เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อ่าว

ดัชนี อ่าว

อ่าวไทย อ่าว (Bay) หมายถึงส่วนพื้นที่ของทะเลที่ล้อมรอบโดยแผ่นดินใกล้เคียง คลื่นทะเลในอ่าวมักจะสงบกว่าทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่ภายนอกเนื่องจากแผ่นดินต้านแรงคลื่นและแรงลมบางส่วนเอาไว้ อ่าวมีลักษณะที่เว้าโค้งเป็นรูปต่างๆ กัน ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะนิยมเรียกอ่าวตามลักษณะที่เกิดขึ้นเช่น "อ่าวเขาควาย" จะมีลักษณะชายหาดที่งุ้มเหมือนเขาควาย "อ่าวมะนาว" มีลักษณะของทะเลที่เว้าเข้าไปในแผ่นดินเป็นรูปมะนาว เวิ้งน้ำขนาดใหญ่สามารถเรียกว่าอ่าว (bay, gulf) ทะเล (sea) บึงหรือทะเลสาบ (lake) ในขณะที่อ่าวขนาดเล็กที่เว้าเข้าตามชายฝั่ง (coast) รูปร่างโค้งรีและทางออกแคบเรียกว่าหาด (cove) ซึ่งมักจะมีชายหาดหรือหาดทราย (beach) อยู่ภายในเป็นบริเวณกว้าง ถ้าฝั่งสูงชันโดยตลอดอาจเรียกว่าฟยอร์ด (fjord) พบได้ตามเขตขั้วโลก อ่าวถูกสร้างขึ้นได้ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ โดยธรรมชาติเกิดจากน้ำทะเลที่เข้ามาท่วมระหว่างแนวเทือกเขาใต้ทะเลและบนแผ่นดิน หรือการกัดเซาะแนวชายฝั่ง ซึ่งส่วนที่กัดเซาะได้ง่ายจะเว้าลึกเข้าไปมากกว่าส่วนที่กัดเซาะยาก เมื่อนานเข้าก็ทำให้เกิดอ่าวขึ้น สำหรับฟยอร์ดเกิดจากการเคลื่อนตัวและการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง และโดยมนุษย์คือการก่อสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณโดยรอบที่ไม่ได้ป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นเวิ้งน้ำ.

สารบัญ

  1. 34 ความสัมพันธ์: ชะวากทะเลฟยอร์ดพ.ศ. 2440การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่มหารูปแห่งโรดส์ลาห์ตีวีรบุรุษท้องถิ่นวงศ์ปลากะพงสลิดสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122อ่าวชวานสกายาอ่าวบิสเคย์อ่าวพังงาอ่าวกวานาบาราอ่าวอะกาบาอ่าวฮอนดูรัสอ่าวขัมภัตอ่าวคอรินท์อ่าวปานามาอ่าวโอมานอ่าวเบงกอลอ่าวเชซาพีกอ่าวเปอร์เซียจังหวัดซีลางังมีซามิสทะเลสาบสงขลาทะเลปั๋วไห่ทะเลแดงซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพปลาดุกทะเลลายน้ำขึ้นจากพายุแผ่นดินไหวในเฮติ พ.ศ. 2553เชสซีเกาะอัลคาทราซเอเดนเขตตังไวนางซัมบวงกา

ชะวากทะเล

ริเวณปากชะวากทะเล ชะวากทะเลบริเวณปากน้ำรีโอเดลาปลาตา (Río de la Plata) อเมริกาใต้ ชะวากทะเลบริเวณปากแม่น้ำนิท (Nith River) สกอตแลนด์ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงลักษณะชะวากทะเล บริเวณปากแม่น้ำแอมะซอน ชะวากทะเล (Estuary) คือ บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำที่มีความกว้างมากจนมีลักษณะคล้ายอ่าว ตอนบนของชะวากทะเลนั้นจะตอบแหลมเป็นรูปกรวยและจะค่อยขยายขนาดออกไปเมื่อเข้าหาในส่วนที่เป็นทะเลมากขึ้น บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลงสู่แนวชายฝั่งทะเลจึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเล ตัวอย่างของชะวากทะเลในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง, ปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี และปากแม่น้ำชุมพร จังหวัดชุมพร โดยชะวากทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ ในประเทศแคนาดา ที่มีความกว้างถึง 145 กิโลเมตร ชะวากทะเล เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำและสภาพแวดล้อมแบบทะเล จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้ได้รับทั้งอิทธิพลจากทะเลอันได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง, คลื่นและการไหลเวียนของน้ำเกลือ รวมถึงอิทธิพลจากแม่น้ำอันได้แก่ ตะกอนและการไหลเวียนของน้ำจืด ซึ่งการที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเวียนแบบนี้นั้นส่งผลให้พื้นที่ชะวากทะเลประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้ ชะวากทะเลที่พบในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นชะวากทะเลที่เกิดขึ้นในช่วงยุคโฮโลซีน (Holocene) โดยการไหลท่วมของแม่น้ำหรือการกัดเซาะจากธารน้ำแข็งในช่วงที่มีก่รเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วงประมาณ 10,000 - 12,000 ปีที่ผ่านมา และการจำแนกลักษณะของชะวากทะเลนั้นจะอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐานหรือรูปแบบการไหลของน้ำในการจำแนก ซึ่งหมายถึงการจำแนกเป็นอ่าว (Bay) หรือลากูน (Lagoon) เป็นต้น ชะวากทะเลเป็นพื้นที่มีประชากรมาอาศัยอยู่จำนวนมาก คือประมาณร้อยละ 60 จากประชากรทั้งหมดของโลกที่ชอบอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลและชะวากทะเล เป็นผลให้พื้นที่ชะวากทะเลนี้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆได้แก่ การตกตะกอนของตะกอนจากการพังทลายของหน้าดินเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณสารเคมีในระบบนิเวศจากสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์ (Eutrophication) มลพิษจากโลหะหนัก, สารพีซีบีเอส (PCBs), ธาตุกัมมันตรังสีและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากสิ่งปฏิกูล และแนวกั้นน้ำหรือเขื่อนที่ใช้ในการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำ.

ดู อ่าวและชะวากทะเล

ฟยอร์ด

ฟยอร์ด เป็นอ่าวเล็ก ๆ บริเวณชายฝั่งทะเลซึ่งถูกน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่งมีลักษณะแคบและยาว เว้าลึกเข้าไปในฝั่งระหว่างแผ่นดินสูงชันหรือระหว่างหน้าผาสูงชันตามเชิงเขา ฟยอร์ดเกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็งฟยอร์ดสามารถพบได้หลายที่ในบริเวณชายฝั่งเช่น อะแลสกา, บริติชโคลัมเบีย, ชิลี, กรีนแลนด์, ไอซ์แลนด์, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, สก็อตแลนด์, ลาบราดอร์, นูนาวุต, นิวฟันด์แลนด์รวมถึงรัฐวอชิงตัน ฟยอร์ดสามรถพบได้มากในบริเวณชายฝั่งของประเทศนอร์เวย์ซึ่งมีความยาวประมาณและมีฟยอร์ดกว่า 1,190 แห่ง แต่มีพื้นที่ชายฝั่งประมาณเท่านั้นที่ไม่มีฟยอร.

ดู อ่าวและฟยอร์ด

พ.ศ. 2440

ทธศักราช 2440 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1897 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู อ่าวและพ.ศ. 2440

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

ำลองเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเข้าชนโลก เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (mass extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก.

ดู อ่าวและการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

มหารูปแห่งโรดส์

วาดในจินตนาการของมหารูปแห่งโรดส์ มหารูปแห่งโรดส์ (Colossus of Rhodes) เป็นเทวรูปขนาดใหญ่ของเทพฮีลิออส หรือ อพอลโล เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก จัดอยู่ในยุคเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ร่วมสมัยกับประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย มหารูปแห่งโรดส์สร้างมาจากสำริด เป็นเทวรูปของสุริยเทพอพอลโล ซึ่งเป็นหนึ่งในเทวสภาโอลิมปัส มีความสูงประมาณ 108 ฟุต (33 เมตร) มือขวาถือประทีป ประดิษฐานบนฐานทั้งสองข้างของปากอ่าวทางเข้าท่าเรือของเกาะโรดส์ ในทะเลอีเจียน ยืนถ่างขาคร่อมปากอ่าวให้เรือลอดไปมาได้ มหารูปนี้สร้างขึ้นโดย ชาเรสแห่งลินดอส ซึ่งเป็นประติมากรชาวกรีก ในราว 280 ปี ก่อนคริสตกาล ใช้เวลาสร้างประมาณ 12 ปี มีอายุยืนอยู่ได้ประมาณ 60 ปี ก่อนจะพังทลายลงด้วยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่อ 226 ปี ก่อนคริสตกาล ซากชิ้นส่วนของมหารูปได้ถูกปล่อยปละละเลยไม่มีใครดูแล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ซากที่เหลืออยู่ถูกขายให้แก่ชาวเมืองซาราเซน ไปทำอาวุธในการทำสงครามครูเสดจนหมด จนถึงปัจจุบันไม่มีเหลือซากของมหารูปนี้หลงเหลืออยู่แล้ว.

ดู อ่าวและมหารูปแห่งโรดส์

ลาห์ตี

ูนย์กลางของเมืองลาห์ตี ลาห์ตี (Lahti; Lahtis) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศฟินแลนด์ ลาห์ตีมีความหมายว่า อ่าว เมืองนี้ได้รับกล่าวถึงในเอกสารครั้งแรกในปี..

ดู อ่าวและลาห์ตี

วีรบุรุษท้องถิ่น

วีรบุรุษท้องถิ่น หรือ โลเคิลฮีโร (Local Hero) เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2526 เขียนบทและกำกับโดยบิล ฟอร์ไซธ์ อำนวยการสร้างโดยเดวิด พัตนัม มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางเหนือของสก็อตแลนด์ ที่กำลังจะถูกบริษัทปิโตรเลียมยักษ์ใหญ่จากฮูสตัน สหรัฐอเมริกา เข้ากว้านซื้อที่ดิน เพื่อสร้างแท่นขุนเจาะน้ำมัน ท่าเรือ และโรงกลั่นน้ำมัน ฟอร์ไซธ์ดัดแปลงเนื้อเรื่องจากข่าวความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับเท็กซาโก บริษัทขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐ ที่หมู่เกาะเช็ทแลนด์ ทางตอนเหนือของสก็อตแลนด์ ภาพยนตร์นำแสดงโดยปีเตอร์ ไรเกิร์ต, เดนิส ลอว์สัน, เบิร์ต แลนแคสเตอร์ และฟุลตัน แม็กเคย์ ถ่ายทำที่หมู่บ้านชายทะเลชื่อ เพนแนน เมืองแอเบอร์ดีนเชียร์ ทางตะวันออกของสก็อตแลนด์ ฉากชายทะเลถ่ายทำที่เมืองมอแรร์ และแอริเซก ฝั่งตะวันตกของสก็อตแลนด์ ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ใช้เพลงแนวเคลต์ โดยมาร์ก นอฟเลอร์ เพลงธีมของภาพยนตร์ ชื่อเพลง "Going Home" นับเป็นเพลงของนอฟเลอร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด ถูกนำมาใช้เป็นเพลงเปิดตัวนักกีฬาลงสู่สนามเซนต์เจมส์พาร์ค ของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด และเป็นเพลงปิดท้ายเกมเหย้าของสโมสรฟุตบอลทรานเมียร์โรเวอร์ส ในลีกวัน (เทียบเท่า ดิวิชัน 2) โลเคิลฮีโร ถูกนำเข้าลิขสิทธิ์มาวางจำหน่ายในประเทศไทยโดยบริษัท รี มาสเตอร์ จำกัด ใช้ชื่อภาษาไทยว่า วีรบุรุษท้องถิ่น.

ดู อ่าวและวีรบุรุษท้องถิ่น

วงศ์ปลากะพงสลิด

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลากะพงสลิด หรือ วงศ์ปลาหางเสือ (Drummer, Sea chub, Rudderfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kyphosidae ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า κυφος (kyphos) หมายถึง "โหนก" มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาขนาดกลาง ลำตัวป้อม แบนข้าง ครีบหางเว้าตื้น ส่วนหัวมน ปากมีขนาดเล็กคล้ายปลาสลิดทะเล ครีบหลังเชื่อมต่อเป็นครีบเดียว เป็นปลาทะเลทั้งหมด มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินอยู่กลางน้ำ ถึงใกล้ผิวน้ำในแนวปะการัง, กองหินใต้น้ำ และวัสดุลอยน้ำต่าง ๆ หลายชนิดพบตามแนวปะทะคลื่น หรือ อ่าวที่มีคลื่นลมรุนแรง กินแพลงก์ตอนสัตว์และเศษอาหารบนผิวน้ำเป็นอาหาร ในแหล่งดำน้ำหลายแห่งมักพบปลาในวงศ์นี้กินขนมปังจากนักท่องเที่ยวเป็นอาหาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 42 ชนิด จากทั้งหมด 15 สกุล ซึ่งยังสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 5 วงศ์ด้วยกัน คือ.

ดู อ่าวและวงศ์ปลากะพงสลิด

สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122

นธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร..

ดู อ่าวและสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122

อ่าวชวานสกายา

ที่ตั้งของอ่าว อ่าวชวานสกายา (Чаунская губа) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอาร์กติก ในเขตชวานสกายา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรี.

ดู อ่าวและอ่าวชวานสกายา

อ่าวบิสเคย์

อ่าวบิสเคย์ เกาะกัซเตลูกัตเช นอกชายฝั่งทะเลกันตาเบรียในแคว้นประเทศบาสก์ ประเทศสเปน อ่าวบิสเคย์ (Bay of Biscay; Bizkaiko Golkoa; Golfo de Vizcaya; Golfe de Gascogne) เป็นอ่าวหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ตั้งอยู่ตามชายฝั่งตะวันตกของประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่เมืองแบร็สต์ ลงไปทางใต้จนถึงพรมแดนประเทศสเปน และไปตามชายฝั่งทางเหนือของสเปน อ่าวนี้ตั้งชื่อตามจังหวัดบิสเคย์ในแคว้นประเทศบาสก.

ดู อ่าวและอ่าวบิสเคย์

อ่าวพังงา

กาะในอ่าวพังงา อ่าวพังงา เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตอนเหนือของทะเลอันดามัน และอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชื่อเดียวกับอ่าวนี้ด้วย และจังหวัดภูเก็ตทางอำเภอถลาง อ่าวพังงามีพื้นที่ราว 400 กม² ในปี..

ดู อ่าวและอ่าวพังงา

อ่าวกวานาบารา

วเทียม แผนที่ของฝรั่งเศสสมัยปี ค.ศ. 1955 ทิวทัศน์ของเมืองรีโอเดจาเนโร จากอ่าวกวานาบารา อ่าวกวานาบารา (Baía da Guanabara) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบราซิล ใกล้กับเมืองรีโอเดจาเนโร เป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่สุดเป็นอันดับสองของบราซิล คำว่า goanã-pará มาจากภาษากวารานี gwa แปลว่า "อ่าว", nã แปลว่า "ใกล้เคียงกับ" และ ba'ra แปลว่า "ทะเล" ชื่ออ่าวนี้จึงมีความหมายว่า "the bosom of sea" (ก้นทะเล) อ่าวกวานาบาราถูกล้อมรอบไปด้วยป่าธรรมชาติ แต่เนื่องจากมีการโค่นต้นไม้ และน้ำท่วม จึงทำให้ป่าทรุดโทรมมาก.

ดู อ่าวและอ่าวกวานาบารา

อ่าวอะกาบา

อ่าวอะกาบา (ขวา) บนคาบสมุทรไซนาย อ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba; خليج العقبة, Khalyj al-'Aqabah; מפרץ אילת, Mifratz Eilat) หรือ อ่าวเอลัต (Gulf of Eilat) เป็นอ่าวที่อยู่ทางเหนือของทะเลแดง ติดกับคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกและคาบสมุทรอาหรับทางตะวันตก อ่าวด้านตะวันตกของอ่าวแห่งนี้คือ อ่าวสุเอซ (Gulf of Suez) อ่าวอะกาบามีความลึกสูงสุด 1,850 เมตร (1.15 ไมล์) มีความกว้างจากจุดที่กว้างที่สุด 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) และมีความยาวถึงส่วนปลายคือช่องแคบติราน (Straits of Tiran) ประมาณ 160 กิโลเมตร (99 ไมล์) ชายฝั่งของอ่าวแห่งนี้อยู่ในสี่ประเทศคือ อียิปต์ อิสราเอล จอร์แดนและซาอุดีอาระเบีย มีเมืองท่องเที่ยวและเมืองท่าอย่าง ทาบา (Taba) ในอียิปต์, เอลัต (Eilat) ในอิสราเอลและอะกาบา (Aqaba) ในจอร์แดน มีบันทึกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์ว่าอ่าวอะกาบาเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งของการค้าขายในภูมิภาค มีการบันทึกในอีกหลายราชวงศ์ของอียิปต์ถึงการเดินทางข้ามทะเลแดงไปทำการค้ากับอาณาจักรพันต์ (Punt) นอกจากนี้เมืองอายลา (Ayla; ปัจจุบันคือเมืองอะกาบา) ยังเป็นเมืองที่ทำการค้ากับชาวแนบาเทีย (Nabataeans) ต่อมาชาวโรมันได้สร้างเส้นทาง Via Traiana Nova ทำให้การค้าระหว่างแอฟริกากับเลแวนต์สะดวกขึ้น ในปัจจุบัน อ่าวอะกาบาเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำเพื่อชมปะการัง ซากเรืออับปางและสัตว์น้ำ ประมาณการว่ามีนักดำน้ำ 250,000 คนต่อปี คิดเป็น 10% ของรายได้จากการท่องเที่ยวในบริเวณนี้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น หุบเขาวาดีรัม (Wadi Rum) ซากเมืองอายลาและสนามรบของยุทธการอะกาบา (Battle of Aqaba) ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ดู อ่าวและอ่าวอะกาบา

อ่าวฮอนดูรัส

อ่าวฮอนดูรัส ทางด้านขวาของภาพ อ่าวฮอนดูรัส (Gulf of Honduras; Golfo de Honduras) เป็นอ่าวตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน มีอาณาเขตติดประเทศเบลีซ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส จากทิศเหนือลงมาตามลำดั.

ดู อ่าวและอ่าวฮอนดูรัส

อ่าวขัมภัต

ภาพอ่าวขัมภัต จากอวกาศ อ่าวขัมภัต (Gulf of Khambhat) หรือ อ่าวแคมเบย์ (Gulf of Cambay) เป็นอ่าวในทะเลอาหรับ ทางชายฝั่งทิศตะวันตกของประเทศอินเดีย ในรัฐคุชราต ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรกาเฐียวาร มีแม่น้ำนาร์มทาและแม่น้ำทัปตีไหลลงที่อ่าวนี้ เป็นอ่าวที่ตื้นเขินจากการทับถมของตะกอนอย่างต่อเนื่อง หมวดหมู่:อ่าวในมหาสมุทรอินเดีย.

ดู อ่าวและอ่าวขัมภัต

อ่าวคอรินท์

อ่าวคอรินท์ อ่าวคอรินท์ (Gulf of Corinth หรือ Corinthian Gulf) เป็นอ่าวแคบของทะเลไอโอเนียนที่แยกคาบสมุทรเพโลพอนนีสจากแผ่นดินใหญ่ทางตะวันตกของกรีซ ทางด้านตะวันออกเป็นคอคอดคอรินท์ที่รวมทั้งช่องทางเดินเรือในคลองคอรินท์และทางตะวันตกโดย “อ่าวริออน” ที่แยกอ่าวคอรินท์จากอ่าวเพทราสที่แหลมเดรพาโน (Drepano) ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดที่ข้ามโดยสะพานริโอ-อันติริโอ อ่าวคอรินท์เกือบจะล้อมรอบด้วยแคว้น Aetolia-Acarnania, Phocis ทางตอนเหนือ, Boeotia ทางตะวันออกเฉียงเหนือ, อัตติคาทางตะวันออก, คอรินเทียทางตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ และอะเคีย (Achaea) ทางตะวันตกเฉียงใต้ อ่าวคอรินท์เป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ในยุคกลางอ่าวคอรินท์เรียกว่า “อ่าวลิแพนโต” อันเป็นที่เกิของยุทธการลิแพนโตในปี..

ดู อ่าวและอ่าวคอรินท์

อ่าวปานามา

อ่าวปานามา อ่าวปานามา (Golfo De Panamá) เป็นอ่าวในมหาสมุทรแปซิฟิก ใก้กับชายฝั่งทางใต้ของประเทศปานามา มีความกว้างประมาณ 250 กม.

ดู อ่าวและอ่าวปานามา

อ่าวโอมาน

อ่าวโอมาน "ทะเลเปอร์เซีย" เป็นอีกชื่อหนึ่งของอ่าวโอมาน ดังแสดงในแผนที่ยุคศตวรรษที่ 18 โดยเอมานูเอล โบเวน อ่าวโอมาน (Gulf of Oman; خليج عُمان, Ḫalīdj ʾUmān), อ่าวมากราน (خليج مکران, Ḫalīdj Makrān), ทะเลอิหร่าน (دریای ایران, Daryā-e Īrān) หรือ ทะเลเปอร์เซีย (دریای فارس, Daryā-e Fārs) เป็นช่องแคบ (และไม่ใช่อ่าวอย่างแท้จริง) เชื่อมต่อทะเลอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ อ่าวโอมานถือเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวเปอร์เซีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทะเลอาหรับ ตั้งอยู่ระหว่างอิหร่าน (เปอร์เซีย) ปากีสถาน โอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยชายฝั่งทางตอนเหนือติดกับปากีสถานและอิหร่าน ชายฝั่งทางใต้ติดกับโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อโอมาน หมวดหมู่:อ่าวเปอร์เซีย.

ดู อ่าวและอ่าวโอมาน

อ่าวเบงกอล

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งอ่าวเบงกอล เรือประมงในอ่าวเบงกอล เกาะเซนต์มาร์ติน อ่าวเบงกอล ชายหาดมารีนา เจนไน อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและศรีลังกาทางด้านตะวันตก บังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางด้านเหนือ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) และประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ทางด้านตะวันออก อาณาเขตด้านใต้แผ่ถึงเส้นเขตจินตนาการที่ลากจากดอนดราเฮดตอนใต้ของศรีลังกาไปถึงปลายด้านเหนือของเกาะสุมาตรา อ่าวเบงกอลมีเนื้อที่ 2,172,000 กม² มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาลงทะเล เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำมหานที แม่น้ำกฤษณา และแม่น้ำกาเวรี เมืองท่าสำคัญของอ่าวเบงกอล ได้แก่ กัททะลูร์ เจนไน กากีนาทะ มะจิลีปัตนัม วิศาขปัตนัม พาราทิพ โกลกาตา จิตตะกอง และย่างกุ้ง.

ดู อ่าวและอ่าวเบงกอล

อ่าวเชซาพีก

อ่าวเชซาพีก (Chesapeake bay; ออกเสียง: เช-เสอะ-พีค) เป็นอ่าวที่ไหลเป็นสู่มหาสมุทรแอตแลนติก ล้อมรอบโดยรัฐสองรัฐในสหรัฐอเมริกา คือ รัฐแมริแลนด์และเวอร์จิเนีย เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา มีแม่น้ำทั้งหมด 150 สาย ซึ่งไหลไปสู่อ่าวเชซาพีก มีความใหญ่ประมาณ 166,534 ตารางกิโลเมตร (64,299 ตารางไมล์) เชื่อมติดกับเขตวอชิงตัน ดี.ซี.

ดู อ่าวและอ่าวเชซาพีก

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ดู อ่าวและอ่าวเปอร์เซีย

จังหวัดซีลางังมีซามิส

ังหวัดซีลางังมีซามิส (เซบัวโน: Sidlakang Misamis) เป็นจังหวัดในเขตฮีลากังมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองศูนย์กลางคือคากายันเดอโอโร ซึ่งปกครองอย่างเป็นอิสระจากตัวจังหวัด จังหวัดซีลางังมีซามิสเป็นจังหวัดริมชายฝั่งทะเล ติดกับอ่าว 2 แห่งทางทิศเหนือ ได้แก่ อ่าวมาคาฮาลาร์ และอ่าวกิงกูกพื้นที่ทางตอนกลางของจังหวัดมีแม่น้ำหลายสาย ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากพื้นที่สูงในจังหวัดบูคิดโนน แม่น้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำคากายัน.

ดู อ่าวและจังหวัดซีลางังมีซามิส

ทะเลสาบสงขลา

ทะเลสาบสงขลา หรือ ทะเลสาบพัทลุง หรือ ทะเลสาบลำปำ (ชื่อที่เรียกในเขตจังหวัดพัทลุง) เป็นทะเลสาบแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ติดกันถึง 3 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ จังหวัดพัทลุง ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอควนขนุน, จังหวัดสงขลา ในเขตอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอควนเนียง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมีเกาะขนาดใหญ่อยู่เกาะหนึ่ง คือ เกาะยอ และมีเกาะต่าง ๆ อีก ที่เป็นแหล่งสัมปทานเก็บรังนก คือ เกาะสี่ เกาะห้.

ดู อ่าวและทะเลสาบสงขลา

ทะเลปั๋วไห่

ทะเลปั๋วไห่ ทะเลปั๋วไห่ (Bohai Sea; 渤海, "ทะเลปั๋ว") หรือ อ่าวปั๋วไห่ (Bohai Gulf) เป็นอ่าวที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และข้างในสุดของทะเลเหลือง มีเนื้อที่ประมาณ 78,000 ตารางกิโลเมตร (30,116 ตารางไมล์) นับเป็นจุดที่มีการสัญจรทางทะเลคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทะเลปั๋วไห่มักเรียกว่า อ่าวจื๋อลี่ (Gulf of Chihli) หรืออ่าวเป่ย์จื๋อลี่ (Gulf of Pechihli) ประกอบด้วยอ่าว 3 แห่ง คือ อ่าวไหลโจว (Laizhou Bay) ทางใต้ อ่าวเหลียวตง (Liaodong Bay) ทางเหนือ และอ่าวปั๋วไห่ (Bohai Bay) ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกตรงปลายคาบสมุทรเหลียวตงกับคาบสมุทรชานตงคือช่องแคบปั๋วไห่ (Bohai Strait) มีเกาะที่สำคัญได้แก่ ฉางชาน (Changshan) ฉางซิ่ง (Changxing) และซีจง (Xizhong) แม่น้ำที่ไหลลงทะเลแห่งนี้ได้แก่ แม่น้ำหวง แม่น้ำไห่ แม่น้ำเหลียว และแม่น้ำหลวน มีเขตติดต่อกับมณฑลซานตง มณฑลเหอเป่ย์ เทียนจิน และมณฑลเหลียวหนิง ทะเลปั๋วไห่เป็นแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจำนวนมาก มีบ่อหลักคือเชิ่งลี่ (Shengli) ซึ่งเป็นบ่อน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของจีน นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ปัจจุบันมีการผลิตกว่า 500,000 บาร์เรลต่อวัน แต่จำนวนลดน้อยลงแล้ว.

ดู อ่าวและทะเลปั๋วไห่

ทะเลแดง

วเทียมของทะเลแดง ทะเลแดง (Red Sea; البحر الأحمر, อัลบะฮฺรุ อัลอะฮฺมัร; Yam Suf) เป็นอ่าวในมหาสมุทรอินเดีย แบ่งระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย โดยทะเลแดงเชื่อมกับมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ทะเลแดงมีความยาวประมาณ 1900 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 300 กิโลเมตร ร่องทะเลที่ลึกที่สุดประมาณ 2,500 เมตร และความลึกเฉลี่ยประมาณ 500 เมตร ทะเลแดงมีชื่ออื่นคือ อ่าวอาหรับ (Arabian Gulf) ซึ่งเรียกกันก่อนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อทะเลแดงไม่ได้หมายถึงสีของน้ำทะเล แต่หมายถึงสีของแบคทีเรียชนิดหนึ่งบริเวณผิวน้ำ.

ดู อ่าวและทะเลแดง

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ดู อ่าวและซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ปลาดุกทะเลลาย

ปลาดุกทะเลลาย หรือ ปลาดุกทะเลแถบ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาดุกทะเล (Striped eel catfish) เป็นปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plotosus lineatus (มาจากภาษากรีก Plotos หมายถึง "ว่ายน้ำ" และ lineatus หมายถึง "ลายแถบ") อยู่ในวงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) มีรูปร่างเรียวยาวด้านข้างแบน ส่วนหัวแบนลงมีหนวด คู่ครีบหลังและครีบหูมีก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง มีลักษณะเป็นฟันเลื่อย ไม่มีครีบไขมัน ส่วนหัวแบนยาวเรียวแหลมครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจอยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสำดำปนน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบเหล่านี้จะเลือนหายไปกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนแทน โดยที่ปลาดุกทะเลชนิดนี้ ตามเงี่ยงแข็งในแต่ละครีบนั้นมีพิษร้ายแรงมาก ถึงขนาดมีรายงานแทงมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร แต่ขนาดที่พบทั่วไปคือ 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่ทะเลแดง, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และพบในทะเลสาบน้ำจืดของทวีปแอฟริกา เช่น ทะเลสาบมาลาวี และมาดากัสการ์ด้วย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงในปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปลาวัยอ่อนจะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในแนวปะการังหรือตามกอสาหร่าย เป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน โดยมักจะขุดรูอยู่ในดินหรือเลนใกล้ชายฝั่ง เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และนิยมนำมาบริโภคกันโดยปรุงสุด แต่เนื้อมีกลิ่นคาวจึงมักจะนำไปปรุงประเภทรสจัดเช่น ผัดฉ.

ดู อ่าวและปลาดุกทะเลลาย

น้ำขึ้นจากพายุ

ผลกระทบของน้ำขึ้นจากพายุ น้ำขึ้นจากพายุ (storm surge หรือ tidal surge) คือคลื่นที่เกิดจากการยกตัวขึ้นของน้ำทะเลนอกชายฝั่งด้วยอิทธิพลของความกดอากาศต่ำและอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน น้ำขึ้นจากพายุขั้นตอนแรกเกิดจากลมความเร็วสูงที่พัดผลักดันผิวมหาสมุทร ลมจะทำให้น้ำยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำทะเลปกติ ขั้นตอนที่สองคือความกดอากาศต่ำที่ศูนย์กลางพายุ (ตาพายุ) มีผลเพิ่มยกระดับน้ำขึ้นอีกเล็กน้อย และอีกสาเหตุคือชั้นความลึก (bathymetry) ของน้ำทะเล ผลกระทบรวมจากปรากฏการณ์ความกดอากาศต่ำร่วมกับการพัดของลมพายุเหนือทะเลน้ำตื้นนี้เองที่เป็นต้นเหตุของอุทกภัยจากน้ำขึ้นจากพายุ คำว่า "storm surge" ในภาษาอังกฤษยังมีคำอื่น ๆ ที่ใช้แบบไม่เป็นทางการ (ไม่ใช่ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์) คือ "storm tide" (น้ำขึ้นหนุนจากพายุ) นั่นเพราะมันเกี่ยวโยงกับการยกขึ้นของน้ำทะเลจากพายุ, ภาวะน้ำขึ้นหนุน (plus tide), คลื่นเคลื่อนยกตัว (wave run-up), และการท่วมหลากของน้ำจืด เมื่อเอ่ยถึงอ้างอิงความสูงของน้ำขึ้นจากพายุ สิ่งสำคัญคือความชัดเจนของจุดอ้างอิง จากรายงานพายุหมุนเขตร้อนของศูนย์พายุหมุนแห่งชาติ (National Hurricane Center, NHC) รายงานอ้างอิงน้ำขึ้นจากพายุจากความสูงของระดับน้ำที่สูงเหนือจากระดับน้ำขึ้นของอุตุพยากรณ์ และความสูงของระดับน้ำที่ถูกพายุยกขึ้นเหนือจากสถิติระดับน้ำทะเลที่อ้างอิงใน พ.ศ.

ดู อ่าวและน้ำขึ้นจากพายุ

แผ่นดินไหวในเฮติ พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหวในเฮต..

ดู อ่าวและแผ่นดินไหวในเฮติ พ.ศ. 2553

เชสซี

ซี (Chessie) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตลึกลับชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่าเป็นสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอ่าวเชสปิก ในรัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรายงานแรกที่ระบุถึงการพบเห็นเชสซี เกิดขึ้นในปี ค.ศ.

ดู อ่าวและเชสซี

เกาะอัลคาทราซ

กาะอัลคราทราซ เกาะอัลคาทราซ (บางครั้งเรียกว่า อัลคาทราซ หรือ เดอะร็อค) เป็นเกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กลางอ่าวซานฟรานซิสโก ในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เกาะนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งประภาคาร ป้อมปราการของกองทัพ และยังเป็นคุกทหารจนถึงปี 1963 หลังจากนั้น เกาะอัลคาทราซก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ปัจจุบันนี้ เกาะอัลคาทราซเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์จากการอนุมัติโดยหน่วยงานอุทยาน แห่งชาติ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "Golden Gate National Recreation Area" และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมโดยเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือ 33 ใกล้กับ ฟิชเชอร์แมนวาร์ฟ (Fisherman's Wharf) ในซานฟรานซิสโก นอกจากนี้เกาะแห่งนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในปี 1986 ชื่อของเกาะได้รับการตั้งขึ้นเมื่อปี 1775 เมื่อนักสำรวจชาวสเปน ฮวน มานูเอล เดอ อยาลา ทำการสำรวจอ่าวซานฟานซิสโก และตั้งชื่อตามขนาดของเกาะว่า ลา อิสลา เดอ ลอส อัลคาทราซ ซึ่งแปลว่า "เกาะแห่งนกกระทุง" เกาะแห่งนี้ไม่เหมาะที่จะอยู่อาศัย เนื่องจากกระแสน้ำทะเล พืชผักที่มีปริมาณน้อยมาก และพื้นดินที่แห้งแล้ง เนื่องจากเกาะแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางอ่าวตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิเยือกแข็งและคลื่นลมแรง เกาะอัลคาทราซ จึงได้รับการพิจารณาให้ใช้เป็นที่คุมขังนักโทษ ในปี 1861 เกาะนี้ได้เป็นที่รองรับนักโทษจากสงครามกลางเมืองจากรัฐต่างๆ และผลพวงจากสงครามสเปน-อเมริกัน ในปี 1898 ทำให้จำนวนนักโทษเพิ่มขึ้นจาก 26 คน เป็น 450 คน จากนั้นในปี 1906 ได้เกิดแผ่นดินไหวในซานฟานซิสโก (ที่ทำลายเมืองนี้อย่างรุนแรง) บรรดานักโทษจึงถูกย้ายไปบนเกาะเพื่อความปลอดภัย ในปี 1912 มีการก่อสร้างคุกขนาดใหญ่ที่ใจกลางเกาะ และในปลายทศวรรษ 1920 อาคารสามชั้นนี้ก็เสร็จสมบูรณ์ กองทัพสหรัฐใช้เกาะอัลคาทราซมามากว่า 80 ปี คือจากปี 1850 จนถึงปี 1933 จากนั้นเกาะนี้ได้ย้ายไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงยุติธรรมเพื่อใช้เป็น ที่คุมขังนักโทษ รัฐบาลได้ใช้เป็นสถานที่ดัดสันดานที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุด ปราศจากสิทธิพิเศษใดๆ เพื่อจัดการกับบรรดานักโทษ และแสดงถึงประสิทธิภาพทางกฎหมายที่รัฐบาลต้องการลดคดีอาชญากรรมที่มีมากมาย ในช่วงปี 1920 และปี 1930 เกาะอัลคาทราซ ไม่ใช่ "เกาะแห่งความชั่วร้ายของอเมริกา" อย่างที่ปรากฏในหนังสือและภาพยนตร์ต่างๆ จำนวนนักโทษโดยเฉลี่ยประมาณคือ 260-275 คน (จำนวนนักโทษนี้ยังไม่ถึงปริมาณที่รองรับได้สูงสุด 336 คน ซึ่งนับได้ว่าจำนวนนักโทษของเกาะมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของจำนวนนักโทษทั่วประเทศ) มีนักโทษมากมายถูกพิพากษาไว้ชีวิต และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่านักโทษที่อื่น (ยกตัวอย่างเช่น นักโทษหนึ่งคนต่อหนึ่งห้องขัง) ซึ่งมีนักโทษหลายคนขอย้ายไปอยู่ที่เกาะอัลคาทราซ.

ดู อ่าวและเกาะอัลคาทราซ

เอเดน

อเดน (Aden) หรือ อาแดน (عدن, ʻAdan) เป็นเมืองในประเทศเยเมนที่ตั้งอยู่ราว 170 กิโลเมตรทางตะวันออกของช่องแคบบับเอลมันเดบ ท่าเรือโบราณซึ่งเป็นอ่าวธรรมชาติของเอเดนตั้งอยู่ในบริเวณที่เดิมเป็นปล่องภูเขาไฟที่ดับไปแล้วซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินที่เป็นแหลมเชื่อมกับแผ่นดินใหญ่โดยคอคอด ท่าเรือนี้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกโดยราชอาณาจักรเอาซัน (Kingdom of Awsan) ระหว่างศตวรรษที่ 5 ถึงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช ท่าเรือปัจจุบันอยู่ทางอีกด้านหนึ่งของแหลม ในปัจจุบันเอเดนมีประชากรราว 800,000 คน.

ดู อ่าวและเอเดน

เขตตังไวนางซัมบวงกา

ตตังไวนางซัมบวงกา‎ (ชาบากาโน: Peninsula de Zamboanga; เซบัวโน: Lawis sa Zamboanga; Tangway ng Zamboanga) หรือ เขตที่ 9 เป็นเขตหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย 3 จังหวัดและ 2 นคร ได้แก่ อีซาเบลาและซัมบวงกาซิตี ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบาซีลันและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนครที่มีประชากรอย่างสูงในเวลาต่อมา ชื่อเดิมของเขตนี้คือ เวสเทิร์นมินดาเนา ก่อนมีการประกาศเปลี่ยนแปลง ใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ดู อ่าวและเขตตังไวนางซัมบวงกา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ เวิ้งน้ำ