เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อเวจี

ดัชนี อเวจี

''อเวจี'' ตามคติญี่ปุ่น อเวจี หรือ อวิจี (บาลี, สันสกฤต อวีจิ; 無間地獄 ตรงกับ むげんじごく และ 阿鼻地獄 ตรงกับ あびじごく) คือ ชื่อของนรกซึ่งเป็นหนึ่งใน มหานรก 8 ขุม มีปรากฏเป็นบันทึกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา โดยอเวจีมหานรกนั้น เป็นนรกขุมลึกที่สุด ตามรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต "อวีจิ" แปลว่า "ปราศจากคลื่น"หรือ"ไม่มีการหยุดพัก" (ลงโทษไม่มีการพัก) เป็นนรกขุมที่ต่ำที่สุดที่ผู้กระทำอนันตริยกรรมจะไปเกิด อนันตริยกรรมหรือคุรุกรรมที่ทำให้เกิดในนรกภูมินี้ ได้แก.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: พระกษิติครรภโพธิสัตว์พระเจ้าสุปปพุทธะพระเทวทัตอนันตริยกรรมจิญจมาณวิกาปาราชิกนรกภูมิ

พระกษิติครรภโพธิสัตว์

ระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คับ-พะ-โพ-ทิ-สัด/, क्षितिगर्भ;; กฺษิติครฺภ) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"("Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb") พระกษิติครรภโพธิสัตว์ได้รับมอบหมายจากพระศากยมุนีพุทธเจ้าให้เป็นผู้แสดงธรรมโปรดสัตว์ในกามภูมิ 6 ในช่วงที่พระองค์ปรินิพพานไปแล้วและพระศรีอริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระกษิติครรภมีปณิธานสำคัญในการช่วยสัตวโลกทั้งหมดให้พ้นจากนรกภูมิ หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์ผู้ทุกข์ยากในอบายภูมิ มีนรกทั้งปวง เป็นต้น เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น รูปลักษณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด สำหรับในประเทศไทยเอง มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย (佛眼禪林弘法基金會:地藏道場) พุทธมณฑลสาย 6 ได้สร้างวัดหรือธรรมสถาน เพื่ออุทิศแด่องค์พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์โดยเฉพาะ โดยสร้างองค์พระกษิติครรภ์ ด้วยหินแกรนิตแกะสลักสูงรวมฐาน 13.99 เมตร และพระกษิติครรภ์ 6 ปาง ที่มีคติมาจากปุณฑริกสมาธิสูตร (蓮華三昩經) ที่ว่าพระกษิติครรภ์นิรมาณกายไปโปรดสัตว์ทั้ง 6 ภูมิ พร้อมพญายมราชทั้ง 10 ซึ่งในสูตรฝ่ายมหายานกล่าวว่า เป็นพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ 10 พระองค์ นิรมาณกายมาโปรดสัตว์ และปฏิมากรรมหินแกะสลักนายนิรยบาล เป็นหินแกะสลักสูงใหญ่กว่าคนอีกรวมทั้งสิ้น 25 องค์โดยช่างฝีมือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคติของพุทธมหายานแบบจีน และเผยแพร่กษิติครรภโพธิสัตว์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) และ กษิติครรภ์โพธิสัตว์ทศจักรสูตร (地藏十輪經) ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของพระกษิติครรภ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกษิติครรภมณฑล ที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก.

ดู อเวจีและพระกษิติครรภโพธิสัตว์

พระเจ้าสุปปพุทธะ

ระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเทวทหะ แห่งแคว้นโกลิยะ มีพระมเหสี นามว่า นางอมิตาเทวี แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระเจ้าสุปปพุทธะ มีพระราชบุตร 2 พระองค์ องค์แรกเป็นพระราชโอรส มีพระนามว่า เจ้าชายเทวทัต ซึ่งคิดอิจฉาริษยากับพระพุทธเจ้ายิ่งนัก ส่วนพระองค์ที่ 2 เป็นพระราชธิดา มีพระนามว่า นางยโสธรา หรือ พิมพา ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้.

ดู อเวจีและพระเจ้าสุปปพุทธะ

พระเทวทัต

ระเทวทัต เป็นพระภิกษุในสมัยพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสุปปพุทธะผู้ครองกรุงเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธองค์ พระเทวทัตเป็นที่รู้จักกันดีจากเรื่องราวในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ที่มีความร้ายกาจ กระทำแต่เรื่องไม่สมควรต่อพระพุทธเจ้าเป็นอันมากมาย ตลอดเวลาแห่งการบำเพ็ญพรตในพุทธวิสัยตั้งแต่ครั้งพระพุทธโคดมยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดถึงในปัจจุบันชาติ พระเทวทัตก็ยังคงประพฤติผิดถึงกับกระทำอนันตริยกรรมคือลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าและทำสังฆเภท ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า เดิมนั้นท่านออกบวชด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่าในที่สุดพระเทวทัตได้สำนึกผิดเมื่อช้าไป ได้ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรกหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร แต่ด้วยการกระทำที่เคยบำเพ็ญบุญบารมีมาแล้วในอดีตมากนับประมาณ และประกอบกับการเห็นถูกต้องตรงสัมมาทิฏฐิเมื่อก่อนสิ้นใจกลับสำนึกผิดมอบถวายกระดูกคางด้วยเป็นพระพุทธบูชาแม้ในขณะวินาทีสุดท้ายในขณะที่ถูกแผ่นดินสูบ ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัตสิ้นกรรมจากอเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระในอนาคต.

ดู อเวจีและพระเทวทัต

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม หมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ.

ดู อเวจีและอนันตริยกรรม

จิญจมาณวิกา

ลปะลาว แสดงภาพจิญจมาณวิกากำลังให้ร้ายพระโคตมพุทธเจ้าท่ามกลางธารกำนัล จิญจมาณวิกา เป็นสตรีที่เชื่อว่ามีชีวิตอยู่ในพุทธกาล โดยในพระไตรปิฎกกล่าวหาว่านางได้ให้ร้ายพระโคตมพุทธเจ้า ต่อหน้าคนจำนวนมากว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ ความคือ จิญจมาณวิกา ฉลาดในมารยาทของหญิง นับถือ ลัทธิเดียรถีย์ มีเจตนาเพื่อทำลายพระพุทธเจ้าจึงเดินเข้าออกวัดเชตวันอยู่เสมอ ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวัน แต่อยู่ในวัดเดียรถีย์ใกล้เคียง โดยกาลล่วงไป ๘ - ๙ เดือน ผูกไม้กลมไว้ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการบวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ายอมตนกล่าวตู่พระพุทธเจ้าในท่ามกลางหมู่ชน ภายหลังถูกแผ่นดินสูบ ดังมีในพุทธชัยมงคลปราฏเป็นหลักฐานในบทสวด "พาหุง" บทที่ ๕ ความว่า "กตฺวาน กฎฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา  จิญฺจาย ทุฏฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ สนฺเตน โสมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท  ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ" แปลว่า "นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีสงบระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา" ด้วยผลกรรมที่ใส่ร้ายพระศาสดา เมื่อออกจากวัดพระเชตวัน นางจึงถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก สถานที่ที่นางถูกธรณีสูบอยู่ที่สระโบกขรณี ติดกับสถานที่ที่พระเทวทัตถูกธรณีสูบ ดังคำในจิญจมาณวิกาวัตถุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้ล่วงละเมิดธรรมอย่างหนึ่ง ผู้มักกล่าวเท็จ ปฏิเสธปรโลก จะไม่ทำบาปไม่มี.

ดู อเวจีและจิญจมาณวิกา

ปาราชิก

ปาราชิก คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติปาราชิก คำศัพท์ว่า ปาราชิกนั้น แปลว่า ยังผู้ต้องพ่าย หมายถึง ผู้ต้องพ่ายแพ้ในตัวเองที่ไม่สามารถปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ได้ ปาราชิก มี 4 ข้อ อยู่ใน ศีล 227 ได้แก.

ดู อเวจีและปาราชิก

นรกภูมิ

ลของมัจจุราชในนรก ภาพจากสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (निरय, นิรย; नरक, นรก; 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; 地獄, จิโกะกุ; ငရဲ, งาเย; neraka เนอรากา) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดทันทีหรือถูกลงโทษตามคำพิพากษาของพญายมราช ตามไตรภูมิกถาแล้ว นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภพ" หรือ "ไตรภูมิ" นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี.

ดู อเวจีและนรกภูมิ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหานรกอเวจีนรกอเวจี