สารบัญ
3 ความสัมพันธ์: รางวัลโนเบลสาขาเคมีเลโอโปลด์ รูซิคกาเทสโทสเตอโรน
รางวัลโนเบลสาขาเคมี
หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..
ดู อดอล์ฟ บูเทนันต์และรางวัลโนเบลสาขาเคมี
เลโอโปลด์ รูซิคกา
ลโอโปลด์ รูซิคกา (Leopold Ružička; 13 กันยายน ค.ศ. 1887 – 26 กันยายน ค.ศ. 1976) เป็นนักชีวเคมีชาวโครเอเชีย/สวิส เกิดที่เมืองวูคอวาร์ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศโครเอเชีย) มีชื่อเกิดว่าลาโวสลาฟ สเตปัน รูซิคกา (Lavoslav Stjepan Ružička) เป็นบุตรของสเตปัน รูซิคกาและลูบิกา เซเวอร์ เรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนในเมืองโอซีเยกโดยเขาตั้งใจจะเป็นพระ แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียนวิชาเคมี รูซิคกาเรียนต่อที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรูเออ หลังเรียนจบ รูซิคกาทำงานเป็นผู้ช่วยแฮร์มันน์ สเตาดิงเงอร์ อาจารย์ของเขาที่เมืองซูริก รูซิคกาศึกษาสารธรรมชาติหลายชนิดและสนใจในด้านอุตสาหกรรมน้ำหอม ในปี..
ดู อดอล์ฟ บูเทนันต์และเลโอโปลด์ รูซิคกา
เทสโทสเตอโรน
ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.
ดู อดอล์ฟ บูเทนันต์และเทสโทสเตอโรน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Adolf Butenandt