โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาการใคร่ไม่รู้อิ่ม

ดัชนี อาการใคร่ไม่รู้อิ่ม

อาการใคร่ไม่รู้อิ่ม (hypersexuality) คือ การมีแรงขับทางเพศหรือกิจกรรมทางเพศเพิ่มขึ้นบ่อยหรือเฉียบพลันสุดโต่ง แม้อาการใคร่ไม่รู้อิ่มเกิดได้จากภาวะทางการแพทย์หรือยารักษาโรคบางอย่าง แต่สำหรับผู้ป่วยส่วนมากไม่ทราบสาเหตุ ปัญหาสุขภาพจิตอย่างความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการใคร่ไม่รู้อิ่มได้ และแอลกอฮอล์และยาบางชนิดยังสามารถมีผลต่อการยับยั้งทางสังคมและเพศในบางคน มีการใช้แบบจำลองทฤษฎีจำนวนหนึ่งเพื่ออธิบายหรือรักษาอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม แบบจำลองที่ใช้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสื่อซึ่งเป็นที่นิยม คือ การเข้าสู่การติดทางเพศ แต่นักเพศวิทยายังไม่บรรลุการเห็นพ้องต้องกัน คำอธิบายทางเลือกสำหรับภาวะดังกล่าวมีแบบจำลองพฤติกรรมตามแรงกดดัน (compulsive) และหุนหัน (impulsive) บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (ICD-10) ขององค์การอนามัยโลก รวม "ความต้องการทางเพศมากผิดปกติ" (รหัส F52.7) ซึ่งแบ่งเป็นอาการใคร่ไม่รู้อิ่มของชาย (satyriasis) และอาการใคร่ไม่รู้อิ่มของหญิง (nymphomania) และ "การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองมากเกินไป" (รหัส F98.8) กำลังมีการพิจารณาเพื่อรวมข้อเสนอให้รวมการวินิจฉัยที่เรียก ความผิดปกติอาการใคร่ไม่รู้อิ่ม โดยอธิบายอาการง่าย ๆ โดยไม่ส่อความทฤษฎีใดโดยเฉพาะ ในภาคผนวกของ DSM แต่ไม่อยู่ในรายการหลักของการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ สมาคมจิตเวชอเมริกา (APA) ปฏิเสธข้อเสนอเพิ่มการติดทางเพศเข้ารายการความผิดปกติทางจิตเวช คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ผู้ประพันธ์บางคนตั้งคำถามว่า การอภิปรายอาการใคร่ไม่รู้อิ่มสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยแย้งว่าการตีตราแรงขับทางเพศ "สุดโต่ง" เป็นเพียงการประทับมลทินแก่บุคคลซึ่งไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของวัฒนธรรมหรือกลุ่มระดับเดียวกัน.

3 ความสัมพันธ์: ดอนฆวนโรคฮันติงตันICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม

ดอนฆวน

มทซาร์ท ภาพวาดโดยมัคส์ สเลโฟคท์ ดอนฆวน (Don Juan) หรือ ดอนโจวันนี (Don Giovanni) เป็นตำนานหรือเรื่องแต่งไร้ศีลธรรมที่ได้รับการบอกเล่าโดยผู้ประพันธ์หลายราย เอลบูร์ลาดอร์เดเซบิยาอีกอนบิดาโดเดปิเอดรา (เดอะทริกสเตอร์ออฟเซวิลล์แอนด์เดอะสโตนเกสต์) โดยตีร์โซ เด โมลินา เป็นละครเวทีที่มีฉากอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้รับการเผยแพร่ในประเทศสเปนช่วง..

ใหม่!!: อาการใคร่ไม่รู้อิ่มและดอนฆวน · ดูเพิ่มเติม »

โรคฮันติงตัน

รคฮันติงตัน (Huntington's disease / chorea / disorder) เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาท ส่งผลต่อการควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย และนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ส่วนใหญ่ปรากฏอาการในช่วงวัยกลางคน เป็นโรคที่เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดของภาวะการเคลื่อนไหวผิดปกติที่เรียกว่าโคเรีย และพบในคนเชื้อชาติยุโรปตะวันตกมากกว่าเอเชียหรือแอฟริกา เกิดจากการกลายพันธุ์ในยีนฮันติงตินยีนหนึ่งในสองยีนในร่างกาย ซึ่งมีการถ่ายทอดลักษณะแบบลักษณะเด่น ดังนั้นทายาทของผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสได้รับถ่ายทอดโรคนี้มา 50% ในบางกรณีที่ทั้งบิดาและมารดามียีนที่เป็นโรคคนละหนึ่งในสองยีน ทายาทจะมีโอกาสเป็นโรค 75% และหากมีบิดาหรือมารดามียีนที่เป็นโรคสองยีน ทายาทก็จะมีโอกาสติดโรค 100% อาการทางกายของโรคฮันติงตันอาจเริ่มปรากฏได้ตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยชรา แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏในช่วงอายุ 35-44 ปี ผู้ป่วยประมาณ 6% เริ่มมีอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 21 ปี โดยมีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อเกร็งและเริ่มต้นเคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาการจะทรุดลงรวดเร็วเกือบทุกคน โรคฮันติงตันที่แสดงอาการเช่นนี้เรียกว่าโรคฮันติงตันวัยเด็ก (juvenile) หรือกล้ามเนื้อเกร็งเคลื่อนไหวลำบาก (akinetic-rigid) หรือชนิดเวสท์ฟาล (Westphal varient) ยีนฮันติงตินเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมสำหรับสร้างโปรตีนชื่อว่าฮันติงติน การกลายพันธุ์ของยีนฮันฮิงตินนี้ทำให้มีการสร้างโปรตีนซึ่งผิดปกติออกมา ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมลงอย่างช้าๆ ในบางบริเวณของสมอง กลไกของการเสื่อมที่เกิดจากการสร้างโปรตีนนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันมีการตรวจทางพันธุกรรมที่สามารถพบการกลายพันธุ์ของยีนนี้ได้ในทุกระยะของการเจริญ รวมถึงก่อนเริ่มมีอาการด้วย ทำให้เป็นประเด็นถกเถียงทางจริยธรรมว่าผู้สงสัยเป็นโรคนั้นควรได้รับการตรวจหายีนก่อโรคเมื่ออายุเท่าไรจึงจะเหมาะสม สิทธิของบิดามารดาในการตรวจหาโรคในบุตร และการรักษาความลับของผลตรวจนั้นๆ มีการพัฒนาการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมเพื่อที่จะให้ข้อมูลและช่วยเหลือผู้ที่ต้องการตรวจหาโรคนี้ และกลายเป็นต้นแบบในการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมสำหรับโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ที่มีลักษณะการถ่ายทอดแบบลักษณะเด่นเช่นเดียวกัน อาการของโรคในผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้มาก บางครั้งผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกันก็อาจมีอาการแตกต่างกันอย่างมากได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ อาการแรกเริ่มโดยทั่วไปจะเป็นอาการของกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและเดินไม่มั่นคง เมื่อโรคดำเนินไปอาการกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและการเคลื่อนไหวผิดปกติจะเด่นชัดขึ้น พร้อมๆ กับที่มีกรสูญเสียความสามารถทางจิตใจ สติปัญญา และพฤติกรรม รวมทั้งอาจมีอาการทางจิตเวชได้ด้วย ความสามารถทางกายจะค่อยๆ เสื่อมลงจนในที่สุดการเคลื่อนไหวง่ายๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องยาก ความสามารถทางจิตใจอาจเสื่อมลงจนเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม โรคหัวใจ อุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม จนทำให้อายุขัยสั้นลงอยู่ที่ประมาณ 20 ปีหลังเริ่มมีอาการ ปัจจุบันโรคฮันติงตันยังไม่มีวิธีรักษา ผู้ป่วยระยะท้ายของโรคจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา แต่ระยะหลังเริ่มมีการรักษาใหม่ๆ ที่บรรเทาอาการบางอย่างของโรคได้ มีการก่อตั้งองค์กรช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคฮันติงตันเป็นครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จำนวนมากดำเนินการในด้านการให้ข้อมูลและสร้างความตื่นตัวให้กับสังคม ให้ความช่วยเหลือกับผู้ป่วยและครอบครัว และสนับสนุนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม (The Hereditary Disease Foundation) เป็นกลุ่มศึกษาวิจัยกลุ่มหนึ่งที่แตกยอดออกมาจากองค์กรให้ความช่วยเหลือที่ก่อตั้งขึ้นเป็นองค์กรแรกๆ ได้มีบทบาทในการค้นหายีนก่อโรคใน..

ใหม่!!: อาการใคร่ไม่รู้อิ่มและโรคฮันติงตัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: อาการใคร่ไม่รู้อิ่มและICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HypersexualityNymphomaniaSatyriasisการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองมากเกินไปความต้องการทางเพศมากผิดปกติ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »