สารบัญ
41 ความสัมพันธ์: พิภพนิรันดรภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิสรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้าลีโตวีรบุรุษผู้สาบสูญวีรบุรุษแห่งโอลิมปัสสฟิงซ์สงครามกรุงทรอยอาร์ทิมิสอีเลียดฮิฟีสตัสฮีบี (เทพปกรณัม)จูโนธีบส์ (กรีซ)ทีธิสดวงจันทร์ของกาลิเลโอดาราจักรดิมีเทอร์งูหลามบอลงูเหลือม (สกุล)ซิซิฟัสซูสซีมีลีซีรีสนิกซ์แกนีมีด (เทพปกรณัม)แอรีสโพไซดอนไพทอนไมซีนีไอโอไอโอ (ดาวบริวาร)เบอร์เซิร์กเกอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)เรียเฮราบาร์แบรินีเฮราคลีสเฮสเตียเฮดีสเทพปกรณัมโรมันเทวสภาโอลิมปัส103 เฮรา
พิภพนิรันดร
นิรันดร เป็นชุดหนังสือที่เขียน.
ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส
ระราชินีมารี เดอ เมดีซิส (Marie de' Medici cycle) เป็นภาพเขียนชุดจำนวนยี่สิบสี่ภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรคนสำคัญของสมัยบาโรกแบบเฟลมิช ที่ว่าจ้างโดยพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส พระอัครมเหสีในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สำหรับตั้งแสดงที่พระราชวังลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รือเบินส์ได้รับการจ้างในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ.
ดู ฮีราและภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส
รายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า
ตัวละครในเรื่องอินาสึมะอีเลฟเวน ได้ปรากฏอยู่ในวิดีโอเกมและภาพยนตร์อะนิเมะจึงได้รวบรวมตัวละครต่าง ๆ ในแต่ละภาคทั้ง อินาสึมะอีเลฟเวน, อินาสึมะอีเลฟเวน 2 เคียวอิ โนะ ชินเรียคุฉะ, อินาสึมะอีเลฟเวน 3 เซไคเอะ โนะ โชวเซน!!, ภาพยนตร์อะนิเมะ และหนังสือการ์ตูน.
ดู ฮีราและรายชื่อตัวละครในนักเตะแข้งสายฟ้า
ลีโต
ทพีลีโต Λητώ; Lētṓ เป็นธิดาแห่งเทพไททัน เซอัส (Coeus) และฟีบี (Phoebe) ในเทพปกรณัมกรีก เทพซูสได้นางเป็นชายาอีกองค์ เมื่อเทพีเฮรารู้เข้าจึงกริ้วมาก จึงไล่ลีโตไปจากโอลิมปัส และยังสาปแช่งว่า ใครก็ตามที่ให้ที่พักแก่นาง ขอให้ประสบความอดอยาก จนถึงแก่ความตาย แล้วยังให้งูยักษ์ไพธอน ไล่ทำร้ายนางอีกด้วย แต่เนื่องด้วยว่า เทพีลีโตเป็นเทพี จึงไม่ตาย แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับบาดเจ็บ เทพซุสที่เฝ้ามองอยู่เกิดความสงสารมาก จึงให้เทพโพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล ช่วยเหลือ โพไซดอนพานางไปยังเกาะดีลอส ซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของโพไซดอน นางประทับอยู่ที่เกาะนี้จนให้กำเนิดบุตรฝาแฝด คือ เทพอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ และเทพีฝาแฝดผู้พี่ เทพีอาร์เทมิส เทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งต่อมาเทพอพอลโล ได้กำจัดงูไพธอนจนถึงแก่ความตาย จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว.
ดู ฮีราและลีโต
วีรบุรุษผู้สาบสูญ
วีรบุรุษผู้สาบสูญ (The Lost Hero) เป็นวรรณกรรมในชุดวีรบุรุษแห่งโอลิมปัส ประพันธ์โดยริก ไรออร์แดน.
วีรบุรุษแห่งโอลิมปัส
วีรบุรุษแห่งโอลิมปัส (The Heroes of Olympus) เป็นวรรณกรรมเยาวชนขนาด 5 เล่มจบ ประพันธ์โดยริก ไรออร์แดน ซึ่งเป็นวรรณกรรมภาคต่อของวรรณกรรมชุดเพอร์ซีย์ แจ็กสัน โดยนวนิยายเล่มสุดท้ายของวรรณกรรมชุดนี้ โลหิตแห่งโอลิมปัส ได้รับการตีพิมพ์ในวันที่ 7 ตุลาคม..
ดู ฮีราและวีรบุรุษแห่งโอลิมปัส
สฟิงซ์
ฟิงซ์ (Sphinx) เป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของสัตว์หลายชนิดรวมอยู่ในตัวเดียวกันตามความเชื่อของคนแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ สฟิงซ์เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในหลายวัฒนธรรม.
สงครามกรุงทรอย
"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ (Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.
อาร์ทิมิส
อาร์ทิมิส (Artemis,; Ἄρτεμις) เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p.
อีเลียด
ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.
ฮิฟีสตัส
ฟีสตัส (Ἥφαιστος) (Hephaestus) เป็นเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟWalter Burkert, Greek Religion 1985: III.2.ii; see coverage of Lemnos-based traditions and legends at Mythic Lemnos) ภาคโรมัน คือ วัลแคน ในเทพปกรณัมกรีก ฮีฟีสตัสเป็นพระโอรสของซูสกับพระนางฮีรา หรือบางตำราก็ว่าท่านเกิดมาแต่เฉพาะเทวีฮีรา และมีแอฟโฟรไดทีเป็นชายา ฮิฟีสตัสเป็นเทพช่างตีเหล็ก ทรงประดิษฐ์อาวุธทั้งหมดของพระเจ้าบนโอลิมปัส พระองค์เป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ และทรงได้รับการบูชาในศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมของกรีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเอเธนส์ ลัทธิบูชาฮีฟีสตัสมีศูนย์กลางในเลมนอส ฮิฟีสตัสมีลักษณะเด่นคือเป็นเทพพิการ มีขาไม่สมประกอบ มีกริยาอาการเหมือนคนทุพพลภาพ และถือเครื่องมือช่างตลอดเวลา ท่านจึงได้รับฉายาเรียกหลายอย่างที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพ เช่น.
ฮีบี (เทพปกรณัม)
ทพีฮีบี ฮีบี (Hebe; Ήβη) เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้ากรีกที่เทียบเท่ากับจูเวนทัสในตำนานเทพเจ้าโรมัน เทพีฮีบีเป็นเทพีแห่งความเยาว์วัยผู้เป็นบุตรีของเทพซูสและเทพีฮีรา ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้ถวายพระสุทธารส (cupbearer) สำหรับเทพและเทพีแห่งยอดเขาโอลิมปัส คู่กับแกนีมีด จนกระทั่งแต่งงานกับเฮราคลี.
จูโน
ูโนในพิพิธภัณฑ์วาติกัน เทพีจูโน (Juno) เป็นเทพีในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพีเฮราในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพีจูโนเป็นเทพีผู้พิทักษ์ที่ปรึกษาของรัฐ เป็นธิดาของเทพแซทเทิร์น และเป็นน้องสาว (และภรรยา) ของเทพจูปิเตอร์และแม่ของเทพจูเวนตัส (Juventus), เทพมาร์ส และเทพวัลคัน เทพีจูโนเป็นเทพีผู้พิทักษ์กรุงโรมและจักรวรรดิโรมันที่บางครั้งก็เรียกว่าเรจินา (พระราชินี) เทพีจูโน เทพจูปิเตอร์ และ เทพีมิเนอร์วาเป็นสามเทพที่สักการะบนจูโนคาพิโตลินา (Juno Capitolina) ในกรุงโรม.
ดู ฮีราและจูโน
ธีบส์ (กรีซ)
ีบส์ (Thebes.; Θῆβαι,Thēbai,: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญๆของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบๆธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อน..
ทีธิส
เทพีทีธิส เป็นหนึ่งในเหล่าเทพไททัน บุตรของเทพีไกอา และเทพยูเรนัส พระนางเป็นเทพแห่งท้องน้ำ ที่มักจะถูกสับสนกับนิมฟ์ ชื่อว่าธีทิส ซึ่งเป็นมารดาของ อะคิลิส วีรบุรุษในสงครามแห่งทรอย เทพีทีธิสไม่ได้ปรากฏในเทพปกรณัมกรีกมากนัก ทราบเพียงแต่ว่าพระนางเป็นทั้งมเหสีและขนิษฐา (น้องสาว)ของโอเชียนัส มีบุตรและธิดามากมาย รวมถึงเหล่านีริอิด ภูติแห่งสายน้ำด้วย บางตำนานได้กล่าวถึงเทพีทีธิสว่าเป็นเทพีผู้ดูแลเทพีเฮราในยามวัยเยาว์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.
ดู ฮีราและทีธิส
ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ
แกนิมีด คัลลิสโต ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) คือดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอีช่วงเดือนมกราคม..
ดู ฮีราและดวงจันทร์ของกาลิเลโอ
ดาราจักร
ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.
ดิมีเทอร์
ในศาสนาและตำนานกรีกโบราณ ดิมีเทอร์ (Demeter, /dɨˈmiːtɚ/; Δημήτηρ) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ผู้ดูแลธัญพืชและความอุดมสมบูรณ์ของปฐพี ชื่อลัทธิบูชาของพระนางรวมถึงซิโต (Σιτώ) "สตรีแห่งธัญพืช" ในฐานะผู้ประทานอาหารหรือธัญพืช และเธสมอฟอรอส (θεσμός "thesmos": ระเบียบสวรรค์, กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร; "phoros": ผู้ให้, ผู้ถือ) "ผู้ประทานกฎหมาย" โดยเป็นเครื่องหมายการดำรงอยู่ของสังคมเกษตรกรรมอารยะThemis was an ancient Greek goddess, embodiment of divine order, law.
งูหลามบอล
งูหลามบอล หรือที่นิยมเรียกว่า บอลไพธอน (Ball python) เป็นงูในวงศ์งูหลาม งูเหลือม (Pythonidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python regius โดยที่ไม่มีชนิดย่อ.
งูเหลือม (สกุล)
งูเหลือม หรือ งูหลาม (Pythons) เป็นสกุลของงูไม่มีพิษในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Python (/ไพ-ธอน/) มีทั้งหมด 10 ชนิด (ดูในตาราง) แพร่กระจายพันธุ์ทั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลีย ในแอฟริกาพบได้ตั้งแต่ใต้ทะเลทรายซาฮาราลงไป จนถึงแอฟริกาตอนใต้ และพบในเกาะมาดากัสการ์ ในเอเชีย พบได้ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะกลางทะเล และบางส่วนในเอเชียตะวันออก เช่น ภาคใต้ของจีน, ฮ่องกง และเกาะไหหลำ เป็นงูที่ใช้พละกำลังจากกล้ามเนื้อที่ลำตัวรัดเหยื่อจนกระดูกหักและขาดใจตาย ก่อนจะกลืนกินเข้าไปทั้งตัว ในบางครั้งที่เหยื่อมีขนาดใหญ่อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง โดยเหยื่อที่กินส่วนมากจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์ปีก แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ หาเหยื่อได้ทั้งบนดิน, ต้นไม้ และในน้ำ ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด โดยคำว่า Python นั้น มาจากภาษากรีก คือคำว่า "πύθων/πύθωνας" มีที่มาจากเทพปกรณัมกรีก เมื่อมหาเทพซูสได้มีจิตปฏิพัทธ์ต่อ นางเลโต ทำให้ เทพีฮีรา มเหสีเอกเกิดความหึงหวงจึงกลั่นแกล้งด้วยการส่ง งูเหลือมที่เลี้ยงไว้ไปตามรังควาน นางจึงต้องอุ้มครรภ์หนีซอกซอนไปจนถึงเกาะดีลอส โปเซดอนมีความสงสารบันดาลให้เกาะผุดขึ้นในทะเล เพื่อให้นางได้ประสูติ เทพอพอลโล กับ เทพีอาร์เตมิส บนเกาะนั้น ทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา เทพอพอลโล ก็จับงูเหลือมฆ่าทิ้งเสีย จึงได้รับการขนานนามว่า ไพธูส (Pytheus) ซึ่งแปลว่า “ผู้สังหารงูเหลือม”.
ซิซิฟัส
ซิซีฟัส (Sisyphus) เป็นพระราชาแห่งโครินธ์ มีพระมเหสี ชื่อ มีโรพี (Merope) มีพระโอรสคือ เจ้าชายกลอคัส ซึ่งต่อมาได้ครองราชสมบัติ ต่อจากพระบิดา ซึ่งกลอคัส มีลูกคือเบลเลอโรฟอน ผู้ปราบเพกาซัสและสังหารนางไคเมร่า ซิซีฟัสเป็นพระราชาที่เจ้าเลห์จอมอุบาย ที่ไม่กลัวต่อเหล่าปวงเท.
ซูส
ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.
ดู ฮีราและซูส
ซีมีลี
ซูสและซีมีลี โดยกุสตาฟ มอโร ซีมีลี (Semele) ในตำนานเทพเจ้ากรีก ซีมีลีเป็นธิดาของแคดมุสและฮาร์โมเนีย เป็นมนุษย์ที่มีความสง่างามมากจึงเป็นที่ถูกใจของเทพซูส แต่เทพซูสกลัวว่านางเฮรา มเหสีเอกของตนจะจับได้ จึงกลายร่างเป็นชายหนุ่มรูปงามและได้มีความสัมพันธ์กันและได้นางซีมีลีมาเป็นชายาอีกองค์ ต่อมานางเฮราได้พบเข้า จึงแปลงกายเป็นหญิงชราซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของนางซีมีลี และได้สอบถามว่าใครคือพ่อของลูกในท้องของนางซีมีลี นางซีมีลีจึงบอกว่าเป็นเทพซูสแห่งเขาโอลิมปัส นางเฮราจึงคิดกลอุบายให้นางซีมีลีไปสัญญาต่อแม่น้ำสติ๊กซ์ เมื่อเทพซูสได้ทราบเรื่องแล้วจึงไม่อาจจะขัดขืนได้จึงแปลงกายกลับ จึงทำให้รัศมีที่เจิดจ้าทำให้นางซีมีลีถูกแสงรัศมีเผาจนหมด ส่วนเทพซูสนั้นรีบเก็บครรภ์ของนางซีมีลีไว้ที่ต้นขา เนื่องจากกลัวว่านางเฮราจะจับได้ ต่อมาซูสได้ตั้งชื่อบุตรว่าไดโอไนซูส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นหรือไวน์ หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.
ซีรีส
ซีรีส หรือ เซเรส (Ceres) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม..
ดู ฮีราและซีรีส
นิกซ์
นิกซ์ หรือ นุกซ์ (Nyx; Νύξ, นุกซ์; Nox แปลว่า กลางคืน) เป็นหนึ่งในเทพดั้งเดิม (protogenoi)ในเทพปกรณัมกรีก นิกซ์เป็นเทพีแห่งราตรีซึ่งเกิดจากเคออสและเป็นคู่ของเอเรบัส (ความมืด) นิกซ์เป็นมารดาของเทพตัวแทนปรากฎการณ์ธรรมชาติ อีกหลายองค์ ซึ่งรวมถึงทานาทอส (ความตาย) และฮิปนอส (นิทรา) มีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผู้งดงามและทรงอำน.
ดู ฮีราและนิกซ์
แกนีมีด (เทพปกรณัม)
ทพซูสแปลงร่างเป็นเหยี่ยว ลักพาตัวแกนีมีด วาดโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ปี 1611 แกนีมีด (Γανυμήδης, ''Ganymēdēs''.) ในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย และ เป็นบุตรชายคนเล็กของกษัตริย์ทรอส แห่งดาร์ดาเนีย, มีพี่ชายสองคนคือ อิลัส (Ilus) ซึ่งในอนาคตอิลัสจะเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอิลิออส หรือ อิลิออน ซึ่งต่อมาเรียกกันในนามเมืองทรอยนั่นเอง (กรีก : Ἴλιον, Ilion หรือἼλιος, Ilios; และ Τροία, Troia; ละติน :Trōia และ Īlium) และ อัสซาราคัส (Assaracus), โฮเมอร์ได้พรรณาเกี่ยวกับแกนิมีดเอาไว้ว่า เป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามที่สุดในเหล่ามนุษย์ทั้งปวง, แกนิมีดถูกลักพาตัวไปโดย เทพซูสที่จำแลงร่างกลายเป็นอินทรีย์ยักษ์ โฉบเอาตัวแกนิมีดจากภูเขาไอดาในแคว้นไฟรเจีย ไปเป็นผู้รับใช้ บนเขาโอลิมปัส ทำหน้าที่เป็นผู้ถวายพระสุธารส (cupbearer) แทนที่เทพีเฮบี เทพีแห่งความเยาว์วัย ธิดาของซูสและฮีรา ชื่อ แกนีมีด ถูกนำมาใช้เป็นชื่อดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.
แอรีส
แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p.
ดู ฮีราและแอรีส
โพไซดอน
ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.
ไพทอน
ทอน (python) อาจหมายถึง.
ดู ฮีราและไพทอน
ไมซีนี
มซีนี (Μυκῆναι or Μυκήνη อ่านว่า มูแคไน หรือ มูแคแน; Mycenae) คือเมืองโบราณสมัยสำริดก่อนยุคเฮเลนิก (อารยธรรมกรีซโบราณนับแต่กรีซยุคอาร์เคอิกป็นต้นมา) ตั้งอยู่ในเนินเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบอาร์กอส ในเพโลพอนนีส มีกำแพงสร้างอยู่โดยรอบ ปัจจุบันเป็นสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดีที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์กรยูเนสโก ในสหัสวรรษที่สองก่อน..
ไอโอ
อโอ (Io, Ἰώ) สามารถหมายถึง.
ดู ฮีราและไอโอ
ไอโอ (ดาวบริวาร)
อโอ ไอโอ (Io, Ἰώ) เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นดวงที่อยู่ในสุดในกลุ่มดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม..
เบอร์เซิร์กเกอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)
อร์เซิร์กเกอร์ เป็นตัวละครสมมติจากตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ โดย ไทป์-มูน สำหรับ เสียงพากย์ ของเบอร์เซิร์กเกอร์นั้นคือเสียงของ ไซเซน ทาดาฮิสะ ในภาษาญี่ปุ่น ส่วนภาษาอังกฤษนั้นเป็นของ ไมเคิล แม็คคอนน.
ดู ฮีราและเบอร์เซิร์กเกอร์ (มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์)
เรีย
รีย เรีย หรือ เรอา (Rhea) เป็นเทพีไททัน ซึ่งเป็นธิดาของเทพยูเรนัสกับเทพีไกอา พระนางแต่งงานกับโครนัส เทพไททันผู้เป็นพี่ชาย และได้รับการขนานนามว่า "เทพมารดา" รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 อง.
ดู ฮีราและเรีย
เฮราบาร์แบรินี
ราบาร์แบรินี หรือ จูโนบาร์แบรินี (Barberini Hera หรือ Barberini Juno) เป็นประติมากรรมท่าหนึ่งของเทพีเฮรา หรือ เทพีจูโนในท่ายืน สวมมงกุฎ และเครื่องแต่งกายแบบเพพลอส (Peplos) ที่แนบร่างและเลื่อนลงมาจากไหล่ซ้ายจนเกือบจะเห็นหน้าอก มือขวาถือคทา และมือซ้ายถือจานพาเทรา (Patera) ชื่อ “เฮราบาร์แบรินี” ตั้งตามชื่อผู้เป็นเจ้าของซึ่งคือตระกูลบาร์แบรินี งานชิ้นนี้เป็นงานก็อปปีจากประติมากรรมกรีก ที่อาจจะแกะโดยอาลคาเมนีส ในปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ปิโอ-เคลเมนติโนของกลุ่มพิพิธภัณฑ์วาติกันที่กรุงโรมประเทศอิตาลี.
เฮราคลีส
''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.
เฮสเตีย
ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (Hestia; Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p.
เฮดีส
(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.
ดู ฮีราและเฮดีส
เทพปกรณัมโรมัน
ทพีเซเรสเทพีผู้พิทักษ์การเจริญเติบโตของธัญพืช เทพปกรณัมโรมัน หรือ เทพปกรณัมละติน (Roman mythology หรือ Latin mythology) หมายถึงความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าของผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลาติอุมและเมืองสำคัญๆ ในคาบสมุทรอิตาลีของโรมันโบราณ ที่อาจจะแบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งที่เป็นความเชื่อสมัยต่อมาและความเชื่อทางวรรณกรรมที่ประกอบด้วยความเชื่อที่มาจากเทพปกรณัมกรีก อีกส่วนหนึ่งเป็นความเชื่อเดิมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอิทธิพลกรีกที่มีลักษณะที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับเทพปกรณัมกรีกในสมัยต่อม.
เทวสภาโอลิมปัส
ในเทพปกรณัมกรีก เทวสภาโอลิมปัสเป็นพระเจ้าหลักของกรีก โดยมากพิจารณาว่ามีซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกัน.
103 เฮรา
103 เฮรา (103 Hera) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยแถบหลัก ค้นพบโดยเจมส์ เครก วัตสัน เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1868 (พ.ศ.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ เทพีฮีรา