โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะลาดิน

ดัชนี อะลาดิน

อะลาดินพบตะเกียงวิเศษในถ้ำ จาก ''อาหรับราตรี'' ฉบับพิมพ์เมื่อปี 1898 อะลาดิน (Aladdin) เป็นเทพปกรณัมเรื่องหนึ่งในแถบตะวันออกกลาง ว่าด้วยยาจกหนุ่มชาวจีนชื่อ อะลาดิน ซึ่งกลายเป็นราชาเพราะความช่วยเหลือของทาสยักษ์ เรื่องราวนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นเมื่ออ็องตวน ก็อลล็อง (Antoine Galland) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ประมวลเข้าเป็นนิทานตอนหนึ่งในหนังสือชุด พันหนึ่งราตรี (One Thousand and One Nights) หรือ อาหรับราตรี (The Arabian Nights).

11 ความสัมพันธ์: ญินรายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันของดิสนีย์รายชื่อภาพยนตร์ของวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอรายชื่อภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดร็อก (เทพปกรณัม)ลีอา ซาลองกาสีสันอะวอร์ดส์อะกิระ คะมิยะอาหรับราตรีเมไจ อาละดินผจญภัยเจฟ เบนเนต

ญิน

นิทานพันหนึ่งราตรี ญิน หรือ ดีญิน (جني jinnī, genie, dijinn; แปลว่า ผี หรือ ปีศาจ) เป็นสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติชนิดหนึ่ง ตามความเชื่อของชาวอาหรับ มีระบุอยู่ในอัลกุรอาน โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะของญิน หรือ ดีญิน จะคล้ายคลึงกับผีหรือปีศาจ ตามความเชื่อของศาสนาหรือลัทธิอื่น หากแต่ญินกำเนิดมาจากไฟไร้ควันที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้น และกำเนิดก่อนมนุษย์คนแรก คือ อาดัม เป็นเวลานานมาก จัดเป็นทูตสวรรค์อย่างหนึ่ง ญินเกิดมาเพื่อสร้างความดี (อิบาดะฮ์) ถวายแด่อัลลอฮฺ ญินอาศัยอยู่บนโลกมนุษย์ แต่อยู่อีกมิติหนึ่ง มีสังคมเหมือนกับมนุษย์ มีการดำเนินชีวิต มีเกิด มีตาย มีปัญญา มีศรัทธา มีปฏิเสธ มีความสามารถเหนือมนุษย์ สามารถทำในสิ่งที่หลากหลายมากกว่า อายุยืนยาวมากกว่ามาก สามารถบินได้ ปรากฏกายได้ จำแลงกายทั้งในรูปมนุษย์และสัตว์ ญินสามารถมองเห็นมนุษยได้ แต่มนุษย์จะมองไม่เห็นญิน เว้นแต่ญินจะปรากฏร่างให้เห็นเอง โดยรากศัพท์ของคำว่าญิน หมายถึง "ปกปิดซ่อนเร้น" ญินสามารถหลอกล่อหรือหลอกลวงมนุษย์ให้หลงผิดไปได้ด้วย หากผู้ใดที่พยายามติดต่อหรือสื่อสารกับญินจะสุ่มเสี่ยงมากต่อการผิดต่อหลักศาสนาหรือกลายเป็นผู้นอกรีต เนื่องจากเป็นการเข้าไปสู่ไสยศาสตร์ แต่ญิน มิใช่ผี ตามคติของศาสนาอิสลาม ผู้ที่ตายไปแล้วจะถูกนำไปพักรออยู่ในโลกแห่งบัรซัค ไม่สามารถออกมาอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างความเชื่อโดยทั่วไป เพียงแต่มีชัยฏอน หรือ อิบลิส ซึ่งก็เป็นญินตนหนึ่งที่ผิดต่ออัลลอฮฺ ปัจจุบันความเชื่อเรื่องญินยังคงมีอยู่ในหมู่ชาวชนบทหรือชาวเบดูอิน ผู้ที่อ้างว่าได้เคยพบเจอกับญิน อ้างว่าญินมีสภาพไม่มีตัวตน มองไม่เห็น แต่สามารถสัมผัสหรือรู้สึกได้ในบางสถานที่ เช่น ได้ยินเสียงคนเรียกชื่อตน แต่เมื่อหันไปมองแล้วกลับไม่พบตัว เป็นต้น โดยสถานที่ ๆ เชื่อว่ามีญินอาศัยอยู่ เช่น เพตรา ในจอร์แดน หรือหมู่บ้านชาวประมงร้างแห่งหนึ่งใกล้กับรัฐราสอัลไคมาห์ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของญิน ในเชิงวัฒนธรรม ญิน เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จินนี่" ในนิทานพันหนึ่งราตรี ยักษ์หรืออสูรในตะเกียงวิเศษของอาละดินหรืออาลีบาบา ก็คือ ญิน.

ใหม่!!: อะลาดินและญิน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันของดิสนีย์

นี่คือรายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน ที่ผลิต และ/หรือวางจำหน่ายโดย เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ ในเครือบริษัท เดอะวอลต์ดิสนีย์ ณ ปัจจุบัน เดอะวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอ ได้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ทั้งบริษัทแอนิเมชันของตนเอง และ บริษัทที่ดิสนีย์ไม่ได้เป็นเจ้าของ ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในรายชื่อด้านล่างนั้นมาจาก วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอแอนิเมชันสตูดิโอ โดยเริ่มต้น ผลิตภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อะลาดินและรายชื่อภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันของดิสนีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพยนตร์ของวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอ

250px นี่คือ รายชื่อภาพยนตร์จาก วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอ เป็นแอนิเมชันสตูดิโอต้นสังกัดอยู่ที่ เบอร์แบงก์, แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และในอดีตรู้จักกันในชื่อ วอลต์ดีสนีย์ฟีเจอร์แอนิเมชัน, วอลต์ดีสนีย์โปรดักชันและดีสนีย์บราเธอร์สการ์ตูนสตูดิโอ ซึ่งผลิตภาพยนตร์ให้กับบริษัท เดอะวอลต์ดิสนีย์ โดยผลิตภาพยนตร์แล้ว 54 เรื่อง เริ่มต้นที่ สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (1937) และล่าสุด บิ๊กฮีโร่ 6 (2014).

ใหม่!!: อะลาดินและรายชื่อภาพยนตร์ของวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุด

นี่คือรายชื่อภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุด เรียงตามรายได้จากโรงภาพยนตร์ทั่วโลกของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง.

ใหม่!!: อะลาดินและรายชื่อภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุด · ดูเพิ่มเติม »

ร็อก (เทพปกรณัม)

วาดในจินตนาการที่ร็อกทำลายเรือของซินแบด ร็อก (Roc; อาหรับ: رخ (ruḵḵ); เปอร์เซีย: رخ (ruḵ)) เป็นนกยักษ์ในตำนานของชาวอาหรับ เชื่อกันว่า ร็อกมีลำตัวสีขาว มีขนาดใหญ่โตมากและแข็งแรงถึงขนาดจับช้างทั้งตัว ขึ้นไปจับฉีกกินในอากาศได้ ไข่ของร็อกมีขนาดใหญ่ ที่มาที่ไปของความเชื่อเกี่ยวกับร็อกยังไม่มีที่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่าน่าจะมาจากจักรวรรดิเปอร์เซีย แต่มีบางข้อมูลกล่าวว่าร็อกนั้นมาจากนกที่อยู่ในจริง แต่ได้มีการปั้นเสริมเติมแต่งให้เกินจริง ซึ่งข้อสันนิษฐานที่ใกล้เคียงที่สุดคือนกในช่วงต้นของศตวรรษที่ 8 จากผลงานการประพันธ์ของนักเขียนชาวตะวันออกกลางคนหนึ่ง นอกจากนี้เคยมีรายงานว่ามีผู้พบเห็นนกที่อ้างกล่าวถึงนี้จริงในช่วงศตวรรษที่ 16 โดยนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่ได้ไปแวะไปเที่ยวในละแวกเขตมหาสมุทรอินเดีย เรื่องราวของร็อก ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องต่าง ๆ ของตะวันออกกลาง เช่น พันหนึ่งราตรี ตอนอะลาดิน โดยร็อกนั้นเป็นทาสของจินนี่ในตะเกียงของอะลาดิน และในตอนซินแบด ที่ลูกเรือของซินแบดได้เจอไข่ของร็อก ทั้ง ๆ ที่ซินแบดห้ามไว้แล้วแต่บรรดาลูกเรือก็ยังทำลายไข่ของร็อก เมื่อแม่ร็อกกลับมาก็โกรธเกรี้ยว ทำลายเรือของซินแบดจนพินาศสิ้น ลูกเรือทุกคนจมน้ำตายหมด ยกเว้นซินแบดคนเดียวที่หนีรอดมาได้.

ใหม่!!: อะลาดินและร็อก (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ลีอา ซาลองกา

ลอา ซาลองกา (Lea Salonga) เป็นนักร้องและนักแสดงชาวฟิลิปปินส์ มีชื่อเสียงจากการรับบทเป็น คิม หญิงสาวชาวเวียดนามจากละครเวทีเวสต์เอนด์ ของ คลอดด์-มิเชล โชนเบิร์ก, อัลเลน บูบลิล และ ริชาร์ด มอลต์บี เรื่อง มิสไซง่อน ในปี 1989 ซึ่งในเวลาต่อมา เธอได้รับบทเดียวกันนี้ในละครบรอดเวย์ที่นิวยอร์ก คู่กับโจนาทาน ไพรซ์ บทบาทในละครเวทีเรื่องนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลโทนี และรางวัลโอลิเวียร์ ซาลองกายังได้รับบทเป็น เอโปนีน และ ฟองตีน ในละครเวทีเรื่อง เหยื่ออธรรม (Les Misérables) ที่นิวยอร์ก ในปี 1993 โดยเป็นนักแสดงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับบทนี้ ต่อมาเธอได้ร่วมงานกับดิสนีย์ โดยพากย์เสียงและร้องเพลงนำในภาพยนตร์แอนิเมชันหลายเรื่อง ได้แก่ อะลาดิน (1992), มู่หลาน (1998) และ มู่หลาน 2 (2004).

ใหม่!!: อะลาดินและลีอา ซาลองกา · ดูเพิ่มเติม »

สีสันอะวอร์ดส์

รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สีสันอะวอร์ดส์ เป็นรางวัลทางด้านดนตรีซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารสีสัน ของคุณทิวา สาระจูฑะ โดยเริ่มมีการตัดสินจากผลงานเพลงไทยที่ออกในปี พ.ศ. 2531 ประกาศลงในนิตยสารสีสัน แล้วเชิญศิลปินผู้ได้รับโล่รางวัลมารับที่สำนักงานในช่วงต้นปี 2532 ถัดมาในปี 2532 เริ่มมีการจัดงานมอบรางวัลที่ห้องอาหาร Ana House ซอยสุขุมวิท 27 โดยครั้งนี้เริ่มมีสื่อมวลชนให้ความสนใจติดตามทำข่าวและสัมภาษณ์ศิลปินจำนวนหนึ่ง และในครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นที่ห้องอาหาร ร่องผัก ในซอยสุขุมวิท 23 สีสันอะวอร์ดส์ กลายเป็นรางวัลสาธารณะเมื่อครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2534 จัดที่โรงแรม Jade Pavillian ซอยสุขุมวิท 22 มีสื่อมวลชนหลายแขนงได้ส่งเจ้าหน้าที่มาทำข่าวเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ก่อนจะย้ายสถานที่มอบรางวัลไปโรงแรมต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับสำนักงานของนิตยสารสีสันในอีก 3-4 ครั้ง และย้ายไปที่ โรงแรมทาวน์อินทาวน์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีหลักเกณฑ์กติกาที่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของยุคสมัยอยู่เสมอ และพิจารณาผลงานอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นในงานมอบรางวัลยังเป็นการรวมศิลปินเพลงจากทุกสังกัด ทุกแนวดนตรี มาชุมนุมในที่เดียวกัน และบางครั้งจะขึ้นเวทีแสดงดนตรีร่วมกัน.

ใหม่!!: อะลาดินและสีสันอะวอร์ดส์ · ดูเพิ่มเติม »

อะกิระ คะมิยะ

อากิระ คามิยะ เป็นนักพากย์ชายชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2489 ที่เมืองโยโกฮามะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น สังกัดค่ายซาเอบะโชจิ (อดีตเคยสังกัด เธียเตอร์ เอคโค่ และ อาโอนิ โปรดักชัน) เริ่มเข้าวงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ผลงานการพากย์ที่โดดเด่นคือ เคนชิโร่ (ฤทธิ์หมัดดาวเหนือ), คินนิคุ ซุงุรุ (คินนิคุแมน), ซาเอบะ เรียว (ซิตี้ฮันเตอร์) และ โมริ โคโกโร่ (ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน).

ใหม่!!: อะลาดินและอะกิระ คะมิยะ · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับราตรี

อาหรับราตรี หรือพันหนึ่งราตรี (كِتَاب أَلْف لَيْلَة وَلَيْلَة, One Thousand and One Nights หรือ Arabian Nights) เป็นงานรวบรวมนิยายและนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางและเอเชียใต้ซึ่งรวบรวมไว้เป็นภาษาอังกฤษระหว่างยุคทองของอิสลาม ซึ่งฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรก (ค.ศ. 1706) ใช้ชื่อเรื่องว่า ความบันเทิงอาหรับราตรี (The Arabian Nights' Entertainment) งานดังกล่าวมีการรวบรวมเป็นเวลาหลายศตวรรษโดยมีผู้ประพันธ์ ผู้แปลและนักวิชาการต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันตก เอเชียกลางและเอเชียใต้และแอฟริกาเหนือ ตัวนิทานเองสืบย้อนไปถึงตำนานพื้นบ้านวรรณกรรมอาหรับ เปอร์เซีย เมโสโปเตเมีย อินเดียและอียิปต์โบราณและสมัยกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิทานหลายเรื่องเดิมเป็นนิยายพื้นบ้านจากสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์ ส่วนเรื่องอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบเรื่อง เป็นไปได้ว่าถูกดึงมาจากงานภาษาเปอร์เซียปาห์ลาวี Hazār Afsā (هزار افسان, ท. พันนิยาย) ซึ่งอิงส่วนของอินเดียบางส่วน บางเรื่องสัมพันธ์อย่างกว้างขวางมากกับอาหรับราตรี โดยเฉพาะ "ตะเกียงวิเศษของอะลาดิน" "อาลีบาบากับโจรสี่สิบคน" และ "การเดินทางเจ็ดเที่ยวของกะลาสีซินแบด" แม้ว่าแทบเป็นนิทานพื้นบ้านตะวันออกกลางของแท้ค่อนข้างแน่นอน แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของอาหรับราตรีในฉบับภาษาอาหรับดั้งเดิม แต่ถูกอ็องตวน ก็อลล็องและผู้แปลยุโรปคนอื่นเพิ่มเข้างาน.

ใหม่!!: อะลาดินและอาหรับราตรี · ดูเพิ่มเติม »

เมไจ อาละดินผจญภัย

มไจ อาละดินผจญภัย หรือ เมไจ เขียนและวาดภาพประกอบโดย ชิโนบุ โอตากะ ลงในนิตยสารโชเน็งซันเดย์ รายสัปดาห์ เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 3 มิถุนายน..

ใหม่!!: อะลาดินและเมไจ อาละดินผจญภัย · ดูเพิ่มเติม »

เจฟ เบนเนต

ฟ เกลน เบนเนต (Jeffrey Glenn Bennett หรือชื่อเดิม Jeffrey Glenn Bennett) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม, 2505 ที่เมืองเบอร์แบงก์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นนักพากย์ภาพยนตร์ การ์ตูน และเกม เรื่องที่พากย์ได้แก.

ใหม่!!: อะลาดินและเจฟ เบนเนต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aladdinอาละดิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »