โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อินเทล คอร์ 2

ดัชนี อินเทล คอร์ 2

อร์ 2 (Core 2 - /คอร์ทู/) เป็นแบรนด์ของทางอินเทลสำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ x86 และ x86-64 ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมไมโครคอร์ ที่มีการทำงาน 1, 2 หรือ 4 คอร์ร่วมกัน สถาปัตยกรรมคอร์นั้นได้ลดอัตรานาฬิกาและลดการใช้พลังงานลงโดยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งแตกต่างจากสถาปัตยกรรมเน็ตเบิร์สต์รุ่นก่อนหน้าที่ใช้กับเพนเทียม 4 และ เพนเทียม D การตลาดของทางผลิตภัณฑ์คอร์ 2 นั้น อินเทลได้วางเป็นผลิตภัณฑ์ในราคากลางถึงบน โดยได้ลดชั้นของซีพียูภายใต้ชื่อเพนเทียมไปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดราคาปานกลางแทนที่ (เพนเทียมดูอัล-คอร์) โดยต่อมาทางอินเทลได้ถอนแบรนด์ของคอร์ 2 ออกและใช้ อินเทล คอร์ แทนที่สำหรับตลาดราคากลางถึงบน ภายใต้ชื่อ คอร์ i3, คอร์ i5 และ คอร์ i7 โดยใช้สถาปัตยกรรมใหม่คือเนเฮเลม.

11 ความสัมพันธ์: อินเทลอินเทล คอร์คอร์แมคบุ๊กแมคบุ๊กโปรแร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์ไฟนอลแฟนตาซี XIVเพนเทียมเพนเทียมดูอัล-คอร์เซเลรอนเนเฮเลม

อินเทล

ำนักงานใหญ่อินเทล ที่ซานตาคลารา อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผลิตชิพสารกึ่งตัวนำที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อวัดจากรายได้ บริษัทอินเทลเป็นผู้คิดค้นไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลx86 ออกมาวางจำหน่าย ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อินเทลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 ในชื่อ Integrated Electronics Corporation โดยมีสำนักงานอยู่ที่ซานตาคลารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อินเทลยังเป็นผู้ผลิตชิพเซตของเมนบอร์ด, เน็ตเวิร์คการ์ดและแผงวงจรรวม, แฟลชเมโมรี, ชิพกราฟิค, โปรเซสเซอร์ของระบบฝังตัว ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร อินเทลก่อตั้งขึ้นโดย กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore) และโรเบิร์ต นอยซ์ (Robert Noyce) ผู้เชี่ยวชาญด้านสารกึ่งตัวนำ โดยเป็นอดีตพนักงานของ Fairchild Semiconductor พนักงานยุคแรกเริ่มที่สำคัญอีกคนของอินเทลคือ แอนดรูว์ โกรฟ ซึ่งในภายหลังเป็นผู้บริหารคนสำคัญ ที่ทำให้อินเทลก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกในปัจจุบัน แต่เดิมนั้น ชื่อของอินเทลจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในหมู่วิศวกรและนักเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หลังจากที่โฆษณา อินเทล อินไซด์ ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษ 1990 ชื่อของอินเทลก็กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในทันที โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักคือ หน่วยประมวลผลกลางตระกูลเพนเทียม (Pentium).

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และอินเทล · ดูเพิ่มเติม »

อินเทล คอร์

อินเทล คอร์ (Intel Core) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู สถาปัตยกรรมประมวลผล แบบ x86 ของบริษัทอินเทล.

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และอินเทล คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์

อร์ (core) มีความหมายว่า "แกน" ในภาษาอังกฤษ อาจหมายถึง; คอมพิวเตอร.

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมคบุ๊ก

แมคบุ๊ก (Macbook) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ตระกูลแมคอินทอชจากบริษัทแอปเปิล วางจำหน่ายครั้งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 โดยรูปลักษณ์ทั่วไปมีลักษณะใกล้เคียงกับ ไอบุ๊ก (iBook) ซึ่งแมคบุ๊คนั่นได้ถูกพัฒนามาจาก iBook G4 สิ่งที่แมคบุ๊กต่างจากไอบุ๊กคือรายละเอียดภายในที่สูงกว่า แต่แมคบุ๊คนั้นไม่มีกราฟิกการ์ด (Graphic Card) ในการแสดงผล สำหรับแมคบุ๊กนั่นทางแอปเปิ้ลได้เปลี่ยนชิปเซ็ตมาใช้ของตระกูล อิลเทล (Intel) ในระยะแรกแมคบุ๊กใช้ชิปเซ็ตในตระกูล Intel Duo Core 945GM ชิปเซ็ต และ กราฟิกการ์ด Intel GMA950 ความเร็วบัสที่ 667 MHz และในปี 2007 แอปเปิ้ลได้เปลี่ยนชิปเซ็ตที่ใช้บนเครื่องแมคบุ๊กเป็นชิบเซ็ตตระกูลที่ใช้ในปัจจุบันคือ Intel Core2Duo ในแพลตฟอร์มของ Santa-Rosa Platfrom และเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แอปเปิลได้อัปเดตอุปกรณ์ภายในของเครื่องแมคบุ๊กเป็น 965GM และกราฟิกการ์ด Intel GMA X3100 ความเร็วบัสที่ 800 MHz ซึ่งรวมไปถึงแมคบุ๊กโปร Macbook Pro และแมคบุ๊กแอร์ (Macbook Air) คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ครุ่นล่าสุด ซึ่งได้ใช้ชิปเซ็ตตระกูลอินเทลแล้วเช่นเดียวกัน ดีไซน์ใหม่ของแมคบุ๊ค ถูกเปิดตัวเมื่อวันที่ 9 มีนาคม..

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และแมคบุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

แมคบุ๊กโปร

แมคบุ๊กโปร (MacBook Pro) อยู่ในสายการผลิตคอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัท แอปเปิล ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในชื่อที่รู้จักกันดีคือ แมคอินทอช (Macintosh) นั่นเอง แมคบุ๊กโปรนั่นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่อยู่ในสายการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นสูง กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดส่วนใหญ่เน้นไปในกลุ่มบุคคลในระดับสูงเนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูงนั่นเอง และเป็นเครื่องโน้ตบุ๊คระดับสูงสุดในตระกูลของแมคบุ๊ก เปิดตัวครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2006 ในงานแมคเวิร์ล คอนเฟอเรนซ์ แอนด์ เอกซ์โป (Macworld Conference & Expo) โดยแอปเปิล ซีอีโอของแอปเปิลคือสตีฟ จ๊อบส์จึงเปิดจำหน่ายแมคบุ๊กโปรในทันทีบน Apple Store Worldwide และเริ่มเปิดบริการส่งถึงบ้านในกลางเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และแมคบุ๊กโปร · ดูเพิ่มเติม »

แร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์

แร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์ (라그나로크 온라인 2: Legend of the Second) เป็นการกลับมาทำใหม่จาก แร็กนาร็อกออนไลน์ 2: เดอะเกตออฟเดอะเวิลด์ (라그나로크 온라인 2: The Gate of the World) เป็นเกมส์ออนไลน์ที่ผลิตโดยบริษัทกราวิตีและได้รับอิทธิพลมาจากเกมส์แร็กนาร็อกออนไลน.

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และแร็กนาร็อกออนไลน์สอง: เลจเจนด์ออฟเดอะเซคันด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี XIV

ฟนอลแฟนตาซี XIV (ファイナルファンタジーXIV; Final Fantasy XIV) เป็นเกมชุดไฟนอลแฟนตาซีภาคที่ 14 ของซี่รี่ย์นี้ โดยออกจำหน่ายบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ผู้ผลิตคือบริษัท สแควร์เอนิกซ์ โดยเป็นแบบออนไลน์ (MMORPG) เช่นเดียวกับไฟนอลแฟนตาซี XI เกมนี้มีการประกาศเปิดตัวครั้งแรกในงาน E3 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552 หลังจากดำเนินการสร้างมาเป็นเวลากว่า 5 ปี ก่อนที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553 โดยจำหน่ายแผ่นเกมพร้อมรหัสลงทะเบียนสำหรับเล่นบน PC ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เกมได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2553 จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 ในช่วงต้น เกมได้รับคำวิจารณ์ด้านลบในส่วนของคุณภาพตัวเกม ทางบริษัทสแควร์เอนิกซ์จึงทำการปรับทีมพัฒนาและตัวเกมใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 14 ตุลาคม 2554 สแควร์เอนิกซ์ได้ประกาศว่าตัวเกมนี้คือเวอร์ชัน 1 และทำการประกาศตัวเกมภาคใหม่ที่กำลังพัฒนาในชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี XIV: อะเรียล์มรีบอร์น ให้เป็นเวอร์ชัน 2.0 และช่วงท้ายของการให้บริการเกมในเวอร์ชัน 1 ได้จัดเหตุการณ์ในเกมให้เสมือนคล้ายวันวิปโยค เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องในส่วนของ อะเรียล์มรีบอร์น และตัดการเชื่อมต่อผู้เล่นออกจากเกมรวมถึงยุติการให้บริการเมื่อถึงวันที่กำหนด ตัวเกม อะเรียล์มรีบอร์น ได้เริ่มทำการทดสอบอัลฟ่าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2555 ถัดจากนั้นจึงเข้าสู่ช่วงเบต้า โดยแบ่งออกเป็นสี่ช่วง ซึ่งในช่วงที่สามได้เพิ่มการสนับสนุนเวอร์ชัน เพลย์สเตชัน 3 และเปิดให้บุคคลภายนอกได้ทดสอบในช่วงที่ 4 ทั้งนี้ ทางแควร์เอนิกซ์ได้ให้ข้อเสนอแก่ผู้เล่นที่สั่งจองตัวเกมก่อน โดยผู้เล่นจะได้เข้าเล่นก่อนวันเปิดตัวจริงเป็นระยะเวลา 2 วัน ในภาคใหม่นี้ ตัวเกมจะยังคงเนื้อเรื่อง และระบบการเล่นจากภาคเก่าไว้ แต่เปลี่ยนแปลงในส่วนของไคลแอนต์ กราฟิกเอนจิน เซิร์ฟเวอร์ ส่วนติดต่อผู้ใช้ เพิ่มเกมการเล่นใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น และเนื้อเรื่องเสริมเพิ่มเติม โดยเกมภาคใหม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556.

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และไฟนอลแฟนตาซี XIV · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียม

นเทียม (Pentium) เป็นเครื่องหมายการค้าและแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 หลายตัวจากบริษัทอินเทล เพนเทียมเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยใช้สถาปัตยกรรม P5 และมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยชิปตัวใหม่ที่ออกมาจะใช้ชื่อรหัสตามหลังคำว่าเพนเทียมเช่น เพนเทียมโปร หรือ เพนเทียมดูอัล-คอร์ จนกระทั่งในปี 2553 ทางอินเทลได้เปลี่ยนระบบการเรียกชื่อชิปในตระกูลเพนเทียมทั้งใหม่หมดให้ใช้เพียงแค่คำว่า "เพนเทียม" โดยไม่มีคำใดต่อท้าย แม้ว่าเพนเทียมถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่ 5 ที่ใช้สถาปัตยกรรม P5 ชิปที่พัฒนาต่อมาได้มีการนำสถาปัตยกรรมตัวใหม่ที่นำมาพัฒนามาใช้ภายใต้ชื่อตระกูลเพนเทียม เช่น P6, เน็ตเบิรสต์, คอร์, เนเฮเลม และล่าสุดคือสถาปัตยกรรมแซนดีบริดจ์ ในปี 2541 เพนเทียมได้ถูกจัดให้เป็นซีพียูสำหรับตลาดบนของทางอินเทลเมื่อบริษัทได้เปิดตัวแบรนด์เซเลรอน เพื่อใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด ที่ประสิทธิภาพลดลงมา จนกระทั่งในปี 2549 อินเทลได้เปิดตัวตระกูลคอร์ โดยออกมาในชื่อ อินเทล คอร์ 2 ทำให้สถานะทางการตลาดของเพนเทียมอยู่ในระดับกลาง รองจากตระกูลคอร์แต่อยู่สูงกว่าตระกูลเซเลรอน โดยในปัจจุบันชื่อเพนเทียมเป็นชิปที่อยู่ในราคากลางโดยอยู่ระหว่างอินเทลคอร์และอินเทลเซเลรอน.

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และเพนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

เพนเทียมดูอัล-คอร์

นเทียมดูอัล-คอร์ (Pentium Dual-Core) เป็นแบรนด์ซีพียู x86 ของอินเทลในตระกูลเพนเทียม ในช่วงปี..

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และเพนเทียมดูอัล-คอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซเลรอน

ซเลรอน (Celeron) เป็นชื่อแบรนด์ของซีพียู x86 ของทางอินเทล โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาย่อมเยา โพรเซสเซอร์เซเลรอนสามารถทำงานได้เหมือนตัวอื่นทั่วไป แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าโดยมักจะมี หน่วยความจำแคชที่น้อยกว่า หรือมีคุณสมบัติที่น้อยกว่า เซเลรอนเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2541 ซีพียูภายใต้ชื่อเซเลรอนตัวแรกพัฒนาจาก เพนเทียม II และต่อมาได้พัฒนาบนฐานของ เพนเทียม III, เพนเทียม 4, เพนเทียม M และ คอร์ 2 ดูโอ ตามลำดับ โดยการออกแบบเซเลรอนรุ่นล่าสุด (2552) พัฒนาบนฐานของ คอร์ 2 ดูโอ วูล์ฟเดลสำหรับเดสก์ทอป และ เพนรินสำหรับแล็ปท็อป โดยทำงานลักษณะของคอร์แยกจากกันอิสระ แต่มีแคชเพียง 25% เมื่อเทียบกับซีพียูคอร์ 2 ดูโอทั่วไป และถัดไปจะพัฒนาบนแซนดีบร.

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และเซเลรอน · ดูเพิ่มเติม »

เนเฮเลม

ปัตยกรรมเนเฮเลม เนเฮเลม (Nehalem มักเรียกผิดเป็น เนฮาเลม) เป็นชื่อรหัสของสถาปัตยกรรมไมโครซีพียูของทางอินเทล เป็นตัวที่พัฒนาต่อจากสถาปัตยกรรมไมโครคอร์ โดยโพรเซสเซอร์ตัวแรกที่พัฒนาออกมาคือซีพียู คอร์ i7 สำหรับเดสก์ท็อป ที่เปิดตัวเมื่อพฤศจิกายน 2551 และมีการพัฒนาตามออกมาอีกหลายตัวในชื่อ ซีออน, i3 และ i5 ในช่วงแรกโพรเซสเซอร์เนเฮเลมใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตร เช่นเดียวกับเพนรินที่ใช้ในอินเทล คอร์ 2 โดยได้ออกมาแสดงในงาน อินเทลเดเวโลเปอร์ฟอรัม ในปี 2550 นอกจากนี้ในตอนแรกสุดเนเฮเลมคาดหวังว่าจะเป็นการพัฒนาภายใต้สถาปัตยกรรมเน็ตเบิรสต์ ภายหลังได้เปลี่ยนโครงการจึงได้นำชื่อเนเฮเลมกลับมาใช้ใหม่ภายใต้โครงการใหม่ แต่ยังคงนำเทคโนโลยีหลายตัวกลับมาใช้เช่น ไฮเปอร์เทร็ดดิง กับ แคช L3 ชื่อของเนเฮเลมตั้งตามชื่อเมืองเนเฮเลมในรัฐออริกอน.

ใหม่!!: อินเทล คอร์ 2และเนเฮเลม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Intel Core 2Intel Core 2 Duo

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »