โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮิปโปแคมปัส

ดัชนี ฮิปโปแคมปัส

ปโปแคมปัส (hippocampus) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทางในที่ว่าง โครงสร้างนี้มีลักษณะเป็นคู่อยู่ด้านข้างซ้ายและขวาของสมองเหมือนกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ในมนุษย์และไพรเมตชนิดอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสวางตัวในสมองกลีบขมับส่วนใกล้กลาง (medial temporal lobe) ของสมองภายใต้พื้นผิวเปลือกคอร์เท็กซ์ รูปร่างของฮิปโปแคมปัสมีลักษณะโค้งจนนักกายวิภาคศาสตร์ในยุคแรกเปรียบเทียบว่าเหมือนกับเขาของแกะ (Cornu Ammonis) หรือเหมือนม้าน้ำ ดังจะเห็นจากชื่อ ฮิปโปแคมปัส มาจากภาษากรีกของคำว่าม้าน้ำ (กรีก: ιππος, hippos.

53 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาของความซึมเศร้ากลีบขมับการทารุณเด็กทางเพศการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิการทำให้ไวการปรับภาวะให้เกิดความกลัวการเข้ารหัสทางประสาทกำเนิดประสาทภาวะพิษกาเฟอีนภาวะเสียความจำรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างรอยนูนแองกูลาร์ระบบการได้ยินระบบรางวัลระบบรู้กลิ่นระบบลิมบิกระบบประสาทกลางรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างลานรับสัญญาณวิถีประสาทวงจรปาเปซสมองมนุษย์สมองใหญ่สติ (จิตวิทยา)อะมิกดะลาฮิปโปแคมปัส (แก้ความกำกวม)ฮิปโปแคมปัส (เทพปกรณัมกรีก)ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกายจิตพยาธิวิทยาสัตว์ความจำความจำชัดแจ้งความจำอาศัยเหตุการณ์ความจำเชิงกระบวนวิธีคอร์ปัส คาโลซัมตัวรับโดปามีนซานเตียโก รามอน อี กาฮาลประสาทหลอนเสียงดนตรีป่องรู้กลิ่นนิวเคลียสมีหางแกนประสาทนำออกโรคพิษสุนัขบ้าโรคลมชักโรคซึมเศร้าไขสันหลังเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสันเดนไดรติก สไปน์เซลล์ประสาทเซโรโทนิน...เปลือกสมองเปลือกสมองส่วนการเห็นSplit-brain ขยายดัชนี (3 มากกว่า) »

ชีววิทยาของความซึมเศร้า

งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า บริเวณสมองเป็นจำนวนมากทำงานเปลี่ยนไปในคนไข้โรคซึมเศร้า ซึ่งให้กำลังใจแก่ผู้สนับสนุนทฤษฎีหลายอย่างที่พยายามกำหนดเหตุทางชีวภาพ-เคมีของโรค เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่เน้นเหตุทางจิตหรือทางสถานการณ์ มีทฤษฎีหลายอย่างในเรื่องเหตุทางชีววิทยาของโรคซึมเศร้าที่ได้รับการเสนอ และที่เด่นที่สุดมีการวิจัยมากที่สุดก็คือสมมติฐานโมโนอะมีน (monoamine hypothesis).

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและชีววิทยาของความซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

การทารุณเด็กทางเพศ

การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและการทารุณเด็กทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

ตสมองที่มีสีเน้นเป็นเขต anterior cingulate cortex ซึ่งทำงานเมื่อมีการเจริญกรรมฐาน การเจริญกรรมฐาน (meditation) ผลต่อการทำงานของสมอง และผลต่อระบบประสาทกลาง ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยข้ามสาขาในประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และชีววิทยาประสาท (neurobiology) ในช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานวิจัยได้พยายามที่จะกำหนดและแสดงลักษณะของการเจริญกรรมฐาน/การเจริญภาวนา/การนั่งสมาธิ แบบต่าง ๆ ผลการเจริญกรรมฐานต่อสมองมีสองแบบ คือผลต่อภาวะสมองระยะสั้นเมื่อกำลังเจริญกรรมฐาน และผลต่อลักษณะที่มีในระยะยาว ประเด็นการศึกษาบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องการเจริญสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานของชาวพุทธทั้งในแบบวิปัสสนา และในรูปแบบของนิกายเซน.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

การทำให้ไว

การทำให้ไว หรือการไวสิ่งเร้า (Sensitization) เป็นการเรียนรู้แบบ non-associative ที่การได้รับสิ่งเร้าเดียวซ้ำ ๆ จะมีผลเป็นการตอบสนองเช่นรู้สึกเจ็บ ในระดับที่มากขึ้น ๆ การไวสิ่งเร้าบ่อยครั้งเป็นการตอบสนองเพิ่มต่อสิ่งเร้าทั้งหมวด นอกเหนือจากสิ่งเร้าเดียวที่ได้ซ้ำ ๆ ยกตัวอย่างเช่น การได้รับสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บซ้ำ ๆ อาจทำให้บุคคลตอบสนองต่อเสียงดังมากขึ้น.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและการทำให้ไว · ดูเพิ่มเติม »

การปรับภาวะให้เกิดความกลัว

การปรับภาวะให้เกิดความกลัว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ conditioning ว่า "การปรับภาวะ" (fear conditioning) เป็นรูปแบบทางพฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตเรียนรู้เพื่อพยากรณ์เหตุการณ์ที่ไม่น่าพึงใจ เป็นรูปแบบแห่งการเรียนรู้โดยจับคู่สิ่งแวดล้อมที่ปกติเป็นกลาง ๆ (เช่นสถานที่) หรือตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง ๆ (เช่นเสียง) กับตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดี (เช่นถูกไฟดูด เสียงดัง หรือกลิ่นเหม็น) ในที่สุด การจับคู่เช่นนั้นเป็นเหตุให้สิ่งมีชีวิตตอบสนองด้วยความกลัว ต่อตัวกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมที่ในตอนแรกเป็นกลาง ๆ เพียงลำพังโดยปราศจากตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดี ถ้าใช้ศัพท์ที่เกี่ยวกับการปรับสภาวะแบบคลาสสิก (classical conditioning) ตัวกระตุ้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นกลาง ๆ เรียกว่า สิ่งเร้ามีเงื่อนไข (conditional stimulus) ส่วนตัวกระตุ้นที่ไม่น่ายินดีเรียกว่า สิ่งเร้าไม่มีเงื่อนไข (unconditional stimulus) และความกลัวที่เกิดขึ้นในที่สุดของการปรับสภาวะเรียกว่า การตอบสนองมีเงื่อนไข (conditional response) มีการศึกษาเรื่องการปรับภาวะให้เกิดความกลัวในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หอยทากจนกระทั่งถึงมนุษย์ ในมนุษย์ ความกลัวมีเงื่อนไขวัดได้โดยการรายงานของผู้รับการทดสอบและการตอบสนองทางผิวหนังโดยการนำกระแสไฟ (galvanic skin response) ในสัตวอื่น ความกลัวมีเงื่อนไขวัดได้โดยการมีตัวแข็งของสัตว์ (คือช่วงเวลาที่สัตว์ทำการสังเกตการณ์โดยไม่มีการเคลื่อนไหว) หรือโดย fear potentiated startle ซึ่งเป็นการตอบสนองโดยรีเฟล็กซ์ต่อตัวกระตุ้นที่น่ากลัว ความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และการตอบสนองในกล้ามเนื้อวัดโดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (electromyography) ก็สามารถใช้ได้ในการวัดความกลัวมีเงื่อนไข การปรับภาวะให้เกิดความกลัวเชื่อกันว่า อาศัยเขตในสมองที่เรียกว่า อะมิกดะลา (amygdala) การตัดออกหรือการยับยั้งการทำงานของอะมิกดะลาสามารถยับยั้งทั้งการเรียนรู้และการแสดงออกของความกลัว การปรับภาวะให้เกิดความกลัวบางประเภท (แบบ contextual และ trace) ก็อาศัยเขตฮิปโปแคมปัสด้วย ซึ่งเป็นเขตสมองเชื่อกันว่ารับพลังประสาทนำเข้าจากอะมิกดะลาและประสานสัญญาณนั้นกับข้อมูลประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนที่ทำให้ตัวกระตุ้นนั้นมีความหมาย ทฤษฎีที่ใช้อธิบายประสบการณ์ที่ให้เกิดความบาดเจ็บหรือความเครียดทางจิตใจ บอกเป็นนัยว่า ความหวาดกลัวที่อาศัยอะมิกดะลาจะไม่อาศัยฮิปโปแคมปัสในช่วงเวลาที่กำลังประสบความเครียดอย่างรุนแรง และจะมีการบันทึกประสบการณ์นั้นไว้ทางกายภาพหรือโดยเป็นภาพ เป็นความรู้สึกที่สามารถจะกลับมาเกิดขึ้นอีกปรากฏเป็นอาการต่าง ๆ ทางกายภาพ หรือเป็นภาพย้อนหลัง (flashback) โดยที่ไม่มีความหมายเกี่ยวข้องเหตุการณ์ที่กำลังเกิดในปัจจุบัน นักทฤษฎีบางพวกเสนอว่า ความกลัวมีเงื่อนไขเป็นไปร่วมกับเหตุเกิดของโรควิตกกังวลประเภทต่าง ๆ ทั้งโดยกิจและโดยระบบประสาท งานวิจัยเกี่ยวกับการได้มา (acquisition) การทำให้มั่นคง (consolidation) และความสูญไป (extinction) ของความกลัวมีเงื่อนไข อาจจะนำไปสู่การบำบัดรักษาทางเวชกรรมหรือทางจิตบำบัดใหม่ ๆ เพื่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคดิสโซสิเอทิฟ โรคกลัวประเภทต่าง ๆ และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder).

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและการปรับภาวะให้เกิดความกลัว · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสทางประสาท

การยิงศักยะงานเป็นขบวนหรือเป็นลำดับ ๆ ของเซลล์ประสาท การเข้ารหัสทางประสาท (Neural coding) เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ หรือของกลุ่มเซลล์ประสาท และความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในกลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีว่า การทำงานของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองจะเป็นตัวแทนข้อมูลทางประสาทสัมผัสและข้อมูลอื่น ๆ นักวิชาการจึงเชื่อว่า เซลล์ประสาทสามารถเข้ารหัสข้อมูลเป็นทั้งแบบดิจิตัลและแบบแอนะล็อก.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและการเข้ารหัสทางประสาท · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดประสาท

กำเนิดประสาท (Neurogenesis) เป็นกระบวนการที่เซลล์ประสาท (หรือนิวรอน) เกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิด (neural stem cell) และ progenitor cell กลไกทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงจะเป็นตัวกำหนดชะตาของเซลล์ โดยทั้งนิวรอนแบบเร้าและแบบยับยั้งมากมายหลายประเภท ก็จะเกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิดที่ต่าง ๆ กัน กำเนิดประสาทจะเกิดในช่วงการเกิดเอ็มบริโอในสัตว์ทั้งหมด และเป็นกระบวนการสร้างนิวรอนทั้งหมดในสัตว์ โดยก่อนช่วงกำเนิดประสาท เซลล์ประสาทต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนมีจำนวน progenitor cell ที่พอเพียง ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทต้นกำเนิดหลักของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า radial glial cell จะอยู่ในเขตเริ่มก่อตัวที่เรียกว่า ventricular zone ซึ่งอยู่ข้างโพรงสมองที่กำลังพัฒนาขึ้น เซลล์ต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนกระทั่งกลายเป็นนิวรอนลูก (daughter neuron) ที่ไม่แบ่งตัวอีก และดังนั้น นิวรอนทั้งหมดจะอยู่ในสภาพ post-mitotic (คือจะไม่แบ่งตัวอีก) และนิวรอนในระบบประสาทกลางมนุษย์โดยมากจะดำรงอยู่ตลอดชีวิตของบุคคล ปัจจัยระดับโมเลกุลและทางพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อกำเนิดประสาท ที่เด่น ๆ รวมวิถีการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า Notch pathway จึงมียีนเป็นจำนวนมากที่สัมพันธ์กับการควบคุมวิถีการส่งสัญญาณนี้ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กำเนิดประสาทในผู้ใหญ่ (adult neurogenesis) พบว่าเกิดในเขตหลัก ๆ 3 เขตในสมอง คือ dentate gyrus ของฮิปโปแคมปัส, subventricular zone ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ผนังด้านข้างตลอดโพรงสมองข้าง, และ olfactory bulb ซึ่งเป็นโครงสร้างประสาทเกี่ยวกับการได้กลิ่น แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางอย่าง กำเนิดประสาทเพื่อทดแทนเซลล์เก่าก็เกิดได้ด้วยเหมือนกัน และโดยนัยเดียวกัน ยาแก้ซึมเศร้าหลายอย่างพบว่าเพิ่มอัตรากำเนิดประสาทในฮิปโปแคมปั.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและกำเนิดประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะพิษกาเฟอีน

กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทมีอยู่ตามธรรมชาติในกาแฟ ชา มาเต (llex paraguariensis) และพืชประเภทอื่น ๆ เป็นส่วนผสมของเครื่องบริโภคมากมาย โดยเฉพาะในเครื่องดื่มที่โฆษณาว่า เป็นเครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนั้นแล้ว ยังมีกาเฟอีนในน้ำอัดลมเช่นโคคา-โคล่าและเป็ปซี่ โดยกำหนดในฉลากแสดงองค์ประกอบว่า เป็นเครื่องปรุงรส กลไกการทำงานของกาเฟอีนแตกต่างจากยาเสพติดประเภทอื่น ๆ รวมทั้งโคเคนและแอมเฟตามีน คือ กาเฟอีนมีฤทธิ์ระงับ (antagonization) การทำงานของหน่วยรับความรู้สึกของสาร adenosine ในระบบประสาท และเพราะว่า adenosine เป็นสารพลอยได้ของการทำงานของเซลล์ ซึ่งมีฤทธิ์ต่อหน่วยความรู้สึกมีผลให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยและความอยากจะนอน ดังนั้น การเข้าไประงับหน่วยความรู้สึกจึงมีผลให้ระดับสารกระตุ้นประสาทตามธรรมชาติคือโดพามีนและ norepinephrine ดำรงอยู่ในระดับที่สูง.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและภาวะพิษกาเฟอีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียความจำ

วะเสียความจำ (amnesia) เป็นการขาดความจำที่เกิดจากความเสียหายต่อสมอง โรคหรือการบาดเจ็บทางใจGazzaniga, M., Ivry, R., & Mangun, G. (2009) Cognitive Neuroscience: The biology of the mind.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและภาวะเสียความจำ · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส

รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal gyrus) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รอยนูนฮิปโปแคมปัส (hippocampal gyrus เป็นเขตเนื้อเทา ในคอร์เทกซ์เปลือกสมอง (cerebral cortex) ที่อยู่รอบๆ ฮิปโปแคมปัส เขตในสมองนี้มีความสำคัญในการเข้ารหัสความจำ (memory encoding) และการค้นคืนความจำ (memory retrieval) สมองเขตนี้เกี่ยวข้องกับบางกรณีของคนไข้ที่มีภาวะฮิปโปแคมปัสแข็ง (hippocampal sclerosis) ในคนไข้โรคจิตเภท (schizophrenia) เขตสมองนี้ในซีกสมองทั้งสองข้างมีขนาดไม่เท่ากัน.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง

รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง (Inferior temporal gyrus, gyrus temporalis inferior) เป็นรอยนูนสมองที่ อยู่ใต้รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง (middle temporal gyrus), อยู่ข้างหน้ารอยนูนกลีบท้ายทอยส่วนล่าง (inferior occipital gyrus), และแผ่ขยายไปทางผิวด้านข้างของสมองกลีบขมับลงไปจรด inferior sulcus เป็นศูนย์ประมวลผลข้อมูลการเห็นในระดับสูงโดยเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่าง (ventral stream) มีหน้าที่เป็นตัวแทนของลักษณะที่ซับซ้อนของวัตถุที่เห็น และอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ใบหน้า กับการรู้จำวัตถุ (object recognition) ต่าง ๆ และกับการรู้จำตัวเลข (number recognition) รอยนูนกลีบขมับส่วนล่างเป็นส่วนล่างของสมองกลีบขมับ อยู่ใต้ร่องกลีบขมับกลาง (central temporal sulcus) สมองส่วนนี้ (ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง) ทำหน้าที่แปลผลตัวกระตุ้นทางตา เป็นการรู้จำวัตถุ (object recognition) ที่เห็นทางตา และเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น (ดังที่แสดงไว้ในงานวิจัยเร็ว ๆ นี้) "คอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง" (inferior temporal cortex ตัวย่อ ITC) ในมนุษย์เป็นส่วนเดียวกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง" (เขตบร็อดแมนน์ 21) รวมกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง" (เขตบร็อดแมนน์ 20) โดยที่ไม่เหมือนกับไพรเมตประเภทอื่น ๆ สมองเขตนี้แปลผลตัวกระตุ้นทางตาที่ปรากฏในลานสายตา ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและการเรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับวัตถุนั้น เพื่อประโยชน์ในการระบุวัตถุนั้น ทำหน้าแปลผลและรับรู้ข้อมูลที่เกิดจากตัวกระตุ้นทางตาที่ผ่านการแปลผลจากเขตสายตา V1, V2, V3, และ V4 ที่อยู่ในสมองกลีบท้ายทอย มาแล้ว คือทำหน้าที่แปลผลข้อมูลสีและรูปร่างของวัตถุที่อยู่ในลานสายตา (ซึ่งเป็นข้อมูลจากเขตสายตาก่อน ๆ) แล้วให้ข้อมูลว่าวัตถุที่เห็นนั้นคืออะไร ซึ่งก็คือการระบุวัตถุโดยใช้สีและรูปร่าง โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ประมวลแล้วกับข้อมูลความจำที่เก็บไว้เพื่อที่จะระบุวัตถุนั้น สมองเขตนี้ไม่ใช่มีความสำคัญในเรื่องเป็นส่วนของการแปลผลข้อมูลทางตาเพื่อการรู้จำวัตถุเท่านั้น แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปลผลแบบง่าย ๆ อย่างอื่นของวัตถุในลานสายตา มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจทางปริภูมิของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเป็นส่วนที่มีเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ ที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะซึ่งอาจจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคอร์เทกซ์นี้กับระบบความจำ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง · ดูเพิ่มเติม »

รอยนูนแองกูลาร์

รอยนูนแองกูลาร์ (angular gyrus) เป็นเขตสมองในสมองกลีบข้าง ซึ่งอยู่ใกล้ด้านบนของสมองกลีบขมับ และอยู่ข้างหลังต่อจาก Supramarginal gyrus เป็นเขตสมองที่มีบทบาทในการประมวลผลเกี่ยวกับภาษา การประมวลผลเกี่ยวกับตัวเลข การรู้จำปริภูมิ (spatial cognition) การค้นคืนความจำ ความใส่ใจ และการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mindการรู้ใจตนและผู้อื่น (Theory of mind) คือความสามารถในการเข้าใจสภาวะของจิตใจเป็นต้นว่า ความเชื่อ ความตั้งใจ ความปรารถนา การเสแสร้ง ความรู้ โดยเป็นของตนหรือเป็นของคนอื่น และในการเข้าใจว่า ผู้อื่นมีความเชื่อ ความปรารถนา และความตั้งใจเป็นต้น ที่ไม่เหมือนกับของตน) เขตนี้เป็นเขตเดียวกันกับเขตบร็อดแมนน์ 39 ในสมองมนุษ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและรอยนูนแองกูลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและระบบการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรางวัล

ติดตั้งเป้าที่ศูนย์ความสุขในสมอง (รูปซ้าย) แสดงวิถีประสาทแบบโดพามีน คือระบบรางวัล วงจรประสาทเหล่านี้สำคัญในการตอบสนองต่อรางวัลตามธรรมชาติ เช่น การได้อาหารและเพศสัมพันธ์ (รูปกลางและขวา) แสดงการปล่อยสารสื่อประสาทโดพามีน รูปกลางแสดงการปล่อยเมื่อได้อาหาร รูปกลมสีส้มเป็นโดพามีน รูปขวาแสดงการปล่อยเมื่อได้โคเคนซึ่งปล่อยโดพามีนมากกว่าตามธรรมชาติเป็นการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท วงกลมสีแดงคือโคเคน ระบบรางวัล หรือ ระบบการให้รางวัล (reward system) เป็นโครงสร้างทางประสาทที่จำเป็นเพื่ออำนวยผลของการเสริมแรง (reinforcement) พฤติกรรม คือเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมนั้น ๆ ส่วนรางวัล (reward) เป็นสิ่งเร้าที่สร้างความหิวกระหายให้กับมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพื่อให้เปลี่ยนพฤติกรรม โดยปกติทำงานเป็นตัวเสริมแรง (reinforcer) ซึ่งเป็นสิ่งที่เมื่อให้หลังจากมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้พฤติกรรมนั้นมีโอกาสการเกิดเพิ่มขึ้น ให้สังเกตว่า แม้ว่าสิ่งหนึ่ง ๆ อาจจะเรียกว่ารางวัล แต่ไม่จำเป็นที่มันจะเป็นตัวเสริมแรง เพราะว่ารางวัลจะเป็นตัวเสริมแรงได้ก็ต่อเมื่อถ้าให้แล้วเพิ่มความน่าจะเป็นของพฤติกรรมนั้น ๆ รางวัลหรือการเสริมแรง เป็นเครื่องวัดที่เป็นกลาง ๆ เพื่อวัดคุณค่าที่บุคคลให้กับวัตถุ กับพฤติกรรม หรือกับสรีรภาพภายในอะไรอย่างหนึ่ง รางวัลปฐมภูมิ (Primary reward) รวมสิ่งที่จำเป็นต่อการรอดพันธุ์ของสปีชีส์ เช่น การได้อาหารและเพศสัมพันธ์ ส่วนรางวัลทุติยภูมิจะมีค่าสืบจากรางวัลปฐมภูมิ เงินทองเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่ง รางวัลทุติยภูมิสามารถสร้างได้ในการทดลองโดยการจับคู่สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (รางวัลทุติยภูมิ) กับรางวัลปฐมภูมิ บ่อยครั้ง สัมผัสที่เป็นสุขหรือว่าเสียงดนตรีที่ไพเราะจัดว่าเป็นรางวัลทุติยภูมิ แต่นี่อาจจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่า มีหลักฐานจำนวนหนึ่งที่แสดงว่า สัมผัสทางกาย เช่น การโอบกอดหรือการดูแลแต่งกายให้กันและกัน ไม่ใช่รางวัลที่ต้องเรียนรู้ คือเป็นรางวัลปฐมภูมิ รางวัลโดยทั่วไปมองว่าดีกว่าการทำโทษเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและระบบรางวัล · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรู้กลิ่น

ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและระบบรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ระบบลิมบิก

200px ระบบลิมบิก เป็นกลุ่มของส่วนของสมองที่อยู่ตามแนวโค้งระหว่างทาลามัสกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ทำงานร่วมกันในการรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์และพฤติกรรม ประกอบด้ว.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและระบบลิมบิก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง

ในสาขาจิตวิทยา ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits) หรือ แบบจำลองมีปัจจัย 5 อย่าง (five factor model ตัวย่อ FFM) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับมิติหรือปัจจัยใหญ่ ๆ 5 อย่างที่ใช้อธิบายบุคลิกภาพและสภาพทางจิตใจของมนุษย์ โดยมีนิยามของปัจจัย 5 อย่างว.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง · ดูเพิ่มเติม »

ลานรับสัญญาณ

ลานรับสัญญาณ (receptive field) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (ตัวรับความรู้สึก) ก็คือ เขตในปริภูมิที่ถ้ามีตัวกระตุ้น จะสามารถเปลี่ยนการยิงสัญญาณของเซลล์ ปริภูมิที่กล่าวถึงอ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและลานรับสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

วิถีประสาท

วิถีประสาทจะเชื่อมส่วนหนึ่งของระบบประสาทไปยังอีกส่วนหนึ่งโดยใช้มัดแอกซอนที่เรียกว่า ลำเส้นใยประสาท (tract) ลำเส้นใยประสาทตาเป็นตัวอย่างหนึ่งของวิถีประสาทที่เชื่อมตากับสมอง วิถีประสาท (neural pathway) เป็นเซลล์ประสาท (นิวรอน) ที่เชื่อมต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อส่งกระแสประสาทจากส่วนหนึ่งของระบบประสาทไปยังอีกส่วนหนึ่ง นิวรอนอาจจะเชื่อมต่อกันโดยใยประสาทเพียงเส้นเดียว หรือโดยมัดใยประสาทที่เรียกว่า ลำเส้นใยประสาท (tract) วิถีประสาทที่เชื่อมส่วนที่ห่างไกลกันในสมองหรือระบบประสาท จะเป็นมัดใยประสาทที่เรียกรวม ๆ กันว่า เนื้อขาว (white matter) วิถีประสาทที่เชื่อมส่วนที่ใกล้ ๆ กัน เช่น ในระบบประสาทที่ใช้สารสื่อประสาทโดยเฉพาะ ๆ (neurotransmitter system) มักจะเรียกว่า เนื้อเทา (grey matter) ตัวอย่างเช่น ฮิปโปแคมปัสมีวิถีประสาทหลายวิถีรวมทั้ง perforant pathway ที่เชื่อม entorhinal cortex กับส่วนต่าง ๆ ของ hippocampal formation รวมทั้ง dentate gyrus, CA fields ทั้งหมด (รวมทั้ง CA1), และ subiculum ส่วนวิถีประสาทสั่งการที่ออกจากสมอง จะวิ่งจากเปลือกสมองไปถึงส่วนล่างของไขสันหลัง.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและวิถีประสาท · ดูเพิ่มเติม »

วงจรปาเปซ

วงจรปาเปซ (Papez circuit) เป็นวิถีประสาทในสมองที่เจมส์ ปาเปซ (James Papez) นักประสาทกายวิภาคศาสตร์ชาวอเมริกัน อธิบายเป็นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและวงจรปาเปซ · ดูเพิ่มเติม »

สมองมนุษย์

มองมนุษย์มีโครงสร้างทั่วไปเหมือนสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น แต่มีเปลือกสมองพัฒนามากกว่าสัตว์ชนิดอื่น สัตว์ใหญ่อย่างวาฬและช้างมีสมองใหญ่กว่าในเชิงสัมบูรณ์ แต่เมื่อเทียบกับขนาดกายแล้ว สมองมนุษย์ใหญ่เป็นเกือบสองเท่าของสมองโลมาปากขวดและใหญ่เป็นสามเท่าของสมองชิมแปนซี การขยายส่วนมากมาจากเปลือกสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลีบหน้า ซึ่งสัมพันธ์กับการทำหน้าที่บริหาร เช่น การควบคุมตน การวางแผน การให้เหตุผลและความคิดนามธรรม ส่วนของเปลือกสมองที่ทำหน้าที่มองเห็น คือ เปลือกสมองส่วนการเห็น ยังใหญ่มากในมนุษย์ด้วย เปลือกสมองมนุษย์เป็นชั้นเนื้อเยื่อประสาทหนาที่คลุมสมองส่วนใหญ่ ชั้นนี้พับเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวซึ่งสามารถจุในปริมาตรเท่าที่มี รูปแบบการพับเหมือนกันในแต่ละบุคคล แม้มีการแปรผันเล็กน้อยอยู่มาก เปลือกสมองแบ่งเป็นสี่ "กลีบ" เรียก กลีบหน้า กลีบข้าง กลีบขมับและกลีบท้ายทอย (ระบบจำแนกบางระบบยังรวมกลีบลิมบิกและถือเปลือกอินซูลาร์ เป็นกลีบหนึ่งด้วย) ในแต่ละกลีบมีพื้นที่เปลือกจำนวนมาก แต่ละพื้นที่กลีบสัมพันธ์กับหน้าที่เฉพาะ ซึ่งรวมการเห็น การควบคุมสั่งการและภาษา เปลือกสมองฝั่งซ้ายและขวาโดยคร่าว ๆ มีรูปทรงคล้ายกัน และพื้นที่กลีบส่วนมากมีซ้ำกันทั้งสองขวา ทว่า บางพื้นที่มีเฉพาะข้างหนึ่งอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาษา ในคนส่วนมาก ซีกซ้าย "เด่น" สำหรับภาษา ขณะที่ซีกขวามีบทบาทเพียงเล็กน้อย มีหน้าที่อื่นเช่น มิติสัมพันธ์ ซึ่งซีกขวาโดยปกติเด่น แม้สมองมนุษย์ได้รับการป้องกันจากกระดูกที่หนาของกะโหลก แขวนในน้ำหล่อสมองไขสันหลัง และแยกจากกระแสเลือดด้วยเยื่อกั้นเลือด–สมอง กระนั้น ยังไวต่อความเสียหายและโรค ความเสียหายทางกายภาพแบบที่พบมากที่สุด คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะแบบปิด (closed head injury) เช่น การทุบศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะเป็นพิษจากสารเคมีหลายชนิดที่เป็นพิษต่อประสาท การติดเชื้อของสมอง แม้รุนแรง แต่พบน้อยเนื่องจากมีเยื่อกั้นชีวภาพป้องกันอยู่ สมองมนุษย์ยังไวต่อโรคการเสื่อม เช่น โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งและโรคอัลไซเมอร์ มีภาวะจิตเวชจำนวนหนึ่ง เช่น โรคจิตเภทและภาวะซึมเศร้า คาดว่าสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ผิดปรกติของสมอง แม้ธรรมชาติของวิกลภาพของสมองดังกล่าวยังไม่เข้าใจกันดีมาก.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและสมองมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สติ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ") เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน" ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ของ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและสติ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปแคมปัส (แก้ความกำกวม)

ปโปแคมปัส (Hippocampus) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและฮิปโปแคมปัส (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปแคมปัส (เทพปกรณัมกรีก)

ปโปแคมปัส ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus, Hippocampi; กรีก: ἵπποκαμπος) เป็นสัตว์ตามจินตนาการในเทพปกรณัมกรีก เป็นม้าทะเลที่มีท่อนบนเป็นม้า ท่อนล่างเป็นปลา มีเกล็ดและหางขดโค้งเหมือนหางเงือก ฮิปโปแคมปัสเป็นสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของโพไซดอน เทพเจ้าแห่งมหาสมุทร ฮิปโปแคมปัสมีนิสัยกล้าหาญและจะเชื่องกับเจ้าของมาก นอกจากนี้ฮิปโปแคมปัสยังเป็นเทียมรถศึกของโพไซดอนอีกด้วย คำว่า "ฮิปโปแคมปัส" มาจากภาษากรีกคำว่า ἵππος (hippo) ที่แปลว่า "ม้า" และ κάμπος (campus) ที่แปลว่า "สัตว์ประหลาด" บ่อยครั้งในอังกฤษก็เรียกว่า "ม้าน้ำ" (Sea - horse) บางครั้งก็เรียกว่า "ไฮดริปปัส" มาจากภาษากรีกคือ Hydro ที่แปลว่า "น้ำ" ในทางวิทยาศาสตร์คำว่าฮิปโปแคมปัสหมายถึงส่วนหนึ่งของสมอง เนื่องจากสมองส่วนนั้นมีลักษณขดโค้งคล้ายหางของฮิปโปแคมปัส และยังใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาจำพวกม้าน้ำ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและฮิปโปแคมปัส (เทพปกรณัมกรีก) · ดูเพิ่มเติม »

ผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีผลมากต่อโครงสร้าง หน้าที่การทำงาน และการรู้คิดของสมอง งานวิจัยในมนุษย์จำนวนมากแสดงว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (จากเบาถึงหนักที่ใช้กระบวนการสร้างพลังงานโดยออกซิเจน) โดยอย่างน้อย 30 นาทีทุกวันปรับปรุงการทำงานของสมอง โดยปรับหน้าที่การรู้คิด (cognitive function) การแสดงออกของยีน และสภาพพลาสติกทางประสาท (neuroplasticity) และพฤติกรรมที่มีผลดี ผลที่ได้ในระยะยาวรวมทั้งการเกิดเซลล์ประสาท (neurogenesis) ที่เพิ่มขึ้น, การทำงานทางประสาทที่ดีขึ้น (เช่นในการส่งสัญญาณแบบ และ BDNF), การรับมือกับความเครียดที่ดีขึ้น, การควบคุมพฤติกรรมที่ดีขึ้น, ความจำชัดแจ้ง (declarative) ความจำปริภูมิ (spatial) ความจำใช้งาน (working) ที่ดีขึ้น, และการปรับปรุงทางโครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างสมองและวิถีประสาทที่สัมพันธ์กับการควบคุมการรู้คิดและความจำ ผลการออกกำลังกายต่อความรู้คิดอาจช่วยการเรียนหนังสือในนักเรียนนักศึกษา เพิ่มผลิตผลการทำงาน ช่วยรักษาการทำงานของสมองในคนแก่ ป้องกันหรือบำบัดความผิดปกติทางประสาทแบบต่าง ๆ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยทั่วไป คนที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ (เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ และขี่จักรยาน) ได้คะแนนดีกว่าเมื่อตรวจสอบการทำงานทางประสาทจิตวิทยาที่วัดหน้าที่การรู้คิดบางอย่าง เช่น การควบคุมการใส่ใจ การหยุดพฤติกรรมอัตโนมัติเพื่อทำสิ่งที่ได้ผลกว่า (inhibitory control) ความยืดหยุ่นทางการรู้คิด ความจำใช้งานในด้านการอัพเดตและความจุ ความจำชัดแจ้ง ความจำปริภูมิ และความเร็วในการประมวลข้อมูล การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังเป็นยาแก้ซึมเศร้าและยาทำให้ครึ้มใจอีกด้วย ดังนั้น การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะปรับปรุงอารมณ์และความภูมิใจในตนเอง (self-esteem) ให้ดีขึ้นโดยทั่วไป.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและผลทางประสาทชีวภาพของการออกกำลังกาย · ดูเพิ่มเติม »

จิตพยาธิวิทยาสัตว์

ตพยาธิวิทยาสัตว์ (Animal psychopathology) เป็นการศึกษาโรคจิตและพฤติกรรมในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยประวัติแล้ว ศาสตร์มักจะเอามนุษย์เป็นศูนย์ (มานุษยประมาณนิยม) เมื่อศึกษาจิตพยาธิวิทยาในสัตว์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองสำหรับโรคจิตในมนุษย์ แต่จากมุมมองทางวิวัฒนาการ จิตพยาธิของสัตว์จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมกว่าว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ปรับตัว (non-adaptive) เพราะความพิการทางความรู้คิด ความพิการทางอารมณ์ หรือความทุกข์บางอย่าง บทความนี้แสดงจิตพยาธิสัตว์จำนวนหนึ่งแต่ไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและจิตพยาธิวิทยาสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำชัดแจ้ง

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ "ความจำชัดแจ้ง" (Explicit memory) หรือบางครั้งเรียกว่า "ความจำเชิงประกาศ" (Declarative memory) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาวสองอย่างในมนุษย์ ความจำชัดแจ้งหมายถึงความจำที่สามารถระลึกได้ใต้อำนาจจิตใจเช่นความจริงและความรู้ต่าง ๆ ดังนั้น การระลึกถึงประสบการณ์ในอดีตหรือข้อมูลอื่น ๆ โดยตั้งใจและประกอบด้วยความรู้สึกตัวว่ากำลังระลึกถึงความจำ จึงเป็นการระลึกถึงความจำชัดแจ้ง มนุษย์มีการจำได้แบบชัดแจ้งตลอดทั้งวัน เช่นจำเวลานัดได้ หรือจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายปีได้ ส่วนความจำที่คู่กันก็คือ "ความจำโดยปริยาย" (implicit memory) หรือ "ความจำเชิงไม่ประกาศ" (non-declarative memory) หรือ "ความจำเชิงกระบวนวิธี" (procedural memory) ซึ่งหมายถึงความจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น ทักษะในการขี่จักรยาน) การเข้าถึงความจำโดยปริยายไม่ประกอบด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่เป็นการระลึกได้ด้วยความตั้งใจ ให้เทียบกับการระลึกถึงความจำชัดแจ้งซึ่งเป็นการระลึกได้พร้อมด้วยความรู้สึกตัว ตัวอย่างเช่น การระลึกถึงการหัดขับรถชั่วโมงหนึ่งได้เป็นตัวอย่างของการจำได้แบบชัดแจ้ง ส่วนทักษะการขับรถที่พัฒนาขึ้นเพราะการหัดขับรถนั้นเป็นตัวอย่างของการจำได้โดยปริยาย ส่วนความจำชัดแจ้งยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและความจำชัดแจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ความจำอาศัยเหตุการณ์

วามจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวประวัติของตนเอง (รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ อารมณ์ความรู้สึกที่มี และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ) ที่สามารถระลึกได้ภายใต้อำนาจจิตใจและนำมากล่าวได้อย่างชัดแจ้ง เป็นความจำรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ของตนในอดีต แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วันเวลาหนึ่ง ๆ และในสถานที่หนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราระลึกถึงงานเลี้ยง (หรือการทำบุญ) วันเกิดเมื่ออายุ 6 ขวบได้ นี่เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นความจำที่ยังให้เราสามารถเดินทางกลับไปในกาลเวลา (ในใจ) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วันเวลานั้น ๆ และสถานที่นั้น ๆ ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) และความจำอาศัยเหตุการณ์รวมกันจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง (explicit memory) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเภทหลัก ๆ ของความจำ (โดยอีกประเภทหนึ่งเป็นความจำโดยปริยาย) นักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อว่าเอ็นเด็ล ทัลวิง ได้บัญญัติคำว่า "Episodic Memory" ไว้ในปี..

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและความจำอาศัยเหตุการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำเชิงกระบวนวิธี

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) เป็นความจำเพื่อการปฏิการงานประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นความจำที่นำไปสู่พฤติกรรมเชิงกระบวนวิธีต่าง ๆ เป็นระบบที่อยู่ใต้สำนึก คือเมื่อเกิดกิจที่ต้องกระทำ จะมีการค้นคืนความจำนี้โดยอัตโนมัติเพื่อใช้ในการปฏิบัติตามกระบวนวิธีต่าง ๆ ที่มีการประสานกันจากทั้งทักษะทางประชาน (cognitive) และทักษะการเคลื่อนไหว (motor) มีตัวอย่างต่าง ๆ ตั้งแต่การผูกเชือกรองเท้าไปจนถึงการขับเครื่องบินหรือการอ่านหนังสือ ความจำนี้เข้าถึงและใช้ได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมหรือความใส่ใจเหนือสำนึก (ที่เป็นไปใต้อำนาจจิตใจ) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาว (long-term memory) และโดยเฉพาะแล้ว เป็นประเภทหนึ่งของความจำโดยปริยาย (implicit memory) ความจำเชิงกระบวนวิธีสร้างขึ้นผ่าน "การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี" (procedural learning) คือการทำกิจที่มีความซับซ้อนนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งระบบประสาทที่เกี่ยวข้องจะสามารถทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติเพื่อให้เกิดการกระทำนั้น ๆ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธีที่เป็นไปโดยปริยาย (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) เป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ทักษะทางประชาน.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและความจำเชิงกระบวนวิธี · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ปัส คาโลซัม

ำภาษาละตินว่า Corpus callosum (แปลว่า ส่วนแข็ง) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ประเภท eutheria อยู่ที่ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วนเนื้อขาว (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200-250 ล้านแอกซอน.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและคอร์ปัส คาโลซัม · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับโดปามีน

ปามีน ตัวรับโดปามีน (dopamine receptor) สารสื่อประสาทโดปามีนออกฤทธิ์ผ่านตัวรับโดปามีนซึ่งเป็นตัวรับที่จับอยู่กับโปรตีนจี ในยุคแรกๆ ได้แบ่งตัวรับโดปามีนออกเป็น 2 กลุ่มหลักโดยใช้ความสามารถในการกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อดีนิลิล ไซเคลส (adenylyl cyclase) เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น กลุ่มตัวรับโดปามีน 1 และ กลุ่มตัวรับโดปามีน 2.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและตัวรับโดปามีน · ดูเพิ่มเติม »

ซานเตียโก รามอน อี กาฮาล

ซานเตียโก รามอน อี กาฮาล (Santiago Ramón y Cajal) ForMemRS (1 พฤษภาคม 2395 – 18 ตุลาคม 2477) เป็นแพทย์ อาจารย์ พยาธิแพทย์ นักมิญชวิทยาและนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวสเปน ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี..1906 (พ.ศ. 2449) จากการศึกษาระบบประสาทด้วยการย้อมสี เป็นบุตรของ คุสโต รามอน กาซาซุส กับอันโตเนีย กาฮาล การสำรวจรุ่นบุกเบิกของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างจุลทรรศน์ของสมอง เป็นงานต้นฉบับในประสาทวิทยาศาสตร์ จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นบิดาของประสาทวิทยาศาสตร์ เขามีความชำนาญในการวาดรูปและภาพวาดเซลล์สมองเป็นร้อย ๆ ของเขาก็ยังถูกใช้ในการศึกษาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและซานเตียโก รามอน อี กาฮาล · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทหลอนเสียงดนตรี

ประสาทหลอนเสียงดนตรี (Musical Hallucination) หรือ อาการเสียงดนตรีหลอน เป็นประเภทหนึ่งของประสาทหลอนทางหู (auditory hallucination) เป็นคำเรียกความผิดปกติที่ได้ยินเสียงเครื่องดนตรีหรือเสียงเพลง เป็นความผิดปกติที่หายาก ในงาน cohort study งานหนึ่ง ซึ่งเป็นงานวิจัยมีบุคคลเข้าร่วม 3,678 คน แต่มีเพียง 0.16% เท่านั้นที่รายงานว่ามีอาการนี้.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและประสาทหลอนเสียงดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ป่องรู้กลิ่น

granule cell #granule cell --> ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb, bulbus olfactorius, ตัวย่อ OB) เป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น ป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น แม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง แยกแยะกลิ่น, เพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น, กรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก, และอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและป่องรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสมีหาง

นิวเคลียสมีหาง (caudate nucleus) เป็นนิวเคลียสในปมประสาทฐาน (basal ganglia) ในสมองของสัตว์หลายประเภท มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และความทรงจำ.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและนิวเคลียสมีหาง · ดูเพิ่มเติม »

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและแกนประสาทนำออก · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษสุนัขบ้า

รคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ (rabies, hydrophobia) เป็นโรคไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของสมองในมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่น อาการเริ่มต้นมีไข้และอาการเป็นเหน็บ ณ ตำแหน่งสัมผัส อาการเหล่านี้ตามด้วยอาการต่อไปนี้อย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ การเคลื่อนไหวรุนแรง ความตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ไม่สามารถขยับร่างกายบางส่วน สับสนและไม่รู้สึกตัว เมื่อเกิดอาการแล้ว จะลงเอยด้วยถึงแก่ชีวิตแทบทั้งสิ้น ช่วงเวลาระหว่างการติดต่อโรคและการเริ่มแสดงอาการนั้นปกติระหว่างหนึ่งถึงสามเดือน ทว่า ช่วงเวลานี้มีได้ตั้งแต่น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี เวลานี้ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไวรัสเข้าระบบประสาทส่วนกลาง โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากลิสซาไวรัส (lyssavirus) ได้แก่ ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (rabies virus) และลิสซาไวรัสค้างคาวออสเตรเลีย (Australian bat lyssavirus) โรคพิษสุนัขบ้าแพร่เมื่อสัตว์ที่ติดเชื้อข่วนหรือกัดสัตว์อื่นหรือมนุษย์ น้ำลายจากสัตว์ที่ติดเชื้อยังสามารถส่งผ่านโรคพิษสุนัขบ้าได้หากสัมผัสกับตา ปากหรือจมูก ทั่วโลก หมาเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 99% ในประเทศที่หมามีโรคเป็นปกติเกิดจากหมากัด ในทวีปอเมริกา ค้างคาวกัดเป็นแหล่งที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์ และผู้ป่วยน้อยกว่า 5% มาจากหมา สัตว์ฟันแทะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าน้อยมาก ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเดินทางไปสมองโดยตามประสาทส่วนปลาย โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้หลังเริ่มแสดงอาการแล้วเท่านั้น โครงการควบคุมสัตว์และให้วัคซีนลดความเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้าจากหมาในหลายภูมิภาคของโลก มีการแนะนำให้การสร้างภูมิคุ้มกันแก่บุคคลก่อนสัมผัสสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงสูงมีผู้ที่ทำงานกับค้างคาวหรือผู้ที่ใช้เวลานานในพื้นที่ของโลกที่มีโรคพิษสุนัขบ้าเป็นปกติ ในผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าและบ้างทีอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้ามีผลป้องกันโรคหากบุคคลได้รับการรักษาก่อนเริ่มมีอาการโรคพิษสุนัขบ้า การล้างแผลถูกกัดและข่วนด้วยน้ำสบู่ โพวิโดนไอโอดีนหรือสารชะล้างเป็นเวลา 15 นาทีอาจลดจำนวนอนุภาคไวรัสและอาจมีผลบ้างในการป้องกันการแพร่เชื้อ มีเพียงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหลังแสดงอาการ และได้รับการรักษาใหญ่ที่เรียก มิลวอกีโพรโทคอล (Milwaukee protocol) โรคพิษสุนัขบ้าเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 26,000 ถึง 55,000 คนต่อปี การเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 95% เกิดในทวีปแอฟริกาและเอเชีย โรคพิษสุนัขบ้าพบในกว่า 150 ประเทศและทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กว่า 3 พันล้านคนอาศัยอยู่ในบริเวณของโลกที่พบโรคพิษสุนัขบ้า หลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น สหรัฐและยุโรปตะวันตก ไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าในหมา หลายประเทศเกาะขนาดเล็กไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าเล.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคลมชัก

รคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (epilepsy มีรากศัพท์จากἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา ข้อมูลในปี..

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและโรคลมชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน

นาย เฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน (Henry Gustav Molaison, 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926-2 ธันวาคม ค.ศ. 2008) หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า "H.M." เป็นคนไข้ความจำเสื่อมชาวอเมริกันผู้ได้รับการตัดสมองกลีบขมับด้านในออกทั้งสองข้าง คือในส่วน 2/3 ด้านหน้าของฮิปโปแคมปัส, parahippocampal cortex, entorhinal cortex, piriform cortex, และอะมิกดะลา เพื่อที่จะบำบัดโรคลมชัก (epilepsy) มีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะอาการของเขาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและเฮ็นรี่ กัสตาฟ โมไลสัน · ดูเพิ่มเติม »

เดนไดรติก สไปน์

นไดรติกสไปน์ (dendritic spine) เป็นโครงสร้างเยื่อหุ้มเซล์ในส่วนของเดนไดรต์ที่ยื่นออกไปมีลักษณะคล้ายหนามขนาดเล็กทำหน้าที่สร้างไซแนปส์ระหว่างเซลล์ประสาท โครงสร้างเดนไดรติกสไปน์นี้ พบได้ในเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทส่วนใหญ่ในสมอง เช่น เซลล์ประสาทรูปปิรามิด (pyramidal neuron) ในสมองส่วนคอร์ติคอล และ เซลล์เปอร์กินเจ (Purkinje cell) ในสมองส่วนซีรีเบลลัม เป็นต้น เดนไดรติก สไปน์เป็นโครงสร้างพิเศษที่ยื่นออกมาจากเดนไดรต์ของเซลล์ประสาท โดยทั่วไปแล้วเดนไดรติก สไปน์ยาวประมาณ 0.5–2 ไมโครเมตร แต่อาจจะยาวถึง 6 ไมโครเมตรก็ได้ซึ่งพบได้ในเซลล์ประสาทบริเวณ CA3 region ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ในทุกๆ ความยาวหนึ่งไมโครเมตรของเดนไดรต์เซลล์ประสาทที่โตเต็มที่ จะพบเดนไดรติก สไปน์หนาแน่นประมาณ 1-10 อัน พบว่าเกือบทั้งหมดของไซแนปส์ของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดที่มีผลเชิงกระตุ้นเกิดขึ้นที่เดนไดรติก สไปน์ ซึ่งในเดนไดรติก สไปน์ ที่โตเต็มที่จะเกิดเพียงหนึ่งไซแนปส์ที่ส่วนหัว (spine head) ของมัน เซลล์ประสาทชนิดหลักของสมองเกือบทั้งหมดมีโครงสร้างเดนไดรติก สไปน์ ซึ่งได้แก่ เซลล์ประสาทที่หลั่งกลูตาเมต (glutamate) เช่น เซลล์ประสาททรงปิรามิด (pyramidal neuron) เซลล์ประสาทที่หลั่งกาบา (GABA) เช่น เซลล์เปอร์กินเจ (Purkinje neurons) แต่เซลล์ประสาทอีกหลายประเภทก็ไม่มีเดนไดรติก สไปน์ เช่น GABA-releasing interneuron เซลล์ประสาทที่มีเดนไดรติก สไปน์ (Spiny neurons) พบได้น้อยมากในสัตว์ชั้นต่ำ เช่น Drosophila melanogaster และ Caenorhabditis elegans แสดงให้เห็นว่าเดนไดรติก สไปน์ได้ถูกวิวัฒน์ขึ้นเพื่อให้เหมาะแก่การทำงานที่ซับซ้อนของระบบประสาทขั้นสูงในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โครงสร้างของเดนไดรติก สไปน์มีความหลากหลายทั้งขนาดและรูปร่าง และมีปริมาตรตั้งแต่ 0.01 ลูกบาศก์ไมโครเมตร ไปจนถึงขนาด 0.8 ลูกบาศก์ไมโครเมตร การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของ fixed brain tissue สามารถระบุรูปร่างเดนไดรติก สไปน์ ออกแป็น 4 แบบ คือ thin, stubby, mushroom และ cup แต่จากการศึกษาด้วยเทคนิค Live Imaging พบว่าเดนไดรติก สไปน์ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดได้มากมายหลายแบบในช่วงเวลงตั้งแต่เป็นวินาทีจนถึงหลายวัน นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างทั้งในออร์แกเนลล์และโมเลกุลพิเศษที่เป็นองค์ประกอบภายในเดนไดรติก สไปน์ โดยเดนไดรติก สไปน์ที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีขนาดไซแนปส์ที่ใหญ่และมีชนิดของออร์แกเนลล์ที่หลากหลายมากกว่าเดนไดรติก สไปน์ที่มีขนาดเล็ก เดนไดรติกสไปน์มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันซึ่งขึ้นกับระยะในการเจริญเติบโต ชนิดของสารที่มาออกฤทธิ์ที่ไซแนปส์ รวมทั้งความแข็งแรงของโครงสร้างไซแนปส์ เดนไดรติกสไปน์ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ช่วยจำกัดการแพร่ของไอออนและสารที่ทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข่าวตัวที่สองภายในเซลล์ (second messenger) ในบริเวณที่เกิดไซแนปส์ กลไกการทำงานที่สำคัญของเดนไดรติกสไปน์ คือ กระบวนการเรียนรู้และจดจำของเซลล์ประสาท ซึ่งพบว่าบริเวณนี้มีตัวรับสารสื่อประสาทกลูตาเมตทั้งชนิดตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (NMDA receptor) และตัวรับแอมพา (AMPA receptor) ทำงานสอดประสานกันในกระบวนการที่เรียกว่า ลองเทอมโพเทนชิเอชั่น (long-term potentiation) และลองเทอมดีเพรชชั่น (long-term depression).

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและเดนไดรติก สไปน์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

Split-brain

Split-brain (แปลว่า ภาวะสมองแยก) เป็นคำในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกผลที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้รับการตัด corpus callosum ซึ่งเป็นใยประสาทที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวา เป็นบางส่วนหรือทั้งหมดออก เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการยับยั้งหรือการขัดข้องของการสื่อสารกันระหว่างซีกสมองทั้งสองข้าง การผ่าตัดที่มีผลเป็นภาวะนี้เรียกว่า corpus callosotomy (หรือสั้น ๆ ว่า callosotomy) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายในการบรรเทาอาการโรคลมชักที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ในขั้นเบื้องต้น แพทย์จะตัดเพียงส่วนหนึ่งของ corpus callosum ออก และถ้าไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง ก็จะตัดส่วนที่เหลือออกด้วย เพื่อจะลดความเสี่ยงจากความบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุเพราะความรุนแรงของการชัก โดยปกติแล้ว ก่อนที่จะใช้วิธีการรักษานี้ คนไข้จะได้รับการเยียวยาโดยใช้ยาก่อน ถ้าแสดงรูปให้กับคนไข้ภาวะสมองแยกในลานสายตาด้านซ้าย (คือครึ่งซ้ายที่ตาทั้งสองเห็น) คนไข้จะไม่สามารถเรียกชื่อของวัตถุที่เห็นนั้นได้ นี้เป็นเพราะว่าศูนย์ควบคุมภาษาในสมองอยู่ในสมองซีกซ้ายสำหรับคนส่วนมาก และระบบสายตาส่งภาพจากลานสายตาด้านซ้ายไปยังสมองซีกขวาเท่านั้น (แต่คนที่มีศูนย์ควบคุมภาษาอยู่ในสมองซีกขวา ก็จะประสบอาการแบบเดียวกัน ถ้าแสดงรูปทางลานสายตาด้านขวา) และเนื่องจากมีความขัดข้องของการสื่อสารระหว่างสมองทั้งสองซีก คนไข้จึงไม่สามารถเรียกชื่อของวัตถุที่สมองซีกขวาเท่านั้นกำลังเห็น แต่บุคคลนั้นจะสามารถจับวัตถุนั้นด้วยมือซ้ายและสามารถจับคู่สิ่งที่จับกับภาพที่เห็น (ที่อยู่ในเขตลานสายตาด้านซ้าย) เนื่องจากว่า สมองซีกขวาเป็นผู้ควบคุมมือด้านซ้ายนั้น ผลที่พบเกี่ยวกับการคิดหาเหตุผลสำหรับสิ่งที่เห็นมีนัยคล้าย ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น มีการแสดงรูปลานหิมะและรูปไก่ให้คนไข้ดูในลานสายตาตรงข้ามกัน แล้วให้คนไข้เลือกคำศัพท์ที่สัมพันธ์กับรูปที่เห็นที่ดีที่สุด คนไข้จะเลือกพลั่ว (สำหรับโกยหิมะ) สำหรับลานหิมะ และตีนไก่สัมพันธ์กับไก่ แต่เมื่อถามเหตุผลคนไข้ว่าทำไมจึงเลือกพลั่ว คำตอบของคนไข้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับไก่ (เช่น พลั่วก็เพื่อจะใช้ทำความสะอาดเล้าไก่).

ใหม่!!: ฮิปโปแคมปัสและSplit-brain · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hippocampus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »