชัน จำกัด (Kyoto Animation Co., Ltd.) หรือเรียกโดยย่อว่า เกียวแอนิ เป็นสตูดิโอผลิตอะนิเมะ ตั้งอยู่ในเมืองอุจิ จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

สารบัญ

  1. 20 ความสัมพันธ์: ฟรี!การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิรักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก!รักไร้เสียงรักไร้เสียง (ภาพยนตร์)รายชื่อบริษัทอะนิเมะรายชื่ออัลบั้มเพลงลักกีสตาร์รายชื่อตอนในลักกีสตาร์รายชื่อตอนในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหววลักกีสตาร์ (มังงะ)สามัญขยันรั่วสึซึมิยะ ฮารุฮิอะนิเมจคาน่อนตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะปริศนาความทรงจำแอร์ (วิชวลโนเวล)แคลนนาด (วิชวลโนเวล)เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหววเคียวโตะ

ฟรี!

Free! เป็นอะนิเมะที่ออกฉายทางโทรทัศน์ ผลงานของเกียวโตแอนิเมชัน และแอนิเมชันดู ภายใต้การกำกับของฮิโระโกะ อุซึมิ ดัดแปลงจากไลท์โนเวล High☆Speed! ผลงานของ โคจิ โอจิ ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยจาก เกียวโตแอนิเมชัน Award Contest ประจำปี..

ดู เกียวโตแอนิเมชันและฟรี!

การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ

การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ (The Disappearance of Haruhi Suzumiya หรือ The Vanishment of Haruhi Suzumiya) เป็นอะนิเมะอิงนิยายชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นเล่มที่สี่ในไลท์โนเวลชุด ''สึซึมิยะ ฮารุฮิ'' ของนะงะรุ ทะนิงะวะ (Nagaru Tanigawa) อะนิเมะนี้ เกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ผลิต, ทะสึยะ อิชิฮะระ (Tatsuya Ishihara) กับ ยะซุฮิโระ ทะเกะโมะโตะ (Yasuhiro Takemoto) ร่วมกันกำกับ, มีความยาวหนึ่งร้อยหกสิบสี่นาที (เกือบสามชั่วโมง) ซึ่งเท่ากับอะนิเมะโทรทัศน์เจ็ดตอนรวมกัน, และสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ (Kadokawa Shoten) นำออกฉายในโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 แล้วทำเป็นดีวีดีและบลูเรย์ขายตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ปีนั้น ส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ บันไดเอนเตอร์เทนเมนต์ (Bandai Entertainment) ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่, ในสหราชอาณาจักร มังงะเอนเตอร์เทนเมนต์ (Manga Entertainment) เผยแพร่ และในประเทศไทย โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เผยแพร่ อะนิเมะ การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ขึ้นชื่อว่า ไม่มีแนวเรื่องแนวหนึ่งแนวใดเป็นการจำเพาะ เพราะมีทั้งตลก วีรคติ วิทยาศาสตร์ ลึกลับ จินตนิมิต เสี้ยวชีวิต และละคร โดยดำเนินเรื่องสืบจากอะนิเมะโทรทัศน์ชุด เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ (The Melancholy of Haruhi Suzumiya) ซึ่งมียี่สิบแปดตอนและสร้างจากนิยายเล่มที่หนึ่ง สอง สาม และห้าจากไลท์โนเวลชุดเดียวกัน และอะนิเมะนี้มีสถานะเป็นตอนที่ยี่สิบเก้าต่อกันนั้น.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและการหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ

รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก!

รักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก! (Love, Chunibyo & Other Delusions) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Chū-2 (จู-นิ) เป็นนิยายเรื่องหนึ่งที่เขียนขึ้นโดย โทระโกะ และวาดภาพประกอบโดย โอซากะ โนโซมิ นิยายเรื่องนี้เคยชนะการประกวดด้วยรางวัลชมเชยในงาน เกียวโต แอนิเมชั่น อวอร์ด ในปี 2553 และได้รับการตีพิมพ์ในปีถัดมา จำนวน 2 เล่มจบ และได้นำมาทำเป็นแอนิเมชั่น จำนวน 12 ตอน โดย เกียวโตแอนิเมชัน ฉายในช่วงวันที่ 4 ตุลาคม - 19 ธันวาคม 2555 และตอนย่อยเป็นออริจิเนชั่นเน็ตวีดีโอ (โอเอ็นเอ) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูบ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน - 1 พฤศจิกายน 2555 รวมไปถึงในอนาคต ได้จัดทำเป็น ออริจิเนชั่น วีดีโอ แอนิเมชั่น (โอวีเอ) ซึ่งจะออกวางจำหน่ายในวันที่ 19 มิถุนายน 2556 รวมไปถึงมีภาคที่ 2 ของเรื่องออกม.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและรักสุดเพี้ยนของยัยเกรียนหลุดโลก!

รักไร้เสียง

รักไร้เสียง (聲の形; A Silent Voice) เป็นมังงะจากประเทศญี่ปุ่นที่เขียนและวาดภาพประกอบโดยโยะชิโทะกิ โออิมะ ผลงานชุดนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกแบบจบในตอนประจำฉบับเดือนกุมภาพัน..

ดู เกียวโตแอนิเมชันและรักไร้เสียง

รักไร้เสียง (ภาพยนตร์)

รักไร้เสียง (聲の形; A Silent Voice) เป็นอะนิเมะภาพยนตร์แนวชีวิตเกี่ยวกับวัยเรียนจากประเทศญี่ปุ่น..

ดู เกียวโตแอนิเมชันและรักไร้เสียง (ภาพยนตร์)

รายชื่อบริษัทอะนิเมะ

นี่คือรายชื่อบริษัทธุรกิจอะนิเมะที่ทำการผลิตอะนิเม.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและรายชื่อบริษัทอะนิเมะ

รายชื่ออัลบั้มเพลงลักกีสตาร์

ทความนี้เป็นบทความที่รวมรายชื่อ อัลบั้ม ที่มีอยู่ในซีรีส์ ลัคกี้ ☆ สตาร.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและรายชื่ออัลบั้มเพลงลักกีสตาร์

รายชื่อตอนในลักกีสตาร์

ทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ รายชื่อตอนของแอนิเมชัน เรื่อง ลัคกี้ ☆ สตาร์ ซึ่งออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและรายชื่อตอนในลักกีสตาร์

รายชื่อตอนในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

ปกของดีวีดีแผ่นที่หนึ่ง วางจำหน่ายโดย Pony Canyon วันที่ 29 กรกฎาคม 2009 เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว เป็นอะนิเมะ ที่นำมาจากมังงะชื่อเรื่องเดียวกัน เขียนและวาดภาพโดย Kakifly ซึ่งผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชัน กำกับโดย นาโอโกะ ยามาดะ เขียนบทโดย เรอิโกะ โยชิดะ และ ออกแบบตัวละครโดย ยูกิโกะ โฮริงุจิ เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของนักเรียนมัธยมปลาย 4 คน ซึ่งเข้าร่วมชมรมK-ON ของโรงเรียนที่กำลังจะโดนยุบ อะนิเมะเรื่องนี้เริ่มฉายในวันที่ 3 เมษายน 2009 ทางช่อง TBS และช่องโทรทัศน์อื่นๆ ได้แก่ ช่อง BS-TBS, MBS, และ Chubu-Nippon Broadcasting ซึ่งทางช่อง BS-TBS นั้นจะฉายในรูปแบบไวด์สกรีน เริ่มฉายเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2009 โดยมีเพลงประกอบ 2 เพลง ประกอบด้วยเพลงเปิดและปิดอย่างละ 1 เพลง โดยเพลงเปิดคือเพลง "Cagayake! Girls" ร้องโดย อากิ โทโยซากิ กับ โยโกะ ฮิคาสะ, ซาโตมิ ซาโต้ และ มินะโกะ โคะโตะบุกิ ส่วยเพลงปิดคือเพลง "Don't say 'lazy'" ร้องโดย ฮิคาสะ กับ โทโยซากิ, ซาโต้ และ โคโต.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและรายชื่อตอนในเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

ลักกีสตาร์ (มังงะ)

ลักกีสตาร์ (Lucky Star) เป็นมังงะสี่ช่อง เขียนโดย คะงะมิ โยะชิมิซุ (Kagami Yoshimizu) แล้วลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร คอมป์ทิก (Comptiq) ของสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ (Kadokawa) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ตราบบัดนี้ และลงพิมพ์อย่างเดียวกันในนิตยสารอื่น ๆ ด้วย เป็นต้นว่า โชเน็งเอซ (Shōnen Ace) เนื้อหาเป็นเหมือนมังงะสี่ช่องทั่วไปที่ไม่มีเป้าหมายตายตัว แต่ดำเนินเรื่องไปแบบวันต่อวัน ครั้นเดือนสิงหาคม 2548 จึงทำเป็นดรามาซีดีขาย และเมื่อเดือนธันวาคม ปีนั้น ก็ทำขายเป็นวีดิโดเกมแบบนินเท็นโดดีเอส (Nintendo DS) ชื่อ ลักกีสตาร์โมะเอะดริล (Lucky Star Moe Drill) นอกจากนี้ เคียวโตะแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ยังทำมังงะดังกล่าวเป็นอะนิเมะยี่สิบสี่ตอนฉายทางชิบะทีวี (Chiba TV) ของเครือข่ายโทรทัศน์ญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2550 ถึง 16 กันยายน ปีเดียวกัน และมีการเขียนเป็นไลท์โนเวล (light novel) ขายในเดือนกันยายน 2550 อะนิเมะเช่นว่ายังเผยแพร่ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงสหรัฐอเมริกาที่ คะโดะกะวะพิกเชอส์ (Kadokawa Pictures) ได้รับอนุญาตไป และบันดะอิเอนเตอร์เทนเมนต์ (Bandai Entertainment) จำหน่าย ส่วนในประเทศไทย โรสแอนิเมชันได้รับอนุญาตให้จัดจำหน่าย ต่อมาในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2551 และเดือนมีนาคม 2552 จึงผลิตเป็นดีวีดีหกชุดขายในประเทศญี่ปุ่น และทำเป็นวิดีโอแอนิเมชันดั้งเดิม (original video animation) ขายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 พร้อมดรามาซีดีด้ว.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและลักกีสตาร์ (มังงะ)

สามัญขยันรั่ว

มัญขยันรั่ว (Regular Life) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวตลกคอมเมดี้ แต่งเรื่องและวาดภาพโดย เคย์อิจิ อาราอิ มีรูปแบบการดำเนินเรื่องที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากมังงะทั่วไป โดยอธิบายชีวิตอันแสนจะธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาเลยสักนิดของเหล่าตัวละครในเรื่องซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องฮาๆไม่เว้นแต่ละตอน.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและสามัญขยันรั่ว

สึซึมิยะ ฮารุฮิ

ึซึมิยะ ฮารุฮิ เป็นชื่อเรียกนิยายชุดหนึ่ง แต่งโดย นาการุ ทานิกาวะ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ลงตีพิมพ์ในนิตยสารสนีกเกอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น นิยายชุด สึซึมิยะ ฮารุฮิ ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นเอซ จากนั้นได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ชิบะ ในปี พ.ศ.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและสึซึมิยะ ฮารุฮิ

อะนิเมจ

หน้าปกนิตยสารอะนิเมะจ จากเรื่องเซเลอร์มูน ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 อะนิเมจ นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่น โดยผู้ก่อตั้งนิตยสารนี้คือ โทคุมะ โชเท็น ซึ่งเล่มแรกออกเมื่อ ใน กรกฎาคม พ.ศ.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและอะนิเมจ

คาน่อน

น่อน เป็นเกมคอมพิวเตอร์แนววิชวลโนเวลที่สร้างโดยคีย์ ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยเกมเวอร์ชันแรกนี้เป็นเกมสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และถูกจัดว่าเป็นเกมสำหรับผู้เล่นอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ต่อมาได้มีการออกเกมเวอร์ชันที่สามารถเล่นได้ทุกวัยมาในเดือนมกราคม พ.ศ.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและคาน่อน

ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ

ตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ (Tamako Market) คือ การ์ตูนแอนิเมชั่นเวอร์ชันโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลิตโดย บริษัท เกียวโตแอนิเมชัน กำกับโดย ยามาดะ นาโอโกะ โดยการ์ตูนเรื่องนี้ ได้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม จนกระทั่งถึงวันที่ 28 มีนาคม 2556.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและตลาดป่วน ก๊วนทามาโกะ

ปริศนาความทรงจำ

ปริศนาความทรงจำ (มีความหมายตรงตัวว่า ของหวานเย็น เปรียบเปรยถึง ไอศกรีม) เป็นนวนิยายแนวลึกลับ แต่งโดย โฮโนบุ โยเนซาวะ เป็นหนังสือเล่มแรกในชุด นักสืบแห่งชมรมวรรณกรรมคลาสสิก โดยวางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและปริศนาความทรงจำ

แอร์ (วิชวลโนเวล)

แอร์ เป็นเกมคอมพิวเตอร์แนววิชวลโนเวล เปิดฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในรูปแบบของ ดีวีดี ที่มีชื่อว่า Air~prelude~ โดยเนื้อหาเริ่มต้นและจบลงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีวางจำหน่ายเพียง 20,000 แผ่นเท่านั้น และได้มีการนำเรื่องมาสร้างเป็นสือ่อื่น ๆ อีก ได้แก่ มังงะ อะนิเมะ และภาพยนตร.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและแอร์ (วิชวลโนเวล)

แคลนนาด (วิชวลโนเวล)

แคลนนาด (Clannad) เป็นชื่อเกมประเภทวิชวลโนเวล (visual novel) ซึ่งบริษัทคีย์ (Key) ผลิตขึ้นและเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2547 สำหรับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการของวินโดวส์ ต่อมาจึงพัฒนาให้เล่นกับเพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชันแบบพกพา, เอกซ์บอกซ์ 360 และเพลย์สเตชัน 3 ได้ด้วย เกมนี้เป็นผลงานลำดับที่สามของคีย์ถัดจาก แอร์ (Air) และ แคนอน (Kanon) ตามลำดับ แต่ต่างกันตรงที่เกมทั้งสองนั้นเมื่อแรกประกอบไปด้วยเนื้อหาลามกอนาจารมุ่งเร้ากำหนัดเป็นสำคัญ ต่อภายหลังจึงทำฉบับที่ปราศจากสื่อดังกล่าววางจำหน่ายในตลาดผู้เยาว์ ขณะที่เกมนี้ไม่มีเนื้อหาทำนองเช่นว่ามาแต่ต้น และได้รับการจัดประเภทว่าเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ดี ภายหลังได้ออกตอนพิเศษของเกมนี้โดยมีเนื้อหาเร้ากามารมณ์ ชื่อ โทะโมะโยะอาฟเตอร์: อิตส์อะวันเดอร์ฟูลไลฟ์ (Tomoyo After: It's a Wonderful Life) เกมนี้ว่าด้วยชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งต้องพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาตั้งแต่เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปจนถึงเติบใหญ่ทำมาหาเลี้ยงชีพ และต้องช่วยเหลือคนเหล่านั้นแก้ไขปัญหาเป็นรายไป เนื้อหาแบ่งเป็นสององก์ต่อเนื่องกัน องก์แรกเรียก "ชีวิตวัยเรียน" (School Life) และองก์ที่สองเรียก "เรื่องราวให้หลัง" (After Story) แรกจำหน่าย ฉบับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นขายดีเป็นอันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาก็ติดอันดับเกมห้าสิบเกมที่ขายดีที่สุดในประเทศอีกหลายครั้ง เกมนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นสื่ออื่น ๆ อีกจำนวนมาก ได้แก่ มังงะสี่ชุด ชุดแรกลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร คอมิกรัช (Comic Rush) ชุดสองลง คอมิกดิจิ + (Comi Digi +) ชุดสามลง เด็งเงะกิจีส์แมกาซีน (Dengeki G's Magazine) และชุดสี่ลง แดรก็อนเอจเพียวร์ (Dragon Age Pure) นอกจากนี้ ยังมีประชุมการ์ตูน ไลท์โนเวล สมุดภาพ ละครเสียง และอัลบัมเพลงอีกหลายชุด ต่อมาบริษัทโทเอแอนิเมชัน (Toei Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโรง เข้าฉาย ณ วันที่ 15 กันยายน 2550 เป็นวันแรก และบริษัทเกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโทรทัศน์จำนวนสองฤดูกาล สี่สิบเจ็ดตอน กับโอวีเอ (original video animation) อีกสองตอน เผยแพร่ในระหว่างปี 2550 ถึง 2553 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมากทั้งในประเทศและต่างประเท.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและแคลนนาด (วิชวลโนเวล)

เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว (K-On!) เป็นมังงะซึ่งแต่งเรื่องและเขียนภาพโดย คาคิฟลาย (Kakifly) ลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารแนวเซเน็ง มังงะไทม์คิระระ (Manga Time Kirara) และนิตยสาร มังงะไทม์คิระระกะรัต (Manga Time Kirara Carat) ของสำนักพิมพ์โฮบุนชะ (Houbunsha) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ถึงเดือนตุลาคม 2553 ในประเทศญี่ปุ่น เกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ผลิตมังงะดังกล่าวเป็นอะนิเมะโทรทัศน์ ใช้ชื่อเดียวกัน ความยาวสิบสามตอน ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2552, โอวีเอความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมกราคม 2553, อะนิเมะโทรทัศน์ ฤดูกาลที่สอง ความยาวยี่สิบหกตอน ใช้ชื่อว่า เค-อง!! (K-On!!) ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน 2554, โอวีเอ ความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมีนาคม 2554, และอะนิเมะโรง ฉายตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2554 ตามลำดับ เนื้อหาต่อเนื่องกัน.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

เคียวโตะ

ียวโตะ หรือ เกียวโต อาจหมายถึง.

ดู เกียวโตแอนิเมชันและเคียวโตะ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Kyoto Animationเกียวโตอนิเมชันเกียวโตแอนนิเมชัน