โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮิปปาร์คอส

ดัชนี ฮิปปาร์คอส

ปปาร์คอส ฮิปปาร์คอส (Hipparchus, Hipparch; Ἵππαρχος, Hipparkhos; 190-120 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักดาราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกในยุค Hellenistic ฮิปปาร์คอสเกิดที่ Nicaea (ปัจจุบันคือเมือง Iznik ประเทศตุรกี) และน่าจะเสียชีวิตที่บนเกาะ Rhodes เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานด้านดาราศาสตร์ในช่วงระหว่างปีที่ 147 ถึง 127 ก่อนคริสตกาล ได้รับยกย่องว่าเป็นนักสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ บ้างก็ว่าเป็นนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงยุคนั้น เขาเป็นคนแรกที่สร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อันสามารถระบุตัวเลขได้แม่นยำ จากแบบจำลองนี้จึงเป็นที่มาของการสังเกตและการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ช่วยในการสังเกตของชาวคัลเดีย (Chaldea) แห่งบาบิโลนตลอดเวลานับศตวรรษ ฮิปปาร์คอสได้พัฒนาวิชาตรีโกณมิติ สร้างตารางตรีโกณ และแก้ปัญหาตรีโกณมิติของทรงกลมได้หลายประการ จากทฤษฎีเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และตรีโกณมิติของเขา อาจจะนับได้ว่าเขาเป็นคนแรกที่ได้พัฒนากระบวนวิธีอันน่าเชื่อถือที่ใช้ในการทำนายสุริยคราส ผลงานอื่นๆ ที่น่าสนใจของเขายังรวมถึงการค้นพบทฤษฎีการหมุนควง การรวบรวมรายการดวงดาวฉบับแรกในโลกตะวันตก และอาจรวมถึงการคิดค้นเครื่องมือวัดทางดาราศาสตร์เก่าแก่ Astrolabe นับเป็นเวลายาวนานกว่า 3 ศตวรรษกว่าที่ผลงานการรวบรวมทางด้านดาราศาสตร์ของเคลาดิอุส ทอเลมีอุสจะก้าวหน้าขึ้นล้ำกว่างานของฮิปปาร์คอส แต่ก็ยังมีรายละเอียดหลายประการที่อ้างอิงกับงานของฮิปปาร์คอสอยู่มาก ดาวเทียมฮิปปาร์คอสที่ถูกส่งโดยองค์การอวกาศยุโรปถูกตั้งชื่อตาม.

10 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชันตรีโกณมิติพารัลแลกซ์กระจุกดาวลูกไก่กระจุกดาวเปิดการวัดตำแหน่งดาวการเคลื่อนที่เฉพาะระบบพิกัดเชิงขั้วดาราศาสตร์ดาวฤกษ์แซรอส

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric function) คือ ฟังก์ชันของมุม ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษารูปสามเหลี่ยมและปรากฏการณ์ในลักษณะเป็นคาบ ฟังก์ชันอาจนิยามด้วยอัตราส่วนของด้าน 2 ด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรืออัตราส่วนของพิกัดของจุดบนวงกลมหนึ่งหน่วย หรือนิยามในรูปทั่วไปเช่น อนุกรมอนันต์ หรือสมการเชิงอนุพันธ์ รูปสามเหลี่ยมที่นำมาใช้จะอยู่ในระนาบแบบยุคลิด ดังนั้น ผลรวมของมุมทุกมุมจึงเท่ากับ 180° เสมอ ในปัจจุบัน มีฟังก์ชันตรีโกณมิติอยู่ 6 ฟังก์ชันที่นิยมใช้กันดังตารางข้างล่าง (สี่ฟังก์ชันสุดท้ายนิยามด้วยความสัมพันธ์กับฟังก์ชันอื่น แต่ก็สามารถนิยามด้วยเรขาคณิตได้) ความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันเหล่านี้ อยู่ในบทความเรื่อง เอกลักษณ์ตรีโกณมิต.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและฟังก์ชันตรีโกณมิติ · ดูเพิ่มเติม »

พารัลแลกซ์

ำลองอย่างง่ายของการเกิดพารัลแลกซ์ของวัตถุกับฉากหลังที่อยู่ห่างออกไปเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งของผู้สังเกต เมื่อมองจาก "มุมมอง A" วัตถุจะอยู่หน้าฉากหลังสีน้ำเงิน แต่เมื่อเปลี่ยนไปเป็น "มุมมอง B" วัตถุจะไปปรากฏอยู่ข้างหน้าฉากหลังสีแดงแทน ภาพเคลื่อนไหวแสดงตัวอย่างของพารัลแลกซ์ เมื่อผู้สังเกตเคลื่อนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง วัตถุที่อยู่ไกลกว่าจะดูเหมือนเคลื่อนที่ช้ากว่าวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ พารัลแลกซ์ (Parallax) คือลักษณะการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งปรากฏ หรือความแตกต่างของตำแหน่งของวัตถุเมื่อมองผ่านมุมมองที่แตกต่างกัน สามารถวัดได้จากมุมของความเอียงระหว่างเส้นสังเกตทั้งสองเส้น คำนี้มีที่มาจากภาษากรีก παράλλαξις (parallaxis) หมายถึง "การเปลี่ยนแปลง" วัตถุที่อยู่ใกล้ผู้สังเกตจะมีพารัลแลกซ์มากกว่าวัตถุที่อยู่ไกล พารัลแลกซ์จึงสามารถใช้ในการประเมินระยะห่างได้ด้วย ในทางดาราศาสตร์ พารัลแลกซ์เป็นกระบวนการทางตรงทางเดียวที่สามารถใช้ในการประเมินระยะห่างของวัตถุ (คือดาวฤกษ์) ที่อยู่พ้นออกไปจากระบบสุริยะได้ ดาวเทียมฮิปปาร์คอสได้ใช้เทคนิคนี้ในการสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ใกล้เคียงแล้วกว่า 100,000 ดวง นี่เป็นวิธีพื้นฐานในการตรวจวัดวัตถุห่างไกลในทางดาราศาสตร์ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า บันไดระยะห่างของจักรวาล ปรากฏการณ์พารัลแลกซ์ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อเครื่องมือสังเกตการณ์เชิงแสงหลายชนิด เช่น กล้องส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์ และกล้องแบบสะท้อนสองเลนส์ที่มองวัตถุจากมุมมองที่แตกต่างกันเล็กน้อย สัตว์หลายชนิดรวมถึงมนุษย์ มีตา 2 ตาที่เหลื่อมมุมสังเกตการณ์กันเล็กน้อย เพื่อให้สามารถใช้ปรากฏการณ์พารัลแลกซ์ในการประเมินความลึกของภาพได้ กระบวนการเช่นนี้เรียกชื่อว่า stereopsis.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและพารัลแลกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวลูกไก่

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและกระจุกดาวลูกไก่ · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวเปิด

กระจุกดาวลูกไก่ หนึ่งในกระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด กระจุกดาวเปิด (Open Cluster) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนหลายพันดวงที่รวมกลุ่มกันอยู่ในเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ชุดเดียวกัน และมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันและกันอย่างหลวมๆ กระจุกดาวเปิดจะพบได้ในดาราจักรชนิดก้นหอยและชนิดไร้รูปร่างเท่านั้น ซึ่งเป็นดาราจักรที่ยังมีการก่อตัวของดาวฤกษ์ดำเนินอยู่ โดยทั่วไปมีอายุน้อยกว่าร้อยล้านปี และมักถูกรบกวนจากกระจุกดาวอื่นหรือกลุ่มเมฆที่มันโคจรอยู่ใกล้ๆ ทำให้สูญเสียสมาชิกในกระจุกดาวไปบ้างในการประจันหน้าเช่นนั้น กระจุกดาวเปิดที่มีอายุน้อยอาจยังคงอยู่ในกลุ่มเมฆโมเลกุลซึ่งมันก่อตัวขึ้นมา ส่องแสงและความร้อนจนสามารถสร้างบริเวณเอช 2 ขึ้นมาได้ เมื่อเวลาผ่านไป แรงดันของการแผ่รังสีจากกระจุกดาวจะทำให้เมฆโมเลกุลกระจัดกระจายออกไป โดยทั่วไปมวลของแก๊สในกลุ่มเมฆประมาณ 10% จะรวมเข้าอยู่ในดาวฤกษ์ก่อนที่แรงดันของการแผ่รังสีจะผลักพวกมันออกไปเสีย กระจุกดาวเปิดเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สำคัญมากในการศึกษาวิวัฒนาการของดวงดาว เพราะดาวฤกษ์ในกระจุกดาวเดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันและมีลักษณะทางเคมีคล้ายคลึงกัน การศึกษาผลกระทบต่อตัวแปรอันละเอียดอ่อนต่างๆ ของคุณลักษณะของดวงดาวจึงทำได้ง่ายกว่าการศึกษาดาวฤกษ์เดี่ยวๆ กระจุกดาวเปิดจำนวนหนึ่ง เช่น กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว หรือ กระจุกดาวอัลฟาเพอร์เซย์ เป็นกระจุกดาวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระจุกดาวบางจำพวกเช่นกระจุกดาวแฝดจะมองเห็นได้ค่อนข้างยากหากไม่ใช้เครื่องมือช่วย ส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะมองเห็นได้โดยใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและกระจุกดาวเปิด · ดูเพิ่มเติม »

การวัดตำแหน่งดาว

ประกอบของการใช้อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ในช่วงความยาวคลื่นแสงเพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่แม่นยำของดาว ''ได้รับความอนุเคราะห์จาก NASA / JPL-Caltech'' การวัดตำแหน่งดาว หรือ วิชาวัดตำแหน่งดาว (Astrometry) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของดาราศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดและการอธิบายตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ข้อมูลจากการศึกษาในสาขานี้มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบันสำหรับงานวิจัยด้านจลนศาสตร์และจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ตลอดจนดาราจักรทางช้างเผือกของเร.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและการวัดตำแหน่งดาว · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่เฉพาะ

การเคลื่อนที่ของดาวเบอร์นาร์ด ทุกๆ 5 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1985 - 2005 การเคลื่อนที่เฉพาะ (proper motion) หรือ การเคลื่อนที่เฉพาะของดาวฤกษ์ คือการวัดค่าการเปลี่ยนตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้าเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งหลังการเคลื่อนที่ไม่เฉพาะผ่านไประยะหนึ่ง แตกต่างจากความเร็วแนวเล็งซึ่งเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงระยะทางที่เคลื่อนเข้าหาหรือออกห่างจากผู้สังเกต เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ เป็นผู้ค้นพบการเคลื่อนที่เฉพาะในปี ค.ศ. 1718 เมื่อเขาสังเกตเห็นดาวซิริอุส ดาวดวงแก้ว และดาวตาวัวเคลื่อนไปประมาณครึ่งองศาจากตำแหน่งเดิมที่นักดาราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ฮิปปาร์คัส เคยจัดทำเอาไว้เมื่อ 1850 ปีก่อนหน้านั้น งานวิจัยในปี..

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและการเคลื่อนที่เฉพาะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัดเชิงขั้ว

ในระบบพิกัดเชิงขั้วกับขั้ว ''O'' และแกนเชิงขั้ว ''L'' ในเส้นสีเขียว จุดกับพิกัดรัศมี 3 และพิกัดมุม 60 องศาหรือ (3,60°) ในเส้นสีฟ้า จุด (4,210°) ในทางคณิตศาสตร์ ระบบพิกัดเชิงขั้ว (polar coordinate system) คือระบบค่าพิกัดสองมิติในแต่ละจุดบนระนาบถูกกำหนดโดยระยะทางจากจุดตรึงและมุมจากทิศทางตรึง จุดตรึง (เหมือนจุดกำเนิดของระบบพิกัดคาร์ทีเซียน) เรียกว่าขั้ว, และลากรังสีจากขั้วเข้ากับทิศทางตรึงคือแกนเชิงขั้ว ระยะทางจากขั้วเรียกว่าพิกัดรัศมีหรือรัศมี และมุมคือพิกัดมุม, มุมเชิงขั้ว, หรือมุมท.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและระบบพิกัดเชิงขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

แซรอส

แซรอส (saros) คือวงรอบปรากฏของการเกิดคราสซึ่งมีช่วงเวลาประมาณ 18 ปี 11 วัน 8 ชั่วโมง (หรือประมาณ 6585⅓ วัน) สามารถใช้ในการทำนายการเกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้ หลังจากเกิดคราสครบ 1 รอบ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์จะหวนกลับมาอยู่ในตำแหน่งทางเรขาคณิตเช่นเดิมอีก ลักษณะการเกิดคราสแบบเดิมจะเกิดขึ้นทางทิศตะวันตกของตำแหน่งที่เคยเกิดครั้งก่อน ประวัติการค้นพบแซรอสที่เก่าแก่ที่สุดคือการค้นพบของชาวแคลดีอา (นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลนโบราณ) ในช่วงหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล ต่อมามีการค้นพบโดยฮิปปาร์คัส ไพลนี และทอเลมี แต่ด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป คำว่า "saros" ได้รับการกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยเอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ในปี ค.ศ. 1691 โดยนำมาจากคำว่า Suda ในพจนานุกรมภาษาไบแซนไทน์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 แม้ในเวลาต่อมา ในปี..

ใหม่!!: ฮิปปาร์คอสและแซรอส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hipparchusฮิปปาร์คัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »