โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารชาทร์

ดัชนี อาสนวิหารชาทร์

อาสนวิหารชาทร์ (Cathédrale de Chartres) หรือ อาสนวิหารแม่พระแห่งชาทร์ (Cathédrale Notre-Dame de Chartres) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลชาทร์ ตั้งอยู่ที่เมืองชาทร์ในประเทศฝรั่งเศส (ราว 80 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้) ของกรุงปารีส เป็นสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสชิ้นที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งของฝรั่งเศส เมื่อมองจากนอกเมืองอาสนวิหารเหมือนกับผุดขึ้นมาจากทุ่งข้าวสาลี จนเมื่อเข้าไปใกล้เข้าจึงเห็นว่าตั้งอยู่เหนือกลุ่มบ้านเรือนที่เกาะกันเป็นกระจุกบนเนินรอบ ๆ ด้านหน้าอาสนวิหารเป็นหอสองหอที่มีลักษณะต่างกัน — หอหนึ่งเป็นหอพีระมิดเรียบ ๆ ที่สร้างราวคริสต์ทศวรรษ 1140 ที่สูง 105 เมตร อีกหอหนึ่งสูง 113 เมตร สร้างราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่ตกแต่งอย่างวิจิตรกว่าหอแรก ภายนอกอาสนวิหารเป็นค้ำยันแบบปีกที่กางออกไปรอบตัวอาสนวิหาร อาสนวิหารชาทร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

21 ความสัมพันธ์: ชาทร์พ.ศ. 1688พระคริสต์ทรงพระสิริพระคัมภีร์คนยากการประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ)รายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปตะวันตกรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศฝรั่งเศสลายวงกตสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษอาสนวิหารอาสนวิหารบูร์ฌอาสนวิหารตูร์อาสนวิหารน็อทร์-ดามอาสนวิหารโบแวจังหวัดเออเรลัวร์ครีบยันลอยน็อทร์-ดามแรยอน็องโบสถ์อนุสรณ์ไกเซอร์วิลเฮล์มโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ชาทร์

ทร์ (Chartres) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเออเรลัวร์ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส เมืองชาทร์ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ทางตอนกลางของประเทศ ชาทร์ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเออร์บนเนินที่เป็นที่มีมหาวิหารชาทร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งเด่นล้อมรอบไปด้วยบ้านเรือนของชาวเมือง.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และชาทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1688

ทธศักราช 1688 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และพ.ศ. 1688 · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์ทรงพระสิริ

ระคริสต์ทรงพระสิริ (Christ in Glory) หรือ พระคริสต์ผู้ยิ่งใหญ่ (Christ in Majesty Majestas Domini), เป็นภาพพระเยซูประทับบนบัลลังก์ในฐานะประมุขของโลก ในการวางองค์ประกอบของงานศิลปะจะเป็นภาพที่จะมองจากด้านหน้าเสมอ และมักจะขนาบด้วยคนหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไปแล้วแต่บริบท ลักษณะ ภาพ “พระคริสต์ทรงพระสิริ” เป็นภาพที่วิวัฒนาการมาตั้งแต่ศิลปะคริสเตียนยุคแรกที่นำมาโดยตรงจากภาพจักรพรรดิโรมันบนบัลลังก์ ในศิลปะไบแซนไทน์จะมีลักษณะที่ต่างออกไปเล็กน้อยเป็นภาพครึ่งพระองค์ “พระคริสต์ผู้ทรงสรรพานุภาพ” (Christ Pantocrator) และจะไม่มีสิ่งอื่นใดประกอบ และภาพ “เดอีซิส” (Deesis) ที่เป็นภาพทั้งพระองค์บนบัลลังก์ขนาบด้วยพระแม่มารีย์และนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญองค์อื่น ๆ ทางตะวันตกองค์ประกอบของภาพวิวัฒนาการมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยังคงดำรงความสำคัญจนมาถึงปลายศิลปะบารอกที่เป็นภาพที่ลอยอยู่บนฟ้.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และพระคริสต์ทรงพระสิริ · ดูเพิ่มเติม »

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และพระคัมภีร์คนยาก · ดูเพิ่มเติม »

การประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ)

“การประหารทารกผู้วิมล” โดย จอตโต ดี บอนโดเน การสังหารทารกบริสุทธิ์ (ภาษาอังกฤษ: Massacre of the Innocents) เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระแม่มารีที่เป็นการสังหารหมู่ของทารกในเมืองบ้านเบ็ธเลเฮม ตามพระราชโองการของ พระเจ้าแฮรอดมหาราช พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน ที่บรรยายในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว ผู้ประพันธ์เชื่อกันว่าเป็นนักบุญแม็ทธิวอีแวนเจลลิส บันทึกว่าพระเจ้าแฮรอดมีพระบรมราชโองการให้ฆ่าเด็กผู้ชายในหมู่บ้านเบ็ธเลเฮมเพื่อป้องกันการยึดครองราชบัลลังก์โดยเด็กที่เกิดใหม่ ตามคำพยากรณ์ของแมไจที่ว่าเมื่อโตขึ้นจะได้เป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” (King of the Jews) หัวเรื่อง “การประหารทารกผู้บริสุทธิ์” เป็นหัวเรื่องหนึ่งของศิลปะคริสต์ศาสนาที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียนกัน.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และการประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปตะวันตก

รป.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และรายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศฝรั่งเศสทั้งสิ้น 43 แหล่ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 39 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง และมรดกโลกชนิดผสมอีก 1 แห่ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ลายวงกต

“วงกตคลาสสิก” เจ็ดชั้น เขาวงกตครีตทำด้วย 2500 TeaLights การเผาไหม้ในศูนย์คริสเตียนสมาธิและจิตวิญญาณของสังฆมณฑลบูร์กที่โบสถ์ Holy Cross ใน แฟรงก์เฟิร์ต-Bornheim ลายวงกตยุคสำริดแอตแลนติก ลายวงกตในภาพวาดในถ้ำในอิตาลี วงกตบนพื้นที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศส คนอสซอส ลายวงกต หรือ ลาบรินธ์ (Labyrinth) ในตำนานเทพเจ้ากรีก “Labyrinth” (λαβύρινθος, labyrinthos) คือโครงสร้างอันซับซ้อนที่ออกแบบและสร้างโดยเดดาลัสสำหรับกษัตริย์ไมนอสแห่งครีตที่คนอสซอส โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นกับดักมิโนทอร์ที่เป็นสิ่งที่มีร่างเป็นมนุษย์หัวเป็นวัว ผู้ในที่สุดก็ถูกสังหารโดยวีรบุรุษชาวเอเธนส์เธเซียส (Theseus) เดดาลัสสร้างวงกตอย่างวกวนจนเมื่อสร้างเสร็จตนเองก็แทบจะหาทางออกมาไม่ได้ อารีอัดเน (Ariadne) ให้ความช่วยเหลือเธเซียสให้หาทางออกจากได้โดยการมอบม้วนด้ายให้ม้วนหนึ่งให้วางตามเส้นทางเพื่อที่จะเดินตามรอยด้ายกลับออกมาจากวงกตได้ ในภาษาพูดของภาษาอังกฤษ “Labyrinth” มีความหมายพ้องกับคำว่า “Maze” (วงกตปริศนา) แต่นักวิชาการร่วมสมัยให้ความแตกต่างว่า “วงกตปริศนา” หมายถึงลวดลายวกวนที่ซับซ้อนที่มีทางเข้าทางออกได้หลายทาง แต่ “ลายวงกต” จะมีทางเข้าทางออกทางเดียว และทางจะไม่แตกออกไปเป็นทางย่อยเช่นที่เกิดขึ้นในวงกตปริศนาที่นำ ที่จะนำเข้าไปยังศูนย์กลาง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าลายวงกตจะเป็นเส้นทางที่ไม่กำกวมที่นำเข้าไปยังศูนย์กลางของวงกตและนำออกมา และไม่มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้ยากต่อการเดินตามเส้นทางเข้าไปและออกมา แม้ว่าเหรียญครีตยุคแรกบางเหรียญจะเป็นลายวกวนซ้อน (multicursal patterns) แต่ลายวกวนเดี่ยวเจ็ดชั้นแบบคลาสสิกก็กลายมาเป็นลวดลายที่ใช้บนเหรียญส่วนใหญ่มาตั้งแต่ราว 430 ปีก่อนคริสต์ศักราช และใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกว่าเป็นวงกต – แม้ว่าในการบรรยายจะกล่าวว่ามิโนทอร์ติดกับอยู่ในวงกตปริศนาก็ตาม แม้เมื่อลายวงกตพัฒนาซับซ้อนขึ้น แต่ลายวงกตตั้งแต่สมัยโรมันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็เป็นลายวกวนทางเดียว (unicursal) “วงกตปริศนา” เพิ่งเริ่มมาเป็นที่นิยมกันเมื่อใช้ในการออกแบบสวนวงกตที่นิยมกันในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา ลายวงกตอาจจะปรากฏเป็นลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา, ตะกร้า, ลายสักบนร่างกาย, ลายบนผนังหรือกำแพงของคริสต์ศาสนสถาน โรมันใช้ลายวงกตในการตกแต่งบนผนัง, พื้นด้วยโมเสก ลายวงกตที่สร้างบนพื้นบางครั้งก็จะมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการเดินตามเส้นเข้าออกได้สำหรับการเดินกรรมฐาน.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และลายวงกต · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ของสมัยกอทิกตอนกลางราว ค.ศ. 1194 ถึง ค.ศ. 1260 สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1140 จนถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบูร์ฌ

อาสนวิหารบูร์ฌ (Cathédrale de Bourges) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งบูร์ฌ (Cathédrale Saint-Étienne de Bourges) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองบูร์ฌในประเทศฝรั่งเศส และเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลบูร์ฌ โดยอุทิศแด่นักบุญสเทเฟน มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างด้วยความยิ่งใหญ่และกลมกลืนกันทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหน้าบัน รูปปั้นประดับโดยรอบ และงานกระจกสี อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกละเลยมาเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารแห่งนี้ก็โดดเด่นไม่แพ้กับอาสนวิหารชั้นนำที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และอาสนวิหารบูร์ฌ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารตูร์

อาสนวิหารตูร์ (Cathédrale de Tours) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกาเซียงแห่งตูร์ (Cathédrale Saint-Gatien de Tours) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายก ประจำมุขมณฑลตูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์ จังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญกาเซียงแห่งตูร์ อดีตมุขนายกผู้ก่อตั้งมุขมณฑลตูร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 อาสนวิหารแห่งตูร์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และอาสนวิหารตูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็อทร์-ดาม

อาสนวิหารน็อทร์-ดาม (Cathédrale Notre-Dame แปล: อาสนวิหารแม่พระ) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และอาสนวิหารน็อทร์-ดาม · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเออเรลัวร์

ออเรลัวร์ (Eure-et-Loir) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดเออเรลัวร์ตั้งตามชื่อแม่น้ำเออร์และแม่น้ำลัวร์ ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสโดยมีชาทร์เป็นเมืองหลัก เออเรลัวร์เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 จากบางส่วนของอดีตจังหวัดออร์เลอาแน, แปร์ช และชาร์แทร็ง สถานที่สำคัญและน่าสนใจในจังหวัดเออเรลัวร์ก็ได้แก่อาสนวิหารแม่พระแห่งชาทร์หรือปราสาทชาโตเดิง.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และจังหวัดเออเรลัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ครีบยันลอย

กำแพงครีบยันแบบปึกนอกหอประชุมสงฆ์ที่มหาวิหารลิงคอล์น กำแพงครีบยันแบบปึกที่มหาวิหารบาธที่อังกฤษ 5 ใน 6 ครีบยันที่เห็นรับน้ำหนักทางเดินกลาง (nave) อันที่ 6 รับน้ำหนักแขนกางเขน (transept) ครีบยันลอยที่มหาวิหารอาเมียง ครีบยันลอย (flying buttress, arc-boutant) ในทางสถาปัตยกรรม ครีบยันลอยเป็นครีบยัน (Buttress) ประเภทหนึ่งที่มักจะใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะกับสถาปัตยกรรมกอทิก เพื่อแบ่งรับน้ำหนักจากหลังคามาสู่ครีบยันที่กระจายออกไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางเดินข้าง (aisle) คูหาสวดมนต์ หรือระเบียงนอกสิ่งก่อสร้าง ครีบยันลอยต่างกับครีบยันตรงที่จะมีลักษณะที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งหรือแนบกับตัวสิ่งก่อสร้างของครีบยัน การใช้ครีบยันลอยทำให้ทุ่นการรับน้ำหนักหรือแรงกดดันกำแพงที่แต่เดิมต้องรับน้ำหนักและความกดดันทั้งหมด จึงทำให้สามารถทำหน้าต่างได้กว้างขึ้นได้ ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นโดยไม่มีครีบยันลอยก็จะทำให้กำแพงไม่แข็งแรง จุดประสงค์ของครีบยันลอยก็เพื่อช่วยลดน้ำหนักกดดันของกำแพงทางเดินกลาง แรงกดดันและน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนบนของครีบยันฉะนั้นเมื่อทำครีบยันเป็นครึ่งซุ้มโค้งก็ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้เท่า ๆ กับครีบยันที่ตัน นอกจากนั้นยังทำให้ครีบยันเบาขึ้นและราคาถูกกว่าที่จะสร้าง ฉะนั้นกำแพงจึง “บิน” (flying) ออกไปจากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นกำแพงทึบ จึงทำให้เรียกกันว่า “ครีบยันลอย” วิธีการก่อสร้างที่ใช้ครีบยันมีมาตั้งแต่สมัยสถาปัตยกรรมโรมันและต้นโรมาเนสก์แต่สถาปนิกมักจะพรางครีบยันโดยการซ่อนไว้ใต้หลังคา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปนิกเมื่อมีการวิวัฒนาการการสร้างครีบยันลอยกันขึ้น นอกจากสถาปนิกจะเห็นถึงความสำคัญของครีบยันที่ใช้แล้ว ก็ยังหันมาเน้นการใช้ครีบยันเป็นสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างเช่นที่มหาวิหารชาทร์ มหาวิหารเลอม็อง (Le Mans Cathedral) มหาวิหารโบแว (Beauvais Cathedral) มหาวิหารแร็งส์ และมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเอง บางครั้งเมื่อเพดานสูงมากๆ สถาปนิกก็อาจจะใช้ครีบยันลอยซ้อนกันสองชั้นหรือบางครั้งการจ่ายน้ำหนักก็จะกระจายออกไปกับครีบยันสามสี่อัน ตามปกติแล้วน้ำหนักของครีบยันก็จะเพิ่มน้ำให้กับตัวอาคารพอสมควร ฉะนั้นครีบยันจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ การใช้ครีบยันดิ่งเป็นระยะ ๆ ทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักและแรงกดทับได้ดีขึ้นกว่าที่จะสร้างตลอดแนวกำแพง ครีบยันดิ่งที่ใช้ในการก่อสร้างมหาวิหารลิงคอล์น แอบบีเวสต์มินสเตอร์อยู่ภายนอกหอประชุมสงฆ์ ครีบยันดิ่งมักจะใช้ยอดแหลม (pinnacle) เหนือครีบยันในการสร้างแรงต่อต้านการรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น วิธีการก่อสร้างนี้ถูกนำไปใช้โดยสถาปนิกชาวแคนาดาวิลเลียม พี แอนเดอร์สันในการสร้างประภาคารเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และครีบยันลอย · ดูเพิ่มเติม »

น็อทร์-ดาม

น็อทร์-ดาม (Notre Dame) เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "พระแม่เจ้าของเรา" หรือ "แม่พระ" ซึ่งหมายถึงพระนางมารีย์พรหมจารี.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และน็อทร์-ดาม · ดูเพิ่มเติม »

แรยอน็อง

มหาวิหารโคโลญ (ค.ศ. 1248-ค.ศ. 1322) ที่ถือกันว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมแรยอน็องที่งดงามที่สุดของยุคกลางหน้าต่างกุหลาบแบบแรยอน็องของมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส แรยอน็อง (Rayonnant) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1240 จนถึง ค.ศ. 1350 แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมกอทิกตอนกลาง แรยอน็องเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่หันความสนใจจากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่และความกว้างใหญ่ของสิ่งก่อสร้างเช่นมหาวิหารชาทร์ หรือทางเดินกลางของมหาวิหารนอเทรอดามแห่งอาเมียงมาเป็นการคำนึงถึงผิวสองมิติของสิ่งก่อสร้าง และการตกแต่งด้วยลวดลายที่ซ้ำซ้อนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 แรยอน็องก็ค่อยวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกตอนปลายและสถาปัตยกรรมกอทิกวิจิตร และดังกล่าวแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดแจ้ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และแรยอน็อง · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์อนุสรณ์ไกเซอร์วิลเฮล์ม

อนุสรณ์ไกเซอร์วิลเฮล์ม เป็นอนุสรณ์ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และหอระฆังสมัยใหม่ ซึ่งต่อเติมใน ค.ศ. 1963 โบสถ์อนุสรณ์ไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Memorial Church, Kaiser-Wilhelm-Gedächtniskirche) ตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ตัวโบสถ์เดิมนั้นสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1890 อย่างไรก็ตาม ตัวโบสถ์ถูกทำลายอย่างรุนแรงในการโจมตีทิ้งระเบิดใน..

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และโบสถ์อนุสรณ์ไกเซอร์วิลเฮล์ม · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ บาทหลวงผู้ยิ่งใหญ่ที่ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ที่มีประวัติเก่าแก่มายาวนาน โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (Assumption Convent, Couvent De l'Assomption) (อักษรย่อ: อสค, ASC) เป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกหญิงแห่งแรกของประเทศ และเป็นโรงเรียนแรกในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรแห่งประเทศไทย ก่อตั้งโดยคุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารชาทร์และโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cathedral of ChartresChartres CathedralNotre-Dame de Chartresมหาวิหารชาร์ทร์มหาวิหารชาร์ตร์มหาวิหารชาทร์มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาตร์มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ทร์มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ตร์อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »