โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัลปากา

ดัชนี อัลปากา

อัลปากา (Alpaca; ชื่อวิทยาศาสตร์: Vicugna pacos) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในวงศ์อูฐ (Camelidae) มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวยามา อัลปากาเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ในที่สูงบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของประเทศเปรู ตอนเหนือของประเทศโบลิเวีย ประเทศเอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลี อัลปากาเป็นสัตว์ที่มีความทรหดอดทนมาก โดยจะอยู่บริเวณที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 3,500 เมตร (11,000 ฟุต) ถึง 5,000 เมตร (16,000 ฟุต).

12 ความสัมพันธ์: บีกูญาบีกูญา (สกุล)การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงยามา (สัตว์)รายการสัตว์สัตว์เคี้ยวเอื้องอาการกระสันสัตว์อูฐตราแผ่นดินของโบลิเวียประเทศเปรูปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้าแคว้นปูโน

บีกูญา

ีกูญา (vicuña) เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าตระกูลอูฐ (camelid) สองชนิดซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงมากบนเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ (อีกชนิดหนึ่งคือกวานาโก) บีกูญาเป็นญาติกับยามา และทุกวันนี้เชื่อกันว่าบีกูญาเป็นบรรพบุรุษป่าของอัลปากาซึ่งมนุษย์นำมาเลี้ยงเพื่อเอาขน บีกูญาให้ขนที่มีเส้นใยละเอียดมากแต่ก็มีราคาแพง เพราะเราสามารถตัดขนของมันได้ทุก ๆ สามปีเท่านั้น และต้องจับมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยธรรมชาติ เมื่อถักเข้าด้วยกัน ผลผลิตที่ได้จากขนบีกูญาจะมีความนุ่มและอุ่นมาก ชาวอินคาให้คุณค่ากับบีกูญาเป็นอย่างสูงเนื่องจากขนคุณภาพดีของพวกมัน การสวมใส่เครื่องนุ่งห่มจากขนบีกูญาถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายหากผู้สวมใส่มิใช่ราชนิกุล บีกูญาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายทั้งในสมัยจักรวรรดิอินคาและในสมัยปัจจุบัน แต่พวกมันก็ถูกล่าอย่างหนักในช่วงเวลาระหว่างสมัยทั้งสอง โดยก่อนที่จะได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในปี..

ใหม่!!: อัลปากาและบีกูญา · ดูเพิ่มเติม »

บีกูญา (สกุล)

ีกูญา เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์อูฐ (Camelidae) มีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ ในอดีตเชื่อว่าอัลปากาสืบสายพันธุ์มาจากยามา จึงจัดสัตว์ชนิดนี้อยู่ในสกุลยามา (Lama) แต่ต่อมาได้รับการจัดกลุ่มใหม่ให้อยู่ในสกุลบีกูญา เนื่องจากมีรายงานการศึกษาดีเอ็นเอของอัลปากาในปี..

ใหม่!!: อัลปากาและบีกูญา (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: อัลปากาและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

ยามา (สัตว์)

ำหรับนักบวชในศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต ดูที่ ลามะ ยามา หรือ ลามา (llama,; llama, เสียงอ่าน:; llama) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในตระกูลอูฐ (camelid) ของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นรู้จักกันอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมของชาวแอนดีสตั้งแต่สมัยก่อนการเข้ามาของชาวสเปน.

ใหม่!!: อัลปากาและยามา (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: อัลปากาและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla ซึ่งย่อยอาหารที่ประกอบด้วยพืชเป็นหลัก โดยเริ่มจากการย่อยให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรกของสัตว์นั้น ซึ่งเป็นการกระทำของแบคทีเรียเป็นหลัก แล้วจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) ค่อยเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหารนี้ เรียกว่า "การเคี้ยวเอื้อง" (ruminating) มีสัตว์เคี้ยวเอื้องอยู่ราว 150 สปีชีส์ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคี้ยวเอื้องมีทั้งปศุสัตว์ แพะ แกะ ยีราฟ ไบซัน กวางมูส กวางเอลก์ ยัค กระบือ กวาง อูฐ อัลปากา ยามา แอนทิโลป พรองฮอร์น และนิลกาย ในทางอนุกรมวิธาน อันดับย่อย Ruminanti มีสัตว์ทุกสปีชีส์ที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นอูฐ ลามาและอัลปากา ซึ่งอยู่ในอันดับย่อย Tylopoda ดังนั้น คำว่า "สัตว์เคี้ยวเอื้อง" จึงมิได้มีความหมายเหมือนกับ Ruminantia คำว่า "ruminant" มาจากภาษาละตินว่า ruminare หมายถึง "ไตร่ตรองถี่ถ้วนอีกครั้ง" (to chew over again).

ใหม่!!: อัลปากาและสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

อาการกระสันสัตว์

อุตะงะวะ คุนิซะดะ (Utagawa Kunisada) เมื่อ ค.ศ. 1837 ชื่อภาพว่า "วีรบุรุษโฮ่งทั้งแปดแห่งตระกูลซะโตะมิ" (Eight Canine Heroes of the House of Satomi) อาการกระสันสัตว์ (zoophillia) เป็นกามวิปริตที่ประกอบด้วยกิจกรรมทางเพศระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และสามารถหมายถึง ความนิยมชมชอบกิจกรรมดังกล่าว ประเทศส่วนใหญ่ในโลกจัดว่า อาการกระสันสัตว์นั้นผิดกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สัตว์โดยมิชอบ (animal abuse) หรือกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อธรรมชาติ (crime against nature) แต่แม้อาการกระสันสัตว์จะไม่ผิดกฎหมายในบางท้องที่ ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นที่ยอมรับโดยแจ้งชัดในภูมิภาคใ.

ใหม่!!: อัลปากาและอาการกระสันสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

อูฐ

อูฐ (Camel; جمليات, ญะมัล) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในสกุล Camelus จัดอยู่ในวงศ์ Camelidae เป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง สามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ต้องกินอาหารหรือน้ำเลย 2 สัปดาห์ เพราะมีไขมันสะสมไว้ในหนอกและร่างกายเก็บรักษาน้ำได้เป็นอย่างดี จึงสามารถอยู่ในที่ทุรกันดารเช่นทะเลทรายได้เป็นอย่างดี กินอาหารประเภทใบไม้ในทะเลทราย ตัวโตเต็มที่มีความสูงถึงบ่าประมาณ 1.85 เมตร และหนอกสูงอีก 75 เซนติเมตร ความสามารถ วิ่งได้เร็ว 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเดินด้วยความเร็วคงที่ประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบกน้ำหนักได้ 150-200 กิโลกรัม อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้จาก 34 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืนมาเป็น 41 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน ปัจจุบันสัตว์ในตระกูลอูฐได้ถูกนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจในบางประเทศ แต่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เป็นอาหาร ตัดขน รีดนม และใช้เนื้อเพื่อบร.

ใหม่!!: อัลปากาและอูฐ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของโบลิเวีย

ตราแผ่นดินของโบลิเวีย เริ่มใช้เมื่อ..

ใหม่!!: อัลปากาและตราแผ่นดินของโบลิเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเปรู

ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364 ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี..

ใหม่!!: อัลปากาและประเทศเปรู · ดูเพิ่มเติม »

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า

ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า - ชะตากรรมของสังคมมนุษย์ (Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies) เป็นหนังสือสารคดีหลายสาขาวิชาของ.ดร.

ใหม่!!: อัลปากาและปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปูโน

แคว้นปูโน (Puno) เป็นแคว้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเปรู ติดกับชายแดนประเทศโบลิเวียทางทิศตะวันออก ติดกับแคว้นมาเดรเดดีโอสทางทิศเหนือ ติดกับแคว้นกุสโกและแคว้นอาเรกีปาทางทิศตะวันตก ติดกับแคว้นโมเกกวาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และติดกับแคว้นตักนาทางทิศใต้ เมืองหลวงของแคว้นคือเมืองปูโน ซึ่งตั้งติดกับทะเลสาบตีตีกากา ปูโน.

ใหม่!!: อัลปากาและแคว้นปูโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AlpacaLama pacosVicugna pacosอัลปาก้าอัลปาคาอาลปาก้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »