โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับกบ

ดัชนี อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

155 ความสัมพันธ์: ชะมดแผงบาคุกัน มอนสเตอร์บอลทะลุมิติบาป 7 ประการบีโรโบคาบูทักบีเอลซิบูโฟฟร็อก เซลอสพืชกินสัตว์กบ (แก้ความกำกวม)กบชะง่อนผาภูหลวงกบบูลฟร็อกกบมะเขือเทศกบมะเขือเทศมาดากัสการ์กบลำห้วยกบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รีกบหนังห้อยกบอกหนามกบอเมริกันบูลฟร็อกกบทาสีกบทูดกบดอยช้างกบต้นไม้กบนากบแอฟริกันบูลฟร็อกกบแคระแอฟริกันกบโกไลแอทกราวเขียวกิ้งก่าหนามภัยพิบัติแห่งอียิปต์มังกรจีนมาสค์ไรเดอร์คิบะมีนวิทยาระบบการได้ยินระบบนิเวศป่าไม้รายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียงรายชื่อตัวละครในอาณาจักรแห่งกาลเวลารายชื่อตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอรายชื่อโปเกมอน (1–51)รายการสัตว์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยลิสแซมฟิเบียลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์ลูกอ๊อดวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกวงศ์กบมีหางวงศ์กบลิ้นส้อมวงศ์กบลื่นวงศ์กบลูกศรพิษวงศ์กบนาวงศ์กบเล็บ...วงศ์ย่อยอึ่งอ่างวงศ์อึ่งกรายวงศ์อึ่งอ่างวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแกวงศ์คางคกวงศ์คางคกหมอตำแยวงศ์ปาดโลกเก่าว่าวสกุล (ชีววิทยา)สมองสัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์เลื้อยคลานสาหร่ายวุ้นหมอกาฬโรคหูชั้นกลางหนูเหม็นอวัยวะของคอร์ติอันดับปลาคางคกอันดับนกแก้วอาหารทะเลอาณาจักรแห่งกาลเวลาอำเภอทุ่งเสลี่ยมอึ่งอ่างอึ่งอ่างบ้านอึ่งผีอึ่งปากขวดอึ่งน้ำเต้าอุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพะงันอุทยานแห่งชาติขุนน่านอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงอีเห็นผีโพงจิ้งเหลนจระเข้ตาแดงจงโคร่งทาร์เซียร์ดีพวันคางคกคางคกบ้านคางคกหมอตำแยคางคกห้วยคางคกซูรินามคางคกซูรินาม (สกุล)คางคกแคระคางคกโพรงเม็กซิกันคางคกไฟคางคกไวโอมิงคู่หูของผมเป็นลิงครับฆาตกรต่อเนื่องงูบินงูสามเหลี่ยมงูอนาคอนดาเขียวงูแบล็กแมมบางูแสงอาทิตย์งูเหลือมอ้องูเห่าหม้อตะพาบม่านลายตะพาบหัวกบตะกองตะขาบยักษ์ขาเหลืองเปรูตัวรับแรงกลตัวอสุจิซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3ปลาแบสลายจุดปาดเขียวตีนดำป่องรู้กลิ่นนกช้อนหอยขาวนกกะรางหัวขวานนกอีเสือสีน้ำตาลนกทึดทือมลายูนกแก้วคาคาโปนกแต้วแร้วท้องดำนู (เทพ)น้ำตกทรายขาวแมลงดาแมลงปอแมวป่าแมวป่าหัวแบนแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพแร็กคูนแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชันโอพอสซัมไกอาเมมโมรี่ไทรทัน (เทพปกรณัม)ไทเขินไซ (อุปกรณ์จับปลา)ไปรษณีย์อืดอาดเสือดาวอาระเบียเห่าช้างเฮดจ์ฮอกยุโรปเทพบุตรแม็กโนเลียเขียดจิกเดอะมัพพิตโชว์เคโระเซลล์ขนเซียมซูเป็ดหงส์Elizabethkingia meningosepticaNepenthes hurrellianaNepenthes rajahPaedophrynePaedophryne amauensisStereociliaSuperior colliculusЖ ขยายดัชนี (105 มากกว่า) »

ชะมดแผง

มดแผง เป็นสกุลของชะมดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Viverra มีลักษณะคล้ายกับชะมดหรืออีเห็นทั่วไป มีลักษณะเด่น คือ ที่อุ้งตีนมีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว โดยที่หัวแม่เท้ามีขนาดเล็กมากจนดูเหมือนมี 4 นิ้ว เมื่อประทับลงบนพื้นดิน จะมีรอยเท้าเพียง 4 นิ้ว เนื่องจากหากินบนพื้นดินเป็นหลัก และมีขนาดใหญ่กว่าของอีเห็น อีกทั้งที่ขนบริเวณสันหลังจรดปลายหางมีลักษณะเป็นแผงขนสีดำ พาดยาวตั้งแต่สันคอไปตามแนวสันหลัง ซึ่งเวลาตกใจหรือต้องการข่มขู่ผู้รุกรานจะยกแผงขนหลังนี้ให้ตั้งชันได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกขาน ส่วนหางจะเป็นลายปล้อง ๆ เป็นชะมดขนาดใหญ่ หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ และักินสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู, กระรอก หรือ กบ, เขียด มากกว่ากินผลไม้หรือลูกไม้ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และเกาะต่าง ๆ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก พบได้ในประเทศไทย 2 ชน.

ใหม่!!: อันดับกบและชะมดแผง · ดูเพิ่มเติม »

บาคุกัน มอนสเตอร์บอลทะลุมิติ

กัน มอนสเตอร์บอลทะลุมิติ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งนำตัวของเล่นบาคุกัน ที่จำหน่ายโดยเซก้า มาดัดแปลงเนื้อเรื่องและสร้างเป็นอะนิเมะ ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีความยาวทั้งหมด 51 ตอน, tv-tokyo.co.jp, เรียกข้อมูลเมื่อ 25 มี..

ใหม่!!: อันดับกบและบาคุกัน มอนสเตอร์บอลทะลุมิติ · ดูเพิ่มเติม »

บาป 7 ประการ

ป 7 ประการ (seven deadly sins) หรือบาปต้น (cardinal sins) เป็นหลักคำสอนของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคในอดีตกาล ให้มนุษย์ไม่ทำตามสัญชาตญาณของตนมากจนเกินไป ทางศาสนาคริสต์ได้แบ่งบาปออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่สามารถยกโทษให้ได้ และ แบบรุนแรง ในต้นศตวรรษที่ 14 หลักคำสอนนี้เป็นที่นิยมในหมู่ศิลปิน (หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน) ผลงานศิลปะมากมายที่สื่อถึงบาป 7 ประการแพร่ไปทั่ววัฒนธรรมต่างๆทั่วโลก.

ใหม่!!: อันดับกบและบาป 7 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

บีโรโบคาบูทัก

ีโรโบคาบูทัก หรือ หุ่นแมลงแปลงร่างคาบูทัก เป็นภาพยนตร์โทคุซัทสึชุดเมทัลฮีโรลำดับที่ 16 ฉายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540ถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2541 มีจำนวนตอนทั้งหมด 52 ตอน ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 8.00-8.30น.

ใหม่!!: อันดับกบและบีโรโบคาบูทัก · ดูเพิ่มเติม »

บีเอลซิบูโฟ

ีเอลซิบูโฟ หรือ กบปีศาจ หรือ คางคกปีศาจ หรือ กบจากนรก (Beelzebufo) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่จำพวกกบที่สูญพันธุ์ไปแล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อกว่า 65-70 ล้านปีก่อน ในยุคครีเตเชียสตอนปลาย โดยคำว่า Beelzebufo นั้น มาจากคำว่า "บีเอลซิบับ" ซึ่งเป็นปีศาจตนหนึ่งในความเชื่อทางคริสต์ศาสนา เป็นปีศาจแมลงวัน และ bufo เป็นภาษาละตินแปลว่า "คางคก" ส่วนชื่อชนิดนั้น ampinga หมายถึง "โล่" ในภาษามาลากาซี บีเอลซีบูโฟ ถูกค้นพบครั้งแรกเป็นฟอสซิลในมาดากัสการ์เมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับกบและบีเอลซิบูโฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็อก เซลอส

ฟร็อก เซลอส (ภาษาเขมร: ???; 地奇星フログのゼーロス; Frog Zelos) เป็นตัวละครในเรื่องเซนต์เซย่าภาคเจ้านรกฮาเดส เป็น 1 ใน 108 สเป็คเตอร์ มีบทบาทอย่างมากในภาคแซงค์ทัวรี.

ใหม่!!: อันดับกบและฟร็อก เซลอส · ดูเพิ่มเติม »

พืชกินสัตว์

''Nepenthes mirabilis'' ที่ขึ้นอยู่ริมถนน พืชกินสัตว์ (carnivorous plant) คือ พืชที่ได้สารอาหารบางส่วนหรือส่วนใหญ่ (แต่ไม่รวมถึงพลังงาน) จากการดักและบริโภคสัตว์หรือสัตว์เซลล์เดียวซึ่งปรกติได้แก่แมลงและสัตว์ขาปล้องเหล่าอื่น ๆ โดยเป็นผลจากการปรับตัวให้อยู่รอดในดินที่มีสารอาหารน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจน เช่น ดินที่มีสภาพเป็นกรด หิน ฯลฯ ศาสตรนิพนธ์อันเลื่องชื่อฉบับแรกซึ่งว่าด้วยพืชชนิดนี้นั้นเป็นผลงานของชาลส์ ดาร์วิน เมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับกบและพืชกินสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

กบ (แก้ความกำกวม)

กบ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: อันดับกบและกบ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

กบชะง่อนผาภูหลวง

กบชะง่อนผาภูหลวง (Phu Luang cliff frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Huia aureola) เป็นกบเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ที่ค้นพบใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ค้นพบโดย นายธัญญา จั่นอาจ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขนาดตัวยาว 63-96.5 มิลลิเมตร หัวแคบเรียว มีขนาดด้านยาวมากกว่าด้านกว้าง จุดกลางหน้าผาก เห็นได้ชัดเจนแผ่นหูเห็นได้ชัดเจน มีถุงใต้คางที่บริเวณมุมของคอ ปลายนิ้วขยายออกเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ผิวหนังเรียบ ยกเว้นที่ผิวใต้ต้นขา มีตุ่มหยาบไม่มีต่อมที่โคนขาหน้า สันต่อมที่เหนือแผ่นหูเห็นไม่ชัด ไม่มีสันต่อมที่ขอบหลัง หัวและลำตัวด้านหลังสีเขียว ด้านข้างของหัวและสีข้างสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านท้ายของต้นขาหน้า ครึ่งด้านท้องของสีข้าง ผิวของต้นขา แข้ง และตีนดำพร้อมด้วยลวดลายสีเหลืองสด ขอบปากบนมีเส้นสีเหลือง ขอบปากล่างดำ ใต้คอมีแต้มสีน้ำตาล ถุงใต้คอดำ ท้องขาว แผ่นพังผืดที่ยึดระหว่างนิ้วตีนสีน้ำตาลอมม่วงพบอาศัยเฉพาะในบริเวณลำธารต้นน้ำในป่าดิบเขาของจังหวัดเลย ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ ประมาณ 10 มิลลิเมตร อาศัยบนต้นน้ำสูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบตัวเมียน้อยกว่าตัวผู้.

ใหม่!!: อันดับกบและกบชะง่อนผาภูหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กบบูลฟร็อก

กบอเมริกันบูลฟร็อก (''Lithobates catesbeianus'') กบบูลฟร็อก (Bullfrog) เป็นชื่อสามัญที่เรียกใช้สัตว์ครึ่งบกครึ่งบกจำพวกกบที่มีขนาดใหญ่หลายชน.

ใหม่!!: อันดับกบและกบบูลฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

กบมะเขือเทศ

กบมะเขือเทศ หรือ อึ่งมะเขือเทศ (Tomato frogs) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Dyscophus ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) ในวงศ์ย่อย Dyscophinae ซึ่งมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่นที่มาดากัสการ์ที่เดียวเท่านั้น กะโหลกมีกระดูกเอธมอยด์หนึ่งคู่ และมีกระดูกพรีโวเมอร์ขนาดใหญ่หนึ่งชิ้น มีฟันที่กระดูกแมกซิลลา กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่มีกระดูกไหปลาร้าและกระดูกโพรโคราคอยด์ อายุโดยเฉลี่ย 6-8 ปี เมื่อโตเต็มที่มีสีตั้งแต่สีส้มเหลืองหรือสีแดงเข้ม กบมะเขือเทศจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 9-14 เดือน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 นิ้ว ขณะที่ตัวผู้ประมาณ 2-3 นิ้ว ตัวเมียส่วนใหญ่มีสีแดงส้มหรือสีแดงเข้มสดใส ส่วนท้องมักจะมีสีเหลืองเข้มและบางครั้งก็มีจุดสีดำบนลำคอ แต่ตัวผู้มิได้สีสีสดใสเช่นนั้น แต่จะเป็นสีส้มทึบทึบหรือน้ำตาลส้ม เมื่อยังไม่โตเต็มที่จะมีสีทึบทึมและจะพัฒนาไปสู่สีสดใสเมื่อโตเต็มที่ เป็นสัตว์ที่อยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ อาศัยอยู่ตามพื้นล่างของป่า ผสมพันธุ์ในช่วงฤดู​​ฝนในเวลากลางคืน วางไข่ในน้ำ ลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในน้ำ กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร.

ใหม่!!: อันดับกบและกบมะเขือเทศ · ดูเพิ่มเติม »

กบมะเขือเทศมาดากัสการ์

กบมะเขือเทศมาดากัสการ์ หรือ อึ่งมะเขือเทศมาดากัสการ์ (Tomato frog, Madagascar tomato frog) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในอันดับกบชนิดหนึ่ง ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) มีผิวหนังเรียบลื่นเป็นมัน สีแดงเข้มเหมือนมะเขือเทศ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีรอยย่นสีดำที่ตาและมีดวงตาสีเขียว ปากแคบ มีสันนูนเป็นรอยย่นขึ้นมาบนปาก ใต้ท้องสีเหลือง ช่องคอเป็นสีดำ ลำตัวอ้วนสั้น ขนาดเมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะมีสีส้มยาวประมาณ 2.5 นิ้ว หนัก 40 กรัม ขณะที่ตัวเมียจะมีสีแดง และมีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาว 4 นิ้ว หนัก 227 กรัม เมื่อยังเป็นวัยอ่อนสีสันจะยังไม่ฉูดฉาดเหมือนตัวเต็มวัย กระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดบนเกาะมาดากัสการ์ ทางแอฟริกาตะวันออก ว่ายน้ำได้ไม่เก่ง แต่กินอาหารไม่เลือก ได้แก่ แมลงขนาดใหญ่, ตัวอ่อนของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่นหนอน, จิ้งหรีด, หนอนผึ้ง ตลอดจนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังทั้งในน้ำและบนบก กบมะเขือเทศมาดากัสการ์มีพิษที่รุนแรงบนผิวหนัง เมื่อตกใจหรือเครียด จะปล่อยสารเคมีสีขาวขุ่นเหมือนกาวเพื่อใช้ในการป้องกันตัว ซึ่งสารนี้สามารถเกาะติดกับลำตัวของศัตรูที่มาคุกคามได้นานถึง 2 วัน แม้แต่ขนาดงูพิษยังไม่อาจจะกินได้ ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ตัวผู้จะส่งเสียงเรียกตัวเมีย ภายหลังการผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะนำไข่ซึ่งมีทั้งสีขาวและสีดำ ประมาณ 1,000-1,500 ฟอง ปล่อยลงสู่ผิวน้ำ ไข่จะฟักเป็นลูกอ๊อดในเวลา 2 วัน ใช้เวลาพัฒนาเหมือนตัวเต็มวัย 1 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี กบมะเขือเทศมาดากัสการ์ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และมีแสดงตามสวนสัตว์ต่าง ๆ อาทิ เขาดินวน.

ใหม่!!: อันดับกบและกบมะเขือเทศมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

กบลำห้วย

กบลำห้วย หรือ กบห้วย (fanged frog) เป็นสกุลของกบในสกุล Limnonectes ในวงศ์กบลิ้นส้อม (Dicroglossidae) มีรูปร่างลักษณะที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่มักมีส่วนหัวโต ปากกว้าง ในตัวผู้มีฟันอยู่ 1 คู่บริเวณด้านล่างขากรรไกร เรียกว่า "เขี้ยวเทียม" ใช้สำหรับต่อสู้กับตัวผู้ตัวอื่น หรือใช้งับเหยื่อได้เช่นกัน ซึ่งต่างจากกบจำพวกอื่นที่มีฟันขนาดเล็ก จึงทำให้ได้อีกชื่อหนึ่งว่า "กบเขี้ยว" กบในสกุลนี้บางชนิดมีพฤติกรรมการปกป้องตัวอ่อน โดยการเอาไข่หรือลูกอ๊อดแบกไว้บนหลัง (ไม่พบพฤติกรรมนี้ในกบสกุลนี้ในไทย) บางชนิดขุดโพรงเพื่อวางไข่ในดินที่ชื้น รอให้เจริญเป็นตัวอ่อนพัฒนาเป็นกบเล็ก โผล่พ้นจากดิน หลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก พบกระจายพันธุ์ในเอเชียแถบเอเชียตะวันออกถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายชนิดมีพฤติกรรมอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ชนิดที่มีขนาดใหญ่มักอาศัยอยู่ในลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว ขณะที่ชนิดที่มีขนาดเล็กอาศัยตามกองใบไม้หรือริมฝั่ง เฉพาะในสุลาเวสีของอินโดนีเซีย พบอย่างน้อย 15 ชนิด แต่ได้รับการบรรยายเพียงแค่ 4 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีรายงานพบประมาณ 11 ชนิด รวมถึงจากการศึกษาพบว่าในประเทศไทย กบสกุลนี้กินอาหารซึ่งได้แก่แมลงจำพวกมดมากที.

ใหม่!!: อันดับกบและกบลำห้วย · ดูเพิ่มเติม »

กบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รี

กบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รี หรือ กบพิษสตรอว์เบอร์รี (Strawberry poison-dart frog, Strawberry poison frog) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบลูกศรพิษ (Dendrobatidae) เป็นกบที่มีขนาดเล็กเหมือนกับกบลูกศรพิษทั่วไป มีลำตัวเป็นสีแดงฉูดฉาดเห็นได้ชัดเจนและขาทั้งสี่ข้างเป็นสีน้ำเงิน (แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มีสีสันแตกต่างออกไปตามสภาพสัณฐานวิทยา) นิ้วตีนไม่มีพังผืด เนื่องจากใช้ชีวิตในการปีนต้นไม้และอยู่บนพื้นดินเป็นส่วนใหญ่ กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นของภูมิภาคอเมริกากลาง เช่น คอสตาริกา, นิคารากัว จนถึงตะวันออกเฉียงเหนือของปานามา กบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รีมีบลูกศรพิษที่หลั่งออกมาจากรูบนผิวหนังเหมือนรูขุมขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อใช้ในการป้องกันตัวโดยเฉพาะจากสัตว์นักล่า เช่น งู เนื่องจากมีขนาดลำตัวเล็กมาก เมื่องูได้งับเข้าไปแล้ว จะปล่อยสารเคมีจำพวกแอลคาลอยด์ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้กับงูได้ จนกระทั่งต้องยอมคายออกมา แต่กระนั้นก็มิได้หมายความว่า กบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รีทุกตัวจะรอดได้ทั้งครั้ง หากโดนงับเข้าอย่างแรง ก็อาจทำให้ตัวกบแตกและตายได้ ตัวที่มีสีสันแตกต่างออกไป โดยสารแอลคาลอยด์ได้มาจากการที่กบกินอาหารจำพวกแมลงบางชนิด เช่น ปลวก, แมลงปีกแข็ง ที่กินพืชที่มีสารนี้เข้าไปและสะสมในตัว โดยเก็บไว้ในต่อมสารคัดหลั่ง เมื่อโดนคุกคาม จะคายผ่านผิวหนังเพื่อตอบโต้ กบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รีขยายพันธุ์ในกลีบดอกไม้หรือใบไม้ที่มีน้ำขังบนต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่า เช่น บรอมเมเลีย เมื่อตัวเมียวางไข่ ตัวผู้จึงจะปล่อยสเปิร์มเข้าปฏิสนธิ โดยวางไข่จำนวนเพียง 3-4 ฟองเท่านั้น และจะถูกสัตว์บางชนิด เช่น แมงมุม กินเป็นอาหาร แต่จะมีบางส่วนที่เหลือรอด โดยหน้าที่เฝ้าไข่จะเป็นของกบตัวผู้ เมื่อลูกอ๊อดฟักเป็นตัวแล้ว ตัวผู้จะส่งสัญญาณไปยังตัวเมีย และจะเป็นหน้าที่ของตัวเมียที่จะเป็นฝ่ายเลี้ยงดูลูก โดยจะแบกลูกอ๊อดไว้บนหลังเพื่อหาที่ ๆ เหมาะสมสำหรับเลี้ยงดูลูกอ๊อด โดยจะเคลื่อนย้ายลูกอ๊อดไว้บนหลังแบบนี้จนกระทั่งหมด ตัวเมียจะปล่อยไข่ที่ไม่ได้ปฏิสนธิไว้เป็นอาหารแก่ลูกอ๊อด ลูกอ๊อดใช้ระยะเวลาราว 2 สัปดาห์จึงจะเติบโตจนมีสภาพเหมือนกบตัวเต็มวัย และจะปีนลงมาจากใบของต้นบรอมเมเลียลงสู่พื้นดิน เพื่อที่จะใช้ชีวิตต่อไป ซึ่งกบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รีที่เพิ่งลงสู่พื้นดิน ร่างกายจะยังไม่มีพิษสะสม จึงจะต้องเร่งหาอาหารกินเพื่อสะสมพิษ ในตอนนี้จึงอาจตกเป็นอาหารแก่งูได้ง.

ใหม่!!: อันดับกบและกบลูกศรพิษสตรอว์เบอร์รี · ดูเพิ่มเติม »

กบหนังห้อย

กบหนังห้อย (Titicaca water frog, Saggy-skinned frog) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกกบชนิดหนึ่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น กบหนังห้อย จัดอยู่ในวงศ์ Leptodactylidae ซึ่งเป็นวงศ์กบที่มีจำนวนสมาชิกมาก นับเป็นวงศ์ใหญ่ กระจายพันธุ์ตั้งแต่อเมริกากลาง, แคริบเบียน จนถึงอเมริกาใต้ กบหนังห้อยมีลักษณะเด่น คือ มีผิวหนังที่ใหญ่มาก จนห้อยย้อยและพับโก่งตัวขึ้นอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งผิวหนังที่พับย่นนี้มีเพื่อสำหรับหายใจในน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจัดและในระดับที่ลึก เนื่องจากเป็นกบที่พบเฉพาะทะเลสาบตีตีกากา ในประเทศโบลิเวีย ใกล้กับเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ตั้งอยู่บนที่สูงถึง 3,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนที่สูงแห่งหนึ่งของโลก ทำให้มีปริมาณออกซิเจนต่ำ และอุณหภูมิของน้ำเย็นยะเยือก ซึ่งผิวหนังที่พับย่นของกบหนังห้อยเป็นการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับการอาศัยในสภาพแวดล้อมแห่งนี้ โดยภายในผิวหนังมีหลอดเลือดฝอยหนาแน่นมากเพื่อช่วยแลกเปลี่ยนออกซิเจน และมีลักษณะการว่ายน้ำแบบส่ายไปมาเพื่อให้น้ำปะทะกับผิวหนังให้มากที่สุดเพื่อหายใจ ปอดมีขนาดเล็กกว่ากบวงศ์อื่น ๆ ถึง 4 เท่า และมีปริมาณแมตาบอลิสซึมต่ำมากที่สุดชนิดหนึ่งของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมด กบหนังห้อยจะอาศัยเฉพาะอยู่แต่ในน้ำชั่วชีวิต นิ้วตีนทั้ง 4 ข้างมีพังผืดขนาดใหญ่มากเชื่อมต่อกัน จึงเป็นกบที่กระโดดไม่ได้ โดยปกติจะหลบซ่อนตัวอยู่ในกอพืชน้ำและสาหร่าย มีขนาดโตเต็มที่ราว 25-30 เซนติเมตร กบตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้หลายเท่า ซึ่งขนาดที่ใหญ่ที่สุด ถูกบันทึกไว้ในปี..

ใหม่!!: อันดับกบและกบหนังห้อย · ดูเพิ่มเติม »

กบอกหนาม

กบอกหนาม (อังกฤษ: Spiny-breasted Giant Frog, ชื่อวิทยาศาสตร์: Paa fasciculispina) เป็นกบชนิดหนึ่งในวงศ์กบนา (Ranidae) พบในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง..

ใหม่!!: อันดับกบและกบอกหนาม · ดูเพิ่มเติม »

กบอเมริกันบูลฟร็อก

กบอเมริกันบูลฟร็อก (American bullfrog) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ในวงศ์กบนา (Ranidae) เป็นกบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้ว มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือทางด้านตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่อยไปจนถึงตอนกลางของประเทศ ต่อมามีการนำไปเลี้ยงแพร่กระจายทางด้านตะวันตกของประเทศ กบอเมริกันบูลฟร็อกเมื่อโตเต็มที่ด้านหลังมีสีเขียว ปนสีน้ำตาลเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลทั่วตัว ส่วนหัวด้านหน้ามีสีเขียว ที่ขามีลายพาดขวาง แยกเพศได้โดยสังเกตจากลักษณะภายนอกคือ ตัวเมียมีวงหูเล็กกว่าตา ลำตัวมีสีอ่อนใต้คางมีสีขาวครีม ส่วนท้องอูมและมีขนาดใหญ่ ตัวผู้มีวงหูใหญ่กว่าตา ในช่วงฤดูสืบพันธุ์ลำตัวมีสีเข้มขึ้นและที่ใต้คางมีสีเหลือง หรือเหลืองปนเขียว ไม่มีถุงเสียง แต่มีกล่องเสียงทำให้สามารถส่งเสียงร้องดังคล้ายวัวได้ยินเป็นระยะไกลอันเป็นที่มาของชื่อ กบอเมริกันบลูฟร็อกจัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีการเพาะขยายพันธุ์เพื่อใช้เนื้อในการบริโภคในหลายประเทศ ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาและเพาะเลี้ยงขายพันธุ์นานแล้ว และมีบางส่วนที่เล็ดรอดไปสู่ธรรมชาติ ได้เกิดการผสมข้ามพันธุ์กับกบพื้นเมือง ทำให้เสียสายพันธุ์ดั้งเดิม.

ใหม่!!: อันดับกบและกบอเมริกันบูลฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

กบทาสี

กบทาสี (Painted frog) เป็นสกุลของกบในสกุล Discoglossus ในวงศ์คางคกหมอตำแย (Alytidae) เป็นกบขนาดเล็กมีความยาวลำตัวประมาณ 6–7 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าค่อนข้างเปิดโล่งและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยขุดโพรงที่มีอุโมงค์เป็นระบบเชื่อมต่อกัน การขุดโพรงใช้ขาหน้าและใช้ส่วนหัวดันวัสดุให้ออกจากโพรง ตัวผู้ส่งเสียงร้องหาตัวเมีย และกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งเอวเมื่อผสมพัน.

ใหม่!!: อันดับกบและกบทาสี · ดูเพิ่มเติม »

กบทูด

กบทูด หรือ กบภูเขา หรือ เขียดแลว (Kuhl's creek frog, Giant asian river frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Limnonectes blythii) เป็นกบขนาดใหญ่ที่สุดในที่พบได้ในประเทศไทย ความยาวจากปลายปากถึงก้น ประมาณ 1 ฟุต น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง อยู่ตามลำห้วยป่าดิบเฉพาะแห่ง โดยพบภาคตะวันตกของไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซีย เช่นในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา, อุทยานแห่งชาติเขาสก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังพบได้ในกัมพูชา, ลาว และเวียดนาม มีลักษณะ ปลายปากเรียวแหลมจนเห็นได้ชัด ส่วนลำตัวอ้วนใหญ่ ผิวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ไม่สะดุดตาดูคล้ายเป็นผิวหนังเรียบ เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดง ริมฝีปากดำ มีขีดดำจากท้ายตาลากมาจนถึงเหนือวงแก้วหู บริเวณสีข้างอาจมีลาย หรือจุดสีดำ น้ำตาลเข้ม ส่วนขามีลายเข้มคาด เป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถปรับเปลี่ยนสีผิวไปตามที่อยู่อาศัย เช่น ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดงเมื่ออาศัยอยู่ตามพงหญ้าแห้ง หรือมีสีดำเมื่อหลบซ่อนอยู่ในโพรงไม้ กบทูดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยหากินตอนกลางคืน ชอบสภาพอากาศค่อนข้างเย็น เวลากลางวันมักหลบซ่อนอยู่ตามที่มืดทึบ เช่น โพรงไม้, หลุม, พงหญ้า บริเวณเหล่านี้ล้วนมีสภาพชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกบทูดไม่สามารถอาศัยอยู่ในที่แห้งแล้งหรือร้อนจัดได้นาน เพราะสภาพเช่นนี้จะทำให้ผิวหนังแห้ง อาจทำให้ตายได้ ความแตกต่างเพศผู้เพศเมีย สามารถดูได้จากระยะห่างระหว่างตากับวงแก้วหู ตัวผู้จะมีระยะห่างดังกล่าวนี้ยาวกว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ยังสังเกตได้จากเขี้ยว ซึ่งตัวผู้จะเห็นได้เด่นชัดมากกว่าตัวเมียที่มีลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ และโดยส่วนใหญ่แล้ว กบทูดตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ฤดูผสมพันธุ์ของกบทูดอยู่ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม เมื่อช่วงฤดูวางไข่ ตัวผู้จะขุดหลุมสำหรับตัวเมียวางไข่ เวลาผสมพันธุ์ตัวผู้ลงไปอยู่ในหลุมที่ตัวเองขุด แล้วจะส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์ก็จะลงไปในหลุมนั้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันกลบหลุมไข่ ซึ่งมีลักษณะเป็นกองหินนูนขึ้นมา ทั้งตัวเมียและตัวผู้จะผลัดกันเฝ้าหลุมไข่พร้อมกับออกหาอาหาร กบทูด จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่จัดเป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ปัจจุบัน กบทูดเป็นสัตว์ที่หายากชนิดหนึ่งในประเทศไทย อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป จึงมีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยทางกรมประมง เช่น สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้แล้วในขณะนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและกบทูด · ดูเพิ่มเติม »

กบดอยช้าง

กบดอยช้าง (Doichang frog) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกกบ จัดเป็นกบขนาดเล็ก มีความยาวจากปลายจมูกถึงปลายก้น 35–38 มิลลิเมตร หัวกว้างกว่ายาว ปลายจมูกมนกลม สันบนจมูกหักมุมเด่นชัด รูจมูกอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างตากับปลายจมูก ระยะระหว่างตาแคบกว่าความกว้างของเปลือกตา แผ่นหูขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างของตาและเห็นไม่ชัดเจนนัก นิ้วตีนนิ้วแรกยาวไล่เลี่ยกับนิ้วที่สอง ขาหลังยาวเมื่อเหยียดไปทางด้านหน้า รอยต่อของต้นขากับแข้งอยู่เลยปลายจมูก มีปุ่นที่ฝ่าตีนเพียงปุ่มเดียว ผิวลำตัวเรียบ สันด้านข้างลำตัวเริ่มที่หลังเปลือกตาหลังพาดตลอดความยาวตัวแล้วเข้ามาเชื่อมกับสันอีกด้านหนึ่งตรงเหนือรูทวาร ลำตัวออกสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมดำ สันด้านข้างลำตัวสีขาว มีขลิบสีดำตรงบริเวณหัวและไหล่ ริมฝีปากสีดำมีลายแต้มสีขาว ด้านข้างลำตัวมีจุดสีดำสนิท ขาทั้ง 4 ข้างมีลายพาดขวางสีดำ ใต้ท้องออกสีเหลือง ใต้คางมีลายกระละเอียดสีดำ มีจุดสีดำกระจายห่าง ๆ กันใต้ท้องและใต้ขา กบดอยช้าง ถูกค้นพบครั้งแรกที่ดอยช้าง ตรงรอยต่อระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับเชียงราย เมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับกบและกบดอยช้าง · ดูเพิ่มเติม »

กบต้นไม้

กบต้นไม้ (Tree frog) หรืออาจเทียบได้กับภาษาไทยว่า ปาด หรือ เขียดตะปาด หมายถึง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) โดยทั่วไปแล้วมีขนาดเล็กกว่ากบหรือเขียดทั่วไป มีขาและนิ้วยาว หลายชนิดอาศัยอยู่บนต้นไม้ แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: อันดับกบและกบต้นไม้ · ดูเพิ่มเติม »

กบนา

กบนา (Chinese edible frog, East Asian bullfrog, Taiwanese frog; 田雞, 虎皮蛙) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae) ลักษณะผิวด้านหลังมีสีน้ำตาลจุดดำ ผิวหนังขรุขระมีรอยย่น ที่ริมฝีปากมีแถบดำ ใต้คางมีจุดดำ หรือแถบลายดำ เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนัก 200–400 กรัม กบนาตัวเมีย มีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ท้องจะมีลักษณะอูมเคลื่อนไหวช้าและข้างลำตัวจะมีตุ่มเมื่อคลำดูมีลักษณะ สากมือ ตุ่มที่ด้านข้างลำตัวแสดงถึงความพร้อมของตัวเมีย กบนาตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 150– 50 กรัม เมื่อโตเต็มที่และพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมองเห็นถุงเสียง เป็นรอยย่นสีดำที่ใต้คาง ถุงเสียงเกิดจากการที่กบนาตัวผู้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้พร้อมที่จะผสมพันธุ์ในช่วงนี้ลำตัวจะมีสีเหลือง นิ้วเท้าด้านหน้าจะมีตุ่มที่ขยายใหญ่ขึ้น มองเห็นได้ชัดเจน ตุ่มนี้มีประโยชน์ในการใช้เกาะตัวเมียและตุ่มนี้จะหายไปในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีช่วงฤดูผสมพันธุ์อยู่ที่ระหว่างเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกันยายน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ 1 ปี วางไข่ครั้งละ 1,500–3,000 ฟอง ต่อครั้ง ระยะการฟักไข่กลายเป็นลูกอ๊อดใช้เวลา 24–36 ชั่วโมง ลูกอ๊อดพัฒนาไปเป็นลูกกบใช้เวลา 28–45 วัน โดยลูกอ๊อดมีลำตัวสีเขียว พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น นาข้าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเป็นกบชนิดที่นิยมบริโภคกันเป็นอาหารมาอย่างช้านาน มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ในตัวที่มีผิวสีเผือกขาวหรือสีทองอาจเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้.

ใหม่!!: อันดับกบและกบนา · ดูเพิ่มเติม »

กบแอฟริกันบูลฟร็อก

กบแอฟริกันบูลฟร็อก (African bullfrog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyxicephalus adspersus) เป็นกบชนิดที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว จุดสีน้ำตาล บริเวณส่วนหัวสีเขียวเคลือบน้ำตาล ขาทั้งสี่มีลายน้ำตาลดำ ขาหลังมีลายขวาง ลำตัวอ้วนข้างท้องมีลายน้ำตาลใต้ท้องเป็นสีขาว ผิวหนังส่วนใหญ่เรียบจะมีบ้างเป็นบางส่วนที่ขรุขระ มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปแอฟริกาแถบแอฟริกากลางจนถึงแอฟริกาใต้ ความแตกต่างระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย นอกจากอวัยวะเพศแล้วตัวผู้จะมีวงแก้วหูใหญ่กว่าตาและอยู่ทางด้านหลัง ลำตัวจะมีสีเข้มบริเวณใต้คางซึ่งมีสีจะเหลืองปนเขียวอย่างชัดเจนบริเวณใต้คางจะเป็นสีเหลือง แต่เพศเมียผิวหนังจะสดใสกว่าและมีวงแก้วหูเล็กกว่าตา กบแอฟริกันบูลฟร็อกเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 8-10 นิ้ว พร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 12-18 เดือน ตัวผู้จะส่งเสียงร้องคล้ายวัวเพื่อหาคู่ จึงเป็นที่มาของชื่อ (บูลฟร็อก.

ใหม่!!: อันดับกบและกบแอฟริกันบูลฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

กบแคระแอฟริกัน

กบแคระแอฟริกัน (African dwarf frog) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Hymenochirus ในวงศ์กบเล็บ (Pipidae) เป็นกบที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต มีลำตัวแบนราบมาก ขายื่นออกไปทางด้านข้างลำตัว ไม่มีเส้นข้างลำตัวเหมือนกบสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน ขาหลังใหญ่และมีแผ่นหนังเป็นพังผืดระหว่างนิ้วตีนใหญ่มาก ขาหน้ามีนิ้วตีนยาวและมีพังผืด ลูกอ๊อดกินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 6.35 เซนติเมตร (2.5 นิ้ว) อายุสูงสุดที่พบคือ 20 ปี พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ของทวีปแอฟริกา แถบลุ่มน้ำคองโก เป็นกบที่มีขนาดเล็ก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์น้ำสวยงามเหมือนปลาสวยงามในตู้กระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวที่เป็นสีเผือก.

ใหม่!!: อันดับกบและกบแคระแอฟริกัน · ดูเพิ่มเติม »

กบโกไลแอท

กบโกไลแอท (Goliath frog, Giant slippery frog) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดว่าเป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่ยังมีการสืบเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบัน โดยกบโกไลแอทมีความยาวเต็มที่ประมาณ 33.2 เซนติเมตร (12.6 นิ้ว) และมีน้ำหนัก 3.25 กิโลกรัม (7.17 ปอนด์) จัดได้ว่ามีน้ำหนักพอ ๆ กับเด็กทารกแรกคลอด เมื่อยังมีสภาพเป็นลูกอ๊อดก็เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เป็นกบที่กระจายพันธุ์อยู่ตามแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวที่มีสภาพพื้นเป็นทราย ในป่าดิบทึบหรือภูเขาในแถบแอฟริกากลาง บริเวณประเทศแคเมอรูนและอิเควทอเรียลกินี อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่สะอาดและมีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง กินอาหารได้หลากหลายทั้ง แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น ตั๊กแตน, แมลงปอ รวมถึงกบด้วยกัน, ปู หรือแม้กระทั่งเต่าหรืองูขนาดเล็ก และมีรายงานว่าพบค้างคาวในท้องด้วย มีอายุเต็มที่ 15 ปีในธรรมชาติ และ 21 ปีในที่เลี้ยง กบโกไลแอท เป็นกบที่ถูกใช้เป็นอาหารบริโภคในท้องถิ่น และจากความใหญ่โตของร่างกาย ทำให้ถูกจับนำมาขายเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์แปลก อีกทั้งการบุกรุกทำลายป่าและการสร้างเขื่อน ทำให้ปริมาณกบโกไลแอทลดน้อยลง อีกทั้งเป็นกบที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง แต่ทางรัฐบาลแคเมอรูนจำกัดการส่งออกกบโกไลแอทไม่เกิน 300 ตัวต่อปี.

ใหม่!!: อันดับกบและกบโกไลแอท · ดูเพิ่มเติม »

กราวเขียว

กราวเขียว หรือ ตะพาบหัวกบ (Asian giant softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys มีด้วยกันทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: อันดับกบและกราวเขียว · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าหนาม

ำหรับกิ้งก่าหนามชนิดที่พบในทะเลทรายของออสเตรเลีย ดูที่: กิ้งก่าปีศาจหนาม กิ้งก่าหนาม (Horned lizards) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Phrynosoma ในวงศ์กิ้งก่าหนามอเมริกาเหนือ (Phrynosomatidae) (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์อีกัวนา (Iguanidae) โดยถือเป็นวงศ์ย่อยออกมา) มีรูปร่างตัวอ้วนป้อม ลำตัวสั้น หางสั้น แลดูคล้ายกบหรือคางคก มีลักษณะเด่น คือ มีหนามสั้น ๆ อยู่รอบลำตัวและส่วนหัว ซึ่งพัฒนามาจากเกล็ด ในส่วนที่เป็นเขาจริง ๆ เป็นกระดูกแข็งมีอยู่ส่วนหัว กระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งที่เป็นทะเลทรายทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาต่อกับภาคเหนือของเม็กซิโก เช่น เท็กซัส และนิวเม็กซิโก มีพฤติกรรมที่อยู่เฉย ๆ นิ่ง ๆ กับพื้น เมื่อเคลื่อนที่ก็ช้ากว่ากิ้งก่าทั่วไป หากินแมลงเล็ก ๆ เช่น มด ด้วยการนิ่งอยู่เฉย ๆ แล้วตวัดกินเอา กิ้งก่าหนามมีวิธีการป้องกันตัวที่นับได้ว่าหลากหลายและแปลกประหลาดมากอย่างหนึ่ง ในอาณาจักรสัตว์โลกทั้งหมด เมื่อถูกคุกคาม สามารถที่จะพองตัวขึ้นมาเพื่อให้หนามเล็ก ๆ บนตัวทิ่มแทงผู้รุกรานได้ รวมถึงการเปลี่ยนสีเพื่อพรางตัวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นกรวดทรายหรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ ได้อย่างดีเยี่ยมและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีเส้นขีดสีขาว 2 เส้น บนหลังที่ดูคล้ายกับกิ่งไม้หรือหญ้าแห้ง ๆ อีกด้วย และการป้องกันตัวที่พิเศษที่สุด คือ การสามารถพ่นเลือดออกจากตาเพื่อไล่ผู้รุกรานให้หนีไปได้ด้วย ในเลือดนั้นมีสารเคมีบางอย่างที่ยังไม่มีการศึกษาไปถึงว่าเป็นอะไร แต่เป็นสารเคมีที่มีกลิ่นฉุน มีรสชาติที่ไม่พิศมัย สร้างความรำคาญแก่สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หมาจิ้งจอก, หมาโคโยตี้ ที่จับกินเป็นอาหาร ที่เมื่อโดนเลือดนี้พ่นเข้าใส่ จะปล่อยตัวกิ้งก่าทันที และเอาหัวถูไถไปกับวัสดุต่าง ๆ เพื่อลบกลิ่นและเลือดให้ออก กิ้งก่าหนามพ่นเลือดได้จากการบีบของกล้ามเนื้อในเปลือกตาให้พ่นออกมาเข้าปากของผู้ที่มารุกราน ซึ่งกิ้งก่าหนามจะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อถูกคาบอยู่ในปากหรืออยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ปากแล้วเท่านั้น โดยเลือดที่ถูกบีบพุ่งออกมานั้น เกิดจากเส้นเลือดดำที่ปิดตัวเอง ทำให้เกิดความดันขึ้นในโพรงกะโหลก จนตาทั้ง 2 ข้างพองออก เลือดแดงจะรวมตัวกันเป็นจำนวนมากในเส้นเลือดฝอยจนมากพอในปริมาณที่จะปล่อยพุ่งออกมาได้ จากการศึกษาพบว่าสามารถพ่นได้มากถึง 54 ครั้ง ภายในเวลาไม่ถึง 2 นาที แม้จะดูว่าเสียเลือดไปเป็นจำนวนมาก แต่กิ้งก่าหนามจะไม่เป็นอะไรเลย และร่างกายสามารถผลิตเลือดใหม่ขึ้นทดแทนได้ในเวลาไม่นานBLOOD SQUIRTING LIZARD, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: อันดับกบและกิ้งก่าหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ภัยพิบัติแห่งอียิปต์

มื่อพระเจ้าทรงใช้โมเสสและอาโรนให้เข้าเฝ้าฟาโรห์เพื่อทูลขอให้ทรงปล่อยวงศ์วานอิสราเอลเป็นไทนั้น โมเสสและอาโรนต้องเข้าไปทูลขอถึง 10 ครั้ง กว่าที่องค์ฟาโรห์จะยอมปล่อยชนชาติอิสราเอลให้ออกจากอียิปต์ได้ ในแต่ละครั้งที่ฟาโรห์ทรงละเลยต่อคำขอของโมเสสและอาโรนนั้น พระเจ้าก็ทรงมอบภัยพิบัติต่าง ๆ ให้แก่อียิปต์ทุกครั้ง จนกระทั่งองค์ฟาโรห์ทรงพบกับภัยพิบัติครั้งสุดท้ายด้วยพระองค์เอง จึงยอมปล่อยให้อิสราเอลออกเดินทางจากอียิปต์ได้ โดยในการขอให้ฟาโรห์ปล่อยอิสราเอลนั้น โมเสสได้ทูลขอองค์ฟาโรห์ ให้ตนนำอิสราเอลออกไปถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้าในถิ่นทุรกันดาร ภัยพิบัติที่จะกล่าวถึงนี้ อ้างอิงมาจากคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม หนังสืออพยพ บทที่ 7-13.

ใหม่!!: อันดับกบและภัยพิบัติแห่งอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

มังกรจีน

วาดมังกรจีนโบราณ มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: เล้ง; ไทยถิ่นเหนือ: ลวง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ, คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร.

ใหม่!!: อันดับกบและมังกรจีน · ดูเพิ่มเติม »

มาสค์ไรเดอร์คิบะ

มาสค์ไรเดอร์คิบะ เป็นชื่อของ ภาพยนตร์ญี่ปุ่น แนว โทคุซัทสึ ในซีรีส์ มาสค์ไรเดอร์ ประจำปี 2008 เป็นลำดับที่18 โดย โตเอะ คัมปะนี และ อิชิโนะโมะริ โปรดักชั่นส์ เริ่มออกอากาศวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2008 ต่อจากตอนสุดท้ายของ "มาสค์ไรเดอร์เดนโอ" โดยออกอากาศทางทีวีอาซาฮี ในช่วง ซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ ร่วมกับ "เอนจิน เซนไท โกออนเจอร์" โดยธีมหลักของซีรีส์นี้เป็นแนวสยองขวัญ โดยให้ภาพลักษณ์แก่คิบะเป็น แวมไพร์ สโลแกนประจำซีรีส์นี้คือ "จงตื่นขึ้น! ปลดปล่อยพันธนาการแห่งโชคชะตา" โดยตอนแรกที่ออกอากาศนั้นได้มีการระลึกวันคล้ายวันเกิดปีที่ 70 ของ อิชิโนะโมะริ โชทาโร่ ในซีรีส์อีกด้วย มาสค์ไรเดอร์คิบะออกอากาศเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2008 ถึงวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2009 โดยออกอากาศทั้งหมด 48 ตอนและมีภาพยนตร์ตอนพิเศษอีก 2 ตอนคือ มาสค์ไรเดอร์เดนโอ & คิบะ ไคลแม็กซ์เดกะ (劇場版 仮面ライダー電王&キバ クライマックス刑事) และ มาสค์ไรเดอร์คิบะ ราชาแห่งปราสาทนรก (劇場版 仮面ライダーキバ 魔界城の王) ในประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์เริ่มวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554- 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 7:35 น. และได้กลับมาออกอากาศที่ช่องการ์ตูนคลับอีกครั้งในปี 2556 ทางช่องการ์ตูนคลั.

ใหม่!!: อันดับกบและมาสค์ไรเดอร์คิบะ · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: อันดับกบและมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ใหม่!!: อันดับกบและระบบการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า ทั้งยังช่วยควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: อันดับกบและระบบนิเวศป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง

ในการตั้งชื่อทางชีววิทยา สิ่งมีชีวิตมักได้รับชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล ชั้นอนุกรมวิธาน (taxon) (ตัวอย่างเช่น สปีชีส์ หรือ สกุล) ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่งอื่นอื่นเรียกว่า eponymous taxon ส่วนชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลใดบุคคลนึง หรือกลุ่มคน เรียกว่า patronymic ปกติแล้วชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารที่มีการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ โดยมีคำบรรยายชื่อชั้นอนุกรมวิธานและวิธีบอกความแตกต่างกับชั้นอนุกรมวิธานอื่น ตามกฎของไวยากรณ์ภาษาละตินชื่อสปีชีส์หรือชนิดย่อยที่มาจากชื่อผู้ชายส่วนใหญ่ลงท้ายด้วย -i หรือ -ii หากตั้งชื่อตามคนบุคคลและ -orum หากตั้งชื่อตามกลุ่มผู้ชายหรือชายหญิง เช่น ครอบครัว ในทางคล้ายกัน ชื่อที่ตั้งตามผู้หญิงล้วนลงท้ายด้วย -ae หรือ -arum สำหรับผู้หญิงสองคนหรือมากกว่า รายชื่อนี้มีสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามบุคคลหรือคณะที่มีชื่อเสียง (รวมไปถึงวงดนตรี และคณะนักแสดง) แต่ไม่รวมบริษัท สถาบัน กลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ และสถานที่ซึ่งมีคนอยู่มาก ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามตัวละครในนวนิยาย นักชีววิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ หรือคนในครอบครัวของนักวิจัยที่อาจไม่เป็นที่รู้จัก ชื่อวิทยาศาสตร์อยู่ในรูปแบบที่บรรยายไว้ดั้งเดิม.

ใหม่!!: อันดับกบและรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในอาณาจักรแห่งกาลเวลา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อันดับกบและรายชื่อตัวละครในอาณาจักรแห่งกาลเวลา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอ

รายชื่อตัวละครทั้งหมดในแฟรนไชส์มาริโอมาจากแฟรนไชส์มาริโอมีดังนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและรายชื่อตัวละครในแฟรนไชส์มาริโอ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโปเกมอน (1–51)

แฟรนไชส์ โปเกมอน มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสมมุติที่เรียกว่าโปเกมอนทั้งหมด 721 สายพันธุ์ (นับถึง''โปเกมอนภาคโอเมการูบี''และ''แอลฟาแซฟไฟร์'') นี่คือรายชื่อโปเกมอน 51 สายพันธุ์ ที่พบใน''โปเกมอนภาคเรด''และ''กรีน'' เรียงตามสมุดภาพโปเกมอนเนชัลแนลของซีรีส์เกมหลัก.

ใหม่!!: อันดับกบและรายชื่อโปเกมอน (1–51) · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: อันดับกบและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: อันดับกบและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: อันดับกบและลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์

ลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์ (Little Nemo: The Dream Master) หรือที่รู้จักกันในชื่อเวอร์ชันของญี่ปุ่นคือ พาจามาฮีโรนีโม (パジャマヒーロー) เป็นแพลตฟอร์มเกมที่ได้รับการเปิดตัวในระบบแฟมิคอมในปี..

ใหม่!!: อันดับกบและลิตเติลนีโม: เดอะดรีมมาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกอ๊อด

ลักษณะโดยทั่วไปของลูกอ๊อด และลักษณะของปาก ลูกอ๊อดของกบในวงศ์ Bufonidae ลูกอ๊อด (Tadpole, Pollywog, Porwigle) หรือ ลูกฮวก หรือ อีฮวก ในภาษาอีสานหรือภาษาเหนือ เป็นชื่อเรียกของตัวอ่อนของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) เมื่อโตเต็มวัย ลูกอ๊อดจะมีรูปร่างเช่นเดียวกบปกติทั่วไป แต่กระนั้นก็ยังมีกบบางชนิดที่ไม่มีช่วงวัยลูกอ๊อด ลูกอ๊อด มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลา มีหาง ไม่มีขา หายใจด้วยเหงือก ส่วนหัวมีขนาดโตมาก ซึ่งลูกอ๊อดของกบแต่ละวงศ์ก็มีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป โดยแบ่งตามโครงสร้างของปาก, โครงสร้างของห้องเหงือก, และจำนวนและตำแหน่งของช่องเปิดเหงือกที่เป็นทางผ่านออกของน้ำซึ่ง สามารถจำแนกเป็น 4 แบบได้ คือ 1.

ใหม่!!: อันดับกบและลูกอ๊อด · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ใหม่!!: อันดับกบและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Herpetology) เป็นสัตววิทยาแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อาทิ เต่า, ตะพาบ, จระเข้, กิ้งก่า, จิ้งจก, ตุ๊กแก, งู, กบ, คางคก, ซาลาแมนเดอร์, ทัวทารา โดยคำว่า "Herpetology" มาจากภาษากรีก คำว่า ἑρπήτόν (herpeton) หมายถึง "สัตว์ที่น่าขยะแขยง" และ λογία (logia) หมายถึง "ความรู้ หรือ การศึกษา" ซึ่งผู้ที่มีความสนใจหรือศึกษาศาสตร์ด้านนี้โดยเฉพาะเรียกว่า นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สำหรับ ผู้ที่จะเป็นนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกได้นั้นต้องมีภูมิหลังการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างดีเยี่ยม มีสถาบันการศึกษาเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่เปิดสอนศาสตร์แขนงนี้ สำหรับในประเทศไทยแล้ว การเปิดสอนศาสตร์แขนงนี้ในสถาบันการศึกษาโดยตรงยังไม่มี แต่จะอยู่ในภาควิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้นและมีผู้นิยมชมชอบและเชี่ยวชาญอยู่จำนวนไม่น้อย เช่น ผู้ที่นิยมการเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ หรือ ผู้ที่ทำงานด้านนี้ในทางวิชาการ อาทิ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์, จารุจินต์ นภีตะภัฏ, ธัญญา จั่นอาจ, วีรยุทธ์ เลาหะจินดา เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกบและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบมีหาง

กบมีหาง (Tailed frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ascaphidae กบในวงศ์นี้ มีลักษณะสำคัญคือ ตัวผู้มีอวัยวะถ่ายอสุจิรูปร่างคล้ายหาง อยู่ทางด้านท้ายของห้องทวารร่วม อวัยวะส่วนนี้ได้รับการค้ำจุนด้วยแท่งกระดูกอ่อนที่เจริญมาจากกระดูกเชิงกราน ภายในมีเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ขณะที่ตัวผู้กอดรัดตัวเมียจะงอหางไปข้างหน้าและสอดเข้าไปในช่องทวารร่วมของตัวเมียเพื่อถ่ายอสุจิ การงอหางเกิดจากการหดตัวของอสุจิ นอกจากนี้แล้วยังมีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบจำนวน 9 ปล้อง ซึ่งนับว่ามีมากกว่ากบวงศ์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีกระดูกอิพิพิวบิสอยู่ด้านหน้ากระดูกพิวบิส ลูกอ๊อดมีช่องปากมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ในแนวตรงกลางลำตัว จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่า กบในวงศ์นี้เป็นบรรพบุรุษของกบวงศ์อื่น ๆ ทั้งหมด มีขนาดลำตัวขนาดเล็กประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลาในลำธารที่มีกระแสน้ำแรงและเย็นจัด ตัวผู้ไม่มีแผ่นเยื่อแก้วหูและไม่ส่งเสียงร้องแต่ใช้ตารับภาพเพื่อเสาะหาตัวเมีย การผสมพันธุ์เกิดขึ้นในน้ำโดยตัวผู้กอดรัดตัวเมียในบริเวณเอว กบตัวเมียจะเก็บอสุจิไว้ในท่อนำไข่นาน 9 เดือน ต่อจากนั้นจึงวางไข่จำนวน 40-80 ฟองติดไว้ในก้อนหินใต้ลำธาร ไข่มีขนาดใหญ่และเอ็มบริโอเจริญอยู่ภายในไข่เป็นระยะเวลานาน ลูกอ๊อดมีอวัยวะใช้ยึดเกาะก้อนหินเจริญขึ้นมาบริเวณปาก และลดรูปครีบหางซึ่งปรับตัวเพื่ออาศัยในลำธารกระแสน้ำไหลแรง และลูกอ๊อดใช้ระยะเวลานานถึง 2-3 ปี จึงเจริญเป็นตัวเต็มวัย กบในวงศ์กบมีหางนี้ มีเพียงสกุลเดียว คือ Ascaphus มีเพียง 2 ชนิด แพร่กระจายพันทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา อาศัยอยู่บริเวณแนวฝั่งลำธารที่น้ำใสและเย็นจัดบนภูเขาที่มีความสูงกว่า 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบมีหาง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบลิ้นส้อม

วงศ์กบลิ้นส้อม (Fork-tongued frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบ จัดอยู่ในวงศ์ Dicroglossidae กบในวงศ์นี้มีกระดูกนาซัลเป็นชิ้นกว้างและอยู่ชิดกับกระดูกฟรอนโทพาไรทัล กระดูกหน้าอกมีด้านท้ายแยกจากกันเป็นสองแฉก อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันมาก ทั้งพื้นดิน, ใกล้แหล่งน้ำ และบนต้นไม้ วางไข่ในน้ำ ตัวอ่อนเจริญเติบโตภายในไข่และลูกอ๊อดออกจากไข่มีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย จัดเป็นกบที่มีขนาดลำตัวเล็กหรือปานกลาง พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และบางส่วนของยุโรป เดิมเคยจัดอยู่รวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์กบแท้ (Ranidae) โดยจัดเป็นวงศ์ย่อย ใช้ชื่อว่า Dicroglossinae.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบลิ้นส้อม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบลื่น

วงศ์กบลื่น (accessdate) เป็นวงศ์ของกบที่มีขนาดใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Conrauidae และมีเพียงสกุลเดียวคือ Conraua ซึ่งในบางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Petropedetidae (ซึ่งบางข้อมูลวงศ์ Petropedetidae นี้ถูกเรียกว่า Petropedetinae จัดเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Ranidae หรือกบแท้อีกที) เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ พบกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่แถบใต้สะฮารา โดยมีสมาชิกในวงศ์คือ กบโกไลแอท เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวถึง 32 เซนติเมตร (13 นิ้ว) ตั้งแต่ปลายจมูกจรดก้นกบ และมีน้ำหนักมากถึง 3.3 กิโลกรัม (7.3 ปอนด์) พบทั้งหมด 6 ชนิด โดยที่มี 4 ชนิดกำลังถูกคุกคาม โดยที่ชื่อวงศ์และสกุลตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ กุสตาฟ คอนรู พ่อค้าและนายหน้าแรงงานชาวเยอรมัน เป็นผู้ที่สะสมต้นแบบแรกของกบในวงศ์นี้จนกระทั่งได้รับการอนุกรมวิธาน คือ Conraua robusta.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบลื่น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบลูกศรพิษ

กบลูกศรพิษ (Poison dart frogs, Dart-poison frogs, Poison frogs, Poison arrow frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobatidae.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบลูกศรพิษ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบนา

วงศ์กบนา หรือ วงศ์กบแท้ (True frogs) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ranidae (/รา-นิ-ดี/) กบในวงศ์นี้มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย กระดูกนิ้วชิ้นสุดท้ายมีส่วนปลายนิ้วเรียวยาวหรือเป็นรูปตัว T ลูกอ๊อดมีช่องจะงอยปากและมีฟัน ช่องเปิดของเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านข้างของด้านซ้ายลำตัว มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมาก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ กบโกไลแอท (Conraua goliath) ที่พบในทวีปแอฟริกาที่มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ขณะที่บางชนิด บางสกุลมีลำตัวอ้วนป้อมและอาศัยอยู่ในโพรงดิน บางชนิดอาศัยอยู่ในลำธารที่กระแสน้ำไหลแรงและว่ายน้ำได้ดีมาก ก็มีด้วยกันหลายชนิด ในหลายสกุล.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบนา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กบเล็บ

วงศ์กบเล็บ หรือ วงศ์กบไม่มีลิ้น (Clawed frog, Tongueless frog, Aquatic frog) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำวงศ์หนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Papidae (/ปา-ปิ-ดี/) มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วไม่มีลิ้น กระดูกสันหลังปล้องที่ 2-4 ของตัวเต็มวัยมีกระดูกซี่โครงและเชื่อมรวมกัน บางสกุลและบางชนิดไม่มีฟันที่กระดูกพรีแมคซิลลาและที่กระดูกแมคซิลลา มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 6-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัลหรือแบบอย่างดัดแปรของเฟอร์มิสเทอร์นัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลลาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีช่องปากยาวและแคบ ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันบริเวณปาก ช่องเปิดห้องเหงือกมี 2 ช่องอยู่ทางด้านข้างของลำตัว กินอาหารด้วยการกรองเข้าปาก มีความยาวลำตัวประมาณ 4-17 เซนติเมตร มีลำตัวแบนราบมาก และมีขายื่นไปทางด้านข้างลำตัว อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำได้หลากหลายประเภท รวมทั้งแหล่งน้ำขังชั่วคราวบนท้องถนน เนื่องจากอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เส้นข้างลำตัวจึงเจริญ ยกเว้นบางสกุลที่ไม่มี ขาหลังใหญ่และมีแผ่นหนังระหว่างนิ้วตีนใหญ่มาก ขาหน้ามีนิ้วตีนยาวแต่ไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว ยกเว้นบางสกุลเท่านั้นที่มี นิ้วตีนมีเล็บยาว แบ่งออกได้เป็น 5 สกุล 32 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ บางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ขณะที่ในบางสกุลนิยมใช้เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาการเจริญ, ชีววิทยาโมเลกุล, ชีววิทยาประสาท, พันธุกรรมศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์กบเล็บ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยอึ่งอ่าง

วงศ์ย่อยอึ่งอ่าง เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบในวงศ์ใหญ่ Microhylidae ใช้ชื่อวงศ์ว่า Microhylinae กะโหลกมีกระดูกเอธมอยด์หนึ่งคู่และมีกระดูกพรีโวเมอร์ขนาดเล็กหนึ่งชิ้น ไม่มีฟันที่กระดูกแมกซิลลา กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสและแบบไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่มีกระดูกไหปลาร้าและกระดูกโพรโคราคอยด์ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่เล็ก-ใหญ่ ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดินตั้งแต่พื้นที่แห้งแล้งของป่าหญ้า-ป่าดิบชื้นแต่ปีนป่ายต้นไม้ได้ดี ลูกอ๊อดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ ยกเว้นสกุล Myersiella ที่เอมบริโอเจริญภายในไข่และลูกอ๊อดออกจากไข่เป็นรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย และลูกอ๊อดของชนิด Synecope antenori ไม่กินอาหาร.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์ย่อยอึ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์อึ่งกราย

วงศ์อึ่งกราย (Asian toads) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Megophryidae มีลักษณะเด่น คืิอ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ผิวหนังลำตัวมีต่อมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วหลายชนิดของทั้งตัวผู้และตัวเมียยังมีกลุ่มของต่อมบริเวณขาหนีบและซอกขาหน้า มีขนาดตัวตั้งแต่ 2-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่บนพื้นล่างของป่าหรือบริเวณใกล้ลำห้วยหรือลำธาร ส่วนใหญ่มีสีลำตัวกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม วางไข่ในแหล่งน้ำ โดยขณะผสมพันธุ์ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งเอว ลูกอ๊อดมีรูปร่างและโครงสร้างของปากแตกต่างกัน บางสกุลมีปากเป็นรูปกรวยและไม่มีจะงอยปาก รวมทั้งไม่มีตุ่มฟัน อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง แต่ขณะที่บางสกุลมีคุณสมบัติแตกต่างจากเหล่านี้สิ้นเชิง และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยว เป็นต้น แพร่กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะทวีปเอเชีย เช่น จีน, ปากีสถาน, อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมู่เกาะฟิลิปปิน และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยพบประมาณ 25 ชน.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์อึ่งกราย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์อึ่งอ่าง

อึ่งอ่าง หรือ อึ่ง เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Microhylidae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ ตัวเต็มวัยจะมีสันพาดตามขวางที่เพดานปาก 2-3 สัน และส่วนต้นของท่อลมยืดยาวขึ้นมาที่พื้นล่างของอุ้งปาก มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบมี 8 ปล้อง แต่ในบางชนิดจะมี 7 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัลเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส ลูกอ๊อดส่วนใหญ่มีช่องปากเล็กและซับซ้อน ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันในปาก ช่องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านท้ายตัวและในแนวกลางลำตัว กินอาหารแบบกรองกิน แต่ในบางชนิดจะมีฟันและมีจะงอยปาก มีขนาดลำตัวแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ 1 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร อาศัยทั้งอยู่บนบก, ในน้ำ และบนต้นไม้ ลำตัวมีรูปร่างแตกต่างไปกันหลากหลายตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ชนิดที่อาศัยบนต้นไม้จะมีส่วนปลายของนิ้วขยายออกเป็นตุ่ม ชนิดที่อาศัยอยู่ในโพรงดินจะมีลำตัวแบนราบและหัวกลมหลิม เป็นต้น มีรูปแบบการผสมพันธุ์ที่หลากหลาย ในบางชนิดมีการอาศัยแบบเกื้อกูลกันกับแมงมุมด้วย โดยอาศัยในโพรงเดียวกัน.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์อึ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก

วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก (Gecko) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า (Lacertilia) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gekkonidae เป็นวงศ์ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีในชื่อสามัญว่า "จิ้กจก" และ "ตุ๊กแก" มีลักษณะโดยรวม คือ ส่วนมากมีขาเห็นได้ชัดเจน ยกเว้นในวงศ์ย่อยบางวงศ์ในออสเตรเลียที่ไม่มีขา ผิวหนังของลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุมและอาจมีตุ่มกระจายอยู่บ้าง ไม่มีกระดูกในชั้นหนังทางด้านหลังของลำตัว แต่บางชนิดอาจจะมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องของลำตัว กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวที และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้เพื่อหลอกศัตรูที่มาคุกคาม โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางหลุดนั้นอยู่ทางด้านท้ายของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหางทุกปล้อง พื้นผิวด้านบนมีลิ้นมีตุ่มกลม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ โดยยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) มีจำนวนสมาชิกในวงศ์มากมายถึงเกือบ 1,000 ชนิด และ 109 สกุล ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่แน่นอน เนื่องจากมีการสำรวจพบเจอชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีเพียงไม่สกุลเท่านั้น เช่น Hoplodacatylus ที่ตกลูกเป็นตัว ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของวงศ์นี้ที่เป็นที่รับรู้อย่างดีของมนุษย์ คือ เสียงร้อง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้เรียก สัตว์เลื้อยคลานในวงศ์นี้โดดเด่นมากในการส่งเสียงร้อง โดยมีแผ่นเยื่อกำเนิดเสียงและกล่องเสียงจึงทำให้เกิดเสียงได้ และด้วยความซับซ้อนมากกว่าเสียงที่เกิดจากการผลักดันอากาศออกทางจมูกหรือปาก ในตัวผู้ของหลายชนิดใช้เสียงในการประกาศอาณาเขตตลอดจนใช้ดึงดูดตัวเมีย โดยเป็นเสียงร้องที่สั้นและมักร้องซ้ำ ๆ และติดต่อกันหลายครั้ง แม้ว่าส่วนใหญ่เสียงร้องอาจจะคล้ายคลึงกันแต่ชนิดที่ต่างกันแม้อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันก็มีเสียงที่ต่างกัน โดยทั่วไปตัวผู้จะส่งเสียงร้องไปยังทิศทางที่มีตัวผู้ตัวอื่นหรือมีตัวเมียอยู่ตรงนั้น แต่บางครั้งก็อาจส่งเสียงร้องได้โดยไม่มีทิศทาง ในสกุล Ptenopus ที่พบในแอฟริกา เมื่ออกจากโพรงในช่วงใกล้ค่ำและส่งเสียงร้องประสานกันคล้ายกับเสียงร้องของกบ นอกจากนี้แล้วในบางชนิดจะมีเสียงร้องอย่างจำเพาะระหว่างแสดงพฤติกรรมปกป้องอาณาเขต และเป็นเสียงร้องช่วงยาวมากกว่าเสียงร้องที่ใช้ในเวลาทั่วไป ซึ่งเสียงร้องเตือนนี้นอกจากจะใช้ร้องเตือนสัตว์ประเภทเดียวกันที่มาเข้าใกล้ ยังร้องเตือนสัตว์ที่ใหญ่ รวมถึงมนุษย์ได้ด้วย โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียจะส่งเสียงร้องได้เท่ากัน โดยเฉพาะเสียงร้องประกาศอาณาเขตนี้ โดยชนิดที่มีเสียงร้องที่ซับซ้อนและหลากหลายที่สุด คือ ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko) เพราะมีเสียงที่ขึ้นต้นด้วยพยางค์เดียวที่ร้องถี่ ๆ ติดกันหลายครั้งแล้วตามด้วยเสียงร้องที่เป็น 2 พยางค์ นอกจากนี้แล้วลักษณะพิเศษเฉพาะที่สำคัญอีกประการของสัตว์เลื้อยคลานวงศ์นี้ คือ สามารถเกาะติดกับผนังได้เป็นอย่างดี โดยไม่หล่นลงมา ด้วยหลักของสุญญากาศที่บริเวณใต้ฝ่าเท้าทั้ง 4 ด้าน โดยเป็นแผ่นหนังที่เรียงตัวต่อกัน ซึ่งแผ่นหนังแต่ละแผ่นมีเส้นขนจำนวนมากและแต่ละเส้นนั้นยาวประมาณ 60-90 ไมครอน เรียกว่า "เซต้า" ซึ่งส่วนปลายของขนนั้นแตกแขนงและขยายออกเป็นกลุ่ม การเรียงตัวของแผ่นหนังและรายละเอียดของเส้นขนนี้ใช้ในการอนุกรมวิธานแยกประเภท แต่ในหลายสกุลก็ไม่อาจจะเกาะติดกับผนังได้ วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแกนี้กระจายไปอยู่ทุกมุมโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลก มีทั้งหากินในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี เพราะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปแม้กระทั่งในบ้านเรือน.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์คางคก

วงศ์คางคก (Toads, True toads; อีสาน: คันคาก) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufonidae (/บู-โฟ-นิ-ดี/) ลักษณะทั่วไปของคางคก คือ ลูกอ๊อดทั้งตัวผู้และตัวเมียตัวเต็มวัยมีอวัยวะบิดเดอร์อยู่ด้านหน้าของอัณฑะ ซึ่งเป็นรังไข่ขนาดเล็กที่เจริญมาจากระยะเอมบริโอและยังคงรูปร่างอยู่ แฟทบอดีส์อยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ กระดูกของกะโหลกเชื่อมต่อกันแข็งแรง รวมทั้งเชื่อมกับกระดูกในชั้นหนังที่ปกคลุมหัว ไม่มีฟันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง และถือเป็นเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นในอันดับกบที่ไม่มีฟัน มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 5-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไพรซีลัส คางคก เป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโฟท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินคางคกมักเชื่อว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ คางคก แบ่งออกเป็น 37 สกุล พบประมาณ 500 ชนิด พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด เช่น จงโคร่ง (Phrynoidis aspera), คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus), คางคกห้วยไทย (Ansonia siamensis), คางคกไฟ (Ingerophrynus parvus) เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์คางคก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์คางคกหมอตำแย

วงศ์คางคกหมอตำแย หรือ วงศ์กบทาสี (accessdate, Midwife toads) เป็นวงศ์ของกบขนาดเล็ก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Alytidae กบในวงศ์นี้มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนตัวและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้วสองชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีโครงสร้างปากแบบมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ในแนวตรงกลางระหว่างของลำตัว ส่วนใหญ่เป็นกบที่อาศัยเฉพาะถิ่นในยุโรป แต่ก็มีบางส่วนที่พบได้ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา และสูญพันธุ์ไปแล้วที่อิสราเอล เดิมกบในวงศ์นี้ ได้เคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ที่ใช้ชื่อว่า Discoglossidae แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการตั้งมาก่อน จึงใช้ชื่อนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์คางคกหมอตำแย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปาดโลกเก่า

วงศ์ปาดโลกเก่าEmerson, S.B., Travis, J., & Koehl, M.A.R. (1990).

ใหม่!!: อันดับกบและวงศ์ปาดโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ว่าว

ว่าวยักษ์ในญี่ปุ่น ว่าว เป็นของเล่นชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศได้ด้วยแรงลมและมีสายป่านคอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทางที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบตามวัฒนธรรมของหลายประเท.

ใหม่!!: อันดับกบและว่าว · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: อันดับกบและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: อันดับกบและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: อันดับกบและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่ายวุ้น

หร่ายวุ้น อยู่ในกลุ่ม Red algae มีตั้งแต่สีดำแดง,สีแดง,สีน้ำตาล,สีน้ำตาลแดง,สีชมพู,สีม่วงเข้ม,สีม่วงแดง,สีเทา,สีเขียว,สีเหลือง หรือใส เกือบทุกชนิดสามารถรับประทานได้ หรือนำมาสกัดวุ้น จึงรวมเรียกว่า สาหร่ายวุ้น มีชื่อพื้นเมืองว่า สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) และชื่อสามัญว่า สาหร่ายวุ้น.

ใหม่!!: อันดับกบและสาหร่ายวุ้น · ดูเพิ่มเติม »

หมอกาฬโรค

มพ์แกะทองแดงของหมอกาฬโรคในกรุงโรม สมัยศตวรรษที่ 17 หมอกาฬโรค (plague doctor) เป็นแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยกาฬโรคCipolla, p. 65 หมอกาฬโรคได้รับการว่าจ้างจากชาวเมืองที่ได้รับผลกระทบ พวกเขารักษาทั้งคนรวยและคนจนและบางครั้งคิดค่ารักษาเพิ่มจากการดูแลและให้คำปรึกษาเพิ่มเติม หมอกาฬโรคไม่ใช่แพทย์หรือศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง แต่ส่วนใหญ่เป็นแพทย์ที่ไม่ประสบความสำเร็จหรือแพทย์จบใหม่ โดยรักษาผู้ป่วยในฐานะหมอชุมชน ในฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ หมอกาฬโรคส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนแพทย์และอาศัยความรู้จากประสบการณ์ การระบาดครั้งใหญ่ของกาฬโรคที่เรียกว่าแบล็กเดทในทวีปยุโรปสมัยศตวรรษที่ 14 ทำให้ประชาชนหลายล้านคนเสียชีวิตและเศรษฐกิจตกต่ำ อาชีพหมอกาฬโรคเป็นอาชีพที่มีค่ามากจนเคยเกิดเหตุจับตัวหมอกาฬโรคในเมืองบาร์เซโลนาไปเรียกค่าไถ่และชาวเมืองบาร์เซโลนายอมจ่ายเงินเพื่อไถ่ตัวByrne (Daily), p. 169 เมืองออร์เวียโตจ้างมัตตีโอ ฟู แองเจโลด้วยเงินมากกว่า 4 เท่าของค่าจ้างปกติของหมอกาฬโรคที่อยู่ที่ 50 ฟลอรินต่อปี หมอกาฬโรคใช้วิธีเจาะเลือดออกหรือใช้ปลิงหรือกบแตะที่ตุ่มน้ำเหลืองเพื่อ "ปรับสารน้ำให้สมดุล" หมอกาฬโรคมักจะไม่พบปะผู้คนเพื่อป้องกันการระบาดและบางครั้งก็ถูกกักตัว นอกเหนือจากการรักษาผู้ป่วย หมอกาฬโรคมีหน้าที่จดบันทึกจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ในเมืองฟลอเรนซ์และเปรูเจีย หมอกาฬโรคได้รับการร้องขอให้ชันสูตรศพเพื่อหากลไกโรค รวมถึงให้คำแนะนำ เป็นพยานและจัดการพินัยกรรมของผู้ป่ว.

ใหม่!!: อันดับกบและหมอกาฬโรค · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ใหม่!!: อันดับกบและหูชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หนูเหม็น

ำหรับสาโทที่หมายถึงเครื่องดื่มประเภทสุรา ดูที่: สาโท หนูเหม็น หรือ สาโท (อังกฤษ: Moonrat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Echinosorex gymnurus จัดอยู่ในวงศ์ Erinaceidae ซึ่งจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Echinosorex หนูเหม็น มีรูปร่างลักษณะคล้ายหนูที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ แต่หนูเหม็นเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับเฮดจ์ฮอกเช่นเดียวกับเฮดจ์ฮอก มีขนยาวปุกปุยรุงรังสีดำแซมขาว หัวมีขนสีขาวและมีแถบดำพาดผ่านตาเห็นได้ชัดเจน ปลายปากด้านบนและดั้งจมูกยาวเรียวยื่นออกไปมากกว่าปลายริมฝีปากล่าง หางมีเกล็ดเล็ก ๆ ปกคลุมคล้ายหางหนู มีสีดำและปลายหางสีขาว พบกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรีในเขตพม่า และภาคใต้ของไทยตั้งแต่คอคอดกระลงไปตลอดแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว มีขนาดลำตัวยาว 26-45 เซนติเมตร หางยาว 20-21 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 0.5-1.1 กิโลกรัม ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์และอันดับนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ E.g.albus พบในตอนตะวันออกและตอนใต้ของเกาะบอร์เนียว และ E.g.cadidus พบในตอนตะวันตกของเกาะบอร์เนียว เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวเหม็นรุนแรงจึงเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งกลิ่นตัวนี้คล้ายกับกลิ่นระเหยของแอมโมเนีย สามารถส่งกลิ่นออกไปได้ไกลเป็นระยะหลายเมตร ใช้สำหรับติดต่อกับหนูเหม็นตัวอื่น มักอาศัยอยู่ตามลำพัง ชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะตามป่าดิบชื้น เช่น ป่าโกงกาง, ป่าตามพื้นที่ราบเชิงเขา โดยเฉพาะตามหุบเขาที่มีป่ารกทึบ ติดกับลำธารที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งเหมาะเป็นแหล่งในการหาอาหารได้สะดวก เป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ หนอน, ด้วง และแมลงต่าง ๆ, ไส้เดือนดิน สามารถที่จะล่าสัตว์เล็ก ๆ กิน เช่น ลูกกบ, เขียด, กุ้ง, ปู, ปลา และหอย ได้ด้วย กลางวันจะพักอาศัยหลบซ่อนอยู่ในรูดิน โพรงไม้และตามซอกใตัรากไม้ในป่าทั่วไป มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี ๆ ละ 2 ครอก มีลูกครอกละ 2 ตัว มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่หายาก มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่ ๆ อยู่อาศัยถูกทำลาย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 หนูเหม็น มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า หากเก็บกระดูกไว้จะสามารถแก้เสน่ห์ยาแฝดหรือมนต์ดำได้.

ใหม่!!: อันดับกบและหนูเหม็น · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะของคอร์ติ

อวัยวะของคอร์ติ (organ of Corti, spiral organ) เป็นอวัยวะรับรู้เสียงที่อยู่ในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (หรือคอเคลีย) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีแถบเซลล์เยื่อบุผิวที่ไม่เหมือนกันตลอดแถบ ทำให้สามารถถ่ายโอนเสียงต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณประสาทต่าง ๆ โดยเกิดผ่านแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้น้ำในคอเคลียและเซลล์ขนในอวัยวะของคอร์ติไหว นักกายวิภาคชาวอิตาลี น. แอลฟอนโซ คอร์ติ (พศ. 2365-2419) เป็นผู้ค้นพบอวัยวะของคอร์ติในปี 2394 โครงสร้างมีวิวัฒนาการมาจาก basilar papilla และขาดไม่ได้เพื่อแปลแรงกลให้เป็นสัญญาณประสาทในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Stereocilia ของเซลล์ขนในหูชั้นในของก.

ใหม่!!: อันดับกบและอวัยวะของคอร์ติ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาคางคก

ปลาคางคก (อังกฤษ: Toadfishes, Frogfishes) เป็นปลาทะเลจำพวกปลากระดูกแข็งกลุ่มหนึ่ง ในอันดับ Batrachoidiformes และวงศ์ Batrachoididae ซึ่งมีเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นที่อยู่ในอันดับนี้.

ใหม่!!: อันดับกบและอันดับปลาคางคก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกแก้ว

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: นกแล) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้ เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบPets 101: Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556 เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้ แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว.

ใหม่!!: อันดับกบและอันดับนกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อาหารทะเล

อาหารทะเล ประกอบด้วยวัตถุดิบจากทะเล อาหารทะเล เป็นอาหารที่ถูกแปรรูปจากสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยมนุษย์ อาหารทะเลหลัก ๆ ได้แก่ ปลา และหอย ซึ่งพวกหอยนั้น ก็รวมถึงมอลลัสก์ กุ้งกั้งปู และอิคีเนอเดอร์ม แต่ในทางประวัติศาสตร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลบางชนิดอย่างวาฬและโลมา ก็เคยถูกบริโภคเป็นอาหาร และเหลือจำนวนน้อยลงในเวลาต่อมา พืชทะเลที่กินได้ อาทิ สาหร่าย ก็มีการบริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือนั้น อาหารทะเลยังรวมถึงอาหารที่ทำมาจากสัตว์ในน้ำจืดอีกด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่า อาหารทะเลของอเมริกาเหนือคืออาหารที่ทำมาจากสัตว์ในน้ำ การสรรหาวัตถุดิบมาทำอาหารทะเล สามารถทำได้โดยการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทั่วไปแล้ว อาหารทะเลจะถูกแยกออกจากเนื้อ แม้ว่าจะมีสัตว์ทะเลอยู่ด้วยก็ตาม และอาหารทะเลก็ถูกงดสำหรับมังสวิรัติ อาหารทะเลเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญมาก จากอาหารทั้งหมดของโลก.

ใหม่!!: อันดับกบและอาหารทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแห่งกาลเวลา

อาณาจักรแห่งกาลเวลา (The Keys to the Kingdom) เป็นนวนิยายแฟนตาซีชุดหนึ่งของ การ์ธ นิกซ์ (Garth Nix) นักเขียนชาวออสเตรเลีย ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือปกอ่อน เรื่องราวในเรื่องเกิดขึ้นในบ้านและอาณาจักรชั้นที่สอง ซึ่งรวมไปถึงโลกของเราด้วย โดยมีตัวเอกดำเนินเรื่อง 3 ตัว คือ อาเธอร์ เพนฮาลิกอน, ซูซี่ ฟ้าเทอร์คอยซ์ และลีฟ เรื่องราวภายในเรื่องมีความเกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางศาสนาและเทวตำนานโบราณ รวมไปถึงเลข 7 อีกด้วย ในประเทศไทย ลิขสิทธิ์เป็นของสำนักพิมพ์แจ่มใส แปลเป็นภาษาไทยโดย แสงตะวัน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เอ็นเธอร์บุ๊คส์ อาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมเล่มเดียวของการ์ธ นิกซ์ ที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์และได้รับการแปลเป็นภาษาไท.

ใหม่!!: อันดับกบและอาณาจักรแห่งกาลเวลา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทุ่งเสลี่ยม

ทุ่งเสลี่ยม (40px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เป็นประตูสู่อารยธรรมล้านนา ศิลปะล้านนา "ทุ่งเสลี่ยม" เป็นภาษาล้านนา หมายถึง ทุ่ง.

ใหม่!!: อันดับกบและอำเภอทุ่งเสลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งอ่าง

อึ่งอ่าง หรือ อึ่งยาง (accessdate) เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบในสกุล Kaloula ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) วงศ์ย่อย Microhylinae พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ลักษณะโดยทั่วไป มีผิวหนังมันลื่น มีสีนํ้าตาลลายขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน มักร้องเสียงดังเมื่อนํ้านองโดยเฉพาะหลังฝนตกที่มีอากาศเย็นชื้น เสียงร้องดังระงม.

ใหม่!!: อันดับกบและอึ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งอ่างบ้าน

อึ่งอ่างบ้าน หรือ อึ่งยาง หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า อึ่งอ่าง เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) มีลำตัวอ้วนกลม ไม่มีคอ หัวกว้าง และปลายปากแหลมไม่มาก ขาและแขนค่อนข้างสั้น มีความยาวไล่เลี่ยกัน นิ้วมือและนิ้วเท้า ตอนปลายแผ่แบน และตัดตรงทางด้านหน้า ผิวหนังเรียบลื่น มีปุ่มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วหลังและมากในขาคู่หลัง ใต้ฝ่าเท้ามีแผ่นแข็งยาวสองแผ่นใช้ในการขุดดิน ลำตัวด้านหลังสีออกน้ำตาลคล้ำ หรือน้ำตาลแกมแดง มีลายแถบกว้างสีน้ำตาลอ่อนพาด ตั้งแต่เหนือลูกตาจนถึงโคนขาทั้งสองข้าง ตรงปลายบนสุดแต่ละแถบยังเชื่อมต่อกันระหว่างลูก ตาทั้งสองข้าง ปลายล่างสุดในบางตัวลายแถบจะแตกออกเป็นปื้น ๆ แต่ยังอยู่ในแนวเดิม ใต้ ท้องสีออกคล้ำ โดยเฉพาะใต้คางมีสีเกือบดำ บริเวณอื่น ๆ เป็นลายตาข่ายสีออกม่วงคล้ำ ๆ เห็นไม่ชัดเจนนัก ยกเว้นในบางตัวที่มีขนาดใหญ่มาก มีขนาดความยาวจัดจากปลายปากจนถึงก้นประมาณ 58–70 มิลลิเมตร มีอายุยืนเต็มที่ประมาณ 10 ปี มีการแพร่กระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวาง ตั้งแต่อินเดีย, ศรีลังกา, จีนตอนใต้, พม่า, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา, ไทย จนถึงคาบสมุทรมลายู ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ด้วยการขุดดินลึกลงไปซ่อนตัวอยู่ เลือกดินที่ชื้นและร่วนซุย เมื่อฝนตกจึงจะออกมาหากินเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน มักพบในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม เมื่อถูกรบกวนจะพองตัวออกจนกลมป่องคล้ายลูกบอล เสียงร้องจะเรียงเสียงว่า "อึ่ง ๆ " อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ในช่วงชุกชุมมักถูกจับกินเป็นอาหารสำหรับบางพื้นที่ โดยเฉพาะกินในตัวที่มีไข่อยู่เต็มท้อง ก็จะมีราคาขายที่สูงด้ว.

ใหม่!!: อันดับกบและอึ่งอ่างบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งผี

อึ่งผี หรือ อึ่งกรายลายเลอะ หรือ อึ่งกรายหมอสมิธ (Smith's litter frog) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์อึ่งกราย (Megophryidae) อาศัยอยู่บริเวณพื้นป่าและบริเวณใกล้ลำธารในป่าดิบแล้งถึงป่าดิบเขา มีลักษณะเด่นคือ ดวงตาด้านบนมีสีแดงหรือส้มเหลืองวาว ตาโปน หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ขาค่อนข้างสั้น ผิวหนังด้านหลังมีลายสีเข้มบนพื้นมีเทา ส่งเสียงร้องดังคล้ายเสียงเป็ดและไม่เกรงกลัวมนุษย์ ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นรู้สึกกลัว จึงเป็นที่มาของชื่อ "อึ่งผี" ส่วนคนท้องถิ่นเรียกชื่อตามเสียงร้องว่า "ย่าก๊าบ" แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่แนวป่าตะวันตกของประเทศไทยจนถึงแหลมมลายู ตั้งแต่ภาคใต้ของไทยลงไป และพบได้จนถึงเกาะลังกาวี ในประเทศมาเลเซีย อึ่งผีถูกพบครั้งแรกของโลกที่ต้นน้ำตกพลู บนเขาช่อง จังหวัดตรัง เมื่อปี ค.ศ. 1999 ถูกตั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแก่ มัลคอล์ม อาเธอร์ สมิธ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวอังกฤษที่เข้ามาศึกษาสัตว์ประเภทนี้ในประเทศไทยและคาบสมุทรมลายู ปัจจุบันอึ่งผีได้ลดปริมาณลงมาก สาเหตุเนื่องจากคนท้องถิ่น นิยมบริโภคลูกอ๊อดที่ขายังไม่งอก เนื่องจากลูกอ๊อดของอึ่งผีมีขนาดใหญ่กว่าลูกอ๊อดทั่วไป.

ใหม่!!: อันดับกบและอึ่งผี · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งปากขวด

อึ่งปากขวด หรือ อึ่งเพ้า (Truncate-snouted burrowing frog, Balloon frog) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกอึ่งอ่าง จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Glyphoglossus มีความยาวจากหัวจรดถึงก้นประมาณ 73 มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม มีลักษณะเด่นคือ หน้าสั้นมาก ปากแคบและทู่ไม่มีฟัน ไม่เหมือนกับกบหรืออึ่งอ่างชนิดอื่น ๆ ตาเล็ก ขาสั้น แผ่นเยื่อแก้วหูเห็นไม่ชัด ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีเทาดำ ใต้ท้องสีขาว บางตัวอาจมีจุดกระสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดเกาะติดอยู่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ และมีสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน อึ่งปากขวดพบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป โดยมีพฤติกรรมอาศัยโดยขุดโพรงดินที่เป็นดินปนทรายและอาศัยอยู่ภายใน ในป่าที่มีความชุ่มชื้นใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูร้อนจะซ่อนตัวในโพรงแทบตลอด เมื่อฝนตกจะออกมาหากิน โดยหากินในเวลากลางคืน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน และจะผสมพันธุ์วางไข่เร็วกว่าอึ่งอ่างหรือกบชนิดอื่น ลูกอ๊อดมีลำตัวป้อมและโปร่งแสง ลำตัวเป็นสีเหลือง มีส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีดำ หากินอยู่ในระดับกลางน้ำ โดยจะว่ายทำมุมประมาณ 45 องศา อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ไปไหนมาไหนพร้อมกันเป็นฝูง อึ่งปากขวดไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่ในปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะถูกจับมาบริโภค โดยเฉพาะอย่างมากในช่วงฤดูฝนที่จะสร้างรายได้แก่ผู้ที่จับมาได้วันละหลายหมื่นบาท (แต่มักจะเรียกปนกันว่า "อึ่งอ่าง" หรืออึ่งยาง ซึ่งเป็นอึ่งคนละชนิด) กอรปกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันกรมประมงได้สนับสนุนให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐก.

ใหม่!!: อันดับกบและอึ่งปากขวด · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งน้ำเต้า

อึ่งน้ำเต้า (Ornate Narrow-mouthed Frog) เป็นอึ่งชนิดหนึ่ง ในสกุล Microhyla พบในเอเชียใต้.

ใหม่!!: อันดับกบและอึ่งน้ำเต้า · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพะงัน

right พื้นที่ของเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะพะงัน มีธารน้ำตก ป่าไม้ และสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์ สามารถที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต กรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะพะงัน และป่าน้ำตกธารเสด็จ ป่าเขาลาดไม้แก้ว ป่าเขาค่าย ป่าเขาตาหลวง ป่าเขาหินนก ป่าแหลมนายโพธิ์-แหลมกะทะคว่ำ และ ป่าเขาไฟไหม้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติและใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพงัน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 66 ตารางกิโลเมตร หรือ 41,250 ไร่ เป็นพื้นน้ำ 19 ตารางกิโลเมตร หรือ 11,875 ไร่ พื้นที่บก 47 ตารางกิโลเมตร หรือ 29,375 ไร่ เกาะพงันนั้นอยู่ห่างจากเกาะสมุยไปทางทิศเหนือ ประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที และอยู่ห่างตัวจังหวัด 100 กิโลเมตร เกาะพะงันมีเนื้อที่ 170 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในจำนวน 48 เกาะที่ตั้งอยู่ในช่องอ่างทอง ภูมิประเทศของเกาะพะงันมีภูเขาอยู่ตรงกลางเกาะ ทอดตัวจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีที่ราบทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาจดทะเล บางแห่งก็มีอ่าวเล็กอ่าวน้อยเรือเข้าจอดได้เป็นบางฤดู.

ใหม่!!: อันดับกบและอุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพะงัน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 111 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 โดยตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง "ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน" อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคาและป่าผาแดง บริเวณท้องที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน.

ใหม่!!: อันดับกบและอุทยานแห่งชาติขุนน่าน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยทิวทัศน์และน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกโยง น้ำตกหนานปลิว เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ศึกษาหาความรู้ ทั้งเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญ อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 202.68 ตารางกิโลเมตร หรือ 126,675 ไร.

ใหม่!!: อันดับกบและอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็น

อีเห็น หรือ กระเห็น(Palm civet.; อีสาน: เหง็น; ใต้: มูสัง) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน.

ใหม่!!: อันดับกบและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

ผีโพง

ผีโพง เป็นผีตามความเชื่อพื้นบ้านทางภาคเหนือ ผู้ที่เป็นผีโพงเกิดจากเล่นไสยศาสตร์แล้วควบคุมวิชาในตัวเองไม่ได้ หรือปลูกว่านชนิดหนึ่ง เรียกว่าว่านผีโพง ซึ่งมีสีขาว รสฉุนร้อน เมื่อแก่จะมีธาตุปรอทลงกิน ทำให้เกิดแสงส่องสว่างแบบแมงคาเรือง ผู้ที่เป็นผีโพง ในเวลากลางวันจะเป็นเหมือนผู้คนธรรมดา ๆ ทั่วไป แต่ตกกลางคืนจะกลายร่างเป็นผีโพง มีจุดเด่นคือ มีแสงสว่างหรือดวงไฟที่รูจมูก ออกหาของกิน ได้แก่ ของสกปรกคาว เช่น กบ, เขียด, ศพ หรือรกเด็กเกิดใหม่ เช่นเดียวกับผีกระสือ, ผีกระหัง หรือผีปอบ โดยปกติแล้ว ผีโพงจะไม่ทำร้ายมนุษย์ แต่ถ้าหากถูกคุกคามก็จะจู่โจมทำร้ายได้เช่นกัน หากมีผู้ใดไปทำอะไรให้ผีโพงไม่พอใจ ผีโพงจะใช้ก้านกล้วยที่ตัดใบออกหมดหรือคานคาบของแม่ม่ายพุ่งข้ามหลังคาบ้านผู้นั้น ซึ่งครอบครัวของผู้ที่โดนขว้างจะพบกับภัยพิบัติต่าง ๆ นานา ผีโพงจะตายได้ เมื่อมีผู้ไปพบปะกับผีโพงเข้าอย่างจัง และทักว่าผีโพงแท้จริงแล้วคือใคร หากผ่านพ้นมาได้หนึ่งวันแล้ว ผู้ที่เป็นผีโพงจะตาย ผีโพงสามารถถ่ายทอดให้แก่กันได้ ด้วยพ่นน้ำลายใส่หน้าหรือมีใครไปกินน้ำลายของผีโพงเข้า ที่ตำบลพลับพลา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อ บ้านหนองผีหลอก อยู่ห่างจากตัวอำเภอโชคชัยประมาณ 5 กิโลเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นไร่มันสำปะหลังและนาข้าว เหตุที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากคำร่ำลือที่มีมาแต่อดีตนับร้อยปีว่าที่แห่งนี้ ในอดีตมีสภาพเป็นหนองน้ำพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ติดกับทางเกวียน ในเวลาค่ำคืนมีผีโพงและผีโป่งออกมาจับกบเขียดกินเป็นอาหารบ่อย ๆ จนไม่มีผู้ใดกล้าผ่านไปในเวลากลางคืน แต่จนปัจจุบันนี้หมู่บ้านแห่งนี้ยังมิได้มีการยกฐานะเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: อันดับกบและผีโพง · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลนจระเข้ตาแดง

้งเหลนจระเข้ตาแดง หรือ จิ้งเหลนจระเข้ตาส้ม หรือ จิ้งเหลนจระเข้ตาเหลือง (ตัวย่อ: Trib) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tribolonotus gracilis อยู่ในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลน มีผิวลำตัวเรียบลื่นเหมือนจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีหนามแข็งคล้ายจระเข้ทั่วทั้งตัวจรดหาง หัวมีขนาดใหญ่ เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ลำตัวคล้ายทรงสี่เหลี่ยม มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ ดวงตามีขนาดกลมโต มีจุดเด่น คือ มีวงแหวนสีส้มหรือแดงรอบดวงตา บางตัวอาจเป็นสีน้ำตาลทอง ที่บริเวณใบหน้าและเท้า อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 7-10 นิ้ว โดยเป็นส่วนหัวและลำตัวประมาณ 3 นิ้ว และส่วนหาง 2 นิ้วเท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ซึ่งแตกต่างไปจากจิ้งเหลนชนิดอื่น ๆ ที่มักออกลูกเป็นตัว เมื่อแรกเกิดที่ฟักออกจากไข่จะมีขนาดราว 2 นิ้ว โตเต็มวัยเมื่อมีอายุประมาณ 6-8 เดือน ตั้งท้องนานประมาณ 20 วัน มีอายุยืนประมาณ 10-15 ปี มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ที่นิวกินี ในป่าดิบชื้น ที่มีความชื้นพอสมควร หากินตามพื้นดินไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ โดยกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น จิ้งหรีด, ทาก, ลูกกบ, หนอน, ตั๊กแตน, ไส้เดือน, หนู หรือแมลงปีกแข็ง เป็นต้น ปัจจุบัน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแปลก ๆ หรือสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย นิสัยไม่ดุร้าย ซึ่งนิยมเลี้ยงกันในตู้กระจก โดยจัดสภาพแวดล้อมให้คล้ายกับถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติจริง.

ใหม่!!: อันดับกบและจิ้งเหลนจระเข้ตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

จงโคร่ง

และวงศ์หมาน้ำ จงโคร่ง หรือ หมาน้ำ หรือ กง หรือ กระทาหอง หรือ กระหอง (ปักษ์ใต้) (อังกฤษ: Giant jungle toad, Asian giant toad; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phrynoidis aspera) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกคางคกขนาดใหญ่ที่พบในประเทศไทยชนิดหนึ่ง จงโคร่งนับเป็นคางคกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย บริเวณหลังมีน้ำพิษเห็นเป็นปุ่มชักเจน ตาใหญ่ ตัวมีสีน้ำตาลดำ ตัวผู้มักปรากฏลายสีเข้มเป็นแถบทั้งขาหน้า และขาหลัง บริเวณใต้ท้องมีสีขาวหม่น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร ขายาว 6-8 นิ้ว ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จงโคร่งเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะในป่าดิบชื้น โดยจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารน้ำตกหรือลำห้วย โดยมักใช้ชีวิตอยู่ในน้ำมากกว่าอยู่บนบก มักหลบอยู่ตามขอนไม้หรือก้อนหินขนาดใหญ่ หากินในเวลากลางคืน อาหารหลักได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก มีเสียงร้องคล้ายสุนัขเห่า จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "หมาน้ำ" โดยมีพฤติกรรมร้องเป็นจังหวะ ๆ ละ 6-10 วินาที ลักษณะไข่เป็นฟองกลม ๆ อาจติดอยู่ตามขอบแหล่งน้ำที่อาศัย โดยฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตกและภาคใต้ ในความเชื่อของคนปักษ์ใต้ จงโคร่งหรือกงเป็นสัตว์นำโชค หากเข้าบ้านใครถือเป็นลางมงคล แต่ในบางท้องถิ่นมีการเอาหนังของจงโคร่งมาตากแห้งแล้วมวนผสมกับใบยาสูบสูบเหมือนยาสูบทั่วไป มีฤทธิ์แรงกว่ายาสูบหรือบุหรี่ทั่วไป โดยมีความแรงเทียบเท่ากับกัญชา ในฟิลิปปินส์ก็นิยมทำเช่นเดียวกัน ปัจจุบัน มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: อันดับกบและจงโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทาร์เซียร์

วีดีโอคลิปทาร์เซียร์ไม่ทราบชนิด ทาร์เซียร์ (tarsier) หรือ มามัก (mamag) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในอันดับไพรเมตที่วิวัฒนาการมาจากยุคไอโอซีนจนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่มีรูปร่างลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก มีเพียงวงศ์เดียว คือ Tarsiidae และสกุลเดียวเท่านั้น คือ Tarsius.

ใหม่!!: อันดับกบและทาร์เซียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีพวัน

ีพวัน (Deep One) เป็นอมนุษย์ในงานประพันธ์ชุดตำนานคธูลูของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ โดยปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The Shadow Over Innsmouth (พ.ศ. 2474) มีลักษณะคล้ายกับกบและปลา อาศัยอยู่ในทะเล และสามารถสืบพันธุ์กับมนุษย์ได้ สิ่งที่ปรากฏในเรื่องชุดตำนานคธูลูมากมายที่เกี่ยวโยงกับดีพวัน เช่น เมือง Innsmouth นครใต้สมุทร Y'ha-nthlei กลุ่มภาคีแห่งดากอน และอสุรกายซึ่งเรียกว่า เจ้าพ่อดากอนกับเจ้าแม่ไฮดรา หลังจากที่ปรากฏตัวในงานของเลิฟคราฟท์แล้ว ดีพวันยังปรากฏตัวในงานประพันธ์ของนักเขียนคนอื่นๆ โดยเฉพาะออกัสต์ เดอเล.

ใหม่!!: อันดับกบและดีพวัน · ดูเพิ่มเติม »

คางคก

accessdate.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคก · ดูเพิ่มเติม »

คางคกบ้าน

งคกบ้าน (Asian common toad, Black-spined toad) หรือ ขี้คันคาก ในภาษาอีสานและภาษาลาว หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า คางคก เป็นสัตว์ในวงศ์คางคก (Bufonidae) ชนิดหนึ่ง จัดว่าเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ มีผิวหนังที่แห้งและมีปุ่มปมทั้งตัว ที่เป็นปุ่มพิษ โดยเฉพาะหลังลูกตา มีรูปทรงกลมคล้ายเมล็ดถั่วขนาดยาวประมาณ 25 มิลลิเมตร กว้าง 10 มิลลิเมตร แผ่นหูมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน ขนาดเล็กกว่าลูกตาเล็กน้อย มีสีผิวหนังเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาตลอดทั้งลำตัว บริเวณรอบปุ่มพิษจะมีสีเข้มกว่าบริเวณอื่น ๆ ใต้ท้องเป็นสีน้ำตาลเหลืองอ่อน ในขณะที่ยังเป็นวัยอ่อนจะเป็นสีขาวซีดกว่า มีขนาดวัดจากปลายปากจนถึงก้นประมาณ 68-105 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในวงกว้างในทวีปเอเชีย ตั้งแต่แนวเทือกเขาหิมาลัย, อินเดีย, จีนตอนใต้, พม่า, ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และพบได้ทั่วไปในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งในเมืองใหญ่และในป่าดิบ เป็นสัตว์ที่ไม่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ จะมีฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูร้อนจนถึงปลายฤดูฝน (มีนาคม-กันยายน) เป็นสัตว์ที่กินแมลงและอาหารได้หลากหลายมาก พบชุกชุมในช่วงฤดูฝน คางคก มักเป็นสัตว์ที่มีผู้นิยมรับมารับประทานทั้ง ๆ ที่มีพิษ มักมีผู้เสียชีวิตบ่อย ๆ จากการรับประทานเข้าไป โดยเชื่อว่าเป็นยาบำรุงและรักษาโรคต่าง ๆ ได้ โดยพิษของคางคกนั้นไม่สามารถทำให้หายไปได้ด้วยความร้อน.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

คางคกหมอตำแย

งคกหมอตำแย หรือ กบหมอตำแย (Midwife toad) เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบหรือคางคก จัดอยู่ในสกุล Alytes ในวงศ์คางคกหมอตำแย (Alytidae) คางคกหมอตำแย เป็นกบขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวประมาณ 4–5 เซนติเมตร เหตุที่ได้ชื่อว่า "หมอตำแย" เนื่องจากพฤติกรรมในการแพร่ขยายพันธุ์ เมื่อคางคกตัวผู้ผสมพันธุ์และกอดรัดกับตัวเมียอยู่บนบก เมื่อตัวเมียวางไข่และไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว คางคกตัวผู้จะกวาดไข่ขึ้นไปแบกไว้บนหลังของตัวเองหรือบนขาหลังแล้วแบกไข่ไว้ตลอดเวลา และจะลงน้ำเป็นบางครั้งเพื่อให้ไข่ได้รับความชุ่มชื้น เมื่อไข่ฟักเป็นลูกอ๊อดแล้ว คางคกตัวผู้ก็จะปล่อยลูกอ๊อดลงสู่แหล่งน้ำ พบกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีปยุโรป จนถึงตะวันออกกลางและตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา พบได้ในยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 5,000–6,500 ฟุต หมายเหตุ: เดิมคางคกหมอตำแยเคยจัดอยู่ในวงศ์ที่ใช้ชื่อว่า Discoglossidae แต่ปัจจุบันได้ใช้ชื่อวงศ์เป็นชื่อปัจจุบัน.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกหมอตำแย · ดูเพิ่มเติม »

คางคกห้วย

งคกห้วย เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Ansonia (/เอน-โซ-เนีย-อา/) ในวงศ์คางคก (Bufonidae) จัดเป็นคางคกขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตก ลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเชี่ยว จึงมีแผ่นดูดอยู่โดยรอบของช่องปากเพื่อช่วยยึดติดลำตัวให้ติดอยู่กับก้อนหินในน้ำ พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียตั้งแต่ตอนใต้ของอินเดีย, ภาคเหนือของไทยจนถึงคาบสมุทรมลายู, เกาะตีโยมัน, เกาะบอร์เนียว ไปจนถึงเกาะมินดาเนาในฟิลิปปิน.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกห้วย · ดูเพิ่มเติม »

คางคกซูรินาม

งคกซูรินาม (Surinam toad, star-fingered toad; Aparo, Rana comun de celdillas) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบเล็บ (Pipidae) มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวมีลักษณะแบนคล้ายสี่เหลี่ยม ส่วนหัวเป็นสามเหลี่ยม มีสีเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนาดใหญ่ได้ถึง 20 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาด 10-13 เซนติเมตร ทำให้แลดูเผิน ๆ เหมือนใบไม้แห้ง หรือกบที่ถูกทับแบน มีพังพืดเชื่อมระหว่างนิ้วตีนหน้าขนาดเล็ก ทำให้นิ้วตีนแยกจากกันจนมีลักษณะคล้ายนิ้วแยกเป็นแฉกเหมือนดาว แต่ปลายนิ้วไม่มีเล็บ พบกระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำในป่าดิบที่ราบต่ำของทวีปอเมริกาใต้ตอนบน โดยจะอาศัยหากินอยู่ในน้ำตลอดเวลา เนื่องจากไม่มีลิ้น จึงจะใช้ปากงับกินปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ เป็นอาหาร ลูกคางคกที่ฝังอยู่ในผิวหนังแม่ ตัวที่มีลำตัวสีเทา คางคกซูรินามมีพฤติกรรมที่เป็นที่น่าสนใจ คือ ตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์กับตัวผู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะว่ายขึ้นสู่ด้านบนของหลังตัวเมีย เพื่อนำไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ววางลงบนหลังตัวเมีย ซึ่งจะมีไข่ทั้งหมดราว 60-100 ฟอง ไข่จะฝังลงบนหลังของตัวเมีย ผ่านไป 10 วัน ไข่จะฟักเป็นลูกอ๊อด แต่ยังไม่ออกมาจากหลัง จนกระทั่งผ่านไปราว 10-20 สัปดาห์ที่พัฒนาเหมือนตัวเต็มวัยที่มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร จะผุดโผล่มาจากหลังตัวเมียจนผิวบนหลังเป็นรูพรุนเต็มไปหมด และแยกย้ายออกไปใช้ชีวิตเอง ด้วยลักษณะและพฤติกรรมที่แปลกเช่นนี้ ทำให้คางคกซูรินามได้รับความนิยมในการถ่ายทำเป็นสารคดี และเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในตู้ปล.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกซูรินาม · ดูเพิ่มเติม »

คางคกซูรินาม (สกุล)

งคกซูรินาม (Surinam toad) เป็นสกุลของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Aruna) ในวงศ์กบเล็บ (Pipidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pipa (/ปี-ปา/) มีลักษณะสำคัญ คือ ลำตัวแบนราบเหมือนใบไม้ ไม่มีเล็บเหมือนสกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน มีเส้นข้างลำตัวที่เจริญเป็นอย่างดี เนื่องจากใช้ชีวิตและหากินตลอดในน้ำ มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในน้ำได้หมุนตัวและกลับตัวเพื่อให้ไข่ที่รับได้การปฏิสนธิแล้วขึ้นไปติดอยู่กับผิวของตัวเมีย ต่อมาเนื้อเยื่อของผิวหนังบนหลังของตัวเมียจะแปรสภาพและเจริญขึ้นมาปกคลุมไข่แต่ละฟอง เมื่อไข่พัฒนาเป็นเอ็มบริโอแล้วจะเจริญภายในไข่ที่อยู่บนหลัง เมื่อฟักออกเป็นลูกอ๊อดแล้ว จึงจะแตกตัวออกจากหลังแม่ และใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงจะพัฒนาเหมือนตัวเต็มวัย ยกเว้นในชนิดคางคกซูรินาม (Pipa pipa) ที่ลูกอ๊อดจะยังอยู่บนหลังแม่ไปจนกว่าจะกลายสภาพเหมือนตัวเต็มวัย ถูกจำแนกออกเป็น 7 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกซูรินาม (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

คางคกแคระ

งคกแคระ หรือ คางคกหัวแบน เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Ingerophrynus ในวงศ์คางคก (Bufonidae) พบกระจายพันธุ์ในมณฑลยูนนาน และภูมิภาคอินโดจีน, ประเทศไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะสุลาเวสี, เกาะไนแอส และเกาะฟิลิปปิน โดยเป็นสกุลที่แยกออกมาจากสกุล Bufo ซึ่งเป็นสกุลดั้งเดิมของคางคกในวงศ์นี้ 10 ชนิด โดยในชนิด Ingerophrynus gollum ซึ่งเป็นชนิดใหม่ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามกอลลัม ตัวละครจากบทประพันธ์ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ลูกอ๊อดของคางคกสกุลนี้มีดวงตาขนาดใหญ่ ตัวสีน้ำตาลดำ มีจุดกระจายทั่วตัว มักพบตามแอ่งข้างลำธารที่มีเศษใบไม้ร่วงทับถมกัน ในประเทศไทยพบ 3 ชน.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกแคระ · ดูเพิ่มเติม »

คางคกโพรงเม็กซิกัน

งคกโพรงเม็กซิกัน (Mexican burrowing toad, Burrowing toad) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในอันดับกบ (Anura) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Rhinophrynus และวงศ์ Rhinophrynidae มีลำตัวกลมและแบนราบ ส่วนหัวหลิมและมีแผ่นหนังที่ปลายของส่วนหัว ตามีขนาดเล็ก ไม่มีแผ่นเยื่อแก้วหู สามารถอ้าปากเพื่อให้ส่วนปลายของลิ้นพลิกกลับและยืดออกมาได้อย่างสะดวกมาก สำหรับกินมดหรือปลวกเป็นอาหาร มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัลเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัล ไม่มีกระดูกหน้าอก กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะตัวและส่วนปลาย ไม่มีกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีช่องปากยาวและแคบ ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันบริเวณปาก ช่องเปิดห้องเหงือกมี 2 ช่องอยู่ทางด้านข้างของลำตัว กินอาหารด้วยการกรองเข้าปาก มีความยาวประมาณ 7.5-8.5 เซนติเมตร อาศัยโดยการขุดโพรงอยู่ในดิน โดยกินแมลงและแมงที่อยู่บนดินเป็นอาหาร ผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำขังชั่วคราว โดยจะเป็นการผสมพันธุ์แบบหมู่เป็นกลุ่มก้อนจำนวนมาก โดยตัวผู้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียขณะลอยตัวอยู่ในน้ำและกอดรัดตัวเมียบริเวณเอว ตัวเมียวางไข่เป็นจำนวนหลายพันฟอง ไข่ไม่ลอยเป็นแพที่ผิวน้ำแต่จะจมลงก้นบ่อ ลูกอ๊อดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 5-หลายร้อยตัว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ใต้สุดของรัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกา จนถึงคอสตาริก.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกโพรงเม็กซิกัน · ดูเพิ่มเติม »

คางคกไฟ

งคกไฟ (Lesser toad) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง ในวงศ์คางคก (Bufonidae) จัดเป็นคางคกขนาดเล็ก มีจุดเด่น คือ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ ลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีแดงสดอันเป็นที่มาของชื่อ พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบของภาคใต้ของเมียนมา, ภาคใต้และตะวันออกของไทย, กัมพูชา และพบไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะชวา, เกาะสุมาตรา โดยมีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีลำธารไหลผ่าน ผสมพันธุ์และวางไข่ในแอ่งน้ำหรือลำธารในป่า เป็นคางคกที่พบได้ทั่วไปในแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นอินโดนีเซี.

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกไฟ · ดูเพิ่มเติม »

คางคกไวโอมิง

งคกไวโอมิง (Wyoming toad; หรือ Bufo baxteri) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหายากที่ปัจจุบันยังเหลือรอดเฉพาะในสถานที่เพาะเลี้ยง และในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งชาติทะเลสาบมอร์เทนสัน ในรัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ถูกขึ้นทะเบียนอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เมื่อ..

ใหม่!!: อันดับกบและคางคกไวโอมิง · ดูเพิ่มเติม »

คู่หูของผมเป็นลิงครับ

ู่หูของผมเป็นลิงครับ หรือที่ร้องในเพลงเปิดว่า คู่เล่นยิมของฉันเป็นลิง ในชื่อภาษาอังกฤษว่า My Gym's Partner's a Monkey เป็นการ์ตูนตลกขบขันของประเทศสหรัฐอเมริกาผลิตโดย Timothy และ Julie McNally Cahill สังกัดการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เป็นหนึ่งในผลงานต้นฉบับของการ์ตูนเน็ตเวิร์คสตูดิโอ และฉายทางช่องบูมเมอแรง.

ใหม่!!: อันดับกบและคู่หูของผมเป็นลิงครับ · ดูเพิ่มเติม »

ฆาตกรต่อเนื่อง

ตกรต่อเนื่อง (serial killer) หมายถึง บุคคลที่ก่อคดีฆาตกรรมขึ้น โดยมีเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หรือก่อเหตุมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ ฆาตกรต่อเนื่องส่วนมาก จะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ตัดขาดจากสังคมภายนอก (Antisocial Personality Disorder) และไม่ได้เป็นบ้า ดูจากภายนอกแล้วจะเหมือนกับคนปกติทั่วไป บางครั้งจะมีเสน่ห์ด้วยซ้ำ.

ใหม่!!: อันดับกบและฆาตกรต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

งูบิน

งูบิน (Flying snakes) เป็นสกุลหนึ่งของวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) จัดเป็นงูเขียวอย่างหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Chrysopelea งูบินเป็นสัตว์มีพิษอย่างอ่อน และถือว่าไม่เป็นอันตรายเนื่องด้วยพิษของมันไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กลุ่มอันดับของพวกมันอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ที่แผ่นดินใหญ่, หมู่เกาะซุนดาใหญ่กับหมู่เกาะซุนดาน้อย, หมู่เกาะโมลุกกะ และประเทศฟิลิปปินส์), ชายแดนภาคใต้ของประเทศจีน, อินเดีย และ ศรีลังกาDe Rooij, N. (1915).

ใหม่!!: อันดับกบและงูบิน · ดูเพิ่มเติม »

งูสามเหลี่ยม

งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง (Banded krait; ชื่อวิทยาศาสตร์ Bungarus fasciatus) เป็นชนิดของงูมีพิษชนิดหนึ่ง พบในอินเดีย, บังคลาเทศ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีหัวกลม ลำตัวเรียวยาว 1 ถึง 2 เมตร ปลายหางมักทู่ บางตัวหัวแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เลื้อยช้าแต่ว่ายน้ำได้เร็ว เป็นงูที่มีความว่องไวปราดเปรียวในน้ำ สีของลำตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองทั้งตัว เวลากัดไม่มีการแผ่แม่เบี้ยเหมือนงูในสกุล Naja ในประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค แต่จะพบได้มากในภาคใต้ รวมถึงป่าพรุโต๊ะแดง กินอาหาร จำพวก หนู, กบ, เขียด หรือปลา รวมถึงงูด้วยกันขนาดเล็กด้วย หากินในเวลากลางคืน มักขดนอนตามโคนกอไม้ไผ่, ป่าละเมาะ, พงหญ้าริมน้ำ เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่ฉกกัด นอกจากจะมีคนเดินไปเหยียบหรือเดินผ่านขณะที่งูสามเหลี่ยมกำลังไล่กัดงูซึ่งเป็นอาหารก่อน งูกินปลา งูเขียว ปกติตอนกลางวันจะซึมเซา แต่ตอนกลางคืนจะว่องไว มีพิษทำลายระบบประสาทและโลหิตรวมกัน เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกตามไรฟันและไอเป็นเลือด มีการแพร่ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ครั้งละ 8-12 ฟอง.

ใหม่!!: อันดับกบและงูสามเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

งูอนาคอนดาเขียว

งูอนาคอนดาเขียว หรือ งูอนาคอนดาธรรมดา (Green anaconda, Common anaconda) เป็นงูขนาดใหญ่มากที่สุดในโลกที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eunectes murinus อยู่ในวงศ์ย่อย Boinae ในวงศ์ใหญ่ Boidae สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) งูอนาคาคอนดาเขียวนับเป็นงูอนาคอนดา ชนิดที่ใหญ่ที่สุดและรู้จักดีที่สุด เมื่อโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 30 ฟุต และหนักได้ถึง 550 ปอนด์ มีผิวลำตัวสีเขียว มีลายเป็นวงกลมสีดำ ใต้ท้องเป็นสีขาว ตาเป็นสีดำ ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มาก อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น ป่าอเมซอน, บราซิล, โบลิเวีย, กายอานา ในหนองน้ำ หรือบึง โดยมักจะอาศัยอยู่ในน้ำหรือหมกตัวในโคลนมากกว่าจะเลื้อยมาอยู่บนบก เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากทำให้งุ่มง่ามเชื่องช้ามากเมื่ออยู่บนบก แต่จะว่องไวกว่าเมื่ออยู่ในน้ำ ว่ายน้ำได้เก่ง บางครั้งอาจใช้วิธีการลอยน้ำอยู่บริเวณผิวน้ำแล้วปล่อยให้กระแสน้ำไหลพัดไป แต่มักจะขึ้นมาอาบแดดเป็นบางครั้งด้วยการเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ริมน้ำ ล่าเหยื่อด้วยการใช้แอ่งรับความร้อนอินฟราเรดที่อยู่บริเวณหน้าผาก ในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้หลากหลายมาก ทั้ง สัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ ทั้ง คาปรีบารา, จระเข้ไคแมน, ปลา, กบ หรือแม้กระทั่งวัวหรือควาย หรือปศุสัตว์ต่าง ๆ ของชาวบ้าน โดยใช้วิธีการรัดเหยื่อด้วยลำตัวอย่างแน่น และกดลงไปในน้ำให้จมน้ำตายก่อนจะเขมือบกลืนเข้าไปทั้งตัว โดยเริ่มจากส่วนหัวก่อน ซึ่งอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง แต่กระนั้นก็จะทำให้ไม่ต้องกินอะไรอีกไปนานนับเดือน ในยามที่อาหารขาดแคลนเช่นในช่วงฤดูร้อน อาจอดอาหารได้นานถึง 7 เดือน หลังจากนั้นแล้วจะเร่งรีบกินเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปและผสมพันธุ์ โดยถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-4 ปี ฤดูผสมพันธุ์จะตกอยู่ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ตัวเมียจะปล่อยกลิ่นเพื่อดึงดูดตัวผู้ให้มาผสมพันธุ์ โดยอาจผสมพันธุ์กับตัวผู้ได้มากถึง 2-12 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน ตกลูกเป็นตัว ซึ่งอาจออกได้ครั้งละ 40 ตัวหรือมากกว่านั้น ลูกงูที่ออกมาใหม่จะมีความยาวราว 2 ฟุต และจะไม่ถูกดูแลโดยแม่ ซึ่งอาจจะตกเป็นเหยื่อของสัตว์ที่ใหญ่กว่าหรือแม้กระทั่งงูอนาคอนดาด้วยกันเองกินก่อนที่จะโตต่อไปในอนาคต งูอนาคอนดาเขียวเป็นงูที่มนุษย์ให้ความสนใจมาก ด้วยขนาดที่ใหญ่โตและพละกำลังที่มากมายมหาศาล ดังนั้น เมื่อมีการจับงูชนิดนี้ได้ในแต่ละครั้งมักปรากฏเป็นข่าวโด่งดัง และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อาทิ Anaconda เมื่อปี ค.ศ. 1997 ของฮอลลีวู้ด เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับกบและงูอนาคอนดาเขียว · ดูเพิ่มเติม »

งูแบล็กแมมบา

งูแบล็กแมมบา (Black mamba, Common black mamba, Black-mouthed mamba) งูพิษร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendroaspis polylepis อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ในแถบตอนใต้และตอนกลาง งูแบล็กแมมบา มีรูปร่างเพรียวยาว มีลำตัวสีน้ำตาลเทา ท้องมีสีเทาขาวจนไปถึงสีเหลืองหรือเขียว เส้นขอบปากมีสีน้ำตาลดำ คอแบน ภายในปากสีดำสนิท มีต่อมพิษขนาดใหญ่ ตากลมโตขนาดใหญ่ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 2 เมตร แต่มีขนาดยาวเต็มที่เกือบ 4 เมตร งูแบล็กแมมบาเป็นงูที่มักไม่ขึ้นต้นไม้ แต่จะหากินและอาศัยบนพื้นเป็นหลัก เป็นงูที่เลื้อยคลานได้ไวมาก โดยสามารถเลื้อยได้ไวถึง 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงถูกจัดให้เป็นงูที่ไวที่สุดในโลก นอกจากนี้แล้ว งูแบล็กแมมบายังได้ถูกจัดให้เป็นงูที่อันตรายและเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา ด้วยความเป็นงูที่หากินบนพื้นเป็นหลัก คล่องแคล่วว่องไว อีกทั้งยังเป็นงูที่ไม่กลัวมนุษย์ มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว เมื่อปะทะกับมนุษย์ซึ่ง ๆ หน้า จะไม่หลบหนีเหมือนงูชนิดอื่น ๆ โดยคำว่า "แมมบา" นั้น หมายถึง "โลงศพ" เนื่องจากมีส่วนหัวแลดูคล้ายโลงศพของชาวตะวันตก ซึ่งชื่อนี้มีนัยถึงถึง "ความตายที่มาเยือน" งูแบล็กแมมบา ใช้พิษในการหากินโดยใช้กัดเหยื่อให้ตาย แล้วจึงกลืนเข้าไปทั้งตัว ซึ่งได้แก่ กระต่าย, นก, ค้างคาว และสัตว์ฟันแทะ รวมถึงกบหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วไป และยังกินงูด้วยกันเป็นอาหารได้อีกด้วย มีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวัน พิษของงูแบล็กแมมบานั้นถือว่าร้ายแรงมาก ถูกจัดให้เป็นงูที่มีพิษอันตรายมากที่สุดติด 1 ใน 10 อันดับของโลก ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาเซรุ่มแก้พิษนั้น ผู้ที่โดนกัดจะถึงแก่ความตายทั้งหมด โดยการกัดครั้งหนึ่งจะปล่อยพิษออกมาประมาณ 100-250 มิลลิกรัม มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่ถูกกัดจะเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวในเวลาเพียง 20 นาที แต่โดยเฉลี่ยคือ 2-4 ชั่วโมง จากความล่าช้าของการรักษา งูแบล็กแมมบาสามารถที่จะฉกกัดได้อย่างว่องไว และสามารถขู่ แผ่แม่เบี้ย และชูหัวได้เหมือนกับงูเห่า (Naja spp.) หรืองูจงอาง (Ophiophagus hannah) ซึ่งอยู่ร่วมวงศ์กัน แม้จะไม่ใหญ่เท่า แต่ก็สามารถฉกและชูหัวได้สูงถึง 2 เมตร.

ใหม่!!: อันดับกบและงูแบล็กแมมบา · ดูเพิ่มเติม »

งูแสงอาทิตย์

งูแสงอาทิตย์ (Sunbeam snake) เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวยาวทรงกระบอก หัวแบนเรียว ตามีขนาดเล็ก ลำตัวมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ลำตัวสีดำถึงสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีขาว ส่วนหัวแบนเรียว ตาเล็ก ลักษณะเด่นคือเกล็ดลำตัวเรียบเป็นเงาแวววาบสะดุดตาเมื่อสะท้อนแสงแดด อันเป็นที่มาของชื่อ พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่มีชนิดย่อย ตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่ชวา จัดเป็นงูโบราณจากลักษณะที่ยังคงปอดทั้งสองข้างเอาไว้ ซึ่งงูทั่วไปจะเหลือปอดซ้ายเพียงข้างเดียวเพื่อความสะดวกในการเก็บปอดภายในลำตัวแคบๆ ยาว ๆ มักพบเห็นได้ในพื้นที่ที่มีกิ้งก่า, กบ, หนู และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ซึ่งเป็นอาหาร รวมถึงกินงูด้วยกันชนิดอื่น เช่น ลูกงูเห่าจุดประกาย 7 WILD, งูแสงอาทิต.

ใหม่!!: อันดับกบและงูแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

งูเหลือมอ้อ

งูเหลือมอ้อ หรือที่นิยมเรียกกันว่า งูหัวกะโหลก เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์งูน้ำ (Homalopsidae) อดีตเคยถูกจัดให้เป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Homalopsis แต่ปัจจุบันได้มีการจำแนกออกใหม่เป็น 5 ชน.

ใหม่!!: อันดับกบและงูเหลือมอ้อ · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่าหม้อ

งูเห่าหม้อ หรือ งูเห่าไทย หรือ งูเห่าดง หรือ งูเห่าปลวก (Siamese cobra, Monocled cobra) เป็นงูพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง จำพวกงูเห่า อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) หัวมีลักษณะกลมเรียว หางเรียวยาว มีสีสันลำตัวต่าง ๆ ทั้ง สีดำ, เขียว หรือน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม รวมทั้งเป็นสีขาวนวลปลอดตลอดทั้งตัวด้วย โดยที่มิใช่เป็นงูเผือกเรียกว่า "งูเห่านวล" (N. k. var. suphanensis Nutaphand, 1986) มีทั้งที่มีลายตามตัว และไม่มีลาย ไม่มีดอกจัน พบที่แถบจังหวัดสุพรรณบุรี ตัวผู้หัวจะทู่ใหญ่ พังพานจะแผ่กว้างเป็นวงกลม ส่วนตัวเมียหัวจะหลิมปลายจมูกเรียว พังพานแคบกว่าตัวผู้ โดยงูเห่าชนิดนี้สามารถแผ่พังพานได้กว้างกว่างูเห่าชนิดอื่น ๆ และใกล้เคียงกับงูเห่าอินเดีย (N. naja) ที่พบได้ในประเทศอินเดีย และเมื่อยกตัวชูคอแผ่พังพานได้สูงที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่ จัดเป็นงูเห่าที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่ง โดยความยาวเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 100–180 เซนติเมตร โดยขนาดยาวที่สุดที่วัดได้ของสถานเสาวภา โดยสภากาชาดไทย คือ 225 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างชุกชุมในประเทศไทย โดยพบได้ทุกภาค พบชุกชุมโดยเฉพาะภาคกลาง นอกจากนี้แล้วยังพบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อินเดีย, เนปาล, พม่า, จีน, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว ไปจนถึงแหลมมลายู ในประเทศไทยถือเป็นงูเห่าชนิดที่พบได้ชุกชุมมากที่สุด โดยมักในบริเวณที่ลุ่มค่อนข้างชื้น มักอาศัยอยู่ในจอมปลวก, ทุ่งนา หรือพบบนภูเขาที่ระดับความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลาพลบค่ำโดยหากินตามพื้นดิน ผสมพันธุ์ช่วงเดือนสิงหาคมถึงมกราคม วางไข่ครั้งละ 15–37 ฟอง ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคม ระยะฟักไข่นาน 51–69 วัน (เฉลี่ย 60 วัน) เมื่อแรกเกิดมีน้ำหนัก 13.2–18.8 กรัม และความยาว 31.5–35.5 เซนติเมตร กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่น หนู และ นก, กบ, เขียด และบางครั้งก็กินงูชนิดอื่นเป็นอาหาร.

ใหม่!!: อันดับกบและงูเห่าหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (Narrow headed softshell turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Chitra (/ชิ-ตร้า/) มีรูปร่างโดยรวมคือ เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวและตามีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ขนาดกระดองยาวได้ถึงเมตรเศษ น้ำหนักกว่า 120–200 กิโลกรัม กระดองแบนเรียบสีครีมหรือสีเนื้อ มีจุดเด่นที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ มีลายสีน้ำตาลแลดูสวยงาม ที่ขนาดและลักษณะแตกต่างออกไปในช่วงวัยและชนิดพันธุ์ หัวเล็ก เท้าเป็นแผ่นผังผืด มีเล็บใหญ่แข็งแรง กรามแข็งแรงใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กบหรือเขียด เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำขนาดใหญ่บางสายเท่านั้น ในอนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, พม่า, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปัจจุบันจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: อันดับกบและตะพาบม่านลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบหัวกบ

ตะพาบหัวกบ (Cantor's giant soft-shelled turtle) เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 50 กิโลกรัม นับว่าใหญ่ที่สุดในสกุลตะพาบหัวกบนี้ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ ตามีขนาดเล็ก เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงทุกภาคของประเทศไทย ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ โดยโผล่ส่วนจมูกเพื่อขึ้นมาหายใจเพียงวันละ 2–3 ครั้งเท่านั้น ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาปู่หลู่" ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ cantorii ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่นักสัตว์วิทยาชาวเดนมาร์ก ทีโอดอร์ เอ็ดวาร์ด แซนตอร์ และเชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยในตัวที่กระดองมีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย จะถูกเรียกว่า "กริวดาว" พบได้เฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตกของไทยเท่านั้น ซึ่งหาได้ยากมาก สันนิษฐานว่าในอดีตสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ภาคเหนือมาจนถึงภาคกลาง.

ใหม่!!: อันดับกบและตะพาบหัวกบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะกอง

ตะกอง หรือ ลั้ง หรือ กิ้งก่ายักษ์ (Chinese water dragon) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้.

ใหม่!!: อันดับกบและตะกอง · ดูเพิ่มเติม »

ตะขาบยักษ์ขาเหลืองเปรู

ตะขาบยักษ์ขาเหลืองเปรู หรือ ตะขาบยักษ์อเมซอน (Peruvian giant yellow-leg centipede, Amazonian giant centipede) เป็นตะขาบชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Scolopendra โดยปกติเมื่อโตเต็มที่จะยาว 26 เซนติเมตร (10 นิ้ว) แต่บางครั้งก็สามารถโตได้ถึง 30 เซนติเมตร (12 นิ้ว) ตะขาบชนิดนี้อาศัยอยู่ทางแถบเหนือและตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ และตามเกาะแก่งของประเทศตรินิแดดและจาไมกา เป็นสัตว์กินเนื้อ โดยกินจิ้งจก, กบ, นก, หนู และแม้แต่ค้างคาวเป็นอาหาร และขึ้นชื่อในเรื่องความดุร้าย ร่างกายประกอบไปด้วยปล้องจำนวน 21-23 ปล้อง ปล้องมีสีทองแดงหรือสีแดงอมม่วง แต่ละปล้องมีขาสีเหลืองอ่อน 1 คู่ ขาแต่ละข้างสามารถเดินได้อย่างรวดเร็ว (หรือแม้แต่วิ่ง) และจับเหยื่อได้อย่างแน่นหนาก่อนที่จะฆ่า ตะขาบชนิดนี้มีเขี้ยวที่เรียกว่า Forcipule เรียงเป็นแนวโค้งอยู่รอบ ๆ หัว ซึ่งพัฒนาให้สามารถปล่อยพิษเข้าไปในตัวเหยื่อได้ พิษประกอบด้วยสารอะเซทิลคอลีน ฮิสตามีน เซโรโทนิน ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ ทำให้เกิดแผลเหมือนถูกตัวต่อต่อย แผลจะบวมอย่างรุนแรง และตามด้วยอาการไข้สูง ตะขาบยักษ์ขาเหลืองเปรู เป็นสัตว์เลี้ยงที่เป็นที่นิยมในบรรดาผู้นิยมสัตว์ประเภทสัตว์แปลก ๆ แต่ไม่ควรจับมันโดยไม่มีเครื่องป้องกัน แม้เพียงแค่ผิวหนังสัมผัสถูกผิดก็ทำให้เกิดอันตรายได้ อาการที่เกิดจากการถูกพิษของตะขาบในสกุลนี้เรียกว่า "Scolopendrism" ตะขาบขาเหลืองยักษ์เปรู ตัวเมียจะคอยดูแลและปกป้องรังที่มีไข่ของตนเอง ตัวอ่อนจะมีสีแดงเข้มหรือสีดำ ลำตัวบาง และมีหัวกลมใหญ่สีแดง มีวงจรชีวิตลอกคราบหลายครั้งก่อนที่จะโตเต็มวั.

ใหม่!!: อันดับกบและตะขาบยักษ์ขาเหลืองเปรู · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับแรงกล

ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแรงกล เช่น สัมผัสหรือเสียง มีตัวรับแรงกลประเภทต่าง ๆ ในระบบประสาทมากมายโดยต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) ในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม ในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule ในบรรดาตัวรับแรงกลทั้งหมด เซลล์ขนในคอเคลียของระบบการได้ยินไวที่สุด โดยมีหน้าที่ถ่ายโอนคลื่นเสียงในอากาศเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปยังสมอง แม้แต่เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ก็มีตัวรับแรงกลด้วย ซึ่งช่วยให้กรามผ่อนแรงเมื่อกัดถูกวัตถุที่แข็ง ๆ งานวิจัยเรื่องตัวรับแรงกลในมนุษย์ได้เริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่นักวิชาการคู่หนึ่ง (Vallbo และ Johansson) วัดปฏิกิริยาของตัวรับแรงกลที่ผิวหนังกับอาสาสมัคร ตัวรับแรงกลที่ผิวหนังรวมทั้ง Pacinian corpuscle (ป้ายที่ตรงกลางล่าง) และ Meissner’s corpuscle (ป้ายที่บนขวา) ซึ่งช่วยให้รับรู้สัมผัสที่ผิวหนัง.

ใหม่!!: อันดับกบและตัวรับแรงกล · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอสุจิ

รูปแบบการปฏิสนธิ ตัวอสุจิ (sperm) คือเซลล์สืบพันธุ์ที่แบ่งตัวด้วยกระบวนการไมโอซิสจากร่างกายของสัตว์เพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์ และไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่ในสัตว์เพศเมีย ตัวอสุจิถูกสร้างมาตัวเพศชายและหลั่งออกมาพร้อมกับน้ำเลี้ยงที่เรียกรวมกันว่า น้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 3 วันในร่างกายของสัตว์เพศเมียโดยไม่สัมผัสอากาศหรือของเหลวอื่น.

ใหม่!!: อันดับกบและตัวอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3

ซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 (Super Mario Bros.) เป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์มที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเทนโดสำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกมแฟมิคอม เป็นภาคต่อของเกมซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 2 ของปี..

ใหม่!!: อันดับกบและซูเปอร์มาริโอบราเธอส์ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแบสลายจุด

ปลาแบสลายจุด (Spotted bass; หรือที่เรียกว่า "Spotty", "Leeman" และ"Spots") เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลากะพงปากกว้าง (Centrarchidae) ในอันดับปลากะพง เป็นปลาแบสดำชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีข้ามไปถึงรัฐรอบอ่าวเม็กซิโก จากกลางรัฐเทกซัสผ่านรัฐฟลอริดาไปถึงรัฐตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก และถูกนำเข้าสู่ทางตะวันตกของรัฐนอร์ทแคโรไลนาและรัฐเวอร์จิเนีย รวมถึงทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาที่ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ในแหล่งน้ำโดดเดี่ยวบางแห่ง บ่อยครั้งที่เกิดการเข้าใจผิด เพราะว่ามีลักษณะคล้ายกับปลาแบสปากใหญ่ (M. salmoides) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ปลาแบสลายจุดมีขนาดยาวประมาณ 64 เซนติเมตร หนักได้ถึง 4.6 กิโลกรัม มีช่วงชีวิตอย่างน้อยที่สุด 7 ปี ลำตัวมีลายจุดสีดำใต้เส้นข้างลำตัวของอันเป็นที่มาของชื่อ ปลาแบสลายจุดจะคล้ายกับปลาแบสปากใหญ่มากในเรื่องของลักษณะและสีสัน แต่ปลาแบสลายจุดมีปากที่มีขนาดเล็กกว่า ปลากินแมลง, กุ้ง-กั้ง-ปู, กบ, แอนเนลิดา และปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร.

ใหม่!!: อันดับกบและปลาแบสลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปาดเขียวตีนดำ

ปาดเขียวตีนดำ (Wallace's frog, Wallace's flying frog) เป็นปาดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปาดโลกเก่า (Rhacophoridae) มีขนาดความยาวลำตัว 80-100 มิลลิเมตร โดยเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ปาดเขียวตีนดำเป็นหนึ่งในปาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Rhacophorus ซึ่งตาและหูของปาดเขียวตีนดำมีขนาดใหญ่ ส่วนของขาทั้ง 4 มีขนาดยาว และบริเวณระหว่างนิ้วมีพังผืดอยู่ตลอดความยาวนิ้ว ประกอบกับบริเวณข้างลำตัวซึ่งมีผิวหนังที่สามารถยืดได้ระหว่างขาหน้าและขาหลัง ทำให้สามารถกระโดดหรือร่อนจากบนต้นไม้สูงลงสู่บริเวณพื้นที่ต่ำกว่าได้ * (2003): AmphibiaWeb -. Version of 2003-APR-12.

ใหม่!!: อันดับกบและปาดเขียวตีนดำ · ดูเพิ่มเติม »

ป่องรู้กลิ่น

granule cell #granule cell --> ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb, bulbus olfactorius, ตัวย่อ OB) เป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น ป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น แม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง แยกแยะกลิ่น, เพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น, กรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก, และอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว.

ใหม่!!: อันดับกบและป่องรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

นกช้อนหอยขาว

นกช้อนหอยขาว หรือ นกกุลาขาว (Black-headed ibis) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์นกช้อนหอยและนกปากช้อน (Threskiornithidae) นกช้อนหอยขาว กระจายพันธุ์อยู่แถบตอนใต้ของทวีปเอเชีย ตั้งแต่ปากีสถาน, อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, ตอนใต้และตะวันออกของจีน เรื่อยมาจนถึงเอเชียอาคเนย์ เช่น พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา และเกาะชวา นอกจากนี้แล้วยังมีจำนวนประชากรบางส่วนบินย้ายถิ่นไปไกลถึงเกาะไต้หวันและฟิลิปปินส์ โดยนกช้อนหอยขาวจัดว่ามีเพียงชนิดเดียว ไม่มีชนิดย่อย เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีปากสีดำเรียวยาว ปลายปากโค้งลงมาก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนกช้อนหอย หัวและคอช่วงบนเป็นหนังเกลี้ยง ๆ สีดำ ลำตัวและปีกมีขนสีขาวปกคลุมทั่ว นอกจากด้านใต้ปีกบริเวณใกล้กับขอบปีกมีเพียงหนังเปลือยเปล่าสีแดงซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อนกบิน ขายาวสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำในที่ราบ เช่น ริมแม่น้ำ, ทะเลสาบ, หนองบึง, ที่ลุ่มน้ำท่วมขัง รวมถึงทุ่งนา หรือทุ่งหญ้าที่น้ำท่วมขัง มักพบหากินเป็นฝูงใหญ่ มีพฤติกรรมเดินลุยน้ำหรือย่ำไปบนพื้นโคลนไปช้า ๆ พร้อมใช้ปากยาวโค้งแหย่ลงไปในน้ำ หรือชอนไชในโคลนเพื่อจับเหยื่อ เมื่อพบแล้วจะรีบใช้ปากงับและกลืนกิน และใช้วิธีจิกกินเหยื่อตามผิวน้ำด้วย อาหารส่วนใหญ่ได้แก่ ปลา, กบ, งู, ปู, กุ้ง, หอย และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ นอกจากนี้แล้วยังไล่งับแมลงตามกอหญ้าหรือชายน้ำด้วย ฤดูผสมพันธุ์ขอวนกช้อนหอยขาวเริ่มในราวเดือนมิถุนายน-กันยายน ช่วงนี้นกจะมีขนงอกสีเทาออกมาจากปีกคลุมบนหลังและตะโพก ทางหลังคอและอกก็มีขนงอกยาวออกมาด้วยเช่นกัน จะเลือกทำรังเป็นกลุ่มบนยอดไม้สูงของต้นไม้ใหญ่ใกล้แหล่งน้ำ บางครั้งอาจพบทำรังปะปนกับนกน้ำชนิดอื่น ๆ เช่น นกกระสา, นกกระยาง และนกกาน้ำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรัง โดยใช้กิ่งไม้มาวางซ้อนกันเป็นรังขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 45-50 เซนติเมตร แล้วรองพื้นด้วยกก, ใบไม้หรือหญ้า หลังจากนั้นจึงวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลากกไข่นาน 23-24 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยสีดำบนหัวและลำตัวสีขาว ใช้เวลาอยู่ในรังนาน 40 วัน จึงบินออกหากิน ขณะบิน นกช้อนหอยขาว เคยเป็นนกประจำถิ่นที่อาศัยหากินและแพร่ขยายพันธุ์บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างในประเทศไทย เช่น จังหวัดปทุมธานี, นครปฐม และสมุทรสาคร แต่ปัจจุบันเป็นนกที่ย้ายถิ่นเข้ามาหากินเป็นบางช่วงของฤดูกาลเท่านั้น เพราะไม่มีรายงานว่าทำรังขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานกว่า 50 ปีแล้ว คงมีจำนวนประชากรนกบางส่วนเท่านั้นที่บินอพยพมาจากอินเดียและพม่าเข้ามาอยู่อาศัยนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีรายงานพบทางภาคกลาง, ภาคอีสานตอนล่าง และภาคใต้ โดยจะพบได้ที่หน่วยอนุรักษ์นกท่าเสด็จ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ ๆ นกจะอพยพบินเข้ามาประจำในช่วงฤดูหนาว เช่นเดียวกับ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง แม้นกช้อนหอยขาวจะบินอพยพเข้ามาในประเทศไทยทุกปีเป็นประจำ แต่จำนวนประชากรด็น้อยมากพบจัดได้ว่าเป็นนกหายากและใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: อันดับกบและนกช้อนหอยขาว · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: อันดับกบและนกกะรางหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

นกอีเสือสีน้ำตาล

นกอีเสือสีน้ำตาล (Brown shrike; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius cristatus) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Laniidae จัดเป็นนกอพยพย้ายถิ่นอาศัยเข้ามาหากินในประเทศไทย พบได้บ่อยในช่วงปลายฤดูร้อนและปลายฤดูฝน ซึ่งนกอีเสื้อสีน้ำตาลมีถิ่นการกระจายพันธุ์กว้างขวาง โดยพบได้ตั้งแต่เอเชียเหนือจรดยุโรป, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก, เอเชียใต้ และยังพบได้ที่อเมริกาเหนือ จึงมีชนิดย่อยด้วยกันทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: อันดับกบและนกอีเสือสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือมลายู

นกทึดทือมลายู หรือ นกเค้าแมวมลายู หรือ นกฮูกมลายู หรือ นกพิทิดพิที ในภาษาใต้ (Buffy fish owl, Malay fish owl; หรือ Bubo ketupa) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว เป็นนกเค้าแมวขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 49-50 เซนติเมตร ปีกสั้นกว่า 40 เซนติเมตร ดวงตาสีเหลืองจนถึงเหลืองแกมทอง มีขนเหนือคิ้วเป็นแผงยาวออกไปด้านข้างทั้งสองด้าน ส่วนขนบริเวณเหนือโคนปากเป็นสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายสีจางกระจาย ด้านล่างสีเนื้อแกมน้ำตาลเหลือง มีลายขีดสีดำ เมื่อหุบปีกจะเห็นลายแถบสีน้ำตาลจางสลับสีเข้มบริเวณปลายปีก ขาสีเขียว มีเล็บโค้งแหลม และมีปากงุ้มแหลม มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน ทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใช้รังเก่าของนกอื่น ๆ เป็นรัง ออกไข่ครั้งละ 1-3 ฟอง ลักษณะไข่มีเปลือกสีขาวและทรงกลม ตัวผู้จะเป็นฝ่ายส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย มักอาศัยอยู่ตามป่าดิบแล้ง, ป่าดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้แหล่งน้ำหรือลำธารในป่า และบริเวณใกล้ชายฝั่ง ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางคืน จับสัตว์ขนาดเล็กกินเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, กบ, ปู, ค้างคาว, นกชนิดอื่น และสัตว์เลื้อยคลานเกือบทุกชนิด เมื่อเวลาบินล่าเหยื่อจะบินได้เงียบกริบมาก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ตอนล่างของไทยเช่น จังหวัดนราธิวาส พบไปตลอดแหลมมลายูจนถึงประเทศอินโดนีเซีย, เกาะชวา และหมู่เกาะซุนดา ซึ่งนกทึดทือมลายู เป็นนกที่ถูกอ้างอิงถึงในนวนิยายสำหรับเด็กเรื่อง แฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ด้วยเป็นนกของแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ตัวละครเอก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546.

ใหม่!!: อันดับกบและนกทึดทือมลายู · ดูเพิ่มเติม »

นกแก้วคาคาโป

นกแก้วคาคาโป (เมารี: kākāpō) เป็นภาษามาวรี มีความหมายว่า "นกแก้วกลางคืน" เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Strigopidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Strigops habroptilus นกแก้วคาคาโป บ้างก็เรียกว่า "นกแก้วฮูก" ซึ่งเป็นนกแก้วที่บินไม่ได้ที่พบในนิวซีแลนด์เท่านั้น ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการบนเกาะโดดเดี่ยว ทำให้มีรูปลักษณ์พิเศษ โดยบรรพบุรุษร่วมของนกแก้วคาคาโปและนกในสกุล Nestor ในวงศ์ใหญ่เดียวกัน คือ วงศ์ Strigopoidea ได้แยกไปอยู่ต่างหากจากนกแก้วชนิดอื่น ๆ หลังจากนิวซีแลนด์แยกตัวออกจากทวีปกอนด์วานา เมื่อประมาณ 82 ล้านปีก่อน จากนั้นอีก 12 ล้านปีต่อมาหรือประมาณ 70 ล้านปีก่อน นกแก้วคาคาโปจึงแยกออกจากนกสกุล Nestor ชัดเจน จากสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสัตว์นักล่าบนเกาะนิวซีแลนด์ ทำให้นกแก้วคาคาโปมีวิวัฒนาการเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่บินไม่ได้ และยังครองสถิติอีกหลายอย่าง คือเป็นนกแก้วที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก มีขนาดตัวระหว่าง 59-64 เซนติเมตร และหนักถึง 4 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่ามันเป็นนกแก้วที่มีอายุยืนที่สุดด้วย โดยมีสถิติพบอายุยืนที่สุดถึง 100 ปี อีกทั้งเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่หากินตอนกลางคืน และมีระบบการผสมพันธุ์ที่ตัวผู้จะอยู่ในอาณาเขตหรือรังของตัวเองและส่งเสียงเรียกตัวเมีย ซึ่งมีเสียงร้องคล้ายเสียงกบและจะร้องติดต่อกันนานถึง 3 เดือน วันละ 8 ชั่วโมง และเสียงร้องจะได้ยินไปไกลถึง 5 กิโลเมตร.

ใหม่!!: อันดับกบและนกแก้วคาคาโป · ดูเพิ่มเติม »

นกแต้วแร้วท้องดำ

นกแต้วแร้วท้องดำ หรือ นกแต้วแล้วท้องดำ (Gurney's Pitta) เป็นนกที่พบในพม่าและไทย ปัจจุบันพบได้ที่ เขานอจู้จี้ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และบางส่วนในประเทศพม่า นกแต้วแร้วท้องดำถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1875 ในเขตตะนาวศรี ประเทศพม่า โดยชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเป็นเพื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น เฮนรี เกอนีย์ นายธนาคารและนักปักษีวิทยาสมัครเล่นชาวอังกฤษ มีรายงานการพบครั้งสุดท้าย ในประเทศพม่าปี..

ใหม่!!: อันดับกบและนกแต้วแร้วท้องดำ · ดูเพิ่มเติม »

นู (เทพ)

thumb นู (Nu) เป็นเทพแห่งน้ำ ได้รับการยกย่องให้เป็นเทพอาวุโส ถือกำเนิดในช่วงสร้างโลก พระชายาคือเทพีนันเน็ท เป็นเทพที่คอยให้คำแนะนำแก่เทพรา ลักษณะเป็นชาย เศียรเป็นกบ แมลงปีกแข็งหรืองูใหญ่ โผล่ขึ้นจากน้ำเพียงเอว ชูพระกรขึ้นเหนือเศียร.

ใหม่!!: อันดับกบและนู (เทพ) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกทรายขาว

น้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาว อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงในจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่บริเวณตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ใช้เส้นทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) เมื่อถึงบ้านนาประดู่บริเวณ กิโลเมตรที่ 28 จากนั้นเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายนาประดู่-ทรายขาว เข้าไปอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาต.

ใหม่!!: อันดับกบและน้ำตกทรายขาว · ดูเพิ่มเติม »

แมลงดา

แมลงดา,ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: อันดับกบและแมลงดา · ดูเพิ่มเติม »

แมลงปอ

วนหัวและตาขนาดใหญ่ของแมลงปอ การผสมพันธุ์ของแมลงปอ แมลงปอ (อังกฤษ: Dragonfly, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำบี้) คือแมลงที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่บนบกมีปีกบินได้ แมลงปอมีการเจริญเติบโตแบบเป็นขั้นตอนประเภทไม่สมบูรณ์แบบ คือ มีระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ โดยระยะไข่และตัวอ่อนมีชีวิตอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำมีรูปร่างแตกต่างจากตัวเต็มวัยมาก เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้าย กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกและจะใช้ชีวิตบนบกได้ต่อไป แมลงปอจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง โดยถือกำเนิดมาตั้งแต่ 320 ล้านปีก่อนในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ก่อนหน้าไดโนเสาร์ และแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเลยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากขนาดลำตัวที่แมลงปอในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแมลงปอในยุคปัจจุบันมาก โดยมีความห่างระหว่างปีกมากกว่า 70 เซนติเมตร ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ แมลงปอปรากฏอยู่ในอักษรภาพเฮียโรกริฟฟิธในหลุมศพของฟาโรห์Sky Hunters: The World Of Dragonfly.

ใหม่!!: อันดับกบและแมลงปอ · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่า

แมวป่า, เสือกระต่าย หรือ เสือบอง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Felidae มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน มีลักษณะเด่นคือ มีหูแหลมยาวเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีกระจุกขนยื่นออกมาจากปลายใบหูแลดูคล้ายกระต่าย จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า "เสือกระต่าย" มีขายาว หางสั้นมีลายสีเข้มสลับเป็นปล้อง ๆ ขนปลายหางมีสีดำตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้ม สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าลำตัว แมวป่านับเป็นเสือในสกุล Felis ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวลำตัวและหัว 50–56 เซนติเมตร ความยาวหาง 26–31 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4–6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก ตั้งแต่ภาคเหนือของทวีปแอฟริกาจรดเอเชียตะวันออก พบในภาคตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย, คูเวต, อิรัก, อิหร่าน, จอร์แดน, ภาคตะวันออกของตุรกี, อิสราเอล, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, เนปาล, ภูฏาน, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชาและเวียดนาม มักอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรังที่ไม่รกชัฏนัก จับสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยบนพื้นดินกินเป็นอาหาร เช่น กระต่ายป่า, กบ, หนู, กิ้งก่า หรือนกที่อาศัยอยู่บนพื้นดินกินเป็นอาหารหลัก ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน แต่มักพบบ่อยในช่วงเช้า และช่วงเย็น จากกายภาพที่มีขายาว แต่หางสั้นไม่สมดุลกันเช่นนี้ ทำให้แมวป่ามีการทรงตัวที่ไม่ดีเมื่ออยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยปีนขึ้นไปบนต้นไม้นัก ในประเทศไทย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพรและนักเขียนได้บันทึกไว้ในปี..

ใหม่!!: อันดับกบและแมวป่า · ดูเพิ่มเติม »

แมวป่าหัวแบน

แมวป่าหัวแบน (Flat-headed cat) แมวป่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prionailurus planiceps อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) โดยเป็นแมวป่าขนาดเล็ก ขาและหางสั้น ใบหูเล็ก ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดงหรือส้ม ส่วนปลายของขนแต่ละเส้นมีขาวปนเทาหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ หัวที่มีรูปร่างยาวและแบน อันเป็นที่มาของชื่อ ลูกแมวป่าหัวแบนจะมีจุดสีขาวบริเวณหลังหู อุ้งเท้าแคบและยาว มีขนากลำตัวและหัวยาว 46.5 - 48.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 12.8 - 13 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.5 - 2.2 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว โดยอาศัยและหากินอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุ หรือป่าที่น้ำท่วมขังหรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ, ปลา, สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมถึงผลไม้บางประเภทด้วย จัดเป็นเสือชนิดที่หายากชนิดหนึ่งของโลก เนื่องจากพบเห็นตัวได้ยากและมีรายงานพบเห็นในธรรมชาติเพียงไม่กี่ครั้ง แม้แต่ภาพถ่ายก็ยังมีเพียงไม่กี่รูปเท่านั้น ปัจจุบัน สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว.

ใหม่!!: อันดับกบและแมวป่าหัวแบน · ดูเพิ่มเติม »

แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ

แม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ (bioelectromagnetism) หรือ ไฟฟ้าชีวภาพ (bioelectricity) หมายถึงพลังงานไฟฟ้า พลังงานแม่เหล็ก หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตัวอย่างนี้รวมไปถึง ศักย์ไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) และกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งก่อให้เกิดศักยะงาน (action potential) คำนี้ไม่ควรสับสนกับ bioelectromagnetics ซึ่งเป็นการศึกษาผลกระทบของสิ่งมีชีวิตจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก.

ใหม่!!: อันดับกบและแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

แร็กคูน

แร็กคูน (raccoon, common raccoon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyon lotor อยู่ในวงศ์แร็กคูน (Procyonidae) มีความยาวลำตัวราว 2 ฟุต มีหางเป็นพวงมีแถบสีดำคาดเป็นปล้อง ๆ ยาวราว 10 นิ้ว ขนตามลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ใบหน้าสีขาวมีแถบสีดำคาดจากตาไปเป็นแถบตลอดแก้ม แลดูคล้ายเหมือนโจรสวมหน้ากาก เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลางในหลายพื้นที่ ทั้งในป่า หรือแม้แต่ชุมชนของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเนื้อสัตว์และพืช อีกทั้งยังชอบที่จะอยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการจับสัตว์น้ำกินเป็นอาหาร เช่น กบ, ปลา, กุ้ง และปู หรือเต่าขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งนกหรือแมลงปีกแข็งขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ด้วย แต่ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้ จะใช้วิธีการจับในน้ำตื้น ๆ ที่ขาหยั่งถึงแทน ในช่วงฤดูแล้งที่อาหารขนาดแคลนก็จะกินลูกไม้, ผลไม้ และดอกข้าวโพด เป็นอาหาร หรืออาจจะบุกเข้าไปในบ้านเรือนของมนุษย์ ขุดคุ้ยหาขยะหรือเศษอาหาร หรือแม้กระทั่งเปิดตู้เย็นหากิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ใช้เท้าหน้าได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนมือสำหรับหยิบจับอาหาร ซึ่งสามารถกระทำได้ถึงขนาดคลายปมเชือก และยังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมพิเศษ คือ ก่อนจะกินอาหาร มักจะนำไปล้างน้ำเสียก่อน จนมีความเชื่อว่าเป็นสัตว์รักสะอาด แต่ความจริงแล้ว เป็นพฤติกรรมที่จะนวดอาหารให้นิ่มซะก่อน ก่อนที่จะกิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้เก่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ ในเวลากลางวันจะนอนขดอยู่ตามพงไม้ หรือซอกหิน หรือนอนผึ่งแดดอยู่ในรัง ในตอนกลางคืนจะออกหากิน โดยใช้เส้นทางเดิม และมักจะใช้เส้นทางที่เป็นพื้นแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดรอยเท้า ตัวเมียออกลูกครั้งละ 4-6 ตัว ในโพรงไม้ ในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกและอาหารขาดแคลน แร็กคูนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการจำศีลตลอดฤดูกาล แร็กคูน เป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก จึงมีผู้นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง อีกทั้งขนและหนังมีความหนานุ่มและสีสวย จึงมีการล่าเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ด้วย ปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยแร็กคูนถูกนำเข้าไปในเยอรมนีครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับกบและแร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน

ตราสัญลักษณ์เกม แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชั่น; Dance Dance Revolution) เป็นเกมที่ได้รับความนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2546 เป็นเกมประเภทดนตรี ลักษณะโดยทั่วไปภายในเกมจะมีลูกศร ซ้าย ลง ขึ้น ขวา ขึ้นมาตามจังหวะของเพลงที่กำลังบรรเลง โดยให้ผู้เล่นใช้เท้าเหยียบตามจังหวะให้ตรง ซึ่งเกมนี้ มีจุดเด่นตรงที่ใช้เท้าควบคุมเกม โดยมีแผงควบคุมให้เท้าเหยียบตามลูกศร ซ้าย ลง ขึ้น ขวา แดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชั่น ปรากฏเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2541 โดยบริษัท โคนามิ ประเทศญี่ปุ่น จำกัด และเกมนี้ ได้มีการสร้างภาคต่อไปเรื่อย ๆ และได้มีการเล่นเกมชนิตนี้ในแถบอเมริกาเหนือและแถบยุโรป โดยที่แถบยุโรปได้เรียกชื่อเกมนี้ว่า "แดนซิ่ง สเตจ" (Dancing Stage) เมื่อเป็นที่รู้จักในไทย ทำให้เรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า เกมเต้น นั่นเอง มหาวิทยาลัยบางส่วนในสหรัฐอเมริกาได้มีการเสริมการเล่นเกมนี้เข้าเป็นกิจกรรมชมรม หรือแม้แต่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร.

ใหม่!!: อันดับกบและแดนซ์ แดนซ์ เรโวลูชัน · ดูเพิ่มเติม »

โอพอสซัม

อพอสซัม (opossum) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า พอสซัม (possum) มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์คือ อันดับโอพอสซัม (Didelphimorphia; อ่านว่า ไดเดลฟิมอร์เฟีย) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายหนู แต่มีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ในซีกโลกตะวันตก อันดับนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วย 109 สปีชีส์หรือมากกว่าใน 19 สกุล โอพอสซัมเป็นหนึ่งในสัตว์ทดลองทางการแพทย์ที่มักใช้ศึกษาหาสาเหตุการเกิดโรคในคน เช่น โรคมะเร็ง ความผิดปกติของระบบประสาท ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของโอพอสซัมได้ทั้งหมด ถือเป็นครั้งแรกของการถอดรหัสพันธุกรรมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่นเดียวกับจิงโจ้และโคอาล่าได้.

ใหม่!!: อันดับกบและโอพอสซัม · ดูเพิ่มเติม »

ไกอาเมมโมรี่

กอาเมมโมรี่ คือ ชื่ออุปกรณ์ที่ปรากฏในเรื่องมาสค์ไรเดอร์ดับเบิล.

ใหม่!!: อันดับกบและไกอาเมมโมรี่ · ดูเพิ่มเติม »

ไทรทัน (เทพปกรณัม)

ปโปแคมปัส ที่น้ำพุเทรวี กรุงโรม ประเทศอิตาลี ไทรทัน (Triton) เป็นเทพองค์หนึ่งในเทพปกรณัมกรีก โดยเป็นโอรสของโพไซดอน เจ้าสมุทร กับแอมฟิไทรที มารดาแห่งท้องทะเล ไทรทันเป็นผู้แจ้งข่าวแห่งท้องทะเล มีร่างกายเป็นเงือก คือ กายท่อนบนเป็นอย่างกายมนุษย์ท่อนบนทั่ว ๆ ไป ส่วนท่อนล่างเป็นหางปลา อาวุธประจำกายของไทรทันคือตรีศูลเช่นเดียวกับบิดา แต่มักปรากฏในศิลปกรรมต่าง ๆ ว่าถือสังข์ซึ่งเมื่อใช้เป่าดั่งแตรแล้วมีอำนาจบันดาลให้เกิดคลื่นลมในทะเลหรือให้ท้องทะเลสงบลงได้ ว่ากันว่าสังข์ของไทรทันนี้มีเสียงประหลาดชอบกล เมื่อเป่าอย่างแรงแล้วจะบังเกิดเป็นพลยักษ์เตรียมพร้อมประจัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นจินตนาการถึงเสียงคำรามของสัตว์ป่า ตามหนังสือ "เทวกำเนิด" ของเฮซิออด กวีชาวกรีก ว่า ไทรทันนั้นพำนักอยู่กับบิดา ณ สุวรรณปราสาทซึ่งประดิษฐานอยู่ใต้สมุทร ในขณะที่ตำนานของชาวอาโกนอตส์ว่า ไทรทันอยู่ตำหนักที่ชายฝั่งของประเทศลิเบีย และเมื่อพวกตนได้แล่นเรือไปถึงฝั่งทะเลเลสเซอร์ซีตส์ ก็ได้ใช้ใบต่อไปถึงทะเลสาบไทรทันนิส ณ ที่นั้นปรากฏว่าไทรทันซึ่งเป็นเทพประจำถิ่นได้มาชี้ทางให้สามารถผ่านทะเลเมดิเทอร์เรเนียนได้ ไทรทันเป็นบิดาของเทพีพัลลัส และเป็นบิดาบุญธรรมของเทพีอะทีนา ต่อมาเทพีทั้งสองเกิดทะเลาะเบาะแว้งและเข้าต่อสู้กัน สุดท้าย เทพีอะทีนาประหารเทพีพัลลัสได้ นอกจากนี้ บางทีก็มีการกล่าวว่าไทรทันเป็นบิดาของสกิลลาซึ่งเกิดแค่เทพีลาเมีย และยังเชื่อว่าไทรทันเป็นผู้ครอบครองโคตรเพชรแห่งสมุทรที่ชื่อ "ไทรทันส์" ด้วย อนึ่ง ไทรทันยังปรากฏตัวในเทพปกรณัมและมหากาพย์ของโรมันอีกหลายเรื่อง โดยในมหากาพย์อีนีด มิเซนุส ผู้บรรเลงสังข์ประจำตัวเอนีแอส เหิมเกริมบังอาจขอประลองเป่าสังข์กับเทพไทรทัน ไทรทันจึงจับเขาทุ่มดิ่งลงมหาสมุทรถึงแก่ความตาย สำหรับชาวโรมันแล้ว นิยมทำรูปปั้นไทรทันไว้คู่กับบ่อน้ำพุ เซ็กส์ทุส พรอเพรอทีอุส กวีโรมัน พรรณนาถึงบ่อน้ำพุที่ประดับด้วยรูปปั้นไทรทันว่า อุดมไปด้วย "ศัพทสำเนียงของกระแสน้ำที่พวยพุ่งตรงออกมาจากโอษฐ์แห่งไทรทันนั้นซ่านกระเซ็นไปรอบ ๆ บ่อ " สมัยต่อมายังมีการบัญญัติศัพท์สำหรับเรียกอมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายเงือกว่า "ไทรทันเนส" (Tritones) ซึ่งคำนี้อาจหมายถึงที่มีเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้ ซึ่งปรากฏการบรรยายลักษณะของอมุนษย์ดังกล่าวไว้ในบันทึกของโพซาเนียส นักผจญภัย ว่า "เหล่าไทรทันเนสมีรูปพรรณดังต่อไปนี้ บนศีรษะของพวกมันมีขนคล้ายกับศีรษะของกบในหนอง ที่คล้ายไม่ใช่แต่สีสันเท่านั้น แต่การที่สามารถแยกขนเส้นหนึ่งออกจากเส้นได้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน ร่างกายส่วนที่เหลือเป็นแต่ตะปุ่มตะป่ำประดุจปลาฉลาม มีหงอนและจมูกอย่างของมนุษย์อยู่เบื้องล่างหูของพวกมัน แต่ส่วนปากนั้นกว้างใหญ่ และมีฟันแหลมคมอย่างของสัตว์ดุร้าย ดวงตานั้นเล่าข้าพเจ้าก็เห็นเป็นสีฟ้า นอกจากนี้ พวกมันยังมีมือ มีนิ้ว และมีเล็บสัณฐานดั่งเปลือกของทากทะเล ถัดจากแผ่นอกและช่วงท้อง แทนที่จะเป็นขาเยี่ยงคนเรา กลับปรากฏเป็นหางดั่งปลาโลมา" ต่อมาหลังยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นต้นมา มีหลายสิ่งหลายอย่างได้รับการขนานนามตามชื่อของไทรทัน ในจำนวนนั้นได้แก่ พระจันทร์ไทรทัน พระจันทร์ดวงใหญ่ที่สุดของดาวพระเกตุหรือดาวเนปจูน การตั้งชื่อนี้เป็นเชิงสัญลักษณ์ ด้วยเนปจูนนั้นเป็นอีกชื่อหนึ่งของโพไซดอน บิดาของไทรทัน บทร้อยกรองซอนเนตของวิลเลียม เวิดส์เวิร์ท ชื่อ "เดอะเวิลด์อิสทูมัชวิทอัส" (The world is too much with us) รำพันถึงความจำเจอันน่าเบื่อของโลกสมัยใหม่ โดยปรารถนาซึ่ง ชื่อของไทรทันยังได้รับการนำไปตั้งให้แก่เครื่องกลอย่าง เครื่องจักรไทรทันของฟอร์ด และรถบรรทุกแบบมีกระบะรุ่นไทรทันของมิตซูบิชิ และตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของหอยสังข์แตรตามอย่างในเทพปกรณัมที่ไทรทันได้เป่า ว่า Charonia tritonis นอกจากนี้ เมื่อ ค.ศ. 1989 ไทรทันยังได้รับการดัดแปลงเป็นตัวละครหลักในการ์ตูนของวอลต์ดิสนีย์เรื่อง Little Mermaid โดยเป็นเจ้าสมุทรผู้ปกครองดินแดนใต้สมุทร "แอตแลนทิคา".

ใหม่!!: อันดับกบและไทรทัน (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ไทเขิน

ทเขิน หรือ ไทขึน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทกลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีบ้างที่อาศัยในประเทศไทย หรือจีน.

ใหม่!!: อันดับกบและไทเขิน · ดูเพิ่มเติม »

ไซ (อุปกรณ์จับปลา)

รูปของไซประเภทต่างๆ ไซ เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยมากดักปลาในกลุ่มปลาเล็กปลาน้อย ใช้งานในแหล่งน้ำไม่ลึก มักเป็นแหล่งน้ำไหลและเป็นการเปิดช่องระบายน้ำเข้าออกตามบิ้งนาคันนา ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซปากแตร สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร ไซท่อ สานคล้ายท่อดักปลา หรืออาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ เช่น ไซสองหน้า มีช่อง 2 ด้าน ไซลอย ใช้วางลอยในช่วงน้ำตื้น ๆ แหวกกอข้าวหรือกอหญ้า วางแช่น้ำไว้ ไซปลากระดี่ ใช้ดักปลากระดี่ ไซกบ สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมรูปทรงกระบอก ใช้ดักกบ ไซโป้ง สานก้นโป่งเล็กน้อย แม้ว่าจะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันคือ สานเป็นทรงกระบอกและทำปากทางเข้าเป็นงาแซง (ซี่ไม้เสี้ยมปลายแปลม รูปทรงคล้ายกรวยที่บีบแบน ๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้) ไซต่าง ๆ มักไม่ต้องใช้เหยื่อเพราะจะดักปลาที่ต้องไหลในกระแสน้ำ เว้นแต่ไซกบที่ต้องมีเหยื่ออย่างลูกปลา ลูกปู.

ใหม่!!: อันดับกบและไซ (อุปกรณ์จับปลา) · ดูเพิ่มเติม »

ไปรษณีย์อืดอาด

ปรษณีย์อืดอาด ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า "snail mail" หรือ "smail" (จาก snail + mail) เป็นคำที่ประดิษฐ์กันขึ้นในทางเสียดสีระบบการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ว่ากว่าจะบริการส่งถึงผู้รับนั้นช่างอืดอาดเหลือใจ โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษนั้นว่าอืดอาดอย่าง "snail" คือหอยทาก เทียบไม่ได้กับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อืดอาดนี้ความจริงแล้วก็หมายถึงไปรษณียภัณฑ์ที่ไม่ได้ส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง คือเป็นไปรษณียภัณฑ์ทั่วไปซึ่งบางทีภาษาอังกฤษก็เรียก "ไปรษณีย์กระดาษ" (paper mail) หรือ "ไปรษณีย์บก" (land mail) นอกจากนี้ คำ "ไปรษณีย์อืดอาด" ยังหมายถึง มิตรสัมพันธ์ทางไปรษณีย์ (pen pal) อีกด้วย คำ "ไปรษณีย์อืดอาด" มีการใช้ครั้งแรกประมาณ พ.ศ. 2513 ในเรื่องสั้น "เดอะเลตเทอร์" (The Letter) ที่นายอาร์โนลด์ โลเบล (Arnold Lobel) เขียนไว้ในหนังสือ "ฟรอกแอนด์โทดอาร์เฟรนส์" (Frog and Toad are Friends) แต่มิใช่ในความหมายดังข้างต้น แต่หมายถึงไปรษณีย์ที่อืดอาดเพราะมีหอยทากจริง ๆ เป็นพนักงานไปรษณีย์ โดยในเรื่องสั้นนั้น เจ้ากบฝากจดหมายให้เจ้าหอยทากนำไปส่งให้แก่เจ้าคางคก พนักงานไปรษณีย์หอยทากใช้เวลาสี่วันในการนำพาจดหมายไปถึงจุดหมาย ต่อมายังมีการใช้คำนี้โดยหมายถึงไปรษณีย์ที่หอยทากจริง ๆ เป็นพนักงานไปรษณีย์อีกด้วย โดยในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง "สตรอว์เบอร์รีชอร์ตเค้กอินบิ๊กแอปเพิลซิตี" (Strawberry Shortcake in Big Apple City) ฉายเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นมุกตลกซึ่งผลสตรอว์เบอร์รีได้รับจดหมายของเธอช้ากว่าปรกติถึงสามสัปดาห์ เพราะหอยทากเป็นพนักงานไปรษณีย์ และก็ยอมรับว่า "ไปรษณีย์หอยทาก (snail mail) อืดอาดเป็นธรรมดา".

ใหม่!!: อันดับกบและไปรษณีย์อืดอาด · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอาระเบีย

ือดาวอาระเบีย หรือ เสือดาวอาหรับ (Arabian leopard; อาหรับ: نمر) เสือใหญ่จำพวกเสือดาวชนิดหนึ่ง เสือดาวอาระเบีย เป็นเสือดาวชนิดย่อยชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางแถบคาบสมุทรอาระเบียจนถึงคาบสมุทรไซนาย เสือดาวอาระเบียจัดเป็นเสือดาวขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่าเสือดาวที่พบในทวีปแอฟริกาและในทวีปเอเชีย โดยจัดเป็นเสือดาวชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด ตัวผู้ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของทะเลทรายจูดีนของอิสราเอล เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักเพียง 30 กิโลกรัม และตัวเมียเพียง 23 กิโลกรัมเท่านั้น เสือดาวอาระเบีย เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามลำพังและโดดเดี่ยวในสภาพแวดล้อมที่เป็นหุบเขาหรือทะเลทรายแห้งแล้งของคาบสมุทรอาระเบีย โดยใช้ถ้ำหรือซอกหลีบหินต่าง ๆ เป็นที่อยู่อาศัย เสือดาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขานูฟา จะกินน้ำโดยอาศัยจากหมอกที่จับตัวแน่นหนาจนกลายเป็นฝนตกลงมา ซึ่งก็ตกเพียงปีละไม่กี่ครั้งเท่านั้น และถือเป็นพื้นที่ ๆ ชุ่มชื้นที่สุดในภูมิภาคแถบนี้ เสือดาวอาระเบีย ถือเป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันร่วมกับสัตว์นักล่าชนิดอื่น ๆ เช่น หมาป่าอาระเบีย, ไฮยีนาลายแถบ โดยจะล่าสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร เช่น ไฮแรกซ์, กระต่ายป่า, แกะหรือแพะภูเขา หรือปศุสัตว์ต่าง ๆ ของชนพื้นเมือง รวมถึงสัตว์ขนาดเล็กอย่างนก, กบ หรือแมลงด้วยKingdon, J. (1990) Arabian Mammals. A Natural History.

ใหม่!!: อันดับกบและเสือดาวอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

เห่าช้าง

ห่าช้าง (Roughneck monitor lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์เหี้ย (Varanidae) และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: อันดับกบและเห่าช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เฮดจ์ฮอกยุโรป

อกยุโรป หรือ เม่นแคระยุโรป (European hedgehog, Common hedgehog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) เป็นเฮดจ์ฮอกที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 18-30 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 1.7-5 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 600-800 กรัม มีขนแข็งปกติและยาวมีขนปกคลุมหนามากกว่า 3 เซนติเมตร ขนที่ใต้ท้องเป็นขนอ่อนสีเทา ส่วนที่เป็นขนแข็งสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน พบพระจายพันธุ์ในยุโรปตะวันออก, ตะวันตก, ยุโรปใต้ และบางส่วนในรัสเซีย กินอาหารได้หลากหลายทั้งแมลง, ไส้เดือนดิน, ไข่นก, แมลงปีกแข็ง รวมทั้งหนูหรือกบด้วย ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยและทำรังในโพรงดินที่ขุดเอง นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: อันดับกบและเฮดจ์ฮอกยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

เทพบุตรแม็กโนเลีย

ใบปิดภาพยนตร์ เทพบุตรแม็กโนเลีย (Magnolia) นำแสดงโดย ทอม ครูซ, ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน, จอห์น ซี. ไรลีย์, วิลเลี่ยม เอช.เมซี่, จูเลียน มัวร์, ฟิลิป เบเกอร์ ฮอลล์, เจเรมี่ แบล็คแมน, เจสัน โรบาร์ดส์, เมโลรา วอลเตอร์ส์ กำกับและเขียนบทโดย พอล โมทัส แอนเดอร์สัน ความยาว 188 นาที ฉายในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1999 และเข้าฉายในประเทศไทยในเครือมงคลเมเจอร์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: อันดับกบและเทพบุตรแม็กโนเลีย · ดูเพิ่มเติม »

เขียดจิก

ียดจิก หรือ กบบัว หรือ เขียดเขียว หรือ เขียดบัว (Green paddy frog, Red-eared frog, Leaf frog, Common green frog) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก ชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae) มีลำตัวด้านหลังและด้านข้างลำตัวสีเขียว ขอบด้านล่างของด้านข้างลำตัวสีน้ำตาลเข้ม และมีจุดสีเข้มกระจายอยู่ที่ด้านข้างลำตัวกับบนหลังทางส่วนท้ายของลำตัว ขอบปากบนสีขาว ด้านท้องสีขาว แผ่นเยื่อแก้วหูสีน้ำตาล ขาหน้าและขาหลังสีน้ำตาลและมีแถบสีเข้มพาดตามความยาวของขา ขาหน้าเรียวและนิ้วตีนยาว ขาหลังเรียวยาวและนิ้วตีนยาว เมื่อพับขาหลังแนบกับลำตัวไปทางด้านหน้า ข้อตีนอยู่ในตำแหน่งช่องเปิดจมูก นิ้วตีนหน้าไม่มีแผ่นหนังระหว่างนิ้ว นิ้วตีนหลังมีแผ่นหนังเกือบเต็มความยาวนิ้ว มีขนาดจากปลายปากถึงรูก้นประมาณ 70 มิลลิเมตร ลำตัวเรียว ผิวหนังลำตัวเรียบ มีแผ่นหนังหนา สีขาวหรือสีครีมขอบสีน้ำตาลเข้มค่อนข้างกว้างอยู่ที่ขอบด้านนอกลำตัว แผ่นหนังนี้เริ่มต้นจากด้านท้ายตาไปที่ส่วนต้นขาหลัง ลูกอ๊อดมีขนาดตัวปานกลาง ลำตัวยาวและหัวแบน ด้านหลังสีเขียว ท้องและด้านข้างลำตัวสีน้ำตาลและมีลายร่างแหสีน้ำตาลเข็มที่ข้างตัว หางยาวและมีกล้ามเนื้อแข็งแรง แผ่นครีบหางใหญ่และมีลวดลายเป็นร่างแหสีน้ำตาลเข้ม ปากอยู่ด้านล่างแต่ค่อนข้างสูงขึ้นมาทางด้านหน้าของส่วนหัว ช่องปากเล็ก มีตุ่มฟัน ขอบของจะงอยปากบนและของจะงอยปากล่างมีรอยหยัก จะงอยปากล่างใหญ่กว่าจะงอยปากบน ลูกอ๊อดมีนิสัยการกินอาหารแบบผู้ล่าและมีพฤติกรรมล่าเหยื่อที่อยู่ในน้ำ จัดได้ว่าเป็นสมาชิกในวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็ก มักอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีกอพืชน้ำขึ้นหนาแน่น เช่น บัว, จอกแหน, ผักตบ เป็นต้น หากินในเวลากลางคืน มีความว่องไวมาก พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เขียดจิก มีเสียงร้อง "จิ๊ก ๆๆๆๆๆ" ประกอบกับมักหลบซ่อนอยู่ตามกอบัว อันเป็นที่มาของชื่อ.

ใหม่!!: อันดับกบและเขียดจิก · ดูเพิ่มเติม »

เดอะมัพพิตโชว์

ตุ๊กตากบเคอร์มิต (ซ้าย) ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใน Fort Bragg นอร์ทแคโรไลนา ขณะ มิเชล โอบามา สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐเดินทางไปเยี่ยมชม เดอะมัพเพทส์โชว์ (The Muppet Show) เป็นรายการโทรทัศน์ฉายทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวีของอังกฤษ รวมกับซีบีเอส สร้างโดยจิม เฮนสัน นักเชิดหุ่นมือชาวอเมริกัน มีการถ่ายทำและออกอากาศตอนทดลองในปี..

ใหม่!!: อันดับกบและเดอะมัพพิตโชว์ · ดูเพิ่มเติม »

เคโระ

ระ เป็นเสียงร้องของกบในภาษาญี่ปุ่น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อันดับกบและเคโระ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ขน

ซลล์ขน (Hair cell) เป็นเซลล์รับความรู้สึก (sensory receptor) ของทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (vestibular system) ในหูชั้นในของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยตรวจจับการเคลื่อนไหวของน้ำในระบบผ่านกระบวนการถ่ายโอนแรงกล (mechanotransduction) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ขนรับเสียงอยู่ในอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ในอวัยวะรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ชื่อของเซลล์มาจากมัดขนที่เรียกว่า stereocilia ที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบน (apical) เข้าไปในน้ำของท่อคอเคลีย (cochlear duct) เซลล์ขนในคอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถแบ่งโดยกายวิภาคและหน้าที่เป็นสองอย่าง คือ เซลล์ขนด้านนอก (outer hair cell, OHC) และเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ความเสียหายต่อเซลล์ขนทำให้ได้ยินน้อยลง และเพราะว่า เซลล์ขนไม่สามารถเกิดใหม่ ดังนั้น ความเสียหายก็จะคงยืน แต่ว่า ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ปลาม้าลายและสัตว์ปีกที่เซลล์ขนสามารถเกิดใหม่ได้ คอเคลียของมนุษย์มี IHC ประมาณ 3,500 ตัว และ OHC 12,000 ตัว OHC มีหน้าที่ขยายเสียงเบา ๆ ที่เข้ามาในคอเคลีย (แต่ไม่ขยายเสียงที่ดังถึงระดับหนึ่งแล้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของมัดขน หรือว่า จากการเคลื่อนไหวของตัวเซลล์เองที่ได้พลังงานจากไฟฟ้า ส่วน IHC จะเปลี่ยนแรงสั่นของเสียงในน้ำไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งผ่านโสตประสาท (auditory nerve) ไปยังก้านสมอง และต่อไปยังคอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) เพื่อแปลและประมวลผลต่อ ๆ ไป.

ใหม่!!: อันดับกบและเซลล์ขน · ดูเพิ่มเติม »

เซียมซู

ซียมซู เซียมซู หรือ กิมเซียมซู (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ จินฉาน (สำเนียงจีนกลาง; 金蟾, 蟾蜍, 招财蟾蜍; พินอิน: jīn chán, chánchú, zhāocái chánchú; แปลว่า: "คางคกทอง", "คางคก", "คางคกกวาดความมั่งคั่ง") เป็นกบหรือคางคกในเทพปกรณัมจีน ปัจจุบันนิยมสร้างเป็นวัตถุมงคลรูปคางคกสีทองคาบเหรียญในปาก บูชาเพื่อดลบันดาลความมั่งคั่ง ร่ำรวย ด้วยคติความเชื่อในหลักฮวงจุ้ย แบบเดียวกับปี่เซียะ หรือผีซิว ตามปกรณัมเล่าว่า ซีหวังหมู่ หรือเอี่ยวตี๊กิมบ๊อ ผู้เป็นพระมารดาของเง็กเซียนฮ่องเต้ เทพผู้สูงสุดผู้ปกครองสวรรค์ พระนางได้เลี้ยงสัตว์ประหลาดไว้ในสระบัวหน้าพระราชวัง สัตว์ตัวนี้เสมือนกับเป็นหนึ่งเซียนหรือเทพเจ้า มีลักษณะคล้ายกบกึ่งคางคกแต่มี 3 ขา มีหางเป็นปลาช่อนอยู่ด้านในมีสีทองอร่ามไปทั้งตัว มีหลังขึ้นสัญลักษณ์รูปดาว 7 ดวง หรือดาวลูกไก่ เซียมซู ไม่ทำอะไรจะใช้ความสามารถพิเศษเรียกเงินเรียกทองมาเล่นสนุกในสระบัว อยู่วันหนึ่งเซียมซูได้แอบหนีมาโลกมนุษย์ พระนางโกรธมากจึงบัญชาให้เซียนมังกรมรกตไปตามตัวเซียมซูได้หนีมาอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้แห่งหนึ่งที่เป็นหมู่บ้านที่ยากจนแห้งแล้งกันดาร ประชาชนอดอยากมาก มีชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นคนดีมีความกตัญญูต่อบิดามารดา เซียมซูได้มาอยู่กับชายผู้นี้ได้เรียกเงินเรียกทองมากให้จำนวนมากเพื่อนำมาแจกชาวบ้านแลัวยังบันดาลให้ฝนตกมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งหมู่บ้าน จนทั้งชายผู้นี้และทุกคนในหมู่บ้านร่ำรวยไม่มีใครจนเลย เซียนมังกรมรกตจึงไปรายงานต่อพระนาง พระนางได้ประทานพรให้แก่เซียมซู ขอให้ไปอยู่แห่งหนใดก็มีแต่ความสุข ความร่ำรวย อีกปกรณัมหนึ่งเล่าว่า ศิษย์เอกคนหนึ่งของเล่อตงปิน หนึ่งในแปดเซียน ชื่อ เหล่าไหเซียม เป็นผู้ที่มีวิชาอาคมแก่กล้า ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และสามารถปราบอสูรและสยบมารได้ มีอยู่ครั้งหนึ่งเหล่าไหเซียมได้ปราบมารตนหนึ่ง ที่แปลงกายมาจากเซียมซู หลังจากที่เซียมซูถูกสยบแล้ว ก็ได้กลับตัวกลับใจ และขอติดตามรับใช้เหล่าไหเซียม เนื่องจากเหล่าไหเซี้ยม ชอบช่วยเหลือคนยากคนจน ด้วยการแจกเงินแจกทอง ประจวบกับที่เซียมซู มีความสามารถในการคายเงินทองออกจากปากได้ ตั้งแต่บัดนั้นเซียมซูได้ติดตามเหล่าไหเซียม ไปแจกเงินแจกทองและช่วยเหลือผู้คน การบูชาเซียมซู นิยมนำมาตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ภายในบ้านที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเงินทอง เช่น โต๊ะทำงาน หรือตู้นิรภัย บูชาด้วยขนมจันอับ และผลไม้ที่มีความหมายมงคล เช่น ส้ม, กล้วย, สับปะรด, ทับทิม หรือลูกท้อ.

ใหม่!!: อันดับกบและเซียมซู · ดูเพิ่มเติม »

เป็ดหงส์

ป็ดหงส์ (Knob-billed duck, Comb duck) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sarkidiornis จัดว่าเป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำแถบบนปีกสีบรอนซ์สะดุดตา ตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ แถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบนขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวสีทึมกว่า และไม่มีแถบสีดำสองแถบบนส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกอ่อนที่อายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ตั้งแต่ ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ ไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นอัสสัม, พม่า ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้อีกด้วย มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ในป่าดิบทึบ ชอบที่จะเกาะคอนไม้สูง ๆ อาศัยเป็นที่หลับนอน อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ, เมล็ดข้าว, แมลงน้ำ และอาจกินสัตว์น้ำอย่างกบ, เขียด และปลาได้ด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของนกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่า ๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจาง ๆ จำนวน 7-15 ฟอง ในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หาได้ยากมาก และใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: อันดับกบและเป็ดหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

Elizabethkingia meningoseptica

Elizabethkingia meningoseptica เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่งที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ อาจพบเป็นเชื้อประจำได้ในปลาหรือกบแต่ปกติแล้วจะไม่พบเป็นเชื้อประจำถิ่นในร่างกายมนุษย์ นักวิทยาแบคทีเรียชาวอเมริกา Elizabeth O. King (คนเดียวกับที่แยกเพาะเชื้อ Kingella ได้ในปี 1960) ได้ศึกษาแบคทีเรียที่ยังไม่เป็นที่รู้จักชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารกเมื่อปี 1959 เมื่อแยกเชื้อออกมาได้ (CDC group IIa) จึงให้ชื่อว่า Flavobacterium meningosepticum ("เชื้อแบคทีเรียรูปแท่งสีเหลือง" "ที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด") ต่อมาปี 1994 เชื้อนี้ถูกจัดประเภทใหม่ให้อยู่ในจีนัส Chryseobacterium และได้ชื่อว่า Chryseobacterium meningosepticum ("แบคทีเรียสีทอง") หมวดหมู่:แบคทีเรีย.

ใหม่!!: อันดับกบและElizabethkingia meningoseptica · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes hurrelliana

Nepenthes hurrelliana (ได้ชื่อตามแอนดริว เฮอร์เรลล์ (Andrew Hurrell), นักพฤกษศาสตร์) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สูงจากบอร์เนียว พบได้ในตอนเหนือของรัฐซาราวะก์, บรูไน และตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐซาบะฮ์ N. hurrelliana มีหม้อรูปกรวยสวยงาม มันอาจเป็นลูกผสมที่คาดว่าพัฒนาตัวมาจากพ่อแม่ดั้งเดิมคือ N. fusca และ N. veitchii มันมีขนน้ำตาลสนิมปกคลุมหนาแน่นตลอดทุกส่วนซึ่งน่าจะได้รับสืบทอดมาจาก N. veitchii.

ใหม่!!: อันดับกบและNepenthes hurrelliana · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes rajah

Nepenthes rajah (มาจากภาษามลายู: rajah.

ใหม่!!: อันดับกบและNepenthes rajah · ดูเพิ่มเติม »

Paedophryne

Paedophryne เป็นสกุลของกบในวงศ์ Microhylidae กบทั้งหกสปีชีส์ที่เป็นที่ทราบกันในขณะนี้เป็นหนึ่งในกบและสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที.

ใหม่!!: อันดับกบและPaedophryne · ดูเพิ่มเติม »

Paedophryne amauensis

Paedophryne amauensis เป็นอึ่ง (สัตว์กลุ่มกบ) ขนาดเล็ก พบในป่าของปาปัวนิวกินี ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่เดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: อันดับกบและPaedophryne amauensis · ดูเพิ่มเติม »

Stereocilia

ในหูชั้นในของสัตว์ต่าง ๆ มากมาย Stereocilia เป็นออร์แกเนลล์ของเซลล์ขนซึ่งตอบสนองต่อการไหวของน้ำเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งการได้ยินและการทรงตัว Stereocilia ยาวประมาณ 10-50 ไมโครเมตร และมีลักษณะบางอย่างคล้าย ๆ กับ microvilli เซลล์ขนจะแปลความดันในน้ำและสิ่งเร้าเชิงกลอื่น ๆ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่าน microvilli จำนวนมากซึ่งเป็นลำตัวของ stereocilia มี Stereocilia ทั้งในระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (Vestibular system) Stereocilia ของหูชั้นในของก.

ใหม่!!: อันดับกบและStereocilia · ดูเพิ่มเติม »

Superior colliculus

optic tectum หรือเรียกสั้น ๆ ได้ว่า tectum เป็นโครงสร้างคู่ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในสมองส่วนกลางของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โครงสร้างนี้มักจะเรียกกันว่า superior colliculus (ตัวย่อ SC) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ แม้ว่าจำนวนชั้นจะแตกต่างกันไปในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ ชั้นนอก ๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส และรับข้อมูลมาจากทั้งตาและระบบรับความรู้สึกอื่น ๆ ส่วนชั้นที่ลึก ๆ ลงไปมีหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการ (motor) มีความสามารถในการเริ่มการเคลื่อนไหวของตาและเริ่มการตอบสนองในระบบอื่น ๆ ส่วนชั้นในระหว่างกลางมีนิวรอนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสหลายทาง และเกี่ยวกับการสั่งการด้วย หน้าที่ทั่ว ๆ ไปของเทคตัมก็คือ ชี้ทางการตอบสนองทางพฤติกรรมไปยังตำแหน่งต่าง ๆ โดยมีกายเป็นศูนย์กลาง ชั้นแต่ละชั้นของเทตตัมมีแผนที่ภูมิลักษณ์ของโลกรอบตัวที่ใช้พิกัดแบบ retinotopy และการทำงานของนิวรอนจุดหนึ่งในแผนที่ทำให้เกิดการตอบสนองทางพฤติกรรมตรงตำแหน่งในปริภูมิที่สัมพันธ์กับจุดในแผนที่นั้น ในไพรเมต งานศึกษาเรื่องของ SC โดยมากเป็นไปเกี่ยวกับการควบคุมการทอดสายต.

ใหม่!!: อันดับกบและSuperior colliculus · ดูเพิ่มเติม »

Ж

Zhe (Ж, ж) เป็นอักษรหนึ่งในอักษรซีริลลิก ที่ใช้แทนเสียง เหมือนเสียง s ในคำว่า treasure ของภาษาอังกฤษ หรือ ż ในภาษาโปแลนด์ Zhe เป็นอักษรตัวที่ 7 ของภาษาบัลแกเรีย เป็นอักษรตัวที่ 8 ของภาษาเบลารุส ภาษามาซิโดเนีย ภาษารัสเซีย และภาษาเซอร์เบีย และเป็นอักษรตัวที่ 9 ของภาษายูเครน อักษรตัวนี้ยังใช้ในกลุ่มภาษาอื่นที่ไม่ใช่สลาวิกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งออกเสียงเป็น หรือ ในอักษรซีริลลิกโบราณ Ж เป็นอักษรตัวที่ 7 มีชื่อเดิมคือ živěte แต่ไม่มีค่าของเลขซีริลลิก กบที่มีลักษณะ คล้ายอักษร Ж ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอักษรนี้มีพัฒนาการมาอย่างไร เนื่องจากไม่มีอักษรกรีก หรืออักษรละติน หรืออักษรในภาษาอื่นที่คล้ายกันเลย แม้ว่าจะมีอักษรกลาโกลิต Zhivete ในสมัยก่อนที่ใช้แทนเสียง และมีรูปร่างคล้ายกันก็ตาม (รูปภาพ: 14px) อย่างไรก็ตาม จุดกำเนิดของ Zhivete นั้นยังคลุมเครือเหมือนอักษรกลาโกลิตอื่นๆ ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ อักษร Zhe อาจประกอบด้วยอักษรฮีบรู Shin (ש) สองอันต่อกันโดยที่ส่วนล่างกลับหัว ซึ่งอักษรฮีบรูตัวนี้เป็นต้นกำเนิดของ Sha (Ш, ш) อยู่แล้ว อักษร Zhe บ่อยครั้งมักจะถูกถ่ายอักษรเป็น zh หรือ zx ซึ่งพบได้ยากกว่า เว้นแต่ภาษาเซอร์เบีย ภาษามาซิโดเนีย และระบบการถ่ายทอดอักษรบางระบบของภาษาบัลแกเรีย จะใช้ ž หรือ z แทน อักษร Zhe ยังเป็นอักษรตัวแรกสำหรับเยาวชนที่ต้องการศึกษากลุ่มภาษาสลาวิก เนื่องจากอักษรตัวนี้มีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดของกบในช่วงเปลี่ยนรูปร่าง อีกทั้งในกลุ่มภาษาเหล่านี้ คำที่มีความหมายว่า กบ หรือ ลูกอ๊อด จะเขียนเป็น жаба (zhaba จาบา) อีกด้ว.

ใหม่!!: อันดับกบและЖ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anuraกบ🐸

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »