โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษา

ดัชนี อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษา

Evangelion: 1.0 You Are (Not) Alone (ヱヴァンゲリヲン新劇場版:序, Evangerion Shin Gekijōban: Jo?, แปล. "อีวานเกเลียนฉบับโรงภาพยนตร์: จุดเริ่มต้น") เป็นภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น (ปีพ.ศ. 2550) ซึ่งทำสำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ สร้างโดยสตูดิโอคะรา (Studio Khara) ซึ่งอยู่ในเครือเดียวกันกับสตูดิโอไกแน็กซ์ (Gainax) โดยดัดแปลงจากอีวานเกเลียน ฉบับภาพยนตร์ชุด สำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์ (Neon Genesis Evangelion - TV series) โดยมีเนื้อเรื่องเหมือนกัน แต่กระชับให้สั้นลง และเพิ่มรายละเอียดของภาพ ให้สวยงามทันสมัยมากขึ้น ออกฉายในประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคม ปี..

9 ความสัมพันธ์: พีเอเวิกส์รีบิวด์ออฟอีวานเกเลียนอีวานเกเลียนอีวานเกเลียน: 2.0 อุบัติการณ์วันล้างโลกทรูสปาร์กทีไอจีเอคะราซัมเมอร์ วอร์สเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

พีเอเวิกส์

รรษัทพีเอเวิกส์ (P.A. Works Corporation) หรือย่อมาจาก พรอเกรสซีฟแอนิเมชันเวิกส์ (Progressive Animation Works) เป็นห้องศิลป์ผลิตอะนิเมะซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2543 และมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเมืองนันโตะ จังหวัดโทะยะมะ ประเทศญี่ปุ่น ใช้เป็นที่วาดอะนิเมะและถ่ายภาพดิจิทัล กับทั้งมีสำนักงานสาขาอยู่ในกรุงโตเกียว ใช้เป็นที่ผลิตและกำกับอะนิเมะ เค็นจิ โฮะริกะวะ (Kenji Horikawa) ประธานและผู้ก่อตั้งบรรษัทนั้น ครั้งหนึ่งเคยทำงานให้แก่ทะสึโนะโกะพรอดักชัน (Tatsunoko Production) พรอดักชันไอจี (Production I.G) และบีเทรน (Bee Train) บรรษัทพีเอเวิกส์จึงร่วมผลิตอะนิเมะกับพรอดักชันไอจีและบีเทรนอยู่หลายครั้ง และนอกจากผลงานหลักที่เป็นอะนิเมะแล้ว พีเอกเวิกส์ยังผลิตภาพเคลื่อนไหวสำหรับวิดีโอเกมด้วย ผลงานอะนิเมะเรื่องแรกของพีเอเวิกส์ คือ ทรูเทียส์ (True Tears) ซึ่งเริ่มออกอากศตั้งแต่เดือนมกราคม 2551.

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและพีเอเวิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

รีบิวด์ออฟอีวานเกเลียน

รีบิวด์ออฟอีวานเกเลียน เป็นภาพยนตร์อะนิเมะซีรีส์ อีวานเกเลียน.

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและรีบิวด์ออฟอีวานเกเลียน · ดูเพิ่มเติม »

อีวานเกเลียน

อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Neon Genesis Evangelion หรืออาจเรียกย่อๆ ว่า อีวานเกเลียน, อีวา, NGE เป็นการ์ตูนอะนิเมะชุดสำหรับฉายทางสถานีโทรทัศน์ สร้างโดยสตูดิโอไกแน็กซ์ (Gainax) เขียนบทและกำกับโดย ฮิเดอากิ อันโนะ และร่วมผลิตโดยทีวีโตเกียว และ Nihon Ad Systems เริ่มฉายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 เป็นการ์ตูนอะนิเมะที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านความนิยม ด้านการค้า นอกจากนี้ ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการอะนิเมะ และสังคมญี่ปุ่นในสมัยนั้น และก่อให้เกิดแฟรนไชส์สินค้าและสื่ออีวานเกเลียนขึ้นมากมาย นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลอะนิเมะใหญ่หลายรางวัล จนได้รับการยอมรับในหลายๆ แห่งว่า เป็นหนึ่งในการ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล (one of the greatest anime of all time) และถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เยี่ยมยอดที่สุดและเป็นเรื่องต้นฉบับที่ทำให้การ์ตูนทั้งหมดหลังจากนั้นเป็นยุคใหม่มากกว่าขึ้นอย่างมาก เช่น กันดั้ม เป็นต้น อีวานเกเลียน ได้หยิบสัญลักษณ์ทางศาสนาของหลักจูเดโอ-คริสเตียน จากพระธรรมปฐมกาล (Book of Genesis) ในคัมภีร์ของศาสนายิว และศาสนาคริสต์ และเรื่องเล่าทางศาสนาต่างๆ มาเป็นแนวดำเนินเรื่อง ในตอนท้ายๆ ได้เน้นไปที่การวิเคราะห์จิตของตัวละครเมื่อสมัยเด็ก (psychoanalysis) ว่าทำไมตัวละครหลักของเรื่องจึงมีนิสัยและการกระทำเช่นนั้น ซึ่งได้แสดงว่าตัวละครนั้นๆ มีปัญหาทางด้านอารมณ์มาแต่เด็ก จนเกิดอาการป่วยทางจิตในที่สุด การเดินเรื่องจะวนเวียนอยู่กับการตั้งคำถามและการตอบซ้ำไปซ้ำมา จนทำให้ตัวละครสับสนว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้นจริงหรือ ผู้กำกับฮิเดอากิ เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก่อนที่จะเริ่มสร้างเรื่องนี้ เขาได้นำประสบการณ์ตรงของตัวเองในการที่จะเอาชนะโรคซึมเศร้า มาเป็นแนวความคิดของตัวละคร.

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและอีวานเกเลียน · ดูเพิ่มเติม »

อีวานเกเลียน: 2.0 อุบัติการณ์วันล้างโลก

Evangelion: 2.0 You Can (Not) Advance เป็นภาคที่ 2 ของโปรเจกต์ Rebuild of Evanlgelion ซึ่งมีทั้งหมด 4 ภาค (ภาคแรกคือ อีวานเกเลียน:_1.0_กำเนิดใหม่วันพิพากษา) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น (ปีพ.ศ. 2552) ซึ่งทำสำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ สร้างโดยสตูดิโอคารา (Studio Khara) ซึ่งอยู่ในเครือเดียวกันกับสตูดิโอไกแน็กซ์ (Gainax) โดยดัดแปลงจากอีวานเกเลียน ฉบับภาพยนตร์ชุด สำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์ (Neon Genesis Evangelion - TV series) โดยมีเนื้อเรื่องเหมือนกัน แต่กระชับให้สั้นลง และเพิ่มรายละเอียดของภาพ ให้สวยงามทันสมัยมากขึ้น ออกฉายในประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคม ปี..

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและอีวานเกเลียน: 2.0 อุบัติการณ์วันล้างโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทรูสปาร์ก

ทรู สปาร์ก เป็นช่องรายการสำหรับเด็ก โดยเฉพาะภาพยนตร์การ์ตูน ของบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่อง 36 (ในระบบดิจิทัล) และช่อง 28 (ในระบบแอนะล็อก) โดยมีการ์ตูนทั้งจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป รวมถึงรายการสาระน่ารู้สำหรับเด็ก เช่น รายการสอนศิลปะ ทดลองวิทยาศาสตร์หรือรายการสอนภาษาอังกฤษ โดยออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง.

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและทรูสปาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ทีไอจีเอ

ริษัททีไอจีเอ จำกัด (TIGA Co., Ltd.) หรือเรียกโดยย่อว่า ไทก้า เป็นบริษัทตัวแทนลิขสิทธิ์ในประเทศไทย จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเอกชนเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2540http://www.tigatime.com/PageAboutUs.php เกี่ยวกับบริษัท ทีไอจีเอ ปัจจุบันมีตัวแทนจำหน่าย คือ บริษัทเอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น จำกัด (มหาชน).

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและทีไอจีเอ · ดูเพิ่มเติม »

คะรา

รา หรือชื่อทางการตลาดคือ สตูดิโอคะรา (Studio Khara) เป็นบริษัทผลิตอะนิเมะของญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักจากผลงานเรื่อง รีบิวด์ออฟอีวานเกเลียน ก่อตั้งโดย ฮิเดะอะกิ อันโนะ เมื่อเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและคะรา · ดูเพิ่มเติม »

ซัมเมอร์ วอร์ส

ลโก้สำหรับการเผยแพร่ในญี่ปุ่น ซัมเมอร์ วอร์ส (Summer Wars) เป็นอะนิเมะบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์และวีรคติซึ่งมะโมะรุ โฮะโซะดะ (Mamoru Hosoda) กำกับ ซะโตะโกะ โอะกุเดะระ (Satoko Okudera) เขียนเรื่อง บริษัทแมดเฮาส์ (Madhouse) ผลิต และบริษัทวอร์เนอร์ บราเธอร์ส พิกเจอร์ส (Warner Bros. Pictures) เผยแพร่ในปี 2552 มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายคนหนึ่งซึ่งเดินทางกับนักเรียนหญิงรุ่นพี่ร่วมโรงเรียนไปฉลองวันครบรอบวันเกิดปีที่เก้าสิบของย่าทวดของเธอในฤดูร้อน แต่ต้องร่วมกับครอบครัวของเธอต่อต้านนักเลงคอมพิวเตอร์ในโลกออนไลน์ อะนิเมะเรื่องนี้ แมดเฮาส์สร้างสรรค์ขึ้นถัดจาก กระโดดจั๊มพ์ทะลุข้ามเวลา (The Girl Who Leapt Through Time) ซึ่งเป็นผลงานของโฮะโซะดะและโอะกุดะระเช่นกัน โดยเริ่มกระบวนการในปี 2549 และโยจิ ทะเกะชิเงะ (Yōji Takeshige) กำกับฝ่ายศิลป์ ในช่วงแรก ข่าวคราวเกี่ยวกับอะนิเมะเป็นแต่เสียงลือเสียงเล่าอ้างปากต่อปากและทางอินเทอร์เน็ต กระนั้น ก็กระตุ้นความสนใจของสาธารณชนอย่างยิ่ง ต่อมาอีกสองปีจึงแถลงข่าวเปิดโครงการที่เทศกาลอะนิเมะนานาชาติโตเกียว (Tokyo International Anime Fair) และเผยแพร่ตัวอย่างภาพยนตร์ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2552 ในปีนั้นเอง จิตรกรอิกุระ ซุงิโมะโตะ (Iqura Sugimoto) ได้ดัดแปลงอะนิเมะเป็นมังงะลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ด้วย หลังจากฉายในโรงภาพยนตร์หนึ่งร้อยยี่สิบเจ็ดแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 อะนิเมะเรื่องนี้ทำรายได้มากกว่าหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อสิ้นสัปดาห์แรก นับเป็นอะนิเมะที่สร้างรายได้มากที่สุดเป็นอันดับที่เจ็ดในประเทศสำหรับสัปดาห์นั้น อนึ่ง ในภาพรวม อะนิเมะนี้เป็นชื่นชอบของผู้ชมทั่วกัน ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในทางดี ได้รับรางวัลใหญ่หลายรางวัล และประสบความสำเร็จด้านรายได้ โดยรายได้รวมทั่วโลกอยู่ที่สิบแปดล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทย บริษัทดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์) นำอะนิเมะนี้เข้ามาฉายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 วันเดียว และ ณ กรุงเทพมหานครแห่งเดียว นับเป็นอะนิเมะโรงเรื่องที่ห้าที่บริษัทนี้เผยแพร่ในราชอาณาจักร ต่อมา ได้ผลิตเป็นบลูเรย์และดีวีดีขายตั้งแต่เดือนเมษายน ปีนั้น.

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและซัมเมอร์ วอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว

-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว (K-On!) เป็นมังงะซึ่งแต่งเรื่องและเขียนภาพโดย คาคิฟลาย (Kakifly) ลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารแนวเซเน็ง มังงะไทม์คิระระ (Manga Time Kirara) และนิตยสาร มังงะไทม์คิระระกะรัต (Manga Time Kirara Carat) ของสำนักพิมพ์โฮบุนชะ (Houbunsha) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ถึงเดือนตุลาคม 2553 ในประเทศญี่ปุ่น เกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ผลิตมังงะดังกล่าวเป็นอะนิเมะโทรทัศน์ ใช้ชื่อเดียวกัน ความยาวสิบสามตอน ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2552, โอวีเอความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมกราคม 2553, อะนิเมะโทรทัศน์ ฤดูกาลที่สอง ความยาวยี่สิบหกตอน ใช้ชื่อว่า เค-อง!! (K-On!!) ฉายตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกันยายน 2554, โอวีเอ ความยาวหนึ่งตอน ขายในเดือนมีนาคม 2554, และอะนิเมะโรง ฉายตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2554 ตามลำดับ เนื้อหาต่อเนื่องกัน.

ใหม่!!: อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษาและเค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Evangelion: 1.0 YOU ARE (NOT) ALONEEvangelion: 1.0 You Are (Not) Aloneอีวานเกเลียน: 1.0 ยูอาร์ (น็อต) อโลน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »