โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อีเลียด

ดัชนี อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

34 ความสัมพันธ์: พีลยูสกระจุกดาวลูกไก่กรีซยุคอาร์เคอิกภาษาโทรจันมหากาพย์มหาภารตะม้าโทรจันฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี)ลายวงกตวรรณกรรมกรีกโบราณสกุลฟีนิกซ์สงครามกรุงทรอยอลัน ลีอะธีนาอาร์ทิมิสอคิลลีสอเล็กซานเดอร์มหาราชฮีราธีบส์ (กรีซ)ทาลอสต้นสมัยกลางซูสนิกซ์แกนีมีด (เทพปกรณัม)แอรีสโอดิสซีย์โอดิสเซียสโฮเมอร์เฮกเตอร์เฮดีสเฮเลนแห่งทรอยเทพปกรณัมกรีกเทวสภาโอลิมปัสเดวส์เอกส์มาคีนา

พีลยูส

ีลยูส พีลยูส (Peleus,; Πηλεύς, Pēleus) ในเทพปกรฌัมกรีก เป็นกษัตริย์หนุ่มรูปงามและเป็นเจ้าของดาบศักดิ์สิทธิ์ซึ่งทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้ชนะในการรบทุกครั้ง มีชายาชื่อเททิส ทั้งสองได้ให้กำเนิดโอรสที่แสนเกรียงไกรยิ่งนัก คือ "อคิลลีส" นั่นเอง.

ใหม่!!: อีเลียดและพีลยูส · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวลูกไก่

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง.

ใหม่!!: อีเลียดและกระจุกดาวลูกไก่ · ดูเพิ่มเติม »

กรีซยุคอาร์เคอิก

กรีซยุคอาร์เคอิก (Archaic Greece) ยุคอาร์เคอิกของกรีซ คือสมัยอารยธรรมของประวัติศาสตร์กรีซโบราณที่รุ่งเรืองราวระหว่าง 800 ถึง 480 ปีก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นยุคก่อนก่อนหน้ากรีซยุคคลาสสิก (ศตวรรษที่ 4 และ 5 ก่อนคริสตกาล) กรีซในยุคอาร์เคอิกเป็นช่วงเวลาที่จำนวนประชากรกรีกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลำดับเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าอารยธรรมของชาวกรีก ณ ช่วงสิ้น.ที่ 8 ก่อนคริสตกาล จนกลายสภาพไปในลักษณะที่แทบจำไม่ได้หากเปรียบเทียบกับยุคก่อนหน้า นักวิชาการเชื่อว่ายุคอาร์เคอิกของกรีซ เกิดขึ้นจากการปฏิวัติที่สำคัญสองประเภท คือ การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง ประเภทหนึ่ง และ การปฏิวัติทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง การปฏิวัติเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การสร้างแผนที่ และการกำหนดสถานะทางการเมืองระหว่างกันขึ้นในโลกของชาวกรีก เริ่มมีการก่อตั้งนครรัฐ "โปลิส" (poleis) ที่มีแบบแผนเฉพาะตัวขึ้นมา ในยุคนี้ชาวกรีกได้พัฒนาทฤษฎีการเมือง การเศรษฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การสงคราม และวัฒนธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และสิ่งเหล่านี้ปูพื้นฐานไปสู่ยุคทอง หรือยุคคลาสสิคของอารยธรรมกรีก นอกจากนี้ชาวกรีกในยุคอาร์เคอิกยังได้ฟื้นฟูการเขียนที่หายไปในระหว่างยุคมืด โดยมีการพัฒนาตัวอักษรกรีกจนมีลักษณะอย่างที่ใช้กันมาจนปัจจุบัน ทำให้วรรณคดีของกรีซโดยเฉพาะมหากาพย์ของโฮเมอร์ เปลี่ยนจากการถ่ายทอดทางมุขปาถะ (ปากเปล่า) มาเป็นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในด้านศิลปะได้ปรากฏการสร้างเครื่องปั้นดินเผารูปเขียนสีแดง (red-figure pottery) ด้านการทหารได้มีการพัฒนากระบวนทัพแบบฮอปไลต์ขึ้น ซึ่งกลายเป็นแกนหลักและยุทธวิธีหลักของกองทัพกรีก ในนครเอเธนส์สถาบันประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกถูกนำมาใช้ภายใต้การการชี้นำของโซลอน และต่อมาการปฏิรูปของไคลธีนีส (Cleisthenes) ในช่วงปลายยุคนำได้พัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ อันเป็นรูปแบบการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาในสมัยคลาสสิค คำว่า "กรีซยุคอาร์เคอิก" เป็นคำที่เริ่มใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่กลายมาเป็นคำมาตรฐานที่ใช้กันตั้งแต่นั้นมา คำดังกล่าวเป็นคำที่มาจากการศึกษาศิลปะกรีกที่หมายถึงลักษณะส่วนใหญ่ของศิลปะการตกแต่งพื้นผิวและประติมากรรม ที่ตกอยู่ระหว่างศิลปะเรขาคณิตกับกรีซคลาสสิก.

ใหม่!!: อีเลียดและกรีซยุคอาร์เคอิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโทรจัน

ษาโทรจัน เป็นภาษาโบราณใช้พูดในเมืองทรอย ซึ่งถูกทำลายลงเมื่อราว 657 ปีก่อนพุทธศักราช ในสงครามโทรจัน เป็นภาษาที่ไม่มีการบันทึกไว้เลย มีการพบตราประทับภาษาฮิตไตน์ในบริเวณกรุงทรอยเมื่อ..

ใหม่!!: อีเลียดและภาษาโทรจัน · ดูเพิ่มเติม »

มหากาพย์

มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.

ใหม่!!: อีเลียดและมหากาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: อีเลียดและมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

ม้าโทรจัน

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ ม้าโทรจัน (คอมพิวเตอร์) ม้าโทรจัน หรือ ม้าไม้เมืองทรอย (Trojan horse) เป็นม้าขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ จากมหากาพย์อีเลียดเรื่องสงครามเมืองทรอย ม้าไม้นี้เกิดขึ้นจากอุบายของโอดิสเซียส ในการบุกเข้าเมืองทรอย ที่มีป้อมปราการแข็งแรง หลังจากที่รบยืดเยื้อมานานถึง 10 ปีแล้ว ด้วยการให้ทหารสร้างม้าไม้นี้ขึ้นมา แล้วลากไปวางไว้หน้ากำแพงเมืองทรอย แล้วให้ทหารกรีกแสร้งทำเป็นล่าถอยออกไป เมื่อชาวทรอยเห็นแล้วเข้าใจว่าเป็นบรรณาการที่ทางฝ่ายกรีกสร้างขึ้นมาเพื่อบูชาเทพเจ้าและล่าถอยไปแล้ว จึงลากเข้าไปไว้ในเมืองและฉลองชัยชนะ เมื่อตกดึก ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ ก็ไต่ลงมาเผาเมืองและปล้นเมืองทรอยได้เป็นที่สำเร็จ ปัจจุบัน ม้าโทรจัน ได้กลายมาเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เมืองชานักกาเล ประเทศตุรกี ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเมืองทรอยจริงตามประวัติศาสตร์ ทางผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Troy เมื่อปี ค.ศ. 2004 ก็ได้มอบม้าไม้ตัวที่ใช้ในเรื่องให้แก่เมือง ซึ่งกลายเป็นจุดสนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองด้ว.

ใหม่!!: อีเลียดและม้าโทรจัน · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี)

ูใบไม้ผลิ (Primavera) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญของอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในเมืองฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” ราวปี ค.ศ. 1482 ในปี..

ใหม่!!: อีเลียดและฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

ลายวงกต

“วงกตคลาสสิก” เจ็ดชั้น เขาวงกตครีตทำด้วย 2500 TeaLights การเผาไหม้ในศูนย์คริสเตียนสมาธิและจิตวิญญาณของสังฆมณฑลบูร์กที่โบสถ์ Holy Cross ใน แฟรงก์เฟิร์ต-Bornheim ลายวงกตยุคสำริดแอตแลนติก ลายวงกตในภาพวาดในถ้ำในอิตาลี วงกตบนพื้นที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศส คนอสซอส ลายวงกต หรือ ลาบรินธ์ (Labyrinth) ในตำนานเทพเจ้ากรีก “Labyrinth” (λαβύρινθος, labyrinthos) คือโครงสร้างอันซับซ้อนที่ออกแบบและสร้างโดยเดดาลัสสำหรับกษัตริย์ไมนอสแห่งครีตที่คนอสซอส โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นกับดักมิโนทอร์ที่เป็นสิ่งที่มีร่างเป็นมนุษย์หัวเป็นวัว ผู้ในที่สุดก็ถูกสังหารโดยวีรบุรุษชาวเอเธนส์เธเซียส (Theseus) เดดาลัสสร้างวงกตอย่างวกวนจนเมื่อสร้างเสร็จตนเองก็แทบจะหาทางออกมาไม่ได้ อารีอัดเน (Ariadne) ให้ความช่วยเหลือเธเซียสให้หาทางออกจากได้โดยการมอบม้วนด้ายให้ม้วนหนึ่งให้วางตามเส้นทางเพื่อที่จะเดินตามรอยด้ายกลับออกมาจากวงกตได้ ในภาษาพูดของภาษาอังกฤษ “Labyrinth” มีความหมายพ้องกับคำว่า “Maze” (วงกตปริศนา) แต่นักวิชาการร่วมสมัยให้ความแตกต่างว่า “วงกตปริศนา” หมายถึงลวดลายวกวนที่ซับซ้อนที่มีทางเข้าทางออกได้หลายทาง แต่ “ลายวงกต” จะมีทางเข้าทางออกทางเดียว และทางจะไม่แตกออกไปเป็นทางย่อยเช่นที่เกิดขึ้นในวงกตปริศนาที่นำ ที่จะนำเข้าไปยังศูนย์กลาง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าลายวงกตจะเป็นเส้นทางที่ไม่กำกวมที่นำเข้าไปยังศูนย์กลางของวงกตและนำออกมา และไม่มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้ยากต่อการเดินตามเส้นทางเข้าไปและออกมา แม้ว่าเหรียญครีตยุคแรกบางเหรียญจะเป็นลายวกวนซ้อน (multicursal patterns) แต่ลายวกวนเดี่ยวเจ็ดชั้นแบบคลาสสิกก็กลายมาเป็นลวดลายที่ใช้บนเหรียญส่วนใหญ่มาตั้งแต่ราว 430 ปีก่อนคริสต์ศักราช และใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกว่าเป็นวงกต – แม้ว่าในการบรรยายจะกล่าวว่ามิโนทอร์ติดกับอยู่ในวงกตปริศนาก็ตาม แม้เมื่อลายวงกตพัฒนาซับซ้อนขึ้น แต่ลายวงกตตั้งแต่สมัยโรมันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็เป็นลายวกวนทางเดียว (unicursal) “วงกตปริศนา” เพิ่งเริ่มมาเป็นที่นิยมกันเมื่อใช้ในการออกแบบสวนวงกตที่นิยมกันในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา ลายวงกตอาจจะปรากฏเป็นลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา, ตะกร้า, ลายสักบนร่างกาย, ลายบนผนังหรือกำแพงของคริสต์ศาสนสถาน โรมันใช้ลายวงกตในการตกแต่งบนผนัง, พื้นด้วยโมเสก ลายวงกตที่สร้างบนพื้นบางครั้งก็จะมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการเดินตามเส้นเข้าออกได้สำหรับการเดินกรรมฐาน.

ใหม่!!: อีเลียดและลายวงกต · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

ใหม่!!: อีเลียดและวรรณกรรมกรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลฟีนิกซ์

กุลฟีนิกซ์ (Phoenix) เป็นสกุลหนึ่งในวงศ์ปาล์ม มีสมาชิก 14 สปีชีส์ เป็นพืชพื้นเมืองในหมู่เกาะคานารี และแอฟริกาจากเหนือจนถึงตอนกลาง ส่วนใต้สุดของยุโรป และในเอเชียจากตุรกีไปจนถึงจีนตอนใต้และมาเลเซีย แหล่งที่อยู่เป็นทั้งที่ลุ่มน้ำ ทะเลทราย และป่าชายเลน พืชในสกุลนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชกึ่งทนแล้ง แต่พบบ่อยใกล้บริเวณที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง แม่น้ำ หรือน้ำพุ เป็นสกุลที่มีความโดดเด่นในวงศ์ย่อย Coryphoideae โดยมีใบประกอบแบบขนนกแทนที่จะเป็นแบบฝ่ามือRiffle, Robert L. and Craft, Paul (2003) An Encyclopedia of Cultivated Palms.

ใหม่!!: อีเลียดและสกุลฟีนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

ใหม่!!: อีเลียดและสงครามกรุงทรอย · ดูเพิ่มเติม »

อลัน ลี

อลัน ลี (Alan Lee) เป็นศิลปินนักวาดภาพและนักออกแบบศิลป์ชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ผลงานของลีจะเป็นงานจากวรรณกรรมแฟนตาซีมากมาย งานที่โดดเด่นที่สุดคืองานที่เกี่ยวเนื่องกับงานประพันธ์ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เช่น ลอร์ดออฟเดอะริงส์ฉบับครบรอบ 100 ปี เดอะฮอบบิท ตำนานบุตรแห่งฮูริน สำหรับผลงานภาพประกอบอื่นๆ ได้แก่ Lavondyss ของ Robert Holdstock, Castles และ Tolkien's Ring ของเดวิด เดย์, The Mirrorstone ของ Michael Palin เป็นต้น เขายังวาดภาพประกอบให้แก่งานดัดแปลงของ Rosemary Sutcliff เรื่อง อิเลียด และ โอดิสซีย์ (ฉากกองเรือดำหน้าเมืองทรอย และการผจญภัยของโอดิซูส) ลีได้รับเหรียญรางวัล Kate Greenaway Medal สำหรับการวาดฉากกองเรือดำหน้าเมืองทรอยในปี..

ใหม่!!: อีเลียดและอลัน ลี · ดูเพิ่มเติม »

อะธีนา

ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.

ใหม่!!: อีเลียดและอะธีนา · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทิมิส

อาร์ทิมิส (Artemis,; Ἄρτεμις) เป็นหนึ่งในพระเจ้ากรีกโบราณที่มีการบูชากว้างขวางที่สุด ภาคโรมัน คือ ไดแอนาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: อีเลียดและอาร์ทิมิส · ดูเพิ่มเติม »

อคิลลีส

ทิสมอบเกราะและโล่ที่เทพช่างเหล็กฮิฟีสตัสตีขึ้นแก่อคิลลีสลูกชาย อคิลลีส (Achilles, Akhilleus, Achilleus; ภาษากรีกโบราณ: Ἀχιλλεύς) เป็นวีรบุรุษในตำนานกรีกโบราณว่าด้วยเรื่องสงครามเมืองทรอย เป็นตัวละครหลักและนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในมหากาพย์อีเลียดของโฮเมอร์ เป็นแก่นของแนวเรื่องหลักในมหากาพย์นั้น คือ "โทสะของอคิลลีส" อคิลลีสเป็นบุตรของท้าวพีลูส กษัตริย์ชาวเมอร์มิดอน กับนางพรายทะเลเธทิส เกิดที่เมืองฟาร์สะลา แคว้นเทสสะลี แต่เดิมนางพรายทะเลเธทิสเป็นที่หมายปองของเทพซูสและโพไซดอน แต่ภายหลังโปรมีธูสแจ้งคำพยากรณ์ต่อเทพทั้งสองว่า บุตรของเธทิสจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าบิดา เทพทั้งสองจึงยกนางให้แก่พีลูส เมื่ออคิลลีสเกิด เธทิสได้จุ่มร่างของบุตรลงในแม่น้ำสติกส์เพื่อให้เป็นคงกระพัน ร่างกายของอคิลลีสจึงแข็งแกร่ง ไม่มีอาวุธใดทำอันตรายได้ อย่างไรก็ดีขณะนางจุ่มร่างบุตร เธทิสใช้มือกุมข้อเท้าบุตรไว้ ดังนั้นทั่วร่างอคิลลีสจึงมีเพียงข้อเท้าที่ไม่ได้อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นจุดอ่อน ซึ่งในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า "Achilles' heel" หมายถึง จุดอ่อน อคิลลีสได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งนักรบ เป็นผู้ที่มีฝีมือการต่อสู้ฉกาจฉกรรจ์มาก เมื่อพระเจ้าอกาเมมนอนรวบรวมทัพเพื่อยกไปตีเมืองทรอย จึงได้เชิญตัวอคิลลีสไปด้วย คำพยากรณ์มีว่า กรีกไม่มีวันเอาชนะทรอยได้หากปราศจากอคิลลีส กระนั้นก็มีคำพยากรณ์สำหรับอคิลลีสว่า เขาจะสิ้นชีวิตหากสังหารแม่ทัพทรอย คือ เฮกเตอร์ อคิลลีสไปถึงเมืองทรอยด้วยอายุเพียง 10 ขวบ และตั้งกองทัพอยู่ชายฝั่งเมืองทรอยนานถึง 15 ปี ระยะแรกอคิลลีสยังไม่มีความมุ่งมาดที่จะเอาชนะ จนกระทั่งเปรโตคัส เพื่อนรักอย่างยิ่งของอคิลลิส ถูกเฮกเตอร์สังหาร อคิลลิสจึงมีโทสะอย่างมากในการรบ จึงได้ขอดวลเดี่ยวกับเฮกเตอร์เพื่อล้างแค้นและสามารถสังหารเฮกเตอร์ได้ และลากศพของเฮกเตอร์ไปรอบ ๆ เมืองทรอยด้วยรถม้าเป็นการประจาน อคิลลีสเป็นผู้ที่บุกตะลุยเข้าไปในเมืองหลังจากเข้าเมืองได้ด้วยอุบายม้าไม้ของโอดิซูส และอคิลลีสก็ถูกสังหารจริง ๆ ตามคำทำนายด้วยลูกธนูที่ข้อเท้าจากการยิงของปารีส เมื่ออคิลลีสเสียชีวิตไปแล้ว ได้ทิ้งชื่อไว้เป็นตำนานให้เลื่องลือ กล่าวกันว่า โล่ห์ของอคิลลีส (Shield of Achilles) ซึ่งเป็นโลห์ที่อคิลลีสใช้สู้กับเฮคเตอร์เป็นสิ่งที่ใครต่อใครต้องการแสวงหา และอเล็กซานเดอร์มหาราชก็นับถืออคิลลีสเป็นอย่างมาก โดยถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากอคิลลีส และพระองค์ยังออกตามหาหลุมศพของอคิลลีสรวมทั้งปรารถนาจะครอบครองโล่ห์ของอคิลลีสด้วย ซึ่งเชื่อว่าได้ถูกฝังอยู่ในหลุมศพของอคิลลี.

ใหม่!!: อีเลียดและอคิลลีส · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: อีเลียดและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: อีเลียดและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

ธีบส์ (กรีซ)

ีบส์ (Thebes.; Θῆβαι,Thēbai,: (แธไบ)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใน บีโอเชีย (Boeotia) ตอนกลางของกรีซ ธีบส์เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นสถานที่ของตำนานเกี่ยวกับวีรบุรุษและเทพเจ้าสำคัญๆของกรีซ เช่น แคดมอส อีดิปัส ไดโอไนซัส ฯลฯ การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่รอบๆธีบส์ เผยให้เห็นการตั้งรกรากของอารยธรรมไมซีนี และการขุดค้นยังพบอาวุธ ศิลปะงาช้าง รวมทั้งแผ่นจารึกดินเหนียวไลเนียร์บี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่นี้ในยุคสำริด ธีบส์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในท้องที่บีโอเชียสมัยโบราณ และเป็นผู้นำของสหพันธรัฐบีโอเชีย (Boeotian confederacy) ในสมัยอาร์เคอิก และสมัยคลาสสิคของกรีซ ธีบส์เคยเป็นเมืองคู่แข่งที่สำคัญของเอเธนส์โบราณ และเคยเข้าเป็นพันธมิตรกับเปอร์เซีย ในตอนที่เปอร์เซียภายใต้กษัตริย์เซิร์กซีสยกทัพเข้ารุกรานกรีซ ช่วงปีที่ 480 ก่อน..

ใหม่!!: อีเลียดและธีบส์ (กรีซ) · ดูเพิ่มเติม »

ทาลอส

ทาลอสมีปีก ปรากฏบนเหรียญตราบนเกาะครีต อายุ 300-270 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทาลอส (อังกฤษ: Talos, กรีก: Τάλως) เป็นยักษ์ที่สร้างมาจากทองแดงปรากฏในเทพปกรณัมกรีก ทาลอสเกิดจากการสร้างของเฮฟเฟสตุส หนึ่งใน 12 เทพแห่งโอลิมปัส ซึ่งเป็นเทพแห่งการตีเหล็กและไฟ หน้าที่ของทาลอสคือลาดตระเวนและปกป้องยูโรพาบนเกาะครีต ให้พ้นจากโจรสลัดและผู้คุกคามอื่น ๆ ทาลอสปรากฏในมหากาพย์อีเลียด ในเรื่อง เจสัน ซึ่งอาละวาดไล่ฆ่าเจสันและบรรดาลูกเรืออาร์โกที่มาขโมยสมบัติบนเกาะ ซึ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม ทาลอสปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Jason and the Argonauts ในปี ค.ศ. 1963 ด้วยเทคนิคสตอปโมชั่นจากการสร้างสรรค์ของ เรย์ แฮร์รีเฮาเซน และปรากฏในเกม Age of Mythology ด้วยการเป็นผู้ปกป้องเกาะเลมนอส อันเป็นบ้านเกิดของเฮฟเฟสต.

ใหม่!!: อีเลียดและทาลอส · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: อีเลียดและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: อีเลียดและซูส · ดูเพิ่มเติม »

นิกซ์

นิกซ์ หรือ นุกซ์ (Nyx; Νύξ, นุกซ์; Nox แปลว่า กลางคืน) เป็นหนึ่งในเทพดั้งเดิม (protogenoi)ในเทพปกรณัมกรีก นิกซ์เป็นเทพีแห่งราตรีซึ่งเกิดจากเคออสและเป็นคู่ของเอเรบัส (ความมืด) นิกซ์เป็นมารดาของเทพตัวแทนปรากฎการณ์ธรรมชาติ อีกหลายองค์ ซึ่งรวมถึงทานาทอส (ความตาย) และฮิปนอส (นิทรา) มีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผู้งดงามและทรงอำน.

ใหม่!!: อีเลียดและนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แกนีมีด (เทพปกรณัม)

ทพซูสแปลงร่างเป็นเหยี่ยว ลักพาตัวแกนีมีด วาดโดยปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ปี 1611 แกนีมีด (Γανυμήδης, ''Ganymēdēs''.) ในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นเจ้าชายแห่งเมืองทรอย และ เป็นบุตรชายคนเล็กของกษัตริย์ทรอส แห่งดาร์ดาเนีย, มีพี่ชายสองคนคือ อิลัส (Ilus) ซึ่งในอนาคตอิลัสจะเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอิลิออส หรือ อิลิออน ซึ่งต่อมาเรียกกันในนามเมืองทรอยนั่นเอง (กรีก : Ἴλιον, Ilion หรือἼλιος, Ilios; และ Τροία, Troia; ละติน :Trōia และ Īlium) และ อัสซาราคัส (Assaracus), โฮเมอร์ได้พรรณาเกี่ยวกับแกนิมีดเอาไว้ว่า เป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามที่สุดในเหล่ามนุษย์ทั้งปวง, แกนิมีดถูกลักพาตัวไปโดย เทพซูสที่จำแลงร่างกลายเป็นอินทรีย์ยักษ์ โฉบเอาตัวแกนิมีดจากภูเขาไอดาในแคว้นไฟรเจีย ไปเป็นผู้รับใช้ บนเขาโอลิมปัส ทำหน้าที่เป็นผู้ถวายพระสุธารส (cupbearer) แทนที่เทพีเฮบี เทพีแห่งความเยาว์วัย ธิดาของซูสและฮีรา ชื่อ แกนีมีด ถูกนำมาใช้เป็นชื่อดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ดวงจันทร์แกนีมีดเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุร.

ใหม่!!: อีเลียดและแกนีมีด (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p. 169.

ใหม่!!: อีเลียดและแอรีส · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสซีย์

โอดีซุส และ นอซิกา ภาพวาดโดย ชาร์ลส เกลียร์ โอดีสซีย์ (Odyssey; Ὀδύσσεια, Odusseia) เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณหนึ่งในสองเรื่องของโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แคว้นไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีกD.C.H. Rieu's introduction to The Odyssey (Penguin, 2003), p. xi.

ใหม่!!: อีเลียดและโอดิสซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โอดิสเซียส

อดิสเซียส หรือ โอดิสซูส (Ὀδυσσεὺς, โอ-ดุส-เซวส์) นอกจากนี้ยังรู้จักกันในชื่อภาษาละตินว่า ยูลิสซิส (Ulysses) เป็นตัวเอกในมหากาพย์เร่ืองโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ และยังมีบทบาทสำคัญในการสู้รบที่กรุงทรอย ซึ่งถ่ายทอดผ่านมหากาพย์อีเลียดของกวีคนเดียวกันอีกด้วย โอดิสเซียสเป็นบุตรของลาเออร์ทีส (Laërtes) กับแอนติคลีอา ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเมืองอิธาคาสืบต่อจากบิดา โดยมีภรรยาคือเพเนโลพี (Penelope) และมีบุตรคือเทเลมาคัส (Telemachus) โอดิสเซียสมีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านสติปัญญา และไหวพริบที่ว่องไว ปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ จึงได้รับฉายาเช่น polytropos- "many turns", "ผู้มีรอบมาก" หรือ polymētis - "ผู้มีแผนมาก", ผู้มีปัญญามาก แม้โอดิสเซียสจะมีบทบาทในมหากาพย์หลายเรื่อง โดยเฉพาะวัฏมหากาพย์ที่เกี่ยวกับกรุงทรอย แต่เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดใน nostos หรือ การเดินทางกลับบ้านของตน ที่กินเวลาถึงสิบปีหลังเสร็จสิ้นสงครามเมืองทรอ.

ใหม่!!: อีเลียดและโอดิสเซียส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: อีเลียดและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮกเตอร์

กเตอร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อีเลียดและเฮกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮดีส

(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.

ใหม่!!: อีเลียดและเฮดีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮเลนแห่งทรอย

เฮเลนแห่งทรอย ภาพวาด ''เฮเลนกับปารีส'' โดย ฌาคส์-หลุยส์ เดวิด ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส เฮเลน (Helen, ภาษากรีกว่า Ἑλένη – Helénē) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และคลีเทมเนสตรา เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และอักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนาง เฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอยเป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญาว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขาหากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืน หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: อีเลียดและเฮเลนแห่งทรอย · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: อีเลียดและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เทวสภาโอลิมปัส

ในเทพปกรณัมกรีก เทวสภาโอลิมปัสเป็นพระเจ้าหลักของกรีก โดยมากพิจารณาว่ามีซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกัน.

ใหม่!!: อีเลียดและเทวสภาโอลิมปัส · ดูเพิ่มเติม »

เดวส์เอกส์มาคีนา

วส์เอกส์มาคีนา หรือ เทวดามาโปรด (Deus ex machina,, พหูพจน์: dei ex machina) มาจากสำนวนกรีกว่า ἀπὸ μηχανῆς θεός (อะปอ แมคาแนส เธออส) แปลว่า เทพเจ้าจากเครื่องจักร เป็นกลวิธีการสร้างโครงเรื่องวิธีหนึ่ง ที่ซึ่งปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางแก้นั้น จู่ ๆ ก็คลี่คลายได้ด้วยการแทรกแซงที่คาดหมายไม่ถึง ไม่ว่าเพราะสถานการณ์ใหม่ ตัวละครใหม่ ความสามารถใหม่ หรือวัตถุใหม่ที่ไม่ได้กล่าวถึงมาก่อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ เดวส์เอกส์มาคีนาสามารถทำให้เรื่องดำเนินต่อไปได้ เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปถึงบางสถานการณ์ เช่น เมื่อผู้เขียนตกอยู่ในสภาวะ "จนตรอก" หาทางออกไม่ได้ เมื่อผู้เขียนต้องการให้ผู้ชมแปลกใจ เมื่อต้องการให้เรื่องลงเอยด้วยดี หรือแม้กระทั่งการใช้เดวส์เอกส์มาคีนาในฐานะจุดหักมุมเชิงขบขัน เป็นต้น.

ใหม่!!: อีเลียดและเดวส์เอกส์มาคีนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Iliadอิเลียด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »