โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรคุชราต

ดัชนี อักษรคุชราต

อักษรคุชราต พัฒนามาจากอักษรเทวนาครี เพื่อใช้เขียนภาษาคุชราต เอกสารเก่าสุดพบเมื่อ พ.ศ. 2135 และเอกสารพิมพ์เก่าสุด พบเมื่อ พ.ศ. 2340 กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 อักษรคุชราต ใช้ในการเขียนจดหมายและบันทึกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอักษรเทวนาครีใช้ในวรรณคดีและงานทางวิชาการ ใช้เขียนภาษาคุชราตและภาษากัจฉิ (Kachchi) ในประเทศอินเดี.

10 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2340ภาษากัจฉิภาษาคุชราตภาษาเมโมนียูนิโคดรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามชนิดอักษรรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียนอักษรเทวนาครีคุชราตตระกูลอักษรพราหมี

พ.ศ. 2340

ทธศักราช 2340 ตรงกับคริสต์ศักราช 1797 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและพ.ศ. 2340 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากัจฉิ

ษากัจฉิ เป็นภาษาตระกูลอินโด-อารยัน ใช้พูดในบริเวณกุตฉะ ของรัฐคุชราต มีผู้พูดราว 866,000 คน โดยเป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ชาวมุสลิมในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งชาวขวาชาห์ที่ใช้ในทางศาสน.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและภาษากัจฉิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคุชราต

ษาคุชราต (ગુજરાતી คุชราตี) คือภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการ และ 14 ภาษาภูมิภาคของอินเดีย และเป็นหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยของปากีสถาน มีผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก โดยที่ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนในยูกันดา 100,000 คนในปากีสถาน 250,000 คนในแทนซาเนีย และ 50,000 คนในเคนยา ภาษาคุชราต คือภาษาหลักของรัฐคุชราตในอินเดีย รวมถึงพื้นที่สหภาพที่ติดกันคือ ดามานและดีอู และ ดาดราและนครหเวลี และยังเป็นภาษาของชุมชนชาวคุชราตในเมืองมุมไบ (บอมเบย์เดิม) นอกจากนี้ยังปรากฏประชาการจำนวนหนึ่งที่พูดภาษาคุชราตได้ในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร คุชราตเป็นภาษาแม่ของมหาตมะ คานธี "บิดาของอินเดีย" มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ "บิดาของปากีสถาน" และซาร์ดาร์ วัลลัภภัย ปาเทล "บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย".

ใหม่!!: อักษรคุชราตและภาษาคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเมโมนี

ษาเมโมนี เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ใช้พูดโดยชาวเมโมนน พัฒนามาจากภาษาสันสกฤต ใกล้เคียงกับภาษากัจฉิและภาษาคุชราต มีผู้พูดทั้งในอินเดียและปากีสถาน ชาวเมโมน กาถิวาทีพูดภาษาที่ไม่มีระบบการเขียนซึ่งเรียกว่าภาษาเมโมนีซึ่งเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาสินธีและภาษากัจฉิ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันในเขตเหนือ-ตะวันตก ภาษาสินธีและภาษากัจฉินั้นใช้พูดทั้งผู้ที่เป็นและไม่เป็นมุสลิม แต่ภาษาเมโมนีใช้พูดเฉพาะชาวเมโมน กาถิวาทีที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ที่อพยพจากสินธ์มาสู่พื้นที่ใกล้เคียง คือที่กุตส์และกาเกียวาร์ในคุชราต เมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ภาษาที่ใช้ในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาสินธี แต่มีคำยืมจากภาษาคุชราต ภาษาฮินดูสตานและภาษาอังกฤษ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ในปากีสถาน ภาษาเมโมนีมีการใช้คำและวลีจากภาษาอูรดูมาก.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและภาษาเมโมนี · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: อักษรคุชราตและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามชนิดอักษร

อักษรในภาษาต่างๆ แบ่งตามชนิดอักษร.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามชนิดอักษร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียน

รายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียน.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและรายชื่ออักษรในภาษาต่าง ๆ แบ่งตามทิศทางการเขียน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

คุชราต

ราต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลอักษรพราหมี

ตระกูลอักษรพราหมี เป็นกลุ่มของอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ได้แก่อักษรที่ใช้ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: อักษรคุชราตและตระกูลอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gujarati scriptอักษรคุชราตี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »