โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับกุหลาบ

ดัชนี อันดับกุหลาบ

อันดับกุหลาบ หรือ Rosales เป็นอันดับของพืชมีดอกPeter F. Stevens (2001 onwards).

77 ความสัมพันธ์: บันยันชินชี่บ๊วย (Rosaceae)พลัมพลัมยุโรปพวงร้อยพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงคู่แท้พุทราอินเดียพุทราจีนกระเชากัญชากำลังเสือโคร่ง (อีสาน)กุหลาบกุหลาบญี่ปุ่นกุหลาบมอญกุหลาบควีนสิริกิติ์มะหลอดมะจอเต๊ะมะเดื่อมะเดื่อชุมพรมะเดื่อฟาโรห์มะเดื่อหว้ามะเดื่อหอมมะเดื่อปล้องมารังม้ากระทืบโรงรางแดงลูพินวงศ์พุทราวงศ์กะลังตังช้างวงศ์กัญชาวงศ์กุหลาบวงศ์มะหลอดวงศ์ขนุนสกุลพรุนสกุลกัญชาสกุลขนุนสกุลป่านรามีสกุลโพสะแลสาลี่ (ผลไม้)สาเก (พรรณไม้)สตรอว์เบอร์รีหม่อนหาดรุมหนามไข่กุ้งอัลมอนด์อันดับกระทืบยอดผักหวานทะเล...ผักเลือดจำปาดะท้อขนุนต้นไม้พ่นควันปอสาป่านรามีนางพญาเสือโคร่งแบล็กเบอร์รีแพร์แกแลแก้งขี้พระร่วงแอปเปิลโพโพธิ์ขี้นกโรสิดโลควอทไกรไทรย้อยใบทู่ไทรย้อยใบแหลมไทรทองเชอร์รีเล็บเหยี่ยวเอพริคอตเดื่อผาเดื่อปล้องหินเครือปรอกช้าง ขยายดัชนี (27 มากกว่า) »

บันยัน

ันยัน (Banyan, Banyan tree, Banian) เป็นสกุลย่อยของไม้ในสกุล Ficus โดยจัดอยู่ในสกุลย่อย Urostigma ในวงศ์ Moraceae (โดยปกติแล้วจะหมายถึง ไกร (F. benghalensis)) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติอินเดีย ลักษณะส่วนใหญ่ของไม้ในสกุลย่อยนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศ ไม่มีรากตามข้อ ดอกแยกเพศร่วมต้น แผ่นใบด้านล่างมีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ 1 ต่อมฟิกส์เกลี้ยง ออกเป็นคู่หรือออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบหรือตามกิ่ง พบน้อยออกตามลำต้น ใบประดับที่โคน 2-3 ใบ ไม่มีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดมีใบประดับ 2-5 ใบ ปิดด้านบน ดอกเพศผู้เรียงกระจัดกระจายระหว่างดอกเพศเมีย หรืออยู่ใกล้ช่องเปิด กลีบรวม 3-5 กลีบ เกสรเพศผู้ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียส่วนมากมี 1 อัน มีหลากหลายชนิด พบในประเทศไทยประมาณ 45 ชนิด นอกจากไกรแล้ว อาทิ ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamin), โพ (F. religiosa), ไทรย้อยใบทู่ (F. microcarpa) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและบันยัน · ดูเพิ่มเติม »

ชินชี่

นชี่หรือดันรอกหรือน้าม เป็นพืชในวงศ์ Rhamnaceae เป็นไม้เลื้อยมีหนามโค้งงอจำนวนมาก ผลรูปไข่หรือกลม มีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ำตาลเล็กน้อย ผลมีรสหวาน รับประทานได้ กระจายพันธุ์ในเกาะสุมาตรา คาบสมุทรมลายูและไท.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและชินชี่ · ดูเพิ่มเติม »

บ๊วย (Rosaceae)

วย (Chinese plum, Japanese apricot; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus mume) เป็นผลไม้ที่อยู่ในสกุล Prunus มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และพบในไต้หวัน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม และลาว ในประเทศไทยนิยมปลูกบริเวณภาคเหนือของไทย เช่น ดอยอ่างขาง ในโครงการหลวง โดยนำพันธุ์มาจากไต้หวันและญี่ปุ่น ใบขนาดเล็ก สีเขียวอมเทา ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกมีกลิ่นหอม สีขาวหรือชมพู ผลเล็ก ทรงกลม เมื่ออ่อน ผลสีเขียว เมื่อสุกสีเหลิอง เนื้อนิ่ม รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแข็ง.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและบ๊วย (Rosaceae) · ดูเพิ่มเติม »

พลัม

ลัม หรือ ไหน เป็นไม้ผลที่มีผลแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง อยู่ในสกุล Prunus สกุลย่อย Prunus ซึ่งเป็นสกุลย่อยที่ต่างจากสกุลย่อยอื่นๆ (ลูกท้อ, เชอร์รี่, อื่นๆ) ตรงหน่อมีตายอดและตาข้างเดี่ยว (ไม่เป็นกลุ่ม) ดอกออกเป็นกลุ่ม 1-5 ดอกบนก้านสั้นๆ ผลมีร่องยาวด้านข้าง และเมล็ดเรียบ เมื่อผลโตเต็มที่มีมีนวลสีขาวปกคลุม สามารถถูกออกได้ง่าย สารเคลือบนั้นรู้จักกันดีในชื่อ "wax bloom" เมื่อสุกเปลือกสีม่วงอมดำ เนื้อสีเหลือง รสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและพลัม · ดูเพิ่มเติม »

พลัมยุโรป

ลัมยุโรป (Prunus domestica บางครั้งเป็น Prunus × domestica) เป็นพืชในสกุล Prunus ที่มีหลากหลายพันธุ์ บ่อยครั้งมักเรียกว่า "พลัม"เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและพลัมยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

พวงร้อย

วงร้อยเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและพวงร้อย · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและพืชใบเลี้ยงคู่ · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่แท้

ืชใบเลี้ยงคู่แท้ หรือ Eudicots, Eudicotidae หรือ Eudicotyledons เป็นกลุ่มทางไฟโลเจนเติกของพืชมีดอก บางครั้งเรียกว่าพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่แมกโนลิด คำนี้กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและพืชใบเลี้ยงคู่แท้ · ดูเพิ่มเติม »

พุทราอินเดีย

ทราอินเดีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ziziphus mauritiana Lam.) หรือ เบอร์ (ber) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhamnaceae มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอินเดี.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและพุทราอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

พุทราจีน

พุทราจีนแห้ง พุทราจีน (jujube; พันธุ์ที่มีเปลือกสีน้ำตาลเข้มเรียก red date; Chinese date) ภาคอีสานเรียก บักทันหรือหมากกะทัน ภาคเหนือเรียกมะตัน มะตันหลวง นางต้มต้น ภาษาจีนเรียก เป้กเลี้ยบ อินเดียเรียก เบอร์.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและพุทราจีน · ดูเพิ่มเติม »

กระเชา

กระเชา เป็นชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia ในวงศ์ Ulmaceae สูง 15-30 เมตร ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งบนที่ราบหรือตามเชิงเขาที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก พบในอินเดีย พม่า ไทย และภูมิภาคอินโดจีน กระเชาเป็นไม้ที่โตเร็วและทนไฟป่าได้ดี เนื้อไม้สดมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนักมากนัก ทำเครื่องเรือน เครื่องกลึง แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและกระเชา · ดูเพิ่มเติม »

กัญชา

กัญชา หรือในภาษาไทยเรียกว่า ปุ๊น หรือเนื้อ เป็นชื่อของพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งใช้สูบมีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่านและทอผ้.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและกัญชา · ดูเพิ่มเติม »

กำลังเสือโคร่ง (อีสาน)

กำลังเสือโคร่ง เป็นพืชที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรียกกำลังเสือโคร่ง อยู่ในวงศ์พุทรา เป็นพืชคนละชนิดกับกำลังเสือโคร่งในตำรายาไทยภาคกลางซึ่งที่เป็นไม้ประจำจังหวัดน่าน พืชชนิดนี้ใช้เป็นยาได้เช่นกัน เป็นไม้พุ่ม มีหนามแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ดอกสีเขียวอ่อน ผลเมล็ดเดียวแข็ง รูปกลม.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและกำลังเสือโคร่ง (อีสาน) · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบ

กุหลาบ (rose) คือดอกไม้ในสกุล Rosa ในวงศ์ Rosaceae ที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย ผู้คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน, ประดับตกแต่งบ้าน, ประดับสถานที่, ปลูกเพื่อการพาณิชย์ อาทิ เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบญี่ปุ่น

กุหลาบญี่ปุ่น เป็นสปีชีส์หนึ่งของตระกูลกุหลาบ มีถิ่นกำเนิดบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย ในพื้นที่ของประเทศจีน, เกาหลี และ ญี่ปุ่น ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดฮกไกโด โดยมักจะเติบโตอยู่ตามชายฝั่งหรือเนินทราย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรจะสับสนกับ Rosa multiflora ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่มีอีกฉายาว่า "กุหลาบญี่ปุ่น".

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและกุหลาบญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ หรือ ยี่สุ่นเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและกุหลาบมอญ · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบควีนสิริกิติ์

กุหลาบควีนสิริกิติ์ (Queen Sirikit Rose) เป็นกุหลาบดอกใหญ่สีเหลือง เมื่อต้องแสงอาทิตย์ปลายกลีบจะมีสีส้ม ดอกมีกลิ่นหอม บางครั้งกิ่งหนึ่งอาจมีถึง 3 ดอก นายอองเดร อองดริก ผู้อำนวยการไร่กุหลาบกร็องด์ โรเซอเร ดู วาล เดอ ลัวร์ (Grandes Roseraies Du Val de Loire) แห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ในฝรั่งเศส เป็นผู้ตั้งชื่อดอกกุหลาบชนิดนี้ ตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2514 ในเอกสารของไร่บันทึกเรื่องราวไว้ว่า "พระราชินีแห่งประเทศไทย ทรงพระสิริโฉมเป็นเสน่ห์แบบตะวันออกเหนือตะวันตก".

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและกุหลาบควีนสิริกิติ์ · ดูเพิ่มเติม »

มะหลอด

มะหลอด จังหวัดราชบุรีเรียกสลอดเถา ภาคใต้เรียกส้มหลอด เป็นไม้ผลในวงศ์ Elaeagnaceae ในไทยพบมากทางภาคเหนือ เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีเกล็ดละเอียดสีเทาหรือสีเงินอยู่ทั่วไป แผ่นใบสีเขียว ด้านล่างสีน้ำตาล มีเกล็ดเงินติดอยู่ ดอกออกเป็นช่อกระจุก ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน ผลทรงรีหรือรูปไข่ เมื่ออ่อนสีเขียว มีจุดสีขาวหรือสีเงินบนผล เมื่อสุกสีแดงหรือส้มแดง มีสองชนิดคือ ชนิดเปรี้ยว ผลใหญ่ สุกเป็นสีเหลืองส้ม มีรสเปรี้ยว และชนิดหวาน ผลเล็กกว่า สีอ่อนกว่า รสหวานอมฝาด เมล็ดสีน้ำตาลเป็นพู มะหลอดชนิดเปรี้ยวนิยมบริโภคสดเป็นผลไม้ การนำไปแปรรูปมีน้อย ทางภาคเหนือนำไปทำส้มตำ นอกจากนั้น ยังมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ยาระบาย แก้ท้องผูก เถาใช้แก้ไข้พิษ เปลือกต้นช่วยขับเสมหะ ดอกใช้แก้ริดสีดวงจมูก แก้ปวดศีรษะ และใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นใช้ทำยาแก้ปวด แก้นิ่วได้ ไฟล์:Gardenology.org-IMG 8011 qsbg11mar.jpg ไฟล์:Gardenology.org-IMG 8012 qsbg11mar.jpg ไฟล์:Gardenology.org-IMG 8015 qsbg11mar.jpg.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะหลอด · ดูเพิ่มเติม »

มะจอเต๊ะ

วามหมายอื่น ดูที่: สาลิกาลิ้นทอง มะจอเต๊ะ หรือ ไทรไข่มุก หรือ สาริกาลิ้นทอง เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ไทร (Moraceae) โดยที่ชื่อ "มะจอเต๊ะ" เป็นภาษายาวี ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไท.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะจอเต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อ

มะเดื่อ หรือ มะเดื่อฝรั่ง หรือ มะเดื่อญี่ปุ่น เป็นไม้ยืนต้นที่แยกดอกแยกต้นเจริญได้ดีในที่สูงถึง 6 เมตร หรือ 19 ฟุต อยู่ในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เป็นพืชพื้นเมืองในแถบตะวันออกกลาง เป็นพืชคนละชนิดกับมะเดื่ออุทุมพรหรือมะเดื่อชุมพร (F. racemosa) ที่เป็นไม้พื้นเมืองในอินเดียและศรีลังกา มะเดื่อเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเป็นปุ่มแตกกิ่งก้านออก ใบเดี่ยว ด้านหนึ่งหยาบ อีกด้านหนึ่งมีขนอ่อน ลำต้นมียางสีขาว ผลออกเป็นกระจุก กลมแป้นหรือรูปไข่ เปลือกบาง ผลอ่อนสีเขียว พอสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แดงหรือชมพูแล้วแต่พันธุ์ เนื้อในสีแดงเข้ม สุกแล้วมีกลิ่นหอม การปลูกเป็นการค้าเริ่มที่เอเชียตะวันตก แล้วจึงแพร่หลายสู่ซีเรีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะเดื่อ · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อชุมพร

มะเดื่อชุมพร หรือ มะเดื่ออุทุมพร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ Moraceae ลำต้นตรงสูงเต็มที่ 20 เมตร เปลือกต้นสีเทา มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลีย และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานและเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชุมพร.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะเดื่อชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อฟาโรห์

มะเดื่อฟาโรห์ หรือ มะเดื่อไซคามอร์ เป็นพืชในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลรับประทานได้ ชาวอียิปต์นิยมนำไปหมักทำสุรา ผลเป็นอาหารสัตว์หลายชนิด ยางใช้รักษาหูด เนื้อไม้เบา ไม่ผุพังเมื่อแช่น้ำ นิยมใช้ทำกังหันวิดน้ำ กรุขอบบ่อบาดาล ใช้สร้างสุสาน เฟอร์นิเจอร์ ประตู และใช้ทำขื่อในโบสถ์วิหารและสุเหร่า ผลมีความหวานใช้ปรุงรสหวานในอาหารได้.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะเดื่อฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อหว้า

มะเดื่อหว้า ภาษากะเหรี่ยงเรียก เตอะกี เป็นไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยว เนื้อใบเหนียวหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอกช่อแบบดอกมะเดื่อ ออกเป็นกระจุกตามลำต้นหรือกิ่งขนาดใหญ่ สีเขียว เมื่อสุกสีแดงหรือสีส้มอมแดง ผิวเกลี้ยงหรือมีขนสั้น ดอกไม่สมบูรณ์เพศ แยกเพศแยกต้น ชาวกะเหรี่ยงนำผลดิบไปลวก ผลสุกกินสดกับน้ำพริก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะเดื่อหว้า · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อหอม

มะเดื่อหอมหรือมะเดื่อขน ภาษากะเหรี่ยงเรียก ซาโปล่แปล่ะ หรือซาหวีโซ หรือโป่แประสะ เป็นไม้พุ่ม กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนยาวปกคลุมหนาแน่น ผิวใบมีขนยาวปกคลุมหนาแน่น ดอกแยกเพศแยกต้น ช่อดอกแบบดอกมะเดื่อ มีขนยาวปกคลุม สุกเป็นสีส้มหรือสีน้ำตาล ผลสุก รับประทานได้ รสหวาน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะเดื่อหอม · ดูเพิ่มเติม »

มะเดื่อปล้อง

ผล มะเดื่อปล้อง หรือ เดื่อสาย ตะเออน่า เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae กระจายพันธุ์ในเอเชียจนถึงออสเตรเลียลำต้นเรียบมียางสีขาวข้นเหนียว ใบเดี่ยว ผิวใบจับแล้วสากมือ ดอกช่อ ดอกย่อยเจริญบนฐานรองดอก ดอกมีสามแบบคือดอกสมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย ผลเดี่ยวอยู่ภายในฐานรองดอก สีเขียว มียางสีขาว เมื่อแก่แล้ว ฐานรองดอกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม ใบต้มน้ำดื่ม รักษาไข้ ปัสสาวะเป็นเลือด รากและลำต้นตัมน้ำดื่ม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้หวัด รากและเปลือกต้นใช้ตำแก้ฝี แก้ผื่นคันตามผิวหนัง.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมะเดื่อปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

มารัง

ใบและผล ผลสุกในฟิลิปปินส์ มารัง (marang) ชื่ออื่นๆได้แก่ johey oak, เปอดาไลเขียว มาดัง ตารับ เตอรับ หรือตีมาดัง เป็นพืชพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว เกาะปาลาวัน และเกาะมินดาเนา ในฟิลิปปินส์พบกระจายพันธุ์ในมินโดโร เกาะมินดาเนา บาซิลัน และคาบสมุทรซูลู ในเกาะบอร์เนียว พบเป็นพืชป่ามีลักษณะใกล้เคียงกับ ขนุน จำปาดะและ สาเก ผลของมารังขนาดใหญ่เนื้อรสหวาน รับประทานได้ โดยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่เมื่อสุก เนื้อภายในผลคล้ายขนุน แต่ยวงใหญ่กว่าและเป็นสีขาว รับประทานสด หรือใช้ทำเค้ก แต่ต้องรับประทานทันทีหลังจากผ่าเพราะจะเสียรสชาติและเกิดสีดำเร็วมาก เมล็ดรับประทานได้ โดยนำไปต้มหรืออบ ผลอ่อนต้มในกะทิรับประทาน ใช้เป็นผัก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและมารัง · ดูเพิ่มเติม »

ม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง (Wall) เป็นไม้ในวงศ์ MORACEAE มีชื่อท้องถิ่นอื่นว่า เช่น เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤๅษี เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้ายล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและม้ากระทืบโรง · ดูเพิ่มเติม »

รางแดง

รางแดง อยู่ในวงศ์ Rhamnaceae เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง เถาที่มีอายุมาก มักมีรอยแตกตามยาว กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเขียวแกมเหลืองอ่อน ผลแห้ง ไม่แตก ใบปิ้งไฟให้กรอบ ชงน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาว.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและรางแดง · ดูเพิ่มเติม »

ลูพิน

''Lupinus polyphyllus '' ลูพิน (Lupin หรือ lupine) เป็นพืชดอกที่อยู่ในสกุลลูพินนัส (Lupinus) ในวงศ์ถั่วที่มีด้วยกันทั้งหมดราว 200 ถึง 600 สปีชีส์ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูล มีศูนย์กลางอยู่ในอเมริกาใต้, ทางตะวันตกของอเมริกาเหนือ, บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน และ แอฟริกา ลูพินส่วนใหญ่เป็นพืชยืนต้นสูงราว 0.3 ถึง 1.5 เมตร แต่บางชนิตก็เป็นพืชปีเดียว และบางชนิดก็เป็นไม้พุ่มที่สูงถึง 3 เมตร (ลูพินพุ่ม) และมีอยู่สปีชีส์หนึ่งจากเม็กซิโกที่สูงถึง 8 เมตรและมีลำต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเด่นที่จำได้ง่ายสีเขียวออกไปทางเขียวอมเทาเล็กน้อย บางสปีชีส์ก็มีขนหนาสีเงินบนใบ ใบมีลักษณะเหมือนใบปาล์มที่แยกออกเป็น 5 ถึง 28 แฉก แต่บางสปีชีส์ก็ไม่มีแฉกเช่นที่พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ทรงดอกเหมือนข้าวโพดที่เป็นดอกเหมือนดอกถั่วกระจายออกไปรอบแกนกลางแต่ละดอกก็ยาวราว 1 ถึง 2 เซนติเมตร เมล็ดออกจากฝักแต่ละฝักก็มีหลายเมล็ด ลูพินก็เช่นเดียวกับพืชวงศ์ถั่วอื่นๆ ที่สามารถเปลี่ยนไนโตรเจนจากบรรยากาศให้เป็นไนโตรเจนให้เป็นแอมโมเนียได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มปุ๋ยให้แก่พืชอื่นสกุลลูพินนัสมีไรโซเบียมแบบที่เรียกว่า Bradyrhizobium ลูพินเป็นทั้งดอกไม้ป่าและไม้บ้าน โครงสร้างของพุ่มและดอกมีลักษณะเด่นเหมาะแก่การปลูกตกแต่งสวน สีก็มีแทบทุกสีที่รวมทั้งเหลือง ชมพู แดง ม่วงน้ำเงิน ม่วงแดง และขาว.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและลูพิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พุทรา

วงศ์พุทรา หรือ Rhamnaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น มีที่เป็นไม้พุ่มและไม้เลื้อย ประกอบด้วย 50-60 สกุล และประมาณ 870-900 สปีชีส์ กระจายพันธุ์ทั่วโลก พบมากในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและวงศ์พุทรา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กะลังตังช้าง

วงศ์กะลังตังช้าง หรือ Urticaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอก ชื่อของวงศ์นี้ตั้งตามสกุล Urtica มีสมาชิกทั้งสิ้น 2600 สปีชีส์ ประกอบด้วย 54 - 79 สกุล geสกุลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ Pilea (500 to 715 สปีชีส์) รองลงมาคือ Elatostema (300 สปีชีส์), Urtica (80สปีชีส์) และ Cecropia (75 สปีชีส์) กระจายพันธุ์ทั่วโลก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและวงศ์กะลังตังช้าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กัญชา

วงศ์กัญชา หรือ Cannabaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกขนาดเล็ก ประกอบด้วย 170 สปีชีส์ จาก 11 สกุล ได้แก่ Cannabis (กัญชา), Humulus (ฮอบส์) และ Celtis (hackberries).

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและวงศ์กัญชา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กุหลาบ

Rosaceae หรือ วงศ์กุหลาบ เป็นวงศ์ของพืช มีประมาณ 3000 ชนิด ใน 100 สกุล ชื่อวงศ์มาจากสกุล Rosa สกุลใหญ่สุดคือ Sorbus, Crataegus และ Cotoneaster.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและวงศ์กุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์มะหลอด

วงศ์มะหลอด หรือ วงศ์สลอดเถา หรือ Elaeagnaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Rosales ประกอบด้วยไม้พุ่มและไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พบในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือไปจนถึงเขตร้อนของเอเชียและออสเตรเลีย ประกอบด้วยสมาชิก 45-50 สปีชีส์ในสามสกุล พืชเหล่านี้มักมีหนาม ใบมีขนหรือเกล็ดขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นพืชทนแล้ง และหลายชนิดเป็นพืชทนเค็ม พืชในวงศ์นี้มักมีแบคทีเรียสกุล Frankia อยู่ในราก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและวงศ์มะหลอด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ขนุน

วงศ์ขนุน หรือ Moraceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิก 40 สกุลและมีมากกว่า 1000 สปีชีส์ แพร่กระจายในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอกเป็นดอกช่อและผลเป็นผลรวม พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีได้แก่ มะเดื่อ, บันยัน, สาเก, หม่อน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและวงศ์ขนุน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลพรุน

กุลพรุน เป็นสกุลของต้นไม้และไม้พุ่มซึ่งรวมถึงพลัม, เชอร์รี, ลูกท้อ, เอพริคอต, ซากุระ และอัลมอนด์ ใช้ชื่อสกุลว่า Prunus ในวงศ์กุหลาบ แต่เดิมอยู่ในวงศ์ย่อย Prunoideae (หรือ Amygdaloideae) แต่บางครั้งก็มีวงศ์เป็นของตนเองคือ Prunaceae (หรือ Amygdalaceae) เมื่อเร็วๆนี้ เห็นได้ชัดว่า Prunus วิวัฒน์มาจากวงศ์ย่อย Spiraeoideae มีประมาณ 430 สปีชีส์ กระจายทั่วพื้นที่ส่วนบนของโลก ดอกเป็นสีขาวถึงชมพู มี 5 กลีบเลี้ยง 5 กลีบดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือในช่อซี่ร่ม 2-6 หรือมากกว่าบนช่อกระจะ ผลเป็นแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง ใบเป็นรูปหอก ไม่มีหยักหรือฟันบนขอบใ.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสกุลพรุน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลกัญชา

กุลกัญชา หรือCannabis (Cán-na-bis) เป็นสกุลของพืชมีดอกที่ประกอบด้วย 3 สปีชีส์ Cannabis sativa หรือกัญชง Cannabis indica หรือกัญชา และ Cannabis ruderalisที่เป็นวัชพืชในยุโรป พืชเหล่านี้เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียกลาง และเอเชียใต้ พืชในสกุลนี้เป็นพืชให้เส้นใย สมุนไพร และเป็นยาเสพติด นอกจากนั้นยังสามารถคั้นน้ำมันจากเมล็ดได้ด้วยErowid.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสกุลกัญชา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลขนุน

กุลขนุน หรือ Artocarpus เป็นสกุลของพืชในวงศ์ขนุนประมาณ 60 ชนิดเป็นไม้พุ่มและไม้ยืนต้น พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบมหาสมุทรแปซิฟิก พืชในสกุลนี้หลายชนิด เช่น ขนุน สาเกหรือจำปาดะ ผลใช้รับประทานได้.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสกุลขนุน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลป่านรามี

กุลป่านรามี (Boehmeria) เป็นสกุลของพืชมีดอกที่มีสมาชิกประมาณ 100 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์ Urticaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียและอเมริกาเหนือ สมาชิกในสกุลนี้มีทั้งไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ชื่อสกุลนี้ตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์เยอรมัน Georg Rudolf Boehmer พืชที่สำคัญในสกุลนี้คือป่านรามี (Boehmeria nivea) เป็นพืชเส้นใยที่สำคัญ บางชนิดใช้ปลูกเป็นไม้ประดั.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสกุลป่านรามี · ดูเพิ่มเติม »

สกุลโพ

กุลโพ-ไทร-มะเดื่อ เป็นสกุลของไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ficus บางชนิดอาจขึ้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย โดยมีรากเกาะอาศัยต้นไม้อื่นแล้วเจริญโอบรัดต้นไม้ที่เกาะลักษณะคล้ายกาฝาก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยาง หูใบหุ้มตาใบชัดเจน กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบเดี่ยว ส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับในระนาบเดียวกัน เแผ่นใบด้านล่างส่วนมากมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้ฐานใบ บางครั้งมีซิสโทลิท ดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกทั้งหมดไว้ภายใน หรือ ซิทโอเนียม หรือฟิก โดยมีช่องเปิด ส่วนใหญ่มีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวมส่วนมากมี 2-6 กลีบ แยกกันหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวมส่วนมากมี 3-5 กลีบ แยกกันหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน แยกกันหรือติดกัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของแมลงขนาดเล็ก บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศ คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ลักษณะเฉพาะนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงในลักษณะพึ่งพากัน ชนิดของแมลงมีความเฉพาะกับไทรแต่ละชนิด ผลขนาดเล็ก คล้ายผลมีผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม ผลของมะเดื่อ (''F. carica'') ผ่าครึ่ง ไม้ที่อยู่ในสกุลนี้มีมากกว่า 800 ชนิดทั่วโลก (แบ่งออกได้เป็น 6 สกุลย่อย) ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน พบในประเทศไทยประมาณ 115 ชนิด มีประมาณ 7-8 ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งคนไทยมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าไม้เหล่านี้เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตย์ของเทพารักษ์หรือนางไม้ เป็นไม้มงคล นำมาสู่คึวามร่มเย็นหรือโชคลาภแก่ผู้ปลูก เช่น โพ (F. religiosa), ไทร (F. benjamina) ส่วนที่นำมาปลูกเพื่อใช้รับประทานผล ได้แก่ มะเดื่อ (F. carica) ที่มีคุณค่าทางสารโภชนาการสูงมาก, มะเดื่อชุมพร (F. racemosa) เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นอาหารหลักของสัตว์และนกหลายชนิด เช่น นกเงือก, นกโพระดก ด้ว.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสกุลโพ · ดูเพิ่มเติม »

สะแล

แล เป็นสายพันธุ์ของพืชดอกอยู่ในวงศ์ขนุน และเป็นไม้พุ่มพื้นถิ่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบในเขตป่าดิบชื้นหรือป่าดิบแล้ง.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสะแล · ดูเพิ่มเติม »

สาลี่ (ผลไม้)

left ดอกบานเต็มที่ สาลี่ หรือสาลี่จีน (Chinese pear; L.) มีชื่ออื่นๆอีกหลายชื่อ เช่น nashi pearในญี่ปุ่นเรียก nashi ภาษาเกาหลีเรียก shingo เป็นชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rosaceae เป็นพืชเมืองหนาว ถิ่นกำเนิดในภาคตะวันตกของจีน พบขึ้นตามธรรมชาติในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ต้นชะลูด ทรงพีระมิด ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ผลมีหลายสี ตั้งแต่เหลือง แดงอมส้ม น้ำตาล เขียว เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ บางพันธุ์เนื้อเป็นทราย รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอม เมล็ดขนาดเล็ก แบนรี สีดำหรือสีน้ำตาลเกือบดำ.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสาลี่ (ผลไม้) · ดูเพิ่มเติม »

สาเก (พรรณไม้)

ก หรือขนุนสำปะลอ (Breadfruit, มาลายาลัม: kada-chakkai, ฮาวาย: อุลุ, อินโดนีเซีย: สุกุน ตากาลอก: โคโล) เป็นไม้ผลพื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ต่อมาจึงแพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และปลูกแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน ต้นสาเกที่ปลูกในฮอโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสาเก (พรรณไม้) · ดูเพิ่มเติม »

สตรอว์เบอร์รี

ตรอว์เบอร์รี (strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้ มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและสตรอว์เบอร์รี · ดูเพิ่มเติม »

หม่อน

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี (Mulberry) ภาคอีสานเรียก มอน ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียก เก้ซิวเอียะ เป็นพืชอาหารตามธรรมชาติชนิดเดียวของหนอนไหม และเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปริมาณผลผลิตและคุณภาพรังไหมจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพใบหม่อน หม่อนเป็นพืชที่มีอายุนาน 80-100 ปี ถ้าไม่ได้รับความกระทบกระเทือน จากการเก็บเกี่ยวหรือโรค แมลงศัตรู สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นถึงเขตร้อน หม่อนที่เกิดในเขตอากาศหนาว จะหยุดพักไม่เจริญเติบโต นับตั้งแต่ปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ผลหม่อนสามารถรับประทานได้ สารสกัดด้วยเมทานอลจากกากหม่อนที่เหลือจากการทำน้ำผลไม้มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสร.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและหม่อน · ดูเพิ่มเติม »

หาดรุม

หาดรุม เป็นพืชในสกุลขนุนที่พบในเกาะสุมาตรา สารสำคัญที่พบในหาดรุมได้แก่ oxyresveratrol, (+)-catechin, afzelechin-3-O-alpha-L-rhamnopyranoside, (-)-epiafzelechin, dihydromorin, epiafzelechin-(4beta→8)-epicatechin, dadahol A dadahol B, resveratrol, steppogenin, moracin M, isogemichalcone B, gemichalcone B, norartocarpetin และ engeletin.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและหาดรุม · ดูเพิ่มเติม »

หนามไข่กุ้ง

หนามไข่กุ้ง อยู่ในวงศ์ Rosaceae ภาษากะเหรี่ยงเรียกโกวาสะ ไม้พุ่ม มีเนื้อไม้ ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีหนามโค้ง มีขนสีแดงปกคลุมหนาแน่น มีหูใบ 1 อัน ใบประกอบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นปกคลุม ดอกช่อ ออกตามซอกใบ มีขนปกคลุม ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ช่อดอกและดอกย่อยมีกาบหุ้มสีเขียวรองรับ กลีบดอกสีขาว ผลสุก รับประทานได้.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและหนามไข่กุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

อัลมอนด์

อัลมอนด์ หรือ แอลมอนด์ ในภาษาอังกฤษ almond อ่านว่า อามึนด์ หรือ แอมึนด์ โดยไม่ออกเสียง l แต่ในภาษาไทยนิยมสะกดว่า อัลมอนด์ หรือ แอลมอนด์ (almond) เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุล Prunus เมล็ดรับประทานได้ เป็นพืชพื้นเมืองในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ผลของอัลมอนด์เป็นผลแบบมีเมล็ดเดียว มีเปลือกชั้นนอกและและเปลือกแข็งหุ้มเมล็ดโดยที่ไม่จัดเป็นผลแบบนัท อัลมอนด์จะขายทั้งแบบที่เอาเปลือกออกแล้วหรือขายทั้งเปลือก หรือนำไปผ่านน้ำร้อนเพื่อทำให้เปลือกอ่อนลง และเอ็มบริโอยังคงเป็นสีขาว ไฟล์:Green almonds.jpg|อัลมอนด์เขียว ไฟล์:Mandel Gr 99.jpg| อัลมอนด์มีเปลือก (ซ้าย) และไม่มีเปลือก (ขวา) ไฟล์:Blanched_almonds.jpg|อัลมอนด์ที่ผ่านน้ำร้อน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและอัลมอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกระทืบยอด

อันดับกระทืบยอด หรือ Oxalidales เป็นอันดับของพืชมีดอกที่อยู่ในกลุ่มโรสิด ที่อยู่ในพืชใบเลี้ยงคู่แท้ ส่วนใหญ่มีใบประกอบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5-6 กลีบ ประกอบด้วย.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและอันดับกระทืบยอด · ดูเพิ่มเติม »

ผักหวานทะเล

ผักหวานทะเล หรือ คันทรง, ผักไห, ผักก้านถึ่ง เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยในวงศ์ Rhamnaceae ลำต้นเรียบ เมื่ออ่อนเป็นสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกล่อนออกได้และเหนียว ใบเดี่ยว ขอบใบเป็นหยัก ดอกเดี่ยว ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกตามง่ามใบ ผลเดี่ยว กลม มีพูตื้นๆสามพู เขียวเป็นมัน เป็นพืชที่รับประทานได้ ใบใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำไปลวกก่อน หรือใส่ในแกงกะทิ ใบเป็นยาแก้บวม น้ำเหลืองเสีย รากแก้เหน็บชา บวม ตานขโมย ร้อนใน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและผักหวานทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ผักเลือด

ผักเลือด เป็นพืชในสกุล Ficus ที่พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย ใบอ่อนเป็นสีแดงหรือชมพูเข้ม ผลรับประทานได้ ยอดและใบอ่อนนำมาทำอาหาร กินเป็นผักสด ในออสเตรเลียจะพบชนิดที่เป็น var.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและผักเลือด · ดูเพิ่มเติม »

จำปาดะ

ำปาดะ (cempedak, เจิมเปอดะก์) คือชื่อของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Moraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับขนุน ถิ่นกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย และเกาะนิวกินี ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น มียางสีขาวขุ่น ใบเป็นมัน ผลคล้ายขนุนแต่เล็กกว่า ผลดิบเปลือกแข็ง มียางมาก พอสุก เปลือกนิ่มลง ยางน้อยลง เนื้อมีกลิ่นหอมและรสหวานจัด ผลจำปาดะผ่าครึ่ง จำปาดะในตลาดที่ประเทศจีน ผลจำปาดะสามารถทำอาหารได้หลากหลาย มีกลิ่นเฉพาะตัว ทั้งกินเป็นผลไม้สด ชุบแป้งข้าวเจ้าแล้วทอดซึ่งเป็นที่นิยมในภาคใต้ของไทย สิงคโปร์และมาเลเซีย เมล็ดอย่างเดียวนำไปต้มให้สุก หรือใส่ในกับข้าวเช่นแกงไตปลา ผลอ่อนต้มกับกะทิใช้เป็นผัก ผลอ่อนนำไปแกงได้ เนื้อไม้สีเหลืองหรือน้ำตาลใช้ทำเครื่องเรือนและต่อเรือ เปลือกลำต้นใช้ฟั่นเชือก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและจำปาดะ · ดูเพิ่มเติม »

ท้อ

ลูกท้อ (桃; Peach; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus persica) เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ อยู่ในสกุล Prunus อันเป็นสกุลเดียวกันกับ ซากุระ, บ๊วย, เชอร์รี่ หรือนางพญาเสือโคร่ง ท้อจัดเป็นไม้เมืองหนาวที่จะขึ้นได้ดีในที่ ๆ มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส ทนแล้งได้ดี เป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบจัก ดอกเดี่ยว มักออกเป็นกระจุก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรืออาจเป็นสีแดง หรือชมพู ดอกจะแตกออกมาก่อนใบ ผลเป็นผลสดเมล็ดเดี่ยว มีขนปกคลุมทั่วบริเวณผิว ท้อนับเป็นผลไม้ที่ใช้ประโยชน์ในการรับประทานมาอย่างยาวนาน และได้รับความนิยมไปทั่วโลก นอกจากนี้แล้วในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ จะมีท้อเข้ามาร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ ชาวจีนมีความเชื่อว่า ท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว และเกี่ยวข้องกับการกับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกท้อของบานในระหว่างการฉลองวันปีใหม่ หมายถึง ปีต่อไปจะเป็นปีของโชคลาภ และดอกท้อยังใช้ประดับตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในสมัยโบราณ การเขียนป้ายคำอวยพรก็นิยมเขียนลงไม้ที่ทำมาจากต้นท้อ ในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่น โมโมทาโร่ (桃太郎) ซึ่งเป็นเด็กชายที่มีพละกำลังมากมายและเป็นผู้นำในการปราบปีศาจ ก็กำนิดมาจากลูกท้อ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย ท้อมีการนำเข้ามาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น โครงการหลวง โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะฟุ้ง, มักม่น, มักม่วน, หุงคอบ, หุงหม่น เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและท้อ · ดูเพิ่มเติม »

ขนุน

นุน (หรือ A. heterophylla) ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามลายู chakka นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและขนุน · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้พ่นควัน

ต้นไม้พ่นควัน เป็นพืชในวงศ์ Urticaceae เป็นไม้พุ่ม ผลัดใบ ดอกสีเขียวอมขาว ดอกช่อ มีริ้วประดับ เมื่อดอกตัวผู้บานจะปล่อยละอองเรณูออกมาทำให้ดูเหมือนควันบุหรี.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและต้นไม้พ่นควัน · ดูเพิ่มเติม »

ปอสา

ปอสา เป็นพืชในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว แผ่นใบสากมือเล็กน้อย ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อหางกระรอก ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจุกแน่น ผลกลม สีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดสีแดง ยาง ราก ใบ และเปลือกลำต้น ผู้ที่แพ้เมื่อรับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง เปลือกลำต้นใช้ทำกระดาษเรียกกระดาษสา เส้นใยจากเปลือกใช้ทำผ้าตาปาซึ่งใช้ในฟิจิ ตองกา ซามัว และตาฮีตี Royal Botanic Gardens, Kew.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและปอสา · ดูเพิ่มเติม »

ป่านรามี

ป่านรามี (Ramie) เป็นพืชในวงศ์ Urticaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบมีขนสีเงิน ทำให้บางครั้งเรียกว่าป่านรามีขาว ซึ่งจะต่างจากป่านรามีอีกสปีชีส์หนึ่ง ซึ่งมีต้นกำเนิดในคาบสมุทรมลายู ใบจะมีขนาดเล็กกว่าและมีสีเขียวทั้งสองด้านเรียกป่านรามีเขียว คำว่ารามีมาจากภาษามลายูโบราณ ป่านรามีเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นพืชให้เส้นใย ในเวียดนามมีขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว เนื้อขนมเป็นสีดำเพราะใส่น้ำคั้นจากใบป่านรามี ทำให้มีสีและกลิ่นเฉพาะ ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวในเวียดนาม เรียก Bánh gai แป้งชั้นนอกสีเข้มเพราะใส่น้ำคั้นจากใบป่านรามี.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและป่านรามี · ดูเพิ่มเติม »

นางพญาเสือโคร่ง

นางพญาเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus cerasoides กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,, สืบค้นวันที่ 21 ก.ย. 2552, Wild Himalayan Cherry) เป็นพืชดอกในสกุล Prunus ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ความสูง 1,200-2,400เมตรจากระดับน้ำทะเล เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา มณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน, ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์, ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ โดยเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย ในต่างประเทศ พบในประเทศพม่า รัฐฉานและรัฐคะฉิ่น, ประเทศอินเดียพบบนเทือกเขาหิมาลัย ในรัฐอรุณาจัลประเทศยาวไปจนถึงรัฐหิมาจัลประเทศทางตอนเหนือของอินเดีย หรือที่เรียกว่าHimalayas, ประเทศภูฏาน, ประเทศเนปาล และประเทศจีนพบในมณฑลยูนนาน นางพญาเสือโคร่งถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระในประเทศญี่ปุ่น แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและนางพญาเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กเบอร์รี

แบล็กเบอร์รี (blackberry) มีชื่อในภาษาไทยว่า ไข่กุ้ง, ไข่ปู, บ่าฮู้ เป็นผลไม้ป่าประเภทที่กินได้ เป็นไม้ผลประเภทผลกลุ่ม (aggregate fruit) (แบบน้อยหน่า) จากพุ่มไม้หนาม (Bramble) ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในสกุลกุหลาบในวงศ์กุหลาบที่มีด้วยกันทั้งหมดเป็นร้อยสปีชีส์เป็นพันธุ์ไม้ที่พบทั่วไปในบริเวณที่มีอากาศอุ่นในซีกโลกเหนือHuxley, A., ed.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและแบล็กเบอร์รี · ดูเพิ่มเติม »

แพร์

แพร์ (European Pear)เป็นผลไม้เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรป โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่าได้มีการนำแพร์ที่เป็นพืชป่ามาปลูกเป็นพืชสวน จากหลักฐานในยุโรปสมัยยุคหินใหม่และยุคบรอนซ์ การปลูกแพร์มีบันทึกในเอกสารของกรีกโบราณและจักรวรรดิโรมัน เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดผลใกล้เคียงกับแอปเปิล เปลือกบาง สุกแล้วเนื้อนิ่มมาก ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวและหวานหอม เป็นพืชคนละสปีชีส์กับสาลี่ แพร์เองแบ่งได้เป็นหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมในตลาดมากที่สุดคือ Williams pear หรือเรียกว่า Bartlett ในสหรัฐและแคนาดา เปรียบเทียบแพร์ 8 สายพันธุ์จากซ้ายไปขวาคือ Williams' Bon Chrétien (ในสหรัฐเรียก Bartlett), พันธ์ Bartlett สีแดงสองแบบ, d'Anjou, Bosc, Comice, Concorde, และ Seckel.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและแพร์ · ดูเพิ่มเติม »

แกแล

แกแล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Maclura cochinchinensis Corner) มีเกิดตามป่าโปร่งทางภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ มีชื่ออื่น แกก้อง (แพร่) แกแล สักขี เหลือง (กลาง) แกล แหร (ใต้) เข (นครราชสีมา) ช้างงาต้อก (ลำปาง) น้ำเคี่ยโซ่ (ปัตตานี) หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์) กะเลอะเซอะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กระจายพันธุ์ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย แกแลเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ตามเถามีหนามตลอดเถา เนื้อไม้สีค่อนข้างขาว มียางขาว เปลือกลำต้นสีเทา แก่นเป็นสีเหลือง ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1 - 3.5 ซม.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและแกแล · ดูเพิ่มเติม »

แก้งขี้พระร่วง

แก้งขี้พระร่วง (ตั้งชื่อตามสถานที่ค้นพบที่แรก คือ ติมอร์) เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae หรือวงศ์กัญชา เป็นไม้ยืนต้นที่เนื้อไม้มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นอุจจาระ มีตำนานเล่าไว้ว่าเมื่อพระร่วงหนีขอมจากละโว้ไปสุโขทัยนั้น เมื่อลงพระบังคนหนักแล้วหักกิ่งไม้มาชำระ เสร็จแล้วได้สั่งให้ไม้เป็นขึ้น ไม้นั้นได้แตกกิ่งใบกลายเป็นต้นแก้งขี้พระร่วงนี้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามถิ่นว่า ตะคาย, มะหาดน้ำ, เยื้อง, หมอนดง ในภาคกลาง ภาคใต้เรียกว่า ตายไม่ทันเฒ่า จังหวัดนครราชสีมาเรียก ขี้พระร่วง, มันปลาไหล จังหวัดน่านเรียก เช็ดก้นพระเจ้า จังหวัดเชียงใหม่เรียก เช็ดขี้พระเจ้า จังหวัดลำปางเรียก แก้งขี้พระร่วง ที่จังหวัดสุโขทัยเรียก ไม้เช็ดตูดพระร่วง ทั้งนี้เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นคล้ายอุจจาระ ต้นแก้งขี้พระร่วงที่เวียดนาม แก้งขี้พระร่วง พบในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ของไทย ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150–600 เมตร ในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย, ศรีลังกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฟิลิปปินส์ จนถึงเกาะคริสต์มาส และออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปัจจุบันเป็นไม้หายาก พบได้ในป่าดิบแล้งใกล้ลำธาร ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ในกลางปี..

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและแก้งขี้พระร่วง · ดูเพิ่มเติม »

แอปเปิล

ต้นแอปเปิล (apple) เป็นต้นไม้ผลัดใบในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malus ต้นแอปเปิลมีต้นกำเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษคือ Malus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนำมาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสำคัญทางศาสนาและเทพปกรณัมในหลายวัฒนธรรม รวมถึงนอร์ส กรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรป ต้นแอปเปิลจะมีขนาดใหญ่หากเติบโตจากเมล็ด แต่จะมีขนาดเล็กถ้าถูกตัดต่อเนื้อเยื่อเข้ากับราก ปัจจุบันมีแอปเปิลที่พันธุ์ปลูกมากกว่า 7,500 ชนิด ทำให้แอปเปิลมีลักษณะพิเศษหลากหลาย พันธุ์ปลูกแต่ละพันธุ์จะมีรสชาติแตกต่างกัน และการนำไปใช้ต่างกันด้วย เช่น นำไปประกอบอาหาร กินดิบ ๆ หรือนำไปผลิตไซเดอร์ ปกติแอปเปิลจะแพร่พันธุ์ด้วยการตัดต่อเนื้อเยื่อ แต่แอปเปิลป่าจะเติบโตได้เองจากเมล็ด ต้นแอปเปิลและผลแอปเปิลอาจประสบปัญหาจากจากเห็ดรา แบคทีเรีย และศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งอาจควบคุมได้ด้วยวิธีการทางเกษตรอินทรีย์และอนินทรีย์หลายวิธี ใน..

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและแอปเปิล · ดูเพิ่มเติม »

โพ

(มักเขียนว่า โพธิ์) (คำว่า "โพ" มาจากภาษาสิงหล; Sacred fig) เป็นต้นไม้สปีชีส์หนึ่งของไทรหรือมะเดื่อ เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และ อินโดจีน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน สูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 3 เมตร รูปใบโดยทั่วไปของต้นโพ ใบมีรูปหัวใจปลายยาว ยาว 10-17 เซนติเมตร กว้าง 8-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 6-10 เซนติเมตร ผลมีขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร สีเขียวเมื่อสุกมีสีม่วง โพเป็นต้นไม้ที่ถูกสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน และ พระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า "Sacred fig" พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข, ความสำเร็จ, อายุยืน และ ความโชคดี และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและโพ · ดูเพิ่มเติม »

โพธิ์ขี้นก

ี้นก หรือโพตัวผู้ หรือโพประสาท เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลอมเทา ใบเดี่ยว รูปหัวใจ ปลายใบมีติ่งแหลม ดอกช่อ ออกตามซอกใบตามปลายกิ่ง ดอกเจริญอยู่บนฐานรองดอก ดอกตัวผู้อยู่ใกล้ช่องของฐานรองดอก ดอกตัวเมียอยู่ถัดเข้าไป ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก อัดแน่นอยู่บนฐานรองดอก ผลเดี่ยว ขนาดเล็ก อัดแน่นอยู่บนฐานรองดอก มีผนังบางๆหุ้มฐานรองดอก เปลี่ยนจากสีเขียวมีน้ำยางมาเป็นสีดำอมแดงนิ่มและไม่มียาง ผลใช้เป็นอาหารสัตว์ เปลือกและใบเป็นยาละลายเสมหะ เปลือกและผลบดให้ละเอียด เป็นยาแก้โรคบิด เปลือกผลผสมสมุนไพรอื่นทำเป็นขี้ผึ้งทาแก้ปวด ยางผสมกับน้ำตาลมะพร้าวใช้ขั.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและโพธิ์ขี้นก · ดูเพิ่มเติม »

โรสิด

รสิด หรือ rosids เป็นเคลดขนาดใหญ่ของพืชมีดอก ประกอบด้วย 70,000 สปีชีส์ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ของพืชมีดอกทั้งหมดเคลดนี้แบ่งเป็น 16 - 20 อันดับ ขึ้นกับระบบการจัดจำแนก อันดับเหล่านี้แบ่งเป็นวงศ์ได้ประมาณ 140 วง.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและโรสิด · ดูเพิ่มเติม »

โลควอท

ลควอท เป็นพืชในวงศ์ Rosaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ลำต้นตรง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีเกล็ดสีน้ำตาลแดง หูใบแบน ดอกช่อ ปกคลุมด้วยขนสั้นๆสีน้ำตาลแดง ไม่มีก้านดอก มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุม ผลรูปกลมหรือรูปไข่สีเหลืองอ่อนหรือสีส้ม มีขนปกคลุม เปลือกผลฉ่ำน้ำ เมล็ดยาว สีน้ำตาลดำ โลควอทกำลังออกดอก ถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน กระจายพันธุ์ในจีนและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกเฉพาะในที่สูง ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานสด ทำแยมหรือเยลลี่ เมล็ดมีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ น้ำคั้นจากผลใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในแอฟริกาตะวันออกใช้เนื้อไม้ทำเครื่องดนตรี ใบมีแทนนิน รสฝาด ใช้แก้อาการท้องเสียและเป็นยาระบาย ผลมีเพกติน มีโพแทสเซียมสูงแต่มีวิตามินซีต่ำ ในตำรายาจีนเรียกผีผาเย่ (ภาษาจีนกลาง) หรือปีแปะเฮียะ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใบใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โครงสร้างของผล.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและโลควอท · ดูเพิ่มเติม »

ไกร

ำหรับกร่างชนิดอื่น ดูที่: ไทรทอง ไกร หรือ กร่าง (บาลี: นิโครธ; สันสกฤต: บันยัน; ฮินดี: บาร์คาด; Bengal fig, Indian fig, Banyan tree) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ในสกุล Ficus เช่นเดียวกับโพ (F. religiosa) และไทรย้อยใบแหลม (F. benjamina) ในวงศ์ Moraceae.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและไกร · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบทู่

ทรย้อยใบทู่ หรือ ไทรย้อย (Chinese banyan, Malayan banyan; 細葉榕) เป็นไม้ประเภทบันยัน ในสกุล Ficus ในวงศ์ Moraceae เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 12-25 เมตร และสูงได้ถึง 30 เมตร บางครั้งอาจรอเลื้อยกับพื้นดินหรือกึ่งอาศัยกับไม้อื่น ๆ มีรากอากาศอยู่ตามกิ่งไม้เป็นเส้นเรียงยาวจำนวนมาก เปลือกมีสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียน มีลักษณะรูปไข่หรือรูปวงรี ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเป็นติ่งทู่เกือบแหลม หรือเป็นติ่งสั้น และเรียวแหลม ไม่ค่อยพบแบบเว้า ฐานใบสอบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ผิวใบมัน เนื้อใบบางเหนียวคล้ายผิวหนัง ออกดอกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือน้อยมากที่จะเป็นดอกคู่ ตาดอกสีแดงแกมชมพู ก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงรูประฆัง จำนวน 6 กลีบ ยาว 3-7 กลีบ กลีบดอกแบบอิสระ 6 กลีบ รูปไข่มน ยาว 3-8 มิลลิเมตร มีลักษณะย่น เกสรตัวผู้ 12 อัน ขดเป็นวง ผลเป็นรูปไข่กลับหรือกระสวยรี มีกลีบเลี้ยงเป็นท่อหุ้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-10 มิลลิเมตร ผลเกลี้ยง ผลแก่แตกออก มีเมล็ดจำนวนมาก มีปีกยาว รูปลิ่มแกมไข่กลับ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้าง โดยพบได้ที่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, พม่า, ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์และออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น และป่าเบญจพรรณ บางครั้งพบตามป่าเสื่อมโทรม, ชายทะเล, ป่าชายเลน หรือเขาหินปูน จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ใบของไทรย้อยใบทู่ เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ออกดอกและออกผลตลอดทั้งปี รากอากาศใช้ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว บำรุงน้ำนม รากสมานลำไส้ แก้ท้องเสียได้.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและไทรย้อยใบทู่ · ดูเพิ่มเติม »

ไทรย้อยใบแหลม

ทรย้อยใบแหลม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไทร (Weeping fig, Ficus tree) เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามชนิดย่อ.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและไทรย้อยใบแหลม · ดูเพิ่มเติม »

ไทรทอง

ใบของไทรทอง สำหรับพืชชนิดอื่นที่ใกล้เคียงกัน ดูที่: กร่าง ไทรทอง หรือ กร่าง หรือ ลุง เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ในวงศ์ Moraceae มีความสูงประมาณ 2.5-3 เมตร มีพูพอน เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกิ่งกระจายรอบต้น พุ่มทรงกลม ค่อนข้างหนาทึบ มีน้ำยางสีขาว รากอากาศเหนียว ใบเป็นแบบเดี่ยวทรงรูปไข่ กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม มีหูใบหุ้มยอด ใบอ่อนสีเขียวสดเป็นมัน หูใบหุ้มยอดอ่อนไว้ ดอกช่อไม่มีก้านดอก โคนช่อดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 3 ใบรองรับช่อดอก ผลเมื่อสุกแล้วอ่อนนุ่ม สีเหลือง แต่ละผลมีเนื้อบาง ๆ และมีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อว่าเป็นไม้มงคล นอกจากนี้แล้ว ยังมีประโยชน์อย่างอื่น คือ รากอากาศของต้นกร่างเหนียวใช้ทำเชือกได้ เปลือกชั้นในใช้ทำกระดาษ ต้นใช้เลี้ยงครั่ง.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและไทรทอง · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์รี

อร์รี เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ต้นเชอร์รีเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Prunus สกุลย่อย Cerasus เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ชอบอากาศหนาวเย็น ใบเขียวเข้ม ดอกสีขาวอมชมพู ผลกลม ขนาดเล็ก เปลือกมีทั้งสีแดงเข้ม สีส้มและสีเหลือง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือเชอร์รีหวานกับเชอร์รีหวานอมเปรี้ยว แหล่งที่ปลูกเชอร์รีมากคือทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป และญี่ปุ่น.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและเชอร์รี · ดูเพิ่มเติม »

เล็บเหยี่ยว

ล็บเหยี่ยว (Jackal Jujube, Small-fruited Jujube หรือ Wild Jujube) เป็นพืชดอกในวงศ์พุทราที่มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชียและออสเตรเลีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีก ได้แก่ หนามเล็บเหยี่ยว เล็ดเหยี่ยว หมากหนาม พุทราขอ ตาฉู่แม ไลชูมี มะตันขอ แสงคำ.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและเล็บเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เอพริคอต

อพริคอต หรือ แอพริคอต (apricot) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จากนั้นจึงแพร่หลายไปสู่อิตาลีและอังกฤษ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว ดอกสีขาว ผลเล็กกว่าลูกท้อ ผลกลม มีร่องกลางผลชัดเจน เปลือกบาง มีขนคล้ายกำมะหยี่ปกคลุม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง เนื้อแห้ง แน่น รสเปรี้ยวหอม สีน้ำตาล แหล่งปลูกเอพริคอตหลักอยู่ที่จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แอฟริกา กินเป็นผลไม้สด ทำเอพริคอตในน้ำเชื่อม ใส่สลัดผลไม้และโยเกิร์ต แยมผลไม้ เอพริคอตตากแห้ง.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและเอพริคอต · ดูเพิ่มเติม »

เดื่อผา

ื่อผา อยู่ในวงศ์ Moraceae ไม้พุ่ม ผลออกตามต้น มีขนสีน้ำตาลอมดำแข็งปกคลุม มีสัน 5 สัน ทุกส่วนมียางสีขาว ผลกินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและเดื่อผา · ดูเพิ่มเติม »

เดื่อปล้องหิน

ื่อปล้องหิน ภาษากะเหรี่ยงเรียกเส่อดุย เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง ภายในมียางสีขาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว หูใบหุ้มยอดอ่อนหลุดร่วงง่าย ทิ้งรอยแผลเป็นไว้ ผิวใบด้านบนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ดอกแยกเพศ ช่อดอกแบบดอกมะเดื่อ แก่แล้วเป็นสีแดง มีจุดสีขาวประปราย ผลสุกรับประทานได้มีรสหวาน.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและเดื่อปล้องหิน · ดูเพิ่มเติม »

เครือปรอกช้าง

รือปรอกช้าง อยู่ในวงศ์ Rhamnaceae เปลือกสีน้ำตาลเข้มอมดำ ใบค่อนข้างหนา ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อ ดอกย่อยสีเหลือง เถาใช้ฟอกเลือดขับระดู แก้เลือดและน้ำเลี้ยงเสี.

ใหม่!!: อันดับกุหลาบและเครือปรอกช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rosales

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »