โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร

ดัชนี อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร (عمر حسن أحمد البشير, 1 มกราคม ค.ศ. 1944 -) เป็นหัวหน้าพรรคเนชันแนลคองเกรส และประธานาธิบดีของประเทศซูดานคนปัจุจบัน เริ่มเข้ามามีอำนาจทางการเมืองครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1989 ขณะยังเป็นนายทหารยศพันโท โดยเป็นผู้นำกลุ่มนายทหารทำรัฐประหารไม่นองเลือดขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีซาดิก อัลมะฮ์ดี (Sadiq al-Mahdi) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้เจรจายุติสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง ซึ่งเป็นสงครามที่ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนานที่สุดและนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยให้อำนาจปกครองตนเองบางส่วนในเซาท์ซูดานซึ่งเป็นพื้นที่เกิดสงคราม อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองแล้ว รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อบทบาทของรัฐบาลในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ อันเป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ประชากรที่ไม่ใช่ชาวอาหรับครั้งใหญ่ในซูดาน มีผู้เสียชีวิตจากกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่าง 200,000 ถึง 400,000 คน บทบาทของนายอัลบะชีรในเรื่องนี้ได้นำไปสู่การสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธของพวกยันยาวิด (Janjaweed) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐบาล และกองกำลังกบฏฝ่ายต่างๆ อันได้แก่ กองทัพปลดแอกประชาชนซูดาน (Sudan People's Liberation Army, SPLA) กองทัพปลดปล่อยซูดาน (Sudanese Liberation Army, SLA) และขบวนการความยุติธรรมและความเสมอภาค (Justice and Equality Movement, JEM) ซึ่งทำการรบในรูปแบบสงครามกองโจรในแคว้นดาร์ฟูร์ ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้ประชาชนกว่า 2.5 ล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาดกับซูดานตกต่ำลงจนถึงระดับวิกฤต เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 หลุยส์ โมเรโน-โอแคมโป อัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court, ICC) ได้ฟ้องร้องนายอัลบะชีรในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงครามในแคว้นดาร์ฟูร์ ศาลได้ออกหมายจับนายอัลบะชีรเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2009 ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม แต่ไม่รวมข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เนื่องจากศาลได้ชี้ว่าหลักฐานที่จะฟ้องร้องด้วยข้อหาดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอBBC News, 4 March 2009.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2487พ.ศ. 2552พัน กี-มุนรายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2552รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2559รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2560รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2561รายนามประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลปัจจุบันศาลอาญาระหว่างประเทศสงครามดาร์ฟูร์องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนความขัดแย้งในเซาท์คอร์โดฟานและบลูไนล์ประเทศซูดานประเทศเซาท์ซูดาน

พ.ศ. 2487

ทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและพ.ศ. 2487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พัน กี-มุน

ัน กี-มุน (Ban Ki-moon;; เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2487) เป็นอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 8 ต่อจากโคฟี แอนนัน โดยได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและพัน กี-มุน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2552

นี่คือรายชื่อของผู้นำประเทศของประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009).

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและรายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2559

นี่คือรายชื่อของผู้นำประเทศของประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2559.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและรายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2560

นี่คือ รายชื่อของผู้นำประเทศของประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2560.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและรายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2561

นี่คือ รายชื่อของผู้นำประเทศของประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2561.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและรายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2561 · ดูเพิ่มเติม »

รายนามประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลปัจจุบัน

ตารางต่อไปนี้เป็นรายนามของประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลทั่วโลกในปัจจุบัน แสดงประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลซึ่งมีลักษณะต่างกันออกไปตามรูปแบบการปกครอง โดยส่วนใหญ่เป็นระบบรัฐสภา ในขณะที่บางรัฐนั้นประมุขจะอยู่ในระบบประธานาธิบดีหรือเผด็จการ และบางรัฐใช้การปกครองในระบบกึ่งประธานาธิบดี.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและรายนามประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลปัจจุบัน · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดาร์ฟูร์

งครามดาร์ฟูร์ หรือที่ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช เรียกว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ (Darfur Genocide) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในดินแดนดาร์ฟูร์ ทางตะวันตกของประเทศซูดาน ซึ่งสงครามคราวนี้แตกต่างจาก สงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่ 2 โดยที่สงครามนี้เกิดจากความขัดแย้งด้านชนชาติและชนเผ่า ในขณะที่สงครามก่อนหน้าเกิดจากความขัดแย้งด้านศาสนา ความขัดแย้งนี้เริ่มต้นเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ค่ายอพยพดาร์ฟูร์ในประเท.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและสงครามดาร์ฟูร์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน

องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (ฝรั่งเศส: Reporters sans frontières, RSF; อังกฤษ: Reporters Without Borders, RWB) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชนนานาชาติซึ่งสนับสนุนและปกป้องเสรีภาพสื่อและเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร องค์กรมีฐานดำเนินงานอยู่ที่ปารีส และมีสถานะที่ปรึกษาในสหประชาชาติ ก่อตั้งโดย โรแบร์ เมนาร์ องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนมีสองกิจกรรมหลัก อย่างแรกคือการมุ่งด้านการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตและสื่อใหม่ และอีกอย่างคือการจัดหาเครื่องมือ งบประมาน และความช่วยเหลือทางจิตใจแก่นักข่าวที่ถูกส่งไปในพื้นที่อันตราย, Reporters Without Borders, 16 April 2012, retrieved 21 March 2013 โดยมีพันธกิจดังนี้.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและองค์กรนักข่าวไร้พรมแดน · ดูเพิ่มเติม »

ความขัดแย้งในเซาท์คอร์โดฟานและบลูไนล์

วามขัดแย้งในเซาท์คอร์โดฟานและบลูไนล์ หรือบางครั้งเรียกว่า สงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สาม เป็นความขัดแย้งติดอาวุธที่ยังดำเนินอยู่ในซูดานทางใต้ในรัฐเซาท์คอร์โดฟานและบลูไนล์ระหว่างกองทัพซูดาน (SAF) และ Sudan People's Liberation Movement-North (SPLM-N) ซึ่งเป็นส่วนเหนือของ Sudan People's Liberation Movement (SPLM) ในเซาท์ซูดาน จนถึง ตุลาคม 2014 ประมาณสองล้านคนได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งนี้ มากกว่า 500,000 คนพลัดถิ่น และในจำนวนนี้ประมาณ 250,000 คนอพยพไปเซาท์ซูดานและเอธิโอเปี.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและความขัดแย้งในเซาท์คอร์โดฟานและบลูไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซาท์ซูดาน

ซาท์ซูดาน (South Sudan) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (Republic of South Sudan) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า จูบา ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิเควทอเรียลกลางที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เซาท์ซูดานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับเอธิโอเปีย ทางใต้ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทางตะวันตกติดต่อกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางเหนือติดต่อกับซูดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบึงตมซึ่งเกิดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขาว หลังจากซูดานได้รับเอกราชเมื่อปี..

ใหม่!!: อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรและประเทศเซาท์ซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Omar al-Bashirอูมัร อัลบะชีร์อูมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร์โอมาร์ อัล-บาร์เชอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »