โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ออกัสตินแห่งฮิปโป

ดัชนี ออกัสตินแห่งฮิปโป

นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Augustine of Hippo) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน..

57 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการชีวิตอารามวาสีชนเบอร์เบอร์ชเตฟันสโดมพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชการค้าประเวณีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)การนับระยะปลอดภัยกาลิเลโอ กาลิเลอีมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมารมาร์ติน ลูเทอร์ยาโกบ ยอร์ดานส์รายชื่อนักปรัชญาลิมฟาลูเครเชียศาสนาคริสต์ตะวันตกศิลปะคริสเตียนสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานีห้ามมีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเราห้ามลักขโมยห้ามล่วงประเวณีผัวเมียเขาห้ามทำรูปเคารพสำหรับตนห้ามฆ่าคนห้ามใช้พระนามพระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้าไปในทางที่ผิดห้ามเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้านห้าม​โลภ​อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญฌ็อง กาลแว็งจาโกโป ปอนตอร์โมจงระลึกถึงวันสะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้าทรรศนะคาทอลิกต่อบัญญัติสิบประการทอมัส อไควนัสทูตสวรรค์ความรักคุณธรรมหลักคณะออกัสติเนียนต้นสมัยกลางฉากประดับแท่นบูชาบารอนชีฉากแท่นบูชาเมรอดประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองปิตาจารย์แห่งคริสตจักรนักบุญเจอโรมนักพรตนักปราชญ์แห่งคริสตจักรแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี...โปรเตสแตนต์ไฟรเออร์เบนอซโซ กอซโซลีเอลเอสโกเรียลเอ็ดมันด์ เบิร์กเปาโลอัครทูต28 สิงหาคม ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและชีวิตอารามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

ชนเบอร์เบอร์

นเบอร์เบอร์ (Berber people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ของแอฟริกาเหนือทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ำไนล์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในบริเวณตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงโอเอซิสซิวา (Siwa oasis) ในอียิปต์ และจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงแม่น้ำไนเจอร์ ในประวัติศาสตร์ชนเบอร์เบอร์พูดภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก ในปัจจุบันชนเบอร์เบอร์บางกลุ่มพูดภาษาอาหรับ ชนเบอร์เบอร์ที่พูดภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ในบริเวณที่ว่านี้มีด้วยกันราว 30 ถึง 40 ล้านคนที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่ในบริเวณแอลจีเรียและโมร็อกโก และเบาบางลงไปทางตะวันออกไปทางมาเกรบ (Maghreb) และเลยไปจากนั้น บริเวณของชนเบอร์เบอร์ ชนเบอร์เบอร์เรียกตนเองด้วยชื่อต่าง ๆ ที่รวมทั้ง “Imazighen” (เอกพจน์ “Amazigh”) ที่อาจจะแปลว่า “ชนอิสระ” ตามความเห็นของนักการทูตและนักประพันธ์ชาวอาหรับเลโอ อาฟริคานัส “Amazigh” แปลว่า “คนอิสระ” แต่ความเห็นนี้ก็ยังเป็นที่โต้แย้งกันเพราะไม่มีรากของความหมายของ “M-Z-Gh” ที่แปลว่า “อิสระ” ในภาษากลุ่มเบอร์เบอร์สมัยใหม่ นอกจากนั้นก็ยังมีคำภาษา Tuareg “amajegh” ที่แปลว่า “ศักดิ์ศรี” (noble) คำเรียกนี้ใช้กันทั่วไปในโมร็อกโก แต่ในบริเวณอื่นในท้องถิ่นก็มีคำอื่นที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกเช่น “Kabyle” หรือ “Chaoui” ที่มักจะใช้กันมากกว่า ในประวัติศาสตร์ชนเบอร์เบอร์ก็รู้จักกันในชื่อต่างๆ เช่นในลิเบียโบราณโดยชาวกรีกโบราณ ว่า “นูมิเดียน” และ “มอเนเทเนีย” โดยโรมัน และ “มัวร์” โดยชายยุโรปในยุคกลาง ภาษาอังกฤษสมัยปัจจุบันอาจจะแผลงมาจากภาษาอิตาลีหรืออาหรับแต่รากที่ลึกไปกว่านั้นไม่เป็นที่ทราบ ชาวเบอร์เบอร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันก็ได้แก่นักประพันธ์ชาวโรมันอพูเลียส (Apuleius), จักรพรรดิโรมันเซ็พติมิอัส เซเวอรัส และ นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป ชาวเบอร์เบอร์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันคือดารานักฟุตบอลซีเนอดีน ซีดาน.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและชนเบอร์เบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชเตฟันสโดม

การขยายอาสนวิหารนักบุญสเทเฟน: The '''หอโรมันและประตูยักษ์''' จากซากไหม้ของโบสถ์แรกใช้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์'''โบสถ์ที่สอง''' สร้างแทนโบสถ์เดิม สี่สิบปีต่อมา ก็เริ่มก่อสร้าง '''Albertine Choir''' แบบกอธิค; ห้าสิบห้าปีหลังจากนั้นก็สร้าง '''ส่วนต่อเติมดยุกรูดอล์ฟที่ 4''' รอบบริเวณ '''โบสถ์ที่สอง''' ที่ต่อมาถูกรื้อทิ้ง เหลือโบสถ์ที่สามให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน อาสนวิหารนักบุญสเทเฟน หรือ ชเตฟันสโดม (Stephansdom, St.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในอัครมุขมณฑลเวียนนา และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ใจกลางกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ และ กอทิก ริเริ่มโดยรูดอล์ฟที่ 4 ดยุกแห่งออสเตรีย โบสถ์ปัจจุบันตั้งอยู่บนซากโบสถ์เดิมที่สร้างก่อนหน้านั้นสองโบสถ์ โบสถ์แรกเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชที่ได้รับการเสกในปี ค.ศ. 1147 อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเวียนนาที่เห็นได้อย่างเด่นชัดจากหลังคากระเบื้องหลากสี.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและชเตฟันสโดม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณี

ผู้หญิงขายบริการ ในสถานบริการแห่งหนึ่งในเยอรมนี การค้าประเวณี (prostitution) คือธุรกิจหรือวิธีปฏิบัติโดยการทำกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน ของ บริการ หรือประโยชน์แบบอื่นตามแต่ตกลง หญิงค้าประเวณีนั้นเรียก นครโสเภณี (prostitute) แปลว่า "หญิงงามเมือง" (โสเภณี แปลว่า หญิงงาม) และมักตัดไปเรียกว่า "โสเภณี" เฉย ๆ ส่วนภาษาถิ่นอีสานเรียก "หญิงแม่จ้าง" และภาษาปากเรียก "กะหรี่", "หญิงหากิน" หรือ "อีตัว" เป็นต้น สำนักของเหล่านครโสเภณีเรียก โรงนครโสเภณี, โรงหญิงนครโสเภณี หรือ ซ่องโสเภณี (bawdy house, brothel, disorderly house, house of ill fame หรือ house of prostitution).

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและการค้าประเวณี · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

การนับระยะปลอดภัย

การนับระยะปลอดภัย (Fertility awareness, FA) หรือที่มักถูกเรียกว่า หน้า 7 หลัง 7 หมายถึงแนวการปฏิบัติที่ถูกใช้เพื่อบอกภาวะเจริญพันธุ์ในรอบประจำเดือนผู้หญิง วิธีการนับระยะปลอดภัยอาจใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพื่อให้ตั้งครรภ์ หรือเพื่อเป็นวิธีประเมินสุขภาพทางนรีเวชวิทยา วิธีระบุวันที่ไม่เจริญพันธุ์ถูกใช้มาแต่โบราณ ทว่าความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ผ่านมาได้เพิ่มจำนวนและรูปแบบวิธี ระบบของการนับระยะปลอดภัยขึ้นอยู่กับการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นต้น (อุณหภูมิร่างกายขณะพัก มูกช่องคลอด และตำแหน่งปากมดลูก), การนับเวลารอบประจำเดือน และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อระบุช่วงเวลาเจริญพันธุ์ สัญญาณอื่นได้แก่อาการเต้านมคัดตึงและอาการปวดจากไข่ตก (mittelschmerz), การตรวจปัสสาวะโดยชุดทำนายการตกไข่, และตรวจน้ำลายหรือมูกช่องคลอดด้วยกล้องจุลทรรศน์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเฝ้าดูภาวะเจริญพันธุ์ด้วยคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและการนับระยะปลอดภัย · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Basilica di San Francesco d'Assisi; Basilica of St.) ตั้งอยู่ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกของคณะฟรันซิสกัน ซึ่งเป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก่อตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชั้นบนและชั้นล่างของมหาวิหารมองจากจัตุรัสเดลเลลอจเจ (Piazza delle Logge).

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

มาร

ที่พรรณาถึงลักษณะของมารดังที่พบเห็นใน''โคเด็กซ์ กิกาส'' มาร (Devil; διάβολος หรือ diávolos.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและมาร · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ติน ลูเทอร์

มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2088) เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์เรียกว่านิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและมาร์ติน ลูเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาโกบ ยอร์ดานส์

กบ ยอร์ดานส์ (Jacob Jordaens; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1593 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 1678) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยบาโรกแบบเฟลมิช คริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพประวัติศาสตร์ คริสต์ศาสนา ภาพเหมือน และการออกแบบพรมทอแขวนผนัง ยาโกบ ยอร์ดานส์, เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ และอันโตนี ฟัน ไดก์ เป็นจิตรกรสามคนที่นำความมีหน้ามีตามาสู่ตระกูลการเขียนภาพแบบแอนต์เวิร์ป (Antwerp school) ยอร์ดานส์เป็นจิตรกรในหมู่น้อยที่มิได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาการเขียนภาพแบบอิตาลี และความก้าวหน้าทางอาชีพของยอร์ดานส์ก็มิได้มีอยู่ความสนใจในราชสำนักหรือความก้าวหน้าในราชสำนักd'Hulst, pp.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและยาโกบ ยอร์ดานส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนักปรัชญา

# กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ (Gottfreid W. Leibniz).

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและรายชื่อนักปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ลิมฟา

ลิมฟา (Lympha, พหูพจน์ Lymphae) เป็นเทวภาพของน้ำบริสุทธิ์ในศาสนาโรมันโบราณ โดยเป็นหนึ่งในสิบสองเทพเกษตรกรรม ซึ่งมาร์คัส เทเรนชีอัส วาร์โร นักปราชญ์โรมัน ได้บันทึกไว้ว่าทรงเป็น "ผู้นำ" (duces) ของเกษตรกรโรมัน เนื่องจาก "หากปราศจากน้ำแล้ว การเพาะปลูกทั้งหลายก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความแห้งแล้งและอัตคัด" บ่อยครั้ง ลิมฟามักจะเชื่อมโยงกับฟอนตัส เทพเจ้าแห่งน้ำพุและแหล่งต้นน้ำ ลิมฟาเป็นตัวแทนของ "การสนใจการนำไปใช้ประโยชน์" ของน้ำบริสุทธิ์ ตามกรอบความคิดการศึกษาเทพเจ้าโรมันของไมเคิล ลิปกา หรืออาจหมายถึงความชื้นโดยรวม ลิมฟาอาจเทียบกับกับนิมฟ์ตามเทพปกรณัมกรีก แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ทั้งหมด ข้อแตกต่างระหว่างลิมฟาและนิมพ์คือ การอุทิศให้กับการฟื้นฟูทรัพยากรน้ำเป็น "กาารอุทิศเพื่อนิมฟ์และยกย่องลิมฟา" ในบทกวี ลิมฟาเป็นสามานยนาม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักใช้ในรูปพหูพจน์ แต่ก็อาจพบใช้ในรูปเอกพจน์บ้างเช่นกัน โดยมีความหมายถึงแหล่งน้ำบริสุทธิ์ หรืออาจหมายถึง "น้ำ" อย่างง่าย ๆ ลิมฟาเป็นเทพที่เหมาะสมสำหรับบวงสรวงบูชาสำหรับการรักษาแหล่งน้ำ ในวิธีเดียวกับที่เทพลิเบอร์ทรงจัดหาไวน์หรือขนมปังเซเร.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและลิมฟา · ดูเพิ่มเติม »

ลูเครเชีย

“ลูเครเชีย” โดยอันเดรีย คาซาลิ “ทาร์ควิเนียสและลูเครเชีย” โดยทิเชียน ลูเครเชีย (ภาษาอังกฤษ: Lucretia) เป็นบุคคลในตำนานในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐโรมัน สามีของลูเครเชียคือลูเชียส ทาร์ควิเนียส โคลลาทินัส (Lucius Tarquinius Collatinus) พ่อคือสเปอเรียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Spurius Lucretius Tricipitinus) และพี่ชายพูเบียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Publius Lucretius Tricipitinus) ตามตำนานของโรมการข่มขืนของลูเครเชียและการฆ่าตัวตายที่ตามมาเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการล้มราชบัลลังก์ของโรมและการก่อตั้งโรมเป็นสาธารณรัฐ ตามคำกล่าวของ ลิวี (Livy) นักประวัติศาสตร์โรมันแล้ว กษัตริย์แห่งโรมมีโอรสชื่อเซ็กซทัส ทาร์ควิเนียส (Sextus Tarquinius) ผู้มีนิสัยดุร้าย ผู้เป็นผู้ข่มขืนสตรีในครอบครัวขุนนางชื่อนางลูเครเชียในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช เซ็กซทัสขู่ลูเครเชียว่าจะฆ่าถ้าไม่ยอมให้ข่มขืน และจะนำร่างที่เปลือยเปล่าของลูเครเชียไปวางเคียงข้างกับทาส เพราะการเป็นนัยว่ามีความสัมพันธ์กับชนชั้นที่ต่ำกว่าถือว่าเป็นสิ่งที่น่าอับอายเป็นอันมาก ลูเครเชียจึงต้องจำยอม หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลูเครเชียก็เรียกพี่น้องมารวมกัน และเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นลูเครเชียก็ฆ่าตัวตาย ครอบครัวของลูเครเชียมาพบร่างของลูเครเชียปักด้วยมีดที่หน้าอก.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและลูเครเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันตก

นาคริสต์ตะวันตกหมายถึงกลุ่มคริสตจักรโรมันคาทอลิก คริสตจักรแองกลิคัน และคริสตจักรฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีคุณสมบัติร่วมกันย้อนได้ถึงสมัยกลาง คำนี้ใช้เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกับศาสนาคริสต์ตะวันออก ศาสนาคริสต์ตะวันตกส่วนใหญ่แล้วพบได้ในทวีปยุโรปตะวันตก สแกนดิเนเวีย ยุโรปกลาง ยุโรปใต้ บางส่วนของยุโรปตะวันออก แอฟริกาเหนือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และออสเตรเลีย รวมเป็น 90% ของประชาคมชาวคริสต์ทั่วโลก คริสตจักรโรมันคาทอลิกเองมีผู้นับถือมากกว่าครึ่งหนึ่ง.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและศาสนาคริสต์ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

มเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Benedictus XVI, Benedict XVI) พระสันตะปาปากิตติคุณ อดีตประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นชาวเยอรมัน มีพระนามเดิมว่า โยเซฟ รัทซิงเงอร์ (Joseph Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927).

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1

มเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 หรือ นักบุญเกรกอรีผู้ยิ่งใหญ่ (Gregory I หรือ Saint Gregory I the Great) ประสูติราวปึ ค.ศ. 540 และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 604 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 590 ถึง..

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี

หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (ราว ค.ศ. 1908) หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany.) (18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 - 17 มกราคม ค.ศ. 1933) เป็นศิลปินผู้ออกแบบและสร้างงานกระจกสีผู้มีความสำคัญของประเทศสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีบทบาทในขบวนการอาร์ตนูโวและสุนทรียนิยม (Aestheticism) ทิฟฟานีมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ออกแบบที่มีชื่อเสียงที่เรียกตนเองว่า “Associated Artists” ซึ่งในจำนวนสมาชิกก็มี ล็อกวูด เดอฟอเรสท์, แคนเดส วีลเลอร์ และแซมมูเอล โคลแมน ทิฟฟานีออกแบบหน้าต่างประดับกระจกสี, โคมตะเกียง, แก้วโมเสก, แก้วเป่า, เซรามิค, เครื่องเพชรพลอย, เครื่องเคลือบ และงานโลห.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและหลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี · ดูเพิ่มเติม »

ห้ามมีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา

ห้ามมีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา หรือ จงนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าองค์เดียวของท่าน (Thou shalt have no other gods before me) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 1 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบไฟโล แบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก แบบลูเทอแรน และแบบคริสตจักรปฏิรูป และเป็นบัญญัติข้อที่ 2 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบทาลมุด บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:3 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:7 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้ามมีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา · ดูเพิ่มเติม »

ห้ามลักขโมย

ห้ามลักขโมย หรือ อย่าลักขโมย (Thou shalt not steal) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 7 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 8 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบไฟโล แบบทาลมุด และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:15 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:19 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้ามลักขโมย · ดูเพิ่มเติม »

ห้ามล่วงประเวณีผัวเมียเขา

ห้ามล่วงประเวณีผัวเมียเขา หรือ อย่าผิดประเวณี (Thou shalt not commit adultery) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 6 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบไฟโล แบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 7 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบทาลมุด และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:14 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:18 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้ามล่วงประเวณีผัวเมียเขา · ดูเพิ่มเติม »

ห้ามทำรูปเคารพสำหรับตน

ห้ามทำรูปเคารพสำหรับตน (Thou shalt not make unto thee any graven image) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 1 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป และแบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และเป็นบัญญัติข้อที่ 2 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบทาลมุด แบบไฟโล และแบบคริสตจักรปฏิรูป ส่วนแบบลูเทอแรนไม่ได้ระบุข้อนี้ไว้ในพระบัญญัติข้อใด บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:4-6 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:8-10 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้ามทำรูปเคารพสำหรับตน · ดูเพิ่มเติม »

ห้ามฆ่าคน

ห้ามฆ่าคน หรือ อย่าฆ่าคน (Thou shalt not kill) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 5 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 6 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบทาลมุด และแบบคริสตจักรปฏิรูป และเป็นบัญญัติข้อที่ 7 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบไฟโล บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:13 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:17 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้ามฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

ห้ามใช้พระนามพระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้าไปในทางที่ผิด

ห้ามใช้พระนามพระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้าไปในทางที่ผิด หรือ อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ (Thou shalt not take the name of the Lord thy God in vain (KJV); You shall not make wrongful use of the name of the Lord your God (NRSV)) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 2 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 3 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบทาลมุด แบบไฟโล และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:7 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:11 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้ามใช้พระนามพระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้าไปในทางที่ผิด · ดูเพิ่มเติม »

ห้ามเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน

ห้ามเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน หรือ อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น (Thou shalt not bear false witness against thy neighbour) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 8 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 9 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบไฟโล แบบทาลมุด และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:16 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:20 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้ามเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเพื่อนบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

ห้าม​โลภ​

ห้าม​โลภ​ หรือ อย่าปลงใจผิดประเวณี อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น (Thou shalt not covet) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 9,10 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 10 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบไฟโล แบบทาลมุด และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:17 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:21 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและห้าม​โลภ​ · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ

ระมหากษัตริย์เป็นผลสำเร็จ • ล่าง: จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ลงชื่อในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาท่ามกลางสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ..

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง กาลแว็ง

็อง กาลแว็ง (Jean Calvin) หรือจอห์น คาลวิน (John Calvin) เป็นนักเทววิทยาศาสนาคริสต์และศิษยาภิบาลชาวฝรั่งเศสสมัยการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ แนวคิดทางเทววิทยาที่กาลแว็งพัฒนาขึ้นเรียกว่าลัทธิคาลวิน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหลายนิกาย เช่น คริสตจักรปฏิรูป คริสตจักรคองกริเกชันแนล เพรสไบทีเรียน เป็นต้น เดิมกาลแว็งเป็นนักกฎหมายที่มีแนวคิดแบบมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และได้ถอนตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและฌ็อง กาลแว็ง · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโป ปอนตอร์โม

“จาโคโป ปอนตอร์โม” จากหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” โดย จอร์โจ วาซารี พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญ แคพโพนีชาเปล, ซานตาเฟลิชิตา, ฟลอเรนซ์, อิตาลี แคพโพนีชาเปล, ซานตาเฟลิชิตา, ฟลอเรนซ์, อิตาลี โจเซฟในอียิปต์ (รายละเอียด) นักบุญแอนโทนี แอ็บบ็อท พระแม่มารีและนักบุญอลิสซาเบ็ธ นักบุญเควนแต็ง ภาพเหมือนของชายหนุ่ม จาโคโป ปอนตอร์โม หรือ ปอนตอร์โม (Jacopo Pontormo หรือ Jacopo da Pontormo หรือ Pontormo) (24 พฤษภาคม ค.ศ. 1494 - 2 มกราคม ค.ศ. 1557) เป็นจิตรกรสมัยแมนเนอริสม์ตระกูลฟลอเรนซ์คนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการเขียนภาพเหมือน ปอนตอร์โมมีชื่อเสียงในการวางตัวแบบเอี้ยวตัว, การบิดเบือนทัศนียภาพ, การใช้สีที่ไม่ใช่ธรรมชาติซึ่งมาจากความเป็นคนที่อยู่นิ่งไม่ได้และเป็นคนมีอารมณ์ที่ทำนายไม่ได้.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและจาโกโป ปอนตอร์โม · ดูเพิ่มเติม »

จงระลึกถึงวันสะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์

งระลึกถึงวันสะบาโต ถือ​เป็น​วัน‍บริ‌สุทธิ์ หรือ อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ (Remember the sabbath day, to keep it holy) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 3 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 4 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบทาลมุด แบบไฟโล และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:8-11 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:12-15 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและจงระลึกถึงวันสะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จงให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า

งให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า หรือ จงนับถือบิดามารดา (Honour thy father and thy mother) เป็นหนึ่งในข้อบทบัญญัติสิบประการ ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ประทานให้กับชนชาติอิสราเอลผ่านทางโมเสส ซึ่งเป็นบัญญัติข้อที่ 4 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบออกัสตินแห่งฮิปโป แบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก และแบบลูเทอแรน และเป็นบัญญัติข้อที่ 5 ของการจัดรูปแบบพระบัญญัติแบบเซปตัวจินต์ แบบทาลมุด แบบไฟโล และแบบคริสตจักรปฏิรูป บัญญัติข้อนี้มีบันทึกในหนังสืออพยพ 20:12 และหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ 5:16 ในคัมภีร์ฮีบรูหมวดโทราห์ของศาสนายูดาห์ และในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและจงให้เกียรติแก่บิดามารดาของเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรรศนะคาทอลิกต่อบัญญัติสิบประการ

ทรรศนะคาทอลิกต่อบัญญัติสิบประการ (Catholic doctrine regarding the Ten Commandments) เป็นการกำหนดบัญญัติสิบประการโดยพระสันตปาปา เพื่อเป็นแนวทางให้กับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก โดยการกำหนดรูปแบบข้อบัญญัตินี้เรียกว่า คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งถือตามฉบับนักบุญออกัสติน ใช้ในนิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและทรรศนะคาทอลิกต่อบัญญัติสิบประการ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส อไควนัส

นักบุญทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas (ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและทอมัส อไควนัส · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ความรัก

วาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต ความรัก (Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้าOxford Illustrated American Dictionary (1998) + Merriam-Webster Collegiate Dictionary (2000) ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา (J. Mascaró, translator) ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์Helen Fisher.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและความรัก · ดูเพิ่มเติม »

คุณธรรมหลัก

ณธรรมหลัก (cardinal virtues) หมายถึง คุณธรรมขึ้นพื้นฐาน 4 ประการ ซึ่งเป็นแม่บทของคุณธรรมอื่น ๆ พบในงานเขียนสมัยคลาสสิก ต่อมาศาสนาคริสต์ได้เพิ่มคุณธรรมทางเทววิทยาอีก 3 ประการ จึงรวมเป็น 7 คุณธรรมหลัก 4 ประการ ประกอบด้วย.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและคุณธรรมหลัก · ดูเพิ่มเติม »

คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและคณะออกัสติเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี

ฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี (Baronci altarpiece) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันที่เขียนโดยราฟาเอลจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีสมัยเรอเนซองส์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซิวิคา โทซิโอ มาร์ติเน็นยาที่เบรสเชียในประเทศอิตาลี ราฟาเอลเขียนภาพ “ฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี” ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึงปี ค.ศ. 1501 เป็นงานชิ้นแรกที่มีหลักฐานการจ้างสำหรับเป็นฉากประดับแท่นบูชาในโบสถ์น้อยบารอนชี ในโบสถ์ซานอากอสติโน ที่ซิตาดิคาสเตลโลใกล้เมืองอูร์บีโน ฉากประดับแท่นบูชาได้รับความเสียหายอย่างหนักระหว่างแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1789 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1849 ส่วนต่างที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็ถูกแบ่งแยกกันไปเป็นของเจ้าของหลายคน.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย "โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย" "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและฉากแท่นบูชาเมรอด · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์ และปรัชญาการเมือง.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร (Church Fathers, Fathers of the Church) ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรยุคแรก (Early Church Fathers) หรือ ปิตาจารย์ศาสนาคริสต์ (Christian Fathers) คือนักเทววิทยาที่มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ปิตาจารย์เหล่านี้มักเป็นอาจารย์หรือมุขนายกที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น งานเขียนของปิตาจารย์ถือเป็นบรรทัดฐานความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนในศตวรรษต่อ ๆ มา ปิตาจารย์บางคนอาจไม่ใช่นักบุญ ไม่ได้รับศีลอนุกรม แต่ส่วนมากก็ได้รับความเคารพจากคริสตจักรต่าง ๆ ทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และลูเทอแรน ออริเจนและเทอร์ทิวเลียนเป็นสองปิตาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็ไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรคาทอลิก ออริเจนแม้จะมีอิทธิพลมากในศาสนาคริสต์ตะวันออก แต่เนื่องจากเขาเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีต ส่วนเทอร์ทิวเลียนตอนแรกเป็นที่ยอมรับในคริสตจักรเพราะสนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพนิยม แต่ต่อมาได้รับแนวคิดของลัทธิมอนทานิสต์จึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีตเช่นกันTabbernee, Prophets and Gravestones, p. 98 note 1.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและปิตาจารย์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเจอโรม

นักบุญเจอโรม หรือ นักบุญเยโรม (Jerome; Eusebius Sophronius Hieronymus; Ευσέβιος Σωφρόνιος Ιερώνυμος) เป็นบาทหลวงชาวโรมัน เกิดเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและนักบุญเจอโรม · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและนักพรต · ดูเพิ่มเติม »

นักปราชญ์แห่งคริสตจักร

นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา กับหนังสือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมกันในการแสดงรูปของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักปราชญ์แห่งคริสตจักร (Doctor of the Church; Doctor Ecclesiae) (คำว่า “docere” หรือ “doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน”) เป็นตำแหน่งที่คริสตจักรแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญด้านคำสอนหรือเทววิทยาศาสนาคริสต์เป็นพิเศษ.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี (Très Riches Heures du Duc de Berry หรือ Très Riches Heures - หอสมุดแห่งพระราชวังชองตีย์, ชองตีย์, ฝรั่งเศส) เป็นชื่อหนังสือกำหนดเทศกาลที่ตกแต่งอย่างงดงาม เนื้อหาของหนังสือรวมบทสวดมนต์สำหรับสวดตามเวลาที่ระบุไว้ในบทบัญญัติทางศาสนา “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” ที่ว่าจ้างให้เขียนโดยฌองดยุกแห่งแบร์รีเมื่อราว ค.ศ. 1410 อาจจะถือกันว่าเป็นหนังสือวิจิตรฉบับที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 15 -- “le roi des manuscrits enluminés” (ราชาแห่งหนังสือวิจิตร) “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” มีด้วยกัน 416 หน้าที่ 131 เป็นจุลจิตรกรรมขนาดใหญ่ และหน้าที่มีการตกแต่งขอบหรืออักษรตัวต้นประดิษฐ์อย่างงดงามอีกหลายหน้า แม้ว่าจะเป็นงานขนาดเล็กแต่ก็ถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของศิลปะกอธิคนานาชาติ อักษรประดิษฐ์มีด้วยกันทั้งสิ้น 300 ตัว หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้เวลาเขียนอยู่เกือบหนึ่งร้อยปี ในสามช่วงสำคัญๆ ที่นำโดยพี่น้องลิมบวร์ก, บาเธเลมี ฟาน เอค และฌอง โคลอมบ์ งานของพี่น้องลิมบวร์กเป็นงานที่มีฝีแปรงอันละเอียด และใช้สีที่มีราคาสูงในการเขียน.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรเออร์

ฟรเออร์คณะออกัสติเนียนรีคอลเลกต์ ไฟรเออร์ (Friar) เป็นนักบวชคาทอลิกประเภทหนึ่ง ซึ่งสังกัดคณะนักบวชภิกขาจาร คำว่า ไฟรเออร์ มาจากภาษาอังกฤษ Friar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส frère และภาษาละติน frater แปลว่า ภราดา (พี่น้องชาย) เป็นคำที่คริสตชนยุคแรกใช้เรียกกันภายในกลุ่มเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีจึงนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อคณะนักบวชที่ตนเองก่อตั้งขึ้น ว่า Ordo Fratrum Minorum (ในประเทศไทยแปลกันว่า คณะภราดาน้อย) ต่อมาคำว่าไฟรเออร์จึงแพร่หลายไปใช้กับคณะนักบวชอื่น ๆ (เฉพาะบางคณะ).

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและไฟรเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบนอซโซ กอซโซลี

นนอซโซ กอซโซลิ (Benozzo Gozzoli ชื่อเมื่อแรกเกิด: Benozzo di Lese, ราว ค.ศ. 1421 - ค.ศ. 1497) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลีจากฟลอเรนซ์ ของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง งานของกอซโซลิที่สุดคือจิตรกรรมฝาผนังภายในวังเมดิชิ (Palazzo Medici) ซึ่งแสดงขบวนที่หรูหราที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและมีอิทธิพลจากศิลปะกอธิคนานาชาติ (International Gothic).

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและเบนอซโซ กอซโซลี · ดูเพิ่มเติม »

เอลเอสโกเรียล

ระราชฐานซานโลเรนโซเดเอลเอสโกเรียล (Real Sitio de San Lorenzo de El Escorial) หรือเรียกอย่างย่อว่า เอลเอสโกเรียล ในอดีตเป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งสเปน สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ เริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและเอลเอสโกเรียล · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์ เบิร์ก

อ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นรัฐบุรุษชาวไอร์แลนด์ และยังเป็นทั้งนักปรัชญา, นักปราศรัย, นักทฤษฏีการเมือง และเป็นนักการเมืองอังกฤษสังกัดพรรควิกโดยเป็นสมาชิกสภาสามัญชน เขาเป็นที่รู้จักจากการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา, การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก, การฟ้องร้องข้าหลวงวอร์เรน ฮาสติงส์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก และภายหลังจากการไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขาผันตัวไปเป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมในพรรควิกซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งตัวเขาเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม "วิกเก่า" (Old Whigs) ซึ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกับฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่ากลุ่ม "วิกใหม่" (New Whigs) ที่นำโดยชาร์ล เจมส์ ฟ็อกซ์ เบิร์กเชื่อว่าเสรีภาพและจารีตประเพณีสามารถไปด้วยกันได้ ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งถึงขั้นนองเลือดหรือสถาปนาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอยชัดเจน การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นเขาจึงเชื่อมั่นในวิถีแห่งการประนีประนอมมากกว่าการห้ำหั่นเอาชนะ ในขณะที่เขาต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสเขากลับสนับสนุนการปลดแอกของอเมริกาจากอังกฤษ เขาให้เหตุผลว่าเนื่องจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาเสรีภาพและความเท่าเทียมตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการยุยงโดยชนชั้นนำซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปซึ่งการปกครองในระบอบเผด็จการที่เลวร้ายกว่าเดิม ในศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขาเสียชีวิตกว่าร้อยปีแล้ว เขากลายมาเป็นว่าได้รับการนับถืออย่างมากในฐานะนักปรัชญาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและเอ็ดมันด์ เบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

28 สิงหาคม

วันที่ 28 สิงหาคม เป็นวันที่ 240 ของปี (วันที่ 241 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 125 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ออกัสตินแห่งฮิปโปและ28 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Augustine of HippoSt. Augustine of Hippoนักบุญออกัสตินนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »