เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อ่ายตน

ดัชนี อ่ายตน

ทอ่ายตน เป็นชาวไท ที่อพยพมาอาศัยในประเทศอินเดียปัจจุบัน มีประชากร 5,500 คน นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 92.09 ฮินดู ร้อยละ 7.91% ไทอ่ายตน มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) เช่นเดียวกันกับชาวไทคำยัง และชาวไทนะรา เดิมทีชาวไทอ่ายตนเป็นพวกที่ส่งขันทีให้ราชสำนักเป็นประจำ ต่อมาถูกกริ้วจึงหนีมายังอัสสัม ตั้งหลักแหล่ง 2 แห่ง คือ ที่ภูเขานาคแห่งหนึ่ง และที่สิบสาคร อีกแห่งหนึ่ง มีผู้กล่าวว่ามีผู้กระทำผิดทางชู้สาวกับธิดาเจ้าฟ้า จึงถูกตอน คนไทเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า "ไทอ่ายตอน" แต่ออกเสียงเป็น "ไทอ่ายตน" ชาวไทอ่ายตน มีอยู่หลายหมู่บ้านที่เมืองโคลาฆาต เช่น บ้านหิน บ้านน้ำท่วม บอราปัตเถิร ชาวอ่ายตนที่บอราปัตเถิร เล่ากันว่าพวกเขาอพยพมาจากเมืองรีเมืองราม และเจล้าน ภาษาไทอ่ายตนมีลักษณะคล้ายกันกับภาษาไทอาหม จนอาจมีถิ่นฐานเดิมร่วมกัน การแต่งกายของหญิงชาวไทอ่ายตน แต่งกายคล้ายกับหญิงชาวไทพ่าเก แต่นุ่งซิ่นดำแทนซิ่นลาย มีผ้าสไบเฉียงแบบไทย ทั้งชาวไทเหนือ ในยูนนาน และชาวไทเมา ตลอดจนชาวไทยในประเทศไทย ส่วนชาวไทอ่ายตนที่ขริกะเตีย มีอยู่ 3 หมู่บ้าน คือ นานคาว ภลีชัน และเภชเภรี รวมเรียกว่า "สยามคาว" (หมู่บ้านสยาม) แต่ภาษาไทที่นี่นั่นสูญหายไปนานแล้ว แม้พ่อเฒ่าอายุ 70 ปีก็ยังจำไม่ได้ แม้ชาวไทอ่ายตนที่นี่ จะสูญเสียภาษาแล้ว แต่ก็ยังมีการผูกข้อมือรับขวัญ อาหารการกินก็คล้ายๆกับหมู่บ้านชาวไทอื่น ๆ รวมทั้งหนังสือ "ปู่สอนหลาน"ก็ยังเป็นคัมภีร์สำคัญของที่นี่ ถึงแม้จะไม่มีใครเข้าใจแล้ว หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาไท-กะได หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอินเดีย.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: Aitonพ่าเกกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดอาหมคำยังคำตี่

Aiton

Aiton สามารถหมายถึง.

ดู อ่ายตนและAiton

พ่าเก

วไทพ่าเก เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยอพยพเข้าทางทิวเขาปาดไก่ ทางตอนเหนือของประเทศพม่าปัจจุบัน ถิ่นเดิมของชาวไทพ่าเกอยู่ที่เมืองเมาหลวง ต่อมาได้ติมตามกษัตริย์อาหมมาอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) บริเวณถ้ำผาใหญ่ และผานั้นเป็นผาอันเก่าแก่มาก จึงได้ชื่อว่า ชาวไทพ่าเก ถึงปี พ.ศ.

ดู อ่ายตนและพ่าเก

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได หรือบางครั้งเรียกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มชาติพันธุ์ ไท-กะได กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นการนับถือผี นับถือบรรพบุรุษ และบูชาแถน (ผีฟ้า หรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อย และ ไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย แสก คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ).

ดู อ่ายตนและกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได

อาหม

อาหม (আহোম; อาโหมะ) หรือ ไทอาหม กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยในรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย เดิมใช้ภาษาอาหม ในกลุ่มภาษาย่อยไท-พายัพ ซึงเป็นภาษาในกลุ่มภาษากัม-ไท ตระกูลภาษาไท-กะได แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนแล้วhttp://www.ethnologue.com/show_language.asp?code.

ดู อ่ายตนและอาหม

คำยัง

ำยัง หรือ ไทคำยัง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทกลุ่มหนึ่ง ที่อพยพไปอาศัยอยู่ที่ประเทศอินเดีย และทางตอนเหนือของประเทศพม่า เดิมชาวไทคำยังอาศัยอยู่บริเวณเมืองกอง (โมกอง) ใกล้ทิวเขาปาดไก่ และอพยพไปอยู่ร่วมกับชาวไทอาหม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ดินแดนของชาวไทคำยัง มีอยู่ 2 ส่วน คือ บ้านน้ำ ได้แก่ หมู่บ้านทิสังปานี และหมู่บ้านโซราปัตเถิร แขวงศิวสาคร กับ บ้านดอย ได้แก่ หมู่บ้านตาติบาร์ แขวงโชรหัท และยังมีในแขวงตินสุก.

ดู อ่ายตนและคำยัง

คำตี่

ำตี่ ขำติ หรือ ชาวไทคำตี่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดกลุ่มหนึ่งในอัสสัม และทางภาคเหนือของประเทศพม่า ในรัฐกะฉิ่น เมืองปูตาโอ แบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไทคำตี่หลวง (ในประเทศพม่า) และ กลุ่มสิงคะลิงคำตี่ (ในประเทศอินเดีย).

ดู อ่ายตนและคำตี่

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ชาวไทอ่ายตน