เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อารยธรรมอีทรัสคัน

ดัชนี อารยธรรมอีทรัสคัน

อารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อีทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) ชาวอีทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) ชาวอีทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอีทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอีทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอีทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอีทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอีทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอีทรัสคันก็สิ้นสุดลงCary, M.; Scullard, H.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: Aกษัตริย์แห่งโรมมาส์ราชอาณาจักรอิทรูเรียลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุสวัฒนธรรมลาแตนสาธารณรัฐโรมันสถาปัตยกรรมโรมันซาดาร์ประเทศอิตาลีแคว้นตอสคานาเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)เฮอร์มีสเฮอร์คิวลีสเนเปิลส์

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและA

กษัตริย์แห่งโรม

แม่หมาป่าคาปิโตลีนา สัญลักษณ์อำนาจของกษัตริย์แห่งโรม กษัตริย์แห่งโรม (Rex Romae) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของราชอาณาจักรโรมัน มีอำนาจในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ตามตำนานแล้ว กษัตริย์คนแรกคือโรมุลุส ซึ่งได้สร้างกรุงโรมขึ้นเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราชบนเขาแพละไทน์ กรุงโรมมีกษัตริย์ทั้งหมด 7 คนซึ่งปกครองกรุงโรมจนถึง 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์คนที่เจ็ดถูกโค่นจากอำนาจจากเหตุข่มขืนลูเครเชีย แม้จะมีชื่อตำแหน่งว่าเป็นกษัตริย์แต่ก็เป็นเพียงชื่อตำแหน่งในทางปกครองเท่านั้น กษัตริย์แต่ละคนมาจากการเลือกตั้งแบบปลอดการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับกษัตริย์คนก่อน ระบอบการปกครองเช่นนี้จึงไม่มีชนชั้นราชวงศ์ ตำแหน่งกษัตริย์เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือผู้คน แม้กรุงโรมจะมีวุฒิสภาแต่ก็เป็นเพียงสภาที่มีอำนาจน้อยนิดในทางปกครองเท่านั้น หน้าที่หลักของวุฒิสภาคือการสนองความปรารถนาของกษัตริย์ นอกจากโรมุลุสผู้เป็นกษัตริย์คนแรกแล้ว กษัตริย์คนต่อมามาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนกรุงโรม วุฒิสภาจะแต่งตั้งวุฒิสมาชิกกลุ่มหนึ่งเป็นคณะอินแตร์เรกส์ (Interrex) ซึ่งจะเป็นคณะที่สรรหาและเสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกหนึ่งคนเป็นกษัตริย์ หากผู้สมัครคนนั้นแพ้การเลือกตั้ง คณะอินแตร์เรกส์ก็จะสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกคนใหม่ ผู้ที่ถูกเสนอชื่ออาจจะเป็นใครก็ได้โดยไม่เกี่ยงที่มา อาทิ ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ปริสกุส กษัตริย์คนที่ 5 มีต้นกำเนิดเป็นเพียงสามัญชนผู้อพยพมาจากอีทรัสคัน นครรัฐเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ในตอนปลายยุคได้เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันขึ้น ทำให้กษัตริย์องค์ที่ 6 และ 7 ไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่มาจากการลงมติแต่งตั้งของวุฒิสภาเท่านั้น.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและกษัตริย์แห่งโรม

มาส์

มาส์ เทพมาส์ (Mars) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพแอรีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพมาร์สเป็นเทพแห่งสงคราม เป็นลูกของเทพีจูโนและเทพจูปิเตอร์ เป็นสามีของเทพีเบลโลนาและคนรักของเทพีวีนัส มาส์เป็นเทพทางการทหารที่เป็นที่สักการะของกองทหารโรมัน นักรบโรมันถือว่ามาส์เป็นเทพที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากเทพจูปิเตอร์ เดือนที่ฉลองคือเดือนมีนาคมซึ่งเป็นชื่อเดือนที่ตั้งตามชื่อของเทพและเดือนตุลาคม คำว่า “Mars” ไม่มีรากจากคำในตระกูลภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปียนซึ่งทำให้สันนิษฐานกันว่ามาจากเทพแห่งการเกษตรกรรมของอีทรัสคันชื่อเทพมาริส เดิมเทพมาส์เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และพืชพันธุ์และเป็นผู้พิทักษ์วัว ทุ่งการเกษตรกรรม พืชผัก และเกษตรกร ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐบุรุษโรมันคาโตผู้อาวุโส ได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งก็ไม่ทราบแน่ชัด หรือมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดกับเทพมาส์ ต่อมาเทพมาส์ก็มาเกี่ยวข้องกับการศึกสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นเมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มขยายตัว เทพมาส์ไม่เหมือนเทพแอรีสของตำนานเทพปกรณัมกรีกเพราะเป็นเทพที่เป็นที่นับถือและมีความสำคัญพอ ๆ กับเทพจูปิเตอร์ และถือกันว่าเป็นเทพในนามของกรุงโรม และยังถือกันว่าเป็นพ่อของรอมิวลุส ฉะนั้นชาวโรมจึงสืบเชื้อสายมาจากเทพม.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและมาส์

ราชอาณาจักรอิทรูเรีย

ราชอาณาจักรอิทรูเรีย (Kingdom of Etruria; Regno di Etruria) เป็นราชอาณาจักรที่ประกอบด้วยดินแดนส่วนใหญ่ของทัสกานี ที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและราชอาณาจักรอิทรูเรีย

ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส

ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส (LVCIVS TARQUINIVS SVPERBVS) เป็นกษัตริย์แห่งโรมคนที่ 7 และเป็นคนสุดท้าย เขามีฉายาว่า ตาร์กวินิอุสผู้หยิ่งทะนง เขาเป็นลูกชายหรือหลานชายของลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ปริสกุส กษัตริย์แห่งโรมคนที่ห้า ซุแปร์บุสได้ขึ้นครองรายช์ภายหลังการลอบสังหารแซร์วิอุส ตุลลิอุส กษัตริย์คนที่หก ซึ่งเป็นการลอบสังหารที่จัดฉากโดยเขากับภริยา โรมันภายใต้การปกครองของซุแปร์บุสไม่ได้ประสบกับความสำเร็จทางการทหารมากนัก เขามักหัวอ่อนคล้อยตามแม่ทัพนายกองที่มักจะบอกว่าโรมันสามารถจะชนะในศึกนั้นศึกนี้ได้ ความนิยมของซุแปร์บุสจึงไม่ค่อยจะดีนัก และเมื่อน้องชายเขาก่อเหตุข่มขืนลูเครเชีย ก็ทำให้ประชาชนในกรุงโรมก่อการลุกฮือโค่นล้มเขาลงจากอำนาจในปี 509 ก่อนคริสต์กาล ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างและวุฒิสภาโรมันได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโรมัน หลังถูกโค่นล้มจากอำนาจ เขาก็ลี้ภัยออกจากกรุงโรมไปพึ่งกษัตริย์ปอร์เซนาแห่งชาวอีทรัสคัน ด้วยเห็นว่าซุแปร์บุสมีเชื้อสายอีทรัสคัน กษัตริย์ปอร์เซนาจึงต้องการช่วยซุแปร์บุสคืนสู่ตำแหน่ง กษัตริย์ปอร์เซนายกทัพสู่กรุงโรม แต่สู้รบกันไม่ไม่นานก็เกิดเป็นสัญญาสงบศึกโดยไม่มีฝ่ายใดชนะ ซุแปร์บุสได้พยายามวางแผนทวงคืนบัลลังก์อีกครั้งในปี 498 หรือ 496 ก่อน..แต่ก็ไม่สำเร็จ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชบัลลังก์ หมวดหมู่:กษัตริย์แห่งโรม.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส

วัฒนธรรมลาแตน

วัฒนธรรมลาแตน (La Tène culture) เป็นวัฒนธรรมยุคเหล็กของยุโรปที่ตั้งชื่อตามแหล่งโบราณคดีที่ลาแตนบนฝั่งเหนือของทะเลสาบเนอชาแตลในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นที่พบสิ่งของมีค่าทางโบราณคดีจำนวนมากมายโดยฮันสลี ค็อพพ์ ในปี ค.ศ.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและวัฒนธรรมลาแตน

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและสาธารณรัฐโรมัน

สถาปัตยกรรมโรมัน

ลอสเซียมในกรุงโรม สถาปัตยกรรมโรมัน (Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิก” นอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่นำมาจากกรีกแล้วโรมันยังรับอิทธิพลเกี่ยวเนื่องเช่นการสร้าง “ห้องทริคลิเนียม” (Triclinium) ในคฤหาสน์โรมันเป็นห้องกินข้าวอย่างเป็นทางการ และจากผู้ที่มีอำนาจมาก่อนหน้านั้น--วัฒนธรรมอีทรัสคัน--โรมันก็นำความรู้ต่างทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์ใช้เช่นการใช้ระบบไฮดรอลิคและการก่อสร้างซุ้มโค้ง ปัจจัยทางสังคมเช่นความมั่งคั่งและจำนวนประชากรที่หนาแน่นในมหานครทำให้โรมันต้องพยายามหาหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอันเป็นผลที่ตามมา การใช้ ยอดโค้ง (Vault) และ ซุ้มโค้ง ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการก่อสร้างเป็นต้นที่สามารถทำให้โรมันประสบกับความสำเร็จเช่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตน่าประทับใจสำหรับสาธารณชน ตัวอย่างเช่นสะพานส่งน้ำโรมัน, โรงอาบน้ำไดโอคลีเชียน และ โรงอาบน้ำคาราคัลลา, บาซิลิกา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโคลอสเซียมในกรุงโรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบจำลองในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่มีขนาดย่อมกว่าตามมหานครและนครต่างๆ ไปทั่วทั้งจักรวรรดิ สิ่งก่อสร้างบางชิ้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในรูปแบบที่เกือบสมบูรณ์เช่นกำแพงเมืองลูโกในฮิสปาเนียทาร์ราโคเนนซิสทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมแล้วก็ยังเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อถึงความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตึกแพนธีอันโดยเฉพาะในการสร้างใหม่ตามแบบของจักรพรรดิเฮเดรียนที่ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างดงามเช่นเมื่อสร้างใหม่ นอกจากแพนธีอัน จักรพรรดิเฮเดรียนก็ยังทรงทิ้งร่องรอยทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของบริเตนในรูปของกำแพงเฮเดรียนที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิ และเมื่อพิชิตสกอตแลนด์เหนือขึ้นไปจากกำแพงเฮเดรียนได้ ก็ได้มีการสร้างกำแพงอันโตนินขึ้น.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและสถาปัตยกรรมโรมัน

ซาดาร์

ซาดาร์ (Zadar; Zara; Iader) เป็นเมืองใหญ่อันดับที่ห้าของประเทศโครเอเชีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลเอเดรียติกในภูมิภาคดัลเมเทีย มีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,800 ปี ในอดีตเป็นเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของทะเลเอเดรียติกและเป็นที่ช่วงชิงของหลายอาณาจักรเพื่อครองความได้เปรียบของการค้าทางทะเลในบริเวณนี้ ในช่วงสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซาดาร์ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่นแห่งหนึ่งของฝั่งทะเลเอเดรียติก และแม้ปัจจุบันนี้หลังโครเอเชียได้แยกตัวออกมาเป็นประเทศเอกราชจากยูโกสลาเวียเมื่อต้นทศวรรษที่ 90 ซาดาร์ก็ยังคงเป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยความที่อยู่ใต้การปกครองของสาธารณรัฐเวนิสมาช้านาน ซาดาร์จึงได้เป็นแหล่งกำเนิดของ Maraschino ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการบ่มเชอร์รี่สายพันธุ์ marasca.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและซาดาร์

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและประเทศอิตาลี

แคว้นตอสคานา

ตอสคานา (Toscana) หรือ ทัสกานี (Tuscany) เป็นแคว้นหนึ่งของประเทศอิตาลี มีเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) เป็นเมืองหลัก มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,990 ตารางกิโลเมตร และมีผู้คนอาศัยอยู่ 3.6 ล้านคน แคว้นตอสคานามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม (เนื่องจากเป็นที่กำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม (เนื่องจากมีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนังจำนวนมาก) ของประเทศอิตาลี แคว้นแห่งนี้เองที่เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซาอันโด่งดัง นอกจากนี้ แคว้นตอสคานายังขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์งดงามมาก และมีไวน์รสชาติดีเยี่ยม ภาษาอิตาลีที่พูดกันในแคว้นตอสคานาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการพูดแบบชาวอิตาลีโดยแท้จริงและยอมรับให้เป็นสำเนียงราชการ สำหรับชื่อแคว้น ชาวอิตาลีเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ตอสคานา" แต่ภาษาอังกฤษเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ทัสกานี" ในภาษาอื่น ๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก เช่น ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Toscane ในภาษาละตินเรียกว่า Toscia เป็นต้น.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและแคว้นตอสคานา

เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)

มอร์คิวรีสลักโดยประติมากรเฟล็มมิชอาร์ทัส เควลลินัส (Artus Quellinus) ที่บอกได้ว่าเป็นเมอร์คิวรีจากหมวก กระเป๋าหูรูด คทางูเดี่ยว รองเท้าปีก ไก่ และแพะ เทพเมอร์คิวรี (Mercury, Mercurius) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพเฮอร์มีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพเมอร์คิวรีเป็นเทพผู้สื่อสาร และเทพแห่งการค้าขายและผลกำไร เมอร์คิวรีเป็นลูกของเทพีมาเอีย (Maia) หรือที่รู้จักกันว่าอ็อฟสและเทพจูปิเตอร์ ชื่อ “เมอร์คิวรี” เกี่ยวกับคำภาษาละตินว่า “merx” ที่เป็นรากของคำว่า “merchandise” (สินค้า) หรือ “merchant” (พ่อค้า) หรือ “commerce” (การค้า) ที่มาของเมอร์คิวรีดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเทพเทิร์มส (Turms) ของอีทรัสคันที่มาจากเทพเฮอร์มีสของกรีก.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)

เฮอร์มีส

อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและเฮอร์มีส

เฮอร์คิวลีส

อร์คิวลีสและสิงห์โตเนเมียน (รายละเอียด), บนถาดเงินจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 เฮอร์คิวลีสและหลานชายหนุ่ม (eromenos) ไอโอลอส (Iolaus) งานโมเสกร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษจากอันซิโอ นิมฟเฟอุม, โรม บรอนซ์โรมันพบใกล้โรงละครปอมเปย์ในปี ค.ศ.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและเฮอร์คิวลีส

เนเปิลส์

นเปิลส์ (Naples), นาโปลี (Napoli) หรือ นาปูเล (เนเปิลส์: Napule) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนียและจังหวัดเนเปิลส์ในอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และศาสตร์การทำอาหาร เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลีมาตลอด 2,800 ปีนับแต่ก่อตั้งเมืองขึ้นมา ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอิตาลีติดกับอ่าวเนเปิลส์ กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ภูเขาไฟสองแห่ง คือ ภูเขาไฟวิสุเวียสและกัมปีเฟลเกรย์ เนเปิลส์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 800-900 ปีก่อนคริสตกาล ในฐานะอาณานิคมกรีก จึงจัดว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แรกเริ่มนั้นมีชื่อว่า Παρθενόπη Parthenope ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Νεάπολις Neápolis (เมืองใหม่) จัดเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในพื้นที่ Magna Graecia โดยมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมกรีกไปสู่สังคมโรมัน ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางหลักทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐโรมัน โดยเวอร์จิล กวีภาษาละตินที่มีชื่อเสียง ก็ได้เคยศึกษาวิชาที่เนเปิลส์และต่อมาก็ได้อาศัยอยู่ที่บริเวณชานเมือง ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ เนเปิลส์ได้รับสืบทอดอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากอารยธรรมต่าง ๆ มากมาย รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดที่สุดที่ยังคงพบได้ในปัจจุบันถือกำเนิดมาจากยุคกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยบาโรก ใจกลางเนเปิลส์เป็นศูนย์กลางเมืองทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (1,700 เฮกตาร์ หรือ 17 ตารางกิโลเมตร) และได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมือง เนเปิลส์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของ Duchy และอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของ Crown of Aragon และยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะในสมัยของลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ และตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึง 19) อิทธิพลของเมืองได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนในยุโรปไปจนถึงนอกทวีป และรอบเมืองก็เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ (เช่น พระราชวังกาแซร์ตา ปอมเปอี และเฮอร์คิวเลเนียม) ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อเนเปิลส์ในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และสถาปัตยกรรม เนเปิลส์เคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรเนเปิลส์ตั้งแต่ พ.ศ.

ดู อารยธรรมอีทรัสคันและเนเปิลส์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Etruscan LeagueEtruscan architectureEtruscan civilisationEtruscan civilizationEtruscan cultureEtruscansสถาปัตยกรรมอีทรัสคันอีทรัสคันชาวอีทรัสคันชนอีทรัสคัน