โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ดัชนี หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

37 ความสัมพันธ์: ฟุบพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกลุ่มอาการระยะคิวทียาวกลุ่มอาการซิคไซนัสกลุ่มอาการเซโรโทนินกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจการกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าการเป็นพิษจากดิช็อกซินสารต้านฮิสตามีนหัวใจห้องล่างเต้นเร็วหัวใจเต้นเร็วอัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษอัตราหัวใจเต้นอันเดรย์ ซาคารอฟอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อโรคา ปาร์ตี้ธีโอโบรมีนทฤษฎี สหวงษ์ทาลัสซีเมียแบบบีตาดิช็อกซินตอร์ซาดเดอปวงต์แยชือ กอชิญสกีแอนาฟิแล็กซิสใจสั่นโรคพิษสุราโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติโรคคอตีบโรคคะวะซะกิโซลานีนไตเสียหายเฉียบพลันเฟนิโทอินเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิดICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต

ฟุบ

ฟุบ, แบ็บ (collapse) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงเฉียบพลันจนไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหมดสติ ถ้าหมดสติร่วมด้วยจะเรียกว่าหมดสติชั่วคราว (syncope) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคทางหัวใจ (เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ) อาการชัก หรือโรคทางจิตใจ.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและฟุบ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการระยะคิวทียาว

กลุ่มอาการระยะคิวทียาว (Long QT syndrome) เป็นโรคที่พบน้อยชนิดหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีการนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงต่อการมี torsade de pointes (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง) ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติแต่ละครั้งอาจทำให้มีอาการต่างๆ กัน ตั้งแต่รู้สึกใจสั่น หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ทันทีเนื่องจากการมีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นไม่เป็นจังหวะ (ventricular fibrillation) ซึ่งการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติแต่ละครั้งอาจเกิดจากเหตุกระตุ้นได้หลายอย่าง ขึ้นกับชนิดย่อยของโรค ชื่อกลุ่มอาการระยะคิวทียาว มาจากลักษณะปรากฏในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) ซึ่งจะพบมีช่วง QT ยาวกว่าปกต.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและกลุ่มอาการระยะคิวทียาว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการซิคไซนัส

กลุ่มอาการซิคไซนัส (sick sinus syndrome, sinus node syndrome, "กลุ่มอาการไซนัสป่วย") เป็นกลุ่มของความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจอย่างหนึ่ง เชื่อว่าเกิดจากการทำหน้าที่ผิดปกติของไซนัสโนดซึ่งทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ กลุ่มอาการหัวใจเต้นช้า-หัวใจเต้นเร็ว (bradycardia-tachycardia syndrome) เป็นกลุ่มอาการซิคไซนัสชนิดหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นเร็วและเต้นช้าสลับกันไป หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและกลุ่มอาการซิคไซนัส · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเซโรโทนิน

กลุ่มอาการเซโรโทนิน หรือ เซโรโทนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome ตัวย่อ SS หรือ serotonin toxicity) เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่ใช้เซโรโทนิน (serotonergic) เป็นสารสื่อประสาท อาการอาจจะมีจากน้อยจนถึงรุนแรง รวมทั้ง ตัวร้อน อยู่ไม่สุข ไวรีเฟล็กซ์ สั่น เหงื่อออก รูม่านตาขยาย และท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสามารถเพิ่มขึ้นเกิน 41.1 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลเป็นภาวะแทรกซ้อนคือ การชัก และการเสียกล้ามเนื้ออย่างทั่วไป (rhabdomyolysis) กลุ่มอาการปกติมีเหตุมาจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบเซโรโทนิน 2 ชนิดหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจรวม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI), monoamine oxidase inhibitor (MAOI), tricyclic antidepressants (TCAs), แอมเฟตามีน, meperidine, ทรามาดอล, dextromethorphan, buspirone, ยาสมุนไพร Hypericum perforatum (St. John's wort), triptans, MDMA (ecstasy), metoclopramide, ondansetron, หรือโคเคน โดยเกิดขึ้นในอัตรา 15% สำหรับผู้ที่ใช้ยากลุ่ม SSRI เกิน อาการจะเริ่มขึ้นปกติภายในหนึ่งวันหลังจากมีเซโรโทนินในระบบประสาทกลางมากเกิน การวินิจฉัยอาศัยอาการคนไข้และประวัติการให้ยา แพทย์ต้องกันอาการที่คล้ายกันอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการร้ายจากยาระงับอาการทางจิต (neuroleptic malignant syndrome) ไข้สูงอย่างร้าย แอนติโคลิเนอร์จิกเป็นพิษ (anticholinergic toxicity) โรคลมเหตุร้อน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยังไม่มีการทดสอบในแล็บที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ การรักษาเบื้องต้นก็คือหยุดยาที่อาจเป็นเหตุ ในคนที่อยู่ไม่เป็นสุข สามารถใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน แต่ถ้ายังไม่พอ ยาต้านเซโรโทนิน (serotonin antagonist) เช่น cyproheptadine ก็สามารถใช้ได้ ในบุคคลที่อุณหภูมิกายสูง อาจต้องใช้วิธีที่ทำให้ตัวเย็น จำนวนคนไข้ที่มีอาการแต่ละปียังไม่ชัดเจน ถ้าได้การรักษาที่ถูกต้อง โอกาสเสียชีวิตมีน้อยกว่า 1% การเสียชีวิตของหญิงวัยรุ่นอายุ 18 ปี (Libby Zion) ที่โด่งดังเพราะอาการนี้ มีผลเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาแพทย์ในรัฐนิวยอร์ก.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและกลุ่มอาการเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า

ตำแหน่งการวางขั้วไฟฟ้าของเครื่องกระตุ้นหัวใจ แผนภาพวงจรทางไฟฟ้าซึ่งแสดงหลักการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจอย่างง่าย ซึ่งประกอบเพียงแค่ ตัวเก็บประจุและตัวเหนี่ยวนำ และสร้างมารถสัญญาณในรูปแบบเอ็ดมาร์ค (Edmark) หรือ เกอร์วิกช์ (Gurvich) ได้ การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (defibrillation) เป็นวิธีการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตชนิดเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชันและเวนทริคูลาร์แทคีคาร์เดียชนิดคลำชีพจรไม่ได้ ทำให้ส่งกระแสไฟฟ้าขนาดที่มีผลต่อการรักษาเข้าไปยังหัวใจด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (defibrillator) ซึ่งจะสลายความเป็นขั้วในกล้ามเนื้อหัวใจเกือบทั้งหมด หยุดการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะนั้นลง และเปิดโอกาสให้จังหวะหัวใจปกติหรือจังหวะเต้นไซนัสกลับมาเต้นเองด้วยตัวควบคุมจังหวะเต้นหัวใจตามธรรมชาติซึ่งอยู่ในหัวใจที่ไซโนเอเทรียลโนด การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าอาจทำแบบภายนอก, แบบผ่านหลอดเลือด, หรือผ่านอุปกรณ์ซึ่งฝังไว้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นอื่น.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและการกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

การเป็นพิษจากดิช็อกซิน

การเป็นพิษจากดิช็อกซิน เกิดจากการรับยาดิช็อกซินปริมาณมากในเวลาอันสั้นหรือมีระดับดิช็อกซินสะสมในร่างกายจากการรักษาเป็นเวลานาน ดิช็อกซินเป็นยารักษาภาวะหัวใจวายและภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว พบในพืชสกุลถุงมือจิ้งจอก (Digitalis) การเป็นพิษจากดิช็อกซินแบ่งออกเป็นเฉียบพลันและเรื้อรัง อันตรายของทั้งสองประเภทคือผลกระทบต่อหัวใจ ในรายที่พิษเฉียบพลันจะมีอาการคลื่นไส้ รู้สึกหมุนและอาเจียน ในรายเรื้อรังจะมีอาการล้า ละเหี่ยและมีปัญหาด้านการมองเห็น อาการทั่วไปของผู้ป่วยคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ สับสน เพ้อ การมองเห็นผิดปกติ (มองไม่ชัดหรือมองเห็นเป็นสีเหลือง) ร่วมกับความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว เป็นต้น.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและการเป็นพิษจากดิช็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

สารต้านฮิสตามีน

รต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือ ทั่วไปเรียกว่า ยาแก้แพ้ เป็น ยา ที่ใช้กำจัดหรือลดผลของ ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นเป็นสารเคมีที่ถูกปลดปล่อยภายในร่างกายจาก ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reactions) โดยผ่านการกระทำที่ ตัวรับฮิสตามีน (histamine receptors) สารที่มีผลในการรักษาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งตัวรับฮีสทามีนนี้จึงถูกเรียกว่า สารต้านฮีสตามีน - สารอื่นที่มีผลต้านฮีสทามีนแต่ไม่ออกฤทธิ์ที่ ตัวรับฮิสตามีน จะไม่เป็นสารต้านฮีสทามีนที่แท้จริง โดยทั่วไป สารต้านฮีสตามีนจะหมายถึง ตัวรับปฏิปักษ์ H1 ซึ่งเรียกว่า สารต้านฮิสตามีน-H1 เราพบว่า สารต้านฮิสตามีน-H1เป็น ตัวทำการกลับ (inverse agonist) ที่ตัวรับฮิสตามีน-H1มากกว่าที่จะเป็น ตัวรับปฏิปักษ์ per se.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและสารต้านฮิสตามีน · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว

ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (ventricular tachycardia) หรือ V-tach, VT เป็นภาวะหัวใจเต้นเร็วชนิดหนึ่งที่มีจุดกำเนิดจังหวะเต้นหัวใจมาจากหัวใจห้องล่าง เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจมีอันตรายถึงชีวิต อาจพัฒนาไปเป็นเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชัน หัวใจหยุด และอาจทำให้เสียชีวิตทันทีได้ Category:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจเต้นเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxic periodic paralysis, TPP) เป็นภาวะซึ่งทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันในขณะที่ผู้ป่วยกำลังมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ส่วนใหญ่จะพบมีภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดน้อยเกินร่วมด้วยในขณะมีอาการ ภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตถ้ามีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจจนทำให้มีภาวะหายใจล้มเหลว หรือระดับโพแทสเซียมที่ต่ำนั้นต่ำมากจนทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยทั่วไปหากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีกได้มาก ภาวะนี้มีความสัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ในยีนที่ถอดรหัสออกมาสร้างเป็นไอออนแชนแนลที่รับส่งอิเล็กโทรไลต์ (โซเดียมและโพแทสเซียม) ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ โปรตีนหลักที่มีความสำคัญคือแคลเซียมแชนแนลชนิดแอล ซับยูนิทแอลฟาวัน และโพแทสเซียมอินเวิร์ดเรคทิฟายเออร์ 2.6 จึงถือเป็นโรคของแชนแนลโปรตีนชนิดหนึ่ง ความผิดปกติในแชนแนลเหล่านี้ทำให้มีการไหลของโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์มากเกินปกติเมื่อมีระดับของไทรอกซีนสูง ร่วมกับมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ อาการแต่ละครั้งสามารถรักษาให้หายสนิทด้วยการรักษาภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดน้อยเกิน และแก้ไขภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ส่วนใหญ่โรคนี้พบในประชากรเชื้อสายจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลี เพศชาย ถือเป็นหนึ่งในหลายๆ ภาวะที่ทำให้เกิดการอัมพาตเป็นระยะได้.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและอัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราหัวใจเต้น

หัวใจ อัตราหัวใจเต้น (Heart rate) หมายถึงความเร็วของการบีบตัวของหัวใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยทั่วไปนิยมใช้หน่วย "ครั้งต่อนาที" อัตราหัวใจเต้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับสรีรวิทยาของร่างกาย เช่นความต้องการออกซิเจนและการขับคาร์บอนไดออกไซด์ของร่างกาย สิ่งที่มีผลกับอัตราหัวใจเต้นได้แก่กิจกรรมของร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับ ความเจ็บป่วย การย่อยอาหาร และยาบางชนิด ถ้าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเรียกว่าภาวะหัวใจเสียจังหวะ (arrhythmia) ความผิดปกติของการเต้นหัวใจในบางครั้งอาจเป็นแสดงถึงการเป็นโรคแต่ก็ไม่เสมอไป.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและอัตราหัวใจเต้น · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรย์ ซาคารอฟ

ตึกนี้เป็นอพาตเมนท์ของซาคารอฟที่เคจีบีคุมตัวระหว่าง ปี1980 ถึง ปี1986 อันเดรย์ ดมีตรีเยวิช ซาคารอฟ (Андре́й Дми́триевич Са́харов; 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1921 — 14 ธันวาคม ค.ศ. 1989) เป็นนักฟิสิกส์นิวเคลียร์และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวโซเวียต ซาคารอฟถูกจับในวันที่ 22 มกราคม..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและอันเดรย์ ซาคารอฟ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อโรคา ปาร์ตี้

อโรคา ปาร์ตี้ (AROKA PARTY) เป็นรายการวาไรตี้โชว์เพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นรายการวาไรตี้โชว์จากประเทศญี่ปุ่น โดยมีชื่อว่า มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Medical Horror Check Show" ซึ่งเรียกห้องส่งของรายการว่า Black Hospital ผลิตขึ้นโดยบริษัท ทีวีอาซาฮี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกผลิตขึ้นให้ผู้คนหวาดกลัว (ต่อโรคที่เป็นแล้วจะมีลักษณะใด) ในประเทศไทยได้รับลิขสิทธิ์รายการนี้มาผลิตในประเทศไทยโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับโรงพยาบาลพญาไท โดยใช้ชื่อว่า "อโรคา ปาร์ตี้" ดังกล่าว โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 22.05 น. - 22.50 น. (จากนั้นเลื่อนเวลาออกอากาศเป็น 22.15 น. - 23.00 น. และจะเปลี่ยนวันออกอากาศเป็นทุกวันจันทร์ เวลา 22.15 - 23.00 น.เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552) เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ ออกอากาศเป็นเทปสุดท้ายวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ดำเนินรายการโดย ธงชัย ประสงค์สันติ และ หมอพี (ทันตแพทย์หญิง พอลลีน เต็ง) โดยใช้คำปรัชญาประจำรายการว่า "อโรคาปาร์ตี้ วาไรตี้ไม่มีโรค"รายการอโรคาปาร์ตี้นำมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 2 มกราคม 2553 เวลา 20.15 - 21.10 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5และปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์โดยใช้ชื่อรายการเป็น ปาร์ตี้วิทยาศาสตร์ ตอน อโรคา ซายส์ ปาร์ตี้ แทน อโรคาปาร์ตี้.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและอโรคา ปาร์ตี้ · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอโบรมีน

ีโอโบรมีน (theobromine) เดิมเรียก แซนทีโอส (xantheose) เป็นสารแอลคาลอยด์ประเภทแซนทีน มีสูตรเคมีคือ C7H8N4O2 พบในผลโกโก้ (Theobroma cacao), ช็อกโกแลต, ใบชา, ผลโคล่า, มาเต, ผลกวารานา (Paullinia cupana) และกาแฟอาราบิกา (Coffea arabica) ชื่อ "ธีโอโบรมีน" ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธาตุโบรมีน แต่มาจากชื่อสกุลของโกโก้คือ Theobroma ธีโอโบรมีนมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวหรือไม่มีสี แต่ในทางพาณิชย์อาจมีสีเหลือง รสขม ละลายน้ำได้บ้าง ค้นพบครั้งแรกในเมล็ดโกโก้โดยอเล็กซานเดอร์ วอสเครเซนสกีในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและธีโอโบรมีน · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎี สหวงษ์

ทฤษฎี สหวงษ์ (23 มกราคม 2523 – 18 มกราคม 2559) ชื่อเล่น ปอ เป็นนักแสดงและนายแบบชาวไทย มีผลงานสร้างชื่อจากละครเรื่อง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา ทฤษฎีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม แล้วทำงานธนาคารก่อนเข้าวงการบันเทิงโดยเริ่มจากเป็นนายแบบ ได้แสดงละครเรื่อง ลิขสิทธิ์หัวใจ เป็นเรื่องแรก จากนั้นมีผลงานในวงการบันเทิงต่าง ๆ ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับแวนดา มุททาสุวรรณในปี 2556 มีบุตรหนึ่งคน เดือนสิงหาคม 2558 ทฤษฎีรับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเรื่องไข้เลือดออก แต่มีภาวะแทรกซ้อนมากมาย สุดท้ายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559 เนื่องจากการติดเชื้อในปอดลุกลาม.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและทฤษฎี สหวงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบบีตา

ทาลัสซีเมียแบบบีตา (Beta thalassemias, β thalassemias) เป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางพันธุกรรม เป็นรูปแบบของทาลัสซีเมียที่มีเหตุจากการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของเฮโมโกลบิน (HBB) ที่ผิดปกติ คือลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งอาจมีผลต่าง ๆ เริ่มต้นจากภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง จนถึงบุคคลที่ไม่มีอาการเลย ความชุกของโรคทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 1 ใน 100,000 เป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ที่ 11 โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับลักษณะการกลายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ ผู้ที่มีโรคเต็มตัว (major) จะมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดแดงสลาย ไม่โต และมีความผิดปกติทางกระดูกในวัยทารก เด็กที่มีโรคเต็มตัวจะต้องถ่ายเลือดตลอดชีวิต ผู้ที่มีโรคเต็มตัวมักจะเสียชีวิตเกี่ยวกับปัญหาทางหัวใจเนื่องจากภาวะเหล็กเกินโดยอายุ 30 ปี ผู้ที่มีโรคระดับปานกลาง (intermedia) มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแต่อาจจะต้องถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน ความขัดข้องในการถอดรหัสยีน HBB มีผลเป็นการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของโปรตีนโกลบินที่ลดลง ซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง เมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia) ดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB เพราะเหตุนี้ คนไข้อาจจำเป็นต้องได้การถ่ายเลือดเพื่อทดแทนการไม่ผลิตห่วงลูกโซ่บีตา แต่การถ่ายเลือดซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่ภาวะเหล็กเกิน (iron overload) ซึ่งมีผลเป็นภาวะเหล็กเป็นพิษ (iron toxicity) และภาวะเหล็กเป็นพิษสามารถมีผลหลายอย่าง รวมทั้ง myocardial siderosis (ภาวะสะสมเหล็กในหัวใจ) และหัวใจวายซึ่งอาจทำให้ถึงชีวิต.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและทาลัสซีเมียแบบบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ดิช็อกซิน

็อกซิน (Digoxin) หรือชื่อทางการค้าคือ ลาน็อกซิน (Lanoxin) เป็นยาในกลุ่มคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ ใช้สำหรับโรคระบบหัวใจหลอดเลือด อาทิ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ, หัวใจสั่นระรัว และภาวะหัวใจวาย สามารถรับยานี้ได้โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การใช้ยาเกินขนาดจะส่งผลให้เกิดอาการเต้านมโต และอาจมีอาหารอื่นร่วมด้วยอาทิ ไม่อยากอาหาร, คลื่นไส้, มองไม่ชัด, จิตสับสน และหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่ไตมีปัญหาและผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายานี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่ ดิช็อกซินถูกคิดค้นขึ้นในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและดิช็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

ตอร์ซาดเดอปวงต์

ตอร์ซาดเดอปวงต์ (torsades de pointe, torsades de pointes) หรือ ตอร์ซาด (torsades) คือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรงอย่างหนึ่ง เป็นภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วซึ่งมีลักษณะเฉพาะเห็นได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คำนี้เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่าการหมุนของจุด (twisting of the points) บรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและตอร์ซาดเดอปวงต์ · ดูเพิ่มเติม »

แยชือ กอชิญสกี

แยชือ กอชิญสกี (Jerzy Kosiński; 14 มิถุนายน ค.ศ. 1933 – 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1991) เป็นนักเขียนชาวโปแลนด์-อเมริกัน มีชื่อเกิดว่า "ยูแซฟ แลวินกอปฟ์" เกิดในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและแยชือ กอชิญสกี · ดูเพิ่มเติม »

แอนาฟิแล็กซิส

แอนาฟิแล็กซิส หรือปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงเป็นภาวะ ภูมิแพ้ อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนใหญ่ทำให้มีอาการ เช่น ผื่นคัน ปากคอบวม และ ความดันเลือดต่ำ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ แมลงกัดต่อย อาหาร และยา ในระดับ พยาธิสรีรวิทยา นั้นแอนาฟิแล็กซิสนี้เกิดจากการที่เซลล์ เม็ดเลือดขาว บางชนิดปล่อยสารตัวกลางออกมาจากการกระตุ้นโดยภูมิคุ้มกัน หรือกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่กระบวนการของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัยอาการและอาการแสดงที่ปรากฏ การรักษาหลักคือการใช้ อีพิเนฟริน ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ประมาณเอาไว้ว่า 0.05-2% ของประชากรทั่วโลกจะเกิดแอนาฟิแล็กซิสขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิต และตัวเลขอุบัติการณ์นี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คำนี้มีที่มาจากภาษากรีก ἀνά ana, ต่อต้าน และ φύλαξις phylaxis,ป้องกัน.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

ใจสั่น

ใจสั่น (palpitation) เป็นอาการอย่างหนึ่ง หมายถึงการที่ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ อาจมีสาเหตุจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วผิดปกติ หรือไม่เต้นเป็นช่วงๆ หรืออาจเป็นจากความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย เมื่อมีอาการใจสั่นอาจมีอาการอื่นร่วม เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก เป็นต้น โรคที่ทำให้มีอาการใจสั่นมีหลายอย่าง นับรวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด และอื่นๆ อีกมาก หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:อาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและใจสั่น · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษสุรา

รคพิษสุรา (alcoholism) เป็นคำกว้าง ๆ หมายถึงการดื่มแอลกอฮอล์แล้วส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายหรือจิต เดิมโรคนี้แบ่งเป็นสองชนิด คือ การดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด (alcohol abuse) และการติดแอลกอฮอล์ (alcohol dependence) ในบริบทการแพทย์ ถือว่าโรคพิษสุรามีเกณฑ์เหล่านี้ตั้งแต่สองข้อขึ้นไป ได้แก่ บุคคลดื่มสุราปริมาณมากเป็นเวลานาน ลดปริมาณการดื่มได้ยาก ใช้เวลานานมากกับการหาและดื่มแอลกอฮอล์ มีความต้องการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบได้ การดื่มทำให้เกิดปัญหาสังคม การดื่มทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ การดื่มทำให้เกิดสถานการณ์เสี่ยง มีอาการถอนเมื่อหยุดดื่ม และเกิดความชินแอลกอฮอล์หลังดื่ม สถานการณ์เสี่ยงได้แก่ การดื่มและการขับยานพานหะ หรือมีการร่วมประเวณีที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น การดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อร่างกายทุกส่วน แต่มีผลกระทบต่อสมอง หัวใจ ตับ ตับอ่อนและระบบภูมิคุ้มกันมากเป็นพิเศษ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการป่วยทางจิต กลุ่มอาการเวอร์นิกเก–คอร์ซาคอฟ ภาวะหัวใจเสียจังหวะ โรคตับแข็ง และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกับโรคกลุ่มอื่น การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์สามารถเป็นอันตรายต่อทารกทำให้เกิดโรคสเปกตรัมทารกพิษสุราในครรภ์ โดยทั่วไปหญิงมีความไวต่อผลต่อกายและจิตท่ี่เป็นอันตรายของแอลกอฮอล์กว่าชาย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและกรรมพันธุ์เป็นสององค์ประกอบที่สัมพันธ์กับโรคพิษสุรา โดยทั้งสององค์ประกอบมีผลอย่างละครึ่ง บุคคลที่มีบิดามารดาหรือพี่น้องที่มีโรคพิษสุรามีความเสี่ยงเป็นโรคพิษสุราเสียเองสูงกว่าบุคคลทั่วไปสามถึงสี่เท่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมได้แก่ อิทธิพลสังคม วัฒนธรรมและพฤติกรรม ระดับความเครียดสูง ความวิตกกังวล ร่วมกับราคาที่ไม่แพงและความหาได้ง่ายยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคพิษสุรา บุคคลอาจดื่มต่อไปส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการถอน หลังบุคคลหยุดดื่มแอลกอฮอล์ อาจมีอาการถอนระดับต่ำได้นานหลายเดือน ในทางการแพทย์ โรคพิษสุราถือว่าเป็นทั้งโรคทางกายและจิต แบบสำรวจและการทดสอบเลือดบางอย่างอาจตรวจพบบุคคลที่อาจเป็นโรคพิษสุรา มีการเก็บสารสนเทศเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย มาตรการป้องกันโรคพิษสุราอาจใช้การวางระเบียบและจำกัดการขายแอลกอฮอล์ การจัดเก็บภาษีแอลกอฮอล์เพื่อเพิ่มราคา และการจัดหาการรักษาที่ไม่แพง เนื่องจากปัญหาการแพทย์ที่เกิดได้ระหว่างอาการถอน การถอนพิษแอลกอฮอล์จึงควรมีการควบคุมอย่างระมัดระวัง วิธีที่ใช้กันบ่อยวิธีหนึ่งคือการใช้ยากลุ่มเบนไซไดอะซีพีน เช่น ไดอะซีแพม ซึ่งสามารุให้ระหว่างรับการรักษาในสถานพยาบาล หรือบางครั้งระหว่างที่บุคคลอยู่ในชุมชนโดยมีการควบคุมดูแลใกล้ชิด การป่วยทางจิตหรือการติดสารเสพติดอย่างอื่นอาจทำให้การรักษายุ่งยากขึ้น มีการใช้การสนับสนุนหลังถอนพิษ เช่น การบำบัดกลุ่มหรือกลุ่มสนับสนุนเพื่อป้องกันมิให้บุคคลกลับไปดื่มอีก อาจใช้ยาอะแคมโพรเสต (acamprosate) ไดซัลฟิแรม (disulfiram) หรือนัลเทร็กโซน (naltrexone) เพื่อช่วยป้องกันการดื่มอีก องค์การอนามัยโลกประมาณว่าในปี 2553 มีผู้ป่วยโรคพิษสุรา 208 ล้านคนทั่วไป (ร้อยละ 4.1 ของประชากรอายุมากกว่า 15 ปี) พบบ่อยในชายและผู้ใหญ่ตอนต้น พบน้อยกว่าในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ พบน้อยสุดในทวีปแอฟริกา (ร้อยละ 1.1) และสูงสุดในยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 11) โรคพิษสุราส่งผลโดยตรงให้เกิดการเสียชีวิต 139,000 คนในปี 2556 เพิ่มขึ้นจาก 112,000 คนในปี 2533 เชื่อว่าการเสียชีวิตรวม 3.3 ล้านคน (ร้อยละ 5.9 ของการเสียชีวิตทั้งหมด) เกิดจากแอลกอฮอล์ มักลดความคาดหมายการคงชีพของบุคคลลงประมาณสิบปี หมวดหมู่:การติดสารเสพติด หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช หมวดหมู่:วัฒนธรรมการดื่มแอลกอฮอล์ หมวดหมู่:การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและโรคพิษสุรา · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ

รคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (hypertrophic cardiomyopathy, HCM) เป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่งที่ทำให้บางส่วนของหัวใจหนาตัวขึ้นผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ทำให้หัวใจมีประสิทธิภาพในการบีบตัวลดลง ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ ไปจนถึงรู้สึกอ่อนเพลีย ขาบวม เหนื่อยหอบได้ อาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกหรือหมดสติชั่วครู่ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเสียชีวิตกะทันหันจากหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น โรคนี้ส่วนใหญ่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มักเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น โรคเฟบรี โรคอ่อนแรงจากสมองน้อยแบบเฟรดริค หรือจากยาบางชนิดเช่นทาโครลิมัส เป็นต้น ถือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดหนึ่ง การวินิจฉัยอาจทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การตรวจด้วยการออกกำลังกาย หรือการตรวจทางพันธุกรรม ทั้งนี้อาจตรวจไม่พบก็เป็นได้ การรักษาส่วนใหญ่ทำโดยการใช้ยาในกลุ่มยายับยั้งเบต้า ยาขับปัสสาวะ หรือยาแก้ไขการเต้นผิดจังหวะเช่นดิสโอพิราไมด์ เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝัง หากการรักษาข้างต้นยังไม่ได้ผลอาจต้องผ่าตัดเอากล้ามเนื้อส่วนผนังหัวใจออกบางส่วน (septal myectomy) หรือผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายหัวใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะมีอัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 ต่อปี มีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติประมาณ 1 คนในประชากร 500 คน พบเท่าๆ กันทั้งเพศชายและเพศหญิง และพบได้ในทุกๆ ช่วงอายุ โรคนี้ได้รับการบรรยายด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่เอาไว้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ · ดูเพิ่มเติม »

โรคคอตีบ

รคคอตีบ (diphtheria) เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae อาการมีได้หลากหลายตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-5 วัน ในช่วงแรกมักมีอาการเจ็บคอและมีไข้ หากเป็นรุนแรงผู้ป่วยจะมีแผ่นเนื้อเยื่อสีขาวหรือสีเทาที่คอหอย ซึ่งอาจอุดกั้นทางหายใจและทำให้เกิดอาการไอเสียงก้องเหมือนในโรคกล่องเสียงอักเสบ (ครุป) ได้ อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ทำให้มีคอบวม เชื้อนี้นอกจากทำให้มีอาการที่คอแล้วยังทำให้มีอาการที่ระบบอื่น เช่น ผิวหนัง ตา หรืออวัยวะเพศ ได้อีกด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ ไตอักเสบ เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น เชื้อคอตีบสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง ผ่านวัตถุที่เปื้อนเชื้อ หรือผ่านอากาศ ผู้รับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการ แต่มีเชื้อในร่างกาย และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ เชื้อ C. diphtheriae มีชนิดย่อยอยู่ 3 ชนิด แต่ละชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงแตกต่างกัน อาการของโรคส่วนใหญ่เกิดจากพิษที่สร้างโดยเชื้อนี้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายดูลักษณะของคอหอยของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจยืนยันด้วยการเพาะเชื้อ การหายจากเชื้อนี้จะไม่ได้ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งถัดไป วัคซีนโรคคอตีบเป็นวิธีป้องกันโรคนี้ที่ได้ผลดี และมีให้ใช้ในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กทั่วไปได้รับวัคซีนนี้ร่วมกับวัคซีนบาดทะยักและไอกรน 3-4 ครั้ง หลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนคอตีบและบาดทะยักร่วมกันทุกๆ 10 ปี สามารถตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันในเลือดเพื่อยืนยันการมีภูมิคุ้มกันได้ การรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเช่นอีริโทรมัยซิน หรือเบนซิลเพนิซิลลิน ยาปฏิชีวนะเหล่านี้นอกจากใช้รักษาโรคแล้วยังใช้ป้องกันการเกิดโรคในผู้ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อได้ด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงบางรายอาจมีทางเดินหายใจอุดกั้นรุนแรงจนต้องรับการรักษาด้วยการเจาะคอ ในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและโรคคอตีบ · ดูเพิ่มเติม »

โรคคะวะซะกิ

รคคะวะซะกิ (川崎病; Kawasaki disease) หรือ กลุ่มอาการเยื่อเมือกผิวหนังต่อมน้ำเหลือง (Mucocutaneous lymph node syndrome; MCLS, MLNS หรือ MCLNS) เป็นโรคที่พบในเด็กญี่ปุ่นเป็นที่แรก โดยนายโทมิซากุ คะวะซะกิ (ชื่ออื่น: Tomisaku Kawazaki) เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยส่วยใหญ่จะพบในเด็ก อาการที่พบของโรคที่ประกอบด้วยอาการมีไข้สูง (fever) เกิดจากหลอดเลือดแดงอักเสบ มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง (peeling of the palm) และเยื่อบุผิว และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ ตาแดง (congested conjuctiva) และ ภาวะเส้นโลหิตแดงหัวใจโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตไว้ (coronary anuerysm) เป็นโรคที่พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง อัตราชายต่อหญิง 1.5: 1 พบในเด็กเล็กประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 2 ปี ร้อยละ 80 อายุน้อยกว่า 4 ปี พบได้ทุกเชื้อชาติในโลกแต่พบมากโดยเฉพาะในเด็กญี่ปุ่นมากกว่าชาติอื่น.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและโรคคะวะซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

โซลานีน

ซลานีน (solanine) เป็นพิษไกลโคแอลคาลอยด์ที่พบในส่วนใบ ผลและหัวของพืชวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ลักษณะเป็นของแข็งผลึกสีขาว มีสูตรเคมีคือ C45H73NO15 มีคุณสมบัติเป็นสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ มีการแยกโซลานีนครั้งแรกจากผลมะแว้งนกในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและโซลานีน · ดูเพิ่มเติม »

ไตเสียหายเฉียบพลัน

วะไตเสียหายเฉียบพลัน (acute kidney injury, AKI) หรือเดิมใช้ชื่อว่าภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure, ARF) คือภาวะซึ่งร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุหลากหลายตั้งแต่ภาวะปริมาตรเลือดต่ำทุกแบบ การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ และสาเหตุอื่นๆ การวินิจฉัยภาวะไตเสียหายเฉียบพลันอาศัยลักษณะเฉพาะของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การมีระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือดและครีแอทินีนขึ้นสูง หรือการตรวจพบว่าไตผลิตปัสสาวะออกมาได้น้อยกว่าปกติ ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ยูเรียคั่งในเลือด เสียสมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่นๆ การให้การรักษาทำได้โดยให้การรักษาประคับประคอง เช่น การบำบัดทดแทนไต และการรักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหต.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและไตเสียหายเฉียบพลัน · ดูเพิ่มเติม »

เฟนิโทอิน

ฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดแลนติน (Dilantin)Drugs.com Page accessed Feb 27, 2016 เป็นยากันชัก ใช้สำหรับป้องกันอาการโคลนัสและการเป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ไม่สามารถใช้ป้องกันอาหารชักเหม่อได้ มีแบบรับประทานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะชักต่อเนื่อง แพทย์อาจจ่ายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนเพื่อบรรเทาอาการชัก หากยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาเฟนิโทอินโดยการฉีด ซึ่งจะออกฤทธิภายใน 30 นาทีและจะคงฤทธิได้นานถึง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ เฟนิโทอินยังถูกใช้เพื่อรักษาอารหัวใจเต้นผิดจังหวะและความเจ็บปวดทางประสาทอีกด้วย ทั้งนี้ แพทย์อาจวัดความดันเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม ผลข้างเคียงของการใช้เฟนิโทอิน ได้แก่ อาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ไม่อยากอาหาร, มองไม่ชัด, ขนขึ้นเร็ว และเหงือกบวม ผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ ง่วงนอน, ทำร้ายตนเอง, โรคตับ, ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อย, ความดันโลหิตต่ำ และผิวลอก ยาประเภทนี้ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในทารก แต่ปลอดภัยหากจะใช้ระหว่างภาวะให้นมบุตร เฟนิโทอินถูกสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและเฟนิโทอิน · ดูเพิ่มเติม »

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

ลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid hemorrhage, SAH) คือการมีเลือดออกที่ช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางระหว่างเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางกับชั้นในซึ่งอยู่รอบๆ สมอง อาจเกิดขึ้นได้เอง หรือจากการแตกของหลอดเลือดสมองโป่งพอง หรือเกิดจากอุบัติเหตุกระทบกระเทือนศีรษะก็ได้ อาการของการมีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางอาจมีเช่นอาการปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน สับสน หรือซึมลง บางครั้งอาจชักได้ ยืนยันการวินิจฉัยด้วยการใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์หรือบางครั้งอาจทำได้ด้วยการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง การรักษาทำโดยการผ่าตัดอย่างทันท่วงที อาจด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะหรือการใช้รังสีช่วยในกระบวนการรักษา ร่วมกับการใช้ยาและการรักษาอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการมีเลือดออก เคยมีการรักษาหลอดเลือดโป่งพองด้วยการผ่าตัดในช่วงประมาณหลังปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน (ventricular fibrillation,VF, V-Fib) หรือ หัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว เป็นภาวะซึ่งมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างอย่างไม่สัมพันธ์กัน จึงเหมือนเป็นการเต้นแผ่วระรัวซึ่งไม่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือด ไม่สามารถคลำชีพจรได้ เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยืนยันการวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเท่านั้น ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันทีเนื่องจากหากการเต้นแบบฟิบริลเลชันนี้ดำเนินไปอีกไม่กี่วินาทีอาจกลายเป็นหัวใจหยุดเต้นได้ ภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดภาวะช็อคเหตุหัวใจ ไม่มีการไหลเวียนของเลือด และทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที หากได้รับการกู้ชีพขึ้นมาไม่ทันท่วงที ทำให้สมองขาดออกซิเจนเกินกว่าระยะเวลาหนึ่ง (ประมาณ 5 นาทีที่อุณหภูมิห้อง) อาจมีความเสียหายของสมองอย่างไม่สามารถทำให้กลับคืนเป็นปกติได้หรือถึงขั้นสมองตายได้ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและเว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ

รื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติในสภาพพร้อมใช้งาน เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (automated external defibrillator, AED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตชนิดเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชัน (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว) และเวนทริคูลาร์แทคีคาร์เดีย (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ) ได้โดยอัตโนมัติ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง เครื่อง AED ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้โดยคนทั่วไป โดยจะให้คำแนะนำผ่านเสียงพูดและภาพประกอบบนจอ โดยถูกรวมอยู่ในการเรียนการสอนการปฐมพยาบาล การอบรมผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน (firse responder) และการช่วยกู้ชีพ (CPR) ทุกระดับขั้น รวมถึงขั้นพื้นฐาน (basic life support) ด้ว.

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและICD-10 บทที่ 16: ภาวะบางอย่างที่เริ่มต้นในระยะปริกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: หัวใจเต้นผิดจังหวะและICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ArrhythmiaCardiac arrhythmiaCardiac dysrhythmiaภาวะหัวใจเสียจังหวะภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »