โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาหารมาเลเซีย

ดัชนี อาหารมาเลเซีย

มะตะบะที่ขายริมถนนในมาเลเซีย อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากหลายวัฒนธรรมทั่วโลก อิทธิพลหลักมาจากชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย นอกจากนั้นยังได้รับอิทธิพลจากชาวเปอรานากันและยูเรเซีย ชาวโอรังอัสลี และชนเผ่าต่าง ๆ ในซาราวะก์และซาบะฮ์ อาหารมาเลเซียจึงมีความหลากหลายมากโดยรวมทั้งการปรุงอาหารของมลายู จีน อินเดีย อินโดนีเซียโดยเฉพาะในเกาะบอร์เนียว และได้รับอิทธิพลในส่วนน้อยมาจากไทย โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ ทำให้อาหารมาเลเซียมีความหลากหลายทั้งรสชาติ วิธีการ และมีความซับซ้อนมาก.

18 ความสัมพันธ์: กายาโทสต์มีเซียมลก-ลกอาหารกัมพูชาอาหารสิงคโปร์อาจาดอีกันบาการ์ถั่วฝักยาวขนมไหว้พระจันทร์ข้าวยำดีปลีซุปกัมบิงนาซีจัมปูร์นาซีโกเร็งนาซีโกเร็งปัตตายานาซีเลอมะก์โลร์มีโอตะก์-โอตะก์

กายาโทสต์

กายาโทสต์ (Kaya toast) เป็นอาหารประเภทขนมหรือของรับประทานเล่นชนิดหนึ่ง แพร่หลายในมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นขนมปังปิ้งทาสังขยาที่ทำจากใบเตย (ชาวสิงคโปร์เรียกสังขยาว่า "กายา") เป็นที่นิยมของชาวมาเลเซียและสิงคโปร์มานาน นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า พร้อมกับไข่ไก่ที่ต้มกึ่งสุกกึ่งดิบและเหยาะด้วยซีอิ๊วขาวเล็กน้อย รับประทานพร้อมชา, นม หรือกาแฟ.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและกายาโทสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มีเซียม

มีเซียม (mi siam, mee siam, "หมี่สยาม"; 麵暹.) เป็นเส้นหมี่ผัดกับซอสรสเปรี้ยว เผ็ด และหวาน เป็นอาหารที่นิยมในสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นหมี่แห้งที่ปรุงด้วยการผัดเส้นหมี่เข้ากับน้ำซอสรสจัดที่ปรุงไว้ อาหารชนิดนี้ในประเทศไทยเรียกหมี่กะทิ ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมในภาคกลาง โดยเป็นการผัดเส้นหมี่เข้ากับซอสที่ทำมาจากกะทิ ใส่หมู เต้าเจี้ยว น้ำมะขามเปียก อาจแต่งสีด้วยซอสแดงหรือซอสมะเขือเทศ ในสิงคโปร์และมาเลเซีย อาหารนี้เป็นอาหารของชาวจีนช่องแคบ แต่ปัจจุบันมีผู้ปรุงทั้งชาวอินเดีย ชาวมลายู และชาวจีน อาหารจานนี้รับประทานกับเต้าเจี้ยว ไข่ต้ม และน้ำมะขามเปียก ส่วนผักกินกับหอมหัวใหญ่หั่นและกุยช่าย หมวดหมู่:อาหารมาเลเซีย หมวดหมู่:อาหารสิงคโปร์ หมวดหมู่:ก๋วยเตี๋ยว.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและมีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

ลก-ลก

ลก-ลก (Lok-lok) อาหารข้างถนนแบบหนึ่งของมาเลเซีย มีลักษณะคล้ายลูกชิ้นเสียบไม้ที่มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งเนื้อสัตว์, ผัก, ไส้กรอก, เกี๊ยว หรือเห็ดต่าง ๆ เมื่อจะรับประทานจะนำไปลวกจิ้มที่น้ำร้อนคล้ายกับสุกี้หรือจิ้มจุ่มของไทย และรับประทานกับน้ำจิ้มหลากหลาย เช่น ที่มีรสชาติคล้ายกับน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ, หวานและเปรี้ยวคล้ายซอสพริก รวมถึงแบบที่มีรสชาติหวานอย่างซีอิ๊ว ลก-ลก พบได้ในปีนัง, กูชิง รวมถึงที่อื่น.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและลก-ลก · ดูเพิ่มเติม »

อาหารกัมพูชา

อะม็อก อาหารกัมพูชาที่มีชื่อเสียง อาหารกัมพูชา หรือ อาหารเขมร เป็นอาหารที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศกัมพูชา อาหารของกัมพูชามีทั้งผลไม้ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม ขนมและซุปต่างๆ ที่รับประทานเกือบทุกมื้อ แต่ก๋วยเตี๋ยวยังเป็นที่นิยม กับข้าวมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแกง ซุป ทอดและผัด มีพันธุ์ข้าวจำนวนมากในประเทศกัมพูชารวมทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนิยมรับประทานเป็นของหวานกับกับผลไม้ เช่น มะม่วง อาหารเขมรส่วนมากมีความคล้ายคลึงกับอาหารของเพื่อนบ้านอย่างประเทศไทยแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เผ็ดเท่า และเวียดนามที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและฝรั่งเศสที่เคยมีอิทธิพลต่อกัมพูชาในประวัติศาสตร์ อาหารประเภทแกงหรือที่เรียกว่าการี (ការី) แสดงร่องรอยของอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาหารอินเดีย ก๋วยเตี๋ยวเส้นหลายรูปแบบแสดงอิทธิพลของอาหารจีน กะทิเป็นส่วนผสมหลักของแกงกะหรี่เขมรและของหวาน ขนมปังฝรั่งเศสเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ซึ่งชาวกัมพูชามักจะกินกับปลากระป๋องหรือไข่ กาแฟปรุงด้วยนมข้นหวาน เป็นตัวอย่างของอาหารเช้ากัมพูชาในกัมพูชาแบบหนึ่ง.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและอาหารกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

อาหารสิงคโปร์

้าวมันไก่แบบสิงคโปร์เป็นอาหารสิงคโปรที่ได้รับความนิยมมากและเป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติของสิงคโปร์ อาหารสิงคโปร์ เป็นตัวบ่งชี้ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสิงคโปร์ ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย และได้มีปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมมานานนับศตวรรษ อาหารได้รับอิทธิพลจากชาวพื้นเมืองมลายู ชาวจีน อินโดนีเซีย เปอรานากัน วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งมาจากอังกฤษ และกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลโปรตุเกสซึ่งเรียกชาวคริสตัง อิทธิพลจากพื้นที่อื่นๆ เช่น ศรีลังกา ไทย ฟิลิปปินส์ และตะวันออกกลาง พบในอาหารพื้นเมืองเช่นกัน ในสิงคโปร์ อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการกำหนดเอกลักษณ์ของชาติและความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในสิงคโปร์ การพบปะและรับประทานอาหารระหว่างวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติ อาหารสิงคโปร์ได้รับการส่งเสริมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดเทศกาลอาหารสิงคโปร์ในเดือนกรกฎาคมเพื่อส่งเสริมอาหารสิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กที่มีประชากรหนาแน่นมาก ที่ดินเป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงส่วนใหญ่นำเข้ามา แม้ว่าจะมีกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็กที่ปลูกผัก ผลไม้ หรือสัตว์ปีกและปลา เนื่องจากสิงคโปร์ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญ จึงสามารถพบผลิตภัณฑ์และเครื่องปรุงทั่วโลกได้ที่นี.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและอาหารสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาจาด

อาจาดที่เคียงอยู่ในชุดอาหารอินโดนีเซีย อาจาด เป็นน้ำจิ้มชนิดหนึ่ง ทำจากน้ำส้มสายชูหรือน้ำกระเทียมดอง เพิ่มน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย (บางตำรับใช้น้ำเชื่อม) มาตั้งไฟเคี่ยวจนมีลักษณะเหนียวหรือข้น มีแตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้า หั่นเป็นชิ้น ๆ อยู่ด้วย รับประทานเคียงอาหารจำพวกสะเต๊ะและแกงกะหรี่เพื่อแก้เลี่ยน.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและอาจาด · ดูเพิ่มเติม »

อีกันบาการ์

อีกันบาการ์ (มาเลเซียและikan bakar) เป็นอาหารมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ทำจากปลาย่างหรืออาหารทะเลอย่างอื่น แปลตรงตัวว่าปลาเผา เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมในอินโดนีเซียโดยเฉพาะทางตะวันออก ปลามักจะปรุงด้วยเครื่องเทศบด บางครั้งใส่กะปิหรือซีอิ๊วหวานแล้วนำไปย่าง บางครั้งห่อด้วยใบตองขณะย่าง.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและอีกันบาการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วฝักยาว

มล็ดถั่วฝักยาว ถั่วฝักยาว (subsp. sesquipedalis) เป็นถั่วชนิดหนึ่งที่เป็นไม้เลื้อย มีชื่อสามัญในภาษาต่างๆที่หลากหลาย เช่น สิบสองปันนาเรียก ถั่วลิ้นนาค ภาษาอังกฤษเรียกว่า yardlong bean (ตรงตัว:ถั่วยาวหนึ่งหลา) ภาษาจีนกวางตุ้งเรียกว่า dau gok ภาษาจีนกลางเรียก jiang dou (豇豆) ภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายูเรียก kacang panjang ภาษาตากาล็อกเรียก 'SITAO' or 'SITAW' ภาษาอีโลกาโนเรียก utong ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสเรียกว่า bora หรือ bodi ภาษาเบงกาลีเรียกว่า vali, Borboti ในรัฐกัว อินเดีย เรียก eeril ภาษาเวียดนามเรียก đậu đũa และภาษาญี่ปุ่นเรียก ju-roku sasage (十六ササゲ) อย่างไรก็ตาม ฝักของถั่วชนิดนี้ยาวเพียงครึ่งหลา ชื่อของสับสปีชีส์ sesquipedalis (หมายถึงยาวฟุตครึ่ง)ใกล้เคียงกับความยาวจริงๆของฝักถั่วมากกว.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและถั่วฝักยาว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมไหว้พระจันทร์

นมไหว้พระจันทร์ไส้เมล็ดบัว ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake; จีนตัวย่อ: 月饼; จีนตัวเต็ม: 月餅; พินอิน: yuè bĭng) เป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง หรือเทศกาลไหว้พระจันทร์ (中秋節) ในคืนวันเพ็ญในเดือน 8 ตามปฏิทินจีน (กันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน) ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นของที่ใช้สำหรับเซ่นไหว้ดวงจันทร์ นับเป็นของสำคัญที่ใช้ในเทศกาลนี้ ลักษณะของขนมมีทรงกลม ลักษณะคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้งนวด แล้วกดใส่แป้นพิมพ์ที่มีลวดลายต่าง ๆ จากนั้นนำไปอบ และเคลือบผิวหน้าด้วยน้ำเชื่อม ภายในบรรจุไส้ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืชต่าง ๆ อาทิ ทุเรียน, เมล็ดบัว, แมคคาเดเมีย, พุทราจีน เป็นต้น แต่ปัจจุบันก็ได้มีดัดแปลงใส่เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เข้าไป เช่น กุนเชียง, ไข่เค็ม, หมูแฮม, หมูแดง, หมูหยอง เป็นต้น ความเป็นมาของขนมไหว้พระจันทร์ คือ ในยุคปลายราชวงศ์หยวน ที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่โดยชาวมองโกล ชาวฮั่นเมื่อต้องการจะก่อกบฏต่อต้าน ด้วยการแอบสอดสาส์นไว้ในขนมชิ้นนี้ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับทุกบ้าน ในสาส์นมีข้อความว่า คืนนี้ในเวลายาม 3 จงสังหารทหารมองโกลพร้อมกัน อันนำมาซึ่งเอกราชของชาวฮั่น จนกลายเป็นประเพณีการรับประทานและไหว้ขนมไหว้พระจันทร์ในปัจจุบัน ปัจจุบัน ขนมไหว้พระจันทร์ได้มีผู้ผลิตและจำหน่ายมากมายหลายแห่ง ได้มีการดัดแปลงใส่ไส้ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากในอดีตมาก เช่น ช็อคโกแล็ต, ชาเขียว, คัสตาร์ด, อัลมอนด์ เป็นต้น หรือดัดแปลงไปเป็นแบบต่าง ๆ เช่น ดัดแปลงคล้ายขนมโมจิ หรือไอศกรีม และกลายมาเป็นธุรกิจสำคัญที่มีมูลค่าการตลาดและการแข่งขันสูงมากในช่วงเทศกาลนี้ในแต่ละปี ในมาเลเซีย ขนมไหว้พระจันทร์เรียกว่า กู อิฮ์ บู ลัน (kulh bulan) มีหลายไส้เช่นเดียวกับขนมไหว้พระจันทร์ในไท.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและขนมไหว้พระจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวยำ

้าวยำในมาเลเซีย ข้าวยำในอินโดนีเซีย ข้าวยำ หรือ ข้าวยำบูดู เป็นอาหารไทยภาคใต้ โดยถือกันว่าเป็นอาหารที่ครบโภชนาการมากที่สุด และมีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างโดยเป็นอาหารจานเดียวที่มีน้ำปรุงร.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและข้าวยำ · ดูเพิ่มเติม »

ดีปลี

ีปลี มีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ: ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง).

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและดีปลี · ดูเพิ่มเติม »

ซุปกัมบิง

ซุปกัมบิง (มลายูและsup kambing) หรือ ซปกัมบิง (sop kambing) เป็นซุปเนื้อแพะที่พบทั่วไปในอาหารมาเลเซียและอาหารอินโดนีเซีย ใส่เนื้อแพะ มะเขือเทศ เซเลอรี หัวหอม ขิง แคนเดิลนัต และใบมะกรูด สีของซุปออกสีเหลือง ในอินโดนีเซียจะใส่เครื่องเทศ ส่วนผสมคล้ายกับซุปบุนตุตหรือซุปหางวัว นิยมใช้เนื้อแพะส่วนที่เป็นซี่โครง ถ้าใส่เครื่องในของหัวแพะ เรียก "ซุปเกอปาลากัมบิง" ซึ่งจะใส่ทั้งลิ้น หู ปาก เนื้อ ตา และบางครั้งใส่สมองด้วย ในอินโดนีเซีย อาหารนี้เป็นที่นิยมทั่วไป แต่มีความเกี่ยวข้องกับอาหารมลายูและอาหารเบอตาวีที่พบทั่วไปในชวา ชาวชวานิยมนำเนื้อแพะไปปรุงเป็นตงเซ็งหรือกูไลแบบชวามากกว่า ในเทศกาลอีดิลอัฎฮา ซุปกัมบิงเป็นที่นิยมรับประทานคู่ไปกับกูไลและสะเต๊ะแพะ ในมาเลเซีย ซุปกัมบิงได้รับอิทธิพลจากอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูและอินเดียซึ่งใช้เครื่องเท.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและซุปกัมบิง · ดูเพิ่มเติม »

นาซีจัมปูร์

นาซีจัมปูร์ (อินโดนีเซียและnasi campur) หรือ นาซีเบอร์เลาก์ (nasi berlauk) เป็นอาหารประเภทข้าวที่วางเนื้อสัตว์ ผัก ถั่วลิสง ไข่ และข้าวเกรียบกุ้งไว้ด้านบน นาซีจัมปูร์กินกับเครื่องเคียงหลายอย่าง ทั้งผัก ปลา และเนื้อสัตว์ เป็นอาหารจานหลักในหลายพื้นที่ทั้งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ ในจังหวัดโอะกินะวะของญี่ปุ่นมีอาหารที่คล้ายกัน เรียกจัมปุรู.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและนาซีจัมปูร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีโกเร็ง

นาซีโกเร็ง (มาเลเซียและnasi goreng) หรือที่ในภาษามลายูปัตตานีเรียกว่า นาซิ กฺอแรฺ็ง (ออกเสียง) มีความหมายตรงตัวว่า "ข้าวผัด" เป็นอาหารที่นำข้าวสุกไปผัดกับน้ำมันหรือเนยเทียม ปรุงรสด้วยซีอิ๊วหวาน (kecap manis) หอมแดง กระเทียม มะขาม และพริก อาจมีส่วนผสมอื่นด้วย เช่น ไข่ ไก่ กุ้ง.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและนาซีโกเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

นาซีโกเร็งปัตตายา

นาซีโกเร็งปัตตายา (nasi goreng pattaya, "ข้าวผัดพัทยา") หรือ นาซีปัตตายา (nasi pattaya, "ข้าวพัทยา") เป็นอาหารมาเลเซียทำจากข้าวผัดไก่ที่นำไปห่อด้วยไข่เจียว มักเสิร์ฟพร้อมซอสพริก แตงกวา และข้าวเกรียบกุ้ง ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีอาหารที่คล้ายกันนี้เรียกว่าข้าวห่อไข่ (omuraisu) ซึ่งเป็นข้าวผัดไข่ห่อด้วยไข่เจียว และราดซอสมะเขือเทศแทน หมวดหมู่:อาหารประเภทข้าว หมวดหมู่:อาหารมาเลเซีย.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและนาซีโกเร็งปัตตายา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเลอมะก์

นาซีเลอมะก์ห่อด้วยใบตอง นาซีเลอมะก์ (nasi lemak) หรือที่ในภาษามลายูปัตตานีเรียกว่า นาซิ ลือเมาะ (ออกเสียง) เป็นข้าวเจ้าหุงกับกะทิ ซึ่งพบในมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ หมู่เกาะเรียว และภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซียกล่าวว่าอาหารชนิดนี้เป็นอาหารประจำชาติและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมาเลเซีย แม้ว่าจะมีการแพร่กระจายในบริเวณอื่น ๆ อาหารนี้เป็นคนละชนิดกับนาซีดากัง (นาซิ ดาแกฺ) ซึ่งเป็นที่นิยมทางชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายู คือกลันตันและตรังกานู แต่ทั้งนาซีเลอมะก์และนาซีดากังก็เป็นอาหารเช้าที่แพร่หลาย คำว่านาซีเลอมะก์ในภาษามลายูหมายถึงข้าวมัน โดยนำข้าวไปแช่ในกะทิ แล้วนำส่วนผสมไปนึ่ง กระบวนการปรุงคล้ายกับอาหารอินโดนีเซียคือนาซีอูดุก์ บางครั้งจะเติมใบเตยหอมลงบนข้าวขณะนึ่งเพื่อให้เกิดกลิ่นหอม อาจเพิ่มเครื่องเทศบางชนิด ได้แก่ ขิงและตะไคร้ เพื่อเพิ่มความหอม การรับประทานแบบพื้นบ้านจะห่อด้วยใบตอง ใส่แตงกวาหั่น ปลาร้าทอด (ikan bilis) ถั่วลิสงอบ ไข่ต้มแข็ง และซัมบัลซึ่งเป็นซอสมีลักษณะคล้ายน้ำพริก รสเผ็ด นาซีเลอมะก์นี้อาจจะรับประทานคู่กับไก่ทอด (ayam goreng) ผักบุ้งผัด หมึกผัดพริก (sambal sotong) หอยแครง อาจาด เรินดังเนื้อ (แกงเนื้อกับกะทิและเครื่องเทศ) หรือปอดวัว (paru) อาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่มีรสเผ็ด นาซีเลอมะก์เป็นที่นิยมรับประทานในมาเลเซียและสิงคโปร์ นิยมกินเป็นอาหารเช้าทั้งสองประเทศ หรือรับประทานในภัตตาคารเป็นอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น มีขายทั้งในศูนย์อาหารของสิงคโปร์และข้างถนนในมาเลเซีย นาซีเลอมะก์กูกุซ (nasi lemak kukus) หรือข้าวมันนึ่ง เป็นอีกชื่อหนึ่งของนาซีเลอมะก์ที่ปรุงให้สุกด้วยการนึ่ง.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและนาซีเลอมะก์ · ดูเพิ่มเติม »

โลร์มี

ลร์มี (Lor mee; ภาษาจีน: 鹵麵; Pe̍h-ōe-jī: lóo-mī) เป็นอาหารมาเลเซียที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน เสิร์ฟกับน้ำซุปข้นที่ใส่แป้ง และใส่เส้นหมี่สีเหลืองแบน อาหารนี้เป็นที่นิยมของชาวจีนฮกเกี้ยนในมาเลเซียและสิงคโปร์ นำซุปที่ข้นนั้นใส่แป้งข้าวโพด เครื่องเทศ และไข่ เครื่องปรุงอื่นที่เติมเข้ามาได้แก่โงเฮียง ลูกชิ้น เนื้อปลา ไข่ต้มผ่าครึ่ง อาจเติมน้ำส้มสายชูและกระเทียมได้ นิยมใส่พริกด้วย แบบดั้งเดิมจะใส่ปลาทอดด้ว.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและโลร์มี · ดูเพิ่มเติม »

โอตะก์-โอตะก์

อตะก์-โอตะก์ในมากาซาร์ อินโดนีเซีย โอตะก์-โอตะก์ย่างในมาเลเซีย โอตะก์-โอตะก์จากกาตง สิงคโปร์ มีสีน้ำตาล โอตะก์-โอตะก์ที่ขายกับซอสถั่วลิสง โอตะก์-โอตะก์ (มลายูและotak-otak) หรือ ห่อหมกมลายู เป็นอาหารมาเลเซียที่มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย ส่วนผสมทำจากปลาบด ซึ่งเนื้อปลาที่ใช้ทำได้มีหลายชนิด ผสมกับเครื่องแกง ได้แก่ พริก หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ลูกผักชี กะปิ และแคนเดิลนัต จากนั้นนำไปห่อใบตองหรือใบมะพร้าวแล้วนำไปย่าง รายละเอียดของส่วนผสมจะต่างไปในแต่ละเมือง บางสูตรใส่ผงกะหรี่ด้วย โอตะก์-โอตะก์ในอินโดนีเซียสีจะออกขาว ส่วยในมาเลเซียและสิงคโปร์ สีจะเป็นสีส้มหรือแดง รับประทานเป็นอาหารว่าง หรือกินกับข้าวหรือขนมปังและราดซอสถั่วลิสง โอตะก์-โอตะก์อีกแบบหนึ่งจะหั่นเนื้อปลาเป็นชิ้น ผสมเครื่องแกงแล้วนึ่ง เรียก โอตะก์-โอตะก์โญญา คำว่าโอตะก์ในภาษามลายูหมายถึงสมอง อาหารนี้เป็นที่นิยมมากในมาเลเซียตอนใต้ สิงคโปร์ และพื้นที่ใกล้เคียงในอินโดนีเซีย เช่น ปาเลมบัง มากัสซาร์ ในสิงคโปร์เรียกว่า โอตะห์ โอตะก์-โอตะก์โญญาจะพบมากในมาเลเซียทางเหนือเช่นที่รัฐปีนัง โอตะก์-โอตะก์ที่ตรังกานูเรียกว่าซาตา อาหารที่คล้ายกันในอินโดนีเซียเรียกว่า เปเป.

ใหม่!!: อาหารมาเลเซียและโอตะก์-โอตะก์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »