โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

องค์การการค้าโลก

ดัชนี องค์การการค้าโลก

องค์การการค้าโลก (World Trade Organization, WTO) เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 164 ประเทศและดินแดน องค์การการค้าโลกมีงบประมาณปี..

71 ความสัมพันธ์: ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งชุติมา บุณยประภัศรพ.ศ. 2542พ.ศ. 2544พ.ศ. 2545พ.ศ. 2550พรรคมหาชนพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดกร ทัพพะรังสีกรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปการละเมิดลิขสิทธิ์การทุ่มตลาดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะการค้าโดยชอบธรรมการประชุมสุดยอดจี 8 ครั้งที่ 36กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548มาตรการบังคับใช้สิทธิมาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกรมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกีมีนาคม พ.ศ. 2548รอเบิร์ต พีลรายชื่อสนธิสัญญารายชื่อประเทศเรียงตามการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อหัวศุภชัย พานิชภักดิ์สหภาพยุโรปสหราชอาณาจักรสิทธิบัตรยาสงครามกัมพูชา–เวียดนามอภิรดี ตันตราภรณ์อาหารอู๋ อี๋องค์การระหว่างประเทศอนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์กฮ่องกงจอร์จ ดับเบิลยู. บุชทรัพย์สินทางปัญญาข้อตกลงรวมบาหลีข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมดอน ปรมัตถ์วินัยความสัมพันธ์กับต่างประเทศของลาวความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทยความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59คณะผู้แทนทางทูตของประเทศไทยประเทศฟิลิปปินส์ประเทศรัสเซียประเทศออสเตรเลียประเทศจีนประเทศจีนใน ค.ศ. 2001ประเทศโอมาน...ประเทศไต้หวันประเทศเวียดนามประเทศเนเธอร์แลนด์ใจ อึ๊งภากรณ์โรงเรียนเซนต์คาเบรียลโลกาภิวัตน์โลกที่หนึ่งเบียร์ชิงเต่าเฟเลติ เซเวเลเกริกไกร จีระแพทย์เศรษฐกิจญี่ปุ่นเศรษฐกิจจีนเศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจเยอรมนีเส้นทางการค้าเซ็กซ์ทัวร์เด็ก1 มกราคม11 ธันวาคม13 พฤศจิกายน28 พฤศจิกายน30 พฤศจิกายน ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง

ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most favoured nation; ตัวย่อ: MFN) เป็นสถานะซึ่งชาติหนึ่งให้แก่อีกชาติหนึ่งในการค้าระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าคำ ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง จะฟังดูขัดแย้งก็ตาม เนื่องจากคำดังกล่าวหมายความว่า ชาติที่ได้รับสถานะดังกล่าวจะได้ข้อได้เปรียบทางการค้าทั้งหมดมากกว่าชาติอื่น เช่น อัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำ ในทางปฏิบัติแล้ว ชาติที่ได้รับสถานะชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งจะไม่ถูกปฏิบัติในระดับต่ำกว่าชาติอื่นซึ่งไม่ได้รับ สมาชิกขององค์การการค้าโลกจะปฏิบัติต่อสมาชิกอื่นในฐานะคู่ค้าที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งทั้งสิ้น สมาชิกขององค์การการค้าโลก ซึ่งรวมถึงประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด จะต้องสมัครใจมอบสถานะดังกล่าวให้แก่กัน โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เขตการค้าเสรีในภูมิภาค และสหภาพการค้า ร่วมกับหลักการว่าด้วยการทำสนธิสัญญา หลักการว่าด้วยชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งเป็นหลักการสำคัญหนึ่งในกฎหมายการค้าองค์การการค้าโลก หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ หมวดหมู่:กฎหมายระหว่างประเทศ.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ชุติมา บุณยประภัศร

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอดีตคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและชุติมา บุณยประภัศร · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคมหาชน

รรคมหาชน (Mahachon Party ตัวย่อ: MCP. พมช.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยใช้ชื่อว่า "พรรคราษฎร" และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพรรคมหาชน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกมากเป็นลำดับที่ 2 รองจากพรรคประชาธิปัตย์ มีจำนวนสมาชิกกว่า 1.18 ล้านคน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและพรรคมหาชน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด

''พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด'' ฉบับตีพิมพ์ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary; OED) เป็นพจนานุกรม ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ปกติถือเป็นพจนานุกรมภาษาอังกฤษเชิงวิชาการและละเอียดที่สุด โดยมีรายการหลักประมาณ 301,100 รายการ (สถิติล่าสุด 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) และมีตัวอักษรทั้งหมดมากกว่า 350 ล้านตัว นอกจากคำหลักของรายการหลักแล้ว ยังมีคำประสม และคำแผลงพิมพ์ตัวหนา 157,000 คำ ขณะที่มีวลีและวลีย่อยพิมพ์ตัวหนา 169,000 รายการ ทำให้มีลูกคำทั้งหมด 616,500 คำ นอกจากนี้ยังมีการเขียนคำอ่าน 137,000 คำ, รากศัพท์หรือที่มา 249,300 คำ ศัพท์เชื่อมโยง (cross-references) 577,000 มีจำนวนหน้า 21,730 หน้า และรายการศัพท์ทั้งหมด 291,500 รายการ นโยบายของพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือ พยายามที่จะบันทึกการใช้งานและลักษณะแปรผันทั้งหมดเท่าที่ทราบ ในทุกลักษณะของปลีกย่อยของภาษาอังกฤษ ที่ใช้กันทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่วนหนึ่งของคำนำฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1933 มีดังนี้ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด คือจุดเริ่มต้นของงานที่เน้นวิชาการที่เข้มข้น ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การเลือกลำดับในการสะกดแบบต่างๆ ของคำหลักนั้น มีอิทธิพลต่อการเขียนภาษาอังกฤษในหลายประเท.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

กร ทัพพะรังสี

นายกร ทัพพะรังสี (14 กันยายน 2488 -) นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาราช อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เป็นบุตรของ นายอรุณ ทัพพะรังสี (บุตร พระยานราธรหิรัญรัฐ กับคุณหญิงหวาน) และ นางพร้อม ทัพพะรังสี (สกุลเดิม "ชุณหะวัณ" เป็นบุตรีของจอมพลผิน ชุณหะวัณ) เนื่องจากสืบเชื้อสายจากนักการเมืองซอยราชครู ทำให้ได้รับการขนานนามให้เป็น “ทายาทราชครู รุ่นที่ 3” ด้านครอบครัวสมรส กับ ระพีพรรณ ทัพพะรังสี มีบุตรชื่อ กฤตพณ ทัพพะรังสี และ กมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี โดย กมลสุทธิ์ ทัพพะรังสี บุตรชายสมรสกับ อุษณา มหากิจศิริ บุตรสาว ประยุทธ มหากิจศิริ ในปี..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและกร ทัพพะรังสี · ดูเพิ่มเติม »

กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป

กรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (พีทีอี) จำกัด (เทมาเส็ก) หรือ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ จำนวน 1,487,740,000 หุ้น (49.595% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท ซึ่งเป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศไทย ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมไท.ต.ท. ทักษิณ ชี้แจงว่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดที่ทำให้ การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขยายตัวออกไปในวงกว้าง ซึ่งนำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรในที่สุด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและกรณีตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป · ดูเพิ่มเติม »

การละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ ปกติแล้วผลงานใดๆ อาทิ สิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์โดยปริยาย การนำผลงานมาใช้อาจมีเงื่อนไขบางประการเรียกว่าสัญญาอนุญาต ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของผลงานหรือกำหนดตามกฎหมาย เมื่อไม่ทำตามเงื่อนไขจึงละเมิดลิขสิทธิ์ สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สนธิสัญญากรุงแบร์น (Berne three-step test) สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty) และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty) นอกจากสนธิสัญญาแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้การคุ้มครองเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และกรมทรัพย์สินทางปัญญ.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและการละเมิดลิขสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

การทุ่มตลาด

การทุ่มตลาด (dumping) ในทางเศรษฐศาสตร์ คือการกำหนดราคาเพื่อขจัดคู่แข่งขันรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทการค้าระหว่างประเทศ การทุ่มตลาดเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตส่งผลิตภัณฑ์ออกไปยังอีกประเทศหนึ่งที่ราคาต่ำกว่าราคาที่ตั้งในตลาดในประเทศ หรือในปริมาณที่ไม่สามารถอธิบายได้ในการแข่งขันตลาดตามปกติ นิยามทางเทคนิคมาตรฐานของการทุ่มตลาด คือ การที่กำหนดราคาสินค้าชนิดหนึ่งในตลาดต่างประเทศต่ำกว่าราคาสินค้าชนิดเดียวกันที่ตั้งในตลาดในประเทศเพื่อการบริโภคของผู้ส่งออก มักเรียกว่า ขายน้อยกว่า "มูลค่าปกติ" ในการค้าระดับเดียวกันในทางการค้าปกติ ภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลก การทุ่มตลาดถูกประณาม (แต่ไม่ถูกห้าม) หากกระทำหรือคุกคามจะก่อความเสียหายอย่างสำคัญต่ออุตสาหกรรมในประเทศในประเทศผู้นำเข้า คำว่า การทุ่มตลาด มีความหมายโดยนัยเชิงลบ เพาะผู้สนับสนุนตลาดแข่งขันมองการทุ่มตลาดว่าเป็นลัทธิคุ้มครองรูปแบบหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้สนับสนุนกรรมกรและผู้ใช้แรงงานเชื่อว่า การปกป้องธุรกิจจากพฤติกรรมการขจัดการแข่งขัน เช่น การทุ่มตลาด ช่วยบรรเทาผลร้ายแรงบางประการของพฤติการณ์เช่นนั้นระหว่างเศรษฐกิจที่ขั้นการพัฒนาต่าง ๆ กัน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและการทุ่มตลาด · ดูเพิ่มเติม »

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับสนองพระบรมราชโองการเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ การศึกษาไร้พรมแดน เพื่อพลเมืองและผู้นำโลกในอนาคต พร้อมฟังการอภิปราย และถามคำถาม ในงานนิทรรศการศึกษาต่อสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 ในวันพุธที่ 17 ธันวาคม..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ · ดูเพิ่มเติม »

การค้าโดยชอบธรรม

การค้าที่เป็นธรรม, การค้าโดยชอบธรรม หรือ แฟร์เทรด (fair trade) เป็นการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ความยุติธรรมในการค้า สนับสนุนมาตรฐานสากลในเรื่อง แรงงาน สิ่งแวดล้อม และสังคม สำหรับสินค้าและบริการ โดยเฉพาะที่ส่งออกมาจากประเทศโลกที่สามและโลกที่สอง ไปยังประเทศโลกที่หนึ่ง.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและการค้าโดยชอบธรรม · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมสุดยอดจี 8 ครั้งที่ 36

การประชุมสุดยอดจี 8 ครั้งที่ 36 จัดขึ้นในฮันท์วิลล์ รัฐออนแทริโอAndreatta, David.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและการประชุมสุดยอดจี 8 ครั้งที่ 36 · ดูเพิ่มเติม »

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

มาตรการบังคับใช้สิทธิ

มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licensing หรือ CL) หรือ สิทธิเหนือสิทธิบัตร คือการที่รัฐบาลออกมาตรการบังคับต่อเจ้าของสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิผูกขาดอื่นใด โดยให้รัฐหรือใครก็ตามได้รับสิทธิในการใช้สอยงานนั้นๆ โดยชอบธรรม.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและมาตรการบังคับใช้สิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร

รัฐบาลของประเทศทั่วโลกมีมาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยที่บางประเทศออกมาตรการซึ่งอาจผิดธรรมดาอย่างมากต่อสุกร ซึ่งได้รวมไปถึงการกำจัดสุกรภายในประเทศทั้งหมดในอียิปต์ และการลดจำนวนหมูป่าในสวนสัตว์แบกแดดในอิรัก การฆ่าหมูจำนวนมากเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศมุสลิม และมีการกล่าวอ้างว่าการจำกัดทางศาสนาต่อการบริโภคสุกรเป็นอิทธิพลต่อการตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว ประเทศอื่นหลายประเทศได้สั่งห้ามการค้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรระหว่างประเทศ องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าสุกรเป็นพาหะนำไวรัสไข้หวัดใหญ่มาสู่มนุษย์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม เหตุการณ์การค้นพบการเป็นพาหะไข้หวัดใหญ่จากมนุษย์สู่สุกรถูกค้นพในไร่ในอัลเบอร์ตา ที่ซึ่งมีการค้นพบสุกรที่ติดเชื้อ เป็นที่น่าสงสัยว่าคนงานรับจ้างในไร่ดังกล่าวติดโรคซึ่งเพิ่งจะกลับมาจากเม็กซิโก ได้ส่งไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปสู่สัตว.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและมาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร · ดูเพิ่มเติม »

มุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี

นม ชอมสกี เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะปัญญาชน นักปฏิบัติการ (หรือนักกิจกรรม) ทางการเมือง และนักวิจารณ์ เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่น ๆ เขาเรียกตัวเองว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ผู้สนับสนุนสหการนิยมแบบอนาธิปไตย (anarcho-syndicalism) และมองว่า เป็นผู้รอบรู้สำคัญคนหนึ่งในการเมืองฝ่ายซ้ายของสหรัฐ โนม ชอมสกี ในการประท้วงต่อต้านสงครามในเมืองแวนคูเวอร์ พ.ศ. 2547.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและมุมมองทางการเมืองของโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

มีนาคม พ.ศ. 2548

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและมีนาคม พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต พีล

ซอร์ รอเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel) เป็นนักการเมืองแห่งสหราชอาณาจักรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัย ในปี..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและรอเบิร์ต พีล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศเรียงตามการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อหัว

้านล่างนี้เป็นรายชื่อประเทศเรียงตามการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อหัวต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูลจาก WTO หรือ องค์การการค้าโลก เมื่อปี..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและรายชื่อประเทศเรียงตามการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อหัว · ดูเพิ่มเติม »

ศุภชัย พานิชภักดิ์

ัย พานิชภักดิ์ ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังก์ถัด (UNCTAD) ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 ก่อนหน้านั้นเคยรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ศุภชัยมีชื่อเรียกย่อ ๆ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า ดร.ซุป.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและศุภชัย พานิชภักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิบัตรยา

ตัวอย่างโครงสร้างของมาร์คุช สิทธิบัตรยา (drug patent หรือ chemical patent) เป็นการคุ้มครองโดยกฎหมายให้แก่ ผู้ประดิษฐ์หรือคิดค้นทางด้านเวชภัณฑ์ หรือ เคมีภัณฑ์ ทั้งนี้หมายรวมถึง สูตรใหม่ ส่วนผสมใหม่ วิธีการใช้ใหม่ เนื่องจากยาหรือผลิตภัณฑ์ทางเคมีสามารถลอกเลียนแบบได้ง่ายโดยการวิเคราะห์ทางเคมี.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและสิทธิบัตรยา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

งครามกัมพูชา-เวียดนามเป็นความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและกัมพูชาประชาธิปไตย สงครามเริ่มขึ้นด้วยการปะทะตามพรมแดนทางบกและทางทะเลของเวียดนามและกัมพูชาระหว่าง..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและสงครามกัมพูชา–เวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

อภิรดี ตันตราภรณ์

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รองประธานกรรมการคนที่สาม คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ประธานคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและอุดหนุน และ ประธานคณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก อดีตอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และเป็นอดีตประธานบริหารสถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเท.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและอภิรดี ตันตราภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อู๋ อี๋

มาดามอู๋ อี๋ มาดามอู๋ อี๋ (ภาษาจีน: 吴仪,พินอิน: Wú Yí) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2481 ในมณฑลหวู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นหนึ่งในสี่รองนายกรัฐมนตรีของจีน นอกจากนี้ นิตยสารฟอบส์ (Forbes) จัดให้เป็นสตรีที่ทรงอำนาจอันดับสองของโลก ทั้งในปี พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548 (รองจากกอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา) เมื่อเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและอู๋ อี๋ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การระหว่างประเทศ

องค์การระหว่างประเทศ (international organisation) หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกัน จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่างๆเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาต.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและองค์การระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก

อนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก (Strasbourg Convention หรือ Strasbourg Patent Convention) คือสนธิสัญญาพหุภาคีที่ลงนามโดยประเทศสมาชิกของสภาแห่งยุโรปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและอนุสัญญาสิทธิบัตรสตราสบวร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

รืออากาศโท จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 43 บุชสังกัดพรรครีพับลิกัน และเกิดในตระกูลบุชซึ่งเป็นตระกูลนักการเมืองตระกูลใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยพ่อของเขาคือ จอร์จ บุช ประธานาธิบดีคนที่ 41 และน้องชายเขา เจบ บุช เป็นอดีตผู้ว่าการมลรัฐฟลอริดา ก่อนเริ่มเล่นการเมือง จอร์จ ดับเบิลยู บุชเป็นนักธุรกิจบ่อน้ำมัน และเป็นเจ้าของทีมเบสบอล เทกซัส เรนเจอร์ (Texas Rangers) เขาเริ่มเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นโดยเป็นผู้ว่าการรัฐเทกซัสคนที่ 46 ชนะการเสนอชื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน และชนะการเลือกตั้งต่อรองประธานาธิบดี อัล กอร์ใน พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) และได้รับการเลือกตั้งสมัยที่สองเมื่อ พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) โดยเอาชนะวุฒิสมาชิก จอห์น เคร์รี ของ พรรคเดโมแครต.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและจอร์จ ดับเบิลยู. บุช · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2) ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ (1) สิทธิบัตร (2) อนุสิทธิบัตร (3) เครื่องหมายการค้า (4) ความลับทางการค้า และ (5) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (6) แบบผังภูมิของวงจรรวม (7) คุ้มครองพันธุ์พืช (8) ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและทรัพย์สินทางปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ข้อตกลงรวมบาหลี

้อตกลงรวมบาหลี (อังกฤษ: Bali Package) เป็นข้อตกลงทางการค้าที่มาจากการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 9 แห่งองค์กรการค้าโลก (WTO) ณ จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซียในวันที่ 3-7 ธันวาคม..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและข้อตกลงรวมบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ดอน ปรมัตถ์วินัย

นายดอน ปรมัตถ์วินัย (Don Pramudwinai; เกิด: 25 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนักการทูตชาวไทย อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป และในอีกหลายประเท.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและดอน ปรมัตถ์วินัย · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศของลาว

วามสัมพันธ์กับต่างประเทศของลาวนั้นหลังจากที่ขบวนการปะเทดลาวขึ้นครองอำนาจ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้เข้าร่วมเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตและพึ่งพาความช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตอย่างมาก นอกจากนั้น ลาวยังมีความสัมพันธ์ที่พิเศษกับเวียดนาม และลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือกันใน..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและความสัมพันธ์กับต่างประเทศของลาว · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย

วามสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย มีประวัติยาวนานนับร้อยปี และมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการโดยการลงนามในปฏิญญาทางไมตรี และการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade; ตัวย่อ: GATT) เป็นความตกลงระหว่างชาติเพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจที่ร่วมกันลงนามเมื่อ พ.ศ. 2490 มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการค้าเสรีโดยการลดภาษีศุลกากรระหว่างชาติ การเจรจารอบที่ 8 ที่เรียกว่า "รอบอุรุกวัย" (Uruguay Round) เกิดปัญหาซับซ้อนและใช้เวลาเจรจากันนานถึง 7 ปี (พ.ศ. 2529-2536) และได้รับการต่อต้านมากที่สุดโดยเฉพาะเกษตรกรชาวฝรั่งเศส ผลการเจรจามีการตกลงลดภาษีมากถึงร้อยละ 40 และมีผลให้เกิดการจัดตั้งองค์การนานาชาติขึ้มาใหม่คือ "องค์การการค้าโลก" (WTO) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS) หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ หมวดหมู่:สนธิสัญญา หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59

ณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คณะรัฐมนตรีไทย คณะนี้ เป็นคณะที่ ประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศไทย

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางทูตไทย สถานทูตและสถานกงสุลไทยในต่างแดน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีนใน ค.ศ. 2001

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศจีนใน ค.ศ. 2001 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโอมาน

อมาน (Oman; عُمان) หรือชื่อทางการว่า รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman; سلطنة عُمان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตะวันตกติดกับซาอุดีอาระเบีย และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเยเมน มีชายฝั่งบนทะเลอาหรับทางใต้และตะวันออก และอ่าวโอมานทางตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ก็ยังมีดินแดนส่วนแยกอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อีกด้ว.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศโอมาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ใจ อึ๊งภากรณ์

ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์ รองศาสตราจารย์ ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์ (Giles Ji Ungpakorn; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 —) เป็นนักเคลื่อนไหวทางวิชาการและการเมืองสัญชาติไทย-อังกฤษ เดิมเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร เพื่อหลบหนีคดีหมิ่นพระบรมเดชาน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและใจ อึ๊งภากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

รงเรียนเซนต์คาเบรียล (St.) เป็นโรงเรียนเอกชนโรงเรียนชายล้วนขนาดใหญ่ ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ซึ่งเป็นคณะนักบวชคาทอลิก ตั้งอยู่บนถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เปิดสอนนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 คำว่า "เซนต์คาเบรียล" ในชื่อโรงเรียนนั้น จึงมาจากชื่อคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ผู้ก่อตั้งโรงเรียน โรงเรียนเซนต์คาเบรียลเป็นโรงเรียนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศ เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพการศีกษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และคุณภาพของนักเรียนและศิษย์เก่าที่จบไป โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เป็นหนึ่งในสองของโรงเรียนในเครือฯที่ใช้สีประจำสถาบันคือ น้ำเงินขาว (อีกโรงเรียนหนึ่งที่ใช้สีน้ำเงินขาวคือโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง) และมีเพียงวิทยาเขตเดียว เช่นเดียวกับ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยและโรงเรียนเซนต์หลุยส์ ที่ไม่ได้ชื่อโรงเรียนว่า "อัสสัมชัญ" นำหน้า ปัจจุบันโรงเรียนเซนต์คาเบรียลมีอายุได้ ปี เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในย่านดุสิต.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและโรงเรียนเซนต์คาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

โลกาภิวัตน์

ลกาภิวัตน์ (มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและโลกาภิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

โลกที่หนึ่ง

ติเป็นกลาง และประเทศไม่สังกัดพันธมิตรใด แนวคิดของ โลกที่หนึ่ง (First World) ถือกำเนิดขึ้นระหว่างสงครามเย็น เป็นคำซึ่งใช้เพื่ออธิบายถึงประเทศที่เข้าเป็นฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้มักมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการสิ้นสุดของสงครามเย็น ความหมายของคำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้เปลี่ยนไปให้สามารถปรับใช้ได้กับยุคสมัย จากการจำกัดความดั้งเดิม คำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้มามีความหมายในทำนองเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว (ขึ้นอยู่กับว่ากำลังใช้คำจำกัดความใด) ประเทศโลกที่หนึ่งโดยทั่วไปมักมีเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก ในอีกมุมมองหนึ่ง สหประชาชาติจำกัดความ "โลกที่หนึ่ง" ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของรายรับและผลผลิตของชาติต่าง ๆ การจำกัดความของ "โลกที่หนึ่ง" ในปัจจุบัน จึงประจักษ์ชัดเจนน้อยกว่าระหว่างสงครามเย็น ความเคลื่อนไหวในระดับโลกระหว่างโลกที่หนึ่งและโลกอื่น ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ความสัมพันธ์กับโลกที่สองเป็นไปในเชิงการแข่งขัน และความเป็นปรปักษ์ทางความคิด ความสัมพันธ์กับโลกที่สาม โดยปกติมักเป็นไปในเชิงบวกตามทฤษฎี ในขณะที่อาจมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอยู่บ้างในทางปฏิบัติ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโลกในปัจจุบันมิได้เป็นไปอย่างตายตัวอย่างในอดีต ถึงแม้ว่าจะมีความไม่เสมอกันซึ่งโลกที่หนึ่งมีอิทธิพล ความมั่งคั่ง ข้อมูลข่าวสาร และความเจริญก้าวหน้าเหนือกว่าโลกอื่น ๆ โลกาภิวัตน์ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ค่อย ๆ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโลกที่หนึ่งและความเชื่อมโยงกับโลกอื่น ๆ ตัวอย่างของโลกาภิวัตน์ภายในโลกที่หนึ่ง คือ สหภาพยุโรป ซึ่งได้นำความร่วมมือและการบูรณาการเข้ามาสู่ภูมิภาคเป็นอันมาก บริษัทข้ามชาติยังเป็นตัวอย่างของผลกระทบของโลกที่หนึ่งซึ่งมีต่อโลกาภิวัตน์ เมื่อบริษัทเหล่านี้ได้นำมาซึ่งการรวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในหลายประเทศ ด้วยการเติบโตของบริษัทข้ามชาติมักมีปัญหาในกระบวนการติดต่อกับบุคคลที่สามในหลายประเทศโลกที่หนึ่ง.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและโลกที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์ชิงเต่า

ลโก้เบียร์ชิงเต่า เบียร์ชิงเต่า (Tsingtao, 青島啤酒廠) เป็นเบียร์ที่มีต้นกำเนิดจากเมืองชิงเต่า ประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2506 ได้รับยกย่องให้เป็นเบียร์แห่งชาติยี่ห้อเดียวของจีน.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเบียร์ชิงเต่า · ดูเพิ่มเติม »

เฟเลติ เซเวเล

ร. เฟเลติ เซเวเล ดร.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเฟเลติ เซเวเล · ดูเพิ่มเติม »

เกริกไกร จีระแพทย์

นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเกริกไกร จีระแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจญี่ปุ่น

รษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก สหรัฐอเมริกา และ ประเทศจีน ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในรัชสมัยโชวะ จักรวรรดิญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก แม้ว่าจะพ่ายแพ้สงครามแต่ญี่ปุ่นก็สามารถไต่เต้าขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และครองตำแหน่งนี้ยาวนานกว่าสองทศวรรษจนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1990 ญี่ปุ่นก็กลายเป็นชาติเศรษฐกิจอันดับสองของโลกจนถึงปี 2009 จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) อำนาจซื้อต่อหัวของญี่ปุ่นในเวทีโลก อยู่ที่ 35,855 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นอันดับ 22 ของโลก การคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น มีการสำรวจเป็นรายไตรมาสที่เรียกว่า ทังกัง จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผลิตยานยนต์ได้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ที่มักจะมีการจัดอันดับในบรรดาหมู่ประเทศนวัตตกรรมชั้นนำ ซึ่งในระยะหลังมานี้ญี่ปุ่นต้องเผชิญการแข่งขันกับ จีน และ เกาหลีใต้ ที่เริ่มช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตเป็นหลัก ซึ่งใช้แรงงานคนน้อย และมีความแม่นยำมากกว่า จำพวก ยานยนต์ไฮบริด และหุ่นยนต์อัตโนมัติต่างๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปในโรงงานในภูมิภาคคันโต ทั้งนี้ภูมิภาคคันไซก็เป็นหนึ่งในพื้นที่อุตสาหกรรมชั้นนำและศูนย์การผลิตสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเศรษฐกิจญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจจีน

รษฐกิจจีนเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม เป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับสองของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจใหญ่เติบโตเร็วสุดของโลกก่อนปี 2558 โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ในช่วงกว่า 30 ปี เนื่องจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และการเมืองของเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของจีน ภาครัฐของจีนจึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าภาคเอกชนที่กำลังเฟื่องฟู สำหรับรายได้ต่อหัวนั้น ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 71 ตามจีดีพี (ราคาตลาด) และที่ 78 ตามจีดีพี (PPP) ในปี 2559 จากข้อมูลของ IMF ประเทศจีนมีทรัพยากรธรรมชาติประเมินมูลค่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนนี้กว่า 90% เป็นถ่านหินและโลหะหายาก ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจการผลิตและผู้ส่งสินค้าออกรายใหญ่สุดของโลก มักได้รับขนานนามเป็น "โรงงานของโลก" ประเทศจีนยังเป็นตลาดผู้บริโภคเติบโตเร็วสุดของโลก และผู้นำสินค้าเข้ารายใหญ่สุดอันดับสองของโลก ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าสุทธิซึ่งผลิตภัณฑ์บริการ ในปี 2559 ประเทศจีนเป็นประเทศการค้าใหญ่สุดอันดับสองของโลกและมีบทบาทเด่นในการค้าระหว่างประเทศ และเข้าร่วมองค์การและสนธิสัญญาการค้าเพิ่มขึ้นในปีหลัง ๆ ประเทศจีนเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปี 2544 ประเทศจีนยังมีความตกลงการค้าเสรีกับหลายชาติ รวมทั้งอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน เกาหลีใต้และสวิสเซอร์แลนด์ มณฑลในแถบชายฝั่งของจีนมีแนวโน้มกลายเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนบริเวณในแผ่นดินยังด้อยพัฒนากว่า เพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจระยะยาวของมลภาวะสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน นิโคลัส สเทิร์นและเฟอร์กัส กรีนแห่งสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment) แนะนำว่า เศรษฐกิจจีนควรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำไฮเท็คที่มีการจัดสรรทรัพยากรของชาติไปยังนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้ดีขึ้นเพื่อผลกระทบของอุตสาหกรรมหนักของจีน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการวางแผนของรัฐบาลกลาง ฝันจีนของสี จิ้นผิงอธิบายว่าบรรลุ "สองร้อย" คือ เป้าหมายของจีนทางวัตถุให้กลายเป็น "สังคมกินดีอยู่ดีปานกลาง" ภายในปี 2564 ซึ่งปีครบรอบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเป้าหมายการทำให้จีนทันสมัยเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ในปี 2592 ซึ่งเป็นปีที่ 100 ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน สากลวิวัฒน์ของเศรษฐกิจจีนยังมีผลกระทบต่อการพยากรณ์เศรษฐกิจปรับเป็นมาตรฐานซึ่งดัชนีผู้จัดการซื้อออกในประเทศจีนอย่างเป็นทางการในปี 2543 ต่อมาในปี 2549 ประเทศจีนเป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศเดียวที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร่วมกับสหรัฐและสหภาพยุโรป) ในปี 2558 ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโต เงินตราเหรินหมินปี้ของจีนก็เติบโตด้วย ซึ่งผ่านกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสากลวิวัฒน์ ประเทศจีนริเริ่มการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียในปี 2558 การพัฒนาเศรษฐกิจของเซินเจิ้นถูกเรียกว่าเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งถัดไปของโลก.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเศรษฐกิจจีน · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจไทย

รษฐกิจไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า ประเทศไทยมีจีดีพี 11.375 ล้านล้านบาท มีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.02% ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในรูปตัวเงินเป็นอันดับที่ 29 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อเป็นอันดับที่ 24 ของโลก ในปี 2556 เศรษฐกิจไทยเติบโต 2.9% จีดีพีมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือน 54.4% การใช้จ่ายของรัฐบาล 13.8% การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 26.7%.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเศรษฐกิจไทย · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี ถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกหากวัดตามราคาตลาด และเป็นอันดับ 5 ของโลกหากวัดตามอำนาจซื้อ ทั้งนี้ใน..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเศรษฐกิจเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เซ็กซ์ทัวร์เด็ก

ซ็กซ์ทัวร์เด็ก เป็นเซ็กซ์ทัวร์ที่มีจุดหมายเพื่อใช้บริการในการค้าประเวณีเด็ก ซึ่งเป็นรูปแบบของการทารุณเด็กทางเพศที่อำนวยโดยระบบการค้า เซ็กซ์ทัวร์เด็กอาจมีผลทั้งทางกายและใจต่อเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ รวมทั้ง "โรค (รวมทั้งเอชไอวีหรือเอดส์) การติดสารเสพติด การตั้งครรภ์ ทุพโภชนาการ รอยด่างทางสังคม และอาจถึงตาย" เซ็กซ์ทัวร์เด็กเป็นส่วนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีค่าหลายหมื่นล้านบาท เป็นการค้าประเวณีเด็กซึ่งเป็นส่วนของปัญหาการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (CSEC) ที่กว้างขวางครอบคลุมกว่า โดยมีเด็กเป็นเหยื่อจากเซ็กซ์ทัวร์ประมาณ 2 ล้านคนทั่วโลก cited in เด็กโสเภณีในทัวร์เซ็กซ์บ่อยครั้งถูกหลอกหรือถูกลักพาตัวบังคับให้กลายเป็นทาสทางเพศ คนใช้บริการทางเพศจากเด็กสามารถจัดประเภทได้โดยแรงจูงใจ และผิดจากความเชื่อที่แพร่หลาย คนใคร่เด็กโดยมากไม่ใช่คนใช้บริการ มีคนที่ชอบใจทารุณเด็ก เพราะอาจจะรู้สึกว่า โอกาสเสี่ยงต่อกามโรคจะต่ำกว่า และก็มีคนที่ใช้ตามโอกาส คือคนที่ไม่ได้แสวงหาเด็กโดยตรง แต่ว่าทำไปตามโอกาสที่มี และอาจจะไม่สนใจอายุของโสเภณีก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมทางเพศ เด็กโดยมากที่ถูกฉวยประโยชน์มีอายุต่ำกว่า 12 ขวบ ส่วนคนใคร่เด็กอาจจะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อวางแผนการเดินทาง โดยสืบหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบริการเซ็กทัวร์เด็ก และว่าเด็กที่ไหนสามารถหาได้ง่ายที่สุด ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะเป็นเขตที่มีรายได้ต่ำ มีรัฐบาลบางประเทศที่ออกฎหมายให้สามารถดำเนินคดีต่อประชาชนของตนเนื่องจากการทารุณเด็กทางเพศที่ทำนอกประเทศ แต่ว่า แม้ว่ากฎหมายต่อต้านทัวร์เซ็กซ์เด็กอาจจะปรามคนทำผิดแบบตามโอกาสที่ทำตามอารมณ์ชั่ววูบ คนใคร่เด็กที่เดินทางเฉพาะเจาะจงเพื่อฉวยประโยชน์จากเด็กจะห้ามไม่ได้อย่างง.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและเซ็กซ์ทัวร์เด็ก · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

11 ธันวาคม

วันที่ 11 ธันวาคม เป็นวันที่ 345 ของปี (วันที่ 346 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 20 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและ11 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

13 พฤศจิกายน

วันที่ 13 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 317 ของปี (วันที่ 318 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 48 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและ13 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

28 พฤศจิกายน

วันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 332 ของปี (วันที่ 333 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 33 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและ28 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

30 พฤศจิกายน

วันที่ 30 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 334 ของปี (วันที่ 335 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 31 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: องค์การการค้าโลกและ30 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

WTOWorld Trade Organizationองค์กรการค้าโลก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »