โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะโทรพีน

ดัชนี อะโทรพีน

อะโทรพีน (Atropine) เป็นสารธรรมชาติชนิด tropane alkaloid สกัดจาก Atropa belladonna, Datura stramonium, Mandragora officinarum และพืชอื่นๆ ในวงศ์มะเขือ เป็น secondary metabolite ของพืชเหล่านี้ และมีประโยชน์เป็นยาที่มีฤทธิ์สำคัญหลายอย่าง สารนี้เป็น competitive antagonist ของ muscarinic acetylcholine receptor ชนิด M1, M2, M3, M4 และ M5 จัดเป็นยาต้านโคลีเนอร์จิก (พาราซิมพาโธไลติก) ชื่อสปีชีส์พืช "belladonna" มาจากที่ใช้ดั้งเดิมของสารนี้ซึ่งใช้ในการแต้มตาให้สตรีมีรูม่านตาโตดูสวยงาม ยานี้เป็นยาหลักในรายการบัญชียาสำคัญขององค์การอนามัยโลก.

9 ความสัมพันธ์: ATC รหัส A03ATC รหัส S01การเป็นพิษจากดิช็อกซินภาวะช็อกทางระบบประสาทลำโพงม่วงธีโอดอร์ โมเรลซารินไฮดรอกซิซีนเภสัชเวท

ATC รหัส A03

A03 ยาสำหรับโรคการทำงานของทางเดินอาหาร (Drugs for functional gastrointestinal disorders) เป็นกลุ่มย่อยตามการรักษาของระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) จัดอยู่ในกลุ่มหลักตามกายวิภาคศาสตร์ A ทางเดินอาหารและเมแทบอลิซึม (Alimentary tract and metabolism).

ใหม่!!: อะโทรพีนและATC รหัส A03 · ดูเพิ่มเติม »

ATC รหัส S01

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) S อวัยวะรับความรู้สึก (Sensory organs).

ใหม่!!: อะโทรพีนและATC รหัส S01 · ดูเพิ่มเติม »

การเป็นพิษจากดิช็อกซิน

การเป็นพิษจากดิช็อกซิน เกิดจากการรับยาดิช็อกซินปริมาณมากในเวลาอันสั้นหรือมีระดับดิช็อกซินสะสมในร่างกายจากการรักษาเป็นเวลานาน ดิช็อกซินเป็นยารักษาภาวะหัวใจวายและภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว พบในพืชสกุลถุงมือจิ้งจอก (Digitalis) การเป็นพิษจากดิช็อกซินแบ่งออกเป็นเฉียบพลันและเรื้อรัง อันตรายของทั้งสองประเภทคือผลกระทบต่อหัวใจ ในรายที่พิษเฉียบพลันจะมีอาการคลื่นไส้ รู้สึกหมุนและอาเจียน ในรายเรื้อรังจะมีอาการล้า ละเหี่ยและมีปัญหาด้านการมองเห็น อาการทั่วไปของผู้ป่วยคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน เพ้อ การมองเห็นผิดปกติ (มองไม่ชัดหรือมองเห็นเป็นสีเหลือง) ร่วมกับความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว เป็นต้น.

ใหม่!!: อะโทรพีนและการเป็นพิษจากดิช็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะช็อกทางระบบประสาท

วะช็อกทางระบบประสาท (neurogenic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอิสระภายในไขสันหลัง ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำและภาวะหัวใจเต้นช้าร่วมในบางครั้ง โดยความดันโลหิตต่ำเกิดจากแรงต้านภายในหลอดเลือดที่ลดลง ทำให้มีเลือดคั่ง ส่วนภาวะหัวใจเต้นช้าเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทเวกัส ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากการขาดออกซิเจนและความผิดปกติในหลอดลม ภาวะช็อกทางระบบประสาทอาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะและการเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ภาวะช็อกดังกล่าวต่างจากภาวะช็อกทางสันหลัง (spinal shock) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: อะโทรพีนและภาวะช็อกทางระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ลำโพงม่วง

ลำโพงม่วง เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae แตกกิ่งน้อย ต้นตั้งตรง วงกลีบดอกเป็นรูปหลอด สีขาวหรือสีม่วงซีด ผลเป็นกระเปาะทรงกลม ผิวมีหนามสั้น หรือผิวเรียบ ทุกส่วนของพืชมีสารอัลคาลอยด์ชนิดโทรเพนในระดับอันตราย ได้แก่ อะโทรปีน, ไฮออสไซยามีนและสโคโพลามีน.

ใหม่!!: อะโทรพีนและลำโพงม่วง · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอดอร์ โมเรล

ีโอดอร์ กิลเบิร์ต โมเรล (22 กรกฎาคม 1886 – 26 พฤษภาคม 1948) เป็นแพทย์ชาวเยอรมันซึ่งเป็นที่รู้จักคือเป็นแพทย์ส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร.โมเรลเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในประเทศเยอรมนีสำหรับการรักษาแบบนอกคอกของ.เขาได้ช่วยเหลือฮิตเลอร์เป็นประจำวันในสิ่งที่เขาทำเป็นเวลาหลายปีและอยู่เคียงข้างกับฮิตเลอร์จนถึงช่วงสุดท้ายของยุทธการที่เบอร์ลิน ธีโอดอร์ โมเรล เป็นแพทย์ที่ได้สั่งจ่ายยาให้กับฮิตเลอร์ทั้งหมดเพื่อที่จะรักษาโรคหลายโรคที่ฮิตเลอร์เป็นอยู่และฮิตเลอร์ก็ทานยาหลายเม็ดต่อวัน ซึ่งยาที่โมเรลได้จ่ายยานั้นจะมีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: อะโทรพีนและธีโอดอร์ โมเรล · ดูเพิ่มเติม »

ซาริน

ซาริน หรือจีบี เป็นสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส มีสูตรเคมี CH3P(O)F ซารินเป็นของเหลวไร้สี ไร้กลิ่น.

ใหม่!!: อะโทรพีนและซาริน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรอกซิซีน

รอกซิซีน (Hydroxyzine) เป็นสารต้านฮิสตามีนรุ่นแรกที่อยู่ในกลุ่ม diphenylmethane และ piperazine ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบริษัทเบลเยียม (Union Chimique Belge) ในปี 2499 และยังเป็นยาที่ใช้อย่างกว้างขวางทุกวันนี้ เนื่องจากฤทธิ์ต้านหน่วยรับความรู้สึกหลายอย่างในสมอง ยาจึงมีฤทธิ์คลายกังวลที่มีกำลัง ต้านความหมกมุ่น และรักษาโรคจิตอย่างอ่อน ๆ ทุกวันนี้ มันมักจะใช้โดยหลักเพื่อคลายกังวลและความเครียดที่สัมพันธ์กับโรคจิตประสาท (psychoneurosis) และเป็นยาเพิ่ม (adjunct) ในโรคทางกายอื่น ๆ ที่คนไข้รู้สึกกังวล เนื่องจากฤทธิ์ต้านฮิสตามีน จึงสามารถใช้รักษาความคัน ภาวะรู้สึกเจ็บมากกว่าปรกติ (hyperalgesia) และความคลื่นไส้ที่เกิดจากการป่วยจากการเคลื่อนไหว (เช่นเมารถเมาเรือ) และยังใช้ในบางกรณีเพื่อบรรเทาผลการขาดยากลุ่มโอปิออยด์ แม้ว่ามันจะมีฤทธิ์ระงับประสาท (sedative) ให้นอนหลับ (hypnotic) และคลายกังวล (anxiolytic) แต่มันไม่มีลักษณะของสารที่ใช้เสพติด รวมทั้งการติดและโอกาสเป็นพิษเหมือนกับยาอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์คล้าย ๆ กัน ยาสามารถใช้เพิ่มผลระงับความเจ็บปวดของยากลุ่มโอปิออยด์ต่าง ๆ และบรรเทาผลข้างเคียงของพวกมัน เช่น ความคัน ความคลื่นไส้ และการอาเจียน การซื้อยาในบางประเทศต้องอาศัยใบสั่งยาจากแพทย์ โดยขายในสองรูปแบบ คือ pamoate และ hydrochloride salt ยาที่คล้าย/สัมพันธ์กับไฮดร๊อกซิซีนรวมทั้ง ไซคลิซีน, บิวคลิซีน และ meclizine ซึ่งมีประโยชน์ ข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงเหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน สารต้านฮิสตามีนรุ่นสองคือ เซทิไรซีน จริง ๆ ก็คือ เมแทบอไลต์ของไฮดร๊อกซิซีนที่เกิดในร่างกายมนุษย์ แต่ว่าโดยที่ไม่เหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน เซทิไรซีนดูเหมือนจะไม่ข้ามตัวกั้นเลือด-สมอง (blood-brain barrier) อย่างสำคัญ แม้ว่าจะมีรายงานว่ามีผลต่อกล้ามเนื้อและมีฤทธิ์ระงับประสาท ดังนั้น ทำให้เป็นสารต้านฮิสตามีนที่ดี เพราะมีผลระงับความกังวลและฤทธิ์ต่อจิตใจอย่างอื่น ๆ น้อยลง แต่ว่าก็ยังสามารถมีผลต่อกล้ามเนื้อและทำให้ง่วงนอนสำหรับคนไข้บางคนได้.

ใหม่!!: อะโทรพีนและไฮดรอกซิซีน · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชเวท

ัชเวท (Pharmacognosy) เป็นศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยาอันมีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เภสัชเวทสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความของเภสัชเวทไว้ว่า "เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพ, เคมี, ชีวเคมี และคุณสมบัติทางชีวภาพของยา, สารที่นำมาใช้เป็นยาที่มีที่มาจากธรรมชาติ และการวิจัยค้นพบยาใหม่จากแหล่งธรรมชาติ" สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาได้ภายหลังผ่านกระบวนการทางเภสัชกรรมเราเรียกว่า "เครื่องยา" โดยมีการจัดจำแนกตามคุณสมบัติของเครื่องยาตามวิธีการของศาสตร์ต่างๆ อาทิ เภสัชวิทยา, กลุ่มสารเคมี, การเรียงลำดับตามตัวอักษรละตินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เภสัชเวทยังครอบคลุมไปถึงการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์เช่น ไฟเบอร์, ยาง ในการศัลยกรรมรักษา และการใช้เพื่อควบคุมภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงการใช้เป็นสารปรุงแต่งทางเภสัชกรรม, เครื่องสำอาง.

ใหม่!!: อะโทรพีนและเภสัชเวท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Atropineอะโทรปีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »