โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หางนกยูงฝรั่ง

ดัชนี หางนกยูงฝรั่ง

หางนกยูงฝรั่ง (Flam-boyant, The Flame Tree, Royal Poinciana) หรือที่เรียกว่า นกยูง, นกยูงฝรั่ง, ชมพอหลวง, ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ), หงอนยูง (ภาคใต้), อินทรี (ภาคกลาง), และยูงทอง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พันธุ์ไม้จากทวีปแอฟริกาอยู่ในวงศ์พืชตระกูลถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในหน้าแล้ง ทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง มีกลีบห้ากลีบ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม ฝักเป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาว เมื่อแก่จะเป็นฝักแห้งแข็งสีดำ.

10 ความสัมพันธ์: ฝรั่ง (คน)มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยูงทองวงศ์ย่อยราชพฤกษ์สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์หางนกยูงอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็องโรงเรียนศรียาภัยไถหนัน

ฝรั่ง (คน)

ตรกรรมฝาผนังรูปฝรั่งภายในวัดตรีทศเทพวรวิหาร นักท่องเที่ยวฝรั่งที่เกาะคอเขา จังหวัดพังงา ฝรั่ง เป็นคำภาษาไทย ที่ใช้เรียกชาวต่างชาติที่เชื้อสายยุโรป หรือชาวผิวขาวโดยที่มิได้ระบุเชื้อชาติหรือสัญชาติ คำว่า ฝรั่ง นี้ ใช้กันเป็นภาษาปาก หรือภาษาลำลอง ถือเป็นคำที่มีความหมายกลาง ๆ แต่ในบางครั้ง ก็มีความหมายเชิงดูหมิ่นหรือแปลกแยกได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับรูปการณ์ ในสมัยโบราณ จะใช้เรียกกันเต็ม ๆ ว่า พวก ฝรั่งตาน้ำข้าว ซึ่งมีอารมณ์เชิงดูถูกของคนโบราณซ่อนอยู่ จนปัจจุบัน กร่อนลงเหลือเพียง ฝรั่ง นอกจากนี้ คนไทยยังเรียกชาวผิวดำ หรือมีเชื้อสายแอฟริกัน ว่า ฝรั่งดำ.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและฝรั่ง (คน) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (Uttaradit Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2479 ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดอุตรดิตถ์" ในอดีตสถาบันแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาฝึกหัดครูของภาคเหนือ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์, แพร่, น่าน, เชียงราย, ลำปาง และอุตรดิตถ์มณเฑียร ดีแท้.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูงทอง

ูงทอง เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 36 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประพันธ์ทำนองและพระราชทานให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพัน..

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและยูงทอง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยราชพฤกษ์

Caesalpinia sappan วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ หรือ Caesalpinioideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชวงศ์ถั่ว ชื่อตั้งตามชื่อสกุล Caesalpinia ในการจัดจำแนกบางระบบ เช่นระบบ Cronquist วงศ์ย่อยนี้ยกขึ้นเป็นวงศ์ เรียก Caesalpiniaceae ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์ในเขตร้อย ดอกสมมาตรครึ่งซีก เกิดปมรากได้น้อย วงศ์ย่อยนี้แบ่งเป็นสี่เผ่า ได้แก่ Caesalpinieae, Cassieae, Cercideae และ Detarieae เผ่า Cercideae บางครั้งเคยรวมเข้ากับวงศ์ย่อย Faboideae (Papilionoideae)ในอดีต.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

มาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Thammasat Association; ชื่อย่อ: สมธ.) เป็นองค์กรที่เป็นศูนย์กลางของนักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า และประชาคมทั้งปวงจากทุกคณะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการรับรู้ข่าวสารและมีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยสมาคมฯ มีภารกิจหลักที่การสนับสนุนและพัฒนากิจกรรมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทางด้านการศึกษาและพัฒนาสังคม ทั้งนี้ยังเป็นองค์กรที่มีเกียรติและมีชื่อเสียง ในฐานะของสมาคมศิษย์เก่าของสถาบันชั้นนำของประเทศไทย และยังเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะกรรมการดำเนินการจัด และผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

หางนกยูง

หางนกยูง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและหางนกยูง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง

อาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale de Clermont-Ferrand) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งแกลร์มง-แฟร็อง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Clermont-Ferrand) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองแกลร์มง-แฟร็องในจังหวัดปุย-เดอ-โดมในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งแกลร์มง สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอทิกที่สร้างด้วยหินภูเขาไฟสีดำทั้งหลังที่ทำให้เป็นเอกลักษณ์จากอาสนวิหารอื่นและมองเห็นแต่ไกลจากหอสูงสองหอที่สูง 96.2 เมตรเหนือสิ่งก่อสร้างอื่นใดของตัวเมือง.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและอาสนวิหารแกลร์มง-แฟร็อง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนศรียาภัย

รงเรียนศรียาภัย (Sriyapai School; ชื่อย่อ: ศ.ภ. – SP) เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 (สุราษฎร์ธานี–ชุมพร) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยชื่อโรงเรียนมีที่มาจากนามสกุลของ "คุณย่าชื่น ศรียาภัย" คหปตานีชาวไชยา ผู้บริจาคเงินสร้างอาคารหลังแรก เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา อดีตเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดชุมพร คู่กับโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา ปัจจุบันทั้ง 2 โรงเรียนได้กลายเป็นโรงเรียนสหศึกษา และโรงเรียนศรียาภัยเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเช่นเดิม ผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบันคือ นายอนันต์ มณีรัตน.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและโรงเรียนศรียาภัย · ดูเพิ่มเติม »

ไถหนัน

หนัน ชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครไถหนัน (Táinán Shì; Tainan City) เป็นเมืองหนึ่งในภาคใต้ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นเขตปกครองประเภทเทศบาลพิเศษ ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับช่องแคบไต้หวัน มีสมญาว่า "เมืองหงส์" (Fènghuáng Chéng; Phoenix City) โดยเปรียบกับหงส์จีนซึ่งเชื่อว่า มีฤทธิ์ฟื้นคืนชีพได้ เพราะเมืองนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วกลับรุ่งเรืองหลายครั้ง เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (Rèlánzhē Chéng; Fort Zeelandia) แต่เมื่อเจิ้ง เฉิงกง (Zhèng Chénggōng) ขุนพลจักรวรรดิหมิง นำทัพขับไล่ต่างชาติออกจากเกาะไต้หวันได้อย่างราบคาบในปี 1661 เขาก็สถาปนาอาณาจักรตงหนิง (Dōngníng; Tungning) ขึ้นบนเกาะ และใช้นิคมดังกล่าวเป็นเมืองหลวงจนถึงปี 1683 เมื่อราชวงศ์ชิงสถาปนาการปกครองบนเกาะไต้หวันได้เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรตงหนิงก็กลายเป็นเพียงมณฑลไต้หวันอันเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรวรรดิชิง และนิคมดังกล่าวก็เป็นเมืองเอกของมณฑลไต้หวัน จนมีการย้ายเมืองเอกไปที่ไทเป (Táiběi; Taipei) เมื่อปี 1887 คำว่า "ไถหนัน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" คือ ไทเป ที่แปลว่า ไต้หวันเหนือ "ไถจง" ที่แปลว่า ไต้หวันกลาง และ "ไถตง" ที่แปลว่า ไต้หวันตะวันออก ชื่อเก่าของไถหนันคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (Dàyuán; Tayouan) แปลว่า ต่างชาติ และมีผู้ถือว่า ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อ "ไต้หวัน" ปัจจุบัน นอกจากเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไต้หวันแล้ว ไถหนันยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนานเอก เพราะมีวัฒนธรรมท้องถิ่นนานัปการ เช่น อาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อ พิธีกรรมลัทธิเต๋าซึ่งรักษาไว้เป็นอย่างดี กับทั้งประเพณีชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน.

ใหม่!!: หางนกยูงฝรั่งและไถหนัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Delonix regiaFlamboyantGulmoharRoyal Poinciana

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »