สารบัญ
19 ความสัมพันธ์: พระคัมภีร์คนยากกวัตโตรเชนโตการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)การนมัสการของโหราจารย์การเสด็จสู่แดนผู้ตายภาพเหมือนผู้อุทิศภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากาภาพเหมือนตนเองรายชื่อจิตรกรวังดยุกแห่งมานตัวห้องเจ้าสาว (มานเทนยา)อันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมแผงฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารีนักบุญเจอโรมแม่พระแห่งเหล่าเครูบโกซีโม ตูราโจวันนี เบลลีนี
พระคัมภีร์คนยาก
หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและพระคัมภีร์คนยาก
กวัตโตรเชนโต
กวัตโตรเชนโต (Quattrocento แปลว่า "400" หรือจากคำว่า "millequattrocento" ที่แปลว่า "1400") เป็นสมัยศิลปะของปลายยุคกลางโดยเฉพาะในสมัยกอทิกนานาชาติและต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิท.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและกวัตโตรเชนโต
การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)
นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)
การนมัสการของโหราจารย์
“การนมัสการของโหราจารย์” โดย เดียริค เบาท์ คริสต์ศตวรรษที่ 15 “การนมัสการของโหราจารย์” โดย เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน ค.ศ.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและการนมัสการของโหราจารย์
การเสด็จสู่แดนผู้ตาย
การเสด็จสู่แดนผู้ตาย (Descensus Christi ad Inferos, Harrowing of Hell) เป็นหลักความเชื่อหนึ่งในเทววิทยาคริสเตียนตามหลักข้อเชื่อของอัครทูตและหลักข้อเชื่ออะทาเนเซียนที่กล่าวว่า “พระเยซูเสด็จสู่แดนผู้ตาย” ซึ่งเป็นนรกภูมิแบบหนึ่งตามความเชื่อของชาวยิว แต่เพราะความที่ขาดการอ้างอิงที่ชัดแจ้งในบทบันทึกทางศาสนาทำให้ความเชื่อนี้ยังยังคงเป็นที่ถกเถียงและตีความแตกต่างกันอยู.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและการเสด็จสู่แดนผู้ตาย
ภาพเหมือนผู้อุทิศ
“การชื่นชมของพระบุตร” ฌอง เฮย์ ผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางขวาและเป็นส่วนหนึ่งของของภาพ ภาพเหมือนผู้อุทิศ หรือ ภาพรวมผู้อุทิศ (donor portrait หรือ votive portrait) คือภาพเหมือนในจิตรกรรมหรืองานศิลปะแบบอื่นเช่นประติมากรรมที่แสดงภาพของเจ้าของภาพหรือผู้จ้างให้สร้างงานศิลปะชิ้นนั้นที่อาจจะรวมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้องของผู้จ้าง หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวกับผู้จ้างด้วย “ภาพรวมผู้อุทิศ” (votive portrait) มักจะภาพทั้งภาพที่รวมทั้งภาพหลักและผู้อุทิศที่อยู่ในภาพ แต่ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” (donor portrait) มักจะหมายถึงภาพเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผู้อุทิศเท่านั้น “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” เป็นที่นิยมกันในการสร้างศิลปะคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในงานจิตรกรรมจากยุคกลาง และยุคเรอเนสซองซ์ที่มักจะแสดงผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางด้านหน้าสองข้างของภาพ และบ่อยครั้งที่แม้แต่ในตอนปลายของยุคเรอเนสซองซ์ที่ผู้อุทิศโดยเฉพาะเมื่อแสดงทั้งครอบครัวจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเอกในภาพมากที่ขัดกับทฤษฎีการวาดทัศนมิติ เมื่อมาถึงยุคเรอเนสซองซ์ผู้อุทิศก็เริ่มมีความสำคัญขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญของภาพที่อาจจะเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ไปเลยก็ได้.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและภาพเหมือนผู้อุทิศ
ภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา
หมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา (ภาษาอังกฤษ: Portrait of Elisabetta Gonzaga) เป็นภาพเหมือนที่เขียนโดยราฟาเอลจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ราฟาเอลเขียน “ภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา” ราวปี ค.ศ.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา
ภาพเหมือนตนเอง
หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..
ดู อันเดรอา มันเตญญาและภาพเหมือนตนเอง
รายชื่อจิตรกร
รายชื่อจิตรกร.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและรายชื่อจิตรกร
วังดยุกแห่งมานตัว
วังดยุกแห่งมานตัว (Ducal palace, Palazzo Ducale di Mantova) เป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นวังที่พำนักของดยุกแห่งมานตัวตั้งอยู่ที่มานตัวในประเทศอิตาลี วังดยุกสร้างราวระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ส่วนใหญ่สำหรับตระกูลกอนซากาเพื่อใช้เป็นที่พำนักในเมืองหลวงของอาณาจักรดยุก สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในกลุ่มเชื่อมต่อกันโดยซุ้มระเบียง ลานภายใน และสวน และมีห้องทั้งหมดด้วยกัน 500 ห้องในเนื้อที่ทั้งหมดราว 34,000 ตารางเมตร สิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดของวังคืองานจิตรกรรมฝาผนังตกแต่งห้องเจ้าสาว (ห้องสมรส) ที่เขียนโดยอันเดรีย มานเทน.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและวังดยุกแห่งมานตัว
ห้องเจ้าสาว (มานเทนยา)
ห้องภาพสโปซิ หรือ ห้องเจ้าสาว (Camera picta หรือ Camera degli Sposi หรือ bridal chamber) เป็นห้องที่มีจิตรกรรมฝาผนังภายในวังดยุคแห่งมานตัว.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและห้องเจ้าสาว (มานเทนยา)
อันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจ
อันโตนิโอ อัลเลอกริ ดา คอร์เรจจิโอ “จูปิเตอร์และโล” (Jupiter and Io) ราว ค.ศ. 1531 เป็นภาพที่แสดงลักษณะการเขียนของคอร์เรจจิโออย่างเห็นได้ชัด ไม่มีการซ่อนความอ่อนหวานของ eroticism, สีสว่างและเย็น อันโตนิโอ อัลเลอกริ ดา คอร์เรจจิโอ หรือ อันโทนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ (Antonio Allegri da Correggio.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและอันโตนีโอ ดา กอร์เรจโจ
จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
จิตรกรรมแผง
"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและจิตรกรรมแผง
ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี
ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (Portinari-triptiek; Trittico Portinari; Portinari Altarpiece) เป็นบานพับภาพที่เขียนโดยฮือโค ฟัน เดอร์คุส จิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวดัตช์ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ฟัน เดอร์คุสเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี" ราวปี ค.ศ.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี
นักบุญเจอโรม
นักบุญเจอโรม หรือ นักบุญเยโรม (Jerome; Eusebius Sophronius Hieronymus; Ευσέβιος Σωφρόνιος Ιερώνυμος) เป็นบาทหลวงชาวโรมัน เกิดเมื่อประมาณปี..
ดู อันเดรอา มันเตญญาและนักบุญเจอโรม
แม่พระแห่งเหล่าเครูบ
แม่พระแห่งเหล่าเครูบ (The Madonna of the Cherubim) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอันเดรอา มันเตญญาจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ภาพ “แม่พระแห่งเหล่าเครูบ” ที่เขียนโดยอันเดรีย มานเทนยาราวปี ค.ศ.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและแม่พระแห่งเหล่าเครูบ
โกซีโม ตูรา
ม ทูรา (Cosimo Tura หรือ Il Cosmè หรือ Cosmè Tura) (ราว ค.ศ. 1430 - ค.ศ. 1495) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์ราราของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและโกซีโม ตูรา
โจวันนี เบลลีนี
“การนำพระเยซูเข้าวัด” (Presentation in the Temple) โดย จิโอวานนี เบลลินี (ราว ค.ศ. 1499-1500), พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย จิโอวานนี เบลลินี (Giovanni Bellini) (ค.ศ.
ดู อันเดรอา มันเตญญาและโจวันนี เบลลีนี
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Andrea MantegnaMantegna