โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับด้วง

ดัชนี อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

71 ความสัมพันธ์: ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นกระแตหางขนนกการปรับตัว (ชีววิทยา)มวนมอดแป้งมาสค์ไรเดอร์คิบะรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียงรายชื่อโปเกมอน (1–51)รายการสัตว์ร็อคแมน X (วิดีโอเกมภาคแรก)สกุลมอดแป้งสกุลแมงคีมหนวดสามปล้องหิ่งห้อยหนอนหนอนนกหนูเหม็นอะนอฟธัลมัส ฮิตเลริอันดับด้วงฮิโตะดะมะผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์จิตพยาธิวิทยาสัตว์จิ้งเหลนจระเข้ตาแดงทะเลทรายนามิบขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ดิอะเมซิ่งเรซ 1ดิจิมอนเพนดูลั่ม 1 : เนเจอร์สปิริตด้วงกว่างด้วงกว่างชนด้วงกว่างญี่ปุ่นด้วงกว่างสามเขาจันทร์ด้วงกว่างแอตลัสด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสด้วงกุหลาบด้วงก้นกระดกด้วงยีราฟด้วงหมัดผักด้วงงวงด้วงงวงมะพร้าวด้วงแรดมะพร้าวด้วงไฟด้วงเสือด้วงเจาะเปลือกไม้สนด้วงเต่าลายปาล์มแชมเปญนกกะรางหัวขวานนกอีเสือสีน้ำตาลนกขุนแผนนกตะขาบทุ่งนกนางแอ่นแม่น้ำนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร...นกเค้าจุดนกเค้าแคระแบดเจอร์แบดเจอร์ยุโรปแก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์แมกโนเลียแมลงแมลงทับแมลงทับกลมขาเขียวแมลงทับราชาแมลงเสือซอลต์ครีกแมงอีนูนแมงคีมแมงคีมยีราฟแมงคีมละมั่งเหลืองแร็กคูนไกอาเมมโมรี่เมกาซีลลีน กูชาเฮดจ์ฮอกยุโรปเดทลี่ บีเทิล สแตนด์Pachysticus jenisi ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

อกบัวตอง language.

ใหม่!!: อันดับด้วงและชนิดพันธุ์ต่างถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

กระแตหางขนนก

กระแตหางขนนก (pen-tailed treeshrew) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในอันดับกระแต (Scandentia) นับเป็นกระแตเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในวงศ์ Ptilocercidae และสกุล Ptilocercus แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) กระแตหางขนนก มีตัวยาวประมาณ 13-14 เซนติเมตร หางยาว 16-19 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 40-62 กรัม หางมีสีได้หลากหลาย ตั้งแต่สีเทาจนถึงน้ำตาลอ่อน ท้องสีขาวหรือสีครีม ปลายหางตั้งแต่ระยะ 3 ใน 5 ของหางจนถึงปลายหาง ขนมีลักษณะคล้ายขนนกหรือพู่กัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกระแตชนิดนี้ ทำให้แยกออกมาเป็นวงศ์และสกุลต่างหาก กระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรมลายู จนถึงเกาะสุมาตรา, ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว และเกาะข้างเคียง ในประเทศไทยพบทางป่าชายแดนภาคใต้ตอนล่าง พบในป่าดั้งเดิมและป่าชั้นสอง, สวนยาง หรือแม้แต่ในหมู่บ้านที่อยู่ชายป่า มักพบอยู่ในที่ที่มีต้นปาล์มชนิด จากเขา (Eugeissona tristis) ทำรังบนต้นไม้ รังอยู่สูงจากพื้น 12-20 เมตร ปูพื้นด้วยใบไม้แห้ง กิ่งไม้และเยื่อไม้ เส้นผ่านศูนย์กลางรังประมาณ 3 นิ้ว และยาวประมาณ 18 นิ้ว ออกหากินในเวลากลางคืน เวลากลางวันจะค่อนข้างเฉื่อยชา หากถูกรบกวนในเวลากลางวัน มักจะหันหลังให้ อ้าปากกว้างและส่งเสียงดังข่มขู่ บางครั้งก็ถ่ายมูลหรือปัสสาวะใส่ด้วย แต่หากถูกรบกวนตอนกลางคืน จะวิ่งหนีไปอย่างรวดเร็ว กินอาหารได้หากหลายทั้งพืชและสัตว์เช่นเดียวกับกระแตส่วนใหญ่ เช่น กล้วย, องุ่น, จิ้งหรีด, ตั๊กแตน, มด, แมลงสาบ, จักจั่น, แมลงปีกแข็ง และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กจำพวกตุ๊กแก ทำรังอยู่ร่วมกันเป็นฝูงใหญ่ ฝูงหนึ่งมีรัง 2-7 รัง สามารถไต่กิ่งไม้ทางด้านใต้กิ่งได้ มีประสาทสัมผัสที่หางไวมาก เมื่อแสดงอาการก้าวร้าวจะแกว่งหางไปมาแบบลูกตุ้ม แต่ถ้าตื่นเต้นจะชูหางขึ้นชี้ด้านบน มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 45-55 วัน คาดว่าออกลูกครั้งละ 1-4 ตัว ลูกแรกเกิดหนักประมาณ 10 กรัม ตัวเมียมีเต้านม 4 เต้.

ใหม่!!: อันดับด้วงและกระแตหางขนนก · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว (adaptation, adaptive trait) มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ.

ใหม่!!: อันดับด้วงและการปรับตัว (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

มวน

มวน ถือเป็นชื่อของแมงชนิดหนึ่งซึ่งประกอบ 50,000 ถึง 80,000 ชนิดเช่นกลุ่มของจักจั่น โดยมักมีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร (0.04 นิ้ว) ถึง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) และมีปากที่สามารถดูดของเหลวได้และชื่อของมวลยังเอาไวเรียกกลุ่มของหน่วยย่อย Heteroptera ด้วย โดยปกติคนเราจะเรียกว่าพวกแมลง, แมง, ด้วง, มวน รวมกันเป็นแมลงอย่างเดี่ยวเช่นการเรียกเต่าทองที่อยู่กลุ่มเดียวกับด้วงว่าเป็นแมลง โดยปกติพวกมันจะกินอาหารโดยใช้ปากดูดของเหลวจากต้นไม้หรือสัตว์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มวลนั้นไม่ได้อาศัยอยู่บนบกอย่างเดียวแต่พวกมันก็อาศัยอยู่ในน้ำด้วย มนุษย์มีปฏิสัมพันธุ์กับพวกมันมานานเพราะพวกมันหลายชนิดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญโดยพวกมันจะทำลายพืชผลทางการเกษตรโดยการดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้และพวกมันยังเป็นพาหะของโรคร้ายแรงและไวรัสอีกด้ว.

ใหม่!!: อันดับด้วงและมวน · ดูเพิ่มเติม »

มอดแป้ง

มอดแป้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tribolium castaneum เป็นแมลงศัตรูทางการเกษตรที่สำคัญ โดยปนเปื้อนในโกดังเก็บผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวสาร กาแฟ ข้าวโพด เผือก ถั่ว รวมถึงผลผลิตแปรรูป เช่น แป้ง บิสกิต พาสต้า เป็นต้น โดยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย กินผลผลิตเป็นอาหารและเพิ่มจำนวนมาก มีการสร้างสารเคมีประเภทควิโนน ที่มีกลิ่นเหม็น สร้างความเสียหายกับผลผลิตเป็นอย่างมาก มอดแป้งมีการแพร่กระจายในโกดังเก็บผลผลิตของมนุษย์ทั่วโลก มูลค่าความเสียหายจากมอดแป้ง(และแมลงปีกแข็งชนิดอื่น)เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี Richards S, Gibbs RA, Weinstock GM et al.

ใหม่!!: อันดับด้วงและมอดแป้ง · ดูเพิ่มเติม »

มาสค์ไรเดอร์คิบะ

มาสค์ไรเดอร์คิบะ เป็นชื่อของ ภาพยนตร์ญี่ปุ่น แนว โทคุซัทสึ ในซีรีส์ มาสค์ไรเดอร์ ประจำปี 2008 เป็นลำดับที่18 โดย โตเอะ คัมปะนี และ อิชิโนะโมะริ โปรดักชั่นส์ เริ่มออกอากาศวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2008 ต่อจากตอนสุดท้ายของ "มาสค์ไรเดอร์เดนโอ" โดยออกอากาศทางทีวีอาซาฮี ในช่วง ซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ ร่วมกับ "เอนจิน เซนไท โกออนเจอร์" โดยธีมหลักของซีรีส์นี้เป็นแนวสยองขวัญ โดยให้ภาพลักษณ์แก่คิบะเป็น แวมไพร์ สโลแกนประจำซีรีส์นี้คือ "จงตื่นขึ้น! ปลดปล่อยพันธนาการแห่งโชคชะตา" โดยตอนแรกที่ออกอากาศนั้นได้มีการระลึกวันคล้ายวันเกิดปีที่ 70 ของ อิชิโนะโมะริ โชทาโร่ ในซีรีส์อีกด้วย มาสค์ไรเดอร์คิบะออกอากาศเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2008 ถึงวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2009 โดยออกอากาศทั้งหมด 48 ตอนและมีภาพยนตร์ตอนพิเศษอีก 2 ตอนคือ มาสค์ไรเดอร์เดนโอ & คิบะ ไคลแม็กซ์เดกะ (劇場版 仮面ライダー電王&キバ クライマックス刑事) และ มาสค์ไรเดอร์คิบะ ราชาแห่งปราสาทนรก (劇場版 仮面ライダーキバ 魔界城の王) ในประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์เริ่มวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554- 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 7:35 น. และได้กลับมาออกอากาศที่ช่องการ์ตูนคลับอีกครั้งในปี 2556 ทางช่องการ์ตูนคลั.

ใหม่!!: อันดับด้วงและมาสค์ไรเดอร์คิบะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง

ในการตั้งชื่อทางชีววิทยา สิ่งมีชีวิตมักได้รับชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล ชั้นอนุกรมวิธาน (taxon) (ตัวอย่างเช่น สปีชีส์ หรือ สกุล) ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่งอื่นอื่นเรียกว่า eponymous taxon ส่วนชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลใดบุคคลนึง หรือกลุ่มคน เรียกว่า patronymic ปกติแล้วชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารที่มีการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ โดยมีคำบรรยายชื่อชั้นอนุกรมวิธานและวิธีบอกความแตกต่างกับชั้นอนุกรมวิธานอื่น ตามกฎของไวยากรณ์ภาษาละตินชื่อสปีชีส์หรือชนิดย่อยที่มาจากชื่อผู้ชายส่วนใหญ่ลงท้ายด้วย -i หรือ -ii หากตั้งชื่อตามคนบุคคลและ -orum หากตั้งชื่อตามกลุ่มผู้ชายหรือชายหญิง เช่น ครอบครัว ในทางคล้ายกัน ชื่อที่ตั้งตามผู้หญิงล้วนลงท้ายด้วย -ae หรือ -arum สำหรับผู้หญิงสองคนหรือมากกว่า รายชื่อนี้มีสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามบุคคลหรือคณะที่มีชื่อเสียง (รวมไปถึงวงดนตรี และคณะนักแสดง) แต่ไม่รวมบริษัท สถาบัน กลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ และสถานที่ซึ่งมีคนอยู่มาก ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามตัวละครในนวนิยาย นักชีววิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ หรือคนในครอบครัวของนักวิจัยที่อาจไม่เป็นที่รู้จัก ชื่อวิทยาศาสตร์อยู่ในรูปแบบที่บรรยายไว้ดั้งเดิม.

ใหม่!!: อันดับด้วงและรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโปเกมอน (1–51)

แฟรนไชส์ โปเกมอน มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสมมุติที่เรียกว่าโปเกมอนทั้งหมด 721 สายพันธุ์ (นับถึง''โปเกมอนภาคโอเมการูบี''และ''แอลฟาแซฟไฟร์'') นี่คือรายชื่อโปเกมอน 51 สายพันธุ์ ที่พบใน''โปเกมอนภาคเรด''และ''กรีน'' เรียงตามสมุดภาพโปเกมอนเนชัลแนลของซีรีส์เกมหลัก.

ใหม่!!: อันดับด้วงและรายชื่อโปเกมอน (1–51) · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: อันดับด้วงและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อคแมน X (วิดีโอเกมภาคแรก)

ร็อคแมน X (ロックマンX) หรือ เมกาแมน X (Mega Man X) เป็นวิดีโอเกมภาคแรก ของซีรีส์ ร็อคแมน X โดยวางจำหน่ายในวันที่ 17 ธันวาคม..1993 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวางจำหน่ายในเครื่องเล่นเกม ซูเปอร์แฟมิคอม และจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบระบบปฏิบัติการวินโดวส์อีกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1995.

ใหม่!!: อันดับด้วงและร็อคแมน X (วิดีโอเกมภาคแรก) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลมอดแป้ง

Tribolium เป็นกลุ่มทางอนุกรมวิธานระดับสกุล มีรายงานแล้ว 36 ชนิด แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ที่สัมพันธ์กับการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ กลุ่ม breviocornis (North and South America, 7 ชนิด) กลุ่ม confusum (Africa, 14 ชนิด) กลุ่ม alcine (Madagasca, 3 ชนิด) กลุ่ม castaneum (South and Southeast Asia, 10 ชนิด) กลุ่ม myrmecophilum (Australia, 2 ชนิด) Angelini DR, Jockusch EL (2008) Relationships among pest flour beetles of the genus Tribolium (Tenebrionidae) inferred from multiple molecular markers.

ใหม่!!: อันดับด้วงและสกุลมอดแป้ง · ดูเพิ่มเติม »

สกุลแมงคีมหนวดสามปล้อง

กุลแมงคีมหนวดสามปล้อง หรือ สกุลด้วงคีมหนวดสามปล้อง เป็นสกุลของแมลงปีกแข็ง ในวงศ์ด้วงคีม (Lucanidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prosopocoilus มีจุดเด่น คือ มีปลายหนวดเป็นปมประกอบด้วยหนวด 3 ปล้อง ในประเทศไทยพบหลายชนิด อาทิ แมงคีมแดง (Prosopocoilus astacoides), แมงคีมบูด้า (P. buddha), แมงคีมปากคีบ (P. forceps), แมงคีมยีราฟ (P. giraffa) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับด้วงและสกุลแมงคีมหนวดสามปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

หิ่งห้อย

หิ่งห้อย หรือ ทิ้งถ่วง เป็นแมลงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Lampyridae ในอันดับ Coleoptera ทั่วทั้งโลกมีหิ่งห้อยประมาณ 2,000 ชน.

ใหม่!!: อันดับด้วงและหิ่งห้อย · ดูเพิ่มเติม »

หนอน

องหนอน Proserpinus proserpina หนอน (larva) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อตัวอ่อนของแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเจริญเติบโตแบบ Holometabola โดยมี 4 ระยะการเจริญเติบโต คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และ ตัวเต็มวัย ตามลำดับ ลักษณะของตัวหนอนจะไม่มีตารวม มีปีกที่เจริญอยู่ภายใน ตัวหนอนมีการเจริญเติบโตขึ้นไปได้หลายระยะ โดยการลอกคราบจนถึงระยะสุดท้ายจะลอกคราบกลายเป็นดักแด้ พบได้ในแมลงจำพวก แมลงช้าง แมลงปีกใส ด้วง หนอนปลอกน้ำ ผีเสื้อ แมลงวัน หมัด ผึ้ง ต่อ แตน และ มด คำว่า หนอน อาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตจำพวก หนอนพยาธิ (worm) เช่น หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน รวมทั้งไส้เดือนและหนอนทะเลด้ว.

ใหม่!!: อันดับด้วงและหนอน · ดูเพิ่มเติม »

หนอนนก

หนอนนก (Mealworm) เป็นชื่อสามัญที่เรียกสำหรับหนอนของแมลงปีกแข็งชนิด Tenebrio molitor ปัจจุบันนิยมเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีความสำคัญใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ปลาสวยงาม, นกสวยงาม, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบางชนิด เช่น แฮมสเตอร์ หรือ กระรอก รูปร่างของหนอนนก เป็นหนอนที่มีเปลือก มีลำตัวยาวเรียวทรงกระบอกสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อโตเต็มที่มีความกว้างลำตัว 0.28-3.2 มิลลิเมตร ยาว 29-35 มิลลิเมตร น้ำหนัก 0.2-0.24 กรัม มีอายุประมาณ 55-75 วัน ก่อนจะเข้าสู่ภาวะดักแด้ ซึ่งจะมีอายุในวงจรนี้ราว 5-7 วัน จากนั้นจะลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ซึ่งจะเป็นแมลงปีกแข็งลำตัวสีน้ำตาลอมดำ ซึ่งจัดเป็นแมลงศัตรูพืช มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปในที่ ๆ ที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ซึ่งตัวเต็มวัยจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 1-2 ฟอง/วัน หรือ 80-85 ฟอง/ตลอดวงจรชีวิต คุณค่าของหนอนนก คือ เป็นอาหารที่มีทั้งโปรตีนและไขมันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะไขมัน ในปลาสวยงามบางชนิด เช่น ปลาอะโรวาน่า หากให้หนอนนกในปริมาณที่มาก ปลาจะติดใจในบางตัวอาจจะไม่ยอมกินอาหารชนิดอื่นเลยก็เป็นได้ และจะสะสมไขมันในตัวซึ่งจะนำมาซึ่งอาการตาตก นอกจากนี้แล้ว ในบางพื้นที่ ยังมีผู้รับประทานหนอนนกเป็นอาหารอีกด้วย ด้วยการทอดเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น ๆ ที่รับประทานได้ ปัจจุบัน ได้มีผู้เพาะเลี้ยงหนอนนกเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยโรงเรือนที่เพาะต้องเป็นสถานที่ ๆ โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญคือ ต้องไม่ชื้น หากชื้นหนอนนกจะตายด้วยเชื้อราและไม่มีศัตรูตามธรรมชาติมารบกวน เช่น จิ้งจก, ตุ๊กแก หรือ มด ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เมื่อซื้อหนอนนกไปแล้ว จะนิยมเก็บด้วยการเทใส่ถาดหรือถังพลาสติกที่มีความสูงพอสมควรที่หนอนนกไม่สามารถปีนออกมาได้ ปิดฝาด้วยภาชนะแบบตะแกรง อาหารที่ให้สามารถให้ได้หลากหลาย ทั้ง ผักชนิดต่าง ๆ อาหารปลาเม็ด หรือ รำข้าว และต้องมีตะแกรงรองพื้น เพื่อช่วยในการร่อนมูลและเปลือกของหนอนนกที่ถ่ายออกมาด้วย นิยมขายปลีกกันที่ขีดละ 40-80 บาท กิโลกรัมละ 300-500 บาท.

ใหม่!!: อันดับด้วงและหนอนนก · ดูเพิ่มเติม »

หนูเหม็น

ำหรับสาโทที่หมายถึงเครื่องดื่มประเภทสุรา ดูที่: สาโท หนูเหม็น หรือ สาโท (อังกฤษ: Moonrat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Echinosorex gymnurus จัดอยู่ในวงศ์ Erinaceidae ซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Echinosorex หนูเหม็น มีรูปร่างลักษณะคล้ายหนูที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ แต่หนูเหม็นเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับเฮดจ์ฮอกเช่นเดียวกับเฮดจ์ฮอก มีขนยาวปุกปุยรุงรังสีดำแซมขาว หัวมีขนสีขาวและมีแถบดำพาดผ่านตาเห็นได้ชัดเจน ปลายปากด้านบนและดั้งจมูกยาวเรียวยื่นออกไปมากกว่าปลายริมฝีปากล่าง หางมีเกล็ดเล็ก ๆ ปกคลุมคล้ายหางหนู มีสีดำและปลายหางสีขาว พบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรีในเขตพม่า และภาคใต้ของไทยตั้งแต่คอคอดกระลงไปตลอดแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว มีขนาดลำตัวยาว 26-45 เซนติเมตร หางยาว 20-21 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 0.5-1.1 กิโลกรัม ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์และอันดับนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ E.g.albus พบในตอนตะวันออกและตอนใต้ของเกาะบอร์เนียว และ E.g.cadidus พบในตอนตะวันตกของเกาะบอร์เนียว เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวเหม็นรุนแรงจึงเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งกลิ่นตัวนี้คล้ายกับกลิ่นระเหยของแอมโมเนีย สามารถส่งกลิ่นออกไปได้ไกลเป็นระยะหลายเมตร ใช้สำหรับติดต่อกับหนูเหม็นตัวอื่น มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะตามป่าดิบชื้น เช่น ป่าโกงกาง, ป่าตามพื้นที่ราบเชิงเขา โดยเฉพาะตามหุบเขาที่มีป่ารกทึบ ติดกับลำธารที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งเหมาะเป็นแหล่งในการหาอาหารได้สะดวก เป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ หนอน, ด้วง และแมลงต่าง ๆ, ไส้เดือนดิน สามารถที่จะล่าสัตว์เล็ก ๆ กิน เช่น ลูกกบ, เขียด, กุ้ง, ปู, ปลา และหอย ได้ด้วย กลางวันจะพักอาศัยหลบซ่อนอยู่ในรูดิน โพรงไม้และตามซอกใตัรากไม้ในป่าทั่วไป มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ๆ ละ 2 ครอก มีลูกครอกละ 2 ตัว มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่หายาก มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ ๆ อยู่อาศัยถูกทำลาย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 หนูเหม็น มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า หากเก็บกระดูกไว้จะสามารถแก้เสน่ห์ยาแฝดหรือมนต์ดำได้.

ใหม่!!: อันดับด้วงและหนูเหม็น · ดูเพิ่มเติม »

อะนอฟธัลมัส ฮิตเลริ

อะนอฟธัลมัส ฮิตเลริ (Anophthalmus hitleri; Hitlerjev brezokec)  คือ สปีชีส์ของด้วงถ้ำตาบอดพบได้เพียงใน 5 ถ้ำที่มีความชุ่มชื้นในประเทศสโลวีเนียเท่านั้น ด้วงถ้ำตาบอดนี้อยู่ในสกุลเดียวกับ 41 สปีชีส์อื่น และ 95 วงศ์ย่อยที่ไม่ซ้ำกัน สมาชิกของวงศ์ย่อย (Trechinae) กินสัตว์อื่นเป็นอาหารเหมือนกับวงศ์คาราบิดี้ส่วนใหญ่ ดังนั้นอะนอฟธัลมัส ฮิตเลริทั้งที่โตเต็มที่และตัวอ่อนคาดว่ากินสัตว์ในถ้ำที่เล็กกว่าเป็นอาหาร.

ใหม่!!: อันดับด้วงและอะนอฟธัลมัส ฮิตเลริ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

ใหม่!!: อันดับด้วงและอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโตะดะมะ

ตะดะมะ (人魂; หมายถึง "วิญญาณมนุษย์") เป็นคำที่มาจากตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่น เป็นความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ.

ใหม่!!: อันดับด้วงและฮิโตะดะมะ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์

ัตว์ที่มีความสำคัญในการย่อยอินทรียสาร ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ หรือ ผู้บริโภคซากอินทรีย์ (detritivore, scavenger, decomposer, saprophage และอีกหลายชื่อ) คือ สิ่งมีชีวิตที่บริโภคของเสียจากสัตว์ หรือซากของสิ่งมีชีวิตเป็นอาหาร ทำให้เศษซากอินทรีย์เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แร้ง ปลวก ไส้เดือนดิน กิ้งกือ หอย ด้วงและจุลินทรีย์ ผู้บริโภคเหล่านี้มีส่วนร่วมในการสลายตัวและช่วยในวัฏจักรสาร.

ใหม่!!: อันดับด้วงและผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตพยาธิวิทยาสัตว์

ตพยาธิวิทยาสัตว์ (Animal psychopathology) เป็นการศึกษาโรคจิตและพฤติกรรมในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยประวัติแล้ว ศาสตร์มักจะเอามนุษย์เป็นศูนย์ (มานุษยประมาณนิยม) เมื่อศึกษาจิตพยาธิวิทยาในสัตว์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองสำหรับโรคจิตในมนุษย์ แต่จากมุมมองทางวิวัฒนาการ จิตพยาธิของสัตว์จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมกว่าว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ปรับตัว (non-adaptive) เพราะความพิการทางความรู้คิด ความพิการทางอารมณ์ หรือความทุกข์บางอย่าง บทความนี้แสดงจิตพยาธิสัตว์จำนวนหนึ่งแต่ไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: อันดับด้วงและจิตพยาธิวิทยาสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลนจระเข้ตาแดง

้งเหลนจระเข้ตาแดง หรือ จิ้งเหลนจระเข้ตาส้ม หรือ จิ้งเหลนจระเข้ตาเหลือง (ตัวย่อ: Trib) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tribolonotus gracilis อยู่ในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลน มีผิวลำตัวเรียบลื่นเหมือนจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีหนามแข็งคล้ายจระเข้ทั่วทั้งตัวจรดหาง หัวมีขนาดใหญ่ เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ลำตัวคล้ายทรงสี่เหลี่ยม มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ ดวงตามีขนาดกลมโต มีจุดเด่น คือ มีวงแหวนสีส้มหรือแดงรอบดวงตา บางตัวอาจเป็นสีน้ำตาลทอง ที่บริเวณใบหน้าและเท้า อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 7-10 นิ้ว โดยเป็นส่วนหัวและลำตัวประมาณ 3 นิ้ว และส่วนหาง 2 นิ้วเท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ซึ่งแตกต่างไปจากจิ้งเหลนชนิดอื่น ๆ ที่มักออกลูกเป็นตัว เมื่อแรกเกิดที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดราว 2 นิ้ว โตเต็มวัยเมื่อมีอายุประมาณ 6-8 เดือน ตั้งท้องนานประมาณ 20 วัน มีอายุยืนประมาณ 10-15 ปี มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ที่นิวกินี ในป่าดิบชื้น ที่มีความชื้นพอสมควร หากินตามพื้นดินไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ โดยกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น จิ้งหรีด, ทาก, ลูกกบ, หนอน, ตั๊กแตน, ไส้เดือน, หนู หรือแมลงปีกแข็ง เป็นต้น ปัจจุบัน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแปลก ๆ หรือสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย นิสัยไม่ดุร้าย ซึ่งนิยมเลี้ยงกันในตู้กระจก โดยจัดสภาพแวดล้อมให้คล้ายกับถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติจริง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและจิ้งเหลนจระเข้ตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายนามิบ

right ทะเลทรายนามิบ (Namib Desert) ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งประเทศนามิเบีย ทอดตัวยาวตั้งแต่ประเทศแองโกลาทางทิศเหนือทาบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศนามิเบีย ไปสุดที่แม่น้ำออเรนจ์ตรงพรมแดนระหว่างประเทศนามิเบียกับประเทศแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร มีช่วงความกว้างตั้งแต่ 10-160 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในทะเลทรายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลก โดยคาดว่ามีอายุอย่างน้อย 55 ล้านปี สภาพโดยทั่วไปเวิ้งว้างและเต็มไปด้วยหมอก ทะเลทรายนามิบถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยแม่น้ำควีเซบซึ่งไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่อ่าววอลว.

ใหม่!!: อันดับด้วงและทะเลทรายนามิบ · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์

วนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 34 ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 จนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ มีตอนพิเศษทางโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่ ขบวนการ ซามูไร ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ THE MOVIE BANG! ฉายวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2010, ขบวนการ เทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ EPIC ON THE MOVIE (เอพพิค ออน เดอะ มูฟวี่), เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ VS ชินเคนเจอร์ เอพพิค ON จอเงิน ฉายวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2011 และ โกไคเจอร์ โกเซย์เจอร์ ซูเปอร์เซนไท 199 ฮีโร่ ไดเคซเซน(ゴーカイジャー ゴセイジャー スーパー戦隊199ヒーロー 大決戦) ตอนพิเศษทางโอวีเอ อีก1ตอน คือ คาเอรุเทคิตะ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ last epic (การกลับมาอีกครั้งของ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ last epic) ขบวนการ ซามูไร ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ THE MOVIE BANG! จัดจำหน่ายโดย บริษัท ดรีมวิชชั่น ขบวนการ เทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ EPIC ON THE MOVIE จัดจำหน่ายโดย บริษัท ดรีมเอ็กซ์เพร.

ใหม่!!: อันดับด้วงและขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 1

อะเมซิ่ง เรซ 1 (The Amazing Race 1) เป็นฤดูกาลที่ 1 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส สำหรับฤดูกาลที่ 1 นี้ออกอากาศวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2544.

ใหม่!!: อันดับด้วงและดิอะเมซิ่งเรซ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ดิจิมอนเพนดูลั่ม 1 : เนเจอร์สปิริต

มอนเพนดูลั่ม 1: เนเจอร์สปิริต (Digimon Pendulum 1: Nature Spirit) เป็นของเล่นสัตว์ประหลาดดิจิตอล ผลิตโดยบริษัทบันได เป็นรุ่นแรกที่ถูกพัฒนาต่อจากดิจิตอลมอนสเตอร์เวอร์ชัน 1-5 ซึ่งรวมดิจิม่อนประเภทธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกัน เช่น แมลง ต้นไม้ ภูต สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับธรรมชาติ และมักเรียกกันติดปากว่า ดิจิม่อนเวอร์6 ซึ่งชื่อที่ถูกต้องคือ เพนดูลั่ม1 หรือ พี1.

ใหม่!!: อันดับด้วงและดิจิมอนเพนดูลั่ม 1 : เนเจอร์สปิริต · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่าง

้วงกว่าง หรือ กว่าง หรือ แมงกว่าง หรือ แมงกวาง หรือ แมงคาม เป็นแมลงในวงศ์ย่อย Dynastinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Scarabaeidae ในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera).

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงกว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างชน

้วงกว่างชน หรือ ด้วงกว่างโซ้ง (Siamese rhinoceros beetle, Fighting beetle) อยู่ในวงศ์ Dynastinae ลำตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น 2 แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น 2 แฉก บางตัวใต้ท้องอาจมีขนสีเหลืองอ่อนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ ในตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1-2 นิ้ว ขณะที่ตัวเมียจะมีความเล็กกว่า พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชน.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงกว่างชน · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างญี่ปุ่น

้วงกว่างญี่ปุ่น (Japanese rhinoceros beetle, Japanese horned beetle, Korean horned beetle, カブトムシ, โรมะจิ: Kabutomushi) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allomyrina dichotoma อยู่ในวงศ์ด้วงกว่าง (Dynastinae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Allomyrina นับเป็นด้วงกว่างอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งสามารถใช้ขวิดต่อสู้กันได้ ด้วงกว่างญี่ปุ่นมีจุดเด่น คือ เขาล่างมีความใหญ่กว่าเขาด้านบน โดยที่ปลายเขาจะมีแขนงแตกออกเป็น 2 แฉกด้วย มีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบและป่าเบญจพรรณในทวีปเอเชีย เช่น อนุทวีปอินเดีย และจะพบมากที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, จีนแผ่นดินใหญ่, เกาหลี, ภาคเหนือของเวียดนาม เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือของประเทศ อาทิ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย, อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นต้น (มีทั้งหมด 7 ชนิดย่อย แตกต่างกันที่ลักษณะของเขา–ดูในตาราง) ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวผู้มีขนาด 38.5-79.5 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวเมียมีขนาด 42.2-54.0 มิลลิเมตร และไม่มีเขา หากินในเวลากลางคืนโดยกินยางไม้จากเปลือกของต้นไม้ใหญ่ในป่า ชอบเล่นไฟ แต่การต่อสู้กันของด้วงกว่างญี่ปุ่นจะแตกต่างไปจากด้วงกว่างชนิดอื่น ๆ คือ จะใช้เขาล่างในการงัดกันมากกว่าจะใช้หนีบกัน ผสมพันธุ์และวางไข่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศ คือ มีมูลสัตว์และซากไม้ผุผสมอยู่ ใช้เวลาฟักเป็นตัวหนอนราว 1 เดือน จากระยะตัวหนอนใช้เวลา 6-8 เดือนจึงจะเข้าสู่ช่วงดักแด้ซึ่งจะมีช่วงอายุราว 19-28 วัน จึงจะเป็นตัวเต็มวัยออกมาจากดิน ซึ่งตัวเต็มวัยมีอายุราว 2-3 เดือนเท่านั้น รวมช่วงชีวิตแล้วทั้งหมดประมาณ 1 ปี นับได้ว่าใกล้เคียงกับด้วงกว่างโซ้ง (Xylotrupes gideon) ซึ่งเป็นด้วงกว่างชนิดที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย โดยเมื่อตัวเต็มวัยจะปริตัวออกจากเปลือกดักแด้ ช่องดักแด้ในดินมักจะอยู่ในแนวตั้งเพื่อมิให้ไปกดทับปีกที่จะกางออก ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงกว่าปีกจะแข็งและสีของลำตัวจะเข้มเหมือนตัวเต็มวัยที่โตเต็มที่ ในช่วงฤดูร้อนของประเทศญี่ปุ่น (ราวกลางเดือนมิถุนายน-กันยายน) จะตรงกับด้วงกว่างญี่ปุ่นเป็นตัวเต็มวัยพอดี บางท้องที่ เช่น ทาซากิ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 130 กิโลเมตร จากกรุงโตเกียว ถึงกับมีเทศกาลของด้วงกว่างชนิดนี้ โดยราคาซื้อขายมีตั้งแต่ 500-28,000 เยน (190-10,000 บาท) ด้วงกว่างญี่ปุ่นเป็นแมลงปีกแข็งที่เป็นนิยมอย่างมากในวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่นหลายประการ อาทิ อะนิเมะเรื่อง มูชิคิง ตำนานผู้พิทักษ์ป่า (Mushiking: Battle of the Beetles, 甲虫王者ムシキング) เป็นต้น และถูกอ้างอิงถึงในอีกหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งในภาษาญี่ปุ่น ด้วงกว่างญี่ปุ่นจะถูกเรียกว่า "คาบูโตะมูชิ" ซึ่งคำว่า "คาบูโตะ" (甲虫) หมายถึง หมวกเกราะอันเป็นส่วนหนึ่งของชุดเกราะญี่ปุ่นแบบโบราณ.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงกว่างญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างสามเขาจันทร์

้วงกว่างสามเขาจันทร์ หรือ ด้วงกว่างสามเขาคอเคซัส (Giant rhinoceros beetle) เป็นด้วงกว่างสามเขาสีดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวที่ใหญ่ที่สุดพบเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แมลงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มีขนาดลำตัวยาวถึง 120 มิลลิเมตร.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงกว่างสามเขาจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างแอตลัส

้วงกว่างแอตลัส หรือ ด้วงกว่างสามเขาเขาใหญ่ (Atlas beetle) เป็นด้วงกว่างที่อยู่ในสกุลด้วงกว่างสามเขาชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chalcosoma atlas มีลักษณะคล้ายกับด้วงกว่างสามเขาชนิดอื่น ๆ แต่ตัวเมียซึ่งไม่มีเขา มีปีกนอกที่เป็นปีกแข็งค่อนข้างหยาบและไม่มีขนเป็นสีน้ำตาลเหมือนกำมะหยี่เหมือนด้วงกว่างสามเขาคอเคซัส (C. caucasus) ส่วนเขาที่สันคอหลังอกก็สั้นด้วยเช่นกัน ขณะที่ตัวผู้เขาหน้าจะโค้งเรียวตั้งขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่แตกเป็นฟันในขอบในเหมือนด้วงกว่างสามเขาจันทร์ ในขณะที่ตัวผู้ที่มีเขาขนาดเล็กจะแตกแขนงตรงปลายออกเป็นสามแฉก และขนาดตัวก็เล็กกว่าด้วย โดยจะมีขนาดประมาณ 20-130 มิลลิเมตร ขณะที่เป็นระยะตัวหนอนตามลำตัวจะมีขนอ่อนปกคลุม ไข่มีลักษณะกลมรีสีขาว ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ทับซ้อนกับด้วงกว่างสามเขาจันทร์ และจะพบได้มากกว่าด้วย ขณะในต่างประเทศจะพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน, อนุทวีปอินเดีย ไปจนถึงหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเหมือนด้วงกว่างชนิดอื่น ๆ และสามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว มีชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และมีชื่อติดอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 (Appendix II) ตามประกาศของไซเต.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงกว่างแอตลัส · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส

้วงกว่างเฮอร์คิวลีส เป็นด้วงกว่างที่มีความยาวและความใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dynastes hercules อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นตั้งแต่ภูมิภาคอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ นับเป็นด้วงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Dynastes ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด เป็นด้วงที่มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กับตัวเมียมาก ตัวผู้มีเขายาว และมีความยาวตั้งแต่ปลายเขาจรดลำตัว 45-178 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวเมียไม่มีเขา และมีความยาวเพียงครึ่งหนึ่งของตัวผู้ คือ 50-80 มิลลิเมตร ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส มีชนิดย่อยทั้งหมด 13 ชนิด โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด คือ D. h. hercules พบในเฟรนซ์ กัวดาลูเป้และดอมินีกา ที่ตัวผู้ยาวได้ถึง 178 มิลลิเมตร และมีบันทึกไว้ว่ายาวที่สุดคือ 190 มิลลิเมตร ตัวหนอนกินซากผุของต้นไม้เป็นอาหาร และมีระยะการเป็นตัวหนอนยาวนานถึง 16 เดือน ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เช่นที่ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ สำหรับในประเทศไทย ผู้ที่จะเลี้ยงยังต้องนำสั่งเข้ามาจากต่างประเทศแต่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สามารถเพาะขยายพันธุ์เป็นผลสำเร็จครั้งแรกที่สวนแมลงสยาม ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกุหลาบ

ด้วงกุหลาบ เป็นด้วงขนาดเล็ก ที่ชอบบุกกัดกิน ดอกกุหลาบ พวกใบปาล์มเล็กๆ โดยเฉพาะในที่ดินที่เพิ่งบุกเบิกใหม่ๆ ถ้าหนักมากจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ กระจายตัวในเดือนต่างๆและฤดูกาลต่างๆ พบได้มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พบในดินที่เพิ่งมีการบุกเบิกใหม่ๆเพื่อการทำปาล์มน้ำมัน และเกิดกับปาล์มในระยะแรกปลูกเท่านั้น ป้องกันและกำจัดได้โดยใช้สารฆ่าแมลงประเภท caพ่นทุก 7-10 วัน ในตอนเย็นทั้งใบและบริเวณโคนต้นrbaryI (Sevin 85% WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หมวดหมู่:แมลง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงก้นกระดก

''Paederus littoralis'', Portugal ด้วงก้นกระดก หรือ ด้วงปีกสั้น หรือ ด้วงก้นงอน เป็นด้วงขนาดเล็กประมาณ 7 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้ม และส่วนท้องมีสีส้มมีความสามารถในการเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงมักเรียกว่า "ด้วงก้นกระดก" จัดอยู่ในอันดับ Coleoptera วงศ์ Staphyinidae พบกระจายทั่วโลก กว่า 20 ชนิด สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ด้วงชนิดนี้อาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ชอบออกมาเล่นไฟ จะมีมากโดยเฉพาะในฤดูฝน.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงก้นกระดก · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงยีราฟ

หมวดหมู่:ด้วง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงหมัดผัก

หมวดหมู่:ด้วง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงหมัดผัก · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงงวง

หมวดหมู่:ด้วง หมวดหมู่:ด้วงงวง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงงวง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงงวงมะพร้าว

้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง ในภาษาใต้ (Red palm weevil, Red-stripes palm weevil, Asian palm weevil, Sago palm weevil) เป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineus จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร โดยด้วงงวงชนิดนี้นับเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะพืชจำพวกปาล์ม เช่น มะพร้าวหรือสาคู หรือลาน ในประเทศไทยพบมากที่ภาคใต้ ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 เมตร และอาจซ้ำกินซ้ำเติมจากที่ด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes rhinoceros) ซึ่งเป็นด้วงกว่างกินแล้วด้วย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อินเดียจนถึงซามัว แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปในทวีปต่าง ๆ ของโลก ตัวหนอนในชามที่รอการบริโภค แต่ในปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภคกัน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-3 เดือน.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงงวงมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงแรดมะพร้าว

ระวังสับสนกับด้วงงวงมะพร้าวหรือด้วงสาคู ดู ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว หรือ ด้วงมะพร้าว (Coconut rhinoceros beetle, Indian rhinoceros beetle, Asian rhinoceros beetle) เป็นด้วงกว่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryctes rhinoceros มีลำตัวสีน้ำตาลแดงเกือบดำ มีขนสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านข้างของส่วนหัว อก ขา และด้านล่างของลำตัว ตัวผู้มีเขาคล้ายนอแรดที่ส่วนหัวค่อนข้างยาว ตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้แต่มีเขาสั้นกว่า และที่ส่วนปลายของท้องด้านล่างมีขนเยอะกว่าตัวผู้ และมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ไม่มาก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 37-45 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ โดยด้วงกว่างชนิดนี้ถือเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญมากของพืชจำพวกปาล์มและมะพร้าวในทวีปเอเชีย โดยตัวเต็มวัยจะเจาะกินยอดอ่อนในเวลากลางคืนทำให้ยอดอ่อนแตกออกมาเห็นใบหักเสียหาย ส่วนทางมะพร้าวหรือปาล์มที่ตัดทิ้งไว้บนดินภายในสวน ก็เป็นแหล่งเพาะอาศัยของตัวอ่อน โดยหลังจากวางไข่แล้วฟักเป็นตัวหนอนก็จะเจริญเติบโตกัดกินอยู่ด้านล่างหรืออยู่ในดิน ไข่มีทรงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ฟักเป็นตัวในระยะเวลา 7-8 วัน หนอนมีสีขาวนวลมีอายุ 3-4 วัน มีส่วนหัวเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เป็นดักแด้ประมาณ 1 เดือน ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 เดือน นับว่าเป็นด้วงกว่างที่มีระยะเวลาเจริญเติบโตเร็วมาก.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงแรดมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงไฟ

้วงไฟ (Blister beetle).

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงเสือ

้วงเสือ จัดอยู่ในอันดับโคลีออปเทอรา วงศ์ซิซินเดลิดี (Cicindelidae) ด้วงเสือมีหลายชนิด มีสีสันฉูดฉาดสะดุดตา บางชนิดมีสีแดง น้ำเงิน เขียว บางชนิดมีสีเหลืองและดำ ดัวงเสือเป็นแมลงนักล่าที่น่ากลัว มันมีเขี้ยวยาวโค้ง นิสัยดุร้าย ขายาว วิ่งได้เร็ว ตัวอ่อนของด้วงเสือก็ดุร้ายไม่แพ้ตัวเต็มวัย ด้วงเสือวางไข่ในดิน ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะขุดโพรงลึกลงไปถึง 60 เซนติเมตร และรอเหยื่ออยู่ในโพรง เมื่อพื้นดินสั่นสะเทือนแม้เพียงเล็กน้อยมันจะรีบพุ่งออกมา และลากเหยื่อลงไปกินในโพรง ด้วงเสือถือเป็นสุดยอดสิ่งมีชีวิตที่มีความเร็วมากที่สุด นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าถ้าด้วงเสือมีขนาดเท่ากับมนุษย์จะวิ่งได้เร็วประมาณ 494 กม./ชม.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงเจาะเปลือกไม้สน

ด้วงเจาะเปลือกไม้สน เป็นหนึ่งในประมาณ 220 สกุล กับ 6,000 ชนิดของด้วงในวงศ์ย่อย Scolytinae หมวดหมู่:ด้วง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงเจาะเปลือกไม้สน · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงเต่าลาย

้วงเต่าลาย (ladybird beetles, Ladybugs) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เต่าทอง จัดเป็นแมลงปีกแข็ง อยู่ในอันดับโคลีออฟเทอรา (Coleoptera) ในวงศ์ Coccinellidae ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย ๆ อีก 6 วงศ์ (ดูในตาราง) เต่าทองมีรูปร่างโดยรวม คือ จัดเป็นแมลงขนาดเล็กเมื่อเทียบกับแมลงปีกแข็งทั่วไป ตัวป้อม ๆ ลำตัวอ้วนกลม ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย มักมีปีกสีแดง ส้ม เหลือง และมักจะแต้มด้วยสีดำเป็นจุด เมื่อหุบปีกเข้าหากันจะจดกับด้านหลังทำให้มองคล้ายหลังเต่า มีหนวดแบบลูกตุ้ม.

ใหม่!!: อันดับด้วงและด้วงเต่าลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์มแชมเปญ

ปาล์มแชมเปญ เป็นปาล์มมีลักษณะเด่นที่ลำต้นป่องตรงกลาง ลักษณะใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยเป็นรูปตัววีคว่ำ ขอบใบมีสีน้ำตาลเล็กน้อย ลำต้นโตประมาณ 30 - 40 ซ.ม. รอยกาบที่ลำต้นสั้น ในรอบปีใบใหม่ที่ออกมาแทนใบเก่าที่หลุดร่วงประมาณ 4-6 ใบเท่านั้น การเจริญเติบโตช้ามาก ลักษณะผล ออกเป็นทะลาย ทะลายยาวประมาณ 30 ซ.ม. ขนาดผลรูปลูกรักบี้ โตประมาณ 1 - 1.5 ซ.ม. ใน 1 ผล มี 1 เมล็ด งอกได้ต้นเดียว สีของผลเมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่สีจะเขียวเข้ม เมื่อสุกผิวจะนิ่ม กลิ่นหอมเหมือนกล้วยหอม เปลือกข้างในเป็นสีดำและแข็งคล้ายกะลามะพร้าว เมล็ดที่นำไปขยายพันธุ์จะงอกช้ามาก 3-8 เดือน คุณค่าทางเศรษฐกิจของปาล์มแชมเปญ นิยมนำมาเป็นไม้ประดับและจัดสวน บอนไปปลูกง่าย เลี้ยงง่าย ศัตรูพืชที่สำคัญสำหรับปาล์มแชมเปญคือด้วง และมดคันไฟ ที่จะเข้ากัดกินเยื่อเจริญที่ยอดอ่อน ส่วนแมลงอื่นที่กินใบภายนอก ไม่ทำให้ต้นตาย แต่ก็ทำให้ไม่งาม left.

ใหม่!!: อันดับด้วงและปาล์มแชมเปญ · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกกะรางหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

นกอีเสือสีน้ำตาล

นกอีเสือสีน้ำตาล (Brown shrike; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius cristatus) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Laniidae จัดเป็นนกอพยพย้ายถิ่นอาศัยเข้ามาหากินในประเทศไทย พบได้บ่อยในช่วงปลายฤดูร้อนและปลายฤดูฝน ซึ่งนกอีเสื้อสีน้ำตาลมีถิ่นการกระจายพันธุ์กว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่เอเชียเหนือจรดยุโรป, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ และยังพบได้ที่อเมริกาเหนือ จึงมีชนิดย่อยด้วยกันทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกอีเสือสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกขุนแผน

ำหรับนกขุนแผนจำพวกอื่น ดูที่: วงศ์นกขุนแผน นกขุนแผน หรือ นกสาลิกาดง (อังกฤษ: Red-billed blue magpie; ชื่อวิทยาศาสตร์: Urocissa erythrorhyncha) จัดเป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Corvidae อันเป็นวงศ์เดียวกับกา นกขุนแผนเป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก กล่าวคือ โดยมีบริเวณหัวถึงลำคอสีดำ ขนบริเวณลำตัวมีสีฟ้าแกมม่วง ส่วนโคนปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ด้านปลายปีกสีขาว มีหางสวยงามและยาวมาก มีสีฟ้าแกมม่วงส่วนบริเวณปลายหางมีสีขาว มีขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่น ๆ ปากสีแดง ขาสีแดงส้มและตาสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก จนยากที่จะแยกได้ออกจากการมองแค่ภายนอก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 65-68 เซนติเมตร และมีขนหางยาวมากราว 37-42 เซนติเมตร หรือ 2 ใน 3 ของความยาวจากปากถึงปลายหาง ขนหางค่อนข้างแข็ง มี 12 เส้น ซึ่งแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไป โดยมีขนหางคู่บนสุดยาวที่สุด ซึ่งยาวกว่าขนหางคู่ที่ 5 อย่างเห็นได้ชัด ปลายขนหางแต่ละเส้นมีลักษณะมน ขนหางทุกเส้นมีสีฟ้าอมม่วง แต่ปลายขนหางแต่ละเส้นเป็นแถบสีขาว และเฉพาะปลายขนหางคู่ที่ 1 ถึงคู่ที่ 5 มีแถบสีดำถัดจากแถบสีขาวด้วย ปลายขนหางคู่ที่ 6 ซึ่งเป็นคู่บนสุดโค้งลงมาเล็กน้อย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยจนถึงจีน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตามป่าละเมาะ, ป่าโปร่ง มักส่งเสียงร้องขณะที่มันเริ่มออกหากิน บางเวลาอาจลงมาหากินตามพื้นดินหรือซอกก้อนหิน ซอกไม้ผุ ๆ อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น ด้วง, ปลวก, หนอน, หอยทาก, กิ้งก่า, จิ้งจก, จิ้งเหลน, งู รวมทั้งปาด, ตะขาบ และหนู แม้แต่ไข่นกและลูกนกชนิดอื่นในรัง รวมทั้งซากสัตว์ด้วย ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะทำรังโดยนำกิ่งไม้เล็กมาขัดสานกันเป็นแอ่งตรงกลาง และรองพื้นด้วยรากไม้หรือใบไม้ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 3-6 ฟอง อยู่สูงจากพื้น 6-8 เมตร มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพราะสีสันและหางที่สวยงาม.

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกขุนแผน · ดูเพิ่มเติม »

นกตะขาบทุ่ง

นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นกนางแอ่นแม่น้ำ

นกนางแอ่นแม่น้ำ หรือ นกนางแอ่นเทียม (river martins) เป็นสกุลนกนางแอ่นในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae ที่อยู่ในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) ประกอบไปด้วย 2 สปีชีส์คือ นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidon eurystomina) ที่พบในสาธารณรัฐคองโกและประเทศกาบอง และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) ที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีขนส่วนใหญ่เป็นสีดำ บินจับแมลงกินเป็นอาหาร พวกมันดูเหมือนจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นมากกว่านกนางแอ่นชนิดอื่น อาจเดินมากกว่าเกาะคอน และนกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจหากินในเวลากลางคืน นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาทำรังบนตลิ่งทรายริมแม่น้ำโดยการขุดโพรงลงไป ส่วนแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังไม่ทราบ เมื่อมีการค้นพบนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กุสทัฟ ฮาร์ทเลาบ์ (Gustav Hartlaub) คิดว่ามันเป็นนกตะขาบและผู้แต่งหลังจากนั้นก็จัดวางมันอยู่ในวงศ์ของตนเองหรืออยู่ในวงศ์นกแอ่นพง จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับนกในวงศ์นกนางแอ่น แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างคือมีขาและเท้าแข็งแรงและมีปากอวบ สิ่งเหล่านี้แสดงว่าควรแยกมันออกเป็นวงศ์ย่อยต่างหาก นกนางแอ่นแม่น้ำทั้งสองชนิดจัดอยู่ในสกุลเดียวกันคือสกุล Pseudochelidon เพราะทั้งสองมีโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่ บรูก เสนอว่านกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรควรแยกออกเป็นสกุล Eurochelidon นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกามีการกระจายพันธุ์ในวงแคบในหลายพื้นที่แต่สถานะภาพที่แท้จริงยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค้นพบในปี..

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกนางแอ่นแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าจุด

นกเค้าจุด (อังกฤษ: Spotted owlet; ชื่อวิทยาศาสตร์: Athene brama) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะส่วนหัวกลมไม่มีขนชี้ขึ้นไปเหมือนหูอย่างนกเค้ากู่ (Otus lempiji) มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน โตเต็มที่มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซนติเมตร จัดว่าเป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ออกหากินในเวลากลางคืน โดยเริ่มออกจากรังตั้งแต่เวลาโพล้เพล้ เป็นนกที่บินได้เงียบมาก อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงปีกแข็ง, หนูขนาดเล็กหรือนกขนาดเล็กชนิดอื่นที่นอนหลับบนต้นไม้ เมื่อเห็นเหยื่อจะพุ่งตัวกางกรงเล็บอันแข็งแรงและแหลมคมออกจับเหยื่อ ถ้าเหยื่อตัวเล็กจะกินเลยทันที ถ้าตัวใหญ่ก็นำกลับมาที่รังก่อนแล้วใช้กรงเล็บจับเหยื่อขึ้นมาฉีกกินจนหมด นกเค้าจุดที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านอาจมีพฤติกรรมไล่จับแมลงที่มาเล่นไฟที่หลอดนีออน มีการกระจายพันธุ์ที่ค่อนข้างกว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อนุทวีปอินเดีย สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ที่พม่า, ไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 400 เมตร จนถึงทะเลทราย ทั้งยังปรับตัวให้อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ได้อีกด้วย โดยสามารถพบได้ตามที่ ๆ มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นหรือตามสวนสาธารณะ เป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้ดีมากชนิดหนึ่งและไม่ค่อยกลัวมนุษย์ มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน โดยรังวางไข่ของนกเค้าจุด จะใช้โพรงธรรมชาติหรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือรอยแตกรอยแยกในตึก, เจดีย์, ซอกหลังคาตามอาคารเป็นรัง อาจหาหญ้าหรือขนนกมารองพื้นรัง แต่ส่วนมากจะวางไข่กับพื้นเปล่าเลย วางไข่ครั้งละ3-5ฟอง ไข่มีลักษณะกลม ขนาด 37x27 มิลลิเมตร เปลือกไข่สีขาวเป็นมันเล็กน้อย นกทั้งสองเพศช่วยกันกกไข่ เช่นเดียวกับนกเค้าแมวชนิดอื่น ๆ นกเค้าจุดจะกกไข่ทันทีตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกในรังจึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เพราะออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยงลูกนกประมาณ 35-40วัน ลูกนกจะสามารถออกมานอกรังได้ ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อน โดยจะออกหากินในเวลากลางวัน ถ้าเหยื่อเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะส่งให้ลูกทั้งตัว ถ้าขนาดใหญ่ก็จะฉีกเป็นชิ้นเล็กให้ ลูกนกที่โตพอสมควรแล้วจะยังคงอยู่กับพ่อแม่อีกนาน บางครั้งอาจพบนกเค้าจุด 2-3ตัว อยู่บนต้นไม้เดียวกัน หรือเกาะกิ่งเบียดใกล้ชิดกันเสมอ ๆ โดยในตอนกลางวันจะเกาะกิ่งหลับอยู่บนต้นไม้ใบหนา หรือถ้ามีโพรงก็จะมุดเข้าไปหลบในโพรงเพื่อความปลอดภัย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แต่ก็เป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกเค้าจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าแคระ

นกเค้าแคระ (Collared owlet, Collared pygmy owl) เป็นนกเค้าแมวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Strigidae สามารถพบได้ในอัฟกานิสถาน, บังกลาเทศ, ภูฏาน, บรูไน, กัมพูชา, จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เนปาล, ปากีสถาน, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ คือ ป่าหนาว และจัดได้ว่าเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบในทวีปเอเชีย ที่ขนาด 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) น้ำหนัก 60 กรัม (2.1 ออนซ์) โดยจะพบบ่อยที่สุดในบริเวณป่าดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 3,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยจะพบบ่อยขึ้นที่ระดับสูงเกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป บริเวณภาคใต้และคาบสมุทรมลายู จะพบได้บ่อยมากในระดับสูง 395 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) นกเค้าแคระจัดเป็นนกเค้าแมวที่บินได้ไม่เงียบเหมือนนกเค้าแมวหรือนกแสกส่วนมาก และยังเป็นนกที่หากินในเวลากลางวัน มีรูปร่างอ้วนกลม มีขนหนานุ่มปกคลุมอย่างหนาแน่น มีสีและลวดลายที่กลมกลืนไปกับต้นไม้ บริเวณคอก็มีขนอยู่อย่างหนาแน่นทำให้ดูเหมือนหัวอยู่ติดกับตัวโดยไม่มีคอ และมีหัวที่กลมโต หน้าแบน ตากลมโตสีเหลืองอยู่ด้านหน้าของใบหน้า ปากสั้นและปากบนโค้งงุ้มแหลมลง มีขนเส้นเล็ก ๆ คล้ายหนวดแมวอยู่รอบ ๆ โคนปากทำหน้าที่เป็นเครื่องนำทาง มีปีกกว้างแต่ปลายปีกมน ขนหางยาวกว่านกเค้าแม้วชนิดอื่น ๆ มีขาสั้นแต่เข็งแรงสีเหลืองนิ้วเท้าค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง มีนิ้วตีน 4 นิ้วเวลาเกาะกิ่งจะอยู่ด้านหน้า 2 ด้านหลัง 2 นิ้ว เล็บสีดำ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน จับอาหารจำพวกสัตว์ต่าง ๆ ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, จักจั่น, ด้วง และตั๊กแตน รวมถึงนกด้วยกันชนิดอื่นที่มีขนาดเล็ก เมื่อจะล่านก นกเค้าแคระมักจะซ่อนตัวตามพุ่มไม้ ไม่เช่นนั้นแล้วจะถูกฝูงนกเล็ก ๆ เหล่านี้ไล่จิกตี แต่นกเค้าแคระก็สามารถจับเหยื่อที่มีขนาดตัวพอ ๆ กันหรือโตกว่าเล็กน้อยได้ด้วยกรงเล็บที่แข็งแรง หากจะหากินในเวลากลางคืน มักจะเป็นในคืนวันเพ็ญ ทำรังวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม โดยใช้โพรงไม้ธรรมชาติ หรือรังของนกอื่นที่ทำรังในโพรงไม้เหมือนกัน โดยโพรงอาจเป็นรังเก่า หรืออาจมาจากการแย่งชิงมาก็ได้ ในบางครั้งอาจเป็นการฆ่ากินและปล้นชิงจากนกตัวอื่นเลยก็ได้ โพรงรังที่เลือกมักอยู่สูงจากพื้นราว 2-10 เมตร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง ลูกนกจะออกจากไข่ในช่วงต้นฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์พอดีซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรอดชีวิตของลูกนก เนื่องจากแม่นกจะกกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรกทันที ในขณะเดียวกันก็จะออกไข่ใบอื่น ๆ ไปด้วย ดังนั้นในแต่ละรังลูกนกเค้าแคระจะมีอายุต่างกันพอสมควร ถ้าอาหารมีไม่พอเพียง ตัวที่ออกมาทีหลังตัวเล็กกว่าก็จะแย่งอาหารตัวอื่น ๆ ไม่ทันและตายไปในที่สุด จัดเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: อันดับด้วงและนกเค้าแคระ · ดูเพิ่มเติม »

แบดเจอร์

แบดเจอร์ (badger) เป็นชื่อสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ในอันดับสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย 4 สกุล (ดูในตาราง-แต่โดยมากแล้วจะหมายถึง แบดเจอร์ยุโรป ที่จะอยู่ในวงศ์ย่อย Melinae).

ใหม่!!: อันดับด้วงและแบดเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แบดเจอร์ยุโรป

แบดเจอร์ยุโรป หรือ แบดเจอร์ยูเรเชีย (European badger, Eurasian badger, Badger) เป็นแบดเจอร์ชนิดหนึ่ง นับเป็นแบดเจอร์ขนาดใหญ่และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี มีส่วนหัวที่เล็ก มีคอที่สั้นและหนา และมีหางที่สั้นและดวงตาขนาดเล็ก มีจุดเด่น คือ สีที่มีลักษณะเฉพาะเป็นแถบสีดำและขาวบริเวณส่วนหัว และมีขนสีขาวที่ปลายสุดของหู ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางมีขนาดยาวได้ถึง 750 มิลลิเมตร โดยมีความยาวของหางอยู่ที่ 150 มิลลิเมตร มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ระหว่าง 8-10 กิโลกรัม โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีฟันที่แหลมคมในปาก ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ลายแถบสีดำของแบดเจอร์มีทฤษฎีมากมายที่อธิบายถึงการมีอยู่ บ้างก็เชื่อว่า เพราะแบดเจอร์เป็นสัตว์ที่สายตาไม่ดี อีกทั้งหากินในเวลากลางคืน จึงช่วยในการติดต่อสื่อสารกันเพราะเป็นจุดเด่น หรือบ้างก็ว่า ช่วยในการป้องกันดวงตาเวลาต่อสู้กัน เป็นสัตว์ที่หาอาหารกินได้หลากหลายทั้งพืชและเนื้อสัตว์ โดยกินไส้เดือนดินเป็นอาหารหลัก และยังกินแมลงปีกแข็ง, ทาก, หนอนและดักแด้, หนูบ้าน, ผลไม้ และหัวของพืชหลาย ๆ ประเภท เป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะเริ่มออกหากินตั้งแต่ช่วงโพล้เพล้ แบดเจอร์อาศัยอยู่ในโพรงดินที่ขุดจากกรงเล็บตีนที่แหลมคม โดยมีตัวผู้และตัวเมียที่โตเต็มวัยหลายตัวพร้อมกับลูกเล็ก ๆ ครอกหนึ่งหรือสองครอก โดยโพรงนี้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของแบดเจอร์หลายรุ่น ในโพรงมีทางเข้า-ออกหลายทาง แบ่งออกได้เป็นหลายห้อง โดยอาจมีได้ถึง 130 ทาง มีห้องถึง 50 ห้อง และมีอุโมงค์ทางเดินที่ทอดยาวได้ถึง 800 เมตร มีการสื่อสารระหว่างกันด้วยกลิ่น ซึ่งผลิตมาจากต่อมกลิ่นใกล้ก้น ถือเป็นเอกลักษณะประจำฝูงและประจำตัว นอกจากนี้แล้วแบดเจอร์ยังมีเสียงร้องที่แตกต่างกันได้ถึง 16 แบบ ครั้งหนึ่งมีความเชื่อกันว่าเสียงร้องของแบดเจอร์เป็นลางบอกเหตุว่า มีคนกำลังจะตาย แบดเจอร์เป็นสัตว์ที่มีกิจวัตรประจำวันที่ทำซ้ำตรงเวลาในทุก ๆ วัน และเมื่อหาคู่ จะตามหาคู่ด้วยกลิ่น ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ แบดเจอร์เริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีแต่ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะถูกระงับการพัฒนาการไว้ชั่วคราวอยู่ในมดลูกจนกระทั่งถึงช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะได้รับการฝังไว้ในมดลูกและจะเจริญเติบโตต่อไปตามปกติ ทำให้ลูกแบดเจอร์ที่เกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ไม่ว่าช่วงไหนของปี จะคลอดมาพร้อม ๆ กัน หลังจากที่ไข่ซึ่งได้รับผสมพันธุ์ถูกฝังไว้ในมดลูกแล้ว ระยะเวลาการตั้งท้องจะอยู่ที่ 6-7 สัปดาห์ มีลูกได้ครอกละ 1-5 ตัว แต่ตามปกติแล้วจะอยู่ที่ 2-3 ตัว ลูกแบดเจอร์จะได้รับการเลี้ยงดูอยู่ใต้ดินเป็นเวลาถึง 8 สัปดาห์และจะเริ่มออกมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น ลูกแบดเจอร์จะหย่านมที่ช่วงเวลาประมาณ 12 สัปดาห์ แบดเจอร์ตัวเมียจะโตเต็มวัยเจริญพันธุ์หลังจาก 12–15 เดือน แต่ตัวผู้นั้นจะไม่โตเต็มวัยเจริญพันธุ์จนกระทั่งเข้าถึงช่วงอายุปีที่ 2 ในช่วงฤดูหนาวแบดเจอร์จะไม่จำศีลแต่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลง มีการแพร่กระจายพันธุ์ที่กว้างไกลในหลายส่วนของทวีปยุโรปจนถึงบางส่วนในเอเชีย เช่น ยูเรเชีย, ตะวันออกกลาง แบ่งออกได้เป็น 8 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) แบดเจอร์ ในอดีตมีการล่าเพื่อนำหนังและขนมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงการรับประทานเนื้อด้วย อีกทั้งแบดเจอร์ยังเป็นสัตว์รังควานต่อมนุษย์อีกด้วย และยังเป็นพาหะนำโรคบางอย่างสู่แก่ปศุสัตว์เช่น วัว ด้ว.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแบดเจอร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

แก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์

แก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์ (Dinosaur train) เป็นการ์ตูนสำหรับเด็กจากประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำโดย เคร็ก บาร์ทเล็ตต์ คนเดียวกันที่ผลิตเรื่อง เฮ้ อาร์โนล! ในเรื่องนี้ได้มีการเล่าเรื่องถึงที-เร็กซ์ที่ชื่อว่า บัดดี้ ที่เลี้ยงโดยครอบครัวเทอราโนดอน แล้วผจญภัยทุกยุคที่เขาอยากจะไป และเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เรื่องนี้จัดจำหน่ายโดย The Jim Henson Company ร่วมกับ Media Development Authority, Sparky Animation, FableVision และ Snee-Oosh, Inc.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแก๊งฉึกฉักไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมกโนเลีย

กุลแมกโนเลีย (magnolia) เป็นพืชดอกในวงศ์จำปีที่มีด้วยกันทั้งหมดราว 210 สปีชีส์ สกุลของพืชตั้งตามชื่อนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อปีแยร์ มาญอล (Pierre Magnol) ศูนย์กลางถิ่นฐานของแมกโนเลียอยู่ทางตอนกลางของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศูนย์กลางอีกแห่งหนึ่งอยู่ในอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง, แคริบเบียน และบางสกุลในอเมริกาใต้ แมกโนเลียเป็นสกุลไม้โบราณที่วิวัฒนาการขึ้นมาก่อนที่จะมีผึ้ง รูปทรงของดอกจึงเป็นทรงที่ล่อให้ด้วงมาช่วยผสมพันธุ์ ฉะนั้นเกสรตัวเมีย (carpel) จึงค่อนข้างแข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายจากการถูกปีนและถูกแทะโดยด้วง ซากดึกดำบรรพ์ของ Magnolia acuminata ที่พบมีอายุกว่า 20 ล้านปีและพืชที่เป็นของวงศ์จำปีมีอายุกว่า 95 ล้านปี ลักษณะอีกอย่างหนึ่งแสดงว่าเป็นพันธุ์ไม้โบราณคือการขาดลักษณะแตกต่างของกลีบเลี้ยง (sepal) หรือกลีบดอก (petal).

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมกโนเลีย · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แมลงทับ

แมลงทับ (Jewel beetle, Metallic wood-boring beetle, Buprestid) เป็นแมลงในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera) โดยจัดอยู่ในวงศ์ Buprestidae แมลงทับมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมาก หัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหนวดที่เป็นแบบใบไม้ มีลักษณะเด่น คือ มีสีสันที่สวยงามมาก หลายชนิด หลายสกุลมีสีเงางามแวววาวราวกับอัญมณี หลายชนิดเป็นสีที่หลากหลาย ทั้ง น้ำเงิน, แดง, ดำ และเหลือง จึงทำให้แมลงทับถูกมนุษย์จับนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ มานานแล้วในหลายชนชาติ แมลงทับพบในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปัจจุบันพบแล้วกว่า 15,000 ชนิด ใน 450 สกุล และที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นซากดึกดำบรรพ์กว่า 100 ชนิด บางชนิดมีความยาวถึง 77 มิลลิเมตร แมลงทับเมื่อขยายพันธุ์ จะเจาะเข้าไปวางไข่ในต้นไม้หรือวางไข่ไว้ในดินใกล้รากของไม้ที่ตัวหนอนจะกินเป็นอาหาร จึงนับเป็นแมลงศัตรูพืชอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งแมลงทับใช้เวลาในการเป็นไข่-ตัวหนอน-ดักแด้ราว 1 ปี เหมือนเช่นแมงคีมหรือด้วงกว่าง อันเป็นแมลงปีกแข็งแต่ต่างวงศ์กัน แมลงทับนับเป็นแมลงปีกแข็งที่บินได้เร็วและสูงมาก และเมื่อถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมแกล้งตาย โดยจะอยู่เฉย ๆ หรือหล่นจากต้นไม้ที่เกาะอยู่เพื่อลวงศัตรูให้เข้าใจผิดว่าตายแล้ว สำหรับแมลงทับชนิดที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ แมลงทับกลมขาเขียว (Sternocera aequisignata) พบมากในภาคกลาง และแมลงทับกลมขาแดง (S. ruficornis) พบมากในภาคอีสาน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้กินใบอ่อนของมะขามเทศเป็นอาหาร และมีสีเขียวเหลือบทองเป็นมันแวววาวทั้งคู่ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีความพยายามของทางการที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์ของแมลงทับมิให้สูญพันธุ์ และมีการนำเอาปีกแมลงทับทั้ง 2 ชนิดนี้ทำเป็นงานหัตถกรรมชนิดต่าง ๆ ในโครงการพระราชดำริ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีน.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมลงทับ · ดูเพิ่มเติม »

แมลงทับกลมขาเขียว

แมลงทับกลมขาเขียว หรือ แมลงทับบ้านขาเขียว หรือ แมลงทับเขียว เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์แมลงทับ (Buprestidae) มีมีลำตัวยาวโค้งนูน ส่วนที่เป็นปีกแข็งมีความแข็งมาก หัวมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด ปีกแข็งเป็นสีเขียวเลื่อมเหลือบทองมีความแวววาวสวยงาม มีหนวดเป็นเส้นแบบใบไม้ หัวมีขนาดใหญ่ แมลงทับกลมขาเขียว มีวงจรชีวิตยาวประมาณ 1-2 ปี โดยเป็นตัวหนอน 8-20 เดือน ในดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ในความลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร ในระยะที่ยังเป็นไข่ประมาณ 2-3 เดือน ฟองไข่มีลักษณะกลมรี สีเหลือง ระยะเป็นดักแด้จะอยู่ในปลอกดินหุ้มลำตัวประมาณ 2-3 เดือน แต่เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะมีอายุประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้น โดยจะผุดขึ้นมาจากดินในช่วงฤดูฝน ที่พื้นดินมีความชุ่มชื้น โดยจะออกหากินทันทีและผสมพันธุ์ตามเรือนยอดไม้ วางไข่ครั้งละ 12 ฟอง ซึ่งจัดว่าน้อยสำหรับแมลงปีกแข็ง จะกินอาหารจำพวก ยอดไม้ โดยเฉพาะยอดอ่อน ๆ ของพืชหลายชนิด เช่น มะขามเทศ เป็นต้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ ทั้งใน ป่าละเมาะหรือแม้แต่สวนสาธารณะหรือสวนผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง มักพบเป็นกลุ่มเล็ก ๆ นับเป็นแมลงทับ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้บ่อยและรู้จักกันดีที่สุดในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิดนั้น คือ แมลงทับกลมขาแดง (S. ruficornis)) เป็นแมลงที่มีความสวยงาม จึงถูกใช้ประโยชน์ต่าง ๆ จากปีกแข็งที่มีสีเขียวเลื่อม ด้วยการทำเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ่งสีของปีกนั้นสามารถคงทนอยู่ได้นานถึง 50 ปี.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมลงทับกลมขาเขียว · ดูเพิ่มเติม »

แมลงทับราชา

แมลงทับราชา (Jewel beetle, Metallic wood-boring beetle) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์แมลงทับ (Buprestidae) มีหนวดแบบฟันเลื่อย ลำตัวเรียวยาว ตารวมใหญ่ มีปีกสีน้ำเงินเข้มแวววาวจนถึงสีเขียว บริเวณอกมีแต้มสีแดง 2 อันอยู่ทางซ้ายและขวา ด้านหลังของปีกมีขีดสีแดงพาดยาวตั้งแต่โคนปีกไปจนถึงปลายปีก มีความยาวตั้งแต่ 1.3-1.9 นิ้ว แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย, จีน, ไทยและลาว มีวงจรชีวิตเหมือนเช่นแมลงทับทั่ว ๆ ไป สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยต่าง ๆ (ดูในตาราง).

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมลงทับราชา · ดูเพิ่มเติม »

แมลงเสือซอลต์ครีก

แมลงเสือซอลต์ครีก (Salt Creek tiger beetle) เป็นแมลงปีกแข็งหายาก พบเฉพาะบริเวณ รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา และใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการขยายตัวของเมืองลิงคอล์น.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมลงเสือซอลต์ครีก · ดูเพิ่มเติม »

แมงอีนูน

แมงอีนูน หรือ แมงกีนูน (Cockchafer) หรือ แมงนูน หรือ กุดกีนูน (อีสาน) หรือ แมงนูนหลวง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melolontha melolontha อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae มีรูปร่างอ้วนป้อมเป็นรูปไข่ หัวมันเรียบ มีหนวดแบบใบไม้ 1 คู่ที่ปาก ปากเป็นแบบปากกัด ตามีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัด ที่อกปล้องแรกเห็นชัดกว่าปล้องอื่น ๆ ปีกมี 2 คู่ คู่หน้ามีลักษณะแข็งเรียบเป็นมันมีหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มตัว ส่วนปีกคู่ที่สองนั้นบางใส ใช้สำหรับบิน ส่วนท้องอยู่ด้านล่างมีปีกที่แข็งคลุม หัว อกและขามีสีน้ำตาลไปจนถึงสีดำ ปีกที่แข็งมีสีน้ำตาลอ่อน ขนาดลำตัวยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร แมงอีนูน จัดเป็นแมลงศัตรูพืช เพราะกัดแทะใบของพืชที่เป็นพืชเศรษฐกิจ อาทิ มะขามเทศ, มะขาม, อ้อย, มันสำปะหลัง, พุทรา แมงอีนูนมีวงจรชีวิตเป็นหนอนอยู่ใต้ดินนานนับปี ก่อนจะเข้าสู่ระยะดักแด้และเป็นตัวเต็มวัยในช่วงต้นฤดูฝนของทุกปี ซึ่งจะพบแมงอีนูนเป็นจำนวนมากในเวลานี้ แมงอีนูนจัดเป็นอาหารรับประทานในวิถีชีวิตของชาวเหนือและชาวอีสาน อีกทั้งยังเป็นการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการจับแมงอีนูนจะกระทำในช่วงหัวค่ำ ใช้แสงไฟจากนีออนเป็นตัวล่อ หรือเขย่าจากต้นไม้ที่มีแมงอีนูนจำนวนอาศัยอยู่ก็จะหล่นลงมาให้จับได้ง่าย ๆ ซึ่งการปรุงแมงอีนูนทำได้ทั้งวิธีการต้มและทอด ในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดกำแพงเพชร มีการค้าขายกันเป็นล่ำเป็นสันด้ว.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมงอีนูน · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีม

แมงคีม หรือ ด้วงเขี้ยวกาง หรือ ด้วงคีม (Stag beetle) เป็นแมลงปีกแข็งในวงศ์ Lucanidae ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) พบประมาณ 1,200 ชนิด แมงคีมมีลักษณะเด่นคือ ในตัวผู้จะมีขากรรไกรล่างที่มีขนาดใหญ่และกางเข้าออกได้เหมือนคีมหรือกรรไกรอันเป็นที่มาของชื่อเรียก ซึ่งใช้สำหรับเป็นอาวุธในการต่อสู้กันและแย่งตัวเมียเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดและขากรรไกรเล็กกว่า มีสีลำตัวที่อ่อนกว่า แมงคีมมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 12 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิดที่ขนาดเล็กมีความยาวเพียง 5 เซนติเมตรเท่านั้น มีลำตัวโดยรวมค่อนข้างแบน มีหนวดแบบหักเหมือนข้อศอก โดยมีปล้องแรกยาวและปล้องต่อ ๆ ไปเป็นปล้องสั้น ๆ เรียงตัวกันในทิศทางเดียวกันแต่เป็นคนละทิศกับหนวดปล้องแรก ปล้องใกล้ส่วนปลายมีหลายปล้องที่ขยายใหญ่ขึ้นเป็นปมอาจจะประกอบไปด้วยปล้องเล็ก ๆ 3-4 ปล้อง หรือ 5-6 ปล้อง ซึ่งจำนวนปล้องที่ปลายหนวดนี้มีส่วนสำคัญในการอนุกรมวิธานด้วย แมงคีมวางไข่และตัวหนอนเจริญเติบโตในซากไม้ผุเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae แต่จะไม่วางไข่ในดิน เพราะระยะเป็นตัวหนอนจะกินอาหารจำพวกไม้ผุหรือเห็ดราที่ติดมากับไม้เหล่านั้น แตกต่างกันไปตามชนิดหรือสกุล โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวเต็มวัยนานเป็นแรมปีเหมือนกัน แมงคีมพบได้ทั่วโลก ปกติเป็นแมลงที่ไม่ก้าวร้าวต่อมนุษย์ ในประเทศไทยสามารถพบได้หลายชนิด อาทิ แมงคีมยีราฟ (Prosopocoilus giraffa) ซึ่งเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ มีที่มีขนาดพอ ๆ กับนิ้วมือมนุษย์ พบได้ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งในภาคเหนือและภาคตะวันออก เป็นชนิดที่หายากใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว และมีรายชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ด้วย แมงคีมนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงใช้สำหรับต่อสู้กันเช่นเดียวกับแมลงปีกแข็งในวงศ์ Dynastinae ซึ่งอาจจะใช้ต่อสู้ด้วยกันก็ได้ และเป็นที่นิยมสะสมของนักสะสมแมลง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมงคีม · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีมยีราฟ

แมงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมยีราฟ หรือ ด้วงคีมหยักสองต่อ (Giraffe stag beetle) เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prosopocoilus giraffa จัดอยู่ในวงศ์แมงคีม (Lucanidae) แมงคีมยีราฟจัดเป็นแมงคีมชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจุดเด่น คือ เขี้ยวหรือขากรรไกรล่างที่ใช้เป็นอาวุธของตัวผู้ที่เรียวยาวและแลดูแข็งแรงมาก โดยอาจยาวได้ถึง 2.5-4.0 เซนติเมตร ในขณะที่ลำตัวมีความยาวทั้งหมดประมาณ 10.5 เซนติเมตรในตัวผู้ และ 7.5 เซนติเมตรในตัวเมีย ลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำเป็นเงามัน บริเวณตรงกลางส่วนอกของขาคู่กลาง และขาคู่หลังมีหนามข้างละ 1 อัน แต่ที่ขาคู่หลังจะมีขนาดเล็กกว่า ที่ฐานของขากรรไกรล่างมีปุ่มขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ข้างละ 1 อัน และมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ ส่วนหัวบริเวณขอบตรงกลางด้านบนจะมีปุ่มยื่นตรงไปด้านหน้า 1 คู่ ในขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามาก โดยที่ขากรรไกรในตัวผู้จะมีลักษณะแตกต่างออกไปตามช่วงวัยและขนาดลำตัว ซึ่งยิ่งเจริญเติบโตมากและมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด คีมหรือขากรรไกรนั้นก็จะยาวใหญ่และมีส่วนโค้งและมีปุ่มเหมือนเขี้ยวมากขึ้นด้วย แมงคีมยีราฟพบกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งของหลายประเทศในทวีปเอเชียจนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในป่าทางภาคเหนือและภาคตะวันออก (มีทั้งหมด 9 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) เป็นแมลงที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินยางไม้ตามเปลือกไม้ของต้นไม้ใหญ่ในป่า ตัวผู้มีพฤติกรรมใช้ขากรรไกรที่ยาวใหญ่นั้นต่อสู้เพื่อป้องกันตัว และสู้กับตัวผู้ตัวอื่น ๆ เพื่อแย่งตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ หรือแม้แต่สู้กับด้วงในวงศ์ Dynastinae ที่ใช้เขาเพื่อการต่อสู้ได้ด้วยเช่นกัน ในระยะที่เป็นตัวหนอน อายุการเป็นตัวหนอนของแมงคีมยีราฟจะแตกต่างออกไปตามเพศ ตัวผู้จะมีอายุราว 9 เดือน ขณะที่ตัวเมียมีอายุสั้นกว่าคือ 4-7 เดือน และตัวหนอนสามารถส่งเสียงขู่ผู้รุกรานได้ด้วย ด้วยการยกขาคู่หลังตั้งขึ้นให้ด้านข้างซึ่งเป็นแผ่นแข็งเสียดสีกับขาคู่กลางไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดการสั่นจนมีเสียงพอรับรู้ได้ สำหรับสถานะในประเทศไทย เป็นแมลงที่หาได้ยากใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยงและสตัฟฟ์เพื่อการสะสม และการทำลายป่าที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ทำให้แมงคีมยีราฟถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และเคยมีภาพปรากฏลงในสลากกินแบ่งรัฐบาลและแสตมป์ด้วยแต่ขณะนี้ได้มีความพยายามจากภาคเอกชนในการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงแล้ว ซึ่งแมงคีมยีราฟจะวางไข่ไว้ในไม้ผุเท่านั้น โดยจะไม่วางไข่ไว้ในดินเหมือนด้วงในวงศ์ Dynastinae เพราะตัวหนอนกินอาหารต่างกัน โดยจะกินไม้ผุและเห็ดราที่ติดมากับไม้นั้นด้ว.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมงคีมยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

แมงคีมละมั่งเหลือง

แมงคีมละมั่งเหลือง หรือ ด้วงคีมละมั่งเหลือง เป็นแมงคีมชนิดหนึ่ง มีรูปร่างทั่วไปเหมือนแมงคีมละมั่งดำเขาใหญ่ (H. nigritus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีปีกนอกที่เป็นปีกแข็งเป็นสีเหลืองประมาณ 2 ใน 3 จากส่วนปลายปีก ยกเว้นขอบเส้นปีกตรงกลางเป็นสีดำ ตัวเมียมีสีดำและมีบริเวณส่วนไหล่ค่อนข้างกลม ปลายหนวดมีปล้อง 4-5 ปล้อง โดยถือเป็นชนิดต้นแบบของสกุลนี้ด้วย พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย, พม่า, มาเลเซีย และประเทศไทย ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ตัวผู้มีขนาดความยาวประมาณ 43-80 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวเมียประมาณ 98-39 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์โวยการวางไข่ในขอนไม้ ตัวหนอนจะกินไม้ผุซึ่งเจริญเติบโตได้ดี มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว โดยอาจเพาะเลี้ยงในขวดสุราแบบแบนก็ได้ โดยใส่ขี้เลื่อยและเศษไม้ผุลงไป.

ใหม่!!: อันดับด้วงและแมงคีมละมั่งเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

แร็กคูน

แร็กคูน (raccoon, common raccoon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyon lotor อยู่ในวงศ์แร็กคูน (Procyonidae) มีความยาวลำตัวราว 2 ฟุต มีหางเป็นพวงมีแถบสีดำคาดเป็นปล้อง ๆ ยาวราว 10 นิ้ว ขนตามลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ใบหน้าสีขาวมีแถบสีดำคาดจากตาไปเป็นแถบตลอดแก้ม แลดูคล้ายเหมือนโจรสวมหน้ากาก เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลางในหลายพื้นที่ ทั้งในป่า หรือแม้แต่ชุมชนของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเนื้อสัตว์และพืช อีกทั้งยังชอบที่จะอยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการจับสัตว์น้ำกินเป็นอาหาร เช่น กบ, ปลา, กุ้ง และปู หรือเต่าขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งนกหรือแมลงปีกแข็งขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ด้วย แต่ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้ จะใช้วิธีการจับในน้ำตื้น ๆ ที่ขาหยั่งถึงแทน ในช่วงฤดูแล้งที่อาหารขนาดแคลนก็จะกินลูกไม้, ผลไม้ และดอกข้าวโพด เป็นอาหาร หรืออาจจะบุกเข้าไปในบ้านเรือนของมนุษย์ ขุดคุ้ยหาขยะหรือเศษอาหาร หรือแม้กระทั่งเปิดตู้เย็นหากิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ใช้เท้าหน้าได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนมือสำหรับหยิบจับอาหาร ซึ่งสามารถกระทำได้ถึงขนาดคลายปมเชือก และยังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมพิเศษ คือ ก่อนจะกินอาหาร มักจะนำไปล้างน้ำเสียก่อน จนมีความเชื่อว่าเป็นสัตว์รักสะอาด แต่ความจริงแล้ว เป็นพฤติกรรมที่จะนวดอาหารให้นิ่มซะก่อน ก่อนที่จะกิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้เก่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ ในเวลากลางวันจะนอนขดอยู่ตามพงไม้ หรือซอกหิน หรือนอนผึ่งแดดอยู่ในรัง ในตอนกลางคืนจะออกหากิน โดยใช้เส้นทางเดิม และมักจะใช้เส้นทางที่เป็นพื้นแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดรอยเท้า ตัวเมียออกลูกครั้งละ 4-6 ตัว ในโพรงไม้ ในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกและอาหารขาดแคลน แร็กคูนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการจำศีลตลอดฤดูกาล แร็กคูน เป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก จึงมีผู้นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง อีกทั้งขนและหนังมีความหนานุ่มและสีสวย จึงมีการล่าเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ด้วย ปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยแร็กคูนถูกนำเข้าไปในเยอรมนีครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับด้วงและแร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

ไกอาเมมโมรี่

กอาเมมโมรี่ คือ ชื่ออุปกรณ์ที่ปรากฏในเรื่องมาสค์ไรเดอร์ดับเบิล.

ใหม่!!: อันดับด้วงและไกอาเมมโมรี่ · ดูเพิ่มเติม »

เมกาซีลลีน กูชา

มกาซีลลีน กูชา เป็นสายพันธ์ของด้วง ในวงศ์เครามบาซีเด มันถูกอธิบายโดยมาร์ตินส์ และกาลิเลโอในปี..

ใหม่!!: อันดับด้วงและเมกาซีลลีน กูชา · ดูเพิ่มเติม »

เฮดจ์ฮอกยุโรป

อกยุโรป หรือ เม่นแคระยุโรป (European hedgehog, Common hedgehog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) เป็นเฮดจ์ฮอกที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 18-30 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 1.7-5 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 600-800 กรัม มีขนแข็งปกติและยาวมีขนปกคลุมหนามากกว่า 3 เซนติเมตร ขนที่ใต้ท้องเป็นขนอ่อนสีเทา ส่วนที่เป็นขนแข็งสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน พบพระจายพันธุ์ในยุโรปตะวันออก, ตะวันตก, ยุโรปใต้ และบางส่วนในรัสเซีย กินอาหารได้หลากหลายทั้งแมลง, ไส้เดือนดิน, ไข่นก, แมลงปีกแข็ง รวมทั้งหนูหรือกบด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยและทำรังในโพรงดินที่ขุดเอง นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: อันดับด้วงและเฮดจ์ฮอกยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

เดทลี่ บีเทิล สแตนด์

ทลี่ บีเทิล สแตนด์ หรือ สการับ สแตนด์ เป็นตัวละครในเซนต์เซย่าภาคเจ้านรกฮาเดส เป็น 1 ใน 108 สเป็คเตอร์ มีบทบาทเพียงสั้นนิดเดียว.

ใหม่!!: อันดับด้วงและเดทลี่ บีเทิล สแตนด์ · ดูเพิ่มเติม »

Pachysticus jenisi

Pachysticus jenisi เป็นสายพันธุ์ของแมลงปีกแข็ง อยู่ในวงศ์ Cerambycidae ซึ่งได้รับการอธิบายโดย Vives ในปี..

ใหม่!!: อันดับด้วงและPachysticus jenisi · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

BeetleColeopteraอันดับแมลงปีกแข็งด้วงแมลงปีกแข็ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »