โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับนกกระสา

ดัชนี อันดับนกกระสา

อันดับนกกระสา (Bittern, Ibis, Heron, Spoonbill, Stork) เป็นอันดับของนกจำพวกนกน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Ciconiiformes ประกอบด้วยนกน้ำตั้งแต่ขนาดเล็กถึงกลาง และขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ ขายาว ปากใหญ่ ได้แก่ นกกระสา, นกยาง, นกปากห่าง มีวิวัฒนาการเพื่อการดำรงชีวิตตามพื้นหาดทรายชายเลนและท้องทุ่งชายน้ำ พบกำเนิดในตอนปลายสมัยอีโอซีนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในประเทศไทยพบ 3 วงศ์ 36 ชนิด เดิมเคยมีวงศ์ในอันดับนี้มากกว่านี้ อาทิ นกปากซ่อม แต่ปัจจุบันแบ่งออกมาต่างหาก.

20 ความสัมพันธ์: รายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวงศ์นกกระสาวงศ์นกยางคองกามาโตนกช้อนหอยนกช้อนหอยขาวนกกระสาหัวดำนกกระสาคอขาวปากแดงนกกระสาคอดำนกกระสาปากพลั่วนกกระสาปากห่างนกกระสานวลนกกระสาแดงนกยางควายนกยางโทนใหญ่นกตะกรุมนกปากห่างแร้งคอนดอร์แอนดีสแร้งโลกใหม่เหยี่ยวออสเปร

รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย

นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกกระสา

นกกระสา เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ ขายาว คอยาว และปากยาวแข็ง อยู่ในอันดับนกกระสา (Ciconiiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ciconiidae พบทั้งหมดทั่วโลก 19 ชนิด ใน 6 สกุล.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและวงศ์นกกระสา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกยาง

นกยาง หรือ นกกระยาง (Heron, Bittern, Egret) เป็นนกวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกกระสา (Ciconiiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ardeidae มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นนกน้ำที่มีทั้งขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่มีคอและขายาว มักพบเดินท่องน้ำหากินหรือยืนนิ่งบนกอหญ้าหรือพืชน้ำ คอยใช้ปากแหลมยาวจับสัตว์น้ำเล็ก ๆ หรือแมลงบนพื้นเป็นอาหาร ขณะบินจะพับหัวและคอแนบลำตัว เหยียดขาไปข้างหลัง ทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนต้นไม้ ใช้กิ่งไม้สานกันอย่างหยาบ ๆ พบทั้งหมด 61 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 20 ชนิด หากินในเวลากลางวัน.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและวงศ์นกยาง · ดูเพิ่มเติม »

คองกามาโต

องกามาโต (Kongamato; แปลว่า "ตัวทำลายเรือ") เป็นสัตว์ประหลาดที่กล่าวกันว่ามีรูปร่างคล้ายไดโนเสาร์ชนิดที่บินได้ จำพวก เทอโรซอ หรือ เทอราโนดอน พบในหนองน้ำทวีปแอฟริกาตอนกลาง ในปี ค.ศ. 1923 แฟรงก์ เอ.เมลแลนด์ นักเดินทางได้บันทึกไว้ในหนังสือบันทึกการเดินทางตนชื่อ In Witchbound Africa ถึงสัตว์ประหลาดที่บินได้ที่พบในหนองน้ำว่า เป็นสัตว์ที่ดุร้าย น่ากลัว สามารถโจมตีเรือขนาดเล็กได้ มีลำตัวสีแดง ความยาวเมื่อกางปีกเต็มที่ราว 4-7 ฟุต จากภาพสเก็ตพบว่า มีลักษณะคล้ายเทอโรซอร์ แต่ลักษณะโดยละเอียดนั้นชาวพื้นเมืองที่เล่าให้เมลแลนด์ฟังไม่มั่นใจ เพราะแทบไม่มีใครที่เห็นสัตว์ตัวนี้ใกล้ๆแล้วรอดกลับมา ในปี ค.ศ. 1956 วิศวกรชื่อ.พี.เอฟ.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและคองกามาโต · ดูเพิ่มเติม »

นกช้อนหอย

นกช้อนหอย หรือ นกค้อนหอย หรือ นกกุลา (Ibis) เป็นนกจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Threskiornithinae ในวงศ์นกช้อนหอยและนกปากช้อน (Threskiornithidae) มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นนกที่มีจะงอยปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้นกินปลา, ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ เป็นอาหาร โดยมากแล้วจะทำรังอยู่บนต้นไม้ร่วมกับนกจำพวกอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น นกกระยาง หรือนกปากช้อน โดยคำว่า Ibis ที่ใช้เป็นชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ นั้นมาจากคำว่า ibis เป็นภาษาละติน จากภาษากรีกคำว่า ἶβις และ ibis จากภาษาอียิปต์ hb, hīb.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกช้อนหอย · ดูเพิ่มเติม »

นกช้อนหอยขาว

นกช้อนหอยขาว หรือ นกกุลาขาว (Black-headed ibis) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์นกช้อนหอยและนกปากช้อน (Threskiornithidae) นกช้อนหอยขาว กระจายพันธุ์อยู่แถบตอนใต้ของทวีปเอเชีย ตั้งแต่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, ตอนใต้และตะวันออกของจีน เรื่อยมาจนถึงเอเชียอาคเนย์ เช่น พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา และเกาะชวา นอกจากนี้แล้วยังมีจำนวนประชากรบางส่วนบินย้ายถิ่นไปไกลถึงเกาะไต้หวันและฟิลิปปินส์ โดยนกช้อนหอยขาวจัดว่ามีเพียงชนิดเดียว ไม่มีชนิดย่อย เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีปากสีดำเรียวยาว ปลายปากโค้งลงมาก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนกช้อนหอย หัวและคอช่วงบนเป็นหนังเกลี้ยง ๆ สีดำ ลำตัวและปีกมีขนสีขาวปกคลุมทั่ว นอกจากด้านใต้ปีกบริเวณใกล้กับขอบปีกมีเพียงหนังเปลือยเปล่าสีแดงซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อนกบิน ขายาวสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำในที่ราบ เช่น ริมแม่น้ำ, ทะเลสาบ, หนองบึง, ที่ลุ่มน้ำท่วมขัง รวมถึงทุ่งนา หรือทุ่งหญ้าที่น้ำท่วมขัง มักพบหากินเป็นฝูงใหญ่ มีพฤติกรรมเดินลุยน้ำหรือย่ำไปบนพื้นโคลนไปช้า ๆ พร้อมใช้ปากยาวโค้งแหย่ลงไปในน้ำ หรือชอนไชในโคลนเพื่อจับเหยื่อ เมื่อพบแล้วจะรีบใช้ปากงับและกลืนกิน และใช้วิธีจิกกินเหยื่อตามผิวน้ำด้วย อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ปลา, กบ, งู, ปู, กุ้ง, หอย และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ นอกจากนี้แล้วยังไล่งับแมลงตามกอหญ้าหรือชายน้ำด้วย ฤดูผสมพันธุ์ขอวนกช้อนหอยขาวเริ่มในราวเดือนมิถุนายน-กันยายน ช่วงนี้นกจะมีขนงอกสีเทาออกมาจากปีกคลุมบนหลังและตะโพก ทางหลังคอและอกก็มีขนงอกยาวออกมาด้วยเช่นกัน จะเลือกทำรังเป็นกลุ่มบนยอดไม้สูงของต้นไม้ใหญ่ใกล้แหล่งน้ำ บางครั้งอาจพบทำรังปะปนกับนกน้ำชนิดอื่น ๆ เช่น นกกระสา, นกกระยาง และนกกาน้ำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรัง โดยใช้กิ่งไม้มาวางซ้อนกันเป็นรังขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 45-50 เซนติเมตร แล้วรองพื้นด้วยกก, ใบไม้หรือหญ้า หลังจากนั้นจึงวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลากกไข่นาน 23-24 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยสีดำบนหัวและลำตัวสีขาว ใช้เวลาอยู่ในรังนาน 40 วัน จึงบินออกหากิน ขณะบิน นกช้อนหอยขาว เคยเป็นนกประจำถิ่นที่อาศัยหากินและแพร่ขยายพันธุ์บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างในประเทศไทย เช่น จังหวัดปทุมธานี, นครปฐม และสมุทรสาคร แต่ปัจจุบันเป็นนกที่ย้ายถิ่นเข้ามาหากินเป็นบางช่วงของฤดูกาลเท่านั้น เพราะไม่มีรายงานว่าทำรังขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า 50 ปีแล้ว คงมีจำนวนประชากรนกบางส่วนเท่านั้นที่บินอพยพมาจากอินเดียและพม่าเข้ามาอยู่อาศัยนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีรายงานพบทางภาคกลาง, ภาคอีสานตอนล่าง และภาคใต้ โดยจะพบได้ที่หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ ๆ นกจะอพยพบินเข้ามาประจำในช่วงฤดูหนาว เช่นเดียวกับ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง แม้นกช้อนหอยขาวจะบินอพยพเข้ามาในประเทศไทยทุกปีเป็นประจำ แต่จำนวนประชากรด็น้อยมากพบจัดได้ว่าเป็นนกหายากและใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกช้อนหอยขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาหัวดำ

นกกระสาหัวดำ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก พบมากในซับ-ซาฮารัน แอฟริกาและมาดากัสการ์ มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง แต่บางตัวในแอฟริกันตะวันตกเฉียงเหนือย้ายถิ่นที่อยู่ในฤดูฝน เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีความสูง 85 เซนติเมตร ปีกกว้าง 150 เซนติเมตร หมวดหมู่:วงศ์นกยาง.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกกระสาหัวดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาคอขาวปากแดง

นกกระสาคอขาวปากแดง (อังกฤษ:Storm's Stork; ชื่อวิทยาศาสตร์:Ciconia stormi) เป็นนกกระสาชนิดที่พบเฉพาะทางภาคใต้ของประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ พบที่อุทยานแห่งชาติเขาสก มีลักษณะคล้ายนกกระสาคอขาวแต่มีปากสีแดงสดบริเวณ หน้าสีส้มซีดๆ รอบตามีสีเหลืองทอง ขนปกคลุมที่คอ ช่วงบนสีขาว ถัดลงมาช่วงล่างสีดำ ปีกมีสีดำแกมเขียวซีดๆ พบในไทยและมาเลเซียแต่แยกกันเป็นคนละชนิดย่อ.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกกระสาคอขาวปากแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาคอดำ

นกกระสาคอดำ (Black-necked stork) เป็นนกกระสาที่ตัวสูง คอยาว ตัวผู้ตาสีน้ำตาลแดง ปากยาวสีดำ คอและหัวสีดำเหลือบม่วง ลำตัวขาว มีสีดำที่ไหล่ตอนล่างของปีก ขณะบินจึงเห็นเป็นแถบสีดำกลางปีก หางดำ ขาสีแดง ตัวเมียหัวดำแต่ตาสีเหลือง พบตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ หาดทรายและหาดโคลนริมทะเล ปัจจุบันในประเทศไทยพบน้อยมากจนอาจจะสูญพันธุ์แล้ว.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกกระสาคอดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาปากพลั่ว

นกกระสาปากพลั่ว (Shoebill, Whale-headed stork) เป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับนกกระสา (Ciconiiformes) ขณะที่บางข้อมูลจะถือว่าให้อยู่ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) แต่จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในวงศ์ Balaenicipitidae นกกระสาปากพลั่วจัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีส่วนสูงตั้งแต่ 115-150 เซนติเมตร โดยประมาณ หากกางปีกจะกว้าง 230-260 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 4-7 กิโลกรัม ขณะที่เป็นวัยรุ่นหรือตัวเต็มวัยจะมีสีเทา ส่วนนกขนาดเล็กจะมีสีออกน้ำตาลกว่า อาศัยอยู่บริเวณบึงใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก แถบประเทศซูดานและแซมเบีย นกกระสาปากพลั่ว มีจุดเด่น คือ จะงอยปากที่หนาและรูปทรงประหลาดไม่เหมือนนกชนิดอื่น เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงวิทยาศาสตร์ จากการมีการอนุกรมวิธาน ในช่วงศตวรรษที่ 19 จากการที่หนังของนกชนิดนี้ถูกนำมาขายในยุโรป อย่างไรก็ดี นกกระสาปากพลั่วเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วตั้งแต่สมัยโบราณในอารยธรรมอียิปต์โบราณที่มีการเขียนภาพถึง และอารยธรรมอาหรับที่เรียกขานว่า "abu markub" ที่มีความหมายว่า "ผู้มากับรองเท้า" ซึ่งก็มาจากจะงอยปากมีลักษณะเหมือนรองเท้านั้นเอง นกกระสาปากพลั่ว หาอาหารในบึงน้ำหรือบ่อโคลน อาหารได้แก่ ปลา, กบ กระทั่งลูกจระเข้ หรือลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไร้ทางสู้ ทำรังบนพื้นดิน ออกไข่ครั้งละ 2 ฟอง ปัจจุบัน เป็นนกที่ถูกจัดอยู่ในภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์จากบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จากความที่เป็นนกขนาดใหญ่ หายาก และหากินใกล้แหล่งน้ำ นกกระสาปากพลั่วคาดว่าเป็นนกที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น "คองกามาโต" คือ สัตว์ประหลาดที่คล้ายนกขนาดใหญ่ ที่โจมตีใส่มนุษย์ในบึงน้ำแถบแอฟริกากลางนั่นเอง.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกกระสาปากพลั่ว · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาปากห่าง

นกกระสาปากห่าง หรือ นกปากห่าง (Openbill stork) เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) จัดอยู่ในสกุล Anastomus (/อะ-นาส-โต-มัส/) มีลักษณะทั่วไป คือ มีจะงอยปากหนาและแหลมตรง เมื่อจะงอยปากสบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน เห็นได้ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการคาบเหยื่อ เนื่องจากเป็นนกที่กินสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหอยเปลือกเดี่ยวหรือหอยโข่งเป็นอาหารหลัก นกกระสาปากห่างแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกกระสาปากห่าง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสานวล

กะโหลกศีรษะ นกกระสานวล (Grey heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นในยุโรป เอเชีย และบางพื้นที่ในแอฟริกา ในฤดูหนาวมักอพยพจากพื้นที่ที่หนาวเย็นไปยังพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นกว่า นกกระสานวลเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีความสูง 90-100 เซนติเมตร ช่วงปีกสองข้างกว้าง 175-195 เซนติเมตร และหนัก 1-2 กิโลกรัม ขนด้านบนเป็นสีเทา แต่ด้านล่างเป็นสีขาว ในตัวเต็มวัยจะมีขนที่ส่วนหัวเป็นสีขาวจะมีแถบขนสีดำรอบหัว จะงอยปากสีชมพูอมเหลือง ซึ่งจะมีสีสว่างขึ้นเวลาผสมพันธุ์ หมวดหมู่:วงศ์นกยาง หมวดหมู่:นกที่พบในประเทศไทย หมวดหมู่:นกในประเทศปากีสถาน หมวดหมู่:นกในประเทศอินเดีย.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกกระสานวล · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาแดง

นกกระสาแดง (Purple heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นผสมพันธุ์อยู่ในแอฟริกา ยุโรปตอนกลางและตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก กลุ่มที่อาศัยอยู่ในยุโรปจะอพยพลงสู่เขตร้อนในแอฟริกาในฤดูหนาว ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเอเชียก็จะมีการอพยพลงใต้ภายในทวีปเช่นกัน จัดว่าเป็นนกที่หายาก แต่เวลาที่อพยพจะพบเห็นได้บ่อยในภูมิภาคทางตอนเหนือของถิ่นผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จัดเป็นนกขนาดใหญ่ โดยมีความสูง 80-90 เซนติเมตร ความกว้างของปีกสองข้าง 120-150 เซนติเมตร แต่มีลำตัวผอมบาง มีน้ำหนักเพียง 500-1,300 กรัมเท่านั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับนกกระสานวล แต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีสีขนที่แตกต่างกัน โดยนกกระสาแดงจะมีขนสีน้ำตาลแดงเข้ม และเมื่อโตเต็มวัย ขนที่หลังจะเป็นสีเทาเข้มขึ้น จะงอยปากมีสีเหลืองและแคบบาง ซึ่งในตัวเต็มวัยจะมีสีสว่างขึ้น.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกกระสาแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกยางควาย

นกยางควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bubulcus ibis; Cattle egret) เป็นนกยางสีขาว ในวงศ์ Ardeidae พบในเขตร้อนและอบอุ่น นกกระยางควายมีจุดกำเนิดในทวีปเอเชีย แอฟริกาและยุโรป แต่นกยางมีการขยายพันธุ์และกระจายตัวไปทั่วโลก และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จัดเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Bubulcus.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกยางควาย · ดูเพิ่มเติม »

นกยางโทนใหญ่

นกยางโทนใหญ่ (Great egret) เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกยาง (Ardeidae) มีขนสีขาวตลอดตัว คอยาว มีลักษณะคล้ายนกยางโทนน้อย แต่ปากจะยาวกว่า หัวไม่กลมเหมือนนกยางโทนน้อ.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกยางโทนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกตะกรุม

นกตะกรุม (Lesser adjutant stork) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Leptoptilos javanicus เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) มีถิ่นที่อยู่อาศัยในทวีปเอเชียทางตอนใต้ ตั้งแต่อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงจีนตอนใต้ และเกาะชวา มีรูปร่างคล้ายคลึงกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีถุงใต้คอ ขณะยืนมีความสูงบนหัวประมาณ 110-120 เซนติเมตร ความกว้างของปีกทั้งสองข้างประมาณ 210 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนสีดำเหลือบเป็นมัน ใต้ท้องสีออกขาว มีจุดเด่น คือ ส่วนหัวและลำคอเป็นหนังสีเหลืองแกมแดง มีขนเป็นเส้นๆ ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ทำให้แลดูล้านเลี่ยน จะงอยปากมีขนาดใหญ่สีออกเหลืองเลอะ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีแต้มสีแดงตรงบริเวณโคนปาก แข้งและเท้าสีน้ำตาลแกมเขียวจนถึงสีคล้ำเกือบดำ นกอายุน้อยขนสีดำค่อนข้างด้าน บนส่วนหัวและลำคอมีขนปกคลุมมากกว่านกโตเต็มวัย นกตะกรุม เป็นนกที่หากินสัตว์เล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำเป็นอาหาร เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่าง งู หรือ กบ, เขียด แต่จะไม่กินซากสัตว์เหมือนนกตะกราม มีพฤติกรรมทำรังบนยอดไม้สูง ตามป่าชายเลนหรือป่าริมน้ำร่วมกับนกตะกรามและนกกระทุง วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ในช่วงปลายปี คือ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนหัวที่ล้านเลี่ยนเป็นจุดเด่น นกตะกรุม เป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย เดิมเคยมีรายงานพบที่ จังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์ และนราธิวาส และมีรายงานการทำรังแพร่ขยายพันธุ์ที่บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ที่จังหวัดพัทลุง และป่าพรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี..

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกตะกรุม · ดูเพิ่มเติม »

นกปากห่าง

thumb นกปากห่าง จัดอยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) จัดเป็นนกในวงศ์นี้ขนาดเล็ก แต่จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครก็คือปากที่ยามหุบจะเหลือช่องตรงกลาง ทำให้มันคาบเปลือกหอยโข่งและหอยเชอรี่ที่ทั้งกลมทั้งลื่นได้อย่างช่ำชอง เมื่อจับหอยได้แล้วมันจะคาบไปหาทำเลเหมาะ ๆ เพื่อใช้จะงอยปากทำหน้าที่เหมือนแหนบจิกเนื้อหอยออกมากิน thumb thumb thumb.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและนกปากห่าง · ดูเพิ่มเติม »

แร้งคอนดอร์แอนดีส

แร้งคอนดอร์แอนดีส (Andean condor, Condor) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกแร้ง จัดเป็นแร้งโลกใหม่ (Cathartidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Vultur แร้งคอนดอร์แอนดีส จัดเป็นแร้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จึงจัดเป็นนกล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย และนับเป็นหนึ่งในนกที่บินได้ที่มีช่วงปีกกว้างที่สุดในโลก รองมาจากนกอัลบาทรอส เพราะมีช่วงปีกกางได้กว้างถึง 3 เมตร ขณะที่มีลำตัวยาว 1.2 เมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 14 กิโลกรัม เมื่อโตเต็มที่ และถือเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปอเมริกาใต้ด้วย แร้งคอนดอร์แอนดีส มีความแตกต่างระหว่างเพศที่เห็นได้ชัด คือ ตัวผู้จะมีหงอนสีแดงสดและเหนียงยานต่าง ๆ ที่บนหัวและใต้คางหรือหลังหัวที่โล้นเลี่ยนปราศจากขน ซึ่งเหนียงเหล่านี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์บอกถึงความสง่างามและแข็งแกร่งของนกตัวผู้ ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีลักษณะดังกล่าว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในแถบเทือกเขาแอนดีสและที่ราบสูงปาตาโกเนีย ในทวีปอเมริกาใต้ โดยอาศัยและทำรังบนหน้าผาสูงในระดับนับร้อยหรือพันเมตรจากพื้นดิน มีระดับการบินที่สูงจากพื้นดิน ขณะที่สายตาก็สอดส่องมองหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ซากสัตว์ต่าง ๆ ที่ตายบนพื้นดิน เมื่อพบเจอซากสัตว์ แร้งคอนดอร์แอนดีสมักจะได้สิทธิกินซากก่อนนกหรือแร้งโลกใหม่ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ ขณะที่แร้งคอนดอร์แอนดีสด้วยกันตัวอื่น ๆ แม้จะเจอซากสัตว์เหมือนกัน อาจมีการแย่งกินกันบ้าง แต่ก็ไม่รุนแรงเหมือนแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) และนกตัวผู้จะได้รับสิทธิให้กินก่อน ต่อจากนั้นก็จะตามมาด้วยนกตัวเมีย และนกวัยรุ่นหรือนกวัยอ่อน ซึ่งในนกวัยรุ่นอาจมีการดึงแย่งเศษซากชิ้นส่วนกันด้วย แร้งคอนดอร์แอนดีสเป็นนกที่มีอายุยืน อาจมีอายุได้ถึง 50-60 ปี เป็นนกที่จับคู่แบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต ทำรังบนหน้าผาสูง โดยวางไข่เพียงครั้งละ 1 ฟอง พ่อแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงลูกนานถึง 2 ปี เมื่อลูกนกฝึกบินจะเป็นพ่อและแม่นกที่ช่วยสอนลูก ขณะบิน แร้งคอนดอร์แอนดีส มีการอพยพย้ายถิ่นไปในสหรัฐอเมริกาและอเมริกากลางเช่นเดียวกับแร้งโลกใหม่ชนิดอื่น ๆ โดยจะบินอพยพไปพร้อม ๆ กันเป็นฝูงใหญ่ โดยมีการแวะพักในระหว่างทาง แร้งคอนดอร์แอนดีส เกือยจะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติเมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและแร้งคอนดอร์แอนดีส · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกใหม่

แร้งโลกใหม่ (New world vulture) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Cathartidae โดยนกในวงศ์นี้จะพบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" เท่านั้น คือ ทวีปอเมริกา ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แร้งโลกใหม่ เป็นนกที่กินซากสัตว์เป็นอาหารเช่นเดียวกับแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) ที่พบในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป แต่ทว่ามีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือ แร้งโลกใหม่ในหลายชนิดจะหาอาหารด้วยการใช้ประสาทการดมกลิ่นแทนที่จะการมองเห็น เช่นเดียวกับแร้งโลก หรือนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น ๆ และทำให้การจัดอันดับของแร้งโลกใหม่นั้นไม่มีข้อยุติ โดยบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Accipitriformes เช่นเดียวกับนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แต่ในบางข้อมูลก็จัดให้อยู่ในอันดับ Ciconiiformes อันเป็นอันดับเดียวกับพวกนกกระสา โดยเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากนกกระสา หรือกระทั่งอยู่ในอันดับ Cathartiformes ซึ่งเป็นอันดับของตนเองไปเลยก็มี.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและแร้งโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวออสเปร

หยี่ยวออสเปร (Osprey, Sea hawk, Fish eagle) เป็นนกล่าเหยื่อที่กินปลาเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่ ยาว 60 เซนติเมตร ช่วงปีกกว้าง 2 เมตร ขนส่วนบนเป็นสีน้ำตาล ศีรษะและส่วนล่างมีสีค่อนข้างเทา มีสีดำบริเวณตาและปีก เหยี่ยวออสเปรมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ชอบทำรังใกล้กับแหล่งน้ำ แม้ว่าในทวีปอเมริกาใต้จะเป็นเพียงแค่นกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ แต่ก็ถือว่าสามารถพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา เหยี่ยวออสเปรกินปลาเป็นอาหาร จึงพัฒนาลักษณะทางกายภาพเฉพาะและแสดงพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อช่วยในการล่าและการจับเหยื่อ จึงส่งผลให้มีสกุลและวงศ์เป็นของตนเองคือ สกุล Pandion และ วงศ์ Pandionidae มี 4 สปีชีส์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แม้จะมีนิสัยชอบในการทำรังใกล้แหล่งน้ำ แต่เหยี่ยวออสเปรก็ไม่ใช่อินทรีทะเล.

ใหม่!!: อันดับนกกระสาและเหยี่ยวออสเปร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ciconiiformes

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »