โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัตราส่วนทอง

ดัชนี อัตราส่วนทอง

'''สัดส่วนทองคำ (golden section)''' คือส่วนของเส้นที่ถูกแบ่งตรงตำแหน่งที่ก่อให้เกิด "อัตราส่วนทอง (golden ratio)": อัตราส่วนของความยาวรวม '''''a + b''''' ต่อความยาวส่วนที่ยาว '''''a''''' มีค่าเท่ากับความยาวส่วนที่ยาว '''''a''''' ต่อความยาวของส่วนที่สั้น '''''b'''''. อัตราส่วนทอง (golden ratio) ในทางคณิตศาสตร์และศิลปะนั้น, เลขสองจำนวน (สมมุติให้เป็น a, b และ a>b) จะเป็น "อัตราส่วนทอง" ถ้าอัตราส่วนระหว่างจำนวนมาก (a) ต่อผลรวม (a + b) มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างจำนวนน้อย (b) ต่อจำนวนมาก (a) "อัตราส่วนทอง" เป็นค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ที่ไม่มีเหตุผลชัดเจน มีค่าประมาณ 1.6180339887 ชื่ออื่นที่เป็นที่รู้จักของ "อัตราส่วนทอง" ได้แก่ golden section (ละติน: sectio aurea) และ golden mean, extreme and mean ratio, medial section, divine proportion, divine section (ละติน: sectio divina), golden proportion, golden cut, golden number, และ mean of Phidias.

23 ความสัมพันธ์: พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา)พาร์เธนอนรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอนรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรูปห้าเหลี่ยมลวดลายในธรรมชาติอัตราส่วนลักษณะอัตราส่วนเงินอันดับของขนาด (จำนวน)จำนวนฟีโบนัชชีจำนวนอตรรกยะจำนวนปิโซ-วิชยรฆวันจำนวนเชิงพีชคณิตจำนวนเกือบเต็มทรงยี่สิบหน้าทรงสามสิบสองหน้าปลายตัดทรงสามสิบหน้ารอมบิกทรงสิบสองหน้าทรงสิบสองหน้าปลายตัดความงามค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์เซตจูเลียLagged Fibonacci Generator

พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา)

ระเยซูรับศีลจุ่ม (Baptism of Christ) เป็นภาพที่เขียนโดยเปียโร เดลลา ฟรานเชสกา จิตรกรสมัยสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน “พระเยซูรับศีลจุ่ม” เป็นงานที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1448 ถึงปี ค.ศ. 1450 เปียโรได้รับจ้างให้เขียนภาพนี้โดยสำนักสงฆ์ลัทธิคามาลโดเลเซ ที่ ซานเซพอลโครในทัสเคนี ภาพนี้เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบานพับภาพ เป็นงานเขียนสมัยแรกของเปียโรซึ่งเห็นได้ว่ายังมีลักษณะการเขียนแบบ “light painting” ของ โดเมนนิโค เวเนเซียโน (Domenico Veneziano) ผู้เป็นครู ภาพเขียนเป็นภาพพระเยซูกำลังรับศีลจุ่มจากนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ เหนือพระเศียรเป็นภาพของนกพิราบ พระเยซู, มือของนักบุญจอห์น นกพิราบ และขันน้ำของนักบุญจอห์น แบ่งภาพเป็นสองส่วนเท่าๆ กันอีกจุดหนึ่งที่เปียโณใช้แบ่งภาพ คือต้นไม้ทางด้านซ้ายของพระเยซู ซึ่งแบ่งภาพตามแบบที่เรียกว่า “อัตราส่วนทองคำ” (Golden ratio) เทวดาสามองค์ที่ยืนทางด้านซ้ายแต่งตัวไม่เหมือนกัน และแตกต่างจากการเขียนภาพทั่วไป เทวดาสามองค์ไม่ได้อยู่ในอาการที่สนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับเยซู แต่ยืนจับมือกันแทน ส่วนนี้ อาจจะสะท้อนถึง นโยบายของ การประชุมสภาบาทหลวงแห่งฟลอเรนซ์ ที่มีจุดมุ่งหมายในการประสานความสัมพันธ์ระหว่างคริสต์ศาสนจักรทางตะวันตกและตะวันออก และความจริงแล้วนักบวชคามาลโดเลเซ อัมโบรจิโอ ตราเวอร์ซาริ (Ambrogio Traversari) ก็เป็นผู้สนับสนุนการรวมตัวกันของสองฝ่าย สัญลักษณ์นี้ยังเน้นอีกด้วยจากผู้ที่จะมารับศีลจุ่มต่อจากพระเยซูที่แต่งตัวแบบตะวันออกที่ยืนอยู่ข้างหลัง เปียโร เดลลา ฟรานเชสกามีชื่อเสียงในสมัยนั้นในทางการวาดแบบทัศนียภาพและแบบเรขาคณิต ซึ่งในภาพนี้จะเห็นได้จากแขนและขาของนักบุญจอห์นซึ่งทำเป็นสองมุมที่มีขนาดเดียวกัน.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและพระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (ปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา) · ดูเพิ่มเติม »

พาร์เธนอน

วิหารพาร์เธนอน (Παρθενών) คือวิหารโบราณบนเนินอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีอาธีน่า หรือเทพีแห่งปัญญา ความรอบรู้ ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกว้าง 101.4 ฟุต หรือ 30.9 เมตร และ ยาว 228.0 ฟุต หรือ 69.5 เมตร คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เทพีอันบริสุท.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและพาร์เธนอน · ดูเพิ่มเติม »

รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน

รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน (เล็ก) (อังกฤษ: (small) rhombicosidodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 20 หน้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 30 หน้า และรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า รวม 62 หน้า โดยหน้ารูปห้าเหลี่ยมทุกหน้าจะล้อมรอบด้วยรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมสลับกันไป ทรงนี้มี 60 จุดยอด 120 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid).

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รูปห้าเหลี่ยม

รูปห้าเหลี่ยมปกติ รูปห้าเหลี่ยม (pentagon) คือ รูปหลายเหลี่ยมที่มีด้าน 5 ด้าน.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและรูปห้าเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ลวดลายในธรรมชาติ

รอยริ้วคลื่นปรากฏบนพื้นผิวครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม ลวดลายของเวลล์คามิเลียน (veiled chameleon) หรือ ''Chamaeleo calyptratus'' ซึ่งวิวัฒนาการมาเพื่ออำพราง และเพื่อบอกอารมณ์ และสถานะทางการผสมพันธุ์ ลวดลายในธรรมชาติ คือ รูปแบบที่มีความสม่ำเสมออย่างชัดเจนซึ่งพบได้ในโลกธรรมชาติ ลวดลายเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริบทที่ต่างกัน และบางครั้งสามารถถูกกำหนดรูปแบบโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ลวดลายทางธรรมชาติ ได้แก่ ความสมมาตร ต้นไม้ เกลียว ลำน้ำโค้งตวัด คลื่น โฟม เทสเซลเลชัน รอยแตก และ รอยริ้ว นักปรัชญากรีกได้ศึกษาลวดลายเช่นเดียวกัน โดยมีเพลโต พีทาโกรัส และเอมเพโดคลีส พยายามจะอธิบายอันดับในธรรมชาติ การเข้าใจเรื่องลวดลายซึ่งมองเห็นได้นั้นได้รับการพัฒนาตามกาลเวลา  ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวเบลเยี่ยม โยเซป พลาโตได้ทำการทดลองกับฟิล์มฟองสบู่ทำให้เขาได้วางเกณฑ์แนวความคิดของพื้นผิวที่น้อยที่สุด นักชีววิทยาและศิลปินชาวเยอรมัน แอร์นสต์ เฮคเคล ได้วาดรูปสัตว์น้ำกว่าร้อยชนิดเพื่อให้ความสำคัญเรื่องความสมมาตร นักชีววิทยาชาวสก๊อต D'Arcy Thompson ริเริ่มการศึกษาลวดลายในทั้งในพืชและสัตว์และแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้สมการง่าย ๆ เพื่ออธิบายการโตแบบวงก้นหอยได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แอลัน ทัวริง ทำนายกลไกของการเกิดสัณฐานซึ่งทำให้เกิดลายจุดและรอยริ้ว นักชีววิทยาชาวฮังการี Aristid Lindenmayer และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอเมริกัน เบอนัว มานดัลบรอ แสดงว่าคณิตศาสตร์ของแฟร็กทัลสามารถสร้างลวดลายในการเจริญเติบโตของพืช คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และ เคมี สามารถอธิบายลวดลายในธรรมชาติในระดับที่ต่างกัน ลวดลายในสิ่งมีชีวิตอธิบายได้โดยวิธีทางชีววิทยาด้านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และ การคัดเลือกทางเพศ การศึกษาของการเกิดลวดลายแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองลวดลายในแบบต่าง ๆ .

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและลวดลายในธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราส่วนลักษณะ

อัตราส่วนลักษณะ (aspect ratio) อาจเรียกว่า อัตราส่วนภาพ หรือ อัตราส่วนจอภาพ คืออัตราส่วนของความสูงต่อความกว้างหรือความกว้างต่อความสูงของภาพโดยให้ขนาดที่ใหญ่กว่านำหน้าเสมอซึ่งจะมีอยู่หลายขนาดเช่น ภาพที่มีความสูง 1 ส่วนและกว้าง 1 ส่วนจะมีอัตราส่วนลักษณะจะเป็น 1:1 ภาพที่ได้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภาพที่มีความสูง 4 ส่วนและความกว้าง 3 ส่วนจะมีอัตราส่วนลักษณะเป็น 4:3 ภาพจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภาพที่มีความสูง 110 ส่วนและความกว้าง 137 ส่วน อัตราส่วนลักษณะจะเป็น 1.25:1 หรือ 5:4 ขนาดภาพลักษณะนี้เราจะพบได้จากการชมภาพยนตร์หรือที่เรียกว่าภาพแบบ Widescreen (ค่า Resolution ของภาพแบบ Widescreen จะมีตัวอักษร W นำหน้าเช่น WVGA.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและอัตราส่วนลักษณะ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราส่วนเงิน

อัตราส่วนเงิน (silver ratio) หรือเขียนแทนด้วย \delta_S เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ หรือสามารถเขียนในได้รูปเศษส่วนต่อเนื่องคือ \delta_S.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและอัตราส่วนเงิน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (จำนวน)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและอันดับของขนาด (จำนวน) · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนฟีโบนัชชี

การจัดเรียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับจำนวนฟีโบนัชชี จำนวนฟีโบนัชชี หรือ เลขฟีโบนัชชี (Fibonacci number) คือจำนวนต่าง ๆ ที่อยู่ในลำดับจำนวนเต็มดังต่อไปนี้ โดยมีนิยามของความสัมพันธ์ว่า จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ และลำดับของจำนวนดังกล่าวก็จะเรียกว่า ลำดับฟีโบนัชชี (Fibonacci sequence) หากเขียนให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ ลำดับ Fn ของจำนวนฟีโบนัชชีนิยามขึ้นด้วยความสัมพันธ์เวียนเกิดดังนี้ โดยกำหนดค่าเริ่มแรกให้ ชื่อของจำนวนฟีโบนัชชีตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เลโอนาร์โดแห่งปีซา (Leonardo de Pisa) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามฟีโบนัชชี (Fibonacci) ผู้ค้นพบจำนวนฟีโบนัชชีในต้นศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและจำนวนฟีโบนัชชี · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนอตรรกยะ

ำนวนอตรรกยะ ในวิชาคณิตศาสตร์ คือจำนวนที่ไม่สามารถเขียนได้ในรูปเศษส่วนที่มีทั้งตัวเศษและส่วนเป็นจำนวนเต็มได้ หรือกล่าวได้ว่ามันไม่สามารถเขียนในรูป ได้ เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็ม และ b ไม่เท่ากับศูนย์ เห็นได้ชัดว่าจำนวนอตรรกยะคือจำนวนที่ไม่ว่าเขียนทศนิยมในฐานใดก็ตามจะไม่รู้จบ และไม่มีรูปแบบตายตัว แต่นักคณิตศาสตร์ก็ไม่ได้ให้นิยามจำนวนอตรรกยะเช่นนั้น จำนวนจริงเกือบทั้งหมดเป็นจำนวนอตรรกยะโดยนัยที่จะอธิบายต่อไปนี้ จำนวนอตรรกยะบางจำนวนเป็นจำนวนพีชคณิต เช่น √2 รากที่สองของ 2 3√5 รากที่สามของ 5 และสัดส่วนทอง แทนด้วยอีกษรกรีก \varphi (ฟาย) หรือบางครั้ง \tau (เทา) ที่เหลือเป็นจำนวนอดิศัย เช่น π และ e เมื่ออัตราส่วนของความยาวของส่วนของเส้นตรงสองเส้นเป็นจำนวนอตรรกยะ เราเรียกส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นว่าวัดไม่ได้ (incommensurable) หมายความว่า ทั้งสองเส้นไม่มีมาตรวัดเดียวกัน มาตรวัดของส่วนของเส้นตรง I ในที่นี้หมายถึงส่วนของเส้นตรง J ที่วัด I โดยวาง J แบบหัวต่อหางเป็นจำนวนเต็มจนยาวเท่ากับ I.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและจำนวนอตรรกยะ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนปิโซ-วิชยรฆวัน

ำนวนปิโซ-วิชยรฆวัน หรือ จำนวนปิโซ (Pisot-Vijayaraghavan number) ในทางคณิตศาสตร์ เป็นจำนวนพีชคณิตที่มีค่ามากกว่า 1 แต่สังยุคทุกตัวมีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า 1 ตัวอย่างเช่น ถ้า α เป็นจำนวนอตรรกยะดีกรีสอง จะมีสังยุคเพียวตัวเดียว คือ α' ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนเครื่องหมายของรากใน α จาก \alpha.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและจำนวนปิโซ-วิชยรฆวัน · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเชิงพีชคณิต

ำนวนเชิงพีชคณิต (algebraic number) คือจำนวนเชิงซ้อนที่เป็นรากของพหุนามหนึ่งตัวแปร ซึ่งพหุนามไม่เป็นศูนย์ และมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนตรรกยะ แทนด้วยสัญลักษณ์ \mathbb หรือ \mathbb จำนวนที่ไม่ใช่จำนวนเชิงพีชคณิตจะเรียกว่าจำนวนอดิศัย (transcendental number).

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและจำนวนเชิงพีชคณิต · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนเกือบเต็ม

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนเกือบเต็ม (almost integer) หมายถึงจำนวนอตรรกยะที่มีค่าใกล้เคียงกับจำนวนเต็มมาก จำนวนเกือบเต็มที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ กำลังสูง ๆ ของอัตราส่วนทอง \scriptstyle \varphi\,.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและจำนวนเกือบเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

ทรงยี่สิบหน้า

ทรงยี่สิบหน้าปรกติ ทรงยี่สิบหน้า (icosahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 20 หน้า ทรงยี่สิบหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงยี่สิบหน้าปรกติ (regular icosahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้ง 20 หน้า มี 12 จุดยอด 30 ขอบ โดยที่ทุกจุดยอดจะล้อมรอบด้วยรูปสามเหลี่ยมจำนวน 5 หน้า ทรงนี้เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) และเมื่อกล่าวถึงทรงยี่สิบหน้าขึ้นมาลอยๆ จะมีความหมายโดยนัยเป็นทรงยี่สิบหน้าปรกติ สำหรับทรงยี่สิบหน้าปรกติ สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า พีระมิดคู่ห้าเหลี่ยมไจโรอีลองเกต (gyroelongated pentagonal dipyramid).

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและทรงยี่สิบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด

ทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด ทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด (truncated icosidodecahedron) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 30 หน้า หน้ารูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า 20 หน้า และหน้ารูปสิบเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า 12 หน้า รวม 62 หน้า แต่หน้าเรียงตัวโดยไม่มีหน้าชนิดเดียวกันอยู่ติดกัน ทรงนี้มี 120 จุดยอด 180 ขอบ และเป็นทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid).

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสามสิบหน้ารอมบิก

ทรงสามสิบหน้ารอมบิก ทรงสามสิบหน้ารอมบิก (rhombic triacontahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทั้ง 30 หน้า แต่ละหน้าเรียงตัวโดยมุมแหลมชนมุมแหลม 5 หน้า มุมป้านชนมุมป้าน 3 หน้า รูปทรงนี้มี 32 จุดยอด 60 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันแคทาแลน (Catalan solid) ทุกหน้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนของทรงสามสิบหน้ารอมบิก มีความยาวของเส้นทแยงมุมด้านยาวเท่ากับ φ หน่วย หรืออัตราส่วนทอง และมีขนาดของมุมแหลมเท่ากับ 2 tan−1(1/φ).

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและทรงสามสิบหน้ารอมบิก · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสิบสองหน้า

ทรงสิบสองหน้าปรกติ ทรงสิบสองหน้า (dodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 12 หน้า ทรงสิบสองหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงสิบสองหน้าปรกติ (regular dodecahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า มี 20 จุดยอด 30 ขอบ ทรงสิบสองหน้าปรกติ เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid).

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและทรงสิบสองหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสิบสองหน้าปลายตัด

ทรงสิบสองหน้าปลายตัด ทรงสิบสองหน้าปลายตัด (truncated dodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสิบเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า และรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 20 หน้า รวม 32 หน้า มี 60 จุดยอด 90 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid) รูปทรงนี้เกิดจากการตัดปลายทั้ง 20 มุมบนทรงสิบสองหน้าปรกติ (regular dodecahedron) โดยทำให้หน้ารูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า กลายเป็นรูปสิบเหลี่ยมด้านเท.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและทรงสิบสองหน้าปลายตัด · ดูเพิ่มเติม »

ความงาม

อกกุหลาบเป็นสิ่งหนึ่งที่หลายคนเห็นว่างาม ความงาม คือสถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุล สัดส่วน และ แรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือ ความคิด สิ่งตรงกันข้ามกับความงามคือความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงกันข้ามต่อผู้ที่รับรู้.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและความงาม · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์

งตัวทางคณิตศาสตร์ คือปริมาณที่มีอยู่โดยตรงในวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งมักจะเป็นจำนวนจริงหรือจำนวนเชิงซ้อน และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต่างจากค่าคงตัวทางฟิสิกส์ ที่ค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์นิยามเป็นเอกเทศจากการวัดเชิงกายภาพใดๆ มีจำนวนมากมายที่มีความสำคัญเป็นพิเศษในวิชาคณิตศาสตร์ และมีอยู่ในเนื้อความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นในการคูณด้วยจำนวนเชิงซ้อนที่ไม่ใช่ศูนย์ จะมีฟังก์ชันเอกพันธุ์ เฉพาะตัว f ที่มี f'.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซตจูเลีย

ซตจูเลีย (Julia set) เป็นเซตในการวิเคราะห์ระบบพลวัตเชิงซ้อน เซตจูเลียของฟังก์ชันโฮโมมอร์ฟิก f เขียนแทนด้วย J(f)\, ประกอบด้วยจุดเริ่มต้นซึ่งเมื่อวนซ้ำ (iterate) ฟังก์ชัน f ไปเรื่อย ๆ แล้วจะพบว่าเมื่อจุดเริ่มต้นเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย ค่าที่ได้กลับต่างกันได้มาก เซตจูเลียมีคุณสมบัติอลวน ส่วนเซตที่เป็นส่วนเติมเต็มของเซตจูเลีย เรียก เซตฟาตู (อังกฤษ: Fatou set) ใช้สัญลักษณ์ F(f)\, ชื่อของเซตทั้งสองตั้งตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คือ ปิแอร์ ฟาตู และ กาสตง จูเลี.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและเซตจูเลีย · ดูเพิ่มเติม »

Lagged Fibonacci Generator

Lagged Fibonacci generator (LFG) เป็นตัวอย่างหนึ่งของ pseudorandom number generator (ซึ่งเป็นหนึ่งในคลาสของ random number generator) ในคลาสของ random number generator นั้นมีเป้าหมายเพื่อที่จะ ปรับปรุงและพัฒนาบนพื้นฐานของ linear congruential generator ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ก็อยู่บนพื้นฐานของ ลำดับของ Fibonacci (Fibonacci Sequence) ลำดับของ Fibonacci สามารถเขียนอยู่ในรูปแบบ ของความสัมพันธ์แบบเวียนเกิด (recurrence relation) ได้ดังนี้ Sn.

ใหม่!!: อัตราส่วนทองและLagged Fibonacci Generator · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Golden ratioสัดส่วนทองสัดส่วนทองคำอัตราส่วนทองคำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »