โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

ดัชนี อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน

แองโกล-นอร์มัน (Anglo-Norman) คือผู้สืบเชื้อสายจากชาวนอร์มันผู้ปกครองอังกฤษหลังจากที่ได้รับชัยชนะในการรุกรานอังกฤษโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1066 แม้ว่าจะมีนอร์มันมาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้างก่อนหน้านั้นแล้ว หลังจากยุทธการเฮสติงส์ผู้รุกรานชาวนอร์มันและลูกหลานก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานในฐานะกลุ่มชนที่แตกต่างจากกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วในอังกฤษ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานเหล่านี้ต่อมาก็กลืนไปกับผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อยู่แต่เดิมและมาใช้ภาษาพูดที่เรียกว่าภาษาแองโกล-นอร์มัน.

7 ความสัมพันธ์: ชาวไอริชภาษาละตินภาษาอังกฤษเก่ารูอ็องศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานศิลปะแองโกล-แซกซันเอ็ดมันด์ เบิร์ก

ชาวไอริช

วไอริช (Muintir na hÉireann หรือ na hÉireannaigh หรือ na Gaeil, Irish people) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวยุโรปตะวันตกที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีไอร์แลนด์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษยชนมาราว 9,000 ปีโดยมีบรรพบุรุษของชาวไอริช ที่เป็นชนเนเมเดียน (Nemedians), ชนโฟโมเรียน (Fomorians), Fir Bolgs, Tuatha Dé Danann และ ชนมิเลเซียน (Milesians) (ตามตำนาน - ไม่มีหลักฐานบันทึกเป็นอักษรก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6)—กลุ่มสุดท้ายกล่าวกันว่าเป็นกลุ่มที่เป็นบรรพบุรุษเกลลิคที่แท้จริง และยังคงใช้เป็นคำที่เรียกชนไอริชจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กลุ่มชาติพันธุ์หลักที่มีการติดต่อกับชาวไอริชในยุคกลางก็ได้แก่ชาวสกอต และ ไวกิง และ ชาวไอซ์แลนด์โดยเฉพาะที่มีเชื้อสายไอริช การรุกรานของแองโกล-นอร์มันในยุคกลางตอนกลาง, การก่อตั้งดินแดนของอังกฤษ และต่อมาการปกครองโดยอังกฤษเป็นการนำกลุ่มชนนอร์มัน, เวลช์, เฟลมมิช, แองโกล-แซ็กซอน และ เบรทอน เข้ามาในไอร์แลนด์ ชาวไอริชที่มีชื่อเสียงก็มีมาตลอดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เมื่อนักบวชไอริชและนักเผยแพร่ศาสนาโคลัมบานัสผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งยุโรป” คนหนึ่ง ตามด้วยนักบุญคิลเลียน และ เวอร์กิลเลียสแห่งซอลซบวร์ก นักวิทยาศาสตร์โรเบิร์ต บอยล์ผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาเคมี” นักสำรวจผู้มีชื่อเสียงที่เป็นชาวไอริชก็ได้แก่เบรนดันนักเดินเรือ (Brendan the Navigator), เอิร์นเนสต์ แช็คเคิลตัน (Ernest Shackleton) และ ทอม ครีน (Tom Crean) ในด้านวรรณกรรมชาวไอริชก็เป็นผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่รวมทั้งโจนาธาน สวิฟท์, จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์, ออสคาร์ ไวล์ด และ เจมส์ จอยซ.

ใหม่!!: อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันและชาวไอริช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันและภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

รูอ็อง

รูอ็อง (Rouen) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซน เป็นอดีตเมืองหลวงของนอร์ม็องดีทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของแคว้นโอต-นอร์ม็องดี (นอร์ม็องดีบน) เดิมรูอ็องเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมั่งคั่งที่สุดของยุคกลาง ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานที่รับผิดชอบในการเก็บภาษีของนอร์มองดีในยุคกลาง และเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์แองโกล-นอร์มันที่ปกครองทั้งอังกฤษและบริเวณส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 15 รูอ็องเป็นเมืองที่โจนออฟอาร์กถูกเผาทั้งเป็นในปี..

ใหม่!!: อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันและรูอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์” ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง.

ใหม่!!: อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันและศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะแองโกล-แซกซัน

หนังสือประทานพรเซนต์เอเธลโวลด์''” ที่ประกอบด้วยภาพพระเยซูรับศีลจุ่ม หนังสือแคดมอน” เป็นภาพเทวดารักษาประตูสวรรค์ หลังจากที่อาดัมและอีฟถูกขับจากสวรรค์ หินเฮดดาซึ่งเป็นตัวอย่างของงานสลักหินของสมัยแองโกล-แซกซัน พระแม่มารีทองแห่งเอสเซิน ศิลปะแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon art) คือศิลปะที่สร้างขึ้นในสมัยแองโกล-แซกซันในประวัติศาสตร์อังกฤษโดยเฉพาะตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (ค.ศ. 871-ค.ศ. 899) เมื่อมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมของอังกฤษขึ้น หลังจากการรุกรานของไวกิงยุติลง และมาสิ้นสุดเอาเมื่อนอร์มันพิชิตอังกฤษได้ในปี..

ใหม่!!: อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันและศิลปะแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์ เบิร์ก

อ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นรัฐบุรุษชาวไอร์แลนด์ และยังเป็นทั้งนักปรัชญา, นักปราศรัย, นักทฤษฏีการเมือง และเป็นนักการเมืองอังกฤษสังกัดพรรควิกโดยเป็นสมาชิกสภาสามัญชน เขาเป็นที่รู้จักจากการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา, การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก, การฟ้องร้องข้าหลวงวอร์เรน ฮาสติงส์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก และภายหลังจากการไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขาผันตัวไปเป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมในพรรควิกซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งตัวเขาเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม "วิกเก่า" (Old Whigs) ซึ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกับฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่ากลุ่ม "วิกใหม่" (New Whigs) ที่นำโดยชาร์ล เจมส์ ฟ็อกซ์ เบิร์กเชื่อว่าเสรีภาพและจารีตประเพณีสามารถไปด้วยกันได้ ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งถึงขั้นนองเลือดหรือสถาปนาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอยชัดเจน การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นเขาจึงเชื่อมั่นในวิถีแห่งการประนีประนอมมากกว่าการห้ำหั่นเอาชนะ ในขณะที่เขาต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสเขากลับสนับสนุนการปลดแอกของอเมริกาจากอังกฤษ เขาให้เหตุผลว่าเนื่องจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาเสรีภาพและความเท่าเทียมตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการยุยงโดยชนชั้นนำซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปซึ่งการปกครองในระบอบเผด็จการที่เลวร้ายกว่าเดิม ในศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขาเสียชีวิตกว่าร้อยปีแล้ว เขากลายมาเป็นว่าได้รับการนับถืออย่างมากในฐานะนักปรัชญาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม.

ใหม่!!: อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มันและเอ็ดมันด์ เบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anglo-Normanแองโกล-นอร์มัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »