โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิคีเนอเดอร์เมอเทอ

ดัชนี อิคีเนอเดอร์เมอเทอ

อิคีเนอเดอร์เมอเทอ เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสมาชิกได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล เม่นทะเล พลับพลึงทะเลและเหรียญทะเล เป็นไฟลัมที่พบเฉพาะในทะเล ชื่อของไฟลัมหมายถึง "สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นหนาม" (Echinos.

22 ความสัมพันธ์: ชมูการเปลี่ยนสัณฐานรูปหลายเหลี่ยมวิวัฒนาการของตาสัตว์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหอยอาหารทะเลทางเดินอาหารดาวมงกุฎหนามดาวทรายหนามดาวทะเลดาวทะเลพระราชาดาวทะเลปุ่มแดงดาวตะกร้าดาวเปราะปลิงทะเลไบลาทีเรียไฟลัมไครนอยด์เม่นทะเลเห็ดทะเลหูช้าง

ชมู

มู (shmoo; shmoon, shmoos (พหูพจน์)) เป็นตัวการ์ตูนรูปร่างคล้ายพินโบว์ลิ่งที่มีขาสั้น ๆ สร้างโดย อัล แคป (Al Capp; พ.ศ. 2452–2522) ตัวละครปรากฎครั้งแรกในการ์ตูนเรื่อง แอบเนอร์น้อย (Li'l Abner) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม..

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและชมู · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนสัณฐาน

แมลงปอ มีการลอกคราบครั้งสุดท้าย เพื่อเปลี่ยนสัณฐานจากตัวโม่ง ไปเป็นตัวเต็มวัย การเปลี่ยนสัณฐาน หรือ เมตามอร์โฟซิส (อ. Metamorphosis) เป็นกระบวนการในการเจริญเติบโตของสัตว์รูปแบบหนึ่ง ที่เกิดหลังจากการคลอดหรือฟักออกจากไข่ โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือรูปแบบร่างกายที่ก้าวกระโดดและเด่นชัด ซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตของเซลล์และการเปลี่ยนแปลงจำเพาะของเซลล์ โดยส่วนใหญ่ ในหลายขั้นตอนของการเปลี่ยนสัณฐาน จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนถิ่นที่อยู่และพฤติกรรมไปด้วย การเจริญเติบโตแบบเปลี่ยนสัณฐานเกิดขึ้นในสัตว์บางชนิดในกลุ่ม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ขาปล้อง (เช่น แมลงบางชนิด และครัสตาเซีย) มอลลัสก์ ไนดาเรีย เอไคโนดอร์มาทา และ เพรียงหัวหอม เป็นคำศัพท์เฉพาะทางในสาขาวิทยาศาสตร์เท่านั้น ความหมายไม่ครอบคลุมถึง การเจริญเติบโตของเซลล์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป หรือการเร่งการเจริญเติบโต และยังไม่สามารถนำไปอ้างกับการเจริญเติบโตในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้อย่างชัดเจนและเป็นเพียงหัวข้อถกเถียง.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและการเปลี่ยนสัณฐาน · ดูเพิ่มเติม »

รูปหลายเหลี่ยม

ในทางเรขาคณิต รูปหลายเหลี่ยม (อังกฤษ: polygon) ตามความหมายดั้งเดิม หมายถึงรูปร่างอย่างหนึ่งที่เป็นรูปปิดหรือรูปครบวงจรบนระนาบ ซึ่งประกอบขึ้นจากลำดับของส่วนของเส้นตรงที่มีจำนวนจำกัด ส่วนของเส้นตรงเหล่านั้นเรียกว่า ขอบ หรือ ด้าน และจุดที่ขอบสองข้างบรรจบกันเรียกว่า จุดยอด หรือ เหลี่ยม (corner) ภายในรูปหลายเหลี่ยมบางครั้งก็เรียกว่า เนื้อที่ (body) รูปหลายเหลี่ยมเป็นวัตถุในสองมิติ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของพอลิโทป (polytope) ที่อยู่ใน n มิติ ด้านสองด้านที่บรรจบกันเป็นเหลี่ยม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกิดมุมที่ไม่เป็นมุมตรง (180°) ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนของเส้นตรงทั้งสองจะถูกพิจารณาว่าเป็นด้านเดียวกัน ความคิดทางเรขาคณิตพื้นฐานได้ถูกดัดแปลงไปในหลากหลายทาง เพื่อที่จะทำให้เข้ากับจุดประสงค์เฉพาะ ตัวอย่างเช่นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คำว่า รูปหลายเหลี่ยม ถูกนำไปใช้และมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปโดยเล็กน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกและจัดการรูปร่างภายในคอมพิวเตอร์มากขึ้น รูปหลายเหลี่ยม หลายชน.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและรูปหลายเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของตา

วิวัฒนาการของตา (evolution of the eye) เป็นประเด็นการศึกษาที่ดึงดูดความสนใจ เพราะเป็นตัวอย่างพิเศษที่แสดงวิวัฒนาการเบนเข้าของอวัยวะที่สัตว์กลุ่มต่าง ๆ มากมายมี คือตาที่ซับซ้อนและทำให้สามารถมองเห็นได้วิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระกว่า 50-100 ครั้ง ตาที่ซับซ้อนดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นภายในไม่กี่ล้านปีในช่วง Cambrian explosion (เหตุการณ์ระเบิดสิ่งมีชีวิตยุคแคมเบรียน) ที่สิ่งมีชีวิตได้เกิดวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว หลักฐานว่าตาได้วิวัฒนาการขึ้นก่อนยุคแคมเบรียนยังไม่มี แต่มีอย่างหลากหลายในชั้นหิน/สิ่งทับถม Burgess shale (ในเทือกเขาร็อกกีของประเทศแคนาดา) ในกลางยุคแคมเบรียน และในหมวดหิน Emu Bay Shale ในออสเตรเลียซึ่งเก่าแก่กว่าเล็กน้อย ตาได้ปรับตัวอย่างหลายหลากตามความจำเป็นของสัตว์ ความต่างกันรวมทั้งความชัด (visual acuity) พิสัยความยาวคลื่นแสงที่สามารถเห็น ความไวในแสงสลัว ๆ สมรรถภาพในการตรวจจับการเคลื่อนไหวหรือการแยกแยะวัตถุ และการเห็นเป็นสี.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและวิวัฒนาการของตา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

หอย

หอยเบี้ย (''Monetaria moneta'') ที่มนุษย์ในสมัยก่อนใช้แทนเงินตรา หอย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีจุดเด่น คือ มีเปลือกที่เป็นแคลเซียมแข็ง ใช้ห่อหุ้มลำตัว โดยปกติแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หรือ 3 จำพวกใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและหอย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารทะเล

อาหารทะเล ประกอบด้วยวัตถุดิบจากทะเล อาหารทะเล เป็นอาหารที่ถูกแปรรูปจากสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยมนุษย์ อาหารทะเลหลัก ๆ ได้แก่ ปลา และหอย ซึ่งพวกหอยนั้น ก็รวมถึงมอลลัสก์ กุ้งกั้งปู และอิคีเนอเดอร์ม แต่ในทางประวัติศาสตร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลบางชนิดอย่างวาฬและโลมา ก็เคยถูกบริโภคเป็นอาหาร และเหลือจำนวนน้อยลงในเวลาต่อมา พืชทะเลที่กินได้ อาทิ สาหร่าย ก็มีการบริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือนั้น อาหารทะเลยังรวมถึงอาหารที่ทำมาจากสัตว์ในน้ำจืดอีกด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่า อาหารทะเลของอเมริกาเหนือคืออาหารที่ทำมาจากสัตว์ในน้ำ การสรรหาวัตถุดิบมาทำอาหารทะเล สามารถทำได้โดยการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทั่วไปแล้ว อาหารทะเลจะถูกแยกออกจากเนื้อ แม้ว่าจะมีสัตว์ทะเลอยู่ด้วยก็ตาม และอาหารทะเลก็ถูกงดสำหรับมังสวิรัติ อาหารทะเลเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญมาก จากอาหารทั้งหมดของโลก.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและอาหารทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมงกุฎหนาม

วมงกุฎหนาม หรือ ปลาดาวหนาม (Crown-of-thorns starfish) เป็นดาวทะเลชนิดหนึ่ง เป็นดาวทะเลขนาดใหญ่ มีแขนรวมกันทั้งหมด 16-21 แฉก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตามผิวหนังมีหนามยาวคล้ายเม่น ปากอยู่ทางด้านล่าง มีกระเพาะอยู่ด้านนอก ใต้แขนมีขาขนาดเล็ก ๆ คล้าย ๆ กับปุ่มที่หนวดปลาหมึกเป็นจำนวนมากยื่นออกมายึดเกาะพื้น ตรงกลางตัวด้านล่างมีปาก มีหนามแหลมคมปกคลุมที่ตัวทางด้านบน บนหนามมีสารซาโปนินเคลือบอยู่ ซึ่งมีพิษต่อสัตว์หลายชนิด เป็นสัตว์ที่แยกเพศ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยตัวเมียปล่อยไข่ออกมานอกตัว และตัวผู้ปล่อยสเปอร์มออกมาผสมพันธุ์ ตัวเมียแต่ละตัวมีไข่ประมาณ 12-24 ล้านฟอง ฤดูกาลวางไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีรายงานว่าดาวมงกุฎหนามที่เกรตแบร์ริเออร์รีฟ วางไข่ในเดือนธันวาคม และมกราคม ดาวมงกุฎหนามเป็นสัตว์ที่กินปะการังเป็นอาหาร ในทางนิเวศวิทยาถือเป็นสัตว์ที่ควบคุมประชากรปะการังไม่ให้มากจนเกินไป แต่ในหลายพื้นที่ก็มีการแพร่ระบาดจนเกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ที่เกาะกวม แนวปะการังถูกดาวมงกุฎหนามทำลายไปเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร ต่อเดือน บริเวณที่ถูกทำลายไปแล้วปะการังอาจฟื้นตัว ก่อตัวขึ้นใหม่ ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 10-40 ปี หรือนานกว่านี้ หรือในประเทศญี่ปุ่น ได้ลงทุนกำจัดดาวมงกุฎหนามโดยใช้ทุนไป 600 ล้านเยน กำจัดดาวมงกุฏหนามไป 13 ล้านตัวที่เกาะริวกิว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1983 แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และจากการศึกษาในระยะหลัง มีการสรุปว่าปริมาณดาวมงกุฎหนามในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (10,000 ตารางเมตร) หากมีจำนวนเกิน 10 ตัว ก็ถือว่าอยู่ในระดับระบาดแล้ว ถ้าเกิน 30 ตัว ถือว่าระบาดรุนแรงมาก เมื่อดาวมงกุฎหนามระบาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแนวปะการังจะแผ่เป็นบริเวณกว้างกว่าที่จะเกิดจากสาเหตุการทำลายโดยปัจจัยอื่น ๆ เพราะดาวมงกุฎหนามสามารถคืบคลานกินปะการังได้ทุกซอกทุกมุม แต่ดาวมงกุฎหนามเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือ หอยสังข์แตร (Charonia tritonis) ที่กินดาวมงกุฎหนามเป็นอาหาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นตัวควบคุมมิให้ปริมาณดาวมงกุฏหนามมีปริมาณมากเกินไปด้วย รวมถึงปูขนาดเล็กบางชนิดหนึ่งที่ซ่อนตัวในปะการัง ใช้ก้ามในการต่อสู้กับดาวมงกุฎหมายมิให้มากินปะการังอันเป็นที่หลบอาศัยด้วย แต่ก็ทำได้เพียงแค่ขับไล่ให้ออกไปเท่านั้น.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและดาวมงกุฎหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทรายหนาม

วทรายหนาม (Comb seastar, Sand sifting starfish) เป็นดาวทะเลชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเป็นห้าแฉกหรือรูปดาว เหมือนดาวทะเลทั่วไป มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามพื้นทรายตามชายฝั่งทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก เพื่อหากินสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น หนอนตัวแบน, หนอนท่อหรือลูกกุ้ง, ลูกปูขนาดเล็กหรือเคย และสาหร่าย ในบางครั้งเมื่อน้ำลดแล้ว จะพบดาวทะเลชนิดนี้ติดอยู่บนหาดทรายหรือแอ่งน้ำบนโขดหิน เช่นเดียวกับดาวทราย (A. indica) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทะเลแดง, ทะเลญี่ปุ่น, ฮาวาย จนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นดาวทะเลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยคำว่า polyacanthus ที่ใช้เป็นชื่อชนิดนั้น มาจากภาษาละตินที่หมายถึง "มีหนามจำนวนมาก".

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและดาวทรายหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทะเล

วทะเล หรือ ปลาดาว เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในชั้น Asteroidea ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่าง ๆ ออกไป ทั้ง ขาว, ชมพู, แดง, ดำ, ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรม, กุ้ง, ปู หนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและดาวทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทะเลพระราชา

วทะเลพระราชา เป็นดาวทะเลสายพันธุ์หนึ่ง พบได้ในแถบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ดาวทะเลพระราชาอาศัยอยู่ในทะเลที่มีความลึกตั้งแต่ 0 - 200 เมตร ซึ่งบริเวณที่พบพวกมันได้มากที่สุด คือบริเวณไหล่ทวีป ที่มีความลึกระดับ 20–30 เมตร.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและดาวทะเลพระราชา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทะเลปุ่มแดง

วทะเลปุ่มแดง (Red-knobbed starfish, Red spine star, African sea star, African red knob sea star, Linck's starfish) http://www.peteducation.com/article.cfm?c.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและดาวทะเลปุ่มแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวตะกร้า

วตะกร้า (Basket star) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับย่อย Euryalina เป็นสัตว์ทะเลที่มีวิวัฒนาการน้อยที่สุดในกลุ่มสัตว์ไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (Echinodermata) โดยถือกำเนิดมาจากยุคคอร์บอนิฟอรัส มีลักษณะคล้ายดาวเปราะ ทั่วไปอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีแขนหลายแขน มีอายุยืนเต็มที่ได้ถึง 35 ปี และมีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม เหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นในไฟลัมเดียวกัน คือ แลกเปลี่ยนแก๊สและระบบไหลเวียนโลหิตตามท่อลำเลียง เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา ซึ่งชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ Gorgonocephalus stimpsoni มีความยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว 14 เซนติเมตร แบ่งออกได้เป็น 4 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและดาวตะกร้า · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเปราะ

thumb โอฟิยูรอยด์ (Ophiuroidea) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา ชนิดที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือดาวเปราะและดาวตะกร้า เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยตามซอกหิน ปะการัง หลบซ่อนตัวตอนกลางวัน ออกหากินตอนกลางคืน ลำตัวเป็นแผ่นกลม แขนยื่นออกไป 5 แขน แบ่งเป็นข้อ ๆ เปราะและหักง่าย อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก หอย และซากสัตว์ มีเบอร์ซา (bursa) ใช้ในการขับถ่ายของเสียและแลกเปลี่ยนก๊าซ ปฏิสนธิภายนอก ระยะตัวอ่อนไม่ยึดติดกับวัตถุใต้น้ำ หมวดหมู่:เอไคโนดอร์มาทา.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและดาวเปราะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลิงทะเล

ปลิงทะเล (sea cucumber) เป็นสัตว์ทะเลที่ไร้กระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลเอคไคโนเดิร์ม ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับดาวทะเลและหอยเม่น เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีรูปร่างกลมยาว คล้ายไส้กรอกขนาดใหญ่ ปลายทั้งสองข้างเป็นช่องเปิดของปากและทวาร ผิวหนังส่วนนอกคล้ายเนื้อยืดหยุ่นได้ ภายในผิวหนังมีตุ่มเม็ดหินปูนกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวนอกมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ คล้ายหนวดสั้น ๆ เรียงอยู่เป็นแถว ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจและเคลื่อนไหว ปากของปลิงทะเลอยู่ตอนปลายสุดด้านที่มีหนวดลักษณะคล้ายต้นไม้ล้อมรอบ ทำหน้าที่ในการหาอาหาร โดยใช้หนวดขุดโคลนตมหน้าดินเข้าปากผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และกากที่เหลือจะถ่ายออกทางช่องก้นซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่ง ทวารของปลิงทะเลเป็นช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการขับถ่ายของเสีย หายใจ เป็นทางออกของเชื้ออสุจิ ปลิงมีสารพิษ โฮโลทูลิน ซึ่งปล่อยออกทางผิวหนัง ใช้ในการป้องกันอันตรายจากปลาและปู ถ้าหากนำปลิงทะเลไปใส่ในตู้เลี้ยงปลามันจะปล่อยสารพิษดังกล่าวออกมามากจนทำให้ปลาตายได้ ถิ่นอาศัย พบตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลนใน อ่าวไทยและทะเลอันดามัน อาหาร กินอินทรีย์วัตถุตามพื้นดินโคลนและทราย ขนาด มีความยาวประมาณ 30–40 ซม.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและปลิงทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ไบลาทีเรีย

ลาทีเรีย (Bilateria) คือ สัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง กล่าวคือมีด้านหน้า หลัง บน ล่าง ซ้ายและขวา ในทางตรงกันข้าม สัตว์ที่มีสมมาตรรัศมี เช่น แมงกะพรุน มีด้านบนและด้านล่าง แต่ไม่มีด้านหน้าและหลังที่แน่ชัด ไบลาทีเรียเป็นกลุ่มใหญ่ของสัตว์ ประกอบด้วยไฟลัมส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ฟองน้ำ ไนดาเรีย พลาโคซัว และทีโนฟอรา ตัวอ่อนของไบลาทีเรียมีไทรโพลบลาสตี คือ มีเนื้อเยื่อคัพภะสามชั้น ได้แก่ เอนโดเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอ็กโทเดิร์ม สิ่งมีชีวิตเกือบทุกตัวที่มีสมมาตรไบลาทีเรีย ยกเว้นอิคีเนอเดอร์เมอเทอ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยโตเต็มที่จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงสมมาตรรัศมี แต่เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีสมมาตรด้านข้าง สัตว์สมมาตรด้านข้างยกเว้นบางไฟลัม (เช่น หนอนตัวแบน) มีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ และมีปากกับทวารหนักแยกออกจากกัน สัตว์ไบลาทีเรียบางตัวไม่มีช่องว่างระหว่างลำตัว.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและไบลาทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไครนอยด์

รนอยด์ (Crinoidea) เป็นชั้นหนึ่งในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา ได้แก่พลับพลึงทะเลและดาวขนนก ลักษณะโดยทั่วไป ลำตัวมีก้านยึดติดกับวัตถุใต้น้ำ.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและไครนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เม่นทะเล

ม่นทะเล หรือ หอยเม่น (Sea urchin) เป็นสัตว์ในชั้น เอไคนอยเดีย (Echinoidea) ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา และอยู่ในกลุ่มเอคไคนอยด์ที่มีสมมาตร อาศัยอยู่ตามพื้นแข็ง มีสีต่างกัน ด้านที่เกาะกับพื้นเป็นปาก ทวารหนักอยู่กลางลำตัว ด้านบนสุด เม่นทะเลจะมีหนามสองขนาด หนามขนาดยาวใช้ในการผลักดันพื้นแข็ง ขุดคุ้ยสิ่งต่างๆหรือช่วยในการฝังตัว หนามเล็กสั้นใช้ยึดเกาะเวลาปีนป่าย เม่นทะเลที่มีพิษจะมีหนามที่กลวงและมีพิษอยู่ภายใน หนามนี้จะแทงทะลุผิวหนังได้ง่าย เมื่อหักจะปล่อยสารพิษออกมา อาหารของเม่นทะเลคือสาหร่าย สัตว์ที่ตายแล้ว และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เกาะอยู่กับที่ มีตาด้ว.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและเม่นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดทะเลหูช้าง

ห็ดทะเลหูช้าง (Elephant ear anemone) สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง ในไฟลัมไนดาเรีย จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Amplexidiscus เห็ดทะเลหูช้าง จัดเป็นเห็ดทะเลชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะคล้ายกับเห็ดทะเลในสกุล Rhodactis แต่ต่างกันที่รายละเอียดของเข็มนีมาโตซีส มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุดถึง 50 เซนติเมตร มีเมนเซนเทอเรียลแทรกเข้ามาอย่างชัดเจน ขอบจานมีลักษณะเป็นลอน หนวดเจริญดี ขึ้นกระจายทั่วแผ่นจานยกเว้นบริเวณขอบจาน ปากเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิกกินอาหารได้สองแบบ คือ การสังเคราะห์แสงจากสาหร่ายเซลล์เดียวซูแซนเทลลีที่มีอยู่จำนวนมากที่บริเวณขอบปาก ตลอดจนจับสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ๆ หน้าดินหลายประเภท เช่น กุ้ง, หนอนทะเล, อิคีเนอเดอร์เมอเทอ หรือกระทั่งปลากินเป็นอาหารได้ เมื่อจับเหยื่อได้แล้วเห็ดทะเลหูช้างจะเริ่มกระบวนการย่อยอาหารด้วยเริ่มจากขอบจานไปสู่ปาก โดยเปลี่ยนรูปแบบของอาหารให้กลมเป็นลูกบอล.

ใหม่!!: อิคีเนอเดอร์เมอเทอและเห็ดทะเลหูช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

EchinodermEchinodermataสัตว์พวกผิวหนามพวกสัตว์ทะเลผิวขรุขระเอคคิโนเดอร์มาทาเอไคโนดอร์มาทาเอไคโนดอร์มาตา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »