เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

ดัชนี ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

ซัยน์ อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (حسين بن علي بن أﺑﻲ طالب‎; Hussein ibn ‘Alī ibn Abī Ṭālib) เกิดปี..

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 21 ความสัมพันธ์: บัสราชาวกีซาพ.ศ. 1223กัรบะลากัรบะลาอ์มุฮัมมัดมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺมุฮัรรอมยะฮฺยา บินเซดรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์วันอาชูรออ์อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบอัรบะอีนอิมาม (ชีอะฮ์)อุซามะหฺ บินเซดฮะซัน อิบน์ อะลีฮุซัยนียะหฺขนมอาซูรอเจ้าเซ็นเซด อัชชะฮีด10 ตุลาคม

บัสรา

ัสรา, แบสรา (Basra) หรือ อัลบัศเราะฮ์ (البصرة) เป็นเมืองหรืออำเภอหลักของจังหวัดบัสรา ประเทศอิรัก ตั้งในเขตชัฏฏุลอะร็อบ ริมอ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ บัสราสปอร์ตซิตี ตัวเมืองอยู่ระหว่างประเทศคูเวตและประเทศอิหร่าน ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัสราเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและบัสรา

ชาวกีซา

อัศฮาบ กิซา หมายถึง นบีมุฮัมมัด อะลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน และฮุซัยน์ ที่อัลกุรอานโองการ إِنَّما يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَ يُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيراً : ความว่า "แท้จริงอัลลอฮ์เพียงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ "กล่าวเกี่ยวกับพวกเขาไว้ อะบูสะอีด ค็อดรี รายงานจากท่านศาสดาแห่งอิสลามว่า โองการนี้กล่าวเกี่ยวกับบุคคลห้าท่าน คือ ตัวฉัน อาลี ฟาติมะฮ์ ฮะซันและฮุเซน.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและชาวกีซา

พ.ศ. 1223

ทธศักราช 1223 ใกล้เคียงกั.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและพ.ศ. 1223

กัรบะลา

กัรบาลา หรือ คาร์บาลา คือ เป็นเมืองๆหนึ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ในประเทศอิรัก -ชื่ออย่างเป็นทางการ: กัรบาลา ประเทศ: อิรัก จังหวัด: กัรบาลา เมือง: กัรบาลา -ชื่อท้องถิ่น: นัยนะวา -ชื่อเก่า: นัยนะวา -กลายเป็นเมืองในปี: 61 ฮิจเราะฮ์ศักราช - ประชากร ประชากร: 572300 คน ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร: อาหรับ นิกาย: อิสลาม,ชีอะฮ - ภูมิศาตร์ทางธรรมชาติ พื้นที่: 52856 ตารางกิโลเมตร - ศูนย์กลางของจังหวัดกัรบาลา คือ กัรบาลา เมืองนี้ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิรัก, -จำนวนประชากรทั้งหมด 570300 คน -ถูกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ แม่น้ำฟูรอดและมีความห่างกับเมืองแบกแดดราว 97 กิโลเมตร.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและกัรบะลา

กัรบะลาอ์

กัรบะลาอ์ (كَرْبَلَاءกัร ในที่นี้ไม่อ่าน กัน แต่อ่านออกเสียงเป็น การ์ แต่ตัดให้เสียงสระอะสั้นลง, کربلاء) บ้างก็อ่าน คาร์บาลา หรือ เคอร์บาลา เป็นเมืองหรืออำเภอเอกของจังหวัดกัรบะลาอ์ ตั้งทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิรัก ด้านตะวันออกของทะเลสาบมิลห์ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มขนาดใหญ่ ห่างจากกรุงบัฆดาดประมาณ เมืองนี้รู้จักกันดีในฐานะสถานที่ยุทธการที่กัรบะลาอ์ หรือฆัซวัตกัรบะลาอ์อักษร ฮาห์ ة นั้นลงท้ายคำใด จะกลายเป็น /ต/ เมื่อมีคำต่อจากนั้น ถ้าไม่มีคำต่อจากนั้นก็คงเป็นสระอะตามปกติ (غَـزوَة كَـربَـلَاء) เมื่อ พ.ศ.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและกัรบะลาอ์

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและมุฮัมมัด

มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ

มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ (Muhammad ibn al-Hanafiyyah) เป็นบุตรชายของท่านอิมามอะลีย์กับนางเคาละหฺ บินตุญะอฺฟัร แห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ นางจึงได้รับการเรียกขานว่า อัลฮะนะฟียะหฺ (สตรีแห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ) เมื่อครั้งที่ชาวยะมามะหฺ ถูกกองทัพของอะบูบักรฺโจมตี ฐานละเมิดกฎบัญญัติศาสนา ไม่จ่ายซะกาต พวกเขาถูกจับเป็นเชลยมาที่เมืองมะดีนะหฺ ในนั้นมีนางเคาละหฺร่วมอยู่ด้วย ผู้คนในเผ่าฮะนีฟะห์จึงขอร้องอิมามอะลีย์ให้ช่วยเหลือนางไม่ให้ถูกขายเป็นทาส อิมามอะลีย์จึงไถ่นางให้พ้นจากมือของพวกที่จับกุมนาง และสมรสกับนางในเวลาต่อมาจนกระทั่งนางได้บุตรกับอิมามอะลีย์นั่นคือมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ มุฮัมมัดเป็นบุรุษผู้ทรงคุณธรรม มีความรู้ ปลีกตนอยู่กับการบูชาอัลลอหฺ อีกทั้งยังมีความกล้าหาญเหมือนบิดา จนขึ้นชื่อลือชาในอาหรับ ในสงครามอูฐนั้น มุฮัมมัดผู้มีอายุราว 26 ปี ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมเกียรติจนบิดาภาคภูมิใจ อิมามอะลีย์ ให้เหตุผลที่ให้มุฮัมมัดเป็นแม่ทัพวันนั้นไม่ให้แก่ฮะซันและฮุเซนเพราะว่า "มุฮัมมัดเป็นบุตรของฉัน ส่วนฮะซันและฮุเซนเป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ! มุฮัมมัดเกิดในราวปี..ที่ 15 ต้นสมัยการปกครองของคอลีฟะหฺอุมัร และสิ้นชีวิตในปี..

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ

มุฮัรรอม

มุฮัรรอม (محرم) หรือที่คนไทยบางคนรู้จักกันในนาม "มะหะหร่ำ" เป็นเดือนแรกของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมชีอะฮ์ไว้อาลัยต่ออิมามฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด ตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 10 หรือที่เรียกว่าวันอาชูรออ์ มุสลิมในประเทศไทยและมาเลเซียจะร่วมกันทำขนมบูโบซูรอ หรือที่ชาวชีอะฮ์ในไทยเรียกว่า "หะยีส่า".

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและมุฮัรรอม

ยะฮฺยา บินเซด

นเซด (يحيى بن زيد, Yahya ibn Zayd) เป็นบุตรชายเซด บุตรของ อิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรของ อิมาม ฮุเซน บุตรของ อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ สืบสกุลนบีมุฮัมมัด ทางฟาฏิมะหฺ ธิดานบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นภรรยาของอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เมื่อยะฮฺยามีอายุ 18 ปี ได้เข้าร่วมปฏิวัติต่อต้านทรราชย์แห่งตระกูลอุมัยยะหฺ แต่บิดาและพรรคพวกได้รับความปราชัย บิดาเสียชีวิตในสงคราม เดือนศอฟัร..

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและยะฮฺยา บินเซด

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

วันอาชูรออ์

อาชูรออฺ แปลว่า วันที่ 10 ในที่นี้คือวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม(เดือนแรกของอิสลาม).

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและวันอาชูรออ์

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (علي بن أﺑﻲ طالب; ʿAlī ibn Abī Ṭālib) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเล.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

อัรบะอีน

รรดามุสลิมหลายล้านคนชุมนุมกันรอบ ๆ มัสยิดฮุซัยน์ในเมืองกัรบะลาอ์ อัลอัรบะอีน (الأربعين) หรือ ชะฮ์ลัม (چهلم, چہلم) แปลตรงตัวว่าสี่สิบ เป็นศาสนพิธีของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งจัดขึ้นหลังจากวันอาชูรออ์เป็นเวลา 40 วัน หรือวันที่ 20 เศาะฟัร เพื่อรำลึกถึงการวายชนม์ของฮุซัยน์บุตรอะลี ซึ่งแข็งข้อไม่ยอมขึ้นต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์จนต้องถูกตัดศีรษะในยุทธการกัรบะลาอ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและอัรบะอีน

อิมาม (ชีอะฮ์)

อิมาม เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ผู้นำ ซึ่งในทัศนะของชาวมุสลิมชีอะฮ์ หมายถึงบุคคลที่นบีมุฮัมมัดได้แต่งตั้งให้เป็นผู้นำหลังจากท่านเสียชีวิต บรรดาอิมามเหล่านี้จะเป็นผู้อธิบายความหมายของสาส์นอิสลามให้แก่ชนร่วมสมัย ยามใดที่พวกเขาเหล่านั้นไม่อยู่หรือเสียชีวิต ผู้ที่จะทำหน้าที่แทนก็คือบรรดาผู้ที่มีคุณวุฒิสูงสุด เรียกว่า มุจญ์ตะฮิด ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอานและหะดีษ อิมามสิบสองท่าน อิมามียะหฺ หรือ ญะอฺฟะรียะหฺ เป็นชื่อเรียกชาวชีอะฮ์ใช้เรียกอิมามสูงสุด ที่นบีมุฮัมมัดแต่งตั้งมา มี 12 คน ได้แก.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและอิมาม (ชีอะฮ์)

อุซามะหฺ บินเซด

อุซามะหฺ บินเซด บินฮาริษะหฺ (أسامة بن زيد, Usama ibn Zayd) การสะกดอื่น ๆ อุสามะหฺ สาวกของท่านนบีมุฮัมมัดที่สำคัญคนหนึ่ง มารดาของท่านอุซามะหฺมีชื่อว่า บะร่อกะหฺ อัลฮะบะชียะหฺ ทาสดำจากฮะบะชะหฺ (อบิสสิเนีย) มีฉายาว่า อุมมุอัยมันนางเคยเป็นทาสของนาง อามินะหฺ บินติวะหับ ซึ่งเป็นมารดาของท่านนบีมุฮัมมัด เคยเป็นพี่เลี้ยงดูท่านนบีในขณะที่ยังเล็กอยู่ ท่านนบีจึงรัก อุมมุ อัยมันมาก ส่วนบิดาของอุซามะหฺคืออดีตบุตรบุญธรรมของท่านนบีและผู้ที่ท่านนบีรัก นั่นคือ เซด บินฮาริษะหฺ ซึ่งในอดีตเป็นทาสของท่านหญิงคอดีญะหฺ แต่ท่านนบีได้ปลดให้เป็นไท ถึงกระนั้นเซด ก็ไม่ยอมกลับไปถิ่นฐานเดิม แม้ว่าพ่อของเขาจะเดินทางมาอ้อนวอนให้กลับไปก็ตาม หากประวัติศาสตร์ถูกต้อง อุมมุอัยมันผู้เป็นแม่ของอุซามะหฺก็คงจะมีอายุมากกว่าบินเซดหลายปี เพราะหากสมมุติว่าอุซามะหฺมีอายุราว 20 ปีในปี..ที 11 อุซามะหฺก็คงจะเกิดในราวปีที่ 9 ก่อนฮิจญ์เราะหฺ หลังจากอุมมุอัยมันเสียชีวิต ท่านนบีได้สู่ขอ นางซัยนับ ผู้ลูกพี่ลูกน้องของท่านให้แต่งงงานกับเซดฺ แต่การแต่งงานก็ยืนยาวไปไม่ได้นาน เพราะ นางซัยนับ ไม่อาจทำใจยอมรับผู้ที่เคยเป็นทาสมาเป็นสามีได้ จนอัลลอหฺได้ทรงประทานโองการอัลกุรอานลงมาสะสางกรณีพิพาทอันนี้ เซด บิดาของอุซามะหฺจึงเป็นสาวกเพียงคนเดียวที่อัลกุรอานระบุชื่อไว้เป็นอมตะนิรันดร์ เมื่ออุซามะหฺเป็นโตเป็นหนุ่ม อุซามะหหฺมีบุคลิกดี มีมรรยาทเรียบร้อย เป็นคนฉลาดหลักแหลมกล้าหาญ เป็นผู้มักน้อยและเป็นที่รักใคร่ชื่นชมของบุคคลทั่วไป เป็นผู้ยำเกรงอัลลอหฺ นอบน้อม ถ่อมตน ในวันเกณฑ์ทัพสู่สมรภูมิ“อุฮุด” ในเดือนมีนาคม 625 อุซามะหฺ พร้อมกับเยาวชนกลุ่มหนึ่ง ได้เข้ามาหาท่านร็อซูลเพื่ออาสาสมัครเข้าร่วมศึกด้วย แต่ท่านรอซูลไม่ได้รับไว้ทั้งหมด เนื่องจากพวกเขาส่วนมากยังเป็นเด็กอยู่ ซึ่งอุซามะหฺก็เป็นหนึ่งในจำนวนเด็ก ๆ ที่ท่านนบีไม่อนุญาตให้ออกศึก อุซามะหฺ ผิดหวังร้องไห้ด้วยความเสียใจ ต่อมาเมื่อชาวมุชริกูนมักกะหฺยกทัพมาหมายตกรุงมะดีนะหฺ ในเดือนเมษายน..

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและอุซามะหฺ บินเซด

ฮะซัน อิบน์ อะลี

อัลฮะซัน อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (الحسن بن علي بن أﺑﻲ طالب; Al-Hasan ibn ‘Alī ibn Abī Tālib; ค.ศ. 624–669 / ฮ.ศ. 3-50) เป็นพี่ชายของอิมามฮุซัยน์ อิบน์ อะลี และเป็นบุตรของอิมามอะลี กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ(อ) บุตรีนบีมุฮัมมัด ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวเกี่ยวกับหลานรักทั้งสองอีกว่า "ฮะซันและฮุซัยน์เป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์" อิมามฮะซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอิมามตามคำสั่งเสียของท่านศาสดา ซึ่งเหล่าศรัทธาชนก็ได้ให้สัตยาบันกับท่าน ท่านขึ้นปกครองอาณาจักรอิสลามได้เพียงหกเดือนเศษ ในเวลานั้นซีเรียและอียิปต์ที่อยู่ในการปกครองของมุอาวิยะหฺ บุตรอะบูสุฟยาน มิได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อการปกครองของอิมามฮะซัน อิมามฮะซันได้เตรียมกำลังทหารเพื่อปราบปรามมุอาวิยะหฺ ผู้ตั้งตนเป็นกบฏและก่อกวนความสงบสุขของอาณาจักรอิสลามตั้งแต่สมัยอิมามอะลี ผู้เป็นบิดา ทว่าท่านต้องยกเลิกแผนการอันนี้ เพราะทราบว่าทหารของท่านมีใจโอนเอียงฝักใฝ่อยู่กับมุอาวะยะหฺ และรอคำสั่งจากมุอาวิยะหฺ ว่าจะให้จัดการกับท่านอิมามอย่างไร จะสังหารท่านหรือจับกุมส่งท่านไปให้มุอาวิยะหฺ ด้วยเหตุนี้เองอิมามฮะซันจึงต้องจำยอมเลือกวิธีการประนีประนอมด้วยการทำสนธิสัญญาหย่าศึก แต่ต่อมามุอาวิยะหฺก็บิดพลิ้วสนธิสัญญา เขาได้เดินทางมายังอิรัก แล้วขึ้นมินบัรในมัสยิดกูฟะหฺ เพื่อกล่าวปราศรัยกับประชาชนว่า "โอ้ประชาชน ฉันไม่ต้องการทำสงครามกับพวกท่านในเรื่องของศาสนา ว่าต้องทำนมาซหรือถือศีลอด เพียงแต่ฉันต้องการขึ้นเป็นผู้ปกครองเท่านั้นเองและฉันก็ถึงเป้าหมายของฉันแล้ว ส่วนสัญญาที่ลงนามร่วมกับฮะซันบุตรของอะลีนั้น มันไม่มีความหมายสำหรับฉันเลย ฉันตั้งมันไว้ใต้ฝ่าเท้าของฉัน" อิมามฮะซันต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของมุอาวิยะหฺนานถึง 9 ปี.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและฮะซัน อิบน์ อะลี

ฮุซัยนียะหฺ

ซัยนียะหฺ, ฮุซัยนียะห์ จากภาษาอาหรับ แปลว่า บ้านเรือนแห่งฮุเซน หมายถึงสถานที่ ๆ ชาวมุสลิมชีอะหฺใช้ประกอบพิธีไว้อาลัยอิมามฮุเซน ในวันอาชูรออ์ หรือใช้เป็นสถานที่พบปะ และสอนธรรมะแห่งศาสนาอิสลาม ในภาษาเบงกาลีเรียกว่า อิมามบารา (ตำหนักอิมาม) ในอินเดียเหนือเรียกว่า อาชูรอคอนา (เรือนอาชูรออ์).

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและฮุซัยนียะหฺ

ขนมอาซูรอ

Aşure ของชาวตุรกี Aşure ของชาวตุรกี ขนมอาซูรอหรือขนมบูโบร์ซูรอ (ภาษาตุรกี:Aşure) เป็นขนมที่ชาวไทยมุสลิมทำขึ้นในวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ขนมชนิดนี้เป็นขนมที่ได้จากการนำอาหารหลายอย่างมารวมกันแล้วกวนให้เป็นเนื้อเดียวกันคล้ายขนมเปียกปูน ประเพณีการกวนขนมอาซูรอเริ่มจากเจ้าภาพประกาศเชิญชวนชาวบ้านว่าจะมีการกวนขนม เมื่อถึงวันนัดหมาย ชาวบ้านจะนำเครื่องปรุงขนมมารวมกันและช่วยกันกวน เมื่อเสร็จแล้วจะกล่าวขอพรพระเจ้า แล้วจึงแบ่งขนมไปกินกัน เครื่องปรุงขนมที่ใช้ได้แก่ เครื่องแกง ข้าวสาร น้ำตาล กะทิ และของที่กินได้อื่นๆ เช่น มัน กล้วย ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ เทศกาลดังกล่าวนี้เป็นเทศกาลอาชูรออ์ของชาวชีอะหฺที่ไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุเซน ชาวตุรกีเรียกขนมที่ทำในเทศกาลนี้ว่า Aşure หรือพุดดิ้งของโนอาห์ ซึ่งจะประกอบด้วยธัญพืช ผลไม้และถั่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นขนมที่ครอบครัวของโนอาห์ทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการที่พวกเขามาถึงภูเขาอารารัต ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกี ชาวตุรกีทำขนมนี้ในวันอาชูรออ์ เพื่อระลึกถึงการสิ้นสุดของสงครามที่คัรบาลา สูตรการทำขนมนี้ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและขนมอาซูรอ

เจ้าเซ็น

เจ้าเซ็น หรือ แขกเจ้าเซ็น คือ มุสลิมชีอะหฺในประเทศไทย มีเชื้อสายมาจากเปอร์เซีย ที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่ามุสลิมเหล่านี้ไว้อาลัยให้แก่ฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัดในวันอาชูรออ์ ซึ่งได้แก่วันที่ 10 มุฮัรรอมทุกปี ลูกหลานแขกเจ้าเซ็นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เรียกว่าเจ้าเซ็น สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า "ยาฮุเซน" ซึ่งเป็นคำที่ผู้ไว้อาลัยต่อฮุเซนกล่าวในพิธี หมวดหมู่:ศาสนาอิสลามในประเทศไทย.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและเจ้าเซ็น

เซด อัชชะฮีด

ซด หรือ ซัยดฺ อัชชะฮีด เจ้าของมัซฮับซัยดีย์ เป็นบุตรของอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรอิมามฮุเซน บุตรของอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เกิดในนครมะดีนะหฺ เมื่อรุ่งอรุณของวันหนึ่งในราวปี..

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและเซด อัชชะฮีด

10 ตุลาคม

วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันที่ 283 ของปี (วันที่ 284 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 82 วันในปีนั้น.

ดู ฮุซัยน์ อิบน์ อะลีและ10 ตุลาคม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Husain ibn AliHusayn bin AliHusayn ibn AliHussain ibn AliHussein bin AliImam HusainImam HusaynImam HussainImam Husseinอิมามฮุเซนฮุเซนฮุเซน บินอะลีย์