โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรคุรมุขี

ดัชนี อักษรคุรมุขี

อักษรคุรมุขี หรือ อักษรกูร์มูคี หรือ อักษรเกอร์มุกห์ เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบ ประดิษฐ์โดยคุรุนานักเทพ คุรุคนแรกของศาสนาซิกข์ และเผยแพร่โดยคุรุอังกัตเทพ คุรุคนที่ 2 เมื่อราว..

16 ความสัมพันธ์: ชาวปัญจาบกลุ่มภาษาปาหารีภาษาสินธีภาษาสิไรกิภาษาปัญจาบภูมิภาคปัญจาบยูนิโคดรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามชนิดอักษรรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียนอักษรชาห์มุขีอักษรลัณฑาขาลิสถานคุรุนานักเทพตระกูลอักษรพราหมีนามธารีเสียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน

ชาวปัญจาบ

วปัญจาบ (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ Paṁjābī,อักษรชาห์มุขี: پنجابی Panjābī) เป็นประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณภูมิภาคปัญจาบ พูดภาษาปัญจาบซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน คำว่าปัญจาบหมายถึง ดินแดนแห่งน้ำทั้งห้า (เปอร์เซีย: panj ("ห้า") āb ("น้ำ")).

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและชาวปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาปาหารี

กลุ่มภาษาปาหารีเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาอินโดอารยันเหนือ เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่ใช้พูดในบริเวณที่ราบของเทือกเขาหิมาลัยจากเนปาลทางตะวันออก ไปจนถึงรัฐหิมาจัลประเทศทางตะวันตก ภาษาในกลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มตะวันออกประกอบด้วยสำเนียงต่างๆของภาษาเนปาล เช่น โดขาลี กุรขาลี คาสกุรา กลุ่มกลาง ประกอบไปด้วยภาษาที่พูดในรัฐอุตรขัณฑ์และกลุ่มตะวันตกพูดในรัฐหิมาจัลประเทศ ในเนปาล ภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ของชนกลุ่มอินโด-อารยันส่วนใหญ่ที่อยู่ในหุบเขาทางเหนือของอินเดียจนถึงเขตสูงสุดที่สามารถปลูกข้าวได้ ภาษาแม่ของชนเผ่าในบริเวณภูเขาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า ภาษาเนปาลมีความแตกต่างจากภาษาปาหารีกลางเพราะได้รับอิทธิพลทั้งทางไวยากรณ์และคำศัพท์จากภาษากลุ่มทิเบต-พม่า ผู้พูดภาษาปาหารีกลางและตะวันตกไม่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับภาษากลุ่มทิเบต-พม่า จึงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันได้ แม้ว่าชาวปาหารีจะได้พัฒนารูปแบบของตนเองและมีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่บางครั้งก็จัดภาษาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของภาษาฮินดี ชื่อเรียกของภาษาเหล่านี้มีมาก เช่น เนปาลี (ภาษาของชาวเนปาล) กุรขาลี (ภาษาของชาวกุรข่า) ปัรภติยะ (ภาษาของชาวภูเขา) ภาษาปัลปาเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเนปาล บางครั้งถูกแยกเป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหาก มีผู้พูดภาษากลุ่มปาหารีจำนวนมากในหุบเขาทางเหนือของปากีสถาน ระหว่างแคชเมียร์และอัฟกานิสถาน ภาษาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาประจำชาติในบริเวณนั้นเช่น ภาษาอูรดูและภาษาปัญจาบ หมวดหมู่:ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หมวดหมู่:ภาษาในเอเชียใต้.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและกลุ่มภาษาปาหารี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสินธี

ษาสินธีเป็นภาษาของกลุ่มชนในเขตสินธ์ในเอเชียใต้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน แม้ว่าจะเป็นภาษาของชาวอารยัน แต่มีอิทธิพลจากภาษาของดราวิเดียนด้วย ผู้พูดภาษาสินธีพบได้ทั่วโลก เนื่องจากการอพยพออกของประชากรเมื่อปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียเมื่อ..

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและภาษาสินธี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิไรกิ

ษาสิไรกิ (ภาษาอูรดู: سراییکی) หรือภาษามุนตานี (อักษรชาห์มูขี: ملتانی, อักษรคุรมุขี: ਮੁਲਤਾਨੀ, อักษรเทวนาครี: मुल्तानी)) หรือภาษาเสไรกิ ภาษามันตานี ภาษาปัญจาบใต้ เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดสินธ์ และปัญจาบ ประเทศปากีสถาน มีผู้พูดราว 14 ล้านคน นอกจากนี้มีผู้พูดอีก 20,000 คนในอินเดียและอังกฤษ ที่มาของคำว่า “สิไรกิ” ยังไม่แน่นอน อาจมาจากภาษาสินธี แปลว่า “เหนือ” หรือภาษาสันสกฤต แปลว่า “พระอาทิตย์”.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและภาษาสิไรกิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปัญจาบ

ษาปัญจาบ หรือ ปัญจาบี หรือ ปัญชาพี (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ Paṁjābī,อักษรชาห์มุขี: پنجابی Panjābī) เป็นภาษาของชาวปัญจาบ และภูมิภาคปัญจาบของประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถาน ภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา' ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อพ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและภาษาปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคปัญจาบ

thumb ปัญจาบ (Punjab; ปัญจาบ: ਪੰਜਾਬ, پنجاب) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ ประกอบด้วยดินแดนทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน และทางเหนือของประเทศอินเดีย ทางฝั่งปากีสถานประกอบด้วยแคว้นปัญจาบและบางส่วนของดินแดนนครหลวงอิสลามาบาด ทางฝั่งอินเดียประกอบด้วยรัฐปัญจาบ บางส่วนของรัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ‎ รัฐฉัตตีสครห์‎ จังหวัดชัมมู และบางส่วนของดินแดนนครหลวงเดลี ชื่อปัญจาบมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า (ดินแดนแห่ง) แม่น้ำห้าสาย ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเฌลัม, แม่น้ำจนาพ, แม่น้ำราวี, แม่น้ำสตลุช และแม่น้ำบีอัส แม่น้ำห้าสายนี้ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสิน.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและภูมิภาคปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามชนิดอักษร

อักษรในภาษาต่างๆ แบ่งตามชนิดอักษร.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามชนิดอักษร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียน

รายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียน.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรชาห์มุขี

อักษรชาห์มุขี (Shahmukhi;شاہ مکھی หมายถึงจากปากของชาห์) เป็นอักษรหนึ่งในสองชนิดที่ใช้เขียนภาษาปัญจาบ โดยอีกชนิดหนึ่งคืออักษรคุรมุขี พัฒนามาจากอักษรเปอร์เซียและเขียนแบบนัสตาลิก อักษรชาห์มุขีใช้ครั้งแรกโดยกวีที่นับถือลัทธิศูฟีในปัญจาบและกลายเป็นการเขียนของมุสลิม ใช้มากในจังหวัดปัญจาบ ประเทศปากีสถาน หลังจากแยกตัวออกจากอินเดีย ในขณะที่ชาวปัญจาบในอินเดียใช้อักษรคุรมุขี ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างอักษรชาห์มุขีและอักษรคุรมุขี center.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและอักษรชาห์มุขี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลัณฑา

อักษรลัณฑะ (Laṇḍā) พัฒนามาจากอักษรศารทา เมื่อราว..

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและอักษรลัณฑา · ดูเพิ่มเติม »

ขาลิสถาน

งของขาลิสถาน ขาลิสถาน (Khalistan; อักษรคุรมุขี: ਖਾਲਿਸਤਾਨ; อักษรชาห์มุขี: ًًخالستان) หมายถึงดินแดนแห่งความบริสุทธิ์ เป็นชื่อของดินแดนที่ต้องการก่อตั้งเป็นรัฐชาติ นำโดยชัคชิต สิงห์ เฉาหัน ผู้นำของสาธารณรัฐสิกข์ขาลิสถาน เป็นความต้องการรวมจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน เข้ากับรัฐปัญจาบของอินเดีย และรวมผู้พูดภาษาปัญจาบทั้งหมดให้เป็นเอกภาพ การต่อสู้เพื่อก่อตั้งรัฐนี้นำโดยขบวนการขาลิสถาน ซึ่งเป็นขบวนการที่สำคัญของชาวสิกข์ในอินเดี.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและขาลิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

คุรุนานักเทพ

วาดคุรุนานักเทพ คุรุนานักเทพ (15 เมษายน พ.ศ. 2012 - 22 กันยายน พ.ศ. 2082) ศาสดาผู้ประกาศศาสนาสิกข์ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดียเกิดที่แคว้นปัญจาบ เดิมนับถือศาสนาฮินดู แต่ได้รับการศึกษาในสำนักของศาสนาอิสลามจึงมีความรู้ทั้ง 2 ศาสนา ท่านแต่งงานและมีบุตร 2 คน จากนั้นได้ออกบวชและบำเพ็ญเพียรทางจิตอยู่ 35 ปี จนได้พบพระเจ้าจึงออกเผยแพร่ศาสนาสิกข์ในนามตัวแทนของพระเจ้า วาจาแรกที่ท่านกล่าวเมื่อออกประกาศศาสนาคือ "ในโลกนี้ไม่มีใครเป็นฮินดู ไม่มีใครเป็นอิสลาม" ท่านออกสั่งสอนประชาชนอยู่หลายปี มีศิษย์ทั้งที่เป็นฮินดูและมุสลิม ใน..

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและคุรุนานักเทพ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลอักษรพราหมี

ตระกูลอักษรพราหมี เป็นกลุ่มของอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ได้แก่อักษรที่ใช้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและตระกูลอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

นามธารี

นามธารี (Namdhari) เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาซิกข์ (Sikh) ศาสนาซิกข์นั้นเป็นศาสนาซึ่งมีชื่อตามลักษณะคำสอนของศาสนา เพราะคำว่า “ซิกข์” (Sikh) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “สิข” เป็นภาษาปัญจาบีซึ่งเป็นภาษาหลักของศาสนา ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า “สิกขา” หรือในภาษาสันสกฤตตรงกับคำว่า “ศิษย์” ซึ่งหมายถึง ผู้ศึกษา ผู้ใฝ่เรียน ลูกศิษย์หรือสาวก ดังนั้น ทุกคนจึงเป็นศิษย์ของครู หรือ “คุรุ” (Guru) ซึ่งหมายถึงองค์พระศาสดา และการเข้าถึงหลักการของศาสนาจะต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือครูเท่านั้น จึงทำให้ต้องมี “คุรุ” สืบต่อมาโดยตลอดไม่ขาดช่วงจนถึงปัจจุบัน นามธารี แปลว่า ผู้ซึ่งเทิดทูนธำรงค์รักษาให้ทรงไว้ซึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า (“นาม” หมายถึง พระนามของพระผู้เป็นเจ้า ส่วน “ธารี” หมายถึงการธำรงค์รักษา) จึงกล่าวได้ว่า ชาวซิกข์-นามธารี คือผู้ที่มีความรัก เชื่อถือศรัทธา และยึดมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อฟังคำสั่งสอนขององค์พระศาสดาผู้ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ เสมือนอาจารย์ผู้สั่งสอนศิษย์ เพราะชาวซิกข์-นามธารีเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนต้องได้รับการศึกษาวิชาต่างๆ จากครูบาอาจารย์เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดำเนินชีวิต และการแสวงหาหนทางสู่ความหลุดพ้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีครูผู้นำทางชีวิตทั้งสิ้น ศาสนิกชนชาวซิกข์-นามธารีทุกคนในฐานะ “ศิษย์” จึงต้องมี “ครู” เพื่อชี้นำแนะแนวเส้นทางการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายเสมอตลอดอายุขัย และการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าจะสำเร็จได้ก็ย่อมต้องผ่านทาง “คุรุ” หรือองค์พระศาสดาผู้เทิดทูน และยึดมั่นในพระนามของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและนามธารี · ดูเพิ่มเติม »

เสียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน

ียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา โดยเฉพาะกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เช่นภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาทมิฬ ภาษามาลายาลัม ภาษาสันสกฤต ฯลฯ แต่ไม่มีเสียงนี้ในภาษาไทย สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ n` การทับศัพท์มักใช้ ณ ซึ่งตรงกับการจัดวรรคพยัญชนะของภาษากลุ่มนี้.

ใหม่!!: อักษรคุรมุขีและเสียงนาสิก ปลายลิ้นม้วน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gurmukhī scriptอักษรกูร์มูคีคุรมุขี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »