โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ

ดัชนี อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ

CCD ที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษเพื่อจับภาพในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลต อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (charge-coupled device) หรือ CCD เป็นอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนย้ายประจุไฟฟ้าจากภายในเครื่องไปยังพื้นที่ที่ประจุสามารถถูกจัดการหรือแก้ไขดัดแปลง ตัวอย่างเช่นการแปลงให้เป็นค่าดิจิทัล งานนี้จะทำได้โดย"การเลื่อน" (shifting)สัญญาณไปตามขั้นตอนต่างๆภายในอุปกรณ์ ทีละหนึ่งขั้นตอน CCDs จะเคลื่อนย้ายประจุระหว่างถังเก็บประจุในอุปกรณ์ ด้วยตัวเลื่อนที่ยอมให้มีการถ่ายโอนประจุระหว่างแต่ละถัง CCD เป็นชิ้นส่วนสำคัญของเทคโนโลยีในการถ่ายภาพดิจิทัล ในเซนเซอร์รูปภาพของ CCD, พิกเซลจะถูกแสดงความหมายโดยตัวเก็บประจุ MOS แบบ p-doped ตัวเก็บประจุเหล่านี้จะถูกไบอัสเหนือค่าเกณฑ์สำหรับการผกผันเมื่อการควบรวมภาพเริ่มต้นขึ้น ช่วยให้การแปลงของโฟตอนที่เข้ามาให้เป็นประจุอิเล็กตรอนที่รอยต่อระหว่างเซมิคอนดักเตอร์กับออกไซด์(semiconductor-oxide interface); จากนั้น CCD จะถูกใช้อ่านประจุเหล่านี้ แม้ว่า CCDs ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีเดียวที่จะทำการตรวจจับแสง เซนเซอร์รูปภาพของ CCD ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับการใช้งานมืออาชีพ, การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ ในที่ซึ่งข้อมูลภาพคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการ ในการใช้งานที่มีความต้องการคุณภาพน้อยลงเช่นกล้องดิจิทัลของมือสมัครเล่น และมืออาชีพ เซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง(active pixel sensors)แบบ CMOS จะถูกนำมาใช้โดยทั่วไป; CCDs ได้เปรียบด้านคุณภาพอย่างสูงที่ใช้ได้ดีในช่วงต้น ข้อได้เปรียบนั้นได้ถูกทำให้แคบลงเมื่อเวลาผ่านไป.

13 ความสัมพันธ์: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนกล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2กล้องดีเอสแอลอาร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)ดาราศาสตร์ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงฉางเอ๋อ 2โครโมโซมเอกซ์เซนเซอร์พิกเซลตอบสนองเซนเซอร์รูปภาพ

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

transmission electron microscope (TEM)) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของซีเมนส์รุ่นปี 1973 ใน Musée des Arts et Métiers, กรุงปารีส กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นชนิดของกล้องจุลทรรศน์แบบหนึ่งที่ใช้อิเล็กตรอนที่ถูกเร่งความเร็วเป็นแหล่งที่มาของการส่องสว่าง เนื่องจากอิเล็กตรอนมีความยาวคลื่นสั้นกว่าโฟตอนของแสงที่มนุษย์มองเห็นได้ถึง 100,000 เท่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจึงมีกำลังขยายสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและสามารถเปิดเผยให้เห็นโครงสร้างของวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆได้ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านสามารถให้รายละเอียดได้สูงถึง 50 picometre และมีกำลังการขยายได้ถึงประมาณ 10,000,000 เท่า ขณะที่ส่วนใหญ่ของกล้องจุลทรรศน์แบบแสงจะถูกจำกัดโดยการเลี้ยวเบนของแสงที่ให้ความละเอียดประมาณ 200 นาโนเมตรและกำลังขยายที่ใชการได้ต่ำกว่า 2000 เท่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านใช้เลนส์ไฟฟ้าสถิตและแม่เหล็กไฟฟ้า (electrostatic and electromagnetic lenses) ในการควบคุมลำแสงอิเล็กตรอนและโฟกัสมันเพื่อสร้างเป้นภาพ เลนส์แสงอิเล็กตรอนเหล่านี้เปรียบเทียบได้กับเลนส์แก้วของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงออปติคอล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนถูกนำไปใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างขนาดเล็กมากๆของตัวอย่างทางชีวภาพและอนินทรีที่หลากหลายรวมทั้งจุลินทรีย์ เซลล์ชีวะ โมเลกุลขนาดใหญ่ ตัวอย่างชิ้นเนื้อ โลหะ และคริสตัล ด้านอุตสาหกรรมกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมักจะใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพและการวิเคราะห์ความล้มเหลว กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ทันสมัยสามารถผลิตภาพถ่ายขนาดจิ๋วแบบอิเล็กตรอน (electron micrograph) โดยใช้กล้องดิจิตอลแบบพิเศษหรือ frame grabber (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่ใช้จับภาพนิ่งจากสัญญาณวิดีโอแอนะลอกหรือดิจิตอล) ในการจั.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

กล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3

กล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3 (Wide Field Camera 3) คือ กล้องที่จะถูกนำไปติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2008 ใช้สำหรับถ่ายคลื่นที่ตามองเห็น มันจะเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดที่ใช้ถ่ายคลื่นที่ตามองเห็นของกล้องฮับเบิลและเป็นอุปกรณ์ตัวสุดท้ายของกล้องฮับเบิล.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและกล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3 · ดูเพิ่มเติม »

กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์

กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ (Wide Field/Planetary Camera) คือ กล้องที่ติดตั้งอยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ถูกติดตั้งตั้งแต่ตอนขนส่งขึ้นสู่วงโคจร ประสิทธิภาพของมันมันลดลงเนื่องจากข้อบกพร่องของกระจกหลักในกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตาม มันยังคงถ่ายภาพวัตถุทางดาราศาสตร์ที่สว่างมากด้วยความละเอียดสูง ทำให้เกิดการค้นพบที่สำคัญต่างๆมากมาย กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์เกิดจากแนวคิดของ James A. Westphal ศาสตราจารย์วิชาอวกาศดาวเคราะห์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ถูกออกแบบและก่อสร้างโดยห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่นขององค์การนาซา ในเวลานั้น อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (CCD) ยังไม่ถูกนำมาใช้งานทางดาราศาสตร์มากนัก แต่ประสิทธิภาพของมันก็ทำให้นักดาราศาสตร์เห็นว่าควรใช้มันในกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ประกอบด้วยกล้องสองตัวแยกจากกัน ได้แก่ กล้องถ่ายภาพสนามกว้าง และกล้องถ่ายภาพดาวเคราะห์ กล้องแต่ละตัวมีอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (CCD) ขนาด 800 x 800 พิกเซล จำนวน 4 ตัว วางติดกันให้สามารถถ่ายรูปได้โดยไร้รอยต่อ กล้องถ่ายภาพสนามกว้างมีพิกเซลขนาด 0.1 พิลิปดา ใช้สำหรับถ่ายภาพวัตถุมัวในมุมกว้าง กล้องถ่ายภาพดาวเคราะห์มีพิกเซลขนาด 0.043 พิลิปดา ใช้สำหรับถ่ายภาพความละเอียดสูง พีระมิดสี่หน้าที่เอียง 45 องศาเป็นตัวเลือกว่าจะใช้กล้องใด กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ถูกเปลี่ยนเป็นกล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2 ในภารกิจซ่อมบำรุงกล้องฮับเบิลครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและกล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2

ที่ได้จากกล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2 มีรูปร่างเป็นขั้นบันได กล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2 (Wide Field and Planetary Camera 2) คือ กล้องที่ติดตั้งอยู่บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ถูกนำขึ้นไปติดตั้งในภารกิจซ่อมบำรุงกล้องฮับเบิลครั้งที่หนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1993 มันถ่ายภาพสนามลึกฮับเบิลเมื่อ..

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและกล้องถ่ายภาพสนามกว้างและดาวเคราะห์ 2 · ดูเพิ่มเติม »

กล้องดีเอสแอลอาร์

ตัวอย่างกล้อง D-SLR (Canon EOS 5D) กล้องดีเอสแอลอาร์ (D-SLR) เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิทัล มีลักษณะเหมือนกล้องที่ใช้ฟิล์ม เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและกล้องดีเอสแอลอาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)

ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) ครอบคลุมความเป็นช่างประดิษฐ์และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาภายในบริบททางประวัติศาสตร์, ย้อนไปตั้งแต่ยุคร่วมสมัยถึงยุคปัจจุบัน, ซึ่งได้บรรลุความสำเร็จโดยนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ผู้เป็นทั้งประชากรโดยกำเนิดหรือได้รับเป็นพลเมืองของประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91) · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง (proximity sensor) คือ ตัวรับรู้ (sensor) ชนิดหนึ่งที่สามารถตรวจหาการปรากฏตัวของวัตถุใกล้เคียงโดยปราศจากการสัมผัสทางกาย ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงมักจะปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือลำรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นรังสีอินฟราเรด) และมองหาการเปลี่ยนแปลงของสนามหรือสัญญาณที่ส่งกลับมา วัตถุที่กำลังตรวจหามักจะถูกเรียกว่าเป้าหมาย เป้าหมายต่างกันก็ใช้ตัวรับรู้ต่างกัน เช่นถ้าเป้าหมายเป็นพลาสติก ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเก็บประจุ หรือ photoelectric ถ้าเป้าหมายเป็นโสหะ ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเหนี่ยวนำ เป็นต้น ระยะห่างสูงสุดที่ตัวรับรู้นี้จะสามารถตรวจพบได้จะถูกกำหนดให้เป็น "ระยะกำหนด" (nominal range) ตัวรับรู้บางตัวสามารถปรับระยะกำหนดได้หรือวิธีการรายงานระยะห่างที่วัดได้อีกด้วย ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงอาจมีความน่าเชื่อถือที่สูงและอายุการทำงานยืนยาวเพราะว่ามันไม่มีชิ้นส่วนกลไกที่เคลื่อนไหวและไม่มีการสัมผัสทางกายระหว่างตัวรับรู้และเป้าหมาย ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงถูกใช้ทั่วไปบนโทรศัพท์อัจฉริยะเพื่อตรวจหา (และกระโดดข้าม) การแตะหน้าจอโดยไม่ได้ตั้งใจขณะกำลังถือโทรสัพท์ติดกับหูเวลาพูดสาย พวกมันยังถูกใช้อีกด้วยในการเฝ้าดูการสั่นของเครื่องยนต์เพื่อวัดการแปรเปลี่ยนของระยะทางระหว่างเพลากับแบริ่งที่รองรับมันอยู่ หน้าที่จะพบเห็นทั่วไปในเครื่องกังหันไอน้ำขนาดใหญ่ เครื่องอัดความดันด้วยก๊าซ และมอเตอร์ที่ใช้แบริ่งแบบปลอกแขนเสื้อ International Electrotechnical Commission (IEC) 60947-5-2 เป็นผู้กำหนดรายละเอียดด้านเทคนิคของตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงที่ถูกปรับให้ทำงานในระยะที่ใกล้มากจะถูกใช้ใน สวิชต์แบบสัมผัส (touch switch).

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง · ดูเพิ่มเติม »

ฉางเอ๋อ 2

ฉางเอ๋อ 2 (.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและฉางเอ๋อ 2 · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซมเอกซ์

Scheme of the X chromatid CCD camera. The Barr body is indicated by the arrow, it identifies the inactive X (Xi). โครโมโซมเอกซ์ เป็นโครโมโซมเพศหนึ่งในสองตัวสำหรับสัตว์หลายชนิดซึ่งรวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย เป็นส่วนหนึ่งของระบบกำหนดเพศ XY และระบบกำหนดเพศ X0 ชื่อโครโมโซมเอกซ์ ได้มาจากลักษณะเฉพาะที่นักวิจัยที่ค้นพบโครโมโซมในระยะแรกสังเกตพบ ต่อมาจึงมาการกำหนดชื่อโครโมโซม Y ที่พบต่อมาในภายหลัง เพื่อให้เป็นอักษรที่ต่อจาก X.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและโครโมโซมเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง

เซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง (Active pixel sensor: APS) เป็นเซนเซอร์รูปภาพที่ประกอบด้วยวงจรประยุกต์ซึ่งบรรจุเซนเซอร์พิกเซลอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละพิกเซลบรรจุตัวตรวจจับรูปภาพและตัวเพิ่มพลังงานไฟฟ้าแบบตอบสนอง มีเซนเซอร์พิกเซลตอบสนองที่ใช้กันอยู่ทั่วไปหลากหลายชนิดเช่น CMOS APS พบได้ในกล้องของโทรศัพท์มือถือหรือกล้องเว็บ หรือDSLR การเซนเซอร์รูปภาพประเภทนี้ใช้ประมวลการ CMOS (และมักพูดกันในชื่อ เซนเซอร์ CMOS) ซึ่งมาใช้แทนที่อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (CCD) ได้ หมวดหมู่:อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา.

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและเซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง · ดูเพิ่มเติม »

เซนเซอร์รูปภาพ

230px เซนเซอร์รูปภาพบนแผงวงจรหลักของกล้อง Nikon Coolpix L2 6 เมกกะพิกเซล เซนเซอร์รูปภาพ (image sensor) คืออุปกรณ์ที่แปลงภาพที่เห็นด้วยตาเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยมากแล้วจะเป็นส่วนประกอบในกล้องดิจิตอล และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับภาพอื่นๆ เซนเซอร์ในยุคแรกๆ นั้นจะมีลักษณะเป็นกระบอกกล้องวีดิทัศน์ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ หรือเซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง (charge-coupled device - CCD) แบบกึ่งตัวนำเมทัลอ็อกไซด์ควบเสริม (complementary metal-oxide-semiconductor - CMOS).

ใหม่!!: อุปกรณ์ถ่ายเทประจุและเซนเซอร์รูปภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CCDCharge-coupled device

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »