โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อำพัน

ดัชนี อำพัน

อำพันตกแต่งเป็นเหรียญประดับรูปไข่ขนาด 2x1.3 นิ้ว อำพัน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ เป็นสิ่งมีค่าด้วยสีสันและความสวยงามของมัน อำพันที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับและอัญมณี แม้ว่าอำพันจะไม่จัดเป็นแร่แต่ก็ถูกจัดให้เป็นพลอย โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจผิดกันว่าอำพันเกิดจากน้ำเลี้ยงของต้นไม้ แต่แท้ที่จริงแล้ว น้ำเลี้ยงเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบท่อลำเลียงของพืช ขณะที่ยางไม้เป็นอินทรียวัตถุเนื้ออสัณฐานกึ่งแข็งที่ถูกขับออกมาผ่านเซลล์เอพิทีเลียมของพืช เพราะว่าอำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล สีของอำพันมีได้หลากหลายสีสัน ปรกติแล้วจะมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม เนื้อของอำพันเองอาจมีสีได้ตั้งแต่ขาวไปจนถึงเป็นสีเหลืองมะนาวอ่อนๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลจนถึงเกือบสีดำ สีที่พบน้อยได้แก่สีแดงที่บางทีก็เรียกว่าอำพันเชอรี่ อำพันสีเขียวและสีฟ้าหายากที่มีการขุดค้นหากันมาก อำพันที่มีค่าสูงมากๆจะมีเนื้อโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามอำพันที่พบกันมากทั่วไปจะมีสีขุ่นหรือมีเนื้อทึบแสง อำพันเนื้อทึบแสงมักมีฟองอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากที่รู้จักกันในนามของอำพันบาสตาร์ดหมายถึงอำพันปลอม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นอำพันของแท้ๆนั่นเอง.

28 ความสัมพันธ์: พอลิเมอร์กรดซักซินิกมหาหิงคุ์มังกรจีนยางไม้รัตนชาติวัฒนธรรมลาแตนวาฬสเปิร์มวิลเลียม กิลเบิร์ตสถิตยศาสตร์ไฟฟ้าห้องอำพันอภิธานศัพท์ธุลีปริศนาอัญมณีอำพันทะเลอิเล็กตรอนอิเล็กโทรดควอตซ์ความวาวซากดึกดำบรรพ์ประจุไฟฟ้าปริศนาสมบัติอัจฉริยะน้ำมันแมคาเดเมียแมลงสาบไฟฟ้าเส้นทางการค้าเส้นทางสายอำพันเทนโอ ฮารุกะเข็มกลัดทารา

พอลิเมอร์

อลิเมอร์ (polymer) ความหมายของพอลิเมอร์นั้นก็มาจากรากศัพท์กรีกสำคัญ 2 คำ คือ Poly (จำนวนมาก) และ Meros (ส่วน หรือ หน่วย) พอลิเมอร์เป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่ (Macromolecule) พอลิเมอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยซ้ำกัน (repeating unit) ของมอนอเมอร์ (Monomer) หลายๆหน่วยมาทำปฏิกิริยากัน มอนอเมอร์นี้จัดเป็นสารไมโครโมเลกุล (Micromolecule) ชนิดหนึ่ง พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด จัดเป็นโฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) แต่ถ้ามีมอนอเมอร์ต่างกันตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป จัดเป็นโคพอลิเมอร์ (Copolymer) สารบางอย่างที่มีสมบัติอย่างพอลิเมอร์ เช่น สารพวกไขมันที่มีแต่ละหน่วยที่ไม่ซ้ำกันนั้นจะเป็นเพียงแค่สารแมคโครโมเลกุลเท่านั้น ไม่จเดยลิเมอร์ พอลิเมอร์มีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ (Natural polymer) และพอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer) ตัวอย่างของ โพลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส โปรตีน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ ส่วนพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใย โฟม และกาว พอลิเมอร์ทั้งสองชนิดนี้เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน เราต้องใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ และพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติต่างกัน จึงนำหน้าที่หรือนำไปใช้งานที่ต่างกันได้ พอลิเมอร์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือพลาสติก ซึ่งเป็นคำที่ใช้อ้างถึงกลุ่มของวัสดุธรรมชาติและสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ที่มีคุณสมบัติและการใช้งานต่างกัน พอลิเมอร์ธรรมชาติเช่นชแล็กและอำพันที่ใช้มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ พอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิกที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ พอลิเมอร์ธรรมชาติอื่นๆ เช่นเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดาษและไม้ พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บาเกไลต์, นีโอพรีน, ไนลอน, พีวีซี, พอลิสไตรีน, พอลิอคริโลไนไตรล์ และพีวีบี การศึกษาเกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้แก่ เคมีพอลิเมอร์, ฟิสิกส์พอลิเมอร์และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ พอลิเมอร์สังเคราะห์ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด พอลิเมอร์มีการใช้ในการยึดเกาะและการหล่อลื่นอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับการใช้เป็นโครงสร้างตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงยานอวกาศ มีการใช้เป็นยาทางชีวภาพในฐานะเป็นตัวขนส่งยาในสิ่งมีชีวิต พอลิเมอร์เช่น พอลิ เมทิล เมทาคริเลต ที่ใช้ในกระบวนการโฟโตเรซิสในอุตสาหกรรมกึ่งตัวนำ และสารไดอิเล็กทริกโปแทสเซียมต่ำสำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ปัจจุบันยังมีการพัฒนาพอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้สำหรับอิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: อำพันและพอลิเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กรดซักซินิก

กรดซักซินิก (succinic acid) เป็นกรดไดคาร์บอกซิลิกที่มีสูตรเคมีคือ (CH2)2(CO2H)2 มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาวไม่มีกลิ่น เมื่ออยู่ในรูปเอเควียสจะแตกตัวเป็นแอนไอออน เรียกว่า ซักซิเนต (succinate) ซึ่งมีส่วนสำคัญในวัฏจักรกรดซิตริก กลุ่มอนุมูลอิสระของสารนี้เรียกว่า ซักซินิล (succinyl) คำว่า "ซักซินิก" มาจากคำในภาษาละติน succinum ซึ่งแปลว่า "อำพัน" เพราะในอดีตกรดซักซินิกเป็นสารที่ได้จากการกลั่นอำพัน เรียกว่า "สปิริตออฟแอมเบอร์" (spirit of amber) ในทางอุตสาหกรรมได้จากกระบวนการไฮโดรจีเนชันบางส่วนของกรดมาเลอิก, กระบวนการออกซิเดชันของ 1,4-บิวเทนไดออลและกระบวนการคาร์บอนิเลชันของเอทิลีนไกลคอล กรดซักซินิกใช้เป็นสารตั้งต้นของพลาสติกบางชนิด ใช้เป็นอาหารเสริมและวัตถุเจือปนอาหาร และเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้จากการหมักน้ำตาล ทำให้ไวน์และเบียร์มีรสขมและเค็ม เนื่องจากกรดซักซินิกเป็นสารที่พบในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตทั่วไป จึงไม่เป็นอันตราย แต่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงต.

ใหม่!!: อำพันและกรดซักซินิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาหิงคุ์

ลักษณะขวดมหาหิงคุ์ที่ใช้ประกอบอาหาร มหาหิงคุ์ (हींग. ถอดรูปได้เป็น หีค หรือ หีงคะ ชื่อภาษาอังกฤษคือ asafoetida หรือเรียกสั้น ๆ ว่า hing) เป็นยางที่หลั่งจากพืชหลายชนิดในสกุลมหาหิงคุ์ (Ferula) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และนิยมเพาะปลูกใกล้กับประเทศอินเดีย มหาหิงคุ์มีกลิ่นเหม็นฉุน รสเผ็ดร้อน นิยมใช้ทำยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย ยาแก้ไข้หวัด และใช้ผสมอาหารได้อีกด้ว.

ใหม่!!: อำพันและมหาหิงคุ์ · ดูเพิ่มเติม »

มังกรจีน

วาดมังกรจีนโบราณ มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: เล้ง; ไทยถิ่นเหนือ: ลวง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ, คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร.

ใหม่!!: อำพันและมังกรจีน · ดูเพิ่มเติม »

ยางไม้

แมลงถูกขังในยางไม้ ''Protium Sp.” ยางไม้ (resin) เป็นไฮโดรคาร์บอนซึ่งคัดหลั่งจากไม้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงศ์สนเขา (Pinaceae) คุณค่าของยางไม้อยู่ที่คุณสมบัติทางเคมีและประโยชน์อย่างอื่น ๆ เช่น ใช้ทำน้ำมันชักเงา กาว และสารเคลือบอาหาร ยางไม้ยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญสำหรับการสังเคราะห์สารอินทรีย์ (organic synthesis) และส่วนประกอบของเครื่องหอมธูปเทียนต่าง ๆ ไม้ซึ่งให้ยางมีความเป็นมายาวนานดังที่ทีโอแฟรสตัส (Theophrastus) บันทึกไว้ในสมัยกรีกโบราณ และพลินิผู้อาวุโส (Pliny the Elder) บันทึกไว้ในสมัยโรมโบราณ นอกจากนี้ ยางไม้ประเภทกำยาน (frankincense) และมดยอบ (myrrh) ยังเป็นของล้ำค่าในสมัยอียิปต์โบราณด้ว.

ใหม่!!: อำพันและยางไม้ · ดูเพิ่มเติม »

รัตนชาติ

รัตนชาติหรือหินอัญมณี (gemstone) เป็นกลุ่มประเภทของแร่ประเภทหนึ่ง โดยหมายถึง แร่หรือหินบางชนิด หรืออินทรียวัตถุธรรมชาติที่นำมาเจียระไน ตกแต่ง หรือแกะสลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ มีความงาม ทนทาน และหายาก โดยปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เพชร และพลอย ซึ่งหมายถึง อัญมณีทุกชนิดยกเว้นเพชร หากผ่านการตกแต่งหรือเจียระไนแล้ว เรียกว่า อัญมณี นอกจากนี้ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่อาจจัดเป็นรัตนชาติได้แก่ ไข่มุก และปะการังและอำพัน รัตนชาติหรืออัญมณี เป็นผลึกที่มีมลทินอยู่ภายใน ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป มีความแข็ง สามารถเจียระไนให้เกิดมุม เพื่อให้เกิดการกระจายแสงเห็นความแวววาว มลทินในแร่ ทำให้แร่มีสีต่าง ๆ กัน แร่คอรันดัมบริสุทธิ์ เป็นสารพวกอะลูมิเนียมออกไซด์ มีสีขาว ถ้ามีมลทินจำพวกโครเมียมผสม ทำให้มีสีแดง เช่นทับทิม ส่วน เหล็ก ไทเทเนียม ทำให้มีสีน้ำเงิน (ทับทิมกับไพลิน เป็นแร่คอรันดัมเหมือนกัน แต่มีมลทินต่างชนิดกัน) เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินอัญมณีได้แก่ ความแข็ง (ตามมาตราโมส), ความถ่วงจำเพาะ และค่าดัชนีหักเหของแสง ดัชนีหักเหของแสง เป็นค่าคงที่ของอัญมณีแต่ละชนิด จึงใช้ตัดสินว่าเป็นของปลอมหรือไม่ ความแข็งของแร่ก็มีผลต่อราคาของอัญมณีด้วย จึงนำมาทดสอบ โดยการขูดขีดกัน (อาจใช้ตะไบ มือ เหรียญทองแดง มีดพับ, กระจก ทดสอบ) แร่ที่มีรอยขูดขีดจะอ่อนกว่า ซึ่งทดสอบได้.

ใหม่!!: อำพันและรัตนชาติ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมลาแตน

วัฒนธรรมลาแตน (La Tène culture) เป็นวัฒนธรรมยุคเหล็กของยุโรปที่ตั้งชื่อตามแหล่งโบราณคดีที่ลาแตนบนฝั่งเหนือของทะเลสาบเนอชาแตลในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นที่พบสิ่งของมีค่าทางโบราณคดีจำนวนมากมายโดยฮันสลี ค็อพพ์ ในปี ค.ศ. 1857 วัฒนธรรมลาแตนเคลตสเครุ่งเรืองระหว่างปลายยุคเหล็ก (ตั้งแต่ปี 450 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงการพิชิตของโรมันใน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช) ในบริเวณตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และฮังการี ทางตอนเหนือไปจรดกับวัฒนธรรมยาสตอร์ฟของเยอรมนีตอนเหนือ วัฒนธรรมลาแตนเจริญขึ้นมาจากวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ของยุคเหล็กตอนต้น โดยไม่มีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัด และเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลพอประมาณจากเมดิเตอร์เรเนียนจากกรีกในภูมิภาคกอลก่อนสมัยโรมันและต่อมาอารยธรรมอีทรัสคัน การโยกย้ายศูนย์กลางของที่ตั้งถิ่นฐานเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของวัฒนธรรมลาแตนพบในบริเวณอันกว้างไกลที่รวมไปถึงบางส่วนของไอร์แลนด์และบริเตนใหญ่ (หมู่บ้านริมทะเลสาบกลาสตันบรีในอังกฤษเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาแตน), ทางตอนเหนือของสเปน ภูมิภาคเบอร์กันดี และ ออสเตรีย สถานที่ฝังศพอันหรูหราก็เป็นเครื่องแสดงเครือข่ายของการค้าอันกว้างไกล เช่นเนินบรรจุศพวีซ์ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่ฝังศพของสตรีสูงศักดิ์จากศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราชที่ถูกฝังพร้อมด้วยไหคอลดรอนสำริดที่ทำในกรีซ สินค้าออกของจากบริเวณวัฒนธรรมลาแตนไปยังบริเวณวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเกลือ ดีบุก ทองแดง อำพัน ขนแกะ หนัง ขนสัตว์ และทองคำ.

ใหม่!!: อำพันและวัฒนธรรมลาแตน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสเปิร์ม

วาฬสเปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย (Sperm whale) เป็นวาฬขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) ชนิดที่ใหญ่ที่สุด วาฬสเปิร์มมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหัวใหญ่และยาวมากเกือบร้อยละ 40 ของลำตัว ลำตัวสีเทาดำผิวหนังเป็นรอยย่นตลอดลำตัว ส่วนหน้าผากตั้งฉากตรงขึ้นจากปลายปากบน และเป็นแนวหักลาดไปทางส่วนหลัง ท่อหายใจรูเดียว อยู่ส่วนบนเยื้องไปด้านซ้ายของหัวครีบหลัง มีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาตั้งอยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว และมีสันเป็นลอน ๆ ไปจนเกือบถึงโคนหาง ครีบข้างค่อนข้างเล็กปลายมนเหมือนใบพาย ไม่มีครีบหลัง ขากรรไกรล่างแคบยาวและเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนหัว ฟันเป็นเขี้ยวจำนวน 16-30 คู่ บนขากรรไกรล่าง ขากรรไกรบนไม่มีฟัน แต่จะมีช่องสำหรับรองรับฟันล่างเวลาหุบปากเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจพบฟัน 10-16 คู่ ในกระดูกขากรรไกรบนของวาฬที่มีอายุมาก ๆ นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ ปากจะเป็นสีขาว ซึ่งเชื่อกันว่าในที่ ๆ น้ำลึกสีขาวนี้จะเรืองแสงในความมืด ใช้เป็นเครื่องล่อเหยื่อต่าง ๆ ของวาฬสเปิร์ม มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15-20 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 3.5-4.5 เมตร แม่วาฬใช้เวลาตั้งท้องนาน 16-17 เดือน ลูกจะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 13 เดือนจึงแยกออกหากินอิสระ ขนาดโตเต็มที่ยาว 12-18 เมตร น้ำหนักมากถึง 28 ตัน วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และเป็นวาฬชนิดที่ดำน้ำได้ลึกที่สุด มีรายงานว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000 เมตร โดยใช้เวลาประมาณ 40 นาที มีรายงานจากการติดตามวาฬที่ติดเครื่องหมายด้วยระบบโซน่า พบว่าสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 2,800-3,000 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง จากการสูดหายใจเพียงครั้งเดียวที่ผิวน้ำที่มีแรงกดดันเท่ากับที่มนุษย์หายใจ ซึ่งในระดับความลึกกว่า 1,000 เมตร แรงกดของอากาศมากกว่าที่ผิวน้ำ 100 เท่า บีบอัดปอดของวาฬให้เหลือเพียงร้อยละ 1 ของปริมาตรทั้งหมด แต่ขณะที่ยังเป็นวาฬวัยอ่อนอยู่ จะยังไม่สามารถดำน้ำลึกได้เหมือนตัวที่โตเต็มวัย นอกจากนี้แล้ววาฬสเปิร์มยังเป็นวาฬชนิดที่ชอบกินหมึกเป็นอาหารมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวได้ถึง 14 เมตร ในระดับความลึกระดับ 1,000 เมตร หรือหมึกกล้วยยักษ์ (Architeuthis dux) ที่มีขนาดรองลงมา โดยอาจยาวได้ถึง 12 เมตร โดยมีการพบซากจะงอยปากของหมึกในกระเพาะของวาฬสเปิร์ม ซึ่งวาฬบางตัวจะมีผิวหนังที่เป็นรอยแผลจากปุ่มดูดของหนวดหมึกปรากฏอยู่ รอยแผลเป็นบนผิวหนังวาฬสเปิร์มจากปุ่มดูดของหมึกมหึมา วาฬสเปิร์ม เป็นวาฬที่พบได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบรายงานเพียง 3 จังหวัด คือ พังงา, ภูเก็ต และสตูล และถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย วาฬสเปิร์ม นับเป็นวาฬอีกชนิดหนึ่งที่ถูกล่าจากมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการนำเขี้ยวและฟันมาเป็นทำเครื่องประดับ ไขมันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เนื้อสำหรับรับประทาน นอกจากนี้แล้วอาเจียนหรือมูลของวาฬสเปิร์มยังมีลักษณะแข็งเหมือนอำพัน และมีกลิ่นหอมเป็นลักษณะพิเศษ เป็นของหายาก ราคาแพง ใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตหัวน้ำหอมและยาไทยได้ด้วย เรียกว่า "อำพันขี้ปลา" หรือ "อำพันทะเล" หรือ "ขี้ปลาวาฬ" และที่ส่วนหัวยังมีสารพิเศษคล้ายไขมันหรือขี้ผึ้ง เรียกว่า "ไขปลาวาฬ" ซึ่งใช้ในการผลิตโลชั่น และเวชภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ซึ่งวาฬสเปิร์มได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ "โมบิดิก" ของเฮอร์มัน เมลวิลล์ ในปี ค.ศ. 1855 ที่เป็นเรื่องราวของการล่าวาฬสเปิร์มเผือกตัวหนึ่งที่มีนิสัยดุร้าย ชื่อ โมบิดิก หรือในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "พินอคคิโอ" ที่ตอนท้ายเรื่องพินอคคิโอผจญภัยเข้าไปอยู่ในท้องของวาฬ ซึ่งก็คือ วาฬสเปิร์ม เป็นต้น ในปัจจุบัน มีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า วาฬสเปิร์มรวมถึงวาฬชนิดอื่น ๆ มีขนาดลำตัวที่เล็กลงจากอดีต บ่งบอกว่าเป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะวาฬสเปิร์มนั้นในปี..

ใหม่!!: อำพันและวาฬสเปิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม กิลเบิร์ต

วิลเลียม กิลเบิร์ต วิลเลียม กิลเบิร์ต (William Gilbert) เกิดเมื่อ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1544 โคลเชสเตอร์ ในอังกฤษ และถึงแก่กรรมเมื่อ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1603 (อาจจะในลอนดอน) เป็นหมอหลวงประจำพระราชินี อะลิซาเบธที่ 1 และพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทั้งยังเป็นนักดาราศาสตร์และนักค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับแม่เหล็กและไฟฟ้า ที่สำคัญคือ เขาเป็นคนค้นคิดคำ "electricity" หรือ ไฟฟ้า นั่นเอง ผลงานชิ้นแรกของเขา คือ De Magnete, Magneticisque Corporibus, et de Magno Magnete Tellure (ว่าด้วยแม่เหล็ก และวัตถุสภาพแม่เหล็ก และว่าด้วยแม่เหล็กใหญ่ของโลก) ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1600 ในงานชิ้นนี้ เขาได้บรรยายถึงการทดลองของเขามากมายด้วยลูกโลกจำลอง ที่เรียกว่า "เทอร์เรลลา" (terrella) จากการทดลองของเขา เขาสรุปได้ว่าโลกนั้น ก็คือตัวแม่เหล็กเอง และสรุปว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้เข็มทิศชี้ไปทางทิศเหนือ (ก่อนนี้บางคนเชื่อว่า เข็มทิศชี้ไปหาดาวเหนือ หรือเกาะแม่เหล็กขนาดใหญ่ทางขั้วโลกเหนือ ซึ่งเป็นตัวดึงดูดเข็มทิศ) ในหนังสือเล่มนี้ เขายังได้ศึกษาถึงไฟฟ้าสถิต โดยการใช้แท่งอำพัน (อำพัน เป็นยางไม้แข็ง สีเหลืองอมน้ำตาล ในภาษากรีกเรียกว่า เอเล็กตรอน (elektron) ด้วยเหตุนี้ กิลเบิร์ตจึงเรียกปรากฏการณ์ที่ตนค้นพบว่า "electric force" (แรงไฟฟ้า) สิ่งที่กิลเบิร์ตเรียกว่า สภาพแม่เหล็ก นั้น คือแรงที่มองไม่เห็น ที่นักปรัชญาธรรมชาติคนอื่นๆ จำนวนมาก เช่น โยฮันส์ เคปเลอร์ เคยเชื่อมั่น ว่าเป็นตัวควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ ของสิ่งที่สังเกตเห็นได้ หน่วย "กิลเบิร์ต" อันเป็นหน่วยของ แรงเคลื่อนแม่เหล็ก (magnetomotive force) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า magnetic potential นั้น ก็ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่วิเลียม กิลเบิร์ตนี่เอง.

ใหม่!!: อำพันและวิลเลียม กิลเบิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

สถิตยศาสตร์ไฟฟ้า

ตยศาสตร์ไฟฟ้า (electrostatics) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์และคุณสมบัติของประจุไฟฟ้าที่นิ่งหรือเคลื่อนไหวช้า เนื่องจากฟิสิกส์แบบคลาสสิก เป็นที่รู้กันว่าวัสดุบางอย่างเช่นอำพันสามารถดูดอนุภาคน้ำหนักเบาหลังจากมีการขัดถูกัน ในภาษากรีกคำว่าอัมพัน ήλεκτρον หรือ อิเล็กตรอน electron เป็นที่มาของคำว่า 'ไฟฟ้า' ปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นจากแรงที่ประจุไฟฟ้ากระทำต่อประจุไฟฟ้าอื่น แรงดังกล่าวจะอธิบายได้ตามกฎของคูลอมบ์ แม้ว่าแรงนี้จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโดยไฟฟ้าสถิต มันดูเหมือนจะค่อนข้างอ่อนแอ ยกตัวอย่างเช่นแรงไฟฟ้​​าสถิตระหว่างอิเล็กตรอนหนึ่งตัวและโปรตอนหนึ่งตัวที่รวมกันขึ้นเป็นอะตอมไฮโดรเจนมีความอ่อนแอ แต่ก็แข็งแกร่งมากกว่าประมาณ 36 แมกนิจูดเป็นเลขสิบยกกำลัง (10-36) เท่าของแรงโน้มถ่วงที่กระทำระหว่างพวกมัน มีตัวอย่างมากมายของปรากฏการณ์ไฟฟ้าสถิต จากพวกที่ง่ายมากเช่นการดึงดูดห่อพลาสติกให้ติดกับมือของคุณหลังจากที่คุณรื้อมันออกจากแพคเกจ และการดึงดูดกระดาษที่ติดกับตาชั่งที่มีประจุ จนถึงการระเบิดที่เกิดขึ้นเองที่เห็นได้ชัดของไซโลข้าว ความเสียหายของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างการผลิต และการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ไฟฟ้าสถิตเกี่ยวข้องกับการสะสมของประจุบนพื้นผิวของวัตถุเนื่องจากการสัมผัสกับพื้นผิวอื่น แม้ว่าการแลกเปลี่ยนประจุจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ตามที่สองพื้นผิวใด ๆ สัมผัสกันและแยกจากกัน ผลกระทบของการแลกเปลี่ยนประจุมักจะสังเกตเห็นได้เฉพาะเมื่ออย่างน้อยหนึ่งของพื้นผิวมีความต้านทานต่อการไหลของไฟฟ้​​าที่สูง นี้เป็นเพราะประจุที่ถ่ายโอนไปยังหรือมาจากพื้นผิวที่มีความต้านทานสูงจะถูกติดกับมากหรือน้อยอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานพอจนมีการสังเกตเห็นผลกระทบนั้น จากนั้นประจุเหล่านี้ยังคงอยู่บนวัตถุจนกว่าพวกมันจะถ่ายเทออกลงดินหรือถูกทำให้เป็นกลางอย่างรวดเร็วโดยปลดปล่อยประจุ: เช่นปรากฏการณ์ที่คุ้นเคยของ 'การช็อก' ไฟฟ้าสถิตที่มีสาเหตุมาจากการวางตัวเป็นกลางของประจุที่สร้างขึ้นในร่างกายจากการสัมผัสกับพื้นผิวที่หุ้มฉนวน.

ใหม่!!: อำพันและสถิตยศาสตร์ไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ห้องอำพัน

ห้องอำพันที่สร้างใหม่ ห้องอำพัน (Amber Room หรือ Amber Chamber, Янтарная комната Yantarnaya komnata, Bernsteinzimmer) ตั้งอยู่ภายในพระราชวังแคทเธอรีนที่หมู่บ้านซาร์สโคเยอเซโลไม่ไกลจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นห้องที่ผนังที่ทำด้วยอำพันทั้งห้องตกแต่งด้วยทองคำเปลวและกระจก ความงามของห้องนี้ทำให้บางครั้งได้รับสมญาว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์ที่แปดของโลก” ห้องอำพันเดิมเป็นความร่วมมือระหว่างช่างฝีมือชาวเยอรมันและชาวรัสเซีย การก่อสร้างห้องเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1701 ถึงปี ค.ศ. 1709 ในปรัสเซีย ตัวห้องออกแบบโดยประติมากรบาโรกชาวเยอรมันอันเดรียส์ ชลือเตอร์และสร้างโดยช่างอำพันชาวเดนมาร์คก็อตต์ฟรีด วูลแฟรม และตั้งอยู่ในพระราชวังชาร์ลอตเตนบวร์กมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1716 เมื่อพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียถวายให้แก่ซาร์ปีเตอร์มหาราชแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ห้องที่ได้รับการขยายและบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้งเมื่อไปอยู่ในรัสเซียแล้วมีขนาดกว่า 55 ตารางเมตรและใช้อำพันทั้งสิ้น 6 ตัน ห้องนี้ถูกรื้อเป็นชิ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองโดยนาซีเยอรมนีเพื่อจะทำการส่งไปยังเคอนิกสแบร์ก แต่หลังจากนั้นห้องอำพันก็สูญหายไประหว่างความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นในบั้นปลายของสงคราม ชะตาของห้องยังคงเป็นเรื่องลึกลับและยังคงเป็นสิ่งที่สืบหากันอยู่ ในปี..

ใหม่!!: อำพันและห้องอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

อภิธานศัพท์ธุลีปริศนา

ทความนี้เป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับการใช้คำศัพท์ต่างๆ ในวรรณกรรมเยาวชนไตรภาค ธุลีปริศนา ซึ่งเขียนโดยฟิลิป พูลแมน.

ใหม่!!: อำพันและอภิธานศัพท์ธุลีปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

อัญมณี

อัญมณี และ หินสีแบบต่างๆ อัญมณี คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึ้นจาก สาร อินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่าง.

ใหม่!!: อำพันและอัญมณี · ดูเพิ่มเติม »

อำพันทะเล

อำพันทะเล อำพันทะเล หรือ อำพันขี้ปลา หรือ อำพันทอง หรือ ขี้วาฬ (Ambergris; การออกเสียง หรือ, Ambra grisea, Ambre gris, หมายถึง "อำพันสีเทา") เป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับอำพัน เป็นสิ่งที่ได้มาจากทะเลและมหาสมุทร โดยเป็นผลิตผลจากสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ คือ วาฬ ชนิด วาฬสเปิร์ม มีลักษณะเด่น คือ มีกลิ่นหอม ในยุคโบราณชาวตะวันตกเชื่อว่า อำพันทะเลเกิดจากวาฬกลืนน้ำสีดำจากแม่น้ำสีดำแถบตะวันออกกลางที่มีกลิ่นหอม ชาวเปอร์เซียเรียกว่า "อันบาร์" (Anbar) เมื่อแพร่หลายไปยังยุโรป ชาวฝรั่งเศสจึงเรียกว่า "Amber gris" ที่หมายถึง "อำพันสีเทา" เพื่อแยกแยะจากอำพันอย่างอื่นทั่วไป อำพันทะเล เป็นผลิตผลที่มาจากการสำรอกหรือการขับถ่ายของวาฬสเปิร์ม มีลักษณะเป็นของแข็งซึ่งเป็นก้อนไขมันมีหลายเฉดสีตั้งแต่สีเทาหรือสีดำ ไปจนถึงสีโทนอ่อนอย่้าง สีส้มหรือสีขาวคล้ายหินอ่อน ที่พบเฉพาะในลำไส้ของวาฬสเปิร์ม มีส่วนประกอบของคลอเรสเตอรอลและไขมันร้อยละ 80, สารเบนโซอิก และแอลกอฮอล์เชิงซ้อนทำให้มีกลิ่นหอม โดยวาฬสเปิร์มจะกินสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหมึกเป็นอาหารหลัก แต่จะกินเข้าไปโดยไม่มีการเคี้ยวอย่างละเอียดสัตว์บก แต่จะใช้วิธีการกลืนเข้าไปทั้งตัวแล้วไปย่อยสลายในกระเพาะ แต่คลอเรสเตอรอลของหมึกไม่อาจจะย่อยได้ง่าย ประกอบกับหมึกมีปากที่แข็งระคายเนื้อเยื่อของวาฬ คลอเรสเตอรอลดังกล่าวจึงไปสะสมเป็นก้อนอยู่ในลำไส้ของวาฬ ซึ่งขณะอยู่ในลำไส้ของวาฬ จะไม่มีกลิ่นหอม แต่จะมีกลิ่นเหม็นเหมือนสิ่งขับถ่ายทั่วไป และมีลักษณะเป็นก้อนสีดำมีความนิ่ม แต่เมื่อวาฬได้ขับถ่ายออกมาแล้วได้เกิดปฏิกิริยากับสายลมและแสงแดด นานนับปี โดยล่องลอยอยู่ในทะเล ด้วยค่าความถ่วงจำเพาะที่มีน้อยกว่าน้ำทะเลจึงมีคุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนไป ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาว, น้ำตาล, เทา หรือดำ ตามระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ละลายที่อุณหภูมิมากกว่า 62 องศาเซลเซียส แต่ด้วยอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสจะระเหยเป็นไอ อำพันทะเล นับเป็นของมีค่า ราคาแพง และหาได้ยากยิ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีประโยชน์ในการทำเป็นหัวน้ำหอมและเครื่องสำอาง หรือนำไปแต่งกลิ่นในอาหารหรือไวน์ สำหรับตำราสมุนไพรไทยใช้ทำยาได้ ทำให้มีราคาซื้อขายกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท วิธีการหาอำพันทะเล กระทำได้ 2 แบบ คือ รอให้ลอยมาติดตามชายฝั่งหรือล่องเรือออกไปหากลางทะเล และออกล่าวาฬ แล้วผ่าท้องหาจากลำไส้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการล่าวาฬ ซึ่งปัจจุบันมีการคุ้มครองตามกฎหมายสากล.

ใหม่!!: อำพันและอำพันทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กตรอน

page.

ใหม่!!: อำพันและอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโทรด

อิเล็กโทรด/ลวดเชื่อมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์ค อิเล็กโทรด หรือ ขั้วเชื่อม หรือ ลวดเชื่อม หรือ ขั้วไฟฟ้า (Electrode) เป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อใช้แนบกับส่วนที่ไม่ใช่โลหะของวงจรไฟฟ้า (เช่น สารกึ่งตัวนำ อิเล็กโทรไลต์ สุญญากาศ หรืออากาศ) อิเล็กโทรดเป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ วิลเลียม ฮิวเอ็ลล์ ตามคำของไมเคิล ฟาราเดย์ ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า elektron ซึ่งจริง ๆ แปลว่า อำพัน แต่นำมาอนุพัทธ์ใช้หมายถึงไฟฟ้า บวกกับคำว่า hodos ซึ่งแปลว่าทาง.

ใหม่!!: อำพันและอิเล็กโทรด · ดูเพิ่มเติม »

ควอตซ์

วอตซ์ (Quartz) (SiO2) หรือมีชื่อว่า "แร่เขี้ยวหนุมาน" เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่สองรองจาก เฟลด์สปาร.

ใหม่!!: อำพันและควอตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความวาว

วามวาว เป็นคำเรียกของปฏิกิริยาการสะท้อนแสงทุกรูปแบบของวัตถุที่มีการสะท้อนแสงได้ทั้งแบบบานพื้นผิวและภายในของวัตถุ โดยเป็นปฏิกิริยาระหว่างแสงกับผิวของผลึก ทั้งบนพื้นผิวและภายในผลึก ทั้งการหักเหจากผลึกและการสะท้อนภายในผลึกและภายนอกผลึก มีรากศัทพ์มาจากคำว่า lux ในภาษาลาติน ซึ่งมีความหมายว่า ความสว่าง และโดยทั่วไปมีความหมายว่าความสว่างไสว ความวาว.

ใหม่!!: อำพันและความวาว · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: อำพันและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประจุไฟฟ้า

นามไฟฟ้า ของประจุไฟฟ้าบวกและลบหนึ่งจุด ประจุไฟฟ้า เป็น คุณสมบัติทางฟิสิกส์ ของ สสาร ที่เป็นสาเหตุให้มันต้องประสบกับ แรง หนึ่งเมื่อมันถูกวางอยู่ใน สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าแบ่งออกเป็นสองประเภท: บวก และ ลบ ประจุเหมือนกันจะผลักกัน ประจุต่างกันจะดึงดูดกัน วัตถุจะมีประจุลบถ้ามันมี อิเล็กตรอน เกิน, มิฉะนั้นจะมีประจุบวกหรือไม่มีประจุ มีหน่วย SI เป็น คูลอมบ์ (C) ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, มันเป็นธรรมดาที่จะใช้ แอมแปร์-ชั่วโมง (Ah) และใน สาขาเคมี มันเป็นธรรมดาที่จะใช้ ประจุมูลฐาน (e) เป็นหน่วย สัญลักษณ์ Q มักจะหมายถึงประจุ ความรู้ช่วงต้นว่าสสารมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรในขณะนี้ถูกเรียกว่า ไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (classical electrodynamics) และยังคงถูกต้องสำหรับปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องมีการพิจารณาถึง ผลกระทบควอนตัม ประจุไฟฟ้า เป็น คุณสมบัติแบบอนุรักษ์ พื้นฐานของ อนุภาคย่อยของอะตอม บางตัวที่กำหนด ปฏิสัมพันธ์ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ของพวกมัน สสารที่มีประจุไฟฟ้าจะได้รับอิทธิพลจาก สนามแม่เหล็กไฟฟ้า และก็ผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นเองได้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ได้กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นแหล่งที่มาของ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ แรงพื้นฐาน (อ่านเพิ่มเติมที่: สนามแม่เหล็ก) การทดลองเรื่องหยดน้ำมัน ในศตวรรษที่ยี่สิบได้แสดงให้เห็นว่า ประจุจะถูก quantized; นั่นคือ ประจุของวัตถุใด ๆ จะมีค่าเป็นผลคูณที่เป็นจำนวนเต็มของหน่วยเล็ก ๆ แต่ละตัวที่เรียกว่า ประจุมูลฐาน หรือค่า e (เช่น 0e, 1e, 2e แต่ไม่ใช่ 1/2e หรือ 1/3e) e มีค่าประมาณเท่ากับ (ยกเว้นสำหรับอนุภาคที่เรียกว่า ควาร์ก ซึ่งมีประจุที่มีผลคูณที่เป็นจำนวนเต็มของ e/3) โปรตอน มีประจุเท่ากับ +e และ อิเล็กตรอน มีประจุเท่ากับ -e การศึกษาเกี่ยวกับอนุภาคที่มีประจุและการปฏิสัมพันธ์ของพวกมันจะถูกไกล่เกลี่ยโดย โฟตอน ได้อย่างไรจะเรียกว่า ไฟฟ้าพลศาสตร์ควอนตัม.

ใหม่!!: อำพันและประจุไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ

ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ (The 39 Clues) เป็นวรรณกรรมแนวผจญภัยที่ผสมผสานกับเกมออนไลน์และการสะสมการ์ด ในสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สกอลาสทิก ส่วนฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เนมแอนด์โนเบิล ในเครือบันลือกรุ๊ป ซึ่งเป็นเครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นวรรณกรรมชุดที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน โดยมีริก ไรออร์แดน (ผู้เขียน เพอร์ซีย์ แจ็กสัน) เป็นผู้เขียนเล่มแรก หนังสือฉบับภาษาไทยตีพิมพ์มาแล้วทั้งหมด 10 เล่ม ประกอบด้วย ผจญค่ายกลกระดูก, หนึ่งโน้ตมรณะ, จอมโจรจอมดาบ, ความลับสุสานฟาโรห์, วงล้อมทมิฬ, ปฏิบัติการทะเลใต้, บุกรังอสรพิษ, รหัสลับจักรพรรดิโลกไม่ลืม, ฝ่าพายุแคริบเบียน และมหันตภัยปลายทาง.

ใหม่!!: อำพันและปริศนาสมบัติอัจฉริยะ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันแมคาเดเมีย

น้ำมันแมคาเดเมีย น้ำมันแมคาเดเมีย เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดเนื้อแมคาเดเมีย (Macadamia integrifolia) มีลักษณะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง เมื่อนำไปกลั่นจะมีสีอำพันอ่อน ๆ และมีกลิ่นเหมือนถั่ว น้ำมันแมคาเดเมียมีโครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยกรดโอเลอิก ประมาณ 60% กรดปาล์มิโตเลอิก 19% กรดไลโนเลอิก 1-3% และกรดอัลฟาไลโนเลนิก 1-2% และมีความคงตัวมากเนื่องจากมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนต่ำ น้ำมันแมคาเดเมียใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร โดยเฉพาะในการผัดอาหารเพราะมีค่าความจุความร้อนสูง นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงถึง 85% และยังเก็บไว้ได้นาน ในเครื่องสำอางมีการใช้น้ำมันแมคาเดเมียเป็นสารให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงเส้นผม.

ใหม่!!: อำพันและน้ำมันแมคาเดเมีย · ดูเพิ่มเติม »

แมลงสาบ

แมลงสาบ (Cockroachs) เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Blattodea หรือ Blattaria จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตไม่สมบูรณ์ คือ ไม่เป็นตัวหนอนและดักแด้ ปัจจุบันเป็นแมลงที่พบกระจายไปแล้วทั่วโลก โดยติดไปกับยานพาหนะต่าง ๆ พบได้ถึงขนาดบนเครื่องบินโดยสาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะนำโร.

ใหม่!!: อำพันและแมลงสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้า

ฟฟ้า (ήλεκτρον; electricity) เป็นชุดของปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งในสมัยนั้นหมายถึงผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากการปรากฏตัวและการไหลของประจุไฟฟ้า เช่นฟ้าผ่า, ไฟฟ้าสถิต, การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฟฟ้ายังทำให้เกิดการผลิตและการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นคลื่นวิทยุ พูดถึงไฟฟ้า ประจุจะผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะกระทำกับประจุอื่น ๆ ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายชนิดของฟิสิกซ์ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: อำพันและไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: อำพันและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางสายอำพัน

“เส้นทางการค้าสายอำพัน” เส้นทางสายอำพัน (Amber Road) เป็นเส้นทางการค้าสายโบราณสำหรับการขนส่งอำพัน เส้นทางการค้าสายอำพันเป็นเส้นทางบกและทางน้ำที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชีย และจากตอนเหนือของยุโรปไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อำพันเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตกแต่งที่ขนส่งจากฝั่งทะเลเหนือและทะเลบอลติกข้ามแผ่นดินใหญ่ยุโรปตามลำแม่น้ำวิสทูรา (Vistula River) และ แม่น้ำนีพเพอร์ ไปยังอิตาลี, กรีซ, ทะเลดำ และอียิปต์เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วและเป็นเวลานานหลังจากนั้น ในสมัยโรมันเส้นทางสายหลักแล่นลงมาทางใต้จากฝั่งทะเลบอลติกในภูมิภาคปรัสเซีย ฝ่าดินแดนโบอิอิ (สาธารณรัฐเช็ก และ สโลวาเกียปัจจุบัน) ไปยังตอนต้นทะเลเอเดรียติก อำพันจากฝั่งทะเลบอลติกพบในที่ฝังพระศพของฟาโรห์ตุตันคามุน และถูกส่งจากทะเลเหนือไปเครื่องสักการะยังเทวสถานอพอลโลที่เดลฟี จากทะเลดำอำพันก็ถูกส่งต่อไปยังเอเชียโดยเส้นทางสายไหมซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสายโบราณอีกสายหนึ่ง จุดเริ่มต้นของเส้นทางอยู่ที่เมืองคอพและทรูโซในภูมิภาคปรัสเซียเดิมบนฝั่งทะเลบอลติก เส้นทางการค้าสายอำพันอาจจะมีส่วนช่วยในการสร้างความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมของยุคสัมฤทธิ์นอร์ดิก (Nordic Bronze Age) ในสแกนดิเนเวียโดยการนำอิทธิพลของเมดิเตอเรเนียนเข้ามายังประเทศต่าง ๆ ทางตอนเหนือสุดของยุโรป บางครั้งแคว้นคาลินินกราด ก็เรียกว่า “Янтарный край” หรือ “บริเวณอำพัน”.

ใหม่!!: อำพันและเส้นทางสายอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

เทนโอ ฮารุกะ

ทนโอ ฮารุกะ หรือ เซเลอร์ยูเรนัส เทนโอ ฮารุกะ เป็นตัวละครจากเรื่อง เซเลอร์มูน นักพากย์ญี่ปุ่น: Minagawa Junko นักพากย์ไทย: พิชยา บุญสม (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท., ภาค Sailor Star), ศรีอาภา เรือนนาค (TIGA), อรุณี นันทิวาส (อะนิเมะคริสตัล ซีซั่น 3).

ใหม่!!: อำพันและเทนโอ ฮารุกะ · ดูเพิ่มเติม »

เข็มกลัดทารา

็มกลัดทารา (Tara Brooch) เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของศิลปะสมัยคริสเตียนยุคแรกศิลปะเกาะของไอร์แลนด์ เข็มกลัดทาราที่สร้างขึ้นเมื่อราว ค.ศ. 700 เป็นเข็มกลัดประดับที่มีขนาดยาว 7 นิ้ว ทำด้วยเงินชุบทองตกแต่งด้วยลวดลายลายสอดประสาน หรือ ปมเคลติคอย่างละเอียด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ประคำมีรูปลักษณ์ของหัวสุนัขป่าและมังกรกว่ายี่สิบหัว การออกแบบและกรรมวิธีของการสร้างงานชิ้นนี้ที่รวมทั้งการทำลายทองถักและการฝังประดับด้วยทองคำ, เงิน, ทองแดง, อำพัน และ แก้วเป็นงานฝีมือชั้นดี และแสดงถึงความก้าวหน้าของงานช่างทองในไอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โครงสร้างเป็นเชิงวงแหวนที่หมายความว่าเป็นแบบที่มิได้ออกเพื่อใช้เป็นเครื่องตรึงรัดเสื้อผ้า แต่เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะ เข็มกลัดทาราก็เช่นเดียวกับเข็มกลัดอื่นๆ ในยุคเดียวกันที่ไม่มีรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาของทั้งคริสเตียนหรือเพกัน และสร้างขึ้นสำหรับผู้มีฐานะดีและเกือบจะเป็นที่แน่นอนคือเป็นชาย เพื่อใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะ เข็มกลัดตั้งชื่อตามชื่อเนินทาราซึ่งเป็นที่สถิตย์ของประมุขแห่งกษัตริย์ไอร์แลนด์ (High Kings of Ireland) ในตำนาน แต่ตัวเข็มกลัดเองไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทั้งเนินและประมุขแห่งกษัตริย์ เข็มกลัดพบเมื่อเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: อำพันและเข็มกลัดทารา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »