สารบัญ
2 ความสัมพันธ์: ทฤษฎีแนววิพากษ์22 มกราคม
ทฤษฎีแนววิพากษ์
ทฤษฎีแนววิพากษ์ (critical theory) เป็นสำนักคิดที่เน้นย้ำการประเมินสะท้อนและการวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมโดยการประยุกต์ความรู้จากสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คำว่า "ทฤษฎีแนววิพากษ์" มีสองความหมาย ที่มีจุดกำเนิดและประวัติศาสตร์ต่างกัน คำแรกกำเนิดในวิชาสังคมวิทยา และอีกคำหนึ่งกำเนิดในวิชาวรรณคดีวิจารณ์ โดยที่มีการใช้และประยุกต์เป็นคำรวม ๆ ที่สามารถอธิบายทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนการวิพากษ์ ฉะนั้น นักทฤษฎี มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ (Max Horkheimer) อธิบายว่าทฤษฎีหนึ่งเป็นแนววิพากษ์ตราบเท่าที่ทฤษฎีนั้นมุ่ง "ปลดปล่อยมนุษย์จากพฤติการณ์ท่ี่ทำให้เป็นทาส" ในวิชาสังคมวิทยาและปรัชญาการเมือง คำว่า "ทฤษฎีแนววิพากษ์" อธิบายปรัชญาลัทธิมากซ์ใหม่ของสำนักแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งมีการพัฒนาในประเทศเยอรมนีในคริสต์ทศวรรษ 1930 การใช้คำนี้ในภาษาอังกฤษจะต้องใช้ตัวใหญ่เป็นวิสามานายาม (Critical Theory) ส่วนทฤษฎีแนววิพากษ์ (a critical theory) อาจมีส่วนประกอบของความคิดคล้ายกัน แต่ไม่เน้นการสืบทางปัญญาโดยเฉพาะจากสำนักแฟรงก์เฟิร์ต นักทฤษฎีสำนักแฟรงก์เฟิร์ตนำวิธีการวิพากษ์จากคาร์ล มากซ์ และซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทฤษฎีแนววิพากษ์ยืนยันว่าอุดมการณ์เป็นอุปสรรคหลักของการปลดปล่อยมนุษย์ นักทฤษฎีสำนักแฟรงก์เฟิร์ต เฮอร์เบิร์ต มาร์คูเซอ (Herbert Marcuse), ทีโอดอร์ อะดอร์โน (Theodor Adorno), วัลเทอร์ เบนจามิน (Walter Benjamin), และอีริช ฟรอมม์ (Erich Fromm) เป็นบุคคลหลักในการตั้งทฤษฎีแนววิพากษ์เป็นสำนักคิด ทฤษฎีแนววิพากษ์สมัยใหม่ได้รับอิทธิพลเพิ่มเติมจากจอร์จี ลูกัช (György Lukács) และอันโตนีโอ กรัมชี ตลอดจนนักวิชาการสำนักแฟรงก์เฟิร์ตรุ่นที่สอง คนสำคัญคือ เยือร์เกิน ฮาเบอร์มัส (Jürgen Habermas) ในงานของฮาเบอร์มัส ทฤษฎีแนววิพากษ์ดีกว่าเหง้าทฤษฎีของมันในจิตนิยมเยอรมันและก้าวหน้าใกล้เคียงกับปฏิบัตินิยมอเมริกัน ความกังวลสำหรับ "ฐานและโครงสร้างส่วนบน (superstructure)" ทางสังคมเป็นมโนทัศน์ปรัชญาลัทธิมากซ์ที่ยังเหลืออยู่อันหนึ่งในทฤษฎีแนววิพากษ์ร่วมสมัยจำนวนมาก แม้นักทฤษฎีแนววิพากษ์มักนิยามบ่อยครั้งเป็นปัญญาชนลัทธิมากซ์ แต่แนวโน้มของพวกเขาในการประณามมโนทัศน์บางอย่างของลัทธิมากซ์ และการผสมการวิเคราะห์แบบมากซ์กับขนบธรรมเนียมทางสังคมวิทยาและปรัชญาอย่างอื่นทำให้นักลัทธิมากซ์คลาสสิก ทรรศนะดั้งเดิมและวิเคราะห์ ตลอดจนนักปรัชญาลัทธิมากซ์–เลนินกล่าวหาว่าเป็นลัทธิแก้ มาร์ติน เจย์แถลงว่า ทฤษฎีแนววิพากษ์รุ่นแรกเข้าใจกันดีว่าไม่เป็นการสนับสนุนวาระปรัชญาหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็น "เหลือบของระบบอื่น"Jay, Martin (1996) The Dialectical Imagination: A History of the Frankfurt School and the Institute of Social Research, 1923–1950.
ดู อันโตนีโอ กรัมชีและทฤษฎีแนววิพากษ์
22 มกราคม
วันที่ 22 มกราคม เป็นวันที่ 22 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 343 วันในปีนั้น (344 วันในปีอธิกสุรทิน).
ดู อันโตนีโอ กรัมชีและ22 มกราคม
หรือที่รู้จักกันในชื่อ อันโตนิโอ กรัมชี่